2567 การบริการให้คำปรึกษาและข้อมูลเทคโนโลยีและการแก้ปัญหาขยะจากขุยมะพร้าวและจากใบสับปะรด    0


รายงานความก้าวหน้า

ไตรมาส ผลการดำเนินงาน งบประมาณที่ใช้ ผู้รับบริการ
4 [17908]

กิจกรรมที่   22   วันที่  1  สิงหาคม   2567  

การถ่ายทอดความรู้เรื่องการควบคุมอุณหภูมิและความชื้นในพาราโบล่าโดม วิสาหกิจชุมชน ส.บุญมีฤทธิ์

จากการร่วมเป็นที่ปรึกษาร่วมกัน สำนักอุทยานวิทยาศาสตร์และอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เรื่องการแก้ไขสีของมะม่วงที่ตากในพาราโบล่าโดมของวิสาหกิจชุมชน ส. บุญมีฤทธิ์ เนื่องจากปัญหาการมีสีไม่สม่ำเสมอ และความไม่สม่ำเสมอของชิ้นมะม่วง ทำให้การแห้งของผลผลิตที่ได้ไม่เท่ากัน อาจเป็นสาเหตุของเชื้อรา เนื่องจากความชื้นเกินกำหนด

การดำเนินงาน  ทำการลงพื้นที่สำรวจปัญหา จัดทำพร้อมติดตั้งระบบการควบคุมอุณหภูมิและความชื้นในพาราโบล่าโดม  ทำการทดสอบระบบติดตามผลผ่านมือถือ

 ผลการดำเนินงานทำการส่งมอบระบบการควบคุม สภาพอากาศภายในโรงเรือน และให้การอบรมถ่ายทอดเทคโนโลยี ร่วมกับสำนักอุทยานวิทยาศาสตร์และอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี  เพื่อการใช้งานอย่างถูกต้องและสร้างนวัตกรรมที่สามารถถ่ายทอดความรู้ด้าน IOT ให้แก่ ผู้ทำงานในวิสากิจชุมชน
ส.บุญมีฤทธิ์ ได้อย่างถูกต้อง โดยใช้งบสนับสนุน จากสำนักอุทยานวิทยาศาสตร์และอุตสาหกรรม มจธ.



รายงานโดย กมลวรรณ ชินวงค์ วันที่รายงาน 30/09/2567 [17908]
0 25
4 [18108]

กิจกรรมที่ 29  : ระหว่างเดือน เมษายน 67 – สิงหาคม 2567

การดำเนินงาน :  การบริหารจัดการโครงการคลินิกเทคโนโลยี  ดำเนินการติดต่อประสานงาน ตามภาระกิจของคลินิกเทคโนโลยี ระหว่างบุคลากรของมหาวิทยาลัยที่สนใจในการเข้าร่วมโครงการของคลีนิคเทคโนโลยี และบุคลากรภายนอกที่ติดต่อขอรับการปรึกษา การนัดหมาย และการฝึกหัดงานให้แก่เจ้าหน้าที่ประสานงาน คลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เพื่อให้สามารถทำงานได้ตามวัตถุประสงค์

งบประมาณที่ใช้ :  ค่าจ้างเจ้าหน้าที่ประสานงาน เดือนละ 15000 บาท จำนวน 5 เดือนรวม 75,000 บาท

ผู้เข้าร่วมกิจกรรม :  1 คน



รายงานโดย กมลวรรณ ชินวงค์ วันที่รายงาน 30/09/2567 [18108]
75000 1
4 [17904]

กิจกรรมที่ 18   วันที่ 2  กรกฎาคม 2567   

ลงพื้นที่วิสาหกิจชุมชน ผู้ผลิตเส้นใยธรรมชาติบ้านคา จังหวัดราชบุรี เพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยี การพัฒนาผลิตภัณฑ์จากเศษวัสดุที่เหลือจากการตีใบสับปะรดสด

การดำเนินการ  การให้คำปรึกษา และถ่ายทอดเทคโนโลยี เรื่องการทำ น้ำหอมจากดอกสับปะรด  และสบู่กลีเชอรี ผสมเส้นใยสับปะรด  เนื่องจากประธานวิสาหกิจชุมชน มีผู้สนใจ ต้องการสบู่กลีเชอรี ผสมน้ำกลั่นจากดอกสับปะรดและเส้นใยสับปะรดจากผู้สนใจ และ น้ำหอมจากดอกสับปะรด และต้องการทราบวิธีการทำน้ำยาล้างจานจากเศษวัสดุที่เหลือจากการตีใบสับปะรดสด  และน้ำหอมจากดอกสับปะรด  ให้แก่ผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 50 คน   เพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อการทำผลิตภัณฑ์

 ผลการดำเนินงาน  ถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิต ได้ผลิตภัณฑ์จำนวน 3 ชนิด  ได้แก่
           การผลิตน้ำหอมกลิ่นสับปะรด   โดยนำตาสับปะรดเข้าระบบการกลั่นด้วยไอน้ำ เพื่อให้ได้สารสกัดที่ได้จะมีกลิ่นหอมจากตาสับปะรด นำมาผสมกับแอลกอฮอล์  บรรจุลงในขวด ขนาด 15 ml

          การผลิตสบู่ นำเหง้าสับปะรด มาต้มและกลั่นแบบไอน้ำ ได้น้ำหัวเชื้อจากเหง้าสับปะรด นำเส้นใยแช่ในน้ำที่สกัดได้ 1 คืน นำมาผสมกับกลีเชอรีน หยอดลงในพิมพ์ พร้อมส้นใยสับปะรด โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ ใช้เป็นเส้นใยสำหรับการขัดผิว  ได้สบู่ที่มีคุณสมบัติในการกำจัดความหมองคล้ำบนใบหน้า เนื่องจากที่เปลือกของสับปะรดมีสารโบรมิเรน ที่มีคุณสมบัติในการลดการอักเสบ  ช่วยย่อยสลายเนื้อที่ตายแล้วทำให้ ลดการอักเสบและทำให้ ผิวหนังเรียบและอ่อนนุ่มขึ้น  ขายในราคา ก้อนละ  30 บาท ดำเนินการขอ มผช.

          การทำน้ำยาล้างจาน จากเศษวัสดุ ที่ได้จากการตีใบสับปะรดสด โดยการนำเอากากใบสับปะรดสดสีเขียว มาต้มในน้ำเปล่า ผสมกับสาร  N70  (Sodium lauryl ether sulfate)  ความเข้มข้น 70% และ สารขจัดคราบมัน  Linear alkylbenzene sulfonate, sodium salt หรือ มักเรียกว่า F50  เป็นสารลดแรงตึงผิว ทำให้เศษไขมันหลุดออกได้ง่าย  เกลือ 1 กก. เพื่อปรับความหนืด กลิ่นมะนาว จำนวน 2 กรัม สารกันบูด จำนวน 2 กรัม สารแต่งสี แบบปลอดภัย  น้ำกรองที่ต้มจากเศษใบสับปะรด จำนวน 800 กรัม  ได้น้ำยา ล้างจาน 1,000 ml



รายงานโดย กมลวรรณ ชินวงค์ วันที่รายงาน 30/09/2567 [17904]
15000 50
4 [17905]

กิจกรรมที่  19   วันที่  8  กรกฎาคม 2567  

การพัฒนาต่อเส้นใยสับปะรด เพื่อการทอผ้า

การดำเนินงาน  จากการทดลองทอผ้าใยสับประรด โดยการหั่นเส้นใยสับประรด ครั้งละ8-12 เส้น แล้วนำมาผูกต่อกัน จากนั้นจึงนำมาใช้เป็นเส้นพุ่งในการทอได้เป็นผ้าใยสับปะรด ที่มีลักษณะเอกลักษณ์ คือ มีปมเล็กๆ อยู่บนเนื้อผ้า แต่เนื่องจากวิธีการดังกล่าว ต้องใช้เวลาในการผูก และมีค่าจ้างในการทำงานค่อนข้างสูง ทีมที่ปรึกษา จึงหารือกับสมาชิกในวิสาหกิจชุมชนฯ ในการหาวิธี เพื่อต่อเส้นใยให้รวดเร็วขึ้น และมีต้นทุนในการผลิตลดลง

ผลการดำเนินงาน  ประธานวิสาหกิจชุมชน จึงร่วมมือกับกับทีมที่ปรึกษาและสมาชิกทดลอง ใช้เครื่องปั่น แต่พบว่า การใช้วิธีการแยกเส้นใยให้แตกกลุ่มกันเสียก่อน แล้วดึงเส้นใยเท่าปริมาณที่ต้องการฟั่นออกมา เพื่อทำการปั่นเส้นให้แน่น โดยยังให้มีส่วนของเส้นด้ายบางส่วนติดอยู่ในกลุ่ม เพื่อใช้เชื่อมโยงต่อไป และทำการคลึงด้วยมือ และโต๊ะที่รองรับที่ต้องมีความเรียบเกลี้ยง เพื่อให้ได้เส้นใยที่มีขนาดที่เท่ากัน หรือใกล้เคียงกันตลอด เส้นนำมาม้วนใส่กระสวยและใช้เป็นเส้นพุ่งในการทอผ้าสับปะรด จะได้ผ้าใยสับปะรดที่มีผิวเรียบแน่นไม่ฟู และเนื้อบางกว่าเดิม  และทดลองย้อมสีธรรมชาติ ได้ผ้าสีขาวขึ้นกว่าเดิม  ขายได้ในราคา เมตรละ 1,000 บาท



