2567 การบริการให้คำปรึกษาและข้อมูลเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม   0


รายงานความก้าวหน้า

ไตรมาส ผลการดำเนินงาน งบประมาณที่ใช้ ผู้รับบริการ
4 [17144]

กลุ่ม/ชุมชน/ชื่อผู้ประกอบการ : วิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวเชิงสุขภาพชุมชนคุณธรรมวัดทุ่งเสลี่ยม

(นางอัมพร  โคตะสาร)

ที่อยู่:   บ้านเลขที่35/1หมู่  5   ต.ทุ่งเสลี่ยม       อ.ทุ่งเสลี่ยม      จ.สุโขทัย

เบอร์ติดต่อ:   0956304652

ปัญหาและความต้องการ : ต้องการคำปรึกษาเกี่ยวกับการผลิตปลาอบกรอบสมุนไพร

การให้คำปรึกษา ปลาอบกรอบสมุนไพร เป็นผลิตภัณฑ์ที่เกิดจากการใช้หลักการผสมผสานระหว่างตัวปลา และข้าวไทย ผ่านกระบวนการให้ความ จากนั้นนำไปขึ้นรูปเพื่อขึ้นรูปเป็นลักษณะแบบแท่ง อบแห้ง และทำให้พองกรอบ เพื่อให้สามารถหยิบจับผลิตภัณฑ์ได้ง่ายและสะดวกในการรับประทาน ซึ่งในผลิตภัณฑ์จะมีส่วนผสมของเครื่องปรุงสมุนไพรที่ทำให้เกิดรสชาติที่ลงตัว ซึ่งผู้ประกอบการได้ทดลองข้อมูลที่ได้จากคำปรึกษาไปผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ต้นแบบเพื่อทดลองจำหน่ายต่อไป



รายงานโดย นางสาวอิสราภรณ์ ใบวุฒิ วันที่รายงาน 13/07/2567 [17144]
3890 3
4 [17138]

กลุ่ม/ชุมชน/ชื่อผู้ประกอบการ : วิสาหกิจชุมชนหนองอ้อหมู่ 4 ข้าวพันธุ์ดี     (นางจุฑารัส วงษ์สารสิน)

ที่อยู่:   บ้านเลขที่176   หมู่  4   ต.หนองอ้อ    อ.ศรีสัชนาลัย           จ.สุโขทัย

เบอร์ติดต่อ:   0818884617

ปัญหาและความต้องการ : ต้องการคำปรึกษาเกี่ยวกับการผลิตโดนัทจากแป้งข้าวไรซ์เบอร์รี่

การให้คำปรึกษา โดนัทจากแป้งข้าวไรซ์เบอรี่ เป็นผลิตภัณฑ์ที่เกิดจากกระบวนการทำแป้งข้าวไรซ์เบอรี่ให้มีคุณสมบัติใกล้เคียงกับแป้งสาลี และนำมาใช้แทนแป้งสาลี 100% ในผลิตภัณฑ์โดนัท เกิดเป็นผลิตภัณฑ์โดนัท free gluten ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่เหมาะกับเด็กและผู้ใหญ่ที่ชอบรับประทานผลิตภัณฑ์เบอร์เกอร์รี่แต่แพ้กลูเตนจากแป้งสาลี ในการนำข้าวไรซ์เบอร์รี่มาทำผลิตภัณฑ์เบอเกอรี่จำเป็นต้องนำข้าวมาผ่านกระบวนการหมักแป้งเพื่อให้แป้งข้าวมีคุณลักษณะที่มีความละเอียดและโมเลกุลเล็กลง เพื่อให้เม็ดแป้งมีพื้นที่ผิวสัมผัสในการเกาะตัวเพิ่มขั้น ทำให้เมื่อนำมาผสมกับส่วนผสมของน้ำมัน ไข่ ผงฟู น้ำตาล จะสามารถขึ้นฟูนิ่มเป็นผลิตภัณฑ์โดนัทได้ ซึ่งผู้ประกอบการได้มีการนำคำปรึกษาที่ได้ไปทดลองผลิต เพื่อทำเป็นต้นแบบในการทดลองจำหน่าย โดยผลิตภัณฑ์ที่ออกมาผู้บริโภคให้การยอมรับ



รายงานโดย นางสาวอิสราภรณ์ ใบวุฒิ วันที่รายงาน 13/07/2567 [17138]
6620 3
4 [17142]

กลุ่ม/ชุมชน/ชื่อผู้ประกอบการ : วิสาหกิจชุมชนเกษตรก้าวหน้า(นายองอาจ   เพ็งเอี่ยม)

ที่อยู่:   บ้านเลขที่67/1หมู่    4    ต.ตาลเตี้ย     อ.เมือง   จ.สุโขทัย

เบอร์ติดต่อ:   0823989289

ปัญหาและความต้องการ : ต้องการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากไข่ขาว และวิธีการผลิต

 

การให้คำปรึกษาเกี่ยวกับต้องการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากไข่ขาว และวิธีการผลิต สามารถนำไข่ขาวดังกล่าวมาทำผลิตภัณฑ์ไข่ขาวอบกรอบตราอารมณ์ดีได้ โดยผลิตภัณฑ์ดังกล่าวจะเป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้วัตถุดิบไข่ขาวสดจากไก่ที่ผ่านการเลี้ยงด้วยอาหารในท้องถิ่นที่ผลิตภัณฑ์ขึ้นเอง นำมาผสมกับส่วนผสมของน้ำตาลที่มีผลึกละเอียดและตีให้ขึ้นฟู สามารถคงรูปทรงตามที่ต้องการและผสมผสานกับงาดำ เมื่อนำไปผ่านการอบแห้งที่อุณหภูมิ 90 องศาเซลเซียสเป็นเวลา 2 ชั่วโมง ทำให้ได้ผลิตภัณฑ์ไข่กรอบอารมณืดีที่หอมหวาน และสามารถเก็บรักษาได้นาน ซึ่งทางกลุ่มได้นำข้อมูลคำปรึกษาดังกล่าวไปทดลองผลิตผลิตภัณฑ์พบว่า สามารถผลิตและจัดทำเป็นต้นแบบสินค้าเพื่อทดลองจำหน่ายได้



รายงานโดย นางสาวอิสราภรณ์ ใบวุฒิ วันที่รายงาน 13/07/2567 [17142]
6500 2
4 [17143]

กลุ่ม/ชุมชน/ชื่อผู้ประกอบการ : วิสาหกิจชุมชนหนองอ้อหมู่ 4 ข้าวพันธุ์ดี        (นางจุฑารัส วงษ์สารสิน)

ที่อยู่:   บ้านเลขที่176   หมู่  4   ต.หนองอ้อ    อ.ศรีสัชนาลัย           จ.สุโขทัย

เบอร์ติดต่อ:   0818884617

ปัญหาและความต้องการ : ต้องการคำปรึกษาเกี่ยวกับการผลิตโดนัทจากแป้งข้าวไรซ์เบอร์รี่

 

การให้คำปรึกษา โดนัทจากแป้งข้าวไรซ์เบอรี่ เป็นผลิตภัณฑ์ที่เกิดจากกระบวนการทำแป้งข้าวไรซ์เบอรี่ให้มีคุณสมบัติใกล้เคียงกับแป้งสาลี และนำมาใช้แทนแป้งสาลี 100% ในผลิตภัณฑ์โดนัท เกิดเป็นผลิตภัณฑ์โดนัท free gluten ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่เหมาะกับเด็กและผู้ใหญ่ที่ชอบรับประทานผลิตภัณฑ์เบอร์เกอร์รี่แต่แพ้กลูเตนจากแป้งสาลี ในการนำข้าวไรซ์เบอร์รี่มาทำผลิตภัณฑ์เบอเกอรี่จำเป็นต้องนำข้าวมาผ่านกระบวนการหมักแป้งเพื่อให้แป้งข้าวมีคุณลักษณะที่มีความละเอียดและโมเลกุลเล็กลง เพื่อให้เม็ดแป้งมีพื้นที่ผิวสัมผัสในการเกาะตัวเพิ่มขั้น ทำให้เมื่อนำมาผสมกับส่วนผสมของน้ำมัน ไข่ ผงฟู น้ำตาล จะสามารถขึ้นฟูนิ่มเป็นผลิตภัณฑ์โดนัทได้ ซึ่งผู้ประกอบการได้มีการนำคำปรึกษาที่ได้ไปทดลองผลิต เพื่อทำเป็นต้นแบบในการทดลองจำหน่าย โดยผลิตภัณฑ์ที่ออกมาผู้บริโภคให้การยอมรับ



รายงานโดย นางสาวอิสราภรณ์ ใบวุฒิ วันที่รายงาน 13/07/2567 [17143]
3280 3
4 [17140]

กลุ่ม/ชุมชน/ชื่อผู้ประกอบการ : แปลงใหญ่ข้าวบ้านศรีสวรรค์(นางวณิช  ประดิษฐ์)

ที่อยู่:   บ้านเลขที่217   หมู่  2   ต.บ้านแก่ง        อ.ศรีสัชนาลัย          จ.สุโขทัย

เบอร์ติดต่อ:   0980038020

ผลิตภัณฑ์ถั่วแผ่นอบกรอบ

ปัญหาและความต้องการ : ต้องการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากข้าวที่เป็นขนมทานเล่นแต่มีคุณค่าทางโภชนาการ

 

การให้คำปรึกษาการแปรรูปข้าวที่เป็นลักษณะของทานเล่นและมีโปรตีนสูง สามารถทำได้โดยใช้ส่วนผสมที่เป็นถั่ว ซึ่งเป็นพืชที่มีโปรตีนสูง สามารถนำมาผสมกับ และนำไปขึ้นรูปให้เป็นแผ่นด้วยความร้อน และทำการลดความขชื้นให้มีความเหมาะสมเพื่อนำไปเข้าสู่กระบวนการทำให้ พองและกกรอบ มีรสชาตหวานมันจากส่วนผสมที่ลงตัว ซึ่งผู้ประกอบการได้ทดลองนำเอาข้อมูลคำปรึกษาดังกล่าวไปทดลองผลิตผลิตภัณฑ์ พบว่า ผลิตภัณฑ์ที่ผลิตตามแนวคิดสามารถทำให้เป็นผลิตภัณฑ์ที่สามารถสร้างรายได้ให้ได้ใน



รายงานโดย นางสาวอิสราภรณ์ ใบวุฒิ วันที่รายงาน 13/07/2567 [17140]
6620 2
4 [17141]

กลุ่ม/ชุมชน/ชื่อผู้ประกอบการ : วิสาหกิจชุมชนธนาคารต้นไม้บ้านหนองหมื่นชัย

 (นายศิวกรณ์  บางบุญ)

ที่อยู่:   บ้านเลขที่37/5หมู่  5   ต.ไทยชนะศึก    อ.ทุ่งเสลี่ยม       จ.สุโขทัย

เบอร์ติดต่อ:  0923654769

ผลิตภัณฑ์ไซรัปอ้อย

ปัญหาและความต้องการ : ต้องการคำปรึกษาเกี่ยวกับบรรจุภัณฑ์สำหรับไซรัปที่สะดวกต่อการพกพาและขนส่ง

 

การให้คำปรึกษา เกี่ยวกับบรรจุภัณฑ์สำหรับไซรับอ้อย เราจะพบว่า ไซรัปอ้อย เป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้จากอ้อยสด นำมาผ่านกรรมวิธีการเคี่ยวจนกระทั่งได้ความหวาน 76 Brix โดยสีของไซรับ และผลิตภัณฑ์ของไซรับอ้อยจะมีกลิ่นเฉพาะตัวที่ได้จากอ้อยตัน การทำให้มีอายุการเก็บได้นานต้องทำบรรจุขณะร้อนภายใต้ภาชนะบรรจุปิดสนิท น้ำหนักเบา เพื่อสะดวกต่อขนส่งรูปลักษณ์ที่ทันสมัยและสะดวกต่อการใช้งาน อีกทั้งยังสามารถเก็บรักษาได้ยาวนาน ซึ่งทางกลุ่มได้นำคำปรึกษาไปทดลองผลิตสินค้าต้นแบบภายใต้บรรจุภัณฑ์ที่เป็นพลาสติกทนความร้อน และทำการบรรจุไซรัปขณะร้อน ผลิตภัณฑ์ที่ได้สามารถมีอายุการเก็บที่ยาวนานเพิ่มขั้น และได้มีการเลือกใช้บรรจุภัณฑ์ดังกล่าวในรูปแบบบรรจุภัณฑ์ที่ให้คำปรึกษา เพื่อใช้ในการจำหน่ายสินค้า



รายงานโดย นางสาวอิสราภรณ์ ใบวุฒิ วันที่รายงาน 13/07/2567 [17141]
6600 1
3 [16678]

ชื่อผู้ประกอบการ:นางกิตติมา   จันดวง

กลุ่ม/ชุมชน: กิตติมา บิวตี้

ที่อยู่:   บ้านเลขที่251   หมู่  5   ต.แม่สิน           อ.ศรีสัชนาลัย     จ.สุโขทัย

เบอร์ติดต่อ:   0923859297

ปัญหาและความต้องการ: ผู้ประกอบการต้องการคำปรึกษาการทำผลิตภัณฑ์นวัตกรรมจากส้ม

การให้คำปรึกษา: จากการลงพื้นที่พบว่าทางกลุ่มมีการเปิดหน้าร้านจำหน่ายผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับเครื่องดื่ม และอยู่ในพื้นที่ที่มีผลผลิตส้มเป็นจำนวนมาก และยังเป็นสมาชิกในกลุ่มผู้ผลิตแยมส้ม โดยการผลิตแยมส้มไม่ได้นำเปลือกส้มมาใช้ ดังนั้นจึงอยากนำเปลือกส้มมาเพิ่มมูลค่าเป็นผลิตภัณฑ์ชาส้ม ซึ่งผลิตภัณฑ์ดังกล่าวสามารถนำเปลือกส้มอินทรีย์ ที่ไม่มีสารเคมีตกค้าง ด้วยการนำผิวส้มที่ได้จากกระบวนการผลิตน้ำส้มหรือแยมส้มมาผ่านการล้างทำความสะอาด จากนั้นทำการใช้การกระทำด้วยแรงบีบเค้น เพื่อทำให้น้ำมันผิวส้มออกมาบริเวณผิวก่อนการทำแห้งและอบให้แห้ง จากนั้นอาจนำไปผสมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ เช่น ใบโปร่งฟ้า ดอกอัญชัน หรือพืชอื่นๆ ที่ต้องการ จากนั้นนำไปบรรจุในภาชนะที่มีลักษณะเป็นเยื่อกรอง ทำให้สามารถใช้น้ำร้อนในการชงได้อย่างรวดเร็ว และคงมีกลิ่นหอมของน้ำมันส้ม

สรุปผลการทำงาน:ทางผู้ประกอบได้นำข้อมูลที่ได้จากคำปรึกษาไปทดลองผลิตเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อทดสอบความต้องการของตลาด ซึ่งมีความเป็นไปได้ และให้การตอบรับ แต่ยังไม่ได้ผลิตเพื่อการจำหน่าย เนื่องจากยังรอความเห็นชอบจากสมาชิกในกลุ่ม



รายงานโดย นางสาวอิสราภรณ์ ใบวุฒิ วันที่รายงาน 26/04/2567 [16678]
3200 4
3 [16680]

ชื่อผู้ประกอบการ : นางสมควร  มานิตย์

กลุ่ม/ชุมชน/: วิสาหกิจชุมชนป่ายางข้าวพันธุ์ดีเดินตามพ่ออยู่อย่างพอเพียง

ที่อยู่:   บ้านเลขที่13/1หมู่  1   ต.หนองอ้อ        อ.ศรีสัชนาลัย         จ.สุโขทัย

เบอร์ติดต่อ:  0946369077

ปัญหาและความต้องการ: ต้องการแนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากข้าวเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม

การให้คำปรึกษา: การเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์จากข้าวสามารถนำแนวคิดของการใช้วัตถุดิบที่มีในท้องถิ่นมาผสมผสานกับผลิตภัณฑ์หรือวัตถุดิบที่มีเป็นหลักได้ เช่น การนำน้ำมะนาวผสมกับข้าวแล้วนำไปคั่วให้หอม เป็นผลิตภัณฑ์ชาข้าวคั่ว ซึ่งจะการทำควรใช้ข้าวที่ได้มาตรฐานข้าวอินทรีย์จะช่วยส่งเสริมให้ผลิตภัณฑ์สามารถจำหน่ายได้ในราคาที่กลุ่มลูกค้ายอมรับได้ เนื่องจากเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีความปลอดภัย ส่วนการทำจะนำข้าวมาล้างทำความสะอาดจากนั้นนำไปคั่วให้สุก เพื่อให้เกิดกลิ่นเฉพาะตัว นำข้าวคั่วที่ได้เคลือบวิตามินบนผิวส้มผัสของเมล็ดข้าว ตามสัดส่วนที่กำหนด แล้วนำไปอบให้แห้ง  จะทำให้เกิดผลิตภัณฑ์มีความหอมของข้าวและมีรสชาติเปรี้ยวของวิตามินซีจากธรรมชาติ

สรุปผลการดำเนินงาน: ทางกลุ่มได้มีการทดลองผลิตภัณฑ์ตามคำแนะนำ เพื่อนำแนวคิดไปทำผลิตภัณฑ์เพื่อการจัดจำหน่ายต่อไป



รายงานโดย นางสาวอิสราภรณ์ ใบวุฒิ วันที่รายงาน 26/04/2567 [16680]
3700 1
3 [16677]

ชื่อผู้ประกอบการ: นางฤดีรัตน์ หอมชื่น

กลุ่ม/ชุมชน: วิสาหกิจชุมชนกลุ่มส้มแม่สินปลอดสารพิษ

ที่อยู่:   บ้านเลขที่337/1            หมู่1   ต.แม่สิน         อ.ศรีสัชนาลัย          จ.สุโขทัย

เบอร์ติดต่อ:  0840909354

ผลิตภัณฑ์น้ำส้มสด

ปัญหาและความต้องการ: ต้องการแก้ปัญหาความขมในน้ำส้มคั้น

การให้คำปรึกษา:การแก้ไขปัญหาและการควบคุมคุณภาพน้ำส้มคั้น ควรเริ่มจากการคัดเลือกวัตถุดิบที่มีระยะผลแก่จัด และก่อนนำมาคั้นต้องล้างน้ำให้สะอาด ทิ้งให้สะเด็ดน้ำ จากนั้นทำการผ่าซีก และใช้อุปกรณ์คั้นซึ่งอาจทำมาจากพลาสติก หรืออลูมิเนียม จากนั้นจำเป็นต้องอาศัยการปรับมาตรฐานด้วยน้ำตาลผลไม้โมเลกุลเดี่ยว เพื่อควบคุมคุณภาพและลดความขมของน้ำส้มที่สกัด รวมทั้งเพื่อให้ได้ความหวานที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน ทั้งสี กลิ่น รสชาติ ที่ปรากฏต่อประสาทสัมผัสชองผู้บริโภค

