2567 บริการรับคำปรึกษาและแก้ไขปัญหาด้านเทคโนโลยี พร้อมเผยแพร่ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี   0


รายงานความก้าวหน้า

ไตรมาส ผลการดำเนินงาน งบประมาณที่ใช้ ผู้รับบริการ
4 [17566]

กิจกรรมที่ 28 กิจกรรมสัญจรการขับเคลื่อนกลไกการนำงานด้านการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เพิ่มศักยภาพจังหวัด ในพื้นที่ภาคเหนือ

          คลินิกเทคโนโลยี มทร.ล้านนา เข้าร่วมกิจกรรมสัญจรการขับเคลื่อนกลไกการนำงานด้านการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมเพิ่มศักยภาพจังหวัด ในพื้นที่ภาคเหนือ ณ จังหวัดเชียงใหม่เพื่อขับเคลื่อนกลไกการนำงานด้านการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เพิ่มศักยภาพจังหวัดในพื้นที่ภาคเหนือ นำไปสู่การจัดตั้งหน่วยงานเพื่อให้มีโครงสร้างของกระทรวงการอุดมศึกษาฯ ในภูมิภาค ซึ่งทำหน้าที่เป็นศูนย์รวมภารกิจในการขับเคลื่อนนโยบายไปสู่การปฏิบัติในพื้นที่ รวมทั้งประสานงานและบูรณาการเชื่อมโยงการใช้ประโยชน์งานด้านด้านการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม จากหน่วยงานต่าง ๆ ในพื้นที่ สู่การให้บริการประชาชนในลักษณะ One Stop Service ได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีความเป็นรูปธรรม เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจและคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่ด้วยงานด้านการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และร่วมจัดแสดงนิทรรศการด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมหรือผลงานเด่น เพื่อส่งเสริมการนำงานด้านการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม สู่การพัฒนาพื้นที่แบบบูรณาการและเกิดการเชื่อมโยงการดำเนินงานในพื้นที่ภาคเหนือ ณ อาคารอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคเหนือ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่



รายงานโดย นางสาวอภิญญา ไชยวงค์ วันที่รายงาน 24/09/2567 [17566]
0 30
4 [17565]

กิจกรรมที่ 27 เข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “การพัฒนาศักยภาพครู สกร. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือด้วย อววน.”
 คลินิกเทคโนโลยี มทร.ล้านนา เข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “การพัฒนาศักยภาพครู สกร. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือด้วย อววน.” ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตขอนแก่น โดยผศ.ไพโรจน์ วรพจน์พรชัย ผู้จัดการคลินิกเทคโนโลยี มทร.ล้านนา และครู สกร.ตำบลต้นแบบที่เคยประสบความสำเร็จจากการเข้าร่วมพัฒนาศักยภาพโดยใช้ (ววน.) ของ (มทร.ล้านนา) ในโครงการม่อนล้านโมเดล ร่วมบรรยาย ถอดองค์ความรู้ให้แก่ผู้เข้าอบรม สำหรับโครงการฯ นี้เป็นความร่วมมือระหว่าง กรมส่งเสริมการเรียนรู้ โดย กลุ่มส่งเสริมกิจการการศึกษาและเครือข่าย ร่วมกับ สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดย มหาวิทยาลัยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (คลินิกเทคโนโลยี) จำนวน 10 มหาวิทยาลัย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาศักยภาพบุคลากรของ (สกร.) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในพื้นที่เป้าหมาย 20 จังหวัด โดยใช้กลไกองค์ความรู้ด้านอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม จากเครือข่าย (อว.) และเครือข่าย สถาบันอุดมศึกษา ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และขยายความร่วมมือไปทุกภูมิภาค เพื่อร่วมพัฒนาแผนงานโครงการที่ตอบโจทย์ ความต้องการของพื้นที่และพัฒนาหลักสูตรที่เชื่อมโยงการเรียนการสอนและการพัฒนาทักษะอาชีพ ตลอดจนเกิดเครือข่ายความร่วมมือ สู่การพัฒนาเชิงพื้นที่ให้ครอบคลุมในทุกมิติการเรียนรู้ นอกจากนี้ได้รับเกียรติจาก พร้อมทั้ง ดร.เครือวัลย์ มาลาศรี บรรยายการดำเนินงานของคลินิกเทคโนโลยี มทร.อีสาน วิทยาเขตขอนแก่น และกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ให้ข้อเสนอแนะในการพัฒนาทักษะการจัดการเรียนรู้ด้านอาชีพ จากผู้บริหาร (สกร.) และคณะอาจารย์มหาวิทยาลัย ผ่านการนำเสนอ One page การพัฒนาผลิตภัณฑ์ภายใต้การโครงการศูนย์ฝึกอาชีพชุมชนและโครงการส่งเสริมการเรียนรู้และพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนต้นแบบ โดยครู สกร. เพื่อสร้างแนวทาง ช่องทางและแรงจูงใจให้ครู (สกร.) ได้นำไปพัฒนาและต่อยอดการดำเนินงานในพื้นที่ต่อไป
 



