2567 โครงการบริการให้คำปรึกษาและบริการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี   0


รายงานความก้าวหน้า

ไตรมาส ผลการดำเนินงาน งบประมาณที่ใช้ ผู้รับบริการ
4 [17632]

วันศุกร์ที่ 2สิงหาคม พ.ศ. 2567อาจารย์ปริญ นาชัยสิทธิ์ (ผู้อำนวยการคลินิกเทคโนโลยี  มอบ ผศ.ดร.อังคณา เจริญมี เข้าร่วมโครงการอบรมหลักสูตรการออกแบบและติดตั้งระบบควบคุม IoT เพื่อการปลูกพืช ซึ่งจัดอบรมระหว่างวันที่ 30กรกฎาคม – 2สิงหาคม 2567โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้กลุ่มเยาวชนคนรุ่นใหม่ แรงงานในภาคอุตสาหกรรม นักศึกษาระดับปริญญาตรี บุคลากรที่เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีดิจิทัล ข้อมูล และปัญญาประดิษฐ์ ได้รับการพัฒนาสมรรถนะ เพื่อเป็นทุนมนุษย์ในการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศในศตวรรษที่ 21ณ พื้นที่ศูนย์การศึกษาโคกสี  โดยมีอาจารย์ ดร.วิทยาชำนาญไพร ผศ.ดร.อังคณา เจริญมี อาจารย์บรรลุ   เพียชิน อาจารย์พรเทพินทร์ สุขแสงประสิทธิ์ เป็นวิทยากรฝึกอบรม



รายงานโดย น.ส.ลีนมน แสนทวีสุข วันที่รายงาน 25/09/2567 [17632]
0 10
4 [17631]

วันเสาร์ที่ 24สิงหาคม 2567อาจารย์ปริญ นาชัยสิทธิ์ (ผู้อำนวยการคลินิกเทคโนโลยี)   มอบ ผศ.ดร.หริส ประสารฉ่ำ ผู้ช่วยอธิการบดีประจำวิทยาเขตขอนแก่น ให้การต้อนรับนายวรพันธุ์ ใสโพธิ์ ผู้อำนวยการศูนย์เรียนรู้ยางพาราแห่งประเทศไทยจังหวัดขอนแก่น พร้อมด้วยพนักงาน และกล่าวเปิดโครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีและนวัตกรรมกระชังยางพาราที่ควบคุมด้วยระบบสมาร์ทฟาร์ม เลี้ยงปลาหมอไทย ณ ศูนย์การศึกษาโคกสี มทร.อีสาน วิทยาเขตขอนแก่น  โดยโครงการ ฯ นี้ เป็นกิจกรรมที่ 2การถ่ายทอดองค์ความรู้เทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ มีการนำกระชังยางพาราที่ควบคุมด้วยระบบสมาร์ทฟาร์ม IoT ความแม่นยำสูงควบคุมปลาหมอไทย               เป็นโครงการที่จะนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการเลี้ยงปลาที่มีคุณภาพสูง มีคณาจารย์ นักวิจัย มทร.อีสาน ประกอบด้วย ผศ.ดร.อังคณา เจริญมี อาจารย์ ดร.วิทยา ชำนาญไพร อาจารย์ ดร.พันธกานต์ แก้วอาษา อาจารย์บรรลุ เพียชิน เป็นวิทยากร ทำการทดลองและวิจัย ได้รับความอนุเคราะห์พันธ์ปลาหมอ จำนวน 4000ตัว จาก รศ.ดร.โฆษิต ศรีภูธร อธิการบดี มทร.อีสาน ได้รับความอนุเคราะห์กระชังบกยางพาราขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 3เมตร จำนวน 2กระชัง มาทำการทดลองและวิจัย มีผู้สนใจเข้าร่วมโครงการจากเครือข่าย การยางแห่งประเทศไทย นักวิชาการเกษตร องค์การบริหารส่วนตำบลโคกสี ชาวบ้านพื้นที่โคกสี นักศึกษา มทร.อีสาน ทั้งนี้ มทร.อีสาน และการยางแห่งประเทศไทย ได้ดำเนินโครงการดีๆ ตามบันทึกความร่วมมือระหว่างหน่วยงานและสถานศึกษา ที่จะพัฒนาทรัพยากรที่มีอยู่ร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพและแลกเปลี่ยนความรู้ทางวิชาการด้านยางพารา เพื่อการพัฒนาและต่อยอดสร้างมูลค่าเพิ่มให้พี่น้องประชาชน สร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจและพัฒนาประเทศต่อไป



รายงานโดย น.ส.ลีนมน แสนทวีสุข วันที่รายงาน 25/09/2567 [17631]
0 15
4 [17630]

วันที่ที่ 31 สิงหาคม 2567 อาจารย์ปริญ นาชัยสิทธิ์  (ผู้อำนวยการคลินิกเทคโนโลยี)   เข้าร่วมบูรณาการร่วมกับโครงการยุวชนอาสา ประจำปี 2567 กิจกรรมเชื่อมโยงฐานการจัดการเส้นทางท่องเที่ยวชุมชนสู่ความยั่งยืน ณ ภูผาวิวดี รีสอร์ท โดย อาจารย์ ดร.เครือวัลย์ มาลาศรี หัวหน้าโครงการฯ อาจารย์ ดร.ปนัดดา จันทะกล           นำนักศึกษาสาขาการจัดการ ลงพื้นที่ดำเนินโครงการในวันนี้ ได้รับความร่วมมือและการสนับสนุนจากชุมชนเป็นอย่างดี บรรยากาศการดำเนินกิจกรรมเต็มเปี่ยมไปด้วยมิตรภาพและความอบอุ่นเชื่อมโยงความสัมพันธ์ของมหาวิทยาลัยและชุมชนได้เป็นอย่างดี



รายงานโดย น.ส.ลีนมน แสนทวีสุข วันที่รายงาน 25/09/2567 [17630]
0 15
4 [17628]

วันพฤหัสบดีที่ 25กรกฎาคม 2567อาจารย์ปริญ นาชัยสิทธิ์ (ผู้อำนวยการคลินิกเทคโนโลยี)  รองอธิการบดีประจำวิทยาเขตขอนแก่น มอบ ผศ.ดร.หริส ประสารฉ่ำ ผู้ช่วยอธิการบดี นางสาวลีนมน แสนทวีสุข หัวหน้าศูนย์บริการทางวิชาการและทดสอบ  มทร.อีสาน วิทยาเขตขอนแก่นเข้าร่วมประชุมเครือข่ายส่งเสริมการใช้ประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (Science Research and Innovation (SRI) Network Townhall ภายในงาน อว.แฟร์ : SCI POWER FOR FUTURE THAILAND ณ ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ กรุงเทพมหานคร  โดยมี นายเอกพงศ์ มุสิกะเจริญ ผู้อำนวยการกองส่งเสริมและประสานเพื่อประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม กล่าวรายงานวัตถุประสงค์ของการประชุม ฯ กล่าวเปิดงาน และปาฐกถาพิเศษ “THE POWER OF SRI NETWORK “ โดยศาสตราจารย์ ดร.ศุภชัย ปทุมนากุล รองปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โอกาสนี้ ผศ.ดร.หริส ประสารฉ่ำ ผู้ช่วยอธิการบดี ได้เป็นผู้แทน มทร.อีสาน  รับมอบโล่ SRI ENGAGEMENT NETWORK พร้อมกันนี้ยังได้เยี่ยมชมนิทรรศการและพบปะเครือข่ายคณาจารย์นักวิจัยจากหลายสถาบันเพื่อสร้างมิตรภาพอันดีและพร้อมสนับสนุนพันธกิจกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เพื่อการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืนตลอดไป



รายงานโดย น.ส.ลีนมน แสนทวีสุข วันที่รายงาน 25/09/2567 [17628]
15000 0
4 [17507]

