2567 โครงการบริการให้คำปรึกษาและข้อมูลเทคโนโลยี ปี 2567   0


รายงานความก้าวหน้า

ไตรมาส ผลการดำเนินงาน งบประมาณที่ใช้ ผู้รับบริการ
4 [18024]

รายงานความก้าวหน้าไตรมาสที่ 4

[กรกฏาคม - กันยายน 2567]



รายงานโดย นายธนทรัพย์ ลิ่มปะรังษี วันที่รายงาน 30/09/2567 [18024]
29090 224
3 [17113]

เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2567 ที่ผ่านมา คลินิกเทคโนโลยี ฝ่ายพันธกิจวิจัยเพื่อสังคม สำนักวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (คลินิกเทคโนโลยี ฯ ม.อ.) นำโดย นางสาวศศิธร คงทอง ผู้จัดการคลินิก ฯ และ นายธนทรัพย์ ลิ่มปะรังษี ผู้ประสานงาน ฯ เข้าร่วมลงพื้นที่เยี่ยมชมศูนย์นวัตกรรมการเกษตร ประมง และอาหารเพื่อสังคม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ พื้นที่ทุ่งใสไช ต.พุมเรียง อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี โดยมี นายเอกพงศ์ มุสิกะเจริญ ผู้อำนวยการกองส่งเสริมและประสานเพื่อประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กปว.) สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สป.อว.) พร้อมด้วย หน่วยปฎิบัติการเครือข่าย อว. ระดับภาค ภาคใต้ (ปค.ภาคใต้) นำโดย นางสาวดาวริน สุขเกษม ผู้อำนวยการ ปค.ภาคใต้ และคณะ ลงพื้นที่ในครั้งนี้ด้วย ในการนี้ รองศาสตราจารย์สุชาดา ทิพย์มนตรี รองอธิการบดีวิทยาเขตสุราษฎร์ธานี นายเชาวพงศ์ ฐิติสวัสดิ์ ผู้ทรงคุณวุฒิกรรมการประจำวิทยาเขต ฯ และคณะผู้บริหาร นักวิจัย ร่วมให้การต้อนรับ ในการลงพื้นที่ครั้งนี้ ได้เห็นถึงความร่วมมือ และการดำเนินงานของศูนย์นวัตกรรมการเกษตร ฯ และการดำเนินการภายใต้แนวคิดด้าน BCG และ ESG ใน 4 แผนงานประกอบด้วยแผนงานด้านพืชเศรษฐกิจ แผนงานด้านประมงและการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ แผนงานด้านปศุสัตว์ แผนงานด้านการท่องเที่ยว และ แผนงานด้านความหลากหลายทางชีวภาพสมดุลสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาความยั่งยืน นอกจากนี้ ยังลงพื้นที่ชมหน่วยการผลิตและการตลาดแพะขุนต้นแบบอย่างครบวงจรในภาคใต้ ฟาร์มต้นแบบเกษตรกรในการผลิตโคเนื้อ และบ่อการเพาะเลี้ยงกุ้งกุลาดำ

 