รายงานโดย นางสาวอภิญญา ไชยวงค์ วันที่รายงาน 24/09/2567 [17565]
0 50
4 [17567]

รายงานค่าใช้จ่ายไตรมาสที่ 4

จ้างเหมาเจ้าหน้าที่คลินิกเทคโนโลยี 3 เดือน = 45,000 บาท

 

รวมเป็นเงิน 45,000 บาท



รายงานโดย นางสาวอภิญญา ไชยวงค์ วันที่รายงาน 24/09/2567 [17567]
45000 0
4 [17251]

กิจกรรมที่ 26 กิจกรรมบริการให้คำปรึกษาเกี่ยวกับผ้าทอกะเหรี่ยงย้อมสีธรรมชาติ
เก็บรวบรวมองค์ความรู้และภูมิปัญญาในพื้นที่ชุมชนกะเหรี่ยง
การลงพื้นที่กลุ่มหัตถกรรมผ้าทอกะเหรี่ยงบ้านวัดจันทร์ อำเภอกัลยาณิวัฒนา จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อเก็บข้อมูลด้านอัตลักษณ์ของผ้าทอกระเหรี่ยง โดยลงพื้นที่ทั้งหมด 2 หมู่บ้านได้แก่ บ้านวัดจันทร์และบ้านห้วยบง ซึ่งในการลงพื้นที่เก็บข้อมูลด้านอัตลักษณ์ของผ้าทอกระเหรี่ยง มีเจ้าหน้าที่ของศูนย์พัฒนาโครงการหลวงวัดจันทร์ เจ้าหน้าที่ของมูลนิธิโครงการหลวง เจ้าหน้าที่ของสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูงและผู้ทรงคุณวุฒิ/ผู้เชี่ยวชาญภายนอก ได้ร่วมลงพื้นที่เก็บข้อมูลด้วย
การประชาคมถอดองค์ความรู้หัตถกรรมผ้าทอกะเหรี่ยงบ้านวัดจันทร์และบ้านห้วยบง โดยมีเจ้าหน้าที่ของศูนย์พัฒนาโครงการหลวงวัดจันทร์ เจ้าหน้าที่ของมูลนิธิโครงการหลวง เจ้าหน้าที่ของสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง ผู้ทรงคุณวุฒิ/ผู้เชี่ยวชาญภายนอกและชุมชนกะเหรี่ยงบ้านวัดจันทร์และบ้านห้วยบง ร่วมกิจกรรมถอดองค์ความรู้หัตถกรรมผ้าทอกะเหรี่ยง เจ้าหน้าที่ของศูนย์พัฒนาโครงการหลวงวัดจันทร์ เจ้าหน้าที่ของมูลนิธิโครงการหลวง เจ้าหน้าที่ของสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูงและชุมชนกะเหรี่ยงบ้านวัดจันทร์และบ้านห้วยบงเกิดกระบวนการเรียนรู้และเข้าใจระบบนิเวศตามภูมิสังคมของกลุ่มหัตถกรรมกลุ่มหัตถกรรมผ้าทอกะเหรี่ยงบ้านวัดจันทร์ อำเภอกัลยาณิวัฒนา จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อจัดทำองค์ความรู้ด้านผ้าทอกะเหรี่ยงย้อมสีธรรมชาติศูนย์พัฒนาโครงการหลวงวัดจันทร์



รายงานโดย นางสาวอภิญญา ไชยวงค์ วันที่รายงาน 27/08/2567 [17251]
21838 25
4 [17250]

กิจกรรมที่ 25 เข้าร่วมประชุมเครือข่ายส่งเสริมการใช้ประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม Science Research and Innovation (SRI) Network Townhall
สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมได้กําหนดจัดการประชุมเครือข่ายส่งเสริมการใช้ประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม Science Research and Innovation (SRI) Network Townhall โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือในการส่งเสริมการใช้ประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ให้เกิดการถ่ายทอดเทคโนโลยีและองค์ความรู้แก่ภาคอุตสาหกรรมและชุมชน นําไปสู่การขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศอย่างยั่งยืน ภายในงานมหกรรมส่งเสริมการใช้ประโยชน์ อววน.
เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจไทยอย่างยั่งยืนด้วยพลังสหวิทยาการ (อว.แฟร์ : SCI POWER FOR FUTURE THAILAND) ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ กรุงเทพมหานคร คลินิกเทคโนโลยี มทร.ล้านนา ได้เข้าร่วมประชุมแนวทางการดําเนินงานเครือข่ายคลินิกเทคโนโลยี และโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์สินค้าชุมชน (คูปองวิทย์เพื่อโอทอป) ประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2568



รายงานโดย นางสาวอภิญญา ไชยวงค์ วันที่รายงาน 27/08/2567 [17250]
0 50
4 [17246]