- วันจันทร์ที่ 16 กันยายน 2567 อาจารย์ปริญ นาชัยสิทธิ์ (ผู้อำนวยการคลินิกเทคโนโลยี)  รองอธิการบดีบดีประจำวิทยาเขตขอนแก่น นำคณะผู้บริหารประกอบด้วย ผศ.ประพันธ์ ยาวระ คณบดีคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม ผศ.ดร.ศุภฤกษ์ ชามงคลประดิษฐ์ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ ผศ.ดร.พงศกร คำภาบุตร รองคณบดีฝ่ายแผนและประกันคุณภาพ คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม พร้อมด้วยคณาจารย์นักวิจัย มทร.อีสาน วิทยาเขตขอนแก่น ประกอบด้วย อาจารย์ธวัชชัย สิมมา อาจารย์เขมวัตร อินทรวิเศษ ว่าที่ ร.อ.สุนทร อนุภาพไพรบูรณ์ อาจารย์ ดร.ทศพล แจ้งน้อย อาจารย์บรรลุ เพียชิน อาจารย์ ว่าที่ รต. ดร.เอกราช ไชยเพีย ลงพื้นที่เทศบาลตำบลนาเพียง อำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น เพื่อร่วมเวทีประชาพิจารณ์รับฟังความคิดเห็นของประชาชนต่อการบริหารจัดการแก้ไขปัญหาขยะในพื้นที่เทศบาลตำบลนาเพียง ด้วยการทำนวัตกรรมเตาเผาขยะแบบเคลื่อนที่ขนาด 50 กิโลกรัม

โดยมี นายสุริยันต์ คำสูงเนิน นายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลนาเพียง กล่าวต้อนรับและเปิดเวทีประชาพิจารณ์ นายวิรัญ วันเต็ม ปลัดเทศบาลตำบลนาเพียง กล่าวถึงความเป็นมาของโครงการ อาจารย์ปริญ นาชัยสิทธิ์ รองอธิการบดีประจำวิทยาเขตขอนแก่น กล่าวถึงความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยฯ กับเทศบาลตำบลนาเพียง อาจารย์ธวัชชัย สิมมา แนะนำการใช้นวัตกรรมเตาเผาขยะแบบเคลื่อนที่ และอธิบายถึงรายละเอียดที่เกี่ยวข้องของเตาเผาขยะให้ผู้เข้าร่วมเวทีได้รับฟัง โอกาสนี้ได้มีการลงนามบันทึกแนบท้ายความร่วมมือว่าด้วยโครงการวิจัย พัฒนานวัตกรรมเตาเผาขยะแบบเคลื่อนที่ขนาด 50 กิโลกรัม ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากเทศบาลตำบลนาเพียง จำนวน 199,000.- บาท (หนึ่งแสนเก้าหมื่นเก้าพันบาทถ้วน) มีระยะเวลาดำเนินการ 1 ปี (เริ่มตั้งแต่ วันที่ 1 กันยายน 2567 – 31 สิงหาคม 2568) มทร.อีสาน วิทยาเขตขอนแก่น มหาวิทยาลัยชั้นนำที่มีคณาจารย์นักวิจัยและงานวิจัยที่ทรงคุณค่าพร้อมสนับสนุนสังคมชุมชนในการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืนต่อไป

- ค่าสาธารณูปโภค มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตขอนแก่น   43,750 บาท



รายงานโดย น.ส.ลีนมน แสนทวีสุข วันที่รายงาน 21/09/2567 [17507]
43750 35
4 [17484]