สรุปผลการทำงาน:ทางผู้ประกอบการได้มีการทดสอบตามคำแนะนำการให้คำปรึกษา พบว่า สามารถแก้ไขปัญหาความขมและการควบคุมคุณภาพผลิตภัณฑ์ได้



รายงานโดย นางสาวอิสราภรณ์ ใบวุฒิ วันที่รายงาน 26/04/2567 [16677]
3500 2
3 [16679]

ชื่อผู้ประกอบการ :นางสาวณัฐธิดา   วรรณบุตร

กลุ่ม/ชุมชน/: วิสาหกิจชุมชนกลุ่มเกษตรกรการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ตำบลแม่สิน

ที่อยู่:   บ้านเลขที่8 หมู่17 ต.แม่สิน  อ.ศรีสัชนาลัย  จ.สุโขทัย

เบอร์ติดต่อ:   0810004674

ผลิตภัณฑ์แยมส้ม

ปัญหาและความต้องการ: ต้องการข้อมูลและคำปรึกษาเกี่ยวกับการผลิตแยมส้ม เนื่องจากเวลาผลิตแล้วส้มจะเหลวและสีคล้ำ

การให้คำปรึกษา:แยมส้มเขียวหวาน สามารถทำได้โดยการนำเนื้อสัมมาทำการล้างเยื่อและเมล็ดที่อยู่ในผลออกให้หมด จากนั้นนำไปผสมกับน้ำตาล ในสัดส่วนที่เหมาะสม จากนั้นนำไปให้ความร้อน จนน้ำตาลละลายหมด จากนั้นเมื่ออุณหภูมิชองผลิตภัณฑ์สูงประมาณ 80-90องศาเซลเซียสให้นำน้ำตาลที่ผสมกับผงเพคติน (สารก่อเจล) ผสมอีกครั้งและให้ความร้อนสูงเพิ่มขึ้นเพื่อให้เพคตินเกิดการละลาย จากนั้นจึงนำมาเทใส่ ในภาชนะบรรจุที่ผ่านการทำความสะอาดแล้ว โดยการบรรจุจะทำในรูปแบบ Hot fill เพื่อยืดอายุการเก็บรักษาที่ยาวนาน ซึ่งลักษณะของแยมจะต้องสามารถตักออกจากบรรจุภัณฑ์และสามารถสเปรดลงบนขนมปังได้โดยไม่จับตัวเป็นก้อนๆ

สรุปผลการทำงาน: ทางกลุ่มได้นำข้อมูลจากการให้คำปรึกษาไปทดลองผลิตจนได้ลักษณะของแยมที่สีสวย และลักษณะเนื้อสัมผัสดีขึ้น สามารถจัดจำหน่ายให้กับกลุ่มลูกได้ที่ต้องการได้



รายงานโดย นางสาวอิสราภรณ์ ใบวุฒิ วันที่รายงาน 26/04/2567 [16679]
3800 2
3 [16670]

ชื่อผู้ประกอบการ: นางสาวชรรณษา  อ่อมแย้ม

กลุ่ม/ชุมชน : วิสาหกิจชุมชนผู้ปลูกโกโก้

ที่อยู่:   บ้านเลขที่66    หมู่   10   ต.ปากน้ำ       อ.สวรรคโลก  จ.สุโขทัย

เบอร์ติดต่อ:  0654414785

ปัญหาและความต้องการ :ต้องการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากเมล็ดโกโก้ในลักษณะเป็นลูกอมเคี้ยวหนึบ

การให้คำปรึกษา และข้อมูล: โกโก้เคี้ยวหนึบ สามารถทำได้โดยนำเมล็ดโกโก้ผ่านกระบวนการหมัก และนำมาคั่วเพื่อให้เนื้อสัมผัสของเมล็ดโกโก้มีความกรอบและหอมกลิ่นโกโก้ธรรมชาติ จากนั้นใช้สารประกอบน้ำตาลโมเลกุลคู่และโมเลกุลเดี่ยวผสมร่วมกับโปรตีนนมนำมาผสมรวมกัน และนำไปเป็นส่วนผสมร่วมกับเมล็ดโกโก้ที่ทำการบุบหยาบเพื่อลดความขมของเมล็ดโกโก้ จากนั้นขึ้นรูปเป็นชิ้น เพื่อให้รับประทานง่าย และมีรสชาติกลมกล่อม

สรุปผลการทำงาน: คณะทำงานคลินิกเทคโนโลยีจะได้ประสานนักวิจัยเชื่อมโยงกับผู้ประกอบการเพื่อแก้ไขปัญหาเชิงลึก ผ่านโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์สินค้าชุมชน (ตามแนวทางคูปองวิทย์เพื่อโอทอป) ประจำปีงบประมาณ 2567 ต่อไป เนื่องจากเป็นสินค้า OTOP



รายงานโดย นางสาวอิสราภรณ์ ใบวุฒิ วันที่รายงาน 25/04/2567 [16670]
3400 2
3 [16664]

ผู้ประกอบการ : นางสาวสร้อย เพียนทอง

กลุ่ม/ชุมชน: วิสาหกิจชุมชนข้าวบุญสว่าง

ที่อยู่:    104 หมู่ 4 หมู่ 4 ต.ไกรใน อ.กงไกรลาศ  จ.สุโขทัย

เบอร์ติดต่อ:   062-5294710

ผลิตภัณฑ์:  คุกกี้ข้าวไรซ์เบอร์รี่

ปัญหาและความต้องการ :

ผู้ประกอบการ ต้องการพัฒนาแปรรูปจากส่วนผสมข้าวไรซ์เบอร์รี่ 100 %  เนื่องจากเดิมผู้ประกอบการเคยลองทำผลิตภัณฑ์คุ้กกี้แต่มีส่วนผสมจากแป้งจึงไม่เป็นที่นิยมของตลาดสายสุขภาพ

การให้คำปรึกษา และข้อมูล :

ประโยชน์ของข้าวไรซ์เบอรี่ เป็นข้าวที่มีคุณค่าทางโภชนาการ อุดมด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ  อาทิ เบต้าแคโรทีน แกมมาโอไรซานอล ที่ช่วยลดระดับคลอเรสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์ในเลือด และยังมีวิตามินอี แทนนิน สังกะสี โฟเลต รวมทั้งเป็นข้าวที่มีดัชนีน้ำตาลระดับต่ำถึงปานกลาง เหมาะกับผู้ป่วยโรคเบาหวาน จึงเป็นวัตถุดิบที่มีคุณสมบัติเชิงสุขภาพสูง นักวิจัยและผู้ประกอบการจึงคิดผลิตภัณฑ์คุกกี้ข้าวไรซ์เบอร์รี่ จากการใช้ส่วนผสมของแป้งข้าวไรซ์เบอร์รี่อินทรีย์ทดแทนแป้งสาลีและผ่านการขึ้นรูปด้วยการรีดเป็นแผ่นเพื่อให้ผลิตภัณฑ์คงความกรอบและมีกลิ่นหอมของข้าวไทย อีกทั้งยังมีส่วนผสมของธัญพืชที่ปลูกอยู่ในท้องถิ่นช่วยเพิ่มใยอาหารในผลิตภัณฑ์แล้วนำเข้าเตาอบในอุณหภูมิสูงคงที่

ดังนั้นการเสริมคุณประโยชน์เชิงสุขภาพในผลิตภัณฑ์ขนมขบเคี้ยวด้วยการใช้ข้าวไรซ์เบอรี่เป็นวัตถุดิบหลักและผลิตด้วยเทคโนโลยีเอกซ์ทรูชัน เป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มจากข้าวไรซ์เบอรี่ และยังช่วยสร้างรายได้แก่เกษตรกรและชุมชน ได้เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีคุณสมบัติเด่นในแง่ของคุณสมบัติเชิงสุขภาพ มีสารต้านอนุมูลอิสระสูง มีวิตามินที่ร่างกายต้องการ นับเป็นผลิตภัณฑ์ทางเลือกเพื่อคนที่ชอบขนมขบเคี้ยว โดยผู้บริโภคจะได้ร้บทั้งความอร่อย เคี้ยวเพลิน และยังได้คุณประโยชน์จากข้าวไรซ์เบอรี่ที่ดีต่อสุขภาพอีกด้วย

          อย่างไรก็ตามการใช้ข้าวไรซ์เบอร์รี่ในการผลิตคุกกี้สามารถทำได้โดยนำข้าวไรซ์เบอร์รีผ่านกระบวนการทำให้พอง และนำไปผสมกับส่วนผสมคุกกี้ นำไปอัดในพิมพ์ที่กำหนด จากนั้นนำไปอบที่อุณหภูมิ 150องศาสเซลเซียสไฟบนล่าง ประมาณ 20นาที จะได้ผลิตภัณฑ์คุกกี้จากข้าวไรซ์เบอร์รี่ที่มีความกรอบ และสามารถเก็บได้นาน



รายงานโดย นางสาวอิสราภรณ์ ใบวุฒิ วันที่รายงาน 25/04/2567 [16664]
5800 2
3 [16665]

ผู้ประกอบการ : (นางกนกพร เทียนงาม

กลุ่ม/ชุมชน: วสช.กนกพร & บุญฟาร์สเตย์)

ที่อยู่:    846 หมู่ 2 ต.หาดเสี้ยว อ.ศรีสัชนาลัย จ.สุโขทัย

เบอร์ติดต่อ:   084-1536639

ผลิตภัณฑ์:  ผลไม้กรอบ

ปัญหาและความต้องการ :

ต้องการความรู้นวัตกรรมแปรรูปจากผลไม้ และ น้ำผลไม้ กระบวนการการทำข้าวเกรียบ

การให้คำปรึกษา และข้อมูล :

การแปรรูปผลิตภัณฑ์จากผลไม้สามารถทำได้หลายหลายไม่ว่าจะเป็นเครื่องดื่ม ของทาน เล่า หรือนำไปผลิตในผลิตภัณฑ์อื่นๆ  เช่น ผลไม้กรอบ เป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้จากน้ำผลไม้ผ่านกรรมวิธีการผสมผสานกับ แป้งข้าว และนำไปผ่านกระบวนการอบกรอบ โดยสีของผลิตภัณฑ์เป็นสีที่เกิดจากส่วนผสมของผลไม้ธรรมชาติ ผลิตภัณฑ์มีเนื้อสัมผัสที่กรอบ และมีส่วนผสมวิตามินซีจากน้ำผลไม้ที่เป็นส่วนผสมของผลิตภัณฑ์ ซึ่งผู้ประกอบการจะได้นำองค์ความรู้ไปประยุกติใช้ในผลิตภัณฑ์ผลไม้ เพื่อเกิดผลิตใหม่ของสถานรปะกอบการ



รายงานโดย นางสาวอิสราภรณ์ ใบวุฒิ วันที่รายงาน 25/04/2567 [16665]
4900 2
3 [16669]

ชื่อผู้ประกอบการ: นางฐิติมนกาญจน์  จันทร์ละมูล

กลุ่ม/ชุมชน/: วิสาหกิจชุมชนผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวศรีนคร

ที่อยู่:   13/1 หมู่ 5 ต.ศรีนคร อ.ศรีนคร จ.สุโขทัย โทร.

เบอร์ติดต่อ:   081-3793132

ปัญหาและความต้องการ: ต้องการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากข้าวเพื่อเพิ่มมูลค่า

การให้คำปรึกษา และข้อมูล: ข้าวสามารถนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ข้าวกล้องงอกชงดื่มรสโกโก้ โดยผลิตภัณฑ์ดังกล่าว จะใช้เทคโนโลยีการแปรรูป ด้วยการนำข้าวมาผ่านการลดขนาดให้มีขนาดอนุภาคที่เล็กและนำมาผสมกับวัตถุดิบอื่นๆ เช่น โกโก้ น้ำตาล ครีมเทียม โดยส่วนผสมต่างๆ ต้องผ่านการลดขนาดอนุภาคให้มีขนาดเล็ก เพื่อให้สามารถเกิดการละลายและกระจายตัวในน้ำได้ จนเกิดรสชาติที่มีความหอมของที่ลงตัวสามารถนำมาชงกับน้ำร้อน ทำให้ได้เครื่องดื่มที่มีรสชาติกลมกล่อมเหมาะกับทุกเพศวัย

สรุปผลการทำงาน: คณะทำงานคลินิกเทคโนโลยีจะได้ประสานนักวิจัยเชื่อมโยงกับผู้ประกอบการเพื่อแก้ไขปัญหาเชิงลึก ผ่านโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์สินค้าชุมชน (ตามแนวทางคูปองวิทย์เพื่อโอทอป) ประจำปีงบประมาณ 2567 ต่อไป เนื่องจากเป็นสินค้า OTOP



รายงานโดย นางสาวอิสราภรณ์ ใบวุฒิ วันที่รายงาน 25/04/2567 [16669]
3500 3
3 [16672]

ชื่อผู้ประกอบการ: นายทวีศักดิ์  ทาจ๋อย

กลุ่ม/ชุมชน: บริษัท นายพลฟู้ดส์ จำกัด

ที่อยู่:   บ้านเลขที่97    หมู่      ต.วังขอนไม้       อ.สวรรคโลก         จ.สุโขทัย

เบอร์ติดต่อ:  084-3791158

ปัญหาและความต้องการ :ต้องการพัฒนาบรรจุภัณฑ์สำหรับปลาร้าปลากระดี่ที่อยู่ในภาชนะปิดสนิท

 

การให้คำปรึกษา และข้อมูล: ปลาร้าปลากระดี่ เป็นผลิตภัณฑ์ ที่ใช้กระบวนการหมักด้วยส่วนผสมของข้าวคั่วที่มีกลิ่นหอม และเกลือที่มีความเข้มข้นพอเหมาะ ทำให้ใช้ระยะเวลาการหมักที่ลดลง เพื่อย่อยสลายสารอาหารจากตัวปลากะดีได้อย่างรวดเร็ว โดยคงมีรสชาติที่กลมกล่อม และผลิตภัณฑ์ยังมีตัวปลากระดี่ที่มีขนาดเหมาะสม บรรจุไปพร้อมกับน้ำปลาร้า เมื่อนำมาบรรจุในกระป๋องจะต้องทำการฆ่าเชื้อก่อน และควรบรรจุในกระป๋องแบบ  hot fillเพื่อยืดอายุการเก็บรักษา อย่างไรก็ตามการให้ความร้อนแก่น้ำปลาร้าจะทำให้รสชาติเปลี่ยนไป กรณีที่ 2หากต้องการยืดอายุและลดน้ำหนักการขนส่งก็สามารถนำปลาร้าปลากระดี่ผ่านขั้นตอนการอบแห้งแล้วจึงนำมาบรรจุกระป๋องได้ทันที ผลิตภัณฑ์จะเป็นลักษณะของปลาร้าอบแห้ง ทำให้ผลิตภัณฑ์มีอายุการเก็บที่ยาวนาน ณ อุณหภูมิห้องได้เช่นเดียวกัน

สรุปผลการทำงาน:คณะทำงานคลินิกเทคโนโลยีจะได้ประสานนักวิจัยเชื่อมโยงกับผู้ประกอบการเพื่อแก้ไขปัญหาเชิงลึก ผ่านโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์สินค้าชุมชน (ตามแนวทางคูปองวิทย์เพื่อโอทอป) ประจำปีงบประมาณ 2567 ต่อไป เนื่องจากเป็นสินค้า OTOP



รายงานโดย นางสาวอิสราภรณ์ ใบวุฒิ วันที่รายงาน 25/04/2567 [16672]
3500 1
3 [16673]

ชื่อผู้ประกอบการ: นางสาวธารารัตน์  ปรีดาภิรมย์

กลุ่ม/ชุมชน: บ้านปรีดาภิรมย์ 

ที่อยู่:   บ้านเลขที่271/1               หมู่    3      ต.เมืองเก่า        อ.เมือง     จ.สุโขทัย

เบอร์ติดต่อ:   0985691745

ปัญหาและความต้องการ: ต้องการองค์ความรู้เกี่ยวกับการผลิตผลิตภัณฑ์ก๋วยเตี๋ยวสุโขทัยกึ่งสำเร็จรูป

 

การให้คำปรึกษา:การผลิตก๋วยเตี๋ยวสุโขทัยกึ่งสำเร็จรูป ทำได้โดยการนำส่วนผสมต่างๆ ของเครื่องปรุง ที่มีหลากหลายรสชาติผสมรวมกัน จนกลายเป็นเครื่องปรุงรสชาติต่างๆ แต่ถ้าจะให้คงเอกลักษณ์จำเป็นต้นมีถั่วลิสงร่วมด้วย อย่างไรก็ตามการเติมถั่วลิสงจะส่งผลทำให้ก๋วยเตี๋ยวนั้นมีลักษณะและเอกลักษณ์ที่โดดเด่นในเรื่องของกลิ่นและรสชาติก๋วยเตี๋ยวของสุโขทัย แต่การใช้ถั่วลิสงก็มีข้อจำกัดเรื่องของสารพิษตกค้าง เราควรเลือกวัตถุดิบต้นทางในการผลิตจากแหล่งการผลิตที่ได้มาตรฐาน เพื่อป้องกันเรื่องของอายุการเก็บรักษาที่อาจเกิดจากสาเหตุของการเสื่อมเสียทางเคมี และทางจุลินทรีย์

สรุปผลการทำงาน:คณะทำงานคลินิกเทคโนโลยีจะได้ประสานนักวิจัยเชื่อมโยงกับผู้ประกอบการเพื่อแก้ไขปัญหาเชิงลึก ผ่านโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์สินค้าชุมชน (ตามแนวทางคูปองวิทย์เพื่อโอทอป) ประจำปีงบประมาณ 2567 ต่อไป เนื่องจากเป็นสินค้า OTOP



รายงานโดย นางสาวอิสราภรณ์ ใบวุฒิ วันที่รายงาน 25/04/2567 [16673]
3600 1
3 [16674]

ชื่อผู้ประกอบการ:นางสาวอารยา  แจ่มจันทร์

กลุ่ม/ชุมชน: สวนมีเขียว สวนเกษตรอินทรีย์ผสมผสาน

ที่อยู่:   บ้านเลขที่51    หมู่ 3    ต.ราวต้นจันทร์   อ.ศรีสำโรง        จ.สุโขทัย

เบอร์ติดต่อ:  0863453289

ผลิตภัณฑ์

ปัญหาและความต้องการ: ต้องการนำผักเคลมาเป็นส่วนผสมในการผลิตคุกกี้เนยสดเพื่อเพิ่มคุณค่าทางโภชนาการของสินค้า

การให้คำปรึกษา: ผักเคลของทางกลุ่มผู้ประกอบการเป็นผักเคลที่ได้รับมาตรฐานออร์แกนิคไทย แลนด์ ซึ่งมีราคาอยู่แล้ว แต่ถ้าต้องการนำมาผลิตคุกกี้เนยสดผักเคล สามารถนำใบผักเคลที่เกิดจากการตัดแต่งมาทำการปั่นให้ละเอียดแล้วนำไปอบแห้ง ทำเป็นผง จากนั้นนำผงผักเคลไปเป็นส่วนผสมของผลิตภัณฑ์โดยใช้ปริมาณร้อยละ 10-20ของแป้งสาลีได้ในสูตรเดิมของทางกลุ่มได้ทันที ซึ่งการนำผักเคลไปเป็นส่วนผสมจะมีผลทำให้ผลิตภัณฑ์ที่ได้มีรสชาติของผักเพิ่มมากขึ้น ดังนั้นกลุ่มเป้าหมายอาจเน้นเป็นผู้ที่รักษาสุขภาพ

สรุปผลการทำงาน:คณะทำงานคลินิกเทคโนโลยีจะได้ประสานนักวิจัยเชื่อมโยงกับผู้ประกอบการเพื่อแก้ไขปัญหาเชิงลึก ผ่านโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์สินค้าชุมชน (ตามแนวทางคูปองวิทย์เพื่อโอทอป) ประจำปีงบประมาณ 2567 ต่อไป เนื่องจากเป็นสินค้า OTOP



รายงานโดย นางสาวอิสราภรณ์ ใบวุฒิ วันที่รายงาน 25/04/2567 [16674]
3700 1
3 [16675]

กลุ่ม/ชุมชน/ชื่อผู้ประกอบการ : วิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์บ้านห้วยคล้า

ที่อยู่:   บ้านเลขที่3/2   หมู่  9   ต.สามเรือน       อ.ศรีสำโรง    จ.สุโขทัย

เบอร์ติดต่อ:   0660288958

ผลิตภัณฑ์กล้วยผงชงดื่ม

ปัญหาและความต้องการ: ต้องการองค์ความรู้เรื่องของฉลากสินค้าที่ถูกต้องตามหลัก อย.