กิจกรรมที่ 24 จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “การพัฒนาศักยภาพครู สกร. ภาคเหนือด้วย อววน.”
คลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ร่วมกับสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ดำเนินการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “การพัฒนาศักยภาพครู สกร. ภาคเหนือด้วย อววน.” ในระหว่างวันที่ 14 - 16 กรกฏาคม 2567 ณ โรงแรมคุ้มภูคำ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาศักยภาพบุคลากรของ สกร. ภาคเหนือ ในพื้นที่เป้าหมายนำร่อง 10 จังหวัด โดยใช้กลไกองค์ความรู้ด้านอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม จากเครือข่ายสถาบันอุดมศึกษาในภาคเหนือ จำนวน 10 แห่ง เข้าร่วมพัฒนาแผนงานโครงการที่ตอบโจทย์ความต้องการของพื้นที่และเกิดหลักสูตรการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาทักษะอาชีพ ของ สกร. ตลอดจนเกิดเครือข่ายความร่วมมือร่วมกัน เพื่อให้เกิดแนวทางการบูรณาการความร่วมมือเพื่อร่วมสร้างโมเดลนำร่องการพัฒนาศักยภาพครู สกร. ในภาคเหนือ และขยายผลสู่พื้นที่ 77 จังหวัด



รายงานโดย นางสาวอภิญญา ไชยวงค์ วันที่รายงาน 27/08/2567 [17246]
0 100
4 [17245]

กิจกรรมที่ 23 ออกบูธธงาน Lanna Expo 2024 

คลินิกเทคโนโลยี มทร.ล้านนา เข้าร่วมการจัดบูธงาน Lanna Expo 2024 ณ ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา จังหวัดเชียงใหม่ สำหรับบูธของ มทร.ล้านนา จัดแสดงอยู่ในโซนที่ 6 MHESI Sustainable Innovation for Creative Lanna (โดย กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม) มีการนำเสนอผลงานและนิทรรศการต่างๆ ได้แก่ นิทรรศการผลิตภัณฑ์จากการต่อยอดงานวิจัยผลิตและทดลองการตลาด และบูธจำหน่ายผลิตภัณฑ์ (RMUTL products) ภายใต้แนวคิด “กินได้ ใช้ได้ ขายได้ อยู่ได้”, คลินิกให้คำปรึกษาด้านนวัตกรรมเกษตรและอาหารล้านนา งานหัตถศิลป์ล้านนาและด้านวิศกรรมศาสตร์, สาธิต/ปฏิบัติการแปรรูปผลิตภัณฑ์อาหารนวัตกรรมสร้างสรรค์ และงานหัตถศิลป์ล้านนา,ร้านค้าผลิตภัณฑ์นวัตกรรมชุมชุนจากกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเครือข่ายของมหาวิทยาลัย



รายงานโดย นางสาวอภิญญา ไชยวงค์ วันที่รายงาน 27/08/2567 [17245]
0 0
3 [16874]

กิจกรรมที่ 20 ข้าร่วมประชุมโครงการอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์จากเอื้องพร้าว

คลินิกเทคโนโลยี มทร.ล้านนา เข้าร่วมประชุมโครงการอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์จากเอื้องพร้าว เทศบาลตำบลเวียง อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ ภายใต้โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ โดยนำเสนอการใช้ประโยชน์จากดอกเอื้องพร้าว เช่น การออกแบบชุดแก้วกาแฟลายดอกเอื้องพร้าว การออกแบบเข็มกลัดลายดอกเอื้งพร้าว งานสร้างสรรค์อื่น ๆ โดยมีอาจารย์จากคณะศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมศาสตร์มาร่วมนำเสนอและช่วยออกแบบให้กับทางเทศบาลตำบลเวียง



รายงานโดย นางสาวอภิญญา ไชยวงค์ วันที่รายงาน 01/07/2567 [16874]
0 30
3 [16869]

กิจกรรมที่ 17 เข้าร่วมประชุมการขับเคลื่อนในการดำเนินการขอขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (Geographical Indication : GI) ผ้าซิ่นตีนจกโหล่งฮอด - ดอยเต่า

คลินิกเทคโนโลยี มทร.ล้านนา ได้รับเชิญจากอำเภอดอยเต่าร่วมเป็นคณะทำงานขับเคลื่อนในการดำเนินการขอขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (Geographical Indication : GI) ผ้าซิ่นตีนจกโหล่งฮอด - ดอยเต่า เพื่อเป็นการสร้างสินค้าให้เป็นสินค้าอัตลักษณ์ของท้องถิ่น โดยมีนายเพิ่มศักดิ์ ศรีสวัสดิ์ นายอำเภอดอยเต่าเป็นประธานในการประชุม พร้อมด้วยพัฒนาชุมชนอำเภอดอยเต่า เกษตรอำเภอดอยเต่า ผอ.สกร.อำเภอดอยเต่า หน่วยงานราชการ คณาจารย์และเจ้าหน้าที่จาก มทร.ล้านนา คณาจารย์จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และกลุ่มทอผ้าซิ่นตีนจกอำเภอดอยเต่าและอำเภอฮอดเข้าร่วมประชุม และในการนี้ได้มีผู้แทนพานิชย์จังหวัดเชียงใหม่มาให้ความรู้ ความเข้าใจในการขึ้นทะเบียนสินค้า GI แก่คณะทำงาน ณ ห้องประชุมชั้น 2 ที่ว่าการอำเภอดอยเต่า