วันที่ 12-13  กันยายน 2567คลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตขอนแก่น ร่วมกับสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ดำเนินการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “การพัฒนาศักยภาพครู สกร. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือด้วย อววน.” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาศักยภาพบุคลากรของ สกร. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในพื้นที่เป้าหมาย ๒0 จังหวัด โดยใช้กลไกองค์ความรู้ด้านอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม จากเครือข่าย อว. และสถาบันอุดมศึกษา  ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เพื่อเข้าร่วมพัฒนาแผนงานโครงการที่ตอบโจทย์ ความต้องการของพื้นที่และ  เกิด หลักสูตรการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาทักษะอาชีพ ตลอดจนเกิดเครือข่าย ความร่วมมือ เกิดแนวทาง  การบูรณาการ เพื่อสร้างโมเดลนำร่องการพัฒนาศักยภาพครู สกร. ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กล่าวรายงาน โดย อาจารย์บุญกิจ  อุ่นพิกุล ผู้จัดการคลินิกเทคโนโลยี  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตขอนแก่นกล่าวต้อนรับ โดย อาจารย์ปริญ นาชัยสิทธิ์ รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตขอนแก่นกล่าวถึงความร่วมมือการดำเนินงานของ สป.อว.โดย  นายเอกพงศ์ มุสิกะเจริญ ผู้อำนวยการกองส่งเสริมและประสานเพื่อประโยชน์ทาง วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมกล่าวถึงความร่วมมือการดำเนินงานของ สกร. และ กล่าวเปิดงาน โดย นายชัยพัฒน์ พันธุ์วัฒนสกุล รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเรียนรู้และ  บรรยาย บทบาทภารกิจของสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สป.อว.) หน่วยงานในสังกัด อว. กลไกการทำงาน และการบูรณาการความร่วมมือและการสนับสนุนงบประมาณขับเคลื่อนแผนการดำเนินงานด้าน ววน.  โดยนายเมธี ลิมนิยกุล ผู้อำนวยการกลุ่มประสานเครือข่าย อว. ในภูมิภาค สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม  มีการอภิปราย: การจัดทำ One page จากการวิเคราะห์ประเด็นความต้องการเชิงพื้นที่ของครู สกร. โดย การแบ่งกลุ่มฝึกปฏิบัติ: แนวทางการพัฒนาโครงการร่วมกับคลินิกเทคโนโลยี โดย วิทยากร ผู้ช่วยศาสตราจารย์ไพโรจน์ วรพจน์พรชัย ผู้จัดการคลินิกเทคโนโลยีมทร.ล้านนา นางสาวนันท์นภัส ไชยสวัสดิ์ ครู สกร. อำเภอพร้าว และ นางอทิตยา ปินตา ครู สกร. อำเภอสารภี  และนำเสนอตัวอย่างงานที่ดำเนินการในพื้นที่ 2งานของคลินิกเทคโนโลยี มทร.อีสานวิทยาเขตขอนแก่น โดย อาจาย์เครือวัลย์  มาลาศรี และนำเสนอแนวทางการพัฒนาแผนงานโครงการ จากการวิเคราะห์ประเด็นความต้องการเชิงพื้นที่ของครู สกร. และแนวทางการพัฒนาโครงการร่วมกับคลินิกเทคโนโลยี(20 จังหวัด)- นำเสนอ One page   โดย สกร. โครงการละ 5นาที  - ผู้บริหาร สป.อว. และ ผู้บริหาร สกร. ให้ข้อคิดเห็น โครงการละ 5นาที มีเครือข่ายเข้าร่วม จำนวน 10  มหาวิทยาลัย และหน่วยงาน สกร 20 จังหวัด



รายงานโดย น.ส.ลีนมน แสนทวีสุข วันที่รายงาน 20/09/2567 [17484]
85500 65
4 [17417]