การให้คำปรึกษา:ผงกล้วยน้ำว้ากระเจี๊ยบทรีอินวัน เป็นผลิตภัณฑ์ที่นำผงกล้วยและกระเจี๊ยบผง ที่ผ่านการลดขนาดอนุภาค 80 เมช จากนั้นนำมาผสมกับสารลดแรงตรึงผิว ทำให้ผงกระเจี๊ยบสามารถละลายและกระจายตัวในน้ำได้ดีขึ้น เหมาะสำหรับการชงดื่มเพื่อสุขภาพ ดื่มง่ายและมีประโยชน์ต่อร่างกาย ซึ่งผลิตภัณฑ์ดังกล่าวเมื่อนำไปจัดจำหน่ายควรมีฉลากสินค้าที่ถูกต้องตามกฎหมาย อย. โดยทางกฎหมาย อย. ได้กำหนดการแสดงฉลากสินค้าบนผลิตภัณฑ์ ข้อความที่ควรมีปรากฎได้แก่ ตราสินค้า ชื่อผลิตภัณฑ์ ส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์ที่สำคัญ ชื่อและที่อยู่ผู้ผลิต ข้อมูลผู้แพ้อาหาร (ถ้ามี) วันเดือนปีที่ผลิตและหมดอายุหรือควรบริโภคก่อน น้ำหนักของผลิตภัณฑ์ ราคาของผลิตภัณฑ์ วิธีการใช้ (ถ้ามี)

สรุปผลการทำงาน:คณะทำงานคลินิกเทคโนโลยีจะได้ประสานนักวิจัยเชื่อมโยงกับผู้ประกอบการเพื่อแก้ไขปัญหาเชิงลึก ผ่านโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์สินค้าชุมชน (ตามแนวทางคูปองวิทย์เพื่อโอทอป) ประจำปีงบประมาณ 2567 ต่อไป เนื่องจากเป็นสินค้า OTOP



รายงานโดย นางสาวอิสราภรณ์ ใบวุฒิ วันที่รายงาน 25/04/2567 [16675]
3500 1
3 [16676]

ชื่อผู้ประกอบการ:  นายอดิศักดิ์   พรมพุก

กลุ่ม/ชุมชน: วิสาหกิจชุมชนผักปลอดภัยจากสารผิดตำบลเกาะตาเลี้ยง

ที่อยู่:   บ้านเลขที่39/1หมู่   6  ต.เกาะตาเลี้ยง    อ.ศรีสำโรง        จ.สุโขทัย

เบอร์ติดต่อ:   0878063291

ผลิตภัณฑ์ผักแผ่นอบกรอบ

ปัญหาและความต้องการ: ต้องการสูตรและกรรมวิธีการผลิตผักแผ่นที่ได้มาตรฐานและสามารถผลิตได้ง่ายขึ้น

 

การให้คำปรึกษา : การผลิตผักแผ่นสามารถทำได้โดยนำผักที่ต้องการขึ้นรูปมาปั่นในน้ำให้มีความละเอียด จากนั้นนำไปผสมแป้งแล้วนำไปให้ความร้อนเพื่อให้แป้งเกิดการเจลาติไนซ์ จากนั้นนำผักที่ผ่านการให้ความร้อนมาเกลี่ยลงบนแผ่นเทปร่อน นำไปอบให้แห้งกรอบ จากนั้นนำผักดังกล่าวมาปรุงรสด้วยซอส และน้ำตาล นำไปอบให้แห้งกรอบด้วยเตาอบ จะได้เป็นผักแผ่นปรุงรส

 

สรุปผลการทำงาน: ผู้ประกอบการนำวิธีการผลิตจากการให้คำปรึกษาไปปรับกระบวนการผลิตในสถานประกอบการทำให้ได้ผลิตภัณฑ์ผักแผ่นที่สามารถทำได้ง่ายขึ้นภายใต้อุปกรณ์การผลิตที่มี



รายงานโดย นางสาวอิสราภรณ์ ใบวุฒิ วันที่รายงาน 25/04/2567 [16676]
3700 2
3 [16668]

ชื่อผู้ประกอบการ : นางสาวชาญพิชญคูณ  ปรสุขทวีสิน

กลุ่ม/ชุมชน/: วิสาหกิจชุมชนกรพัฒนกิจ

ที่อยู่:   บ้านเลขที่37    หมู่5     ต.ศรีนคร    อ.ศรีนคร       จ.สุโขทัย

เบอร์ติดต่อ:   0945211299

ปัญหาและความต้องการ: ต้องการคำปรึกษาเกี่ยวกับการแปรรูปผลผลิตจากมะม่วงหาวมะนาวโห่

 

การให้คำปรึกษา และข้อมูล : ไซรับมะม่วงหาวมะนาวโห่ สามารถนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้นวัตกรรมการผลิตภายใต้หลักแนวคิด BCG Model และการประหยัดพลังงาน เพื่อให้เกิดผลิตภัณฑ์ 2 ผลิตภัณฑ์คู่ขนาน สามารถสร้างมูลค่าผลิตภัณฑ์เพิ่มเป็น 2 เท่า คือการผลิตไซรัปมะม่วงหาวมะนาวโห่ และผลิตภัณฑ์มะม่วงหาวมะนาวโห่แช่อิ่มอบแห้ง โดยผลิตภัณฑ์ยังคงให้คุณลักษณะที่ดีต่อการบริโภค แต่ต้องมีการควบคุมการผลิตตั้งแต่การเก็บวัตถุดิบ คัดเลือก แปรรูป และบรรจุ เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพและรสชาติที่ดี

สรุปผลการทำงาน: คณะทำงานคลินิกเทคโนโลยีจะได้ประสานนักวิจัยเชื่อมโยงกับผู้ประกอบการเพื่อแก้ไขปัญหาเชิงลึก ผ่านโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์สินค้าชุมชน (ตามแนวทางคูปองวิทย์เพื่อโอทอป) ประจำปีงบประมาณ 2567 ต่อไป เนื่องจากเป็นสินค้า OTOP



รายงานโดย นางสาวอิสราภรณ์ ใบวุฒิ วันที่รายงาน 25/04/2567 [16668]
3890 2
2 [16311]

กลุ่ม/ชุมชน/ชื่อผู้ประกอบการ: วิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์แบบออร์แกนิก(สวนเลิศสิริพร)    นายบุญเลิศ

ที่อยู่:    บ้านเลขที่ 121/5   หมู่ 10         ต.นครเดิฐ         อ.ศรีนคร          จ.สุโขทัย

เบอร์ติดต่อ:   0943250007

ผลิตภัณฑ์:  โจ๊กข้าวหอมนิล

ปัญหาและความต้องการ :

1.ต้องการแปรรูปผลิตภัณฑจากข้าวหอมนิลเพื่อสามารถสร้างมูลค่าเพิ่ม

การให้คำปรึกษา และข้อมูล :

          ผู้ประกอบการ ได้ก่อตั้ง วิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์แบบออร์แกนิก (สวนเลิศสิริพร) มีพื้นที่ในการปลูกพื้ชผสมผสานมากกว่า 40 ไร่ ในพื้นที่ บ้านของตนเอง และ มีลูกบ้านร่วมปลูกพืชผักเพื่อเก็บผักสดมาจำหน่าย และนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ ทั้งนี้ผู้ประกอบการได้ปลูกข้าวหลากหลายสายพันธุ์จึงคิดทำข้าวหอมนิลที่เกิดจากการปลูกแบบใช้เกษตรอินทรีย์มาแปรรูปเป็นโจ๊กข้าวหอมนิล เพื่ออยากให้ผู้บริโภคได้บริโภคโจ๊กที่ปลอดภัย ออแกนิค เนื่องจากปัจจุบันโจ๊กเป็นที่ยมสำหรับทุกวัย สามารถหาทานได้ง่ายในเวลาที่เร่งรีบหรือเหมาะสำหรับเด็กและผู้ป่วย หรือทานเป็นอาหารหลัก ผู้ประกอบการจึงเล็งเห็นถึงความสำคัญของสุขภาพในการเลือกบริโภค คณะทำงานจึงได้ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการผลิตผลิตภัณฑ์โจ๊กข้าวหอมนิลอินทรีย์อุดมเป็นด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ โดยผ่านกรรมวิธีการให้ความร้อน และเทคโนโลยีการอบแห้ง เพื่อยืดอายุการเก็บรักษา และนำมาผ่านการลดขนาดเพื่อให้มีอนุภาคขนาดเล็ก เมื่อนำมาต้มให้ความร้อนเป็นผลิตภัณฑ์โจ๊กที่สามารถทำเสร็จได้ภายใน 5 นาที

สรุปผลการทำงาน: คณะทำงานส่งมอบให้ผู้เชี่ยวชาญ เข้ามาเป็นที่ปรึกษาให้กับผู้ประกอบการ และจัดหาแหล่งงบประมาณมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม , ทุนคูปองวิทย์เพื่อโอทอป หรือ แหล่งทุนต่างๆต่อไป

รายชื่อคณะทำงาน:

1. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.น้ำทิพย์  วงษ์ประทีป

2. นางสาวอิสราภรณ์ ใบวุฒิ



รายงานโดย นางสาวอิสราภรณ์ ใบวุฒิ วันที่รายงาน 27/03/2567 [16311]
3200 1
2 [16309]

กลุ่ม/ชุมชน/ชื่อผู้ประกอบการ : สวนอินทรีย์ แม่เซียม (สวนรอดสิน แฟมิลี่)

ที่อยู่:    บ้านเลขที่ 22/3หมู่ 2    ต.กกแรต อ.กงไกรลาศ   จ.สุโขทัย

เบอร์ติดต่อ: 0812836758

ผลิตภัณฑ์:  ไซรับมะขามผสมสมุนไพร

ปัญหาและความต้องการ :

1.ต้องการแปรรูปผลิตภัณฑจากมะขามเปรี้ยวยักษ์

การให้คำปรึกษา และข้อมูล :

          ผู้ประกอบการเป็นผู้ปลูกมะขามสายพันธ์เพชรบูรณ์ ซึ่งเดิมผู้ประกอบการได้ผลิตมะขามเปียก(มะขามดอง มะขามแช่อิ่ม) อยู่แล้ว จึงคิดอยากได้ผลิตภัณฑ์ที่ต่อยอดจากน้ำมะขามแช่อิ่ม ให้เกิดแปรรูปได้ผลิตภัณฑ์ใหม่ ผู้เชี่ยวชาญ ผศ.ดร.น้ำทิพย์ วงษ์ประทีป จึงได้ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับแปรรูปจากน้ำมะขามแช่อิ่ม เป็นไซรับมะขามผสมสมุนไพร ซึ่งไซรับมะขาม เป็นผลิตภัณฑ์เกิดจากกระบวนการผลิตภัณฑ์มะชามแช่อิ่ม มาผ่านกระบวนการแปรรูปด้วยการให้ความร้อนระดับพาสเจอไรส์ อีกทั้งผสมสมุนไพรพื้นบ้านดอกอัญชันปลูกโดยใช้เกษตรอินทรีย์ไม่ใส่สารเคมี ปลอดภัย ต่อผู้บริโภค มีสารต้านอนุมูลอิสระ ทำให้ได้ผลิตภัณฑ์สีม่วงครามที่มีสีสันสวยงาม รสชาติเปรี้ยวหวาน ลงตัว มีประโยชน์ และสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์ได้

สรุปผลการทำงาน: คณะทำงานส่งมอบให้ผู้เชี่ยวชาญ เข้ามาเป็นที่ปรึกษาให้กับผู้ประกอบการ และจัดหาแหล่งงบประมาณมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม , ทุนคูปองวิทย์เพื่อโอทอป หรือ แหล่งทุนต่างๆต่อไป

รายชื่อคณะทำงาน:

1. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.น้ำทิพย์  วงษ์ประทีป

2. นางสาวอิสราภรณ์ ใบวุฒิ



รายงานโดย นางสาวอิสราภรณ์ ใบวุฒิ วันที่รายงาน 27/03/2567 [16309]
4200 2
2 [16314]

กลุ่ม/ชุมชน/ชื่อผู้ประกอบการ : วิสาหกิจชุมชนพืชสมุนไพรวิถีสุโขทัย

ที่อยู่:    บ้านเลขที่ 6      หมู่ 11  ต.ปากน้ำ          อ.สวรรคโลก     จ.สุโขทัย

เบอร์ติดต่อ:  0931371579

ผลิตภัณฑ์:  เครื่องปรุงรสสมุนไพรมะแขว่น

ปัญหาและความต้องการ :

1.ต้องการแปรรูปผลิตภัณฑจากมะแขว่นเพื่อสามารถสร้างมูลค่าเพิ่ม

การให้คำปรึกษา และข้อมูล :

          เดิมผู้ประกอบการ เป็นผู้ปลูกต้นมะแขว่น และนำผลมะแขว่นนำมาทำพริกลาบมะแขว่นทำให้มีลูกค้าสนใจสั่งซื้อเป็นอย่างมาก ผู้ประกอบการจึงมีแนวคิดอยากสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ที่มีความหลากหลายและตรงต่อความต้องการของผู้บริโภค ซึงผลมะแขว่นเป็นที่นิยมสำหรับคนชอบกลิ่นเครื่องเทศ มีรสชาติเผ็ด กลิ่นหอม เหมาะสำหรับนำมาปรุงอาหารได้หลากหลาย ดังนั้นนักวิจัยจึงได้ให้คำปรึกษาการทำเครื่องปรุงรสมะแขว่น เป็นผลิตภัณฑ์ที่เกิดจากการภูมิปัญญาของท้องถิ่น ด้วยการนำมะแขว่นสดผ่านการสกัดเย็น และนำมาผสมกับสมุนไพรไทยที่เหมาะสม เพื่อเป็นผงปรุงรสสมุนไพรสำหรับโรยอาหารทุกประเภทที่ต้องการ ทำให้รสอาหารมีกลิ่นรสหอมเครื่องเทศไทยอย่างลงตัว

สรุปผลการทำงาน: คณะทำงานส่งมอบให้ผู้เชี่ยวชาญ เข้ามาเป็นที่ปรึกษาให้กับผู้ประกอบการ และจัดหาแหล่งงบประมาณมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม  ทุนคูปองวิทย์เพื่อโอทอป หรือ แหล่งทุนต่างๆต่อไป

รายชื่อคณะทำงาน:

1. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.น้ำทิพย์  วงษ์ประทีป

2. นางสาวอิสราภรณ์ ใบวุฒิ



รายงานโดย นางสาวอิสราภรณ์ ใบวุฒิ วันที่รายงาน 27/03/2567 [16314]
4500 2
2 [16315]

กลุ่ม/ชุมชน/ชื่อผู้ประกอบการ : เฉาก๊วยเจ้ฮวง (นายณัฐธกรณ์  เอี่ยมพร้อม คุณเอี๋ยว)

ที่อยู่:    บ้านเลขที่ 231/8  หมู่     ต.เมือง  อ.สวรรคโลก      จ.สุโขทัย

เบอร์ติดต่อ:   0645695298

ผลิตภัณฑ์:  น้ำเฉาก๊วยพร้อมดื่ม

ปัญหาและความต้องการ :

1.ต้องการแปรรูปผลิตภัณฑจากเฉาก๊วยพร้อมดื่ม เป็นน้ำเฉาก๊วยพร้อมดื่ม

การให้คำปรึกษา และข้อมูล :

          ปัจจุบันผู้ประกอบการมีสูตรในการทำ เฉาก๊วยพร้อมดื่มวางขายในเขตพื้นที่เมืองสุโขทัย บรรจุภัณฑ์เป็นถุง ความต้องการของผู้ประกอบการนั้นต้องการทำสูตรน้ำเฉาก๊วยพร้อมดื่ม ให้มีรสชาติกลมกล่อม โดยมีเนื้อเฉาก๊วยผสมในน้ำ นักวิจัยจึงได้ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการผลิตน้ำเฉาก๊วยพร้อมดื่ม ซึ่งทำได้โดยทำการนำผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการนำต้นเฉาก๊วยมาเคี่ยว เพื่อสกัดน้ำยางให้ได้ความเข้มข้นที่พอเหมาะ จากนั้นจึงนำมาขึ้นรูปและตัดให้เป็นชิ้นให้มีขนาดพอเหมาะสำหรับการใช้หลอดดูด ส่วนของน้ำเฉาก๊วยจะได้จากการนำสมุนไพรไทยลงไปผสมกับต้นเฉาก๊วย และให้ความร้อนระดับพาสเจอร์ไรส์ เพื่อให้ผลิตภัณฑ์มีความปลอดภัย และสามารถเก็บรักษาได้ไม่น้อยกว่า 7 วันภายใต้อุณหภูมิ 5 องศาเซลเซียส