รายงานโดย นางสาวอภิญญา ไชยวงค์ วันที่รายงาน 01/07/2567 [16869]
0 30
3 [16873]

กิจกรรมที่ 19 เข้าร่วมโครงการพัฒนากิจกรรมและการตลาดเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างสร้างสรรค์

คลินิกเทคโนโลยี มทร.ล้านนา เข้าร่วมโครงการพัฒนากิจกรรมและการตลาดเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างสร้างสรรค์ กิจกรรมส่งเสริมผ้าทอพื้นถิ่นด้วยอัตลักษณ์จังหวัดเชียงราย โดยเชิญอาจารย์ศุภกร สมมิตร อาจารย์ประจำหลักสูตรออกแบบอุตสาหกรรมมาร่วมเป็นวิทยากร โดยการนำเอาอัตลักษณ์ของจังหวัดเชียงรายมาร่วมกันออกแบบเสื้อผ้า เครื่องแต่งกายของแต่ละกลุ่ม เพื่อนำไปผลิตเป็นต้นแบบให้การจัดจำหน่ายสินค้าต่อไป



รายงานโดย นางสาวอภิญญา ไชยวงค์ วันที่รายงาน 01/07/2567 [16873]
0 30
3 [16866]

กิจกรรมที่ 16 นำเสนอผลงานการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม

คลินิกเทคโนโลยี มทร.ล้านนา ร่วมนำเสนอผลงานการบูรณาการในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชน "ด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม" ร่วมกับ ศกร.ตำบลหนองป่าครั่ง อำเภอเมืองเชียงใหม่ ต่อท่านธนากร ดอนเหนือ อธิบดีกรมส่งเสริมการเรียนรู้ พร้อมด้วยนางสาวเอื้อมพร ศรีภูวงศ์ ผู้อำนวยการกลุ่มส่งเสริมกิจการการศึกษาและเครือข่ายและคณะในคราวลงพื้นที่ตรวจราชการติดตามการขับเคลื่อนนโยบายกระทรวงศึกษาธิการ ของสำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้จังหวัดเชียงใหม่ และศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้อำเภอเมืองเชียงใหม่ โดยมีนางสาวทิพวรรณ เตียงธวัช ผู้อำนวยการ สกร.จังหวัดเชียงใหม่ ดร.ประภาภรณ์ คำโอภาส ผู้อำนวยการ สกร.อำเภอเมืองเชียงใหม่ คณะครูและบุคลากรทางการศึกษา ร่วมให้ข้อมูลการดำเนินงานตามนโยบายกระทรวงศึกษาธิการ ณ ห้องสมุดประชาชนจังหวัดเชียงใหม่



รายงานโดย นางสาวอภิญญา ไชยวงค์ วันที่รายงาน 01/07/2567 [16866]
0 0
3 [16875]

กิจกรรมที่ 21 เข้าร่วมโครงการเสวนาเพื่อพัฒนาและเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์

คลินิกเทคโนโลยี มทร.ล้านนา ร่วมกับคลินิกเทคโนโลยีเขตพื้นที่ เข้าร่วมโครงการเสวนาเพื่อพัฒนาและเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์ ณ บ้านเรียนรู้ย้อมห้อมและย้อมสีธรรมชาติ ต.น้ำแพร่ อ.พร้าว จ.เชียงใหม่ เพื่อจัดแสดงบูธนิทรรศการ โดยนำองค์ความรู้เทคโนโลยีและนวัตกรรมมาเผยแพร่ให้กับนักเรียนและผู้ที่สนใจ ซึ่งภายในงานมีการเสวนาเรื่อง การพัฒนาและเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์สิ่งทอและงานสร้างสรรค์ตามภูมิสังคมอย่างยังยืน โดย ผอ.เอกพงศ์ มุสิกะเจริญ ผู้อำนวยการกองส่งเสริมและประสาน เพื่อประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กปว.) และพิธีบันทึกข้อตกลง ความร่วมมือด้านวิชาการและบริการวิชาการแก่ชุมชน ระหว่าง คณะศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมศาสตร์ และกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผ้าห้อมไทลื้อบ้านหนองปลามัน ต.น้ำแพร่ อ.พร้าว จ.เชียงใหม่



รายงานโดย นางสาวอภิญญา ไชยวงค์ วันที่รายงาน 01/07/2567 [16875]
0 40
3 [16876]