รายงานโดย กมลวรรณ ชินวงค์ วันที่รายงาน 30/09/2567 [17905]
5000 7
4 [17907]

กิจกรรมที่  21  วันที่  25  กรกฎาคม  2567

การดำเนินงาน การเข้าร่วมประชุม กับ สป.อว.  ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ถนนรัชดาภิเษก แขวงคลองเตย เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร  ในงาน  : SCI POWER FOR FUTURE THAILAND มหกรรมส่งเสริมการใช้ประโยชน์ อววน. เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจไทยอย่างยั่งยืน ด้วยพลังสหวิทยาการ หรือ “อว.แฟร์” จัดโดย กระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ร่วมกับเครือข่ายพันธมิตรทั้งภาครัฐและภาคเอกชน

ผลการดำเนินงาน  รับฟังแนวทางการดำเนินนโยบายของ สป.อว. ในแต่ละ platform เพื่อนำไปปฏิบัติให้เกิดผลสัมฤทธิ์ตามวัตถุประสงค์  โดยเข้ารับฟังใน sessionที่เกี่ยวข้อง



รายงานโดย กมลวรรณ ชินวงค์ วันที่รายงาน 30/09/2567 [17907]
2000 8
4 [17909]

กิจกรรมที่ 23  วันที่  3  สิงหาคม 2567  

ให้ความรู้เรื่องการพัฒนาแคบหมู ให้เป็นสินค้าใหม่

จากการนัดหมาย  เพื่อให้เรื่องขอความรู้เรื่องการพัฒนาสินค้า แก่คุณชัยยศ แย้มมา  เรื่องการสร้างสินค้าตัวใหม่จากแคบหมู เพื่อเพิ่มยอดขาย ต่อจากการพูดคุย ครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2 เมื่อ วันที่ 27 มิถุนายน และ 18กรกฎาคม  2567  ไปแล้วนั้น  และได้ดำเนินงานต่อดังนี้

การดำเนินงาน  แจ้งข่าวการ การเปิดรับสมัครเข้าร่วมกิจกรรมบ่มเพาะธุรกิจของผู้ประกอบการอัจฉริยะ (NEC Incubation)  ภายใต้โครงการเร่งการจัดตั้งและขยายธุรกิจของผู้ประกอบการอัจฉริยะ ประจำปีงบประมาณ 2567 จัดโดย กองส่งเสริมผู้ประกอบการและธุรกิจใหม่ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้ผู้เข้ารับริการคำปรึกษาทราบและสมัครเข้าร่วมกิจกรรม

ผลการดำเนินงานผู้เข้ารับบริการคำปรึกษา สมัครเข้าร่วมอบรม กิจกรรมการพลิกโฉมธุรกิจใหม่ สู่โลก IT ด้วย IT IOT และ AI และ Business Model Canvas วันที่ 3-4 สิงหาคม 2567  โดยผู้อบรม เขียนแผนธุรกิจในการแปรรูปแคบหมู เป็นชิ้นขนาดเล็กพอคำ ทานได้หมดในคำเดียว และคลุกผลปรุงรบเพื่อให้มีรสชาติที่แปลกไป ทีมงานรับเป็นที่ปรึกษาในการเข้าพัฒนาผลิตภัณฑ์ต้นแบบ ตามแผนธุรกิจที่เขียน

 



รายงานโดย กมลวรรณ ชินวงค์ วันที่รายงาน 30/09/2567 [17909]
0 6
4 [17910]

กิจกรรมที่   24   วันที่  15 สิงหาคม 2567 

เสนอผ้าใยสับปะรด เพื่อพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์รองเท้าและกระเป๋า

คุณไชยันต์  ไชยสอง เจ้าของบริษัท โปรเกรส แฟคตอรี่ จำกัด เลขที่ 18/7 แยก 4 แขวงทุ่งดอน เขตสาทร กรุงเทพมหานคร 10120 เป็นบริษัทผู้ผลิตรองเท้า ที่ทำจากหนังโพลิมอร์ แบรนด์ Sofashoes ขายในห้างสรรพสินค้าอื่นๆ ด้วยการดำเนินงาน  ได้เข้าแข่งขัน กิจกรรมบ่มเพาะธุรกิจของผู้ประกอบการอัจฉริยะ (NEC Incubation)ภายใต้โครงการเร่งการจัดตั้งและขยายธุรกิจของผู้ประกอบการอัจฉริยะ ประจำปีงบประมาณ 2567 จัดโดย กองส่งเสริมผู้ประกอบการและธุรกิจใหม่ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม และผ่านเข้ารอบการแข่งขันนำเสนอแผนธุรกิจต้นแบบ จึงขอรับบริการจากคลินิกทเคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เพื่อรับคำปรึกษาในเรื่องการพัฒนาสินค้าชนิดใหม่เพื่อเพิ่มยอดขาย

การดำเนินงาน  ทีมคลินิกเทคโนโลยีฯ ลงพื้นที่เยี่ยมชมกิจการของบริษัท และ ได้เสนอผ้าทอจากเส้นใยสับปะรด เป็นวัสดุการทำรองเท้า แทนการใช้หนัง

ผลการดำเนินงาน  คุณไชยันต์ ไชยสอง มีความเห็นไปในทางเดียวกัน คือ ผ้าจากใยสับปะรด มีจุดเด่นที่มีความเหนียว และยืดหยุ่นได้ดี ระบายอากาศได้ดี และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เห็นว่าเป็นการพัฒนาผลิตภัณฑ์ตัวใหม่ที่แตกต่างไปจากรองเท้าที่ผลิตอยู่เดิม จึงรับนำไปออกแบบโดยพนักงานฝ่าย R&D  เพื่อผลิตสินค้าตัวอย่าง



รายงานโดย กมลวรรณ ชินวงค์ วันที่รายงาน 30/09/2567 [17910]
8500 12
4 [18061]

กิจกรรมที่  25  วันที่  28  สิงหาคม  2567 

การพัฒนาแคบหมูในรูปแบบใหม่

การดำเนินการจากการที่คุณชัยยศ แย้มมา เข้าขอคำปรึกษา เรื่องการพัฒนาแคบหมู เพื่อสร้างช่องทางการตลาดใหม่ ทีมงานได้นัดหมายการเข้าให้คำปรึกษา ในวันที่ 24 มิถุนายน 2567 และ 15 สิงหาคม 2567 แล้วนั้น                                                         ผู้ประกอบการได้เข้าแข่งขันในโครงการ การพัฒนาธุรกิจใหม่ของผู้ประกอบการอัจฉริยะ โดยปรับปรุงผลิตภัณฑ์ ตามคำแนะนำ และผ่านการคัดเลือก เข้าไปแข่งขันในรอบชิงรางวัลการนำเสนอแบบจำลองธุรกิจต้นแบบ  ที่ปรึกษา จึงได้แนะนำ กระบวนการปรับเปลี่ยนแคบหมู จากรูปแบบเดิมให้เป็นรูปแบบใหม่ ดังนี้  

          1. การเปลี่ยนรูปลักษณ์ภายนอกของแคบหมู ให้เป็นชิ้นขนาดพอคำ ไม่ต้องกัด เพื่อแบ่งคำเวลารับประทาน จะไม่มีเศษหกเลอะเทอะ

          2. สร้างชื่อ และโลโก้ ให้เป็นแบรนด์ราชาแคบหมู โลโก้ คือ หมูอ้วนสวมมงกุฎ

          3. ปรับบรรจุภัณฑ์ จากถุงพลาสติก เป็นกล่องพลาสติกและพัฒนาฉลาก

          4. ให้ผู้ประกอบการ คำนวณ ต้นทุน เพื่อตั้งราคาขาย                                           

ผลการดำเนินงาน   ได้ผลิตภัณฑ์แคบหมูรสข้าวซอย รสปาปริก้าบาร์บิคิว รสฮอตแอนด์สไปรซี่ บรรจุในกล่องมีฝาผนึกพร้อมรับประทาน  ภายใต้แบรนด์ราชาแคบหมู (Raja Pork Rinds)

 



รายงานโดย กมลวรรณ ชินวงค์ วันที่รายงาน 30/09/2567 [18061]
3650 6
4 [18062]

กิจกรรมที่  26  วันที่  4  กันยายน 2567   รองเท้าเพื่อสุขภาพจากผ้าใยสับประด

การดำเนินการจากการที่คุณไชยันต์  ไชยสอง เจ้าของบริษัท โปรเกรส แฟคตอรี่ จำกัด เข้าขอคำปรึกษา เรื่องต้องการพัฒนารองเท้าในรูปแบบใหม่ เพื่อสร้างช่องทางการตลาดใหม่ ทีมงานได้นัดหมายการเข้าให้คำปรึกษา ในวันที่ 15 สิงหาคม 2567  โดยการใช้ผ้าใยสับปะรดจากวิสาหกิจชุมชนผู้ผลิตเส้นใยธรรมชาติบ้านคา เป็นวัตถุในการผลิตแทนหนัง โดยมีทีมที่ปรึกษาจากคลินิกเทคโนโลยี ให้คำปรึกษาและได้จัดซื้อผ้าทอจากวิสาหกิจชุมชนผู้ผลิตเส้นใยธรรมชาติบ้านคา มาเป็นวัตถุเพื่อการผลิตเป็นต้นแบบผลิตภัณฑ์ที่ต้องการพัฒนา รวมถึงการเขียนแบบจำลองธุรกิจ ในการผลิตและจำหน่ายรองเท้าและกระเป๋าจากผ้าใยสับปะรด เพื่อใช้ในกิจกรรมแข่งขันแผนธุรกิจต้นฉบับ  ในกิจกรรมการพัฒนาธุรกิจใหม่ของผู้ประกอบการอัจฉริยะ  