สรุปผลการทำงาน: คณะทำงานส่งมอบให้ผู้เชียวชาญ เข้ามาเป็นที่ปรึกษาให้กับผู้ประกอบการ และจัดหาแหล่งงบประมาณมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม , ทุนคูปองวิทย์เพื่อโอทอป หรือ แหล่งทุนต่างๆต่อไป

รายชื่อคณะทำงาน:

1. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.น้ำทิพย์  วงษ์ประทีป

2. นางสาวอิสราภรณ์ ใบวุฒิ



รายงานโดย นางสาวอิสราภรณ์ ใบวุฒิ วันที่รายงาน 27/03/2567 [16315]
4700 2
2 [16317]

กลุ่ม/ชุมชน/ชื่อผู้ประกอบการ : น้ำจิ้มสมุนไพรสุโขทัย (นางสาวเสาวนีย์  ทัดไทย)

ที่อยู่:    บ้านเลขที่ 59/1หมู่    3    ต.เมืองเก่า    อ.เมือง    จ.สุโขทัย

เบอร์ติดต่อ:  0864963914

ผลิตภัณฑ์:  น้ำจิ้มสมุนไพร

ปัญหาและความต้องการ :

1.ต้องการแปรรูปผลิตภัณฑจากน้ำจิ้มลูกชิ้นเพื่อสามารถเพิ่มมูลค่าเพิ่ม

การให้คำปรึกษา และข้อมูล :

          ผู้ประกอบการ เข้ามาปรึกษาด้านปรับสูตรน้ำจิ้มให้มีสมุนไพรที่หลากหลาย และกระบวนการวิธีการยืดอายุในการเก็บรับษาของผลิตภัณฑ์น้ำจิ้มสมุนไพร โดยผู้เชี่ยวชาญได้แนะนำกระบวนการบรรจุแบบ Hot fill เพื่อยืดอายุการเก็บรักษาของผลิตภัณฑ์ โดยผลิตภัณฑ์น้ำจิ้มสมุนไพร ยังคงมีกลิ่นรส และความหอมถึงเครื่องสมุนไพร เพื่อให้ผลิตภัณฑ์มีระยะเวลาในการเกษตรรักษาที่มากขึ้น สะอาด และ ปลอดภัยต่อผู้บริโภค และแนวทางการพัฒนาเลือกบรรจุภัณฑ์ให้เหมาะสมต่อผลิตภัณฑ์น้ำจิ้มสมุนไพร

สรุปผลการทำงาน: คณะทำงานส่งมอบให้ผู้เชียวชาญ เข้ามาเป็นที่ปรึกษาให้กับผู้ประกอบการ และจัดหาแหล่งงบประมาณมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม , ทุนคูปองวิทย์เพื่อโอทอป หรือ แหล่งทุนต่างๆต่อไป

รายชื่อคณะทำงาน:

1. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.น้ำทิพย์  วงษ์ประทีป

2. นางสาวอิสราภรณ์ ใบวุฒิ



รายงานโดย นางสาวอิสราภรณ์ ใบวุฒิ วันที่รายงาน 27/03/2567 [16317]
3900 1
2 [16316]

กลุ่ม/ชุมชน/ชื่อผู้ประกอบการ : วิสาหกิจชุมชนไร่ฟุ้งเฟื่องเมืองบางขลัง(นายประพันธ์  ฟุ้งเฟื่อง)

ที่อยู่:   บ้านเลขที่123/5             หมู่   5         ต.เมืองบางขลัง   อ.สวรรคโลก        จ.สุโขทัย

เบอร์ติดต่อ:  0953180555

ผลิตภัณฑ์ผลไม้แผ่นงาดำ

ปัญหาและความต้องการ :

1.ต้องการแปรรูปผลิตภัณฑจากกล้วยเพื่อสามารถเพิ่มมูลค่าเพิ่มได้

การให้คำปรึกษา และข้อมูล :

          ผู้ประกอบการปลูกพืชผักสวนครัว โดยเลือกกล้วยเป็นโจทย์ที่ต้องการพัฒนาต่อยอดแปรรูปผลผลิตจากชุมชน เนื่องจากกล้วยเป็นผลไม้ที่หาได้ง่าย มีประโยชน์ มีมูลค่าไม่เพิ่ม หาซื้อได้ตามท้องตลาดหรือเรียกได้ว่าทุกบ้านต้องมีต้นกล้วย สายพันธุ์ที่ผู้ประกอบการเลือกมาพัฒนานั้น คือ กล้วยน้ำว้า ผู้เชี่ยวชาญได้ให้คำปรึกษาถึงแนวทางการพัฒนากล้วย จึงเกิดผลไม้แผ่นงาดำ โดยการนำงาดำซึ่งมีประโยชน์ทางโภชนาการมาสร้างมูลค่าให้กับขนมดังกล่าว ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้เทคโนโลยีการลดขนาดให้เป็นผลไม้มีขนาดเล็ก ทำให้เนื้อผลไม้มีการเกาะตัวกันจนสามารถนำไปขึ้นรูปเป็นแผ่น รวมทั้งยังสามารถร่วมตัวกับส่วนผสมสมุนไพรอื่นๆ เช่น งาดำคั่ว หรือ จะทำพืชตะกูลถั่วมาดัดแปลงในการทำผลิตภัณฑ์ได้หลากหลาย

สรุปผลการทำงาน: คณะทำงานส่งมอบให้ผู้เชียวชาญ เข้ามาเป็นที่ปรึกษาให้กับผู้ประกอบการ และจัดหาแหล่งงบประมาณมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม , ทุนคูปองวิทย์เพื่อโอทอป หรือ แหล่งทุนต่างๆต่อไป

รายชื่อคณะทำงาน:

1. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.น้ำทิพย์  วงษ์ประทีป

2. นางสาวอิสราภรณ์ ใบวุฒิ



รายงานโดย นางสาวอิสราภรณ์ ใบวุฒิ วันที่รายงาน 27/03/2567 [16316]
4600 4
2 [16239]

กลุ่ม/ชุมชน/ชื่อผู้ประกอบการ :วิสาหกิจเกษตรอินทรีย์ "คนรักษ์ดิน"

ที่อยู่:   195 ถ้ำพริก หมู่ที่ 3 บ้านแยง นครไทย พิษณุโลก

เบอร์ติดต่อ: . 064-780-4568

ผลิตภัณฑ์ปุ๋ยอินทรีย์อัดเม็ดสำหรับไม้ผลและยางพารา

 

ปัญหาและความต้องการ :

1. ต้องการออกแบบบรรจุภัณฑ์และฉลากผลิตภัณฑ์ปุ๋ยอินทรีย์อัดเม็ดให้สวยงาม โดดเด่น ดึงดูดลูกค้า สามารถใช้งานได้สะดวกและเก็บรักษาผลิตภัณฑ์ได้อย่างเหมาะสม

2. ต้องการพัฒนาผลิตภัณฑ์ปุ๋ยอินทรีย์อัดเม็ดให้ได้รับการขึ้นทะเบียนปุ๋ยอินทรีย์จากกรมวิชาการเกษตร

 

การให้คำปรึกษา และข้อมูล :

1. ทำการพัฒนาและออกแบบบรรจุภัณฑ์ โดยออกแบบบรรจุภัณฑ์ให้ใช้งานตอบโจทย์กับกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย ทั้งกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกไม้ผลและยางพารา ซึ่งมีการใช้ปุ๋ยต่อครั้งในปริมาณมาก จึงเลือกใช้บรรจุภัณฑ์ขนาดบรรจุ 25 กิโลกรัม แบบบิดข้างกระสอบเพื่อการใช้งานที่สะดวก ง่ายต่อการมองเห็นสูตรของปุ๋ย โดยเลือกใช้กระสอบพลาสติกสาน โพลีพรอพีลีน (PP) ที่มีโครงสร้างกระสอบเหมาะสำหรับผลิตภัณฑ์ปุ๋ยโดยเฉพาะ มีความแข็งแรง ทนทาน สามารถรองรับน้ำหนักได้เป็นอย่างดี และเคลือบกระสอบด้วยลามิเนตอีกชั้นหนึ่ง เพื่อเพิ่มคุณสมบัติป้องกันการซึมผ่านของอากาศและความชื้น เป็นการคงประสิทธิภาพของปุ๋ยอินทรีย์อัดเม็ดสำหรับไม้ผลและยางพารา และในปุ๋ยอินทรีย์อัดเม็ดจะมีกลุ่มจุลินทรีย์ Bacillus sp. เป็นองค์ประกอบภายในปุ๋ย เนื่องจากเป็นแบคทีเรียที่ทนต่อสภาพอากาศที่ไม่เหมาะสมได้ดี และสามารถสร้างสปอร์ในสภาวะที่ไม่เหมาะสมได้ และเมื่อเข้าสู่สภาวะที่เหมาะสมแบคทีเรียดังกล่าวก็มีการเจริญเติบโตได้ตามปกติ นอกจากนั้น ยังมีการออกแบบตราสินค้าให้มีความเป็นเอกลักษณ์ และออกแบบฉลากบรรจุภัณฑ์ให้เป็นไปตามข้อกำหนดของกรมวิชาการเกษตร และเพิ่มความสวยงาม โดดเด่นให้แก่ฉลากผลิตภัณฑ์โดยการทอสีสลับบนกระสอบปุ๋ยอินทรีย์อัดเม็ดสำหรับไม้ผลและยางพารา

2. ให้ความรู้และคำปรึกษาในการปรับปรุงและขยายพื้นที่การผลิต สถานที่เก็บรักษาผลิตภัณฑ์ และเครื่องมือในการผลิต อีกทั้งการให้ความรู้และคำปรึกษา การจัดเตรียมเอกสาร เกี่ยวกับการขึ้นทะเบียนปุ๋ย กับกรมวิชาการเกษตร โดยขั้นตอนที่สำคัญที่จะต้องดำเนินการก่อนการขอขึ้นทะเบียนปุ๋ยอินทรีย์ คือ การขอเครื่องหมายการค้าใหม่ กับกรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ โดยทีมที่ปรึกษาร่วมดำเนินงานกับงานบริหารและการจัดการทรัพย์สินทางปัญญา สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม และผลักดัน ส่งเสริมให้ผู้ประกอบการมีการยื่นขอขึ้นทะเบียนปุ๋ยอินทรีย์ กับกรมวิชาการเกษตร

สรุปผลการทำงาน: คณะทำงานคลินิกเทคโนโลยีจะได้ประสานนักวิจัยเชื่อมโยงกับผู้ประกอบการเพื่อแก้ไขปัญหาเชิงลึก ผ่านโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์สินค้าชุมชน (ตามแนวทางคูปองวิทย์เพื่อโอทอป) 



รายงานโดย นางสาวอิสราภรณ์ ใบวุฒิ วันที่รายงาน 22/03/2567 [16239]
2500 1
2 [16247]

ผู้ประกอบการ/ชื่อกลุ่ม: OTOP แม่ลำเจียก  คุณกรุณา มีสมบูรณ์

ที่อยู่:    72 หมู่ที่ 2 ตำบลหนองจิก อำเภอคีรีมาศ จังหวัดสุโขทัย

เบอร์ติดต่อ: 062-329-6564

ผลิตภัณฑ์เผือกทอดกรอบ

ปัญหาและความต้องการ :

          เนื่องจากผลิตภัณฑ์ของผู้1. พัฒนาและออกแบบเครื่องจักร ผู้ประกอบการมีความต้องการเครื่องจักรหรืออุปกรณ์ที่ช่วยในการปลอกเปลือกเผือกหรือมัน เพื่อลดระยะเวลาทำงาน ลดแรงงาน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต

          2. พัฒนานวัตกรรมผลิตภัณฑ์ ผู้ประกอบการมีความต้องการพัฒนาสูตรเผือกทอดกรอบ ในรสชาติใหม่ๆ เช่น รสบาร์บีคิว ปาปริก้า ให้มีความเข้มข้น และกรอบเสมอ

การให้คำปรึกษาและข้อมูล :ที่ปรึกษาให้คำปรึกษาการออกแบบและสร้างเครื่องปลอกเปลือกเผือกหรือมัน เพื่อลดระยะเวลาทำงาน ลดแรงงาน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต และพัฒนาผลิตภัณฑ์เผือกทอดกรอบรสชาติใหม่ที่ผู้ประกอบการต้องการ คือ รสบาร์บีคิว ในลักษณะการเคลือบ ให้มีรสชาติเข้มข้นและคงความกรอบเสมอ และมีอายุการเก็บรักษาอย่างน้อย 3 เดือน



รายงานโดย นางสาวอิสราภรณ์ ใบวุฒิ วันที่รายงาน 22/03/2567 [16247]
4100 1
2 [16236]

กลุ่ม/ชุมชน/ชื่อผู้ประกอบการ : วิสาหกิจชุมชนสารปรับปรุงบำรุงดินนายไผ่ล้อม

ที่อยู่: เลขที่ 9 หมู่ที่ 10 บึงช้าง ต.ไผ่ล้อม อ.บางกระทุ่ม จ.พิษณุโลก 65110

เบอร์ติดต่อ:  080-3265494.

ผลิตภัณฑ์:   สารปรับปรุงดินชีวภาพนายไผ่ล้อม.

ปัญหาและความต้องการ :

1. ต้องการพัฒนาสารปรับปรุงดินให้มีประสิทธิภาพย่อยสลายอินทรีย์วัตถุในดินและมีปริมาณธาตุอาหารพืชที่สูงขึ้น

2. ต้องการออกแบบบรรจุภัณฑ์ให้สวยงาม เป็นเอกลักษณ์ แข็งแรง เหมาะแก่การขนส่งทางไกล และเก็บรักษาผลิตภัณฑ์ได้เหมาะสม

 

การให้คำปรึกษา และข้อมูล :

1. พัฒนากระบวนการผลิตสารปรับปรุงดินให้มีประสิทธิภาพในการย่อยสลายอินทรีย์วัตถุในดินให้อยู่ในรูปที่พืชนำไปใช้ได้ทันทีโดยการเพิ่มจุลินทรีย์ที่ช่วยย่อยสลาย และเพิ่มปริมาณธาตุอาหารพืชโดยการเติมวัตถุดิบที่มีปริมาณธาตุอาหารที่เหมาะสมแก่การเจริญเติบโตของพืช

2. พัฒนาและออกแบบบรรจุภัณฑ์สำหรับผลิตภัณฑ์สารปรับปรุงดินชีวภาพนายไผ่ล้อม ให้มีความสวยงาม เป็นเอกลักษณ์  แข็งแรง เหมาะแก่การขนส่งทางไกล และเก็บรักษาผลิตภัณฑ์ได้อย่างเหมาะสม ป้องกันการซึมผ่านของความชื้นและอากาศได้ดี  โดยการใช้กระสอบพลาสติก PP ที่มีโครงสร้างกระสอบเหมาะสำหรับผลิตภัณฑ์ปุ๋ยและสารปรับปรุงดินโดยเฉพาะ และทำการทดสอบอายุการเก็บรักษาและประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์ในบรรจุภัณฑ์ที่ได้รับการพัฒนา

 

สรุปผลการทำงาน: คณะทำงานคลินิกเทคโนโลยีจะได้ประสานนักวิจัยเชื่อมโยงกับผู้ประกอบการเพื่อแก้ไขปัญหาเชิงลึก ผ่านโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์สินค้าชุมชน (ตามแนวทางคูปองวิทย์เพื่อโอทอป) ประจำปีงบประมาณ 2567 ต่อไป เนื่องจากเป็นสินค้า OTOP 



รายงานโดย นางสาวอิสราภรณ์ ใบวุฒิ วันที่รายงาน 22/03/2567 [16236]
5000 1
2 [16237]

กลุ่ม/ชุมชน/ชื่อผู้ประกอบการ :วิสาหกิจชุมชนบ้านแจ่มจ้า เมืองบางขลัง

ที่อยู่:   . 182 หมู่ที่ 1 ต.เมืองบางขลัง  อ.สวรรคโลก  จ.สุโขทัย

เบอร์ติดต่อ: 081-3557327

ผลิตภัณฑ์กระถางต้นไม้

ปัญหาและความต้องการ :

1. ต้องการผลิตกระถางต้นไม้ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ลดเวลาการผลิตต่อกระถางให้น้อยลง ผลิตครั้งละมากๆ และมีน้ำหนักเบา

2. ต้องการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่เป็นภาชนะใส่อาหาร และวัสดุกันกระแทก ที่ผลิตจากส่วนประกอบของต้นกล้วย

3. ต้องการออกแบบบรรจุภัณฑ์และฉลากกระถางต้นไม้ ให้มีความสวยงาม เป็นเอกลักษณ์ เก็บรักษากระถางต้นไม้ได้อย่างเหมาะสม

4. ต้องการเตรียมความพร้อมเพื่อขอมาตรฐาน มผช. ผลิตภัณฑ์ภาชนะจากพืช

 

การให้คำปรึกษา และข้อมูล :

1. พัฒนากระบวนการผลิตกระถางต้นไม้โดยเลือกใช้วัตถุดิบหลักเป็นเส้นใยกล้วยที่เป็นเศษเหลือทิ้งจากการผลิตกระเป๋าเชือกกล้วยร่วมกับมูลจิ้งหรีดเพื่อเพิ่มธาตุอาหารพืช ลดเวลาการผลิตกระถางและทำให้กระถางมีน้ำหนักเบาโดยใช้วิธีการขึ้นรูปกระถางแบบใช้ความร้อนร่วมกับใช้ตัวประสานจากธรรมชาติที่มีคุณสมบัติยึดเกาะสูง

2. พัฒนาผลิตภัณฑ์ภาชนะใส่อาหารจากต้นกล้วยประเภทชามก้นตื้นที่สามารถใช้งานในการใส่อาหารทั้งแบบแห้งและแบบน้ำ ที่ผ่านกระบวนการอัดขึ้นรูปโดยใช้ความร้อน และใช้ตัวประสานจากธรรมชาติ เพื่อช่วยในการยึดติด เพิ่มความแข็งแรงให้แก่ภาชนะ

3. พัฒนาและออกแบบบรรจุภัณฑ์สำหรับกระถางต้นไม้จากใยกล้วยและภาชนะจานกาบกล้วยให้มีความสวยงาม โดดเด่น เป็นเอกลักษณ์ สามารถเก็บรักษาผลิตภัณฑ์ได้อย่างเหมาะสม ใช้งานได้สะดวก โดยหุ้มห่อหรือบรรจุกระถางต้นไม้และภาชนะชามก้นตื้นจากต้นกล้วยในบรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสม สะอาด แห้ง เรียบร้อย และสามารถป้องกัน ความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นกับภาชนะจากพืชได้ โดยฉลากและบรรจุภัณฑ์ของผลิตภัณฑ์ภาชนะจากต้นกล้วยให้เป็นไปตามมาตรฐานมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.)