กิจกรรมที่ 22 เข้าร่วมประชุมเชิงปฎิบัติการ เรื่อง “การทบทวนแผนปฎิบัติการขับเคลื่อนและส่งเสริมการใช้ประโยชน์งานด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมในระดับภูมิภาค

คลินิกเทคโนโลยี มทร.ล้านนา เข้าร่วมประชุมเชิงปฎิบัติการ เรื่อง “การทบทวนแผนปฎิบัติการขับเคลื่อนและส่งเสริมการใช้ประโยชน์งานด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมในระดับภูมิภาค ปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 พื้นที่ภาคเหนือ โดยสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ณ อาคารอำนวยการอุทยานวิทยาศาตร์ภาคเหนือ (จังหวัดเชียงใหม่) มีการบรรยายให้หัวข้อเรื่อง

          1.บทบาทของเครือข่ายความร่วมมือในการนำ วทน.ไปบูรณาการในเชิงพื้นที่ โดย ผอ.เอกพงศ์ มุสิกะเจริญ ผู้อำนวยการกองส่งเสริมและประสาน เพื่อประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กปว)

          2.แนวทางการติดตามและประเมินผลการดำเนินโครงการตามมิติประวิทธิภาพ ประสิทธิผล และคุณภาพการให้บริการ โดย ดร.อุทัย เจริญวงศ์ ผู้ทรงคุณวุฒิ

          3.การอภิปรายเรื่อง Show & Share success การพัฒนางานด้าน ววน. ในพื้นที่ โดยการนำเสนอผลงานในพื้นที่ที่ประสบความสำเร็จ และสามารถพัฒนาและต่อยอดได้

          4.การบรรยาย เรื่อง การขับเคลื่อนการส่งเสริมการใช้ประโยชน์งานด้าน ววน.ในระดับภูมิภาค โดย ดร.ชาญวิทย์ ตรีเดช ผู้อำนวยการกลุ่มส่งเสริมธุรกิจเทคโนโลยีและนวัตกรรม

          5.การบรรยาย เรื่อง แนวทางและกรอบการดำเนินงานการส่งเริมและสนับสนุนงบประมาณปีพ.ศ.2568 โดย นางสาวอัญชลี งอยผาลา นักวิเคราะห์และนโยบายและแผนชำนาญการ

          6.การอภิปราย เรื่อง แนวทางการเชื่อมโยงกลไกเครือข่ายความร่วมมือในการพฒนางานด้าน ววน.ในพื้นที่

          7.แบ่งกลุ่มทำกิจกรรม เรื่อง การทบทวนแผนปฎิบัติการขับเคลื่อนและส่งเสริมการใช้ประโยชน์งานด้าน วทน.ในระดับภูมิภาค มีการระดมความคิดเห็นเพื่อทบทวนแผน



รายงานโดย นางสาวอภิญญา ไชยวงค์ วันที่รายงาน 01/07/2567 [16876]
0 50
3 [16877]

รายงานค่าใช้จ่ายไตรมาสที่ 3

จ้างเหมาเจ้าหน้าที่คลินิกเทคโนโลยี 3 เดือน = 45,000 บาท

 

รวมเป็นเงิน 45,000 บาท



รายงานโดย นางสาวอภิญญา ไชยวงค์ วันที่รายงาน 01/07/2567 [16877]
45000 0
3 [16872]

กิจกรรมที่ 18 บริการให้คำปรึกษาเกี่ยวกับผ้าทอกะเหรี่ยงย้อมสีธรรมชาติ

คลินิกเทคโนโลยี มทร.ล้านนา จัดกิจกรรมบริการให้คำปรึกษาเกี่ยวกับผ้าทอกะเหรี่ยงย้อมสีธรรมชาติเก็บรวบรวมองค์ความรู้และภูมิปัญญาในพื้นที่และชุมชนกะเหรี่ยง ให้กับกลุ่มผ้าทอกะเหรี่ยงบ้านซา ต.แม่นาจร
อ.แม่แจ่ม จ.เชียงใหม่ วิทยากรในการเก็บรวบรวมองค์ความรู้ โดย นางสาวนันท์นภัส ไชยสวัสดิ์ ครู ศกร.ตำบลเวียง ได้มีการแลกเปลี่ยนความรู้กับกลุ่มผ้าทอกะเหรี่ยง และมีการลงพื้นที่ในการสอบถามชาวบ้านในชุมชนเพื่อนำเก็บรวบรวมความรู้นำไปให้ในครั้งต่อไป



รายงานโดย นางสาวอภิญญา ไชยวงค์ วันที่รายงาน 01/07/2567 [16872]
8180 25
2 [16392]

กิจกรรมที่ 8 การฝึกอบรมเทคโนโลยีการทำกระถางจากเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรด้วยเครื่องอัดกระถางแบบไฮโดรลิค