👉เมื่อวันที่ 20 เมษายน 2567 ที่ผ่านมา คลินิกเทคโนโลยี ฝ่ายพันธกิจวิจัยเพื่อสังคม สำนักวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (คลินิกเทคโนโลยี ฯ ม.อ.) นำโดย นางสาวศศิธร คงทอง ผู้จัดการ ฯ และนายธนทรัพย์ ลิ่มปะรังษี ผู้ประสานงาน ฯ เข้าร่วมจัดนิทรรศการประชาสัมพันธ์ และร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การสร้างการรับรู้และเครือข่ายความร่วมมือภายใต้โครงการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อการบริหารจัดการฟาร์ม และสร้างความเป็นอัตลักษณ์ให้กับผลิตภัณฑ์ปศุสัตว์ภาคใต้ชายแดน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ณ ศูนย์การเรียนรู้ผู้เลี้ยงโคเนื้อ นทพ. บ้านปิยา ตำบลปิยามุมัง อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี 👉การประชุมครั้งนี้ ได้รับเกียรติจาก แพทย์หญิงเพชรดาว โต๊ะมีนา ที่ปรึกษารัฐมนตรีกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) มาเป็นประธานในกิจกรรม โดยมี นายสนั่น สนธิเมือง รองผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี กล่าวต้อนรับผู้บริหาร อว. เครือข่าย และผู้เข้าร่วมประชุม และ นายเอกพงค์ มุสิกะเจริญ ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมและประสานเพื่อประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กปว.) สำนักงานปลัดกระทรวง อว. (สป.อว.) กล่าวรายงานกิจกรรมที่จัดขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์ในการมุ่งเน้นการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตและ การบริหารจัดการฟาร์มปศุสัตว์และสร้างความยั่งยืนให้กับกิจกรรมเกษตรกรรมในพื้นที่ภาคใต้ชายแดนเพื่อให้เกิดผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจและสังคมอย่างยั่งยืน และสร้างผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพได้มาตรฐานและมีความเป็นเอกลักษณ์ ให้เป็นที่รู้จักและยอมรับในตลาดทั้งในและต่างประเทศ 👉นอกจากนี้ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อรุณีวรรณ บัวเนี่ยว รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและพันธกิจสังคม วิทยาเขตปัตตานี และ อว.ส่วนหน้าจังหวัดปัตตานี และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์คำรณ พิทักษ์ ผู้อำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์ ม.อ. เข้าร่วมในการประชุมครั้งนี้ด้วย คลินิกเทคโนโลยี ฯ ม.อ. ได้นำผลงานด้านปศุสัตว์จากผลงานวิจัยของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์มาจัดแสดง เช่น โมเดลเกษตรและปศุสัตว์ที่ผลิตขึ้นจากเทคโนโลยี/งานวิจัยด้านยางพารา จากสถาบันวิจัยและพัฒนานวัตกรรมยางพารา ม.อ. (RUBBER PSU) และ Poster เรื่องเนื้อแพะ และโค จากคณะทรัพยากรธรรมชาติ

 




คลินิกเทคโนโลยี ฝ่ายพันธกิจวิจัยเพื่อสังคม สำนักวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (คลินิกเทคโนโลยี ฯ ม.อ.) ขอเชิญผู้สนใจ เข้าร่วมงานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 👉ในงาน “วันข้าวลูกปลา” มรดกข้าวชาวป่าชิง และพิธีเปิดศูนย์เรียนรู้ข้าวพื้นเมืองภาคใต้ 📍วันอาทิตย์ ที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2567 เวลา 07.00 - 16.00 น. ณ ศูนย์ข้าวชุมชนป่าชิง จะณะแบ่งสุข หมู่ที่ 1 ต.ป่าชิง อ.จะนะ จ.สงขลา (ทุ่งนาควนมิน บ้านป่าชิง) เป็นกิจกรรมที่คลินิกเทคโนโลยี ฯ ม.อ. ร่วมกับภาคีเครือข่ายจัดกิจกรรมด้านการส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ภายใต้ แผนการจัดกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ ของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ม.อ.) ที่ได้รับการอนุมัติจากจังหวัดสงขลาเรียบร้อยแล้ว ด้วยความร่วมมือของส่วนงานภายใน ม.อ. ได้แก่ งานคลินิกเทคโนโลยี ฯ ม.อ. และ สถานีบริการวิชาการชุมชนจะนะ สำนักส่งเสริมและบริการวิชาการ วิทยาเขตปัตตานี ปฏิบัติการสาธิต “การทำก๋วยเตี๋ยวปากหม้อจากแป้งข้าวลูกปลาตำบลป่าชิง” ร่วมกับตัวแทนสมาชิกกลุ่มจะณะแบ่งสุข/วิสาหกิจชุมชนเครือข่ายนาอินทรีย์อำเภอจะนะ ร่วมสนับสนุนงบประมาณโดย สำนักประสานงานโครงการอันเนื่องมากจากพระราชดำริ ฝ่ายพันธกิจวิจัยเพื่อสังคม สำนักวิจัยและพัฒนา ม.อ. ภายในงานพบกับกิจกรรมมากมาย อาทิ ✅ เริ่มขบวนแห่ข้าวไปวัดเชิงคีรี และพิธีชุมนุมข้าว ✅ พิธีเปิดศูนย์เรียนรู้ข้าวพื้นเมืองภาคใต้ ✅ เสวนา เรื่องแนวทางการพัฒนาข้าวพื้นเมืองภาคใต้ตอนล่าง ✅ สาธิต “การทำก๋วยเตี๋ยวปากหม้อจากแป้งข้าวลูกปลาตำบลป่าชิง” ✅ การประกวดเมล็ดพันธุ์ข้าวพันธุ์ลูกปลา ✅การประกวดหุงข้าวสวย (ด้วยหม้อดิน) ข้าวพันธุ์ลูกปลา ✅ การประกวดคู่ขวัญชาวนา ✅ จับรางวัลผู้โชคดี (รางวัลหางบัตร)