ผลการดำเนินงาน  ผู้ประกอบการ ดำเนินการผลิตรองเท้า โดยมีขั้นตอน ดังนี้ 

          1. การใช้ผ้าใยสับปะรด ต้องนำผ้าไปเคลือบกันน้ำ และเคลือบสารกันเชื้อรา

          2. สร้างรองเท้าสุขภาพ โดยพื้นรองเท้า ทำจาก memory foam เพื่อให้สามารถรองรับเท้าได้ทุกส่วน

          3. คิดราคาต้นทุนในการผลิตรองเท้า 1 คู่ จากผ้าใยสับปะรด เฉลี่ยประมาณคู่ละ 1,800 บาท

ได้ผลิตภัณฑ์รองเท้าจากใยสับปะรด และนำเสนอแบบจำลองธุรกิจ ในการแข่งขันได้รับรางวัลรองชนะเลิศ อันดับที่ 2 ได้รับเงินรางวัล 7,000 บาท โดยคุณไชยันต์ ได้นำเสนอรองเท้าตัวอย่างกับบริษัทคู่ค้าในประเทศญี่ปุ่น ซึ่งจะได้เจรจากันต่อไป



รายงานโดย กมลวรรณ ชินวงค์ วันที่รายงาน 30/09/2567 [18062]
4800 30
4 [18063]

กิจกรรมที่ 27  วันที่ 16 กันยายน 2567 

การบริการคำปรึกษาทางโทรศัพท์ จากผู้ต้องการรับบริการคำปรึกษา

          ได้รับการติดต่อจาก คุณอัชชกร โสภิญสวัสดิ์รัตน์ กรรมการผู้จัดการ บริษัทจำกัด อกริโพรเซศซั่ง อินดัสทรี  เลขที่ 88/47 หมู่ 10  ตำบลอ้อมน้อย  อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร 74130  โทรศัพท์หมายเลข 089-000-6741  ได้ทราบช่องทางการเข้าปรึกษา จาก webpage ของ clinic technology  KMUTT  เรื่องการให้คำปรึกษา แนะนำ ด้านการใช้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี เพื่อการพัฒนาแก้ปัญหา ผลิตภัณฑ์  และแจ้งปัญหา ที่ต้องการแก้ไข คือ ต้องการขอสูตรพัฒนาเจลลี่ผลไม้ และการทำมะขามกวนเคลือบน้ำตาล  ผลผลิตที่ได้ในบางครั้งเม็ดมะขามกวนที่ได้จะมีน้ำตาลเป็นเม็ดๆอยู่ภายใน 

การดำเนินงาน  ที่ปรึกษาให้คำแนะนำแบบ online ในเบื้องต้น ดังนี้ 

          1.การเหลือน้ำตาลเป็นเม็ดอยู่ภายในเนื้อมะขามกวน อาจเนื่องมาจากปริมาณน้ำตาลที่ใส่มากเกินกว่า ค่าความสามารถที่น้ำตาลสามารถละลายได้ในของเหลวขณะนั้น จึงทำให้เหลือเกล็ดน้ำตาลที่ละลายไม่หมด

          2. อีกกรณีหนึ่งคือปริมาณความร้อนไม่เพียงพอ

          3. สูตรเจลลี่ไม้ คลินิกเทคโนโลยีดำเนินการจัดหาให้   

ผลการดำเนินงาน   ทีมที่ปรึกษา นัดเข้าพบเพื่อนำตัวอย่าง เข้าทดสอบในห้องปฏิบัติการ พร้อมนัดผู้เชี่ยวชาญ ด้านเทคโนโลยีอาหาร เพื่อเข้ารับฟังปัญหา และหาวิธีการแก้ปัญหาต่อไป 



รายงานโดย กมลวรรณ ชินวงค์ วันที่รายงาน 30/09/2567 [18063]
0 3
4 [18064]

กิจกรรมที่  28  วันที่  19,20,26  กันยายน  พ.ศ. 2567 

โครงการแนวคิดนวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม ภายใตหัวข้อง สร้างสรรค์แนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน

นาย ถิ่นไทย บุตรสีทา นายถิ่นไทย บุตรสีทา ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์

น.ส.ภัทรภา มีรุ่งเรือง ภาควิชาวิศวกรรมเมคคาทรอนิกส์

น.ส.อรรัมภา กองผ้าขาว ภาควิชาวิศวกรรมเมคคาทรอนิกส์ 

น.ส.ภิญญดา เลิศชาญวุฒิกุล ภาควิชาฟิสิกส์

น.ส.กมลวรรณ ชินวงค์ ศูนย์บูรณาการเทคโนโลยีเพื่ออุตสาหกรรมไทย

ดร.วรวิทย์ โกสลาทิพย์ ศูนย์บูรณาการเทคโนโลยีเพื่ออุตสาหกรรมไทย

 

การดำเนินงานให้คำปรึกษาของกระบวนการบำบัดน้ำเสียที่สนใจจะนำมาพัฒนา คือ การสร้างพลังงานไฟฟ้าได้ โดยการสร้างเยื่อสังเคราะห์ นำมาบำบัดจะไหลผ่านเยื่อสังเคราะห์ในทิศทางตั้งฉากกัน ทำให้เกิดการสร้างกระแสไฟฟ้าได้จากกระบวนการบำบัดน้ำเสีย โดยจะช่วยให้โรงควบคุมคุณภาพน้ำสามารถบำบัดน้ำเสียได้ และยังได้ผลผลิตเพิ่มเติมคือกระแสไฟฟ้า ที่สามารถนำกลับไปเป็นพลังงานหมุนเวียนไว้ใช้ในโรงงานต่อไปได้จะช่วยลดค่าไฟฟ้าที่โรงควบคุมคุณภาพน้ำที่ต้องสูญเสียไปได้และยังเพิ่มทางเลือกในการผลิตไฟฟ้าของประเทศ

 ผลการดำเนินงาน   เดินทางร่วมกิจกรรม และเป็นที่ปรึกษาร่วมกับทีมเจ้าหน้าที่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตเพื่อจัดทำแผนของการไฟฟ้าฝ่ายผลิต


ผลการดำเนินงาน   ให้คำปรึกษาด้าน นวัตกรรมการผลิตไฟฟ้าและการบำบัดน้ำเสียด้วย โดยมีนวัตกรรมใหม่ และให้คำอธิบายถึงโครงสร้างพิเศษที่สามารถบำบัดน้ำเสียไปพร้อมๆ กับการผลิตไฟฟ้า ซึ่งวัสดุใหม่มีลักษณะโครงสร้างภายในเป็นลักษณะเป็นชั้นคล้ายแซนวิชซ้อนกัน ซึ่งทำให้น้ำบริสุทธิ์ในแนวตั้งฉากและทำการผลิตไฟฟ้าในแนวหมายถึงการเคลื่อนที่ของไอออน โดยจากการค้นคว้าในปัจจุบันได้แบ่งออกเป็น 2 ชั้น ดังนี้

ชั้นแรก : ultrafiltration membrane (UF) : มีคุณสมบัติกรองเชื้อโรค แบคทีเรียและไวรัสต่างๆ กรองได้ละเอียดถึง 0.01 ไมครอน

ชั้นสอง : ท่อนาโนคาร์บอนผนังสองชั้น (CNTs) : มีความสามารถใน การนำไฟฟ้าได้ดี ซึ่งท่อนาโนคาร์บอนนั้น สามารถนำไฟฟ้าได้ถึง 109 แอมแปร์ต่อตารางเซนติเมตร (A/cm²) โดยข้อดีอีกอย่างของท่อนาโนคาร์บอน คือ สามารถปลดปล่อยอิเล็กตรอนจากปลายของท่อนาโนคาร์บอนในสภาวะสุญญากาศได้ และวัสดุอีกชนิดที่อยู่ในชั้นเดียวกันคือ Polystyrene Sulfonate (PEDOT:PSS) มีประสิทธิภาพสูงสุดในบรรดาวัสดุเครื่องกำเนิดไฟฟ้าแบบ Thermoelectric ที่ทำจากสารอินทรีย์ที่นำไฟฟ้าได้ และมักถูกใช้ในสถาปัตยกรรมฟิล์มบาง

เพื่อเพิ่มความเสถียรของทั้งสองชั้นจำเป็นจะต้องใช้สารยึดเกาะทั้งสองชนิด คือ (polyacrylic acid) (PAA) และ carboxymethyl cellulose (CMC) สารยึดเกาะผสม PAA/CMC โดยทั่วไปจะแสดงค่าที่สูงกว่าความแข็งแรงเชิงกลมากกว่าการใช้สารยึดเกาะเพียงชนิดเดียว

การผลิตไฟฟ้าจากไหลของน้ำอาศัยเคลื่อนที่ของอิเล็กตรอนที่ CNTs และ PEDET:PSS ที่มีคุณสมบัตินำไฟฟ้าสูงจะทำหน้าที่เป็นตัวนำอิเล็กตรอนไปยังขั้วไฟฟ้า (Electrodes) ที่อยู่ภายในเมมเบรน และคุณสมบัติในการกรองและบำบัดน้ำ สามารถกรองสารอินทรีย์ขนาดต่ำกว่า 0.01 micron ถึง 90% ที่น้ำแรงดัน 3.45 บาร์ สรุปโดยง่าย ดังนี้ น้ำเสียไหลผ่านเมมเบรน →เกิดการเคลื่อนที่ของประจุไฟฟ้า →เก็บเกี่ยวและแปลงเป็นพลังงานไฟฟ้า + ได้น้ำที่สะอาดยิ่งขึ้นรายจ่าย   