วันที่ 26 มกราคม 2567 คลินิกเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ร่วมกับหลักสูตรวิศวกรรมเครื่องกลเกษตร คณะวิศวกรรมศาสตร์ มทร.ล้านนา ได้ทำการสาธิตและส่งมอบเครื่องอัดกระถางจากฟางข้าว ให้กับ ศกร.ตำบลเวียง และเทศบาลตำบลเวียงพร้าว อ.พร้าว โดยเครื่องอัดกระถางจากฟางข้าวเป็นการออกแบบและพัฒนาโดยนักศึกษาและอาจารย์หลักสูตรวิศวกรรมเครื่องกลเกษตร โดยมีท่านนคร ปัญญาทิพย์ นายกเทศมนตรีตำบลเวียงพร้าว และนางสาวนันท์ภัส ไชยสวัสดิ์ ครู ศกร.ตำบลเวียง อ.พร้าว จ.เชียงใหม่
รับมอบเครื่องอัดกระถางจากฟางข้าวในครั้งนี้



รายงานโดย นางสาวอภิญญา ไชยวงค์ วันที่รายงาน 02/04/2567 [16392]
0 20
2 [16386]

กิจกรรมที่ 2 บริการให้คำปรึกษา “การนำวทน.พัฒนาศักยภาพของกลุ่มผ้าทอมือ”

วันที่ 2 พฤศจิกายน 2566 คลินิกเทคโนโลยี มทร.ล้านนาร่วมกับสำนักงานวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ(สวทช.)ลงพื้นที่กลุ่มผ้าทอมือบ้านห้วยปิง ในการให้คำปรึกษาการนำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อพัฒนาศักยภาพของกลุ่มผู้ประกอบการและวางแผนพัฒนาให้เกิดมูลค่าเชิงเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ณ อ.ทุ่งหัวช้าง จ.ลำพูน



รายงานโดย นางสาวอภิญญา ไชยวงค์ วันที่รายงาน 02/04/2567 [16386]
0 10
2 [16387]

กิจกรรมที่ 3 งานแสดงสินค้าสภาอุตสาหกรรมจังหวัดเชียงใหม่

วันที่ 4-12 พฤศจิกายน 2566 คลินิกเทคโนโลยี มทร.ล้านนา เข้าร่วมจัดบูธงานแสดงสินค้า โดยนำสินค้าจากผ้าทอไทลื้อย้อมสีธรรมชาติด้วยต้นห้อม ให้สอดคล้องตามสภาพภูมิสังคมชุมชนบ้านหนองปลามัน ตำบลน้ำแพร่ อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ มาจัดแสดง ณ ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติ 7 รอบพระชนมพรรษาจังหวัดเชียงใหม่



รายงานโดย นางสาวอภิญญา ไชยวงค์ วันที่รายงาน 02/04/2567 [16387]
0 30
2 [16388]

กิจกรรมที่ 4 เข้าร่วมพิธีเปิดศูนย์การเรียนรู้บ้านหนองปลามัน

วันที่ 14 พฤศจิกายน 2566 คลินิกเทคโนโลยี มทร.ล้านนา เข้าร่วมพิธีเปิดศูนย์การเรียนรู้อย่างเป็นทางการ โดยมีนายอำเภอพร้าว , เทศบาลตำบลเวียง , ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้ตำบลเวียง และสำนักพัฒนาชุมชนจังหวัด เข้าร่วมงานในครั้งนี้ ณ กลุ่มผ้าทอย้อมสีธรรมชาติไทลื้อบ้านหนองปลามัน อ.พร้าว จ. เชียงใหม่



รายงานโดย นางสาวอภิญญา ไชยวงค์ วันที่รายงาน 02/04/2567 [16388]
0 20
2 [16389]

กิจกรรมที่ 5 บริการให้คำปรึกษา การพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าทอกะเหรี่ยงย้อมสีธรรมชาติ

วันที่ 30 พฤศจิกายน 2566 คลินิกเทคโนโลยีมทร.ล้านนา บริการให้คำปรึกษา นำเสนอแนวคิดการพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าทอกะเหรี่ยงย้อมสีธรรมชาติสู่เศรษฐกิจมูลค่าสูงให้กับชุมชน ณ บ้านหนองบัว ตำบลเมืองคอง อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่



รายงานโดย นางสาวอภิญญา ไชยวงค์ วันที่รายงาน 02/04/2567 [16389]
0 20
2 [16390]

กิจกรรมที่ 6 การย้อมสีธรรมชาติจากโคลนน้ำพุร้อนบ้านหนองครก

วันที่ 17 ธันวาคม 2566 คลินิกเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาได้ทดลองย้อมสีธรรมชาติจากโคลนน้ำพุร้อนบ้านหนองครก เพื่อเป็นการสร้างผลิตภัณฑ์ส่งเสริมการท่องเที่ยวของชุมชนบ้านหนองครก ต.สันทราย อ.พร้าว จ.เชียงใหม่ โดยนำโคลนจากบ่อน้ำพุร้อนที่อยู่ในชุมชนมาย้อมเส้นด้ายฝ้าย เป็นการสร้างอัตลักษณ์ผลิตภัณฑ์ผ้าทอย้อมสีธรรมชาติให้กับชุมชน โดยใช้องค์ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มาทำการทดลองย้อมผสมผสานกับภูมิปัญญาของชุมชนในการสร้างองค์ความรู้ใหม่ให้กับชุมชน