 




เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2567 ที่ผ่านมา คลินิกเทคโนโลยี ฝ่ายพันธกิจวิจัยเพื่อสังคม สำนักวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (คลินิกเทคโนโลยี ฯ ม.อ.) จัดกิจกรรมสาธิต “การทำก๋วยเตี๋ยวปากหม้อจากแป้งข้าวลูกปลาตำบลป่าชิง” ซึ่งเป็นกิจกรรมด้านการส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ภายใต้ แผนการจัดกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๖๗ ในงาน “วันข้าวลูกปลา” มรดกข้าวชาวป่าชิง และพิธีเปิดศูนย์เรียนรู้ข้าวพื้นเมืองภาคใต้ ณ ศูนย์ข้าวชุมชนป่าชิง จะณะแบ่งสุข หมู่ที่ ๑ ต.ป่าชิง อ.จะนะ จ.สงขลา (ทุ่งนาควนมิน บ้านป่าชิง)

 




20 มิถุนายน 2567 คลินิกเทคโนโลยี ฝ่ายพันธกิจวิจัยเพื่อสังคม สำนักวิจัยและพัฒนามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (คลินิกเทคโนโลยี ฯ ม.อ.) นำโดย น.ส.ศศิธร คงทอง ผู้จัดการ ฯ และ นายธนทรัพย์ ลิ่มปะรังษี ผู้ประสานงาน ฯ พร้อมด้วย น.ส.ดาวริน สุขเกษม หน่วยปฏิบัติการเครือข่าย อว. ระดับภาค ภาคใต้ (ปค.ภาคใต้) เข้าร่วมกิจกรรม “การตรวจประเมินพื้นที่การคัดเลือกสถาบันเกษตรกรกลุ่มผู้ใช้น้ำชลประทานดีเด่น“ ประจำปี 2568 ณ ที่ทำการบ้านม่วงใหญ่ หมู่ที่ 2 ตำบลกำแพงเพชร อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา

 




เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2567 คลินิกเทคโนโลยี ฝ่ายพันธกิจวิจัยเพื่อสังคม สำนักวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (คลินิกเทคโนโลยี ฯ ม.อ.) นำโดย น.ส.ศศิธร คงทอง ผู้จัดการฯ และนายธนทรัพย์ ลิ่มปะรังษี ผู้ประสานงานฯ พร้อมด้วยอาจารย์/นักวิจัย ม.อ. ที่ได้รับงบประมาณสนับสนุนภายใต้โครงการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อการบริหารจัดการฟาร์ม และสร้างความเป็นอัตลักษณ์ให้กับผลิตภัณฑ์ปศุสัตว์ภาคใต้ชายแดน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 คือ 1. รศ. ดร.ไชยวรรณ วัฒนจันทร์ คณบดีคณะทรัพยากรธรรมชาติ 2. ผศ.ลภัสวัฒน์ ศุภผลกุลนันทร์ คณะวิทยาการจัดการ 3. ผศ. ดร.บุญญา ชาญนอก คณะวิศวกรรมศาสตร์ และ 4.ผศ. ดร.เทียนทิพย์ ไกรพรม คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ม.อ. วิทยาเขตปัตตานี เข้าร่วมโครงการ “การขับเคลื่อนงาน อววน. สู่การพัฒนาจังหวัดปัตตานี” ณ ห้องประชุมปริชญากร อาคารสำนักงานวิทยาเขตปัตตานี (ตึกเรือ) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ภายในงานได้รับเกียรติจากแพทย์หญิงเพชรดาว โต๊ะมีนา ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เป็นประธาน โดยมี นางพาตีเมาะ สะดียามู ผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี กล่าวต้อนรับ และ ผศ. ดร.อรุณีวรรณ บัวเนี่ยว รองอธิการบดีฝ่ายวิจัย และพันธกิจสังคม วิทยาเขตปัตตานี กล่าวรายงานผลการดำเนินกิจกรรม ววน. ในจังหวัดปัตตานี

 




เมื่อวันที่ 26 - 27 มิถุนายน 2567 ที่ผ่านมา คลินิกเทคโนโลยี ฝ่ายพันธกิจวิจัยเพื่อสังคม สำนักวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (คลินิกเทคโนโลยี ฯ ม.อ.) นำโดย น.ส.ศศิธร คงทอง ผู้จัดการ ฯ และนายธนทรัพย์ ลิ่มปะรังษี ผู้ประสานงาน ฯ เข้าร่วมงานประชุมเชิงปฏิบัติการ “การทบทวนแผนปฏิบัติการขับเคลื่อนและส่งเสริมการใช้ประโยชน์งานด้าน ววน. ในระดับภูมิภาค” ภายใต้กิจกรรมส่งเสริมการนำ วทน. เพื่อเพิ่มศักยภาพการผลิตและเศรษฐกิจชุมชน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 พื้นที่ภาคใต้ ณ ห้องประชุมจุพา โรงเเรมต้นอ้อย แกรนด์ จังหวัดสงขลา จัดโดย กองส่งเสริมและประสานเพื่อประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กปว.) สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (สป.อว.)



รายงานโดย นายธนทรัพย์ ลิ่มปะรังษี วันที่รายงาน 05/07/2567 [17113]
64470 50
2 [16538]

รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 2

[เดือนมกราคม-มีนาคม 2567]

🗓️ 18 มกราคม 2567

        เมื่อวันที่ 18มกราคม 2567ที่ผ่านมา นางสาวศศิธร คงทอง ผู้จัดการ ฯ และ นายธนทรัพย์ ลิ่มปะรังษี ผู้ประสานงานฯ คลินิกเทคโนโลยี ฝ่ายพันธกิจวิจัยเพื่อสังคม สำนักวิจัยและพัฒนา (คลินิกเทคโนโลยี ฯ ม.อ.) นำทีมผู้บริหารมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ โดยมี อาจารย์อัยยพร ขจรไชยกูล ที่ปรึกษารองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม ในฐานะผู้แทนรองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม ม.อ. พร้อมกับนักวิจัย รองศาสตราจารย์ ดร.ระวี เจียรวิภาสาขาวิชานวัตกรรมการเกษตรและการจัดการ คณะทรัพยากรธรรมชาติ เข้าร่วมประชุมหารือ และร่วมกันกำหนดทิศทางการขับเคลื่อนและพัฒนาโครงการส่งเสริมกลุ่มผู้ปลูกกาแฟโรบัสต้าพืชอัตลักษณ์ท้องถิ่นคอหงส์ เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาการท่องเที่ยววิถีเมือง ณ ห้องประชุม 402สำนักงานเทศบาลเมืองคอหงส์ ต.คอหงส์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา                                                                                                                                                                                 การประชุมครั้งนี้ จะนำไปสู่ความร่วมมือภายใต้ภารกิจการนำผลงานวิจัย รวมถึงองค์ความรู้ทางวิชาการไปใช้ประโยชน์ร่วมกับเทศบาลเมืองคอหงส์ ภายใต้แนวคิด “เราจะนำงานวิจัยของ ม.อ. มาเพิ่มมูลค่าของกาแฟให้มากที่สุด” พร้อมกับการแนะนำการปลูกกาแฟโรบัสต้าในพื้นที่คอหงส์