รายงานโดย กมลวรรณ ชินวงค์ วันที่รายงาน 30/09/2567 [18064]
8000 6
4 [17906]

กิจกรรมที่  20 วันที่  18  กรกฎาคม 2567 

ลงพื้นที่ดูการผลิตแคบหมู เพื่อวิเคราะห์ศักยภาพในการพัฒนา

การดำเนินงาน  จากการที่ คุณยงยศ แย้มมา ได้เข้าขอรับคำปรึกษา ครั้งแรกในวันที่ 24 มิถุนายน และทีมงานได้นัดหมาย ให้คำปรึกษาครั้งที่ 2 ในวันที่ 18 กรกฎาคม พร้อมลงพื้นที่ ดูกระบวนการและขั้นตอนการผลิต พบว่าผู้ประกอบการผลิตวัตถุดิบเอง คือ หนังหมูแห้งเพื่อทอดเมื่อต้องการขาย  โดยขายแคบหมูพร้อมรับประทาน ใน ตลาดวัดอินทราราม มีลูกค้าประจำ ขายได้สม่ำเสมอ  ผู้ประกอบการมีพื้นที่ ที่สามารถปรับเปลี่ยนเป็นสถานประกอบการเพื่อการผลิตและขอ อย. ได้  ในปัจจุบันขายได้แต่ยอดขายคงที่ 

ผลการดำเนินงาน  จากการที่ทีมงานได้ดูกระบวนการผลิต และศักยภาพของผู้ประกอบการ และเล็งเห็นว่า เมื่อคำแนะนำ แล้วผู้ขอรับการปรึกษาสามารถนำไปปฏิบัติได้ จึงให้ข้อแนะนำดังนี้

·     ปรับเปลี่ยนรูปแบบแคบหมู โดยทำให้เป็นชิ้นสั้นลง จะทำให้รับประทานได้ในครั้งเดียว โดยไม่ต้องกัด ให้หัก เกิดเป็นเศษ หกเลอะเทอะ และปรุงรส ด้วยผงปรุงรส รสต่างๆ ที่กำลังเป็นที่นิยมของกลุ่มวัยรุ่น

ให้สมัครลงแข่งขัน ในกิจกรรมบ่มเพาะธุรกิจของผู้ประกอบการอัจฉริยะ (NEC Incubation)ภายใต้โครงการเร่งการจัดตั้งและขยายธุรกิจของผู้ประกอบการอัจฉริยะ ประจำปีงบประมาณ 2567 จัดโดย กองส่งเสริมผู้ประกอบการและธุรกิจใหม่ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม



รายงานโดย กมลวรรณ ชินวงค์ วันที่รายงาน 30/09/2567 [17906]
2000 5
4 [17842]

กิจกรรมที่   16  วันที่  27  มิถุนายน  2567 

การบริการคำปรึกษาทางโทรศัพท์ จากผู้ต้องการรับบริการคำปรึกษา

          ได้รับการติดต่อจาก คุณยงยศ  แย้มมา ทางโทรศัพท์หมายเลข 061-546-2952  ซึ่งทราบช่องทางการให้บริการ จาก webpage ของ clinic technology KMUTT  เรื่องการให้คำปรึกษา แนะนำ ด้านการใช้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี เพื่อการพัฒนา แก้ปัญหา ผลิตภัณฑ์  และแจ้งปัญหา ที่ต้องการแก้ไข คือ ผู้ขอรับบริการการทำผลิตภัณฑ์แคบหมูขายมาเป็นเวลานานกว่า 5 ปี และ พบว่าสินค้ามียอดจำหน่ายคงที่ จึงต้องการหาวิธีการ พัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อเพิ่มยอดขาย และวิธีการเก็บรักษาให้แคบหมู รักษาสภาพความกรอบได้นานขึ้น และ
ไม่เหม็นหืน โดยนัดเข้าพบ ณ หน่วยงานคลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

การดำเนินงาน  ที่ปรึกษาให้คำแนะนำดังนี้ 

          1 เก็บแคบหมูในถุงฟรอย เนื่องจากมีคุณสมบัติในการ ปิดกั้นการแทรกตัวของอากาศเข้าไปในภาชนะบรรจุได้ดีกว่าถุงพลาสติกทั่วไป ทำให้ออกชิเจนไม่สามารถเข้าไปรวมตัวกับ โปรตีนในหนัง 

          2. การสลัดน้ำมันหลังการทอด จะช่วยไม่ให้แคบหมู เหม็นหืนเร็ว 

          3. การปรับเปลี่ยนกรรมวิธีการผลิต เพื่อให้เป็นแคบหมูที่พองได้ โดยใช้ไมโครเวฟ ไม่ต้องทอดในน้ำมัน

ผลการดำเนินงาน  ผู้รับคำปรึกษา นำกระบวนการปรับเปลี่ยนตามคำแนะนำ  ไปพิจารณาถึงความเป็นไปได้ในการลงมือทำได้จริง สามารถทำได้ทันที โดยไม่ต้องปรับเปลี่ยนเครื่องมือ หรือลงทุนเพิ่ม

          ที่ปรึกษานัดหารืออีกครั้ง ในวันที่ 18 กรกฎาคม 2567  เพื่อหาข่องทางสนับสนุนการพัฒนา และให้ช่องทางการให้คำปรึกษา ทางไลน์ และให้คิดต้นทุนในการผลิตด้วย



รายงานโดย กมลวรรณ ชินวงค์ วันที่รายงาน 29/09/2567 [17842]
0 4
4 [17836]

กิจกรรมที่  11   วันที่  17   เมษายน 2567   เวลา  14.00  น.

ลงพื้นที่ บริษัท สมานทอง สาขา 2จังหวัด สมุทรสงคราม คุณเฉลิมพงษ์ เหลืองกอบกุลวงศ์  และคุณศิริพงษ์ เหลืองกอบกุลวงศ์

การดำเนินงาน  ผู้จัดการ คลินิกเทคโนโลยี ดร.วรวิทย์ โกสลาทิพย์ และ รศ.ดร.ตุลา จูฑะรสก  คณบดีคณะวิทยาศาสตร์  และประธานอุตสาหกรรมจังหวัด  คุณวีรนิจ เหลืองรัตนเจริญ และ คุณตวงพร ทรงธรรมวัฒน์ พร้อมทีมงาน เดินทางไปยัง บริษัท สมานทอง โรงคัดแยกขยะ สมุทรปราการ  เลขที่74/49-50 ซอยบางจะเกร็ง 4 ถนนธนบุรี-ปากท่อ ตำบลแม่กลอง อำเภอเมืองสมุทรสงคราม จังหวัดสมุทรสงคราม 75000  โทรศัพท์ 0-3477-2026  เนื่องจากต้องการรับคำปรึกษา เรื่องเกี่ยวกับเครื่องมือในการตัดขยะที่เป็นโลหะ เนื่องจากในปัจจุบันในการกำจัดถังแก๊ส มีต้นทุนสูง เนื่องจากใช้แรงงานคน และใช้แก๊สเป็นพลังงานในการตัดทำให้มีต้นทุน เกี่ยวกับแก๊สที่ใช้สูง และทำได้ช้า

ผลการดำเนินงาน  ให้ความรู้กับช่างเรื่องการตั้งค่าหัวแก๊สและหัวลม flow ให้เหมาะสมกับขนาดของ ความหนาของเหล็กที่ตัด  และใช้กรรไกรซอยเหล็กเข้าช่วยเพื่อลดต้นทุน   



รายงานโดย กมลวรรณ ชินวงค์ วันที่รายงาน 29/09/2567 [17836]
3800 9
4 [17828]

กิจกรรมที่ 8  วันที่   7เมษายน 2567

ได้รับการติดต่อจากประธานวิสาหกิจชุมชนผู้ผลิตเส้นใยธรรมชาติ  เรื่องการย้ายสถานที่ประกอบการใหม่

การดำเนินงาน ลงพื้นที่วิสาหกิจชุมชนผู้ผลิตเส้นใยธรรมชาติบ้านคา พบประธานวิสาหกิจชุมชน คุณสมชาย อุไกรหงษา จังหวัด ราชบุรี เพื่อติดตามความก้าวหน้าในการย้ายสถานที่ดำเนินการวิสาหกิจชุมชนฯ และติดตาม การทำแปลงปลูกสับปะรดใหม่ ได้รับทราบปัญหาจากประธานวิสาหกิจชุมชน เรื่องความจำเป็นในการย้ายสถานที่ประกอบการวิสาหกิจชุชนใหม่

ผลการดำเนินงาน: ที่ปรึกษา วางแผนการย้ายสถานประกอบการ วางแผนการการตัดใบสับปะรด และการรับซื้อใบสับปะรด เพื่อจัดเตรียมต้นทุนการผลิต การผลิตเส้นใย และการจำหน่าย  รับทราบปัญหา เรื่องน้ำสำหรับใช้ในการทำการปลูกสับปะรดไม่เพียงพอและหาแนวทาง การแก้ไข และวางแผนการประชุม สมาชิกวิสาหกิจชุมชน ในครั้งต่อไป   



รายงานโดย กมลวรรณ ชินวงค์ วันที่รายงาน 29/09/2567 [17828]
3500 4
4 [17830]

กิจกรรมที่ 9    วันที่  10 เมษายน 2567

ลงพื้นที่ จังหวัดสมุทรสงคราม เพื่อติดตามเรื่องการกำจัดขุยมะพร้าว จากการรับจ้างแปรรูปมะพร้าว