รายงานโดย นางสาวอภิญญา ไชยวงค์ วันที่รายงาน 02/04/2567 [16390]
0 15
2 [16391]

กิจกรรมที่ 7 ออกบูธนำเสนอผลงานด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม

วันที่ 10 มกราคม 2567 คลินิกเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา พร้อมด้วยคลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คลินิกเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ คลินิกเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ และสำนักงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ร่วมกับศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้ตำบลหนองป่าครั่ง จัดโครงการจัดการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ด้านการศึกษา ฐานการเรียนรู้"แต้มสี ลีลามัด" และออกบูธนำเสนอผลงานด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ให้กับ นศ.ศกร.และประชาชนผู้สนใจที่เข้าร่วมโครงการดังกล่าว ณ ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้ตำบลหนองป่าครั่ง อ.เมือง เชียงใหม่



รายงานโดย นางสาวอภิญญา ไชยวงค์ วันที่รายงาน 02/04/2567 [16391]
0 20
2 [16393]

กิจกรรมที่ 9 ออกบูธงานสืบสานผ้าทอกะเหรียง

วันที่ 27 มกราคม 2567 คลินิกเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา พร้อมด้วยสำนักงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ร่วมกับอำเภอดอยเต่า, วัฒนธรรมจังหวัด และศูนย์เรียนรู้ผ้าทอกะเหรี่ยงบ้านหล่ายแก้ว ออกบูธนำเสนอผลงานด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ให้กับประชาชนและผู้ที่สนใจ ณ ที่ว่าการอำเภอดอยเต่า



รายงานโดย นางสาวอภิญญา ไชยวงค์ วันที่รายงาน 02/04/2567 [16393]
0 15
2 [16394]

กิจกรรมที่ 10 โครงการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมสิ่งทอพื้นเมือง

วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2567 คลินิกเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ร่วมกับสำนักงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) จัดกิจกรรมบริการให้คำปรึกษา เรื่องการย้อมสีธรรมชาติจากขมิ้น ฝาง และห้อม ภายใต้โครงการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมสิ่งทอพื้นเมือง ให้กับกลุ่มผ้าทอไทลื้อบ้านหนองปลามัน อ.พร้าว



รายงานโดย นางสาวอภิญญา ไชยวงค์ วันที่รายงาน 02/04/2567 [16394]
0 25
2 [16396]

กิจกรรมที่ 12 โครงการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมสิ่งทอพื้นเมือง

วันที่ 21-22 กุมภาพันธ์ 2567 คลินิกเทคโนโลยี มทร.ล้านนา ร่วมกับสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ(สวทช.) จัดกิจกรรมภายใต้โครงการ "การจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมสำหรับสิ่งทอพื้นเมือง" ในการค้นหาสีย้อมธรรมชาติให้กับกลุ่มทอผ้ากะเหรี่ยง อำเภออมก๋อย เพื่อสร้างเป็นสีย้อมธรรมชาติที่เป็นอัตลักษณ์ตามภูมิสังคมของพื้นที่นั้นๆ ในการนี้ได้นำพืชท้องถิ่นมาสกัดสีย้อมเส้นด้ายฝ้าย การนำกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมช่วยในการสร้างสีอัตลักษณ์



รายงานโดย นางสาวอภิญญา ไชยวงค์ วันที่รายงาน 02/04/2567 [16396]
0 25
2 [16398]

กิจกรรมที่ 13 เข้าร่สมจัดนิทรรศการและจำหน่ายผลิตภัณฑ์สินค้าชุมชน
วันที่ 24-25 กุมภาพันธ์ 2567 คลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ร่วมจัดนิทรรศการและจำหน่ายผลิตภัณฑ์สินค้าชุมชนผ้าทอไทลื้อย้อมสีธรรมชาติ ทั้งเสื้อผ้า เครื่องแต่งกาย และกระเป๋า ฯลฯ จากกลุ่มผ้าทอไทลื้อย้อมห้อมบ้านหนองปลามัน ตำบลน้ำแพร่ อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ ในกิจกรรม "มากาด มาจอย" นำองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม (วทน.) สู่การพัฒนาและแก้ปัญหาเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต และความเป็นอยู่ของประชาชนในแต่ละพื้นที่มาเผยแพร่ภายใต้โครงการของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ในงานแสดงผลงานการพัฒนาและยกระดับผลิตภัณฑ์สินค้าชุมชน ด้วย วทน. สู่เชิงพาณิชย์ “MHESI Innovation Fair @ Jing jai Market” ณ ลานกิจกรรม กาดจริงใจมาร์เก็ต จังหวัดเชียงใหม่
 