4. พัฒนาและปรับปรุงสุขลักษณะในการทำภาชนะจากต้นกล้วย ให้เป็นไปตามมาตรฐานและผลักดันให้มีการยื่นขอมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.)

 

สรุปผลการทำงาน: คณะทำงานคลินิกเทคโนโลยีจะได้ประสานนักวิจัยเชื่อมโยงกับผู้ประกอบการเพื่อแก้ไขปัญหาเชิงลึก ผ่านโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์สินค้าชุมชน (ตามแนวทางคูปองวิทย์เพื่อโอทอป) ประจำปีงบประมาณ 2567ต่อไป เนื่องจากเป็นสินค้า OTOP



รายงานโดย นางสาวอิสราภรณ์ ใบวุฒิ วันที่รายงาน 22/03/2567 [16237]
7200 10
2 [16238]

กลุ่ม/ชุมชน/ชื่อผู้ประกอบการ : วิสาหกิจชุมชนกลุ่มแปรรูปอาหารสมุนไพรบำรุงกำลัง

ที่อยู่:   เลขที่ 97/1 หมู่ที่ 6 ท่าดินแดง ต.ท่าตาล อ.บางกระทุ่ม จ.พิษณุโลก 65110

เบอร์ติดต่อ: 085-540-6752

ผลิตภัณฑ์ปุ๋ยอินทรีย์อัดเม็ดสำหรับการผลิตข้าว

ปัญหาและความต้องการ :

1. ต้องการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่เป็นปุ๋ยอินทรีย์อัดเม็ดสำหรับการผลิตข้าว

2. ต้องการออกแบบบรรจุภัณฑ์ปุ๋ยอินทรีย์อัดเม็ดสำหรับการผลิตข้าว ให้มีความสวยงาม เป็นเอกลักษณ์ สามารถใช้งานได้สะดวกและเก็บรักษาผลิตภัณฑ์ได้อย่างเหมาะสม

3. ต้องการพัฒนาสูตรปุ๋ยอินทรีย์อัดเม็ดสำหรับการผลิตข้าว ที่มีปริมาณธาตุอาหารพืชให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานปุ๋ยอินทรีย์ ตามประกาศของกรมวิชาการเกษตร

 

การให้คำปรึกษา และข้อมูล :

1. พัฒนาสูตรปุ๋ยอินทรีย์อัดเม็ดให้มีความเหมาะสมต่อการผลิตข้าว โดยการเพิ่มแหล่งไนโตรเจน และฟอสฟอรัส และเพิ่มจุลินทรีย์ที่สามารถเปลี่ยนรูปฟอสฟอรัสและไนโตรเจนในปุ๋ยและในดินให้อยู่ในรูปที่พืชสามารถนำไปใช้ได้ง่าย นอกจากนั้นยังออกแบบกระบวนการผลิตปุ๋ยอินทรีย์อัดเม็ดให้มีระยะเวลาการหมักที่สั้นลง โดยการใช้กลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพในการย่อยสลายอินทรียวัตถุ เพื่อให้สามารถเพิ่มกำลังการผลิตให้เพิ่มขึ้น

2. ออกแบบบรรจุภัณฑ์ให้สามารถใช้งานได้สะดวกและเก็บรักษาผลิตภัณฑ์ได้อย่างเหมาะสม โดยการใช้กระสอบพลาสติก PPทอสี ที่มีโครงสร้างกระสอบเหมาะสำหรับบรรจุภัณฑ์ปุ๋ยโดยเฉพาะ เคลือบกระสอบเพื่อเพิ่มคุณสมบัติในการป้องกันความชื้น และเพิ่มความสวยงามให้กับผลิตภัณฑ์ให้เป็นที่สะดุดตาเมื่อพบเห็น

3. นำผลิตภัณฑ์ปุ๋ยอินทรีย์อัดเม็ดสำหรับการผลิตข้าว ส่ง​เคราะห์​ปริมาณ​ธาตุ​อาหาร​พืช​เพื่อ​ให้​เป็น​ไป​ตามเกณฑ์มาตรฐาน​ปุ๋ย​อิน​ทรีย์ ตาม​ประกาศ​ของ​กรม​วิชาการเกษตร

สรุปผลการทำงาน: คณะทำงานคลินิกเทคโนโลยีจะได้ประสานนักวิจัยเชื่อมโยงกับผู้ประกอบการเพื่อแก้ไขปัญหาเชิงลึก ผ่านโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์สินค้าชุมชน (ตามแนวทางคูปองวิทย์เพื่อโอทอป) 



รายงานโดย นางสาวอิสราภรณ์ ใบวุฒิ วันที่รายงาน 22/03/2567 [16238]
3200 1
2 [16243]

กลุ่ม/ชุมชน/ชื่อผู้ประกอบการ    : ถั่วทอดแม่บุญมา / นางสาวบุญมา คงยอด

ที่อยู่                                    : 41 หมู่ที่ 8 ตำบลคลองตาล อำเภอศรีสำโรง จังหวัดสุโขทัย

เบอร์ติดต่อ                           : 055-681594, 0816802521

ผลิตภัณฑ์                             :ถั่วทอดแม่บุญมา

ปัญหาและความต้องการ           :

1.       ตองการพัฒนากระบวนการผลิตเพื่อให้ถั่วทอดมีคุณภาพและมีอายุการเก็บรักษาที่นานขึ้น

2.       ตองการบรรจุภัณฑ์ที่สามารถยืดอายุการเก็บรักษาของถั่วทอดนานขึ้น และยังคงเอกลักษณของถั่วทอดแม่บุญมาไว้

3.       ต้องการต่อยอดผลิตภัณฑ์ใหม่เป็นขนมขบเคี้ยวจากถั่วทอดในรูปแบบสแนคที่อร่อย ทานงาย เพื่อขยายตลาดใหม่

4.       ต้องการขอรับรองมาตรฐาน อย. ของผลิตภัณฑ์ใหม่ คือ ขนมขบเคี้ยวจากถั่วทอด

การให้คำปรึกษา และข้อมูล :

1.       ออกแบบและพัฒนากระบวนการผลิตถั่วทอด โดยกระบวนการผลิตเริ่มจากเตรียมวัตถุดิบ ได้แก่ น้ำแป้งสาลี กะทิ น้ำเปล่า เกลือ น้ำตาล ผสมให้เข้ากัน เติมสารไฮโดรคอลลอยด์และสารต้านออกซิเดชั่นลงไปในสูตรเพื่อลดการอมน้ำมัน โดยใช้ในปริมาณร้อยละ 0.5-3%จากนั้นจึงเติมถั่วลิสงและกลอยลงไป คนผสมให้เข้ากัน แล้วจึงเทใส่แม่พิมพ์ ทอดด้วยน้ำมันจำนวน 2รอบ โดยน้ำมันจะต้องไม่ทอดซ้ำเกิน 3ครั้ง เพื่อการปฏิกิริยาออกซิเดชั่นที่ส่งผลต่อความเหม็นหืนของผลิตภัณฑ์ นำถั่วทอดที่ได้พักไว้ 1คืนเพื่อให้คงตัวและคายน้ำมันออก จากนั้น ให้นำถั่วทอดไปอบไล่น้ำมันด้วยตู้อบลมร้อนที่อุณหภูมิ 60องศาเซลเซียส เป็นเวลา 60นาทีเพื่อไล่น้ำมัน ความชื้น และทำให้ผลิตภัณฑ์มีความกรอบมากยิ่งขึ้น เมื่อครบเวลานำถั่วทอดที่ได้มาซับน้ำมัน พักไว้ให้เย็นตัวลง แล้วจึงบรรจุลงถุงทันที เพื่อป้องกันการสัมผัสกับอากาศอันจะทำให้เกิดการเหม็นหืนได้เร็วขึ้น  แล้วจึงวิเคราะห์คุณภาพของผลิตภัณฑ์ด้านความชื้น ปริมาณน้ำอิสระ ปริมาณไขมัน อายุการเก็บรักษาเปรียบเทียบระหว่างกระบวนการผลิตเดิมและใหม่ และทำการทดสอบทางประสาทสัมผัสของผู้บริโภค

2.       พัฒนาบรรจุภัณฑ์สำหรับผลิตภัณฑ์ถั่วทอดแม่บุญมา โดยบรรจุถั่วทอดที่ได้ลงในถุงพลาสติกที่ห่อด้วยกระดาษจำนวน 2 ชั้น โดยในการบรรจุจะยังคงถุงชั้นนอกในรูปแบบเดิม เพื่อคงเอกลักษณ์ของถั่วทอดแม่บุญมาไว้ ส่วนบรรจุภัณฑ์ชั้นในให้จะมีการใส่ซองซิลิกาเจลลงไปเพื่อช่วยลดความเหม็นหืนและความชื้นซึ่งส่งผลต่ออายุการเก็บรักษา ทำการออกแบบฉลากโดยปรับรูปแบบให้ดูทันสมัยขึ้นเพื่อสื่อให้เห็นถึงความเป็นสูตรใหม่ที่เก็บรักษาได้นานขึ้น แต่ยังคงสีและเอกลักษณ์ของถั่วทอดแม่บุญมาไว้ จากนั้น นำบรรจุภัณฑ์ไปทดสอบอายุการเก็บรักษาและทดสอบความชอบและการยอมรับของผู้บริโภค

3.       พัฒนาผลิตภัณฑ์ขนมขบเคี้ยวจากถั่วทอดเพื่อสุขภาพปราศจากกลูเตน มีกลุ่มเป้าหมาย คือ กลุ่มรักสุขภาพ วัยรุ่น และผู้ที่แพ้กลูเตน ใช้ส่วนผสมหลัก คือ ถั่วลิสงบด น้ำกะทิ กลอย เกลือ น้ำตาล ใช้น้ำแป้งข้าวหอมมะลิและแป้งข้าวจ้าวเพื่อทดแทนแป้งสาลี (ไม่มีกลูเตนและช่วยลดการอมน้ำมัน) และเติมสารกลุ่มไฮโดรคอลลอยด์ เพื่อลดการอมน้ำมันในผลิตภัณฑ์ จากนั้นผสมส่วนผสมให้เข้ากัน ขึ้นรูปโดยใช้แม่พิมพ์ขนาด 4x4 cm. ทอดด้วยน้ำมันรำข้าวจนกรอบ อบลมร้อนเพื่อไล่น้ำมัน ผึ่งให้เย็นแล้วบรรจุซองอลูมิเนียมฟอยล์อัดก๊าซไนโตรเจน (มีเครื่องบรรจุแล้ว) แล้วจึงวิเคราะห์คุณภาพทางเคมี กายภาพ จุลินทรีย์ คุณค่าทางโภชนาการ อายุการเก็บรักษา ความชอบและการยอมรับของผู้บริโภค

4.       ขอรับรอง อย. ของผลิตภัณฑ์ขนมขบเคี้ยวจากถั่วทอดเพื่อสุขภาพปราศจากกลูเตน

 

สรุปผลการทำงาน: คณะทำงานคลินิกเทคโนโลยีจะได้ประสานนักวิจัยเชื่อมโยงกับผู้ประกอบการเพื่อแก้ไขปัญหาเชิงลึก ผ่านโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์สินค้าชุมชน (ตามแนวทางคูปองวิทย์เพื่อโอทอป) 



รายงานโดย นางสาวอิสราภรณ์ ใบวุฒิ วันที่รายงาน 22/03/2567 [16243]
6700 4
2 [16244]

กลุ่ม/ชุมชน/ชื่อผู้ประกอบการ : นางสุนีย์  ฟื้นตน

ที่อยู่:   89 หมู่ที่ 5 ทุ่งหลวง คีรีมาศ สุโขทัย

เบอร์ติดต่อ:  085-050-7657

ผลิตภัณฑ์ซอสผัดไทยอเนกประสงค์

 

ปัญหาและความต้องการ :

1. ต้องการเตรียมความพร้อมเพื่อยื่นขอมาตรฐานการผลิตอาหารที่ดีของสถานที่ผลิตซอสผัดไทยเอนกประสงค์

2. ต้องการพัฒนาเครื่องพาสเจอร์ไรซ์ที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและเพิ่มคุณภาพการผลิตซอสผัดไทยเอนกประสงค์

 

การให้คำปรึกษา และข้อมูล :

1. ใน​ปีงบ​ประ​มา​ณ 2566ได้​มี​การพัฒนาระบบมาตรฐานโดยทีมที่ปรึกษาได้จัดอบรมถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับการพัฒนากระบวนการผลิต การปรับปรุงสถานที่ผลิต และการออกแบบผังการผลิต ที่เหมาะสมตามมาตรฐานการผลิตอาหารที่ดี (GMP) ทำให้มีผังกระบวนการผลิต จำนวน 1สถานที่ และผู้ประกอบการได้มีการปรับปรุงสถานที่ผลิตในเบื้องต้น เพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่ระบบมาตรฐาน ดังนั้น ในปีงบประมาณ 2567จึงควรพัฒนาและยกระดับมาตรฐานให้ได้รับการรับรองสถานที่ผลิตอาหารเพื่อเตรียมความพร้อมและผลักดันให้ขอเลขสารบบอาหาร (อย.) โดยการให้คำปรึกษา ถึงขั้นตอนวิธีการ และการจัดเตรียมเอกสารในการยื่นขอรับรองสถานที่ผลิตอาหาร และขอเลขสารบบอาหาร (อย.) นอกจากนั้นยังต้องมีการปรับผังกระบวนการผลิตใหม่ เนื่องจากมีการเพิ่มเครื่องพาสเจอร์ไรซ์สำหรับผลิตภัณฑ์ซอสผัดไทยอเนกประสงค์ ในกระบวนการผลิต

2. พัฒนาเครื่องพาสเจอร์ไรซ์ในการผลิตระดับครัวเรือน ตามหลักสาธารณสุข จำนวน 1 เครื่อง เพื่อเพิ่มกำลังการผลิตและประสิทธิภาพในการผลิตซอสผัดไทยเอนกประสงค์ โดยเป็นเครื่องพาสเจอร์ไรซ์ 2 ถัง ขนาด 40x40 เซนติเมตร ปริมาตร 50 ลิตร โครงสร้างเครื่องทำจากสแตนเลส Food grade ทั้งชุด ถังด้านบนเป็นถังพักผลิตภัณฑ์ที่ผ่านกระบวนการต้มผสมวัตถุดิบที่ถูกควบคุมอุณหภูมิของน้ำซอสก่อนพาสเจอร์ไรซ์ ให้ไม่ต่ำกว่า 70 องศาเซลเซียส จากนั้นน้ำซอสจะถูกปล่อยผ่านท่อขดขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 33.4 มิลลิเมตร ในถังด้านล่างที่ใช้น๊อกเย็นด้วยน้ำแข็ง ซึ่งจะทำให้อุณหภูมิของน้ำซอสลดต่ำลงที่อุณหภูมิต่ำกว่า 10 องศาเซลเซียส อย่างรวดเร็ว ตัวเครื่องมีเทอร์โมมิเตอร์วัดอุณหภูมิทั้งร้อนและเย็นที่ถังพาสเจอร์ไรซ์ถังบนและถังล่าง มีกำลังการผลิต 10-40 ลิตร/ชั่วโมง มีท่อทางออกผลิตภัณฑ์เพื่อบรรจุ และมีทางออกเพื่อระบายน้ำแข็งละลาย โดยในการพัฒนาเครื่องพาสเจอร์ไรซ์สำหรับซอสผัดไทยอเนกประสงค์มีการพัฒนาท่อขดให้มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางที่มากกว่าเครื่องพาสเจอร์ไรซ์ที่มีขายโดยทั่วไป เนื่องจากต้องออกแบบให้รองรับความหนืดของน้ำซอส ทำให้เกิดการไหลผ่านท่อได้อย่างสะดวก นอกจากนั้นยังออกแบบขดท่อถ่ายเทความร้อนให้เป็นแบบถอดประกอบได้ เพื่อให้สามารถถอดทำความสะอาดได้ทุกครั้งหลังการผลิต

 

สรุปผลการทำงาน: คณะทำงานคลินิกเทคโนโลยีจะได้ประสานนักวิจัยเชื่อมโยงกับผู้ประกอบการเพื่อแก้ไขปัญหาเชิงลึก ผ่านโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์สินค้าชุมชน (ตามแนวทางคูปองวิทย์เพื่อโอทอป) 



รายงานโดย นางสาวอิสราภรณ์ ใบวุฒิ วันที่รายงาน 22/03/2567 [16244]
4600 2
2 [16248]

ผู้ประกอบการ/ชื่อกลุ่ม: อภิมาฟู๊ด คุณคิรายุ อภิมา

ที่อยู่:    73/4 หมู่ที่ 7 ตำบลบ้านน้ำพุ อำเภอคีรีมาศ จังหวัดสุโขทัย

เบอร์ติดต่อ: 084-621-9590

ผลิตภัณฑ์ข้าวเกรียบธัญพืชดิบ

ปัญหาและความต้องการ :  โครงการต่อเนื่อง

          1. พัฒนาและออกแบบบรรจุภัณฑ์ ผู้ประกอบการมีความต้องการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ของข้าวเกรียบ เพื่อยืดอายุการเก็บรักษา และมีรูปลักษณ์ที่โดดเด่น ทันสมัยต่อปัจจุบัน

          2. พัฒนานวัตกรรมผลิตภัณฑ์ ผู้ประกอบการมีความต้องการผลิตภัณฑ์ข้าวเกรียบปลาสมุนไพร รสชาติเข้มข้น กลมกล่อม

การให้คำปรึกษาและข้อมูล :ที่ปรึกษาให้คำปรึกษาการออกแบบพัฒนาบรรจุภัณฑ์ที่สามารถยืดอายุการเก็บรักษาได้นานขึ้น ป้องกันแสงแดด และแมลง รูปลักษณ์ทันสมัย และโดดเด่น นอกจากนี้การให้คำปรึกษาการพัฒนาผลิตภัณฑ์ข้าวเกรียบปลาสมุนไพร ให้มีรสชาติกลมกล่อม และเข้มข้น วัตถุดิบปลาและสมุนไพรที่หาซื้อได้จ่ายจากตลาดในท้องถิ่น และมีอายุการเก็บรักษาอย่างน้อย 3 เดือน