วันพฤหัสบดีที่ 12กันยายนพ.ศ. 2567เวลา 13.00น. คลินิกเทคโนโลยี  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตขอนแก่น โดยอาจารย์ปริญ นาชัยสิทธิ์ (ผู้อำนวยการคลินิกเทคโนโลยี)      รองอธิการบดีประจำวิทยาเขตขอนแก่น พร้อมด้วย ผศ.ดร.ศุภฤกษ์ ชามงคลประดิษฐ์ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ และ รศ.ดร.วิเชียร แสงอรุณ รองคณบดีฝ่ายวิชาการและวิจัย คณะวิศวกรรมศาสตร์ เข้าร่วมพิธีเปิดงาน “Food and Agro Tech 2024” ซึ่งจัดขึ้นในระหว่างวันที่ 12 – 14กันยายน 2567ณ ศูนย์ประชุมอเนกประสงค์กาญจนาภิเษก มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาชุมชนและเศรษฐกิจภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ผ่านการนำนวัตกรรมและองค์ความรู้มาขับเคลื่อนสู่สังคมเพื่อสร้างชุมชนที่เข้มแข็งอย่างยั่งยืน ได้รับเกียรติจากนายไกรสร กองฉลาด ผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น เป็นประธานในพิธีเปิด ดร.ทวีสันต์ วิชัยวงษ์ ประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดขอนแก่น เป็นผู้กล่าวรายงาน โดยมีหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชนและประชาชนเข้าร่วมพิธีเป็นจำนวนมาก โอกาสนี้ อาจารย์ ดร.วิทยา ชำนาญไพร อาจารย์ ดร.พันธกานต์ แก้วอาษา คณะผู้วิจัยพร้อมด้วยนักศึกษา มทร.อีสาน วิทยาเขตขอนแก่น ได้นำผลงานการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมกระชังยางพาราที่ควบคุมด้วยระบบ Smart Farm lot เพื่อใช้เลี้ยงปลาหมอไทย (Development of technology and innovation of rubber cages controlled by an lot smart farm system for raising Thai cichlid fish) และผลงานระบบสมาร์ทฟาร์มและระบบอัตโนมัติสำหรับการเพาะปลูกพืช ผักปลอดสารพิษ (Smart farm systems and automatic systems for organic vegetable cultivation in Bua Ngein Subdistrict, Bua Ngein District Khon Kaen Province ร่วมออกบูธจัดแสดงด้วย บรรยากาศภายในงานมีกิจกรรมเสวนา บูธนิทรรศการ การออกร้านนวัตกรรม และการแสดงเครื่องจักร รวมถึงบริการสุขภาพฟรี เช่น การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและโรคไต นอกจากนี้ยังมีการบรรยายเกี่ยวกับเทคโนโลยีการเกษตรและนวัตกรรมอาหาร กิจกรรม Work shop การประกวดวงดนตรี การประกวด Cover Dance พร้อมลุ้นรางวัลพิเศษทุกวัน การจัดงานนี้มีขึ้นเพื่อเป็นเวทีนำเสนอผลงานนวัตกรรมและผลิตภัณฑ์ที่เกิดจากการพัฒนาโดยสถานศึกษาสังกัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และเครือข่ายวิสาหกิจชุมชน เพื่อเน้นย้ำความสำคัญของอุตสาหกรรมด้านอาหารและการเกษตร ที่ช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจในภูมิภาคและลดการย้ายถิ่นฐานของประชาชน ลดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและกระจายรายได้สู่ชุมชน สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs) และเพื่อแสดงถึงความร่วมมือระหว่างสถาบันการศึกษา ภาครัฐ และเอกชน เพื่อสร้างชุมชนและสังคมที่เข้มแข็งอย่างยั่งยืนต่อไป



รายงานโดย น.ส.ลีนมน แสนทวีสุข วันที่รายงาน 17/09/2567 [17417]
30000 30
4 [17416]