-------------------------------------

🗓️ 26-30 มกราคม 2567

คลินิกเทคโนโลยี ฝ่ายพันธกิจวิจัยเพื่อสังคม สำนักวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (คลินิกเทคโนโลยี ฯ ม.อ.) นำโดย นางสาวศศิธร คงทอง ผู้จัดการ ฯ และ นายธนทรัพย์ ลิ่มปะรังษี ผู้ประสานงาน ฯ เข้าร่วมจัดนิทรรศการแสดงผลงานวิจัย และองค์ความรู้ด้านเกษตร ภายใต้นิทรรศการ "การขับเคลื่อนงานด้าน อววน. เกษตรสร้างสรรค์สู่เกษตรมูลค่าสูง" ในงานทุ่งใหญ่เกษตรแฟร์ 2567 ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช พื้นที่ทุ่งใหญ่ จัดโดย กองส่งเสริมและประสานเพื่อประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กปว.) สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สป.อว.) ตั้งแต่วันที่ 26 - 30มกราคม 2567ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช อำเภอทุ่งใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช

👉 ภายในนิทรรศการ ฯ ประกอบด้วยผลงาน

1. ปุ๋ยคืนชีพ MF 3สูตร

- ปุ๋ย สูตรดังเดิม

  - ปุ๋ย สูตรเพิ่มเชื้อราเมตาไรเซียม

  - ปุ๋ย สูตรเพิ่มเชื้อราไตรโครเดอร์มา

2. ชีวภัณฑ์

   - ชีวภัณฑ์ B-Veggie - B-Phosphate

   - ชีวภัณฑ์ B-Rice  - B-Flora

   - ชีวภัณฑ์ B-Palm 1 - B-Durio

   - ชีวภัณฑ์ B-Palm 2

   - ชีวภัณฑ์สำหรับผลิตปุ๋ยหมัก

   - ชีวภัณฑ์ B-Rubber

-------------------------------------

🗓️ 12 มีนาคม 2567

        เมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2567 นายธนทรัพย์ ลิ่มปะรังษี ผู้ประสานงานคลินิกเทคโนโลยี ฝ่ายพันธกิจวิจัยเพื่อสังคม สำนักวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (คลินิกเทคโนโลยี ฯ ม.อ.) พร้อมด้วย นางสาวรุ่งนภา ประทุมแสงหิรัญ เจ้าหน้าที่การตลาด ฝ่ายพันธกิจวิจัยเพื่อสังคม ฯ เข้าร่วมกิจกรรม "FiRin Open House"  ซึ่งเป็นกิจกรรมที่สถาบันวิจัยและนวัตกรรมอาหาร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์เปิดบ้านต้อนรับให้ภาคเอกชน ผู้ประกอบการ นักวิจัย และผู้สนใจ เข้าเยี่ยมชมนวัตกรรมผลิตภัณฑ์อาหาร เทคโนโลยีแปรรูปอาหาร และเทคโนโลยีการสกัด รวมถึงการแลกเปลี่ยนความต้องการจากผู้ประกอบการ พร้อมด้วยการจับคู่ (Matching) ระหว่างผู้เชี่ยวชาญและผู้ประกอบการ ณ อาคารผลิตทดลองนวัตกรรมด้านเกษตรและอาหาร สถาบันวิจัยและนวัตกรรมอาหาร ฯ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา


-------------------------------------

🗓️ 15 มีนาคม 2567

          เมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2567 ที่ผ่านมา นายธนทรัพย์ ลิ่มปะรังษี ผู้ประสานงานคลินิกเทคโนโลยี ฝ่ายพันธกิจวิจัยเพื่อสังคม สำนักวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (คลินิกเทคโนโลยี ฯ ม.อ.) เข้าร่วมหลักสูตรอบรมเชิงปฏิบัติการ "การยกระดับอาหารและเครื่องดื่มที่มีคุณภาพ ตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.) ณ สำนักเครื่องมือวิทยาศาสตร์และการทดสอบ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์                                                                                      การเข้าร่วมครั้งนี้ เป็นการ Upskill เพื่อนำไปสู่การบริการให้คำปรึกษา ภายใต้แพลตฟอร์ม แพลตฟอร์มบริการให้คาปรึกษาและข้อมูลเทคโนโลยี(Technology Consulting Service : TCS) ต่อ



รายงานโดย นายธนทรัพย์ ลิ่มปะรังษี วันที่รายงาน 05/04/2567 [16538]
64470 60
1 [16055]

รายงานความก้าวหน้าไตรมาสที่ 1

[ตุลาคม - ธันวาคม 2566]

🗓️ 19 ตุลาคม 2566

19 ตุลาคม 2566 คลินิกเทคโนโลยี ฝ่ายพันธกิจวิจัยเพื่อสังคม สำนักวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (คลินิกเทคโนโลยี ฯ ม.อ.) นำโดยนางสาวศศิธร คงทอง ผู้จัดการ ฯ และนายธนทรัพย์ ลิ่มปะรังษี ผู้ประสานงาน ฯ นำนักวิจัยจากคณะทรัพยากรธรรมชาติ คณะอุตสาหกรรมเกษตร และ ศูนย์พัฒนาการเกษตรเพื่อการส่งออก (ADCET) ฯ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ลงพื้นที่ชุมชนเพื่อสำรวจข้อมูลความต้องการองค์ความรู้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ของกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกมัลเบอร์รี่ (หม่อน) ตำบลคอหงส์ ภายใต้กิจกรรมการส่งเสริมการนำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อเพิ่มศักยภาพการผลิตและเศรษฐกิจชุมชน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 แพลตฟอร์มโครงการบริการให้คำปรึกษาและข้อมูลเทคโนโลยี (TCS) ณ ที่ทำการเทศบาลเมืองคอหงส์ และ พื้นที่กลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกมัลเบอร์รี่ (หม่อน) ตำบลคอหงส์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา




🗓️ 14 พฤศจิกายน 2566

คลินิกเทคโนโลยี ฯ ม.อ. ได้จัดทำ Poster เชิญอาจารย์/นักวิจัย จากสถาบันการศึกษาในพื้นที่ปัตตานีหรือใกล้เคียง ที่ขึ้นทะเบียนแล้ว และยังไม่ขึ้นทะเบียนเป็นที่ปรึกษา สมัครขอรับคูปองวิทย์ (งบประมาณ) ร่วมกับ ผู้ประกอบการ OTOP (ของพื้นที่ปัตตานีเท่านั้น) ภายในโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์สินค้าชุมชนตามแนวทางคูปองวิทย์เพื่อโอทอป ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 (แบบสัญจร พื้นที่จังหวัดปัตตานี




🗓️ 23 พฤศจิกายน 2566

เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2566 คลินิกเทคโนโลยี ฝ่ายพันธกิจวิจัยเพื่อสังคม สำนักวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (คลินิกเทคโนโลยี ฯ ม.อ.) ร่วมกับ ม.อ. วิทยาเขตปัตตานี โดย งานส่งเสริมวิจัยนวัตกรรม และบริการวิชาการ กองบริหารวิชาการและวิจัยวิทยาเขตปัตตานี ร่วมจัดกิจกรรม “โครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์สินค้าชุมชน ตามแนวทางคูปองวิทย์เพื่อโอทอป (สัญจร) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 จังหวัดปัตตานี ณ ห้องประชุมปริชญากร อาคารสำนักงานวิทยาเขตปัตตานี ชั้น 4 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