รายงานโดย นางสาวอิสราภรณ์ ใบวุฒิ วันที่รายงาน 22/03/2567 [16248]
4300 2
2 [16246]

กลุ่ม/ชุมชน/ชื่อผู้ประกอบการ : บริษัทฟลอร่าแคร์ จำกัด/คุณธีรวุฒิ ป้อมเขต

ที่อยู่:   59/36 หมู่ที่ 11 ตำบล ย่านยาว อำเภอสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย

เบอร์ติดต่อ: 0834833722

ผลิตภัณฑ์:       1. เซรั่มบำรุงผิวหน้าผสมสารสกัดผักบุ้งทะเลและใบไผ่

                     2. ทรีทเม้นต์บำรุงเส้นผมผสมสารสกัดสะเดาและไหมข้าวโพด

ปัญหาและความต้องการ :

1.       ต้องการบรรจุภัณฑ์และฉลากบรรจุภัณฑ์ที่เหมาะผสมกับผลิตภัณฑ์เซรั่มบำรุงผิวหน้าและทรีทเม้นต์บำรุงเส้นผม ให้ฉลากสื่อถึงแบรนด์ฟลอร่าแคร์และสมุนไพรที่ใช้ มีลวดลายสวยงามและสามารถใช้ยื่นจดแจ้ง อย.ได้

2.       ต้องการพัฒนาสารสกัดผักบุ้งทะเล ใบไผ่ สะเดาและไหมข้าวโพด ให้มีคุณภาพคงที่ มีปริมาณสารสำคัญและฤทธิ์ต้านออกซิเดชั่น สามารถนำสารสกัดไปใช้ประกอบสูตร 1. เซรั่มบำรุงผิวหน้าผสมสารสกัดผักบุ้งทะเลและใบไผ่ 2. ทรีทเม้นต์บำรุงเส้นผมผสมสารสกัดสะเดาและไหมข้าวโพด ต้องการให้ผลิตภัณฑ์มีความคงตัวเป็นที่ยอมรับของผู้บริโภค มีข้อมูลความปลอดภัยด้านเชื้อจุลินทรีย์และโลหะหนัก สามารถนำสูตรใช้จดแจ้งขอเลข อย. ได้ เพื่อจำหน่ายให้กับกลุ่มลูกค้าเดิมและลูกค้าใหม่

 

การให้คำปรึกษา และข้อมูล :

1.       ให้ความรู้เกี่ยวกับพระราชบัญญัติเครื่องสำอาง ด้านฉลากและการโฆษณาแก่ผู้ประกอบการ คัดเลือกบรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสมกับผลิตภัณฑ์เซรั่มบำรุงผิวหน้าและทรีทเม้นต์บำรุงเส้นผม ลงพื้นที่พบผู้ประกอบการให้ความรู้ด้านฉลากเครื่องสำอาง และคัดเลือกบรรจุภัณฑ์เซรั่มบำรุงผิวหน้าเป็นขวดพลาสติกแบบสุญญากาศขนาด 30 มิลลิลิตร ทรีทเม้นต์บำรุงเส้นผมเป็นขวดแก้วหัวเสปรย์ขนาด 15 มิลลิลิตร ออกแบบฉลากผลิตภัณฑ์ จำนวน 2 ผลิตภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์ละ 3 แบบ ออกแบบฉลากบรรจุภัณฑ์เป็นโทนสีเขียวให้เข้ากับสมุนไพรที่ใช้ มีความสวยงาม สื่อถึงแบรนด์ฟลอร่าแคร์ และถูกต้องตามพระราชบัตญัติเครื่องสำอางสามารถใช้จดแจ้งขอเลข อย. ได้​จากนั้นนำไปทดสอบความชอบผู้บริโภคที่มีต่อฉลากและบรรจุภัณฑ์ และถ่ายทอดผลการศึกษาทดสอบความชอบของผู้บริโภคที่มีต่อฉลากบรรจุภัณฑ์

2.       พัฒนากระบวนการสกัดสารสำคัญผักบุ้งทะเล ใบไผ่ สะเดาและไหมข้าวโพด นำดอกผักบุ้งทะเล ใบไผ่ สะเดาและไหมข้าวโพดแห้งปั่นบดเป็นผง สกัดด้วยวิธีการแช่หมัก (maceration) ในสัดส่วนผงพืชต่อ (70%w/w) Propylene glycol สัดส่วน 1:10 แช่หมักนาน 10 วัน กรองนำส่วนของเหลวไปใช้งาน จากนั้นนำไปวิเคราะห์ปริมาณสารสำคัญและทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ วิเคราะห์ปริมาณฟีนอลรวมด้วยวิธี folin-ciocalteu reagent วิเคราะห์ฤทธิ์ต้านออกซิเดชั่นด้วยวิธี FRAP เทียบสารมาตรฐาน ascorbic acid ทดสอบฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนส และนำสารสกัดไปใช้ในการพัฒนาสูตร จากนั้นถ่ายทอดวิธีการเตรียมสารสกัดสมุนไพรให้แก่ผู้ประกอบการ

3.       พัฒนาสูตรผลิตภัณฑ์เซรั่มบำรุงผิวหน้าผสมสารสกัดผักบุ้งทะเลและใบไผ่ จำนวน 1 สูตร และทรีทเม้นต์บำรุงเส้นผมผสมสารสกัดสะเดาและไหมข้าวโพด จำนวน 1 สูตร จากนั้นนำผลิตภัณฑ์ทดสอบความชอบผู้บริโภคที่มีต่อผลิตภัณฑ์ด้วยวิธี 7-point Hedonic scale ในอาสาสมัคร 100 คน และทดสอบการระคายเคืองในอาสาสมัคร 20 คน ด้วยวิธี single close patch test พร้อมทั้งการศึกษาความคงตัวด้านเคมีกายภาพของผลิตภัณฑ์ในสภาวะเร่งที่อุณหภูมิ 50 องศาเซลเซียส เป็นระยะเวลา 2 เดือน เพื่อประเมินความคงตัวผลิตภัณฑ์ โดยประเมินค่าทางเคมีกายภาพ ได้แก่ การแยกชั้น/ตกตะกอน ค่าความเป็นกรดด่าง ค่าสี และค่าความหนืด วิเคราะห์ทดสอบด้านจุลินทรีย์และโลหะหนักให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง และถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตให้แก่ผู้ประกอบการ คำนวณต้นทุนและจดแจ้งเลข อย.

 

สรุปผลการทำงาน: คณะทำงานคลินิกเทคโนโลยีจะได้ประสานนักวิจัยเชื่อมโยงกับผู้ประกอบการเพื่อแก้ไขปัญหาเชิงลึก ผ่านโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์สินค้าชุมชน (ตามแนวทางคูปองวิทย์เพื่อโอทอป) 



รายงานโดย นางสาวอิสราภรณ์ ใบวุฒิ วันที่รายงาน 22/03/2567 [16246]
4900 2
2 [16241]

กลุ่ม/ชุมชน/ชื่อผู้ประกอบการ    : วิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์สวนตุ๊กตุ๊ก / นางสุภาวดี  ทะยะ

ที่อยู่                                            : 194/2 หมู่ที่ 2 ตำบลคลองตาล อำเภอศรีสำโรง จังหวัดสุโขทัย

เบอร์ติดต่อ                                 :0925992829

ผลิตภัณฑ์                                  : แยมผลไม้ น้ำมะนาว ผลไม้เพียวเร่ ผลไม้ผง ส้มแผ่น กล้วยหนีบ ขนมปังกรอบเนยกระเทียมพาสลีย์ มะม่วงอบ วุ้นกรอบมะม่วง

ปัญหาและความต้องการ           :

1.       ตองการพัฒนากระบวนการผลิตของผลิตภัณฑแยมและผลไมเพียวเรใหผลิตภัณฑมีคุณภาพตามมาตรฐานของผลิตภัณฑ มีความสมํ่าเสมอ เนื่องจากสูตรและกระบวนการผลิตที่ใชในปัจจุบันยังทําให้ผลิตภัณฑออกมามีคุณภาพไมสมํ่าเสมอในการผลิตแตละครั้ง

2.       ตองการสรางสถานที่ผลิตอาหาร (แยมและผลไมเพียวเร) ที่ถูกตองตามมาตรฐาน GMP เนื่องจากปัจจุบันสถานที่ในการผลิตยังไมไดขอรับรองมาตรฐาน ซึ่งทางผูประกอบการมีความพรอมในการปรับปรุงสถานที่ผลิต

3.       ตองการบรรจุภัณฑและฉลากที่เหมาะสมสําหรับแยมและผลไมเพียวเร สามารถยืดอายุเก็บรักษาผลิตภัณฑและเหมาะสมกับการขนสง และตองการบรรจุภัณฑและฉลากที่เหมาะสมสําหรับผลิตภัณฑนวัตกรรมใหม่

4.       ต้องการเครื่องจักรที่ใชสําหรับการกวนแยมและผลไมเพียวเรที่สามารถควบคุมคุณภาพของผลิตภัณฑใหสมํ่าเสมอ

5.       ตองการผลิตภัณฑใหมที่มีสวนประกอบของแยมหรือผลไมเพียวเรที่ผานการพัฒนาใหมีคุณภาพ เพื่อใชประโยชนจากวัตถุดิบเดิมและขยายตลาดของผลิตภัณฑ์

 

การให้คำปรึกษา และข้อมูล       :

1.       พัฒนาสูตรและกระบวนการผลิตให้ถูกสุขลักษณะและมีการควบคุมคุณภาพของวัตถุดิบ รวมถึงกระบวนการผลิตในทุกขั้นตอน และการตรวจสอบวิเคราะห์คุณภาพของผลิตภัณฑ์

2.       พัฒนาสถานที่ผลิตอาหารตามมาตรฐาน Primary GMP

2.1.จัดทำมาตรฐานสถานที่ผลิตตามกระบวนการ โดยจัดผังสายการผลิตให้เป็นเส้นทางเดียวเพื่อป้องกันการปนเปื้อนข้าม

2.2.สถานที่ผลิตของผู้ประกอบการกำลังอยู่ระหว่างปรับปรุงสถานที่ โดยยังไม่ได้ประสานกับทาง สสจ. ในด้านการวางผังการผลิตและจัดทำให้เป็นไปตามมาตรฐาน

2.3.ที่ปรึกษาจะดำเนินงานโดยให้คำแนะนำร่วมกับ สสจ. เพื่อให้ข้อมูลในการปรับปรุงสถานที่ การเลือกใช้อุปกรณ์การผลิต การวางผังกระบวนการผลิต รวมถึงการปฏิบัติตนของผู้ปฏิบัติงาน เพื่อให้ได้สถานที่ผลิตอาหารเป็นไปตามมาตรฐานฯ

2.4.เก็บตัวอย่างมาทดสอบความปลอดภัยทางกายภาพ เคมี จุลินทรีย์ และจัดทำเอกสารที่เกี่ยวข้องให้ถูกต้องสำหรับการยื่นขอตรวจสถานที่ รวมถึงให้ความรู้เกี่ยวกับการยื่นขอผ่านระบบ SKYNET และผลักดันให้ผู้ประกอบการตรวจสถานผลิต พร้อมกับการติดตามผลการดำเนินงาน

 

3.       พัฒนาบรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสมของแยมมะม่วง

3.1.บรรจุแยมมะม่วงในบรรจุภัณฑ์ซองฟอยล์ขนาด 3.5x11ซม. สามารถฉีกและบีบแยมออกมาทาบนขนมได้ทีละซอง ซีลปิดสนิทเพื่อคงคุณภาพในการเก็บรักษา แยมซองเล็กขนาด 20กรัมจะถูกบรรจุอยู่ในซองรวม น้ำหนักสุทธิ 200กรัม (น้ำหนัก 20กรัม x 10ซอง)

3.2.ออกแบบฉลาก โลโก้ ให้สวยงาม มีเอกลักษณ์ และมีข้อมูลครบถ้วนถูกต้องตามกฎหมาย รวมถึงคำนวณต้นทุนของผลิตภัณฑ์

4.       พัฒนาและออกแบบเครื่องกวนแยมกึ่งอัตโนมัติ ผลิตจากวัสดุสแตนเลส 340 เกรดอาหารประกอบด้วยถัง 2 ชั้น ประกอบด้วย ถังชั้นนอกสำหรับบรรจุน้ำหล่อเพื่อกระจายความร้อนให้ทั่วถึงสม่ำเสมอและป้องกันแยมไหม้ติดหม้อ ถังชั้นในขนาด 20 ลิตร สำหรับการกวนแยม มีใบพายสำหรับกวนที่สามาถถอดออกได้ และมีมอเตอร์อยู่ด้านบน เครื่องกวนแยมสามารถตั้งปรับระดับอุณหภูมิความร้อนและความเร็วในการกวนได้ โดยกำลังผลิตครั้งละ 5-10 กิโลกรัม

5.       พัฒนาผลิตภัณฑ์ผลไม้เพียวเร 2สูตร ได้แก่

-          สูตรผลไม้สีเหลือง มีส่วนผสมหลัก คือ มะม่วงและกล้วย

-          สูตรผลไม้สีแดงม่วง มีส่วนผสมหลัก คือ มัลเบอรี่และเชอร์รี่ไทย

ผลิตภัณฑ์นี้มีกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย 2กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มลูกค้าทั่วไปซื้อไปบริโภคเอง และกลุ่มที่จะนำไปใช้เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมอาหารและร้านอาหาร ขั้นตอนการทำเริ่มจากการนำผลไม้มาทำให้สุก บดให้ละเอียด บรรจุลงบรรจุภัณฑ์ แช่แข็ง โดยการผลิตสามารถใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ที่มีอยู่ได้ แต่ต้องลงทุนในการซื้อตู้แช่แข็งเพิ่มเติม แล้วนำผลิตภัณฑ์มาวิเคราะห์คุณภาพทางกายภาพ เคมี จุลินทรีย์ และประสาทสัมผัส ตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์

 

สรุปผลการทำงาน: คณะทำงานคลินิกเทคโนโลยีจะได้ประสานนักวิจัยเชื่อมโยงกับผู้ประกอบการเพื่อแก้ไขปัญหาเชิงลึก ผ่านโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์สินค้าชุมชน (ตามแนวทางคูปองวิทย์เพื่อโอทอป) 



รายงานโดย นางสาวอิสราภรณ์ ใบวุฒิ วันที่รายงาน 22/03/2567 [16241]
6700 2
2 [16152]

กลุ่ม/ชุมชน/ชื่อผู้ประกอบการ :วิสาหกิจชุมชนเกษตรกรสร้างสวนพลิกชีวิตน้ำตกปอย

ที่อยู่:หมู่บ้านปากน้ำปอย เลขที่ 161 หมู่ที่ 16 ตำบลวังนกแอ่น อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก 65130

เบอร์ติดต่อ:0989874779

ผลิตภัณฑ์:(1) มะขามแช่อิ่ม, (2) มะขามหวานไร้เมล็ด และ (3) มะขามเปียก

ปัญหาและความต้องการ :

  1. พัฒนาและออกแบบเครื่องจักร ปัจจุบันการแช่อิ่มอบแห้งมะขามจะใช้เครื่องจักรอยู่ 2 ตัว คือ หม้อต้มสำหรับการให้ความร้อนน้ำเชื่อ เพื่อที่จะนำมะขามลงไปแช่ โดมพลาสติกที่ใช้ในการตากมะขาม และด้วยการผลิตมะขามแช่อิ่ม ปัจจุบันมีกลุ่มลูกค้าเพิ่มขึ้นจึงอยากพัฒนาในส่วนของตู้อบแห้งที่อาจมีการประยุกต์ใช้พลังงานแสงอาทิตย์หรือจะเป็นระบบไฟฟ้าหรือจะเป็นระบบการใช้แก๊สก็ได้ เพื่อที่จะนำมาเสริมประสิทธิภาพการอบแห้งมะขามแช่อิ่ม และเพื่อให้ได้ปริมาณการผลิตเพิ่มมากขึ้นและมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นและมีความปลอดภัย
  2. พัฒนาคุณภาพวัตถุดิบ ผู้ผลิตต้องการองค์ความรู้เพื่อการพัฒนามะขามให้ได้มาตรฐานพืชปลอดภัย (GAP) เพื่อมาปรับปรุงเรื่องการเพาะปลูกมะขาม การดูแลการให้ปุ๋ย หรือวิธีการเก็บังกษาต้นมะขามรวมถึงการขยายพันธุ์
  3. พัฒนาระบบมาตรฐาน ต้องการพัฒนาระบบมาตรฐาน อย. และพัฒนาสถานที่ผลิตให้ได้ GMP ให้ได้ความสะอาดเพื่อสร้างความเชื่อมั่นในตัวผลิตภัณฑ์ให้กับผู้บริโภค และเพื่อส่งเสริมยอดการจัดจำหน่ายและการกระจายสินค้าไปยังพื้นที่ต่างๆ แต่ขาดองค์ความรู้เกี่ยวกับดำเนินงาน
  4. พัฒนาและออกแบบกระบวนการผลิต กระบวนการผลิตมะขาม เริ่มจากตัดมะขามผักสด (มะขามเปรี้ยวยักษ์) จากนั้นนำมะขามมาแกะเปลือกแช่น้ำปูน น้ำเกลือ จากนั้นนำไปแช่น้ำตาลให้ได้รสชาติที่ต้องการ (ผลิตภัณฑ์มะขามแช่อิ่ม) ปัญหาที่เกิด คือ กระบวนการผลิตใช้เวลานาน บางครั้งมะขามมีกลิ่นโอ้ รสชาติส่าห์ เก็บได้ไม่ได้ ดังนั้นจึงต้องการองค์ความรู้เกี่ยวกับกระบวนการผลิตที่สามารถลดระยะเวลาในการผลิต หรือกระบวนการผลิตที่สามารถลดระยะเวลาในการผลิต หรือกระบวนการผลิตที่สามารถยืดอายุการเก็บผลิตภัณฑ์ หรือกระบวนการผลิตที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลที่สามารถลดต้นทุนการผลิต หรือเพิ่มมูลค่าและ/หรือมีความปลอดภัยได้มาตรฐาน
  5. พัฒนานวัตกรรมผลิตภัณฑ์ ต้องการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ไม่ว่าจะเป็นผลิตภัณฑ์ที่เป็นอาหาร เช่น ซอสมะขาม ทำแป้งจากเมล็ดมะขามหรือทำมะขามผงหรือทำชามะขาม หรือเป็นผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช้อาหาร เช่น เซรั่มบำรุงจากเมล็ดมะขาม สบู่มะขาม น้ำยาล้างจานมะขาม หรืออื่นๆ โดยมีกลุ่มเป้าหมายใหม่ๆ เช่น คนไทยหรือชาวต่างชาติที่จะนำมะขามหรือผลิตน้ำมะขามเพื่อการจัดจำหน่าย
  6. พัฒนาและออกแบบบรรจุภัณฑ์ ต้องการพัฒนาบรรจุภัณฑ์เดิมให้ลูกค้าให้ได้ทราบถึงข้อมูลของสินค้าและยืดอายุการเก็บรักษา โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์มะขามแช่อิ่มอบแห้งให้มีอายุการเก็บที่นานและมีมาตรฐานของฉลากที่สามารถขึ้นทะเบียนขอ อย. ได้เลย รวมทั้งต้องการพัฒนารูปลักษณะและรายละเอียดของบรรจุภัณฑ์ที่มีความเป็นเอกลักษณ์และโดดเด่น ถูกต้องตามกฎหมาย อย.