         วันพฤหัสบดีที่ 12 กันยายน 2567 อาจารย์ปริญ นาชัยสิทธิ์ (ผู้อำนวยการคลินิกเทคโนโลยี)                      รองอธิการบดีประจำวิทยาเขตขอนแก่น อาจารย์บุญกิจ อุ่นพิกุลผู้ช่วยอธิการบดี ผู้จัดการคลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตขอนแก่น มอบ ผศ.ดร.อังคณา เจริญมี อาจารย์ ดร.ปนัดดา จันทะกล อาจารย์ประจำสาขาการจัดการ อาจารย์ฐิติพร จันทร์ดา ผู้ช่วยคณบดีด้านงานแนะแนวการศึกษาและประชาสัมพันธ์ คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม เข้าร่วมการตรวจติดตามและประเมินผลการดำเนินงานโครงการศูนย์ฝึกอาชีพชุมชนประจำปีงบประมาณ 2567 รวมทั้งติดตามความก้าวหน้าในการดำเนินงานโครงการศูนย์ฝึกอาชีพชุมชนรวมถึงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนต้นแบบ สกร.ณ สกร.อำเภอพลจังหวัดขอนแก่น ติดตามความก้าวหน้าการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนต้นแบบ สกร. “กระเป๋าสะพายข้างแฟชั่น”โอกาสนี้ มทร.อีสาน วิทยาเขตขอนแก่น มหาวิทยาลัย ฯชั้นนำ ที่มีคณาจารย์นักวิจัยผู้ทรงคุณวุฒิที่พร้อมสนับสนุนการดำเนินงานร่วมกับ กรมส่งเสริมการเรียนรู้ เพื่อนิเทศและติดตามผลการพัฒนาตัวอย่างผลิตภัณฑ์ ตามแผนพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ (Mood Board)และรับทราบผลการดำเนินงานปัญหาและอุปสรรค ความต้องการตลอดจนสภาพการดำเนินกิจกรรม เพื่อเป็นข้อมูลในการพัฒนาการดำเนินงานให้เกิดประสิทธิภาพและเกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนตลอดไป



รายงานโดย น.ส.ลีนมน แสนทวีสุข วันที่รายงาน 17/09/2567 [17416]
1000 20
2 [16581]

                              วันที่ 23-24  กุมภาพันธ์  2567 คลินิกเทคโนโลยี ศูนย์บริการทางวิชาการและทดสอบ มทร.อีสาน วิทยาเขตขอนแก่น  อาจารย์ปริญ  นาชัยสิทธิ์ ผู้อำนวยการคลินิกเทคโนโลยี และอาจารย์บุญกิจ  อุ่นพิกุล ผู้จัดการคลินิกเทคโนโลยีมอบ ดร.อุกฤษฏ์ พรรณะ อ.ธนัย ศรีอิสาณออกบริการให้คำปรึกษา กลุ่มแม่บ้านวิสาหกิจหนองร้านหญ้า          อ.บ้านไผ่ จ.ขอนแก่น ลงพื้นที่ให้บริการวิชาการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการพัฒนาบรรจุภัณฑ์เพื่อการขายในรูปแบบใหม่ การจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์เว็บไซต์ เเละจัดทำ qr code เพื่อเข้าถึงการเยี่ยมชมเว็บไซต์ให้กลุ่มแม่บ้านวิสาหกิจหนองร้านหญ้า อ.บ้านไผ่ จ.ขอนแก่น ตามความต้องการของวิสาหกิจชุมชน  ทั้งนี้คลินิกเทคโนโลยี พร้อมด้วยคณาจารย์และนักศึกษาได้ปฏิบัติงานร่วมกับวิสาหกิจชุมชน เเละนำองค์ความรู้กลับไปให้ชุมชนเพื่อเพิ่มศักยภาพเเละสร้างความได้เปรียบทางการเเข่งขันและในช่วงบ่าย ลงพื้นที่ กลุ่มข้าวแต๋นบ้านขามป้อม หมู่ 1 ต.ขามป้อม อ.เปือยน้อย จ.ขอนแก่น เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ ระบบการขายสินค้าด้วยระบบ Barcode และ การดูแลสต็อกสินค้าผ่านโปรแกรม excel   จำนวนผู้เข้าอบรม ทั้งสิ้น 30 คน