การดำเนินงาน  ติดตามการเข้าพื้นที่ทิ้งขุยมะพร้าว ในอำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสงคราม  พบว่า ในปัจจุบัน มะพร้าวตู้ที่ส่งมาจากต่างประเทศ เพื่อให้ผู้รับจ้างในชุมชนทำการแปรรูป มีการขัดเอาขุยมะพร้าวออกจนหมด โดยมะพร้าวที่ส่งมาแปรรูปมีลักษณะ เป็นมะพร้าวที่ผิวเกลี้ยง ในการแปรรูปเศษวัสดุที่เหลือ จึงเหลือเพียงกะลาและเปลือกนอกของเนื้อมะพร้าวที่ชุมชนนำใส่ถุง เพื่อขายเป็นเศษวัสดุ มีผู้มารับซื้อต่อไป 

ผลการดำเนินงาน ทีมที่ปรึกษา จึงขอชะลอเรื่องการแปรรูปขุยมะพร้าว ไว้ก่อนเนื่องจากชุมชนไม่มีขุยมะพร้าวเป็นเศษวัสดุเหลือจากการรับจ้างแล้ว และจะได้ปรึกษากับผู้นำชุมชน เพื่อให้ความรู้ในเรื่องที่เป็นปัญหาและความต้องการของชุมชนต่อไป   



รายงานโดย กมลวรรณ ชินวงค์ วันที่รายงาน 29/09/2567 [17830]
1500 8
4 [17834]

กิจกรรมที่ 10  วันที่  17 เมษายน  2567  เวลา  10.00 น.

ผู้จัดการ คลินิกเทคโนโลยี ดร.วรวิทย์ โกสลาทิพย์ และ รศ.ดร.ตุลา จูฑะรสก  คณบดีคณะวิทยาศาสตร์   และประธานอุตสาหกรรมจังหวัด คุณวีรนิจ เหลืองรัตนเจริญ และ คุณตวงพร ทรงธรรมวัฒน์ พร้อมทีมงาน เข้าพบ ผู้ว่าราชาการจังหวัด สมุทรปราการ  นายศิริศักดิ์ ศิริมังคะลาเรื่องการร่วมมือการวิจัยระหว่างจังหวัดสมุทรปราการ  และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี โดยขอรับทุนสนับสนุนการดำเนินงาน จากกรอบการวิจัย “การพัฒนาเมืองและพื้นที่กลุ่มเศรษฐกิจโดยรอบบนฐานเศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy)”  ภายใต้แผนงานย่อยรายประเด็น “พัฒนาเมืองน่าอยู่ที่เชื่อมโยงกับการพัฒนาชุมชน/ท้องถิ่น” ในหัวข้อเรื่อง “การวิเคราะห์เทคโนโลยีและรูปแบบที่เหมาะสมในการกำจัดขยะ ด้วยเตาเผาขยะเพื่อผลิตพลังงานไฟฟ้า ให้จังหวัดสมุทรสงครามเป็นเมืองแห่งความสุข”

ผลการดำเนินงานผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรปราการ  มีความเห็นชอบในการแก้ไขปัญหาเรื่องขยะชุมชน และการสนับสนุนการทำงานในรูปแบบอื่นๆ รวมถึงการอำนวยความสะดวกในส่วนราชการจังหวัดสมุทรสงคราม

ภายหลังจากการยื่นข้อเสนอและพิจารณาผลการพิจารณา โครงการไม่ผ่านการให้งบประมาณสนับสนุน แต่ท่านรองผู้ว่าราชการได้ดำเนินการต่อดังนี้

          1. ได้จัดตั้งคณะทำงานเรื่องพื้นที่ 1,200ไร่ โดยมีกรมทรัพยากรฯ เป็นเลขากรรมการมาจากภาครัฐและเอกชน เป็นคณะทำงาน ซึ่งส่วนใหญ่มีความเห็นขอบในการจัดตั้งเตาเผาขยะในพื้นที่ดังกล่าว  ยกเว้น อปท. และ ทรัพยากรฯจังหวัด และจัดให้มีการประชุม ทุก 2 เดือน

          2. ปัญหาหลัก คือ ผู้บุกรุกและครอบครัวที่อาศัยอยู่ในที่ดังกล่าว  แม้จะรับทราบความต้องการแต่ไม่ยอมออกพื้นที่  ราชการปกครอง มอบให้ลัดพื้นที่เข้าแก้ปัญหาผ่านการบังคับใช้กฎหมายเรื่องพื้นที่การบุกรุกพื้นที่หลวง

          3. ทรัพยากรฯจังหวัด ยกพื้นที่ป่าชายเลน ปี 2480 มาเหนือโฉนดที่ดิน บางส่วนในพื้นที่ 1,200 ไร่ (ประมาณ15%) โดยมีการยกกฎหมายเงินชดเชย 20 เท่าของโครงการมาใช้ ทำให้ประธาน (รองผู้ว่าราชการ) ขอให้ทบทวนเพราะถ้าไม่มีการทำโครงการใดๆจะมีผู้บุกรุกเพิ่มและยากต่อการจัดการให้ถูกต้อง

          4. โยธาและผังเมือง เสนอที่ประชุม แบ่งพื้นที่ออก เป็น 3 ส่วน คือ ส่วนใช้งาน ส่วนบึง และ ส่วนโรงไฟฟ้า (500 ไร่)  โดยทุกภาคส่วนไม่มีคำโต้แย้ง

          5. สภาอุตสาหกรรม เสนอให้ พัฒนาโดยเร็ว เพื่อเป็นแหล่งท่องเที่ยวใหม่ (พุทธสถาน) และสร้างรายได้จาก carbon credit และท้องที่ต่างๆผ่านการกำจัดขยะ

 



รายงานโดย กมลวรรณ ชินวงค์ วันที่รายงาน 29/09/2567 [17834]
0 7
4 [17837]

กิจกรรมที่    12    วันที่   24   เมษายน  2567

ได้รับการติดต่อ จาก คุณสไลย์ดา  จากวิสาหกิจชุมชน ส.บุญมีฤทธิ์  ทางโทรศัพท์ ขอคำปรึกษา เรื่อง มาตรฐานประกอบการ และเครื่องมือในการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร

การดำเนินงาน: ทีมงานคลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี  ได้ลงพื้นที่เพื่อดูสภาพปัญหา 

ผลการดำเนินงาน:  พบว่า

        1. วิสาหกิจชุมชน มีพื้นที่ในการทำการเกษตร เฉพาะการปลูกไม้ผล 801 ไร่ เป็นแปลงปลูกลำไยเป็นส่วนใหญ่ ถึง เกือบ 4,000 ต้นรองลงมา คือ มะม่วง และมะยงชิต ในปัจจุบัน เก็บผลผลิตที่ได้จากแปลงมะม่วง เพื่อจัดจำหน่าย และแปรรูปมะม่วง เป็นมะม่วงอบแห้งด้วยพาราโบล่าโดม ของพัฒนาชุมชน ที่จัดให้เกษตรกรได้ใช้ร่วมกัน

        2. วิสาหกิจชุมชน มีปัญหาเรื่องการขาดแคลนน้ำเนื่องจากสภาวะการขาดแคลนน้ำในปีนี้ อันเนื่องมาจากปรากฏการณ์ เอลนีโญ ทำให้ต้นมะม่วง หยุดการให้ผล และบางต้นเฉาตาย

        3. ด้านการแปรรูป ได้เข้าร่วมกับ สำนักสวนอุตาหกรรมและวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ธนบุรี  ในการเข้าร่วมโครงการ เพื่อแก้ปัญหาผลผลิตจากการตากแห้งในพาราโบล่าโดม มีคุณภาพไม่สม่ำเสมอ

        4. ปัญหาของผลิตภัณฑ์ ที่ได้จากการแปรรูป ขายได้เฉพาะในท้องถิ่น เนื่องจากยังไม่มาตรฐานการผลิตและยัง
ไม่มีมาตรฐานผลิตภัณฑ์

        5. นัดหมายครั้งหน้าในการหารือ เพื่อคิดแนวทางแก้ปัญหา อาจเป็นการให้คำปรึกษาแบบ online หรือ onsite



รายงานโดย กมลวรรณ ชินวงค์ วันที่รายงาน 29/09/2567 [17837]
3500 15
4 [17838]

กิจกรรมที่ 13   วันที่  26  พฤษภาคม  2567   

การออกบูธร่วมกับวิสาหกิจชุมชนผู้ผลิตเส้นใยธรรมชาติ

การดำเนินงานร่วมงานวันสับปะรดหวานบ้านคา ประจำปี 2567 ที่จัดขึ้นระหว่าง วันที่ 25 พฤษภาคม ถึง 1 มิถุนายน 2567  ณ บริเวณศูนย์ราชการอำเภอบ้านคา จังหวัดราชบุรี  โดยวิสาหกิจชุมชนผู้ผลิตเส้นใยธรรมชาติบ้านคา ร่วมกับคลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี จัดบูธประชาสัมพันธ์ แสดงผลงานที่เกิดจากการพัฒนาวิสาหกิจชุมชนผู้ผลิตเส้นใยธรรมชาติบ้านคา ภายใต้การสนับสนุนของคลินิกเทคโนโลยี กปว ในช่วงที่ผ่านมา 