 


 

การให้คำปรึกษา และข้อมูล :

  1. ตู้อบแห้งพลังงานความร้อนร่วม (แสงอาทิตย์ / ไฟฟ้า / แก๊ส) สำหรับอบแห้งมะขามเปรี้ยวยักษ์แช่อิ่ม ที่มีกำลังการผลิต 50 - 100 kg/ครั้ง
  2. ให้คำแนะนำเรื่องของการเพาะปลูกมะขามให้ได้มาตรฐานพืชปลอดภัย (GAP) ร่วมกับกรมส่งเสริมวิชาการเกษตร โดยเชื่อมโยงผู้เชี่ยวชาญให้ความรู้และการจัดทำเอกสาร จัดทำการประเมิน และยื่นขอมาตรฐาน
  3. ยังไม่ได้มีการประสานกับทาง สสจ. เข้าประเมินสถานที่ แต่การพัฒนา จะเริ่มจากการให้คำแนะนำปรึกษา ถ่ายทอดฝึกอบรม ร่วมดำเนินการกับทางสาธารณสุขจังหวัด เพื่อให้ข้อมูลการปรับปรุงสายการผลิตให้เป็นเส้นตรงเพื่อลดการปนเปื้อนข้าม วาดผังการผลิตให้เป็นไปตามมาตรฐานการผลิต ให้ข้อมูลการปรับปรุงสถานที่ อุปกรณ์การผลิต และสุขอนามัยผู้ผลิต และปรับปรุงสถานที่ให้เป็นไปตามมาตรฐาน GMP เก็บตัวอย่างทดสอบความปลอดภัยทั้งทางกายภาพ เคมี และจุลินทรีย์ จัดทำเอกสารที่เกี่ยวข้องรวมทั้งฉลากสินค้าให้ถูกต้องตามกฎหมาย อย. สำหรับการยื่นตรวจสถานที่ ให้ความรู้เกี่ยวกับการยื่นขอผ่านระบบ SKYNET ผลักดันให้ยื่นตรวจสถานที่ผลิต พร้อมกับติดตามผลการดำเนิน
  4. ทำการปรับปรุงกระบวนการผลิตมะขามแช่อิ่มอบแห้งด้วยการนำมะขามที่ผ่านการลวกแล้ว ลงแช่ในน้ำเชื่อมขณะร้อนทิ้งไว้ประมาณ 30นาที ให้นำน้ำเชื่อมมาให้ความร้อนอีกครั้ง แล้วนำมะขามลงแช่ทิ้งไว้ 30นาที ทำลักษณะเดียวกันประมาณ 4 ครั้ง จากนั้นนำมะขามที่ผ่านการแช่มาตรวจสอบค่าความหวานที่ต้องการ เมื่อได้ค่าความหวานที่ต้องการนำไปอบในตู้อบลมร้อน 60องศาเซลเซียส นาน 6ชั่วโมง นำผลิตภัณฑ์ที่ได้ทำการตรวจสอบความพึงพอใจของผู้บริโภค ทดสอบคุณภาพทางกายภาพ เคมี จุลินทรีย์ คุณค่างทางโภชนาการ
  5. พัฒนาผลิตภัณฑ์น้ำมะขามสมุนไพรพร้อมดื่มจากกระบวนการผลิตมะขามแช่อิ่ม ทำได้โดยใช้น้ำแช่อิ่มมะขามมาผสมกับน้ำสมุนไพรเข้มข้นชนิดต่าง ๆ เช่น ดอกคำฝอย อัญชัน มัลเบอร์รี่ ในอัตราส่วนที่เหมาะสม จากนั้นผ่านการให้ความร้อนระดับพาสเจอร์ไรส์ และบรรจุแบบhot-fill และทำให้เย็นทันที นำผลิตภัณฑ์ที่ได้ทดสอบความพึงพอใจของผู้บริโภค นำผลิตภัณฑ์ตรวจสอบคุณภาพทางกายภาพ เคมี จุลินทรีย์ คุณค่าทางโภชนาการ จัดทำ infographicและ story telling
  6. เลือกใช้บรรจุภัณฑ์เป็นขวดพลาสติก PET ที่มีน้ำหนัก 12-15 กรัมหรือมากกว่า ที่มีความหนารูปทรงกลมเรียบสูงที่มีรอยริ้วล่างขวด (รอยริ้วทำให้ขวดมีความแข็งแรงของใต้ฐานเพิ่มขึ้น) หรือขวดทรงเหลี่ยมสูง (มุมเหลี่ยมจะทำให้ขวดมีความแข็งแรงเนื่องจากมีมุมที่รองรับน้ำหนักได้) เพื่อสะดวกต้องการขนส่ง และได้ปริมาณมากขึ้น โดยขวดที่ใช้ที่มีคุณสมบัติบรรจุทนร้อนได้ไม่ต่ำกว่า 80 องศาเซลเซียส ใช้สำหรับการบรรจุแบบร้อนและทำการแช่เย็นทันทีจะทำให้เชื้อจุลินทรีย์ถูกทำลายตามหลักการพาสเจอร์ไรซ์ (ราคาต้นทุนขวดที่ทนความร้อนสูงกว่าจะแพงกว่าขวดที่ทนความร้อนต่ำกว่า) กรณีเลือกใช้ขวดพลาสติกที่ทนร้อนได้ 60 องศาเซียสเซียส ตัวอย่างผลิตภัณฑ์ต้องผ่านระบบพาสเจอร์ไรส์แบบระบบปิดก่อนบรรจุ เพื่อความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ ตัวอย่างที่ผ่านการบรรจุจะทำการเก็บตัวอย่างผลิตภัณฑ์นำไปวิเคราะห์ทางโภชนาการและจัดทำข้อมูลรายละเอียดทั้งหมดเพื่อนำไปออกแบบบรรจุภัณฑ์ตาม ประกาศกระทรวงสาธารณสุขเรื่องการแสดงฉลากอาหารในภาชนะบรรจุและนำฉลากผลิตภัณฑ์ที่ออกแบบยื่นตรวจสอบที่สาธารณสุขจังหวัดเพื่อตรวจสอบความถูกต้องและอนุมัติเลข อย. เพื่อจัดทำฉลากที่สมบูรณ์ และนำไปใช้ในการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ต่อไป

 

สรุปผลการทำงาน: คณะทำงานคลินิกเทคโนโลยีจะได้ประสานนักวิจัยเชื่อมโยงกับผู้ประกอบการเพื่อแก้ไขปัญหาเชิงลึก ผ่านโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์สินค้าชุมชน (ตามแนวทางคูปองวิทย์เพื่อโอทอป) ประจำปีงบประมาณ 2567ต่อไป เนื่องจากเป็นสินค้า OTOP

รายชื่อคณะทำงาน:

1. ผศ.ดร.สรวิศ สอนสารี

2. ผศ.ดร.น้ำทิพย์ วงษ์ประทีป 

3. ผศ.เอกภูมิ บุญธรรม

4. อ.ดร.กฤษฎา อ้นอ้าย



รายงานโดย นางสาวอิสราภรณ์ ใบวุฒิ วันที่รายงาน 23/02/2567 [16152]
5500 6
2 [16150]

กลุ่ม/ชุมชน/ชื่อผู้ประกอบการ : บ้านสวนโอ เอส เค/คุณประภากร บุลสถาพร

ที่อยู่:   227 หมู่ที่ 1 ตำบล ห้วยใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์ 67000

เบอร์ติดต่อ: 0832155598

ผลิตภัณฑ์:      1. แฮร์โทนิคบำรุงผมและหนังศีรษะผสมสารสกัดดอกอัญชัน ทองพันชั่งและกระเม็ง

2. ครีมบำรุงหน้าผสมสารสกัดว่านหางจระเข้และแตงกวา

ปัญหาและความต้องการ :

1. ต้องการพัฒนาคุณภาพสารสกัดดอกอัญชัน ทองพันชั่ง กระเม็ง ว่านหางจระเข้และแตงกวา ให้มีปริมาณสารสำคัญและมีประสิทธิภาพในการต้านอนุมูลอิสระและยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนส มีกรรมวิธีการสกัดที่ง่าย สามารถควบคุมคุณภาพให้สม่ำเสมอในแต่ละครั้งการผลิตเพื่อใช้เป็นสารประกอบในการผลิตแฮร์โทนิคและครีมบำรุงผิวหน้า

2. ต้องการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่จำนวน 2 ผลิตภัณฑ์ คือ1. แฮร์โทนิคที่มีส่วนผสมสารสกัดอกอัญชันเพื่อบำรุงผมและหนังศีรษะ2. ครีมบำรุงผิวหน้าผสมสารสกัดว่านหางจระเข้และแตงกวา ผลิตภัณฑ์มีเนื้อสัมผัสที่ดี ให้ความชุ่มชื่นต่อผิว ผลิตภัณฑ์ได้รับการยอมรับจากผู้บริโภคมีความปลอดภัยด้านเชื้อจุลินทรีย์และโลหะหนัก สามารถนำสูตรใช้จดแจ้งขอเลข อย. ได้ เพื่อจำหน่ายให้กับกลุ่มลูกค้าเดิมและลูกค้ารายใหม่ และจะนำผลิตภัณฑ์เข้าคัดสรร OTOP ต่อไป

3. ต้องการบรรจุภัณฑ์และฉลากบรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสมกับผลิตภัณฑ์แฮร์โทนิคและครีมบำรุงผิวหน้า เหมาะกับกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย ออกแบบฉลากและลวดลายให้สวยงาม มีองค์ประกอบของฉลากที่ถูกต้องตามพระราชบัญญัติเครื่องสำอาง

 

การให้คำปรึกษาและข้อมูล :

1. พัฒนากระบวนการสกัดสารสำคัญจากดอกอัญชันทองพันชั่งและกระเม็งนำดอกอัญชันทองพันชั่งและกระเม็งแห้งปั่นบดเป็นผง สกัดด้วยวิธีการต้ม(Decoction) ในสัดส่วนผงพืชต่อน้ำกลั่นสัดส่วน 1:20 กรองนำส่วนของเหลวไปใช้งานการสกัดว่านหางจระเข้และแตงกวา ล้างว่านหางจระเข้และแตงกวาให้สะอาด ปอกเปลือกหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ ปั่นผสมกับ 50% Propylene glycol ในอัตราส่วน 1:1กรองแล้วนำส่วนใสไปใช้ในการประกอบสูตร จากนั้นนำไปวิเคราะห์ปริมาณสารสำคัญและทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ วิเคราะห์ปริมาณฟีนอลรวมด้วยวิธี folin-ciocalteu reagent วิเคราะห์ฤทธิ์ต้านออกซิเดชั่นด้วยวิธี DPPH, FRAP เทียบสารมาตรฐาน ascorbic acidทดสอบฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนส และนำสารสกัดไปใช้ในการพัฒนาสูตรแฮร์โทนิคผสมสารสกัดดอกอัญชันและครีมบำรุงหน้าผสมสารสกัดว่านหางจระเข้และแตงกวาจากนั้นถ่ายทอดวิธีการเตรียมสารสกัดสมุนไพรให้แก่ผู้ประกอบการ

2. พัฒนาสูตรผลิตภัณฑ์แฮร์โทนิคผสมสารสกัดดอกอัญชันทองพันชั่งและกระเม็ง จำนวน 1 สูตรและครีมบำรุงหน้าว่านหางจระเข้และแตงกวาจำนวน 1 สูตร จากนั้นนำผลิตภัณฑ์ทดสอบความชอบผู้บริโภคที่มีต่อผลิตภัณฑ์ด้วยวิธี 7-point Hedonic scale ในอาสาสมัคร 100 คน และทดสอบการระคายเคืองในอาสาสมัคร 20 คน ด้วยวิธี single close patch test พร้อมทั้งการศึกษาความคงตัวด้านเคมีกายภาพของผลิตภัณฑ์ในสภาวะเร่งที่อุณหภูมิ 50 องศาเซลเซียส เป็นระยะเวลา 2 เดือน เพื่อประเมินความคงตัวผลิตภัณฑ์ประเมินค่าความเป็นกรดด่าง (pH) ค่าสี ค่าความหนืดและการแยกชั้น/ตกตะกอนวิเคราะห์ทดสอบด้านจุลินทรีย์และโลหะหนักให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง และถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตให้แก่ผู้ประกอบการโดยละเอียดและบันทึกเอกสารBatch Record ซึ่งประกอบไปดวยชื่อสารสวนผสมแหล่งที่มาของสารเลขlot ภาชนะในการผลิตขอมูลคากายภาพเบื้องตนเชนสีpH และกลิ่นตรวจสอบวาผูประกอบสามารถผลิตเองในครั้งตอไปได้คำนวณต้นทุนและจดแจ้งเลข อย.

3. ให้ความรู้เกี่ยวกับพระราชบัญญัติเครื่องสำอาง ด้านฉลากและการโฆษณาแก่ผู้ประกอบการ คัดเลือกบรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสมกับผลิตภัณฑ์แฮร์โทนิคและครีมบำรุงผิวหน้า บรรจุภัณฑ์แฮร์โทนิคเป็นขวดพลาสติกหัวเปรย์ขนาด 30 มิลลิลิตร ครีมบำรุงหน้าเป็นกระปุกพลาสติกขนาด 30 กรัม  ฉลากบรรจุภัณฑ์สวยงาม สื่อถึงแบรนด์บ้านสวน โอ เอส เค และสมุนไพรที่ใช้ ถูกต้องตามพระราชบัตญัติเครื่องสำอางสามารถใช้จดแจ้งขอเลข อย. ได้ที่ปรึกษาจัดเตรียมข้อมูลองค์ประกอบของฉลากบรรจุภัณฑ์ ออกแบบฉลากผลิตภัณฑ์ จำนวน 2ผลิตภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์ละ 3 แบบ จากนั้นนำไปทดสอบความชอบผู้บริโภคที่มีต่อฉลากและบรรจุภัณฑ์ และถ่ายทอดผลการศึกษาทดสอบความชอบของผู้บริโภคที่มีต่อฉลากบรรจุภัณฑ์

สรุปผลการทำงาน: คณะทำงานคลินิกเทคโนโลยีจะได้ประสานนักวิจัยเชื่อมโยงกับผู้ประกอบการเพื่อแก้ไขปัญหาเชิงลึก ผ่านโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์สินค้าชุมชน (ตามแนวทางคูปองวิทย์เพื่อโอทอป) ประจำปีงบประมาณ 2567ต่อไป เนื่องจากเป็นสินค้า OTOP

รายชื่อคณะทำงาน:

1. นางสาวศรัณญา สอนมณี

2. อ.เปรมนภา สีโสภา

3. อ.ปรารถนา ศิริสานต์



รายงานโดย นางสาวอิสราภรณ์ ใบวุฒิ วันที่รายงาน 23/02/2567 [16150]
6000 4
2 [16154]

กลุ่ม/ชุมชน/ชื่อผู้ประกอบการ : กลุ่มวิสาหกิจชุมชนส่งเสริมและพัฒนาผลิตภัณฑ์ยั่งยืน/ตำบลไกรกลาง จังหวัดสุโขทัย/นาย ธิษณวุฒิ ชื่นอารมย์

ที่อยู่: ......21/1 หมู่ที่ 1 ซอย ภักดี ตำบล ไกรกลาง อำเภอ กงไกรลาศ จังหวัด สุโขทัย 64170.....

เบอร์ติดต่อ: ........082-6178919.........................................................................

ผลิตภัณฑ์:  .....น้ำมันสมุนไพรกระดูกไก่ดำ........................................................

ปัญหาและความต้องการ :

1. ทางกลุ่มมีวัตถุดิบพืชที่เรียกว่า กระดูกไก่ดำ ซึ่งต้องการนำมาเพิ่มมูลค่า และผลิตภัณฑ์เป็นสินค้าที่สร้างรายได้ จึงขอคำปรึกษา เพื่อนำวัตถุดิบมาแปรรูป เช่น สร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ให้กลุ่มนักกีฬา

 

การให้คำปรึกษา และข้อมูล :

ทางที่ปรึกษาให้คำปรึกษาให้นำพืชดังกล่าวมาสกัดสารสำคัญในต้นกระดูกไก่ดำด้วยการ นำส่วนกากของสมุนไพรกระดูกไก่ดำที่เหลือจากการทอดซึ่งมีสารสำคัญกลุ่มอื่นๆเหลืออยู่ จากการศึกษาข้อมูล พบว่า ในสมุนไพรกระดูกไก่ดำมีสารสำคัญคือกลุ่ม ฟลาโวนอยด์ ซึ่งเป็นกลุ่มสารที่มีงานวิจัยเกี่ยวข้องกับต้านการอักเสบ สารสกัดที่สำคัญเพื่อเป็นส่วนประกอบสำคัญในผลิตภัณฑ์คือสารสกัดที่มีสารฟลาโวนอยด์ จึงมีการตรวจสอบปริมาณสารฟลาโวนอยด์ในสารสกัดเพื่อใช้เป็นข้อมูลในการทำมาตรฐานต่อไป

 

สรุปผลการทำงาน: คณะทำงานคลินิกเทคโนโลยีจะได้ประสานนักวิจัยเชื่อมโยงกับผู้ประกอบการเพื่อแก้ไขปัญหาเชิงลึก ผ่านโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์สินค้าชุมชน (ตามแนวทางคูปองวิทย์เพื่อโอทอป) ประจำปีงบประมาณ 2567 ต่อไป เนื่องจากเป็นสินค้า OTOP 

รายชื่อคณะทำงาน:

1. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กาญจนา วงศ์กระจ่าง...............

2. อาจารย์ ญาณิศา จินดาหลวง……………………………………

3. ศรัณญา สอนมณี............................................................

4. ดร. ศศินิภา ศรีกัลยานิวาท.............................................

5. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ปณิธาน สุระยศ..............................



รายงานโดย นางสาวอิสราภรณ์ ใบวุฒิ วันที่รายงาน 23/02/2567 [16154]
7000 6
2 [16155]

ชื่อผู้ประกอบการ : .....นายจักรกฤช หมวกน้อย........................................................