เริ่มต้นกิจกรรมช่วงเช้า ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อรุณีวรรณ บัวเนี่ยว รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและพันธกิจสังคม วิทยาเขตปัตตานี และ อว.ส่วนหน้าจังหวัดสงขลา ร่วมต้อนรับ และกล่าวเปิดกิจกรรม โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.มนทิรา ลีลาเกรียงศักดิ์ รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ วิทยาเขตปัตตานี และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วรภาคย์ ไมตรีพันธ์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายวิจัยและพันธกิจสังคม วิทยาเขตปัตตานี และตัวแทนเครือข่าย อว.ส่วนหน้าจังหวัดปัตตานี เข้าร่วมในกิจกรรมในครั้งนี้ด้วย ต่อด้วย การชี้แจงการดำเนินงานตามแนวทาง “คูปองวิทย์เพื่อโอทอป” (STI for OTOP) โดย ดร.ชาญวิทย์ ตรีเดช ผู้อำนวยการกลุ่มส่งเสริมธุรกิจเทคโนโลยีและนวัตกรรม กองส่งเสริมและประสานเพื่อประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กปว.สป.อว.) ร่วมกับ คณะทำงานพิจารณาและคัดเลือกข้อเสนอโครงการ ฯ คือ นางอาภาพร สินธุสาร โดยนางอาภาพร สินธุสาร ผู้อำนวยการกองเทคโนโลยีชุมชน กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) และ นายชายกร สินธุสัย นักวิชาการอิสระ และปิดท้ายกิจกรรมช่วงเช้าด้วยการบรรยาย ในหัวข้อการพัฒนาผู้ประกอบการและยกระดับผลิตภัณฑ์ชุมชน โดย นายยุทธนา อโนทัยสินทวี กรรมการผู้จัดการ บริษัทสามพิม จำกัด และ นักออกแบบผลิตภัณฑ์จากวัสดุเหลือใช้ แบรนด์ The ReMaker, PhudPhad

และกิจกรรมภายในช่วงบ่ายเป็นการคัดเลือกผู้ประกอบการเพื่อเข้าร่วมโครงการ “คูปองวิทย์เพื่อโอทอป” (STI for OTOP) หรือ Pitching ระหว่างคณะกรรมการคัดเลือก ฯ และ ที่ปรึกษาร่วมกับผู้ประกอบการ โดยได้แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ 1. กลุ่มผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับอาหาร และ 2. กลุ่มผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับสิ่งทอ เสื้อผ้า และของฝาก




🗓️ 16 ธันวาคม 2566

เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2566 ที่ผ่านมา คลินิกเทคโนโลยี ฝ่ายพันธกิจวิจัยเพื่อสังคม สำนักวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (คลินิกเทคโนโลยี ฯ ม.อ.) เข้าร่วมกิจกรรม HACK HATYAI Meetup “Meet The LOCAL EXTRACT สารสกัดมะม่วงเบา (Mangiferin Extract)” โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปุณณาณี สัมภวะผล ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและนวัตกรรมอาหาร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ณ Tuber Co-Working Space อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา จัดโดย สถาบันวิจัยและนวัตกรรมอาหาร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (FiRin) ร่วมกับ TuberThailand

ซึ่งภายในกิจกรรมดังกล่าว ได้มีผู้สนใจจากหลายหลายกลุ่มอาชีพ อาทิ ผู้ประกอบการ อาจารย์ นักศึกษา และกลุ่มชุมชนที่สนใจ โดยได้มีการแลกเปลี่ยนข้อมูล แนวทางที่จะใช้ประโยชน์จากสารสกัดมะม่วงเบา






รายงานโดย นายธนทรัพย์ ลิ่มปะรังษี วันที่รายงาน 20/01/2567 [16055]
64470 70