ผลการดำเนินงาน  ต้อนรับ นายชวลิต ประทีป ปลัดอาวุโส รักษาราชการแทน นายอำเภอบ้านคา ในนามของคณะกรรมการจัดงาน พร้อมด้วย นางยุพิน เศรษฐศักดาศิริ พัฒนาการจังหวัดราชบุรี กำนัน, ผู้ใหญ่บ้าน, ภาคเอกชน, เกษตรกรผู้ปลูกสับปะรด ในการเข้าเยี่ยมชมบูธ โดยปลัดอาวุโสให้ความสนใจในการแปรรูปเส้นใยสับปะรดเป็นผ้าใยสับปะรด  และการทำผลิตภัณฑ์ อื่นๆ จากสับปะรด พัฒนาการจังหวัดให้ข้อเสนอแนะในการพัฒนาการทำรองเท้า และกระเป๋าจากผ้าใยสับปะรด  ให้เป็นสินค้าเด่นประจำจังหวัดราชบุรี



รายงานโดย กมลวรรณ ชินวงค์ วันที่รายงาน 29/09/2567 [17838]
4500 15
4 [17841]

กิจกรรมที่  15  วันที่  21  มิถุนายน  2567

ร่วมประชุมการเตรียมความพร้อมในการเขียนข้อเสนอโครงการ  Clinic Technology   ณ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน

การดำเนินงานคลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ได้เข้าร่วมโครงการฝึกอบรมและถ่ายทอดองค์ความรู้ “การเตรียมความพร้อมพัฒนาชุมชนและการเขียนข้อเสนอ เพื่อยื่นขอทุนด้านการพัฒนาสังคม”  จัดโดย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน โดยมี นายเอกพงศ์ มุสิกะเจริญ ผอ.กองส่งเสริมและประสานเพื่อประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กปว.) สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม เป็นวิทยากรให้ความรู้และวิทยากรจากสถาบันอุดมศึกษาจากหลายสถาบัน ซึ่งมีผู้เข้าร่วมอบรมทั้งในรูปแบบออนไลน์และออนไซต์  โดยมี  ดร.กิตติพจน์ เพิ่มพูล ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการและกิจการพิเศษ วิทยาเขตกำแพงแสน  เป็นประธานในพิธีเปิดการอบรม  

ผลการดำเนินงาน  1. รับทราบ แนวทาง วัตถุประสงค์ และแนวความคิดในการเขียนโครงการที่ดี

                              2. ให้เจ้าหน้าที่ใหม่ในคลินิกเทคโนโลยี มจธ. นส.กมลวรรณ ชินวงค์ ได้เรียนรู้ และรับทราบแนวทางการดำเนินงานของคลินิกเทคโนโลยี และการดำเนินงานของหน่วยงานคลินิกของมหาวิทยาลัยอื่น

                              3. ได้สร้างปฏิสัมพันธ์กับเจ้าหน้าที่ในเครือข่ายเดียวกัน  และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและความรู้ตลอดจน สร้างงานร่วมกันได้เมื่อมีโอกาส



รายงานโดย กมลวรรณ ชินวงค์ วันที่รายงาน 29/09/2567 [17841]
3500 3
4 [17843]

กิจกรรมที่ 17  วันที่  1  กรกฎาคม  2567  

ย้ายสถานประกอบการและจัดระเบียบพื้นที่

การดำเนินการ   ให้คำปรึกษา เรื่องการย้ายสถานประกอบการ วิสาหกิจชุมชนและจัดเป็นแหล่งเรียนรู้ ด้านการตัดใบสับปะรดเป็นเส้นใย และการนำเส้นใยมาพัฒนาเป็นผืนผ้า

ผลการดำเนินงน ดำเนินการกำหนดสัดส่วนพื้นที่ในสถานประกอบการใหม่ เพื่อเป็นส่วนในการตีใบสับปะรด และการทอผ้า การกำหนดพื้นที่ โดยการสังเกตทิศทางลม เพื่อไม่ให้ฝุ่นที่เกิดจากการตีใยสับปะรด กระจายทั่ว บริเวณ มีผู้เข้าเยี่ยมชม เครื่องตีใบสับปะรด และการทอผ้าจากเส้นใยสับปะรด จากหลายหน่วยงาน เช่น จาก  BEDO  



รายงานโดย กมลวรรณ ชินวงค์ วันที่รายงาน 29/09/2567 [17843]
3500 12
4 [17839]

กิจกรรมที่  14   วันที่ 14- 15 มิถุนายน 2567 

          บริษัท IOT HUBโดย คุณกษิดิน โชคศิลปสาท  เข้ารับการให้คำปรึกษาในหน่วยงาน เรื่องการผลิตตู้ตรวจสอบการจ่ายยาต้นแบบและการหาทุนในการดำเนินการจัดทำต้นเครื่องต้นแบบเพื่อเสนอต่อโรงพยาบาลที่สนใจ โดยมีต้นแบบแนวคิดอยู่บ้างแล้ว

การดำเนินงาน  คลินิกเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ได้ติดต่อ สำนักอุทยานวิทยาศาสตร์ และอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี  พบว่า มีการเปิดรับข้อเสนอโครงการ เพื่อการสนับสนุนด้านการสร้างเครื่องต้นแบบ จากแผนงานการพัฒนาขีดความสามารถทางเทคโนโลยีและวิจัยของภาคเอกชนในพื้นที่ (Industrial Research and Technology Capacity Development Program: IRTC)  ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 จึงรับเป็นที่ปรึกษาในการเขียนข้อเสนอโครงการ ในหัวข้อ การพัฒนาอุปกรณ์ตรวจสอบและแยกยาและบรรจุภัณฑ์ด้วยเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ : (Development of equipment for inspecting and separating medicines andpackagingusing artificial intelligence technology)และได้รับการพิจารณาสนับสนุน เป็นจำนวน 350,000 บาท แต่ต้องร่วมลงทุน ในลักษณะ incash 70,000 บาท และ inkind  280,000 บาท  มีระยะเวลาการดำเนินงาน ถึงสิ้นปีงบประมาณ 2567  เมื่อต้นแบบสำเร็จ นำเสนอต่อโรงพยาบาล คาดว่า จะสามารถตั้งราคาจำหน่ายได้ในราคา 1.0 -1.5 ล้านบาท และปลากระป๋อง คุณปิยะ ขายได้ เดือนละ 2,304,000 บาท

ผลการดำเนินงาน   การจัดทำตู้ต้นแบบ เพื่อจำหน่ายและทำการวิจัยต้นแบบอยู่ใน TRL ใน level 6-7 จากนั้นได้เข้าแข่งขันการนำเสนอแผนธุรกิจในระดับภาค  และผ่านเข้าสู่รอบการการแข่งขันนำเสนอแผนธุรกิจ (Pitching) รอบระดับประเทศ ภายใต้แผนงานการส่งเสริมผู้ประกอบการภูมิภาคสู่ตลาดโลก (Regional to Global Platform : R2G) ในระหว่างวันที่ 14 - 16มิถุนายน  2567  ณ อาคารอำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (จังหวัดขอนแก่น)



รายงานโดย กมลวรรณ ชินวงค์ วันที่รายงาน 29/09/2567 [17839]
7000 12
2 [16540]

กิจกรรมที่ 1 :  วันที่ 10 ตุลาคม 2566

สภาอุตสาหกรรมจังหวัดสมุทรสงคราม ได้ติดต่อขอคำปรึกษา เรื่องเครื่อง X-ray บนรถเอกเรย์เคลื่อนที่ของ โรงพยาบาลสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า ที่ไม่สามารถใช้งานได้ ซึ่งจะส่งผลต่อการให้บริการแก่ประชาชน และการใช้งานที่เกี่ยวข้องกับวิกฤตการณ์เกี่ยวกับโรคอุบัติใหม่

การดำเนินงาน :ทีมงานคลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี พร้อมด้วยประธานสถาอุตสาหกรรมจังหวัดสมุทรสงคราม ได้นัดหมายผู้เชี่ยวชาญ และเดินทางเข้าสำรวจปัญหา ณ โรงพยาบาลสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า

ผลการดำเนินงาน :  จากการตรวจสอบเบื้องต้น พบว่าอุปกรณ์เครื่องกำเนิดไฟฟ้าแรงสูงของเครื่อง X-ray บนรถเคลื่อนที่ มีความชำรุดเสียหายจึงส่งผลให้เครื่องมือดังกล่าวไม่สามารถใช้งานได้ สรุปผลการตรวจสอบให้แก่สภาอุตสาหกรรมจังหวัดสมุทรสงคราม ทราบ เพื่อนำเข้าหารือกับผู้บริการโรงพยาบาลฯ ดังนี้
1. เครื่องกำเนิด X-ray ไม่ทำงานด้วยคำสั่ง error 14 และ 7 ตาม spec.ของเครื่อง   2. Collimator ชำรุดไม่สามารถปรับขนาด
แสงไฟของรังสีได้ 3. ชุดรับภาพ X-ray ไม่ทำงาน  4. คอมพิวเตอร์ควบคุมไม่สามารถเปิดใช้งานได้  จากนั้นได้เข้าพบผู้อำนวยการโรงพยาบาลสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า เพื่อหารือแนวทางแก้ไข  2 แนวทาง คือซื้อใหม่เพื่อทดแทนของเก่าและดำเนินการติดตั้ง หรือหากทำการซ่อมแซมโดยช่างผู้ชำนาญ โดยที่ประชุมสรุปว่าหากมีการจัดหาเครื่องใหม่อาจมีราคาสูงถึง 2 ล้านบาท ซึ่งต้องจัดหางบประมาณที่สูงมาก แต่หากให้ดำเนินซ่อมแซมจะมีค่าใช้จ่ายถูกลงมาก ทีมงานคลินิกเทคโนโลยี รับเป็นผู้ประสานการติดต่อหาผู้เชี่ยวชาญในการซ่อมแซมและดูแลการซ่อมแซมให้สามารถใช้งานได้ โดยจะทำการนัดหมายเพื่อทำการแก้ไขเครื่อง
X-ray ต่อไป