รายงานโดย นางสาวอภิญญา ไชยวงค์ วันที่รายงาน 02/04/2567 [16398]
0 20
2 [16399]

กิจกรรมที่ 14 โครงการการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมสำหรับสิ่งทอพื้นเมือง
วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2567 คลินิกเทคโนโลยี มทร.ล้านนา ร่วมกับสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ(สวทช.) จัดกิจกรรมภายใต้โครงการ "การจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมสำหรับสิ่งทอพื้นเมือง" ในการสร้างสีย้อมธรรมชาติให้กับศูนย์ฝึกอาชีพชุมชน ศูนย์การเรียนรู้ตำบลหนองป่าครั่ง อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อสร้างเป็นสีย้อมธรรมชาติที่เป็นอัตลักษณ์ตามภูมิสังคมของพื้นที่นั้นๆ ในการนี้ได้นำ "ครั่ง" ซึ่งเป็นชื่อของ "ตำบลหนองป่าครั่ง" ตามอดีตเป็นแหล่งครั่งที่มีมากตามพื้นที่นี้ มาสีย้อมผ้าเพื่อสร้างผลิตภัณฑ์ให้เป็นอัตลักษณ์ของชุมชน การนำกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมช่วยในการสร้างสีอัตลักษณ์
 



รายงานโดย นางสาวอภิญญา ไชยวงค์ วันที่รายงาน 02/04/2567 [16399]
0 20
2 [16385]

กิจกรรมที่ 1 บริการให้คำปรึกษา “การนำวทน.พัฒนาศักยภาพของกลุ่มผ้าทอไทลื้อ”

วันที่ 21 ตุลาคม 2566 คลินิกเทคโนโลยี มทร.ล้านนา1ร่วมกับสำนักงานวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ(สวทช.)และสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ลงพื้นที่กลุ่มผู้ประกอบการด้านสิ่งทอ ในการให้คำปรึกษาการนำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อพัฒนาศักยภาพของกลุ่มผู้ประกอบการและวางแผนพัฒนาให้เกิดมูลค่าเชิงเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ณ กลุ่มผ้าทอย้อมสีธรรมชาติไทลื้อบ้านหนองปลามัน อ.พร้าว จ. เชียงใหม่



รายงานโดย นางสาวอภิญญา ไชยวงค์ วันที่รายงาน 02/04/2567 [16385]
0 0
2 [16401]

รายงานค่าใช้จ่ายไตรมาสที่ 1-2

จ้างเหมาเจ้าหน้าที่คลินิกเทคโนโลยี 6 เดือน = 90,000 บาท

จ้างเหมาทำแบลคดรอป = 10,000 บาท

ค่าวัสดุ = 12,480 บาท

รวมเป็นเงิน 112,482 บาท



รายงานโดย นางสาวอภิญญา ไชยวงค์ วันที่รายงาน 02/04/2567 [16401]
112482 0
2 [16400]

กิจกรรมที่ 15 โครงการส่งเสริมความเข้มแข็งชุมชน ผู้ใช้กิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม
วันที่ 1 – 2 มีนาคม 2567 งานคลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ร่วมกับ สถาบันชุณหะวัณเพื่อการพัฒนาธุรกิจเอสเอ็มอีอย่างยั่งยืน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน และสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) จัดโครงการส่งเสริมความเข้มแข็งชุมชนผู้ใช้งานกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม ที่ออกแบบสำหรับทุกคน (Inclusive Design) และเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก (Assistive Technology) ณ ห้องประชุมราชาวดี โรงแรมคุ้มภูคำ เชียงใหม่ สำหรับการจัดโครงการดังกล่าว มีวัตถุประสงค์ เพื่อส่งเสริมความเข้มแข็งกลุ่มผู้ใช้งาน และคุ้มครองสิทธิ์ผู้พิการ ผู้สูงอายุ ผู้ด้อยโอกาส และทุกคนที่อยู่ในสภาวะความต้องการ ได้เข้าถึงสื่อการเรียนรู้และใช้ประโยชน์ได้อย่างเท่าเทียมกัน การจัดโครงการในครั้งนี้ มีผู้เข้าร่วมจากหน่วยงานต่าง ๆ ได้แก่ สมาคมคนตาบอด แห่งประเทศไทย, สมาคมคนหูหนวกแห่งประเทศไทย, สมาคมคนพิการแห่งประเทศไทย, สมาคมผู้ปกครองคนพิการทางสติปัญญาแห่งประเทศไทย, สมาคมผู้ปกครองบุคคลออทิซึม(ไทย), สมาคมเพื่อผู้บกพร่องทางจิตแห่งประเทศไทย รวมถึง นักวิชาการและประชาชนที่สนใจ
 



รายงานโดย นางสาวอภิญญา ไชยวงค์ วันที่รายงาน 02/04/2567 [16400]
0 50