             วันที่ 23คลินิกเทคโนโลยี ศูนย์บริการทางวิชาการและทดสอบ  มทร.อีสาน  วิทยาเขตขอนแก่นอาจารย์ปริญ   นาชัยสิทธิ์ ผู้อำนวยการคลินิกเทคโนโลยี และอาจารย์บุญกิจ  อุ่นพิกุล ผู้จัดการคลินิกเทคโนโลยี  มอบนางสาวลีนมน  แสนทวีสุข หัวหน้าศูนย์บริการวิชาการและทดสอบลงพื้นที่ให้บริการ ออกหน่วยประชาสัมพันธ์ และสำรวจความต้องการชุมชน และกลุ่มวิสาหกิจ กลุ่มแม่บ้าน  กลุ่ม OTOP  ร่วมกับจังหวัดหน่วยแพทย์อาสาสมเด็จพระศรีนครินทราบบรมราชชนนี และโครงการ หน่วยบำบัดทุกข์บำรุงสุข สร้างรอยยิ้มให้ประชาชน ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2567  ณ โรงเรียนบ้านโนนข่า หมู่ที่ 10  ตำบลวังแสง  อำเภอชนบท  จังหวัดขอนแก่น โดยมีหน่วยงานราชการ ร่วมจัดนิทรรศการ จำนวน 15 หน่วยงาน  มีผู้เข้าร่วมรับคำปรึกษาข้อมูลเทคโนโลยีจำนวน 20 คน

             วันที่  29   ก พ  2567 คลินิกเทคโนโลยี ศูนย์บริการทางวิชาการและทดสอบ มทร.อีสาน วิทยาเขตขอนแก่น             อาจารย์ปริญ  นาชัยสิทธิ์ ผู้อำนวยการคลินิกเทคโนโลยี และอาจารย์บุญกิจ  อุ่นพิกุล ผู้จัดการคลินิกเทคโนโลยีมอบ             ดร.อุกฤษฏ์ พรรณะ ดร.ชยาคมน์ ปุริมศักดิ์ และ นักศึกษาสาขาวิชาการจัดการนวัตกรรมทางธุรกิจ ชั้นปีที่ 4N  จัดกิจกรรม ถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชน เรื่อง การใช้ประโยชน์จากใบสาบเสือในการยับยั้งเชื้อรา และการใช้สีธรรมชาติจากขมิ้นชันในผลิตภัณฑ์เสื่อกก เพื่อเพิ่มมูลค่าและสร้างความแตกต่างให้กับผลิตภัณฑ์ ณ วิสาหกิจชุมชนเสื่อกก ตำบลป่าสังข์ อำเภอจตุรพักตรพิมาน จังหวัดร้อยเอ็ดโดยได้รับเกียรติจาก นายบุญทัน วงศ์อามาตย์ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลป่าสังข์ เป็นประธานในพิธีกล่าวเปิดกิจกรรมในครั้งนี้ โดยในกิจกรรมครั้งนี้ประกอบไปด้วย การบรรยาย การนำใบสาบเสือมาใช้ประโยชน์เพื่อยับยั้งเชื้อราในผลิตภัณฑ์เสื่อก เพื่อเพิ่มมูลค่า และสร้างความแตกต่างให้กับผลิตภัณฑ์เสื่อกก ในชุมชน โดย ดร.อุกฤษฏ์ พรรณะ ดร.ชยาคมน์ ปุริมศักดิ์ และ กิจกรรมปฎิบัติ กระบวนการนำใบสาบเสือในชุมชนมาเป็นส่วนผสมเพื่อยับยั้งเชื้อราของผลิตภัณฑ์เสื่อกก และ การนำขมิ้นชันในชุมชนมาแปรรูปให้เป็นน้ำ เพื่อใช้ในการย้อมผลิตภัณฑ์เสื่อกก  จำนวนผู้เข้าอบรม ทั้งสิ้น  20 คน


 



รายงานโดย น.ส.ลีนมน แสนทวีสุข วันที่รายงาน 05/04/2567 [16581]
54994 70