รายงานโดย ผศ.ดร.ทัศวัลย์  คัมภีระพันธุ์ วันที่รายงาน 05/04/2567 [16540]
0 8
2 [16624]

กิจกรรมที่ 7  : ระหว่างเดือน ธันวาคม 66 – มีนาคม 2567

การดำเนินงาน:  การบริหารจัดการโครงการคลินิกเทคโนโลยี  ดำเนินการติดต่อประสานงาน ตามภาระกิจของคลินิกเทคโนโลยี ระหว่างบุคลากรของมหาวิทยาลัยที่สนใจในการเข้าร่วมโครงการของคลีนิคเทคโนโลยี และบุคลากรภายนอกที่ติดต่อขอรับการปรึกษา การนัดหมาย และการฝึกหัดงานให้แก่เจ้าหน้าที่ประสานงาน คลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เพื่อให้สามารถทำงานได้ตามวัตถุประสงค์

งบประมาณที่ใช้ :  ค่าจ้างเจ้าหน้าที่ประสานงาน เดือนละ 15000 บาท จำนวน 4 เดือนรวม 60,000 บาท

ผู้เข้าร่วมกิจกรรม :  1 คน



รายงานโดย ผศ.ดร.ทัศวัลย์  คัมภีระพันธุ์ วันที่รายงาน 05/04/2567 [16624]
60000 1
2 [16623]

กิจกรรมที่ 6 :  วันที่ 18 กุุมภาพันธ์ 2567 - 22  มีนาคม 2567

สืบเนื่องจากคลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี  ได้ให้คำปรึกษาเบื้องต้นแก่วิสาหกิจชุมชนปาณิสรา เรื่องการหาวิธีการยืดอายุน้ำฝรั่งคั้นสดและนำไปต่อยอด เพื่อขอทุนสนับสนุนในการสร้างเครื่อง UV ต้นแบบสำหรับฆ่าเชื้อในน้ำฝรั่ง  โดยได้รับทุนสนับสนุนใน โครงการการยืดอายุน้ำฝรั้งคั้นด้วยระบบ UVPasteurization  ภายใต้แผนงานการส่งเสริมการนำนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์พื้นที่เพื่อพัฒนาสังคมและชุมชน ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ (P7)จากสำนักอุทยานวิทยาศาสตร์และอุตสาหกรรม  (สออ) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี   ซึ่งเมื่อนำมาใช้ ในกลุ่มฯ  พบว่าสามารถยืดอายุน้ำฝรั้งให้นานขึ้น จาก 3 วันเป็น 7 วัน ภายใต้สภาวะการควบคุมอุณหภูมิแบบเดียวกัน  สออ จึงขอเชิญทีมงานคลินิกเทคโนโลยี  เข้าร่วมกิจกรรม การเยี่ยมชมการดำเนินงานและสำรวจผลสัมฤทธิ์ ของโครงการ  รวมทั้งผู้ประกอบมีความต้องการ เรียนรู้ทักษะในการทำความสะอาดเครื่องมือหลังการใช้ และการแก้ปัญหาปั๊ม เมื่อใช้กับน้ำฝรั่งชนิดมีกาก   

การดำเนินงาน : ทีมงานได้เข้าร่วมกิจกรรม ให้สัมภาษณ์ และอธิบายหลักการทำงานของเครื่องฆ่าเชื้อในน้ำฝรั่งด้วยแสง UV  ให้แก่ผู้เข้าสำรวจและประเมินผลลัพธ์ที่ได้ จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  รวมถึงการแก้ไขปัญหาปั๊มที่มีการอุดตันให้ แก่ วิสาหกิจชุมชนสวนปาณิสรา

ผลการดำเนินงาน :  
1. ให้ความรู้ทางเทคนิคเรื่องการทำความสะอาดเครือง UV  แบบระบบปิด แก่ผู้ประกอบการและน้ำยาสำหรับ
   การฆ่าเชื้อ ซึ่งจะทำให้เกิดความสะดวก แก่ผู้ประกอบการ
2. เปลี่ยนระบบปั๊ม ให้สามารถใช้กับน้ำผลไม้ทีมีกากขนาดเล็กได้
3. ตอบคำถาม และให้รายละเอียดในด้านต่างๆแก่ผู้สัมภาษณ์

งบประมาณที่ใช้ :  8,500  บาท    
ผู้เข้าร่วมกิจกรรม :
15คน



รายงานโดย ผศ.ดร.ทัศวัลย์  คัมภีระพันธุ์ วันที่รายงาน 05/04/2567 [16623]
8500 15
2 [16615]

กิจกรรมที่ 5 :  วันที่ 24 พฤศจิกายน 2566

คุณกษิดิน โชคศิลปสาทและคุณสหรัถ บุญญาปฏิภา จาก บริษัท ไอโอที ฮับ จำกัด ที่อยู่ 2586 ซอยพระราม 2 ซอย 43 ถนนพระราม 2 แขวงบางมด เขตจอมทอง กรุงเทพ 10150  โทรศัพท์  090-986-3154   E-mail  nutt@touchtechdesign.com  ขอคำปรึกษาเรื่องการออกแบบและผลิตเครื่องมือที่ใช้ในการตรวจสอบยา
และบรรจุภัณฑ์ ด้วยระบบ IOTเพื่อใช้ในแผนกจ่ายยาให้แก่ผู้ป่วยในโรงพยาบาล

การดำเนินงาน :  คลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี โดย ดร. วรวิทย์ โกสลาทิพย์ รศ.ดร. ตุลา จุฑะรสก  คณบดีคณะวิทยาศาสตร์  และ ผศ.ดร. ทัศวัลย์ คัมภีระพันธุ์ ทีปรึกษาฯ ร่วมสอบถามและ ให้คำปรึกษาในเรื่อง การปรับปรุงประสิทธิภาพของกระบวนการทำงานของระบบให้มีความแม่นยำและสะดวกต่อผู้ใช้งาน  เน้นเรื่องการพัฒนาคุณภาพสินค้าให้ได้มาตรฐานเพื่อเป็นที่ยอมรับของลูกค้า  แนะนำให้ผู้ประกอบการทดสอบความต้องการของตลาดในเบื้องต้น  โดยการติดต่อโรงพยาบาลที่สนใจ เพื่อเสนอแนวความคิดและแสดงต้นแบบอย่างง่ายที่มีอยู่  เนื่องจากการจ่ายยาให้แก่ผู้ป่วยนอก ต้องใช้เภสัชกรและทีมงานในการจัดยาให้แก่ผู้ป่วยจำนวนมาก ทำให้ต้องใช้เวลาและเกิดความล้าในการทำงาน ซึ่งอาจส่งผลต่อการจัดยา ทำให้ผู้ป่วยได้รับยาไม่ตรงตามคำสั่งการจ่ายยาของแพทย์  เกิดผลเสียแก่ผู้ป่วยและโรงพยาบาล  พบว่าแนวความคิดนี้ได้รับการตอบสนองและตรงต่อความต้องการของโรงพยาบาลหลายแห่งที่เข้าไปนำเสนอสินค้าเช่นโรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์   ทำการต่อยอดการให้คำปรึกษาโดยการแนะนำการหาแหล่งทุนเพื่อสร้างต้นแบบที่มีคุณภาพ มีความแม่นยำและสามารถออกจำหน่ายในตลาดได้  รับเป็นที่ปรึกษาในการเขียน โครงการ การพัฒนาอุปกรณ์ตรวจสอบและแยกยาและบรรจุภัณฑ์ด้วยเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์  (Development of equipment for inspecting and separating medicines andpackaging using artificial intelligence technology)ภายใต้แผนงานการพัฒนาขีดความสามารถทางเทคโนโลยีและวิจัยของภาคเอกชนในพื้นที่(Industrial Research and Technology Capacity Development Program: IRTC)ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 จากสำนักอุทยานวิทยาศาสตร์และอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี  ทีมงานคลินิกเทคโนโลยีเข้าเป็นพี่เลี้ยงในการ pitching โครงการ

ผลการดำเนินงาน : โครงการผ่านการคัดเลือกและได้รับทุน จำนวน 420,000 บาท โดยบริษัท ไอโอที ฮับจำกัด ร่วมลงทุนเป็นจำนวนเงิน 70,000 บาท มีระยะเวลาในการดำเนินงาน  5 เดือน

งบประมาณที่ใช้ :  1,000  บาท     ผู้เข้าร่วมกิจกรรม :8คน



รายงานโดย ผศ.ดร.ทัศวัลย์  คัมภีระพันธุ์ วันที่รายงาน 05/04/2567 [16615]
1000 8
2 [16612]

กิจกรรมที่ 4 :  กันยายน 2566 – มกราคม 2567

นาย ศุภชาติ ชาสมบัติ รองผู้อำนวยการองค์การสะพานปลา องค์การสะพานปลา ที่อยู่  349/4 ซอยลาดพร้าว122 (มหาดไทย1) แขวงพลับพลา เขตวังทองหลาง กรุงเทพฯ 10310 องค์การสะพานปลา ขอคำปรึกษาเรื่องเทคโนโลยีในการแปรรูปอาหารทะเล และคำปรึกษาในการทำข้อเสนอเชิงหลักการเพื่อขอรับทุนสนับสนุนการทำวิจัย“การพัฒนาขีดความสามารถของผู้ประกอบการในพื้นที่ (Local Enterprises) บนฐานทรัพยากรพื้นถิ่นเพื่อสร้างเศรษฐกิจฐานรากและเศรษฐกิจหมุนเวียนในพื้นที่” ภายใต้แผนงานย่อยรายประเด็น “การพัฒนาและยกระดับเศรษฐกิจฐานรากจากฐานทุนทรัพยากรพื้นถิ่นและทุนวัฒนธรรม” ประจำปีงบประมาณ 2567 เรื่อง การยกระดับศักยภาพกลุ่มผู้ประกอบการประมงพื้นบ้านในการเพิ่มมูลค่าทรัพยากรสัตว์น้ำเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจหมุนเวียน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์”  

การดำเนินงาน :  ทีมงาน จากคลินิกเทคโนโลยี นำโดย ดร วรวิทย์ โกสลาทิพย์ เข้าร่วมหารือกับองค์การสะพานปลา เพื่อระดมความคิดเรื่องการแก้ปัญหาประมงพื้นบ้านใน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และการเข้าร่วมโครงการ เพื่อสนับสนุนการวิจัย  โดยมี ผศ.ดร.ภคพร วัฒนดำรงค์ และ ผศ.ชาญณวุฒ ไชยรักษา จากมหาวิทยาลัยนเรศวร เข้าร่วมโครงการด้วย  มีการประชุมร่วมกัน ณ องค์การสะพานปลา กรุงเทพมหานคร และการลงพื้นที่ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์  เพื่อหาข้อมุลและความต้องการแท้จริงของกลุ่มประมงพื้นบ้านจำนวน 15 กลุ่ม มีการร่วมกันจัดการประชุมเชิงเสวนา กลุ่มประมงพื้นบ้านในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์  ณ อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เพื่อสำรวจปัญหาและความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย สรุปได้ดังนี้ 1) ปัญหาราคาสินค้าที่ได้จากการทำประมงไม่มีเสถียรภาพ  2) ตลาดและการจัดจำหน่ายจำแนกการขาย ได้แก่การขายตรง การขายผ่านคนกลาง การขายผ่านร้านอาหาร (แปรรูป) การไม่มีพื้นที่จำหน่ายสินค้า ทำให้ไม่สามารถขายสินค้าได้ตามเป้าหมาย3) ความรู้ การจัดการและการบริหารต้นทุนด้านการขนส่งสินค้าและมาตรฐานผลิตภัณฑ์ 4) ปัญหาจากภัยธรรมชาติหากเป็นหน้ามรสุม ไม่สามารถนำเรือออกทะเลได้ ทำให้ขาดรายได้ 5) การเข้าถึงแหล่งเงินทุนทำให้มีการเพิ่มหนี้นอกระบบ 6) การถูกจำกัดเวลาในการออกเรือ 7) ราคาเครื่องมือในการทำประมงสูง 8) กฎหมายและนโยบายที่ไม่เอื้อต่อการทำการประมง   9) การขาดโอกาสในการเข้าถึงความรู้ใหม่ๆ ที่จำเป็นต่อการปรับตัวเช่น การถนอมอาหาร  ทั้งนี้ ได้ร่วมกันนำเสนอโครงการเพื่อต่อยอดความต้องการของชาวประมง ในหัวข้อการยกระดับศักยภาพกลุ่มผู้ประกอบการประมงพื้นบ้านในการเพิ่มมูลค่าทรัพยากรสัตว์น้ำเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจหมุนเวียน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์”  เพื่อองค์การสะพานปลาจะได้นำเป็นประเด็นภาระกิจในการปฏิบัติหน้าที่ให้สอดคล้องกับความต้องการในพื้นที่ที่รับผิดชอบด้วย

ผลการดำเนินงาน : โครงการผ่านการคัดเลือกในรอบแรก ยังไม่ผ่านการคัดเลือกในรอบที่สอง ซึ่งจะได้นำโครงการมาปรับปรุงและ นำเสนอในครั้งถัดไป



รายงานโดย ผศ.ดร.ทัศวัลย์  คัมภีระพันธุ์ วันที่รายงาน 05/04/2567 [16612]
3000 35
2 [16545]

กิจกรรมที่ 3 :  วันที่ 15 ธันวาคม 2566

สภาอุตสาหกรรมจังหวัดสมุทรสงคราม และคลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพรระจอมเกล้าธนบุรี  ได้จัดกิจกรรม
การถ่ายทอดเทคโนโลยี การบำรุงรักษาและการใช้ เครื่อง X-ray บนรถเอกเรย์เคลื่อนที่ของโรงพยาบาลสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า ที่ได้ดำเนินการแก้ไขให้สามารถใช้งานได้แล้ว

การดำเนินงาน ทีมวิทยากรจาก มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ดร. วรวิทย์ โกสลาทิพย์    พร้อมด้วยทีมงานจากสภาอุตสาหกรรมจังหวัดสมุทรสงคราม คุณตวงคุณ  ทรงธรรมวัฒน์  ประธานสภาอุตสาหกรรม ฯ  คุณวีระนิจ เหลืองรัตนเจริญ  และ ผู้เชี่ยวชาญ  ใด้ถ่ายทอดองค์ความรู้เกี่ยวกับเครื่อง X-ray ที่ได้ทำการซ่อมแซม ข้อควรระวัง และสาเหตุของที่ทำให้เกิดความเสียหายแก่เครื่องที่ผ่านมา เพื่อให้เกิดความระมัดระวังในการดูแล รถ X-ray เคลื่อนที่ ให้แก่ บุคลากรของโรงพยาบาลสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า คุณปรีชา เชาว์วิวัฒน์กุล  หัวหน้าพนักงานนักรังสีการแพทย์   เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง และผู้สนใจ

ผลการดำเนินงาน :  เจ้าหน้าที่และผู้เข้าร่วมอบรมจำนวน 8 ท่าน มีความรู้และความเข้าใจ  ในเรื่อง hardware ของเครื่อง x-ray  แบบเคลื่อนที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในส่วนที่ได้ทำการซ่อมแซม เช่น แผงวงจร
ขั้ว Cathode  Triac Softwareที่ใช้  และการ Calibrateเครื่อง  ทั้งนี้ ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการซ่อมแซม เครื่อง X-ray รถเคลื่อนที่ ของโรงพยาบาลสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านั้น สภาอุตสาหกรรมจังหวัดสมุทรสงคราม ได้บริจาคเงินเป็นค่าซ่อมแซม รถ X-ray เคลื่อนที่ให้แก่ โรงพยาบาลสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า งวดแรก เป็นจำนวนเงิน 270,000 บท    



รายงานโดย ผศ.ดร.ทัศวัลย์  คัมภีระพันธุ์ วันที่รายงาน 05/04/2567 [16545]
2000 12
2 [16542]

กิจกรรมที่ 2 :  วันที่ 15,16 และ 19 พฤศจิกายน 2566

ทีมคลินิกเทคโนโลยี ได้ติดต่อช่างผู้เชี่ยวชาญการซ่อมบำรุงเครื่อง X-ray  และแจ้งแก่ประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดสมุทรสงคราม เพื่อทำเรื่องขออนุญาตเข้าซ่อมแซมเครื่อง X-ray ต่อผู้อำนวยการ โรงพยาบาลสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า โดยสรุปงานจากการเข้าตรวจสอบ เกี่ยวกับ รถ mobile X-ray ทั้ง Hardware และ Software ในวันที่ 10 ตุลาคม 2566  คือ
          1. หนูกัดสายไฟ high voltage และตู้เครื่องมือ X-ray มีปัญหา
          2. สันนิษฐานว่าตู้แช่น้ำมันชื้น Igpt เสีย ต้องทำการ vacuumใหม่  
          3. ระบบ Window ของคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมระหว่างเครื่องฉาย X-ray เสีย ต้องตรวจสอบ softwareว่ายังสามารถเชื่อมต่อถึงกันได้หรือไม่
          4. คาดการณ์งบประมาณที่ใช้ในการซ่อม ประมาณ 500,000 บาท

โดยประธานสภาอุตสาหกรรมฯ เสนอเรื่องดำเนินการซ่อมแซม ต่อ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลฯ
         1. การยกตู้ควบคุมและเครื่อง X-ray ออกนอกสถานที่ เพื่อซ่อมแซม ( ตามขั้นตอนระเบียบครุภัณฑ์)
          2. จัดทำหนังสือต้นเรื่อง เพื่อดำเนินการ

การดำเนินงาน ดร.วรวิทย์ โกสลาทิพย์  คุณวีระนิจ เหลืองรัตนเจริญ  และผู้เชี่ยวชาญ วางแผนการดำเนินงานซ่อมแซม  นำเครื่อง X-ray และอุปกรณ์ต่างๆ กลับเข้าติดตั้งบนรถ X-ray เคลื่อนที่ของ โรงพยาบาลสมเด็จพระทุทธเลิศหล้า ในวันที่ 15,16 และ 19 พฤศจิกายน  2566

ผลการดำเนินงาน :ดำเนินการแก้ไขและติดตั้งเครื่อง X-Ray และอุปกรณ์ต่อพ่วงอื่นๆ ทำการทดสอบการใช้งาน สามารถใช้งานได้ทั้งระบบ  นัดหมายการฝึกอบรมให้แก่ เจ้าหน้าที่ผู้ดูแลเครื่องในวันที่ 15 ธันวาคม 2566



รายงานโดย ผศ.ดร.ทัศวัลย์  คัมภีระพันธุ์ วันที่รายงาน 05/04/2567 [16542]
4500 10