ที่อยู่:   ....290....หมู่ 1 ตำบลท้อแท้ อำเภอวัดโบสถ์ จังหวัดพิษณุโลก 65160....................................

เบอร์ติดต่อ: ..........080-1189184........................................................................................................

ผลิตภัณฑ์..........แคปหมูไร้มัน ตรา...................................................................................................

ปัญหาและความต้องการ :

1. ผลิตภัณฑ์แคปหมูเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีบรรจุภัณฑ์ไม่ได้มาตรฐาน และไม่สามารถจำหน่ายได้ราคาสูง ผู้ประกอบการต้องการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ที่สามารถเก็บรักษาผลิตภัณฑ์ได้นาน ปกป้องผลิตภัณฑ์ได้ และมีฉลากบรรจุภัณฑ์ที่เป็นเอกลักษณ์ของผลิตภัณฑ์ ทันสมัย ดึงดูดใจ

2.ผลิตภัณฑ์ยังไม่ได้การรับรองมาตรฐานผู้บริโภคขาดความเชื่อมั่นในตัวสินค้า ผู้ประกอบการมีความต้องการให้ส่งเสริมด้านการออกแบบกระบวนการผลิตให้สามารถลดระยะเวลาการทำงาน คุณภาพผลิตภัณฑ์มาตรฐาน เป็นไปตามมาตรฐาน GMP

3. พัฒนาระบบมาตรฐาน ผู้ประกอบการมีความต้องการพัฒนาระบบมาตรฐานสถานที่ผลิตให้เป็นไปตามมาตรฐาน GMP

การให้คำปรึกษา และข้อมูล :

การเก็บรักษาแคปหมูให้มีความกรอบที่ยาวนานสามารถใช้บรรจุภัณฑ์ที่ป้องกันความชื้น ไอน้ำ และอากาศ เพื่อป้องกันการเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชั่นได้ ซึ่งเป็นวิธีทำให้แคปหมูมีคุณภาพการเก็บที่ดีและยาวนานขึ้น นอกจากนี้การการไขปัญหาผลิตภัณฑ์ไม่ได้มาตรฐานควรดูในเรื่องของ GMPซึ่งเป็นมาตรฐานในประเทศไทย ที่สามารถสร้างความเชื่อมั่นให้กับลูกค้าที่เลือกซื้อได้มั่นใจว่าสินค้ามีความปลอดภัย ซึ่งการดำเนินการจัดทำมาตรฐานนั้น สถานที่ผลิตจำเป็นต้องมีห้องทำการผลิตอย่างน้อย 2ห้อง และควรมีความสะอาด ใช้อุปกรณ์กระบวนการผลิตที่สะอาดและได้มาตฐานในการผลิต

 

สรุปผลการทำงาน: คณะทำงานคลินิกเทคโนโลยีจะได้ประสานนักวิจัยเชื่อมโยงกับผู้ประกอบการเพื่อแก้ไขปัญหาเชิงลึก ผ่านโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์สินค้าชุมชน (ตามแนวทางคูปองวิทย์เพื่อโอทอป) ประจำปีงบประมาณ 2567ต่อไป เนื่องจากเป็นสินค้า OTOP

รายชื่อคณะทำงาน:

1.....อาจารย์อารยาบุญศักดิ์................................................................................................................

2. ...ผู้ช่วยศาสตราจารย์ธวัลรัตน์ สัมฤทธิ์.............................................................................................

3. ...ผู้ช่วยศาสตราจารย์นํ้าทิพย์ วงษ์ประทีป.....................................................................................

4. ...อาจารย์ญาณิศา จินดาหลวง......................................................................................................



รายงานโดย นางสาวอิสราภรณ์ ใบวุฒิ วันที่รายงาน 23/02/2567 [16155]
5000 4
2 [16157]

กลุ่ม/ชุมชน/ชื่อผู้ประกอบการ : ............กลุ่มแปรรูปกล้วยบ้านนี้คมพัฒนา.........................................

ที่อยู่: ............71 หมู่ที่ 8 หนองจิก คีรีมาศ สุโขทัย....................................................................

เบอร์ติดต่อ: ............093-270-0278.......................................................................................

ผลิตภัณฑ์:  ............กล้วยฉาบโบราณน้องต้องตา................................................................................

ปัญหาและความต้องการ :

1. พัฒนานวัตกรรมผลิตภัณฑ์ ต้องการพัฒนาผลิตภัณฑ์กล้วยฉาบรสคาราเมล ให้มีรสชาติหวานพอดีไม่อมน้ำมัน และกรอบนาน อยู่ได้นาน

2. พัฒนาและออกแบบบรรจุภัณฑ์ ต้องการออกแบบบรรจุภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์กล้วยฉาบรสคาราเมล และออกแบบฉลากสินค้าให้มีความโดดเด่น เพื่อดึงดูดฐานลูกค้าเดิม และลูกค้ารายใหม่ และขยายตลาดในอนาคต

3. พัฒนาระบบมาตรฐาน ต้องการพัฒนาระบบมาตรฐานสถานที่ผลิตให้เป็นไปตามมาตรฐาน GMP เพื่อรองรับการขอมาตรฐาน อย.

 

การให้คำปรึกษา และข้อมูล :

พัฒนาผลิตภัณฑ์กล้วยฉาบรสคาราเมลให้มีรสชาติหวานพอดี ไม่อมีน้ำมัน และกรอบนาน ด้วยการนำกล้วยมาทอดแบบน้ำมันท่วม (Deep Flying) และนำแผ่นกล้วยรสคาราเมลจำนวน 3 สูตร ประเมินคุณภาพทางประสาทสัมผัสของผลิตภัณฑ์เพื่อคัดเลือกสูตรที่มีอัตราส่วนที่เหมาะสม นำไปวิเคราะห์คุณภาพทางกายภาพ เคมี จุลินทรีย์  ประสาทสัมผัส และคุณค่าทางโภชนา ที่ปรึกษาพัฒนาและออกแบบบรรจุภัณฑ์เพื่อส่งเสริมการจัดจำหน่าย การออกแบบบรรจุภัณฑ์สำหรับผลิตภัณฑ์กล้วยฉาบรสคาราเมล และกล้วยฉาบโบราณ โดยลักษณะของบรรจุภัณฑ์เป็นถุงที่มีความเหนียวทนต่อการกระแทกลดการแตกหักของผลิตภัณฑ์ ปากถุงปิดสนิทป้องกันการปนเปื้อน สามารถคงคุณภาพสินค้าตลอดระยะเวลาการขนส่ง อีกทั้งต้องมีความสะดวก สามารถแพ็คบรรจุได้ง่าย และรวดเร็ว มีน้ำหนักเท่ากันและสม่ำเสมอ และควรมีการปรับปรุงสถานที่ผลิตให้เป็นไปตามมาตรฐานการผลิตที่ดี (GMP) รวมทั้งผลักดันให้ยื่นขอรับรองมาตรฐาน อย.

 

สรุปผลการทำงาน: คณะทำงานคลินิกเทคโนโลยีจะได้ประสานนักวิจัยเชื่อมโยงกับผู้ประกอบการเพื่อแก้ไขปัญหาเชิงลึก ผ่านโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์สินค้าชุมชน (ตามแนวทางคูปองวิทย์เพื่อโอทอป) ประจำปีงบประมาณ 2567 ต่อไป เนื่องจากเป็นสินค้า OTOP 

รายชื่อคณะทำงาน:

1.....อาจารย์อารยาบุญศักดิ์................................................................................................................

2. ...ผู้ช่วยศาสตราจารย์ธวัลรัตน์ สัมฤทธิ์.............................................................................................

3. ...ผู้ช่วยศาสตราจารย์นํ้าทิพย์ วงษ์ประทีป.....................................................................................

4. ...อาจารย์ญาณิศา จินดาหลวง......................................................................................................



รายงานโดย นางสาวอิสราภรณ์ ใบวุฒิ วันที่รายงาน 23/02/2567 [16157]
5000 5
1 [16067]

กลุ่ม/ชุมชน: ห้างหุ้นส่วนจำกัด สวนสร้างชีวิต

ผู้ประกอบการ : นางสาวจุฬาวรรณ มหัทธโนฤกษ์

ที่อยู่:   หจก. สวนสร้างชีวิต 161 หมู่ 16 ต.วังนกแอ่น อ.วังทอง จ.พิษณุโลก

เบอร์ติดต่อ: 093-6544595, 098-9784779

ผลิตภัณฑ์มะขาวคลุก กัมมี่มะขามคลุก

ปัญหาและความต้องการ :

1. ผลิตภัณฑ์กัมมี่มะขามเก็บได้ไม่นาน เกิดเชื้อรา ต้องการยืดอายุการเก็บรักษา

2. ผลิตภัณฑ์มะขามแก้วมีความเยิ้ม เนื้อไม่ละเอียด แฉะ เหนียว น้ำตาลเยิ้ม

การให้คำปรึกษา และข้อมูล :

กัมมี่มะชาวคลุก ปัญหาอาจเกิดจากภาชนะที่ไม่สะอาด ผู้ผลิตอาจไม่ปฏิบัติตัวให้ถูกหลักเกณฑ์การผลิตที่ดี ซึ่งอาจมีการเผลอหยิบตัวผลิตภัณฑ์ทำให้เกิดการปนเปื้อนจึงเป็นสาเหตุทำให้ผลิตภัณฑ์มีการเก็บรักษาสั้น ควรใช้เทคโนโลยีความสะอาด GMP เพื่อป้องกันการปนเปื้อน

มะขามแก้ว ควรมีการกวนหรือให้ความร้อนจนกระทั่งตัวอย่างค่อนข้างแห้ง เพื่อป้องกันการคลายตัวของมะขามหลังผ่านการคลุกน้ำตาล หรืออาจจะใช้ตตู้อบลมร้อนช่วยในการทำให้น้ำระเหยไปบางส่วน เพื่อให้มะขาวมีเนื้อแห้งขี้น

สรุปผลการทำงาน: คณะทำงานคลินิกเทคโนโลยีจะได้ประสานนักวิจัยเชื่อมโยงกับผู้ประกอบการเพื่อแก้ไขปัญหาเชิงลึก ผ่านโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์สินค้าชุมชน (ตามแนวทางคูปองวิทย์เพื่อโอทอป) ประจำปีงบประมาณ 2567หรืองบยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏต่อไป เนื่องจากเป็นสินค้า OTOP

รายชื่อคณะทำงาน:

1. ผศ.ดร. น้ำทิพย์ วงษ์ประทีป

2. ผศ.ดร.อรวรรณ ศรีตองอ่อน

3. นายกนกศักดิ์ คันธวังอินทร์

4. นางสาวปลายฟ้า  ธิปไตย



รายงานโดย นางสาวอิสราภรณ์ ใบวุฒิ วันที่รายงาน 22/01/2567 [16067]
2400 3
2 [16079]

กลุ่ม/ชุมชน/ชื่อผู้ประกอบการ : วิสาหกิจพืชผลไม้สุมนไพรวิถีไทยคีรีมาศ (นายกู้เกียรติ คลังธานี)

ที่อยู่:   บ้านเลขที่31    หมู่   3    ต.ทุ่งยางเมือง   อ.คีรีมาศ          จ.สุโขทัย

เบอร์ติดต่อ:  095-7826914

ผลิตภัณฑ์แปรรูปมะนาว

ปัญหาและความต้องการ :

ต้องการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากมะนาวเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม

 

การให้คำปรึกษา และข้อมูล :

แนะนำให้ทางผู้ประกอบนำมะนาวมาแปรรูปโดยใช้หลักการ BCGModel ได้แก่ น้ำมะนาวเข้มข้น และน้ำมะนาวพร้อมดื่ม จากน้ำมะนาว ส่วนเปลือกให้นำไปต้มในน้ำ แล้วผ่านการกรองจะได้น้ำมะนาวที่สามารถนำไปทำน้ำยาล้างจาน ใช้เปลือกหลังการต้มมะนาวนำไปทำเป็นสบู่หรือสครับในการขัดผิว ส่วนเมล็ดมะนาวให้นำไปเพาะต้นกล้า และอื่นๆอีกมากมายไม่ว่าจะเป็น เจลลี่มะนาว กัมมี่มะนาว แยมมะนาว เป็นต้น

 

สรุปผลการทำงาน: คณะทำงานคลินิกเทคโนโลยีจะได้ประสานนักวิจัยเชื่อมโยงกับผู้ประกอบการเพื่อแก้ไขปัญหาเชิงลึก ผ่านโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์สินค้าชุมชน (ตามแนวทางคูปองวิทย์เพื่อโอทอป) ประจำปีงบประมาณ 2567ต่อไป เนื่องจากเป็นสินค้า OTOPและหรือแหล่งงบประมาณอื่นๆ เพื่อสนับสนุนและผลักดันให้เกิดการแก้ปัญหาตามต้องการ รวมทั้งควรมีการยกระดับและพัฒนาบรรจุภัณฑ์เพื่อส่งเสริมยอดการจัดจำหน่ายของแต่ละกลุ่มเป้าหมาย



รายงานโดย นางสาวอิสราภรณ์ ใบวุฒิ วันที่รายงาน 22/01/2567 [16079]
3000 1
1 [16077]

กลุ่ม/ชุมชน/ผู้ประกอบการ วิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวเชิงเกษตรบ้านศรีนคร

ที่อยู่:   457/1 หมู่ 3  ต.ศรีนคร อ.ศรีนคร

เบอร์ติดต่อ: .086-9250300

ผลิตภัณฑ์ผักผลผลไม้

ปัญหาและความต้องการ :

1. ต้องการพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่เพื่อยกระดับและสร้างรายได้เพิ่มจากผักและผลไม้อินทรีย์ของกลุ่ม

การให้คำปรึกษา และข้อมูล :

แนวทางการยกระดับและสร้างมูลค่าเพิ่มจากอุปกรณ์แบบง่ายๆ แต่สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มได้ เช่น ผลิตภัณฑ์น้ำผักและผลไม้กรอบ โดยใช้ส่วนประกอบและวิธีทำได้ดังนี้

ส่วนผสม

1. ผงวุ้น                     25      กรัม
2. น้ำสะอาด                200     กรัม.
3. กลิ่นมะม่วง              3         กรัม
4. น้ำตาลทรายขาว        300    กรัม (2 ถ้วย)
5. ผักหรือผลไม้ปั่นละเอียด         100    กรัม
 

อุปกรณ์ที่จำเป็น

1 ตราชั่ง

2 หม้อ

3ทัพพี

4. พิมพ์

5. มีดตัด

           

วิธีทำ

ตวงผงวุ้นตามสัดส่วน ใส่หม้อ ที่สามารถตั้งไฟได้ ใส่น้ำสะอาด คน ๆ ให้เข้ากัน ตั้งทิ้งไว้ 15 นาที นำไปตั้งไฟ ใช้ไฟกลางๆ   คนจนวุ้นละลาย ระวังอย่าให้ไหม้  (สังเกตุว่าจะใสๆ) จนวุ้นละลายหมดให้ใส่น้ำตาล แล้วใช้ทัพพีคน ๆ ให้เข้ากับส่วนผสมวุ้นในหม้อ ให้ตามด้วยเนื้อผักและผลไม้ปั่นคนให้เข้ากันดีแล้ว  ให้นำมาเทใส่ถาดหรือพิมพ์ที่ต้องการ พักไว้ให้วุ้นแข็งตัว  จากนั้นทำการตัดวุ้นให้เป็นชิ้น  โดยใช้มีดที่เป็นหยัก ๆ นำไปเรียงใส่ถาด อบที่อุณหภูมิ 50องศาเซลเซียส เป็นเวลา 4 ชั่วโมง และพักให้เย็น 1ชั่วโมง ทำประมาณ 4 รอบหรือจนกว่าจะใช้ได้วุ้นจะมีเกล็ดน้ำตาลสีขาวแข็งนิดนึงเคลือบโดยรอบชิ้นวุ้น  

 

สรุปผลการทำงาน:  ผู้ประกอบการได้นำความรู้ไปทดลองในการผลิตภัณฑ์ต้นแบบ ได้หลากหลายรสชาติจากผักและผลไม้อินทรีย์ และนำไปทดสอบตลาดเพื่อดูแนวโน้มการตอบรับในลักษณะของวุ้นกรอบสมุนไพร ทั้งนี้ให้นำไปสู่การเชื่อมโยงสนับสนุนงบประมาณต่อยอดต่อไปหลังการตอบรับจากตลาด



รายงานโดย นางสาวอิสราภรณ์ ใบวุฒิ วันที่รายงาน 22/01/2567 [16077]
7000 1
1 [16076]

กลุ่ม/ชุมชน/ผู้ประกอบการ : กลุ่มเลี้ยงปลาในกระชังบ้านหนองเงินหมู่ 7

ที่อยู่:   84/3หมู่  7 ต. บ้านใหม่สุขเกษม อ.กงไกลาศ จ.สุโขทัย

เบอร์ติดต่อ: .0931567755 0996924538 สิริรัตน์

ผลิตภัณฑ์ปลาสด

ปัญหาและความต้องการ :

1. ต้องการพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่เพื่อยกระดับและสร้างมูลค่าเพิ่มสแน็คปลาอบกรอบภายใต้บรรจุภัณฑ์แบบกระปุกฝาปิดสนิท

การให้คำปรึกษา และข้อมูล :

การยกระดับและสร้างมูลค่าผลิตภัณฑ์กจากปลา สามารถทำเป้นสแน็คปลาที่เสริมแคลเซียมจากงาดำหรือแคลเซียมจากกระดูกปลา ด้วยการใช้แป้งข้าวเจ้า แป้งข้าวเหนียว และแป้งมัน ผสมรวมกัน จากนั้นผสมกับส่วนผสมของกระเทียม พริกไทย น้ำตาล เกลือ งาดำ เนื้อปลา หรือกระดูกปลาที่ผ่านการทดให้กรอบและบดให้ละเอียด ทำการผสมน้ำ นวดให้เนียนมือ แล้วปั่นเป็นก้อน นำไปนึ่งให้สุก และทำการทิ้งให้เย็นจนเกิดการรีโทรกราเดชั่น แล้วนำมาหั่นเป็นชิ้น อบให้แห้ง และนำไปทอดในน้ำมันลึกแบบทดแทนน้ำมัน จะทำให้ได้ผลิตภัณฑ์ลักษณะเหมือนแผ่นมันฝรั่งทอด จากนั้นสามารถเลือกใช้บรรจุภัณฑ์ได้หลากหลายขึ้นกับกลุ่มเป้าหมายต้องการ บรรจุภัณฑ์สามารถเลือกเป็นซองฟอลย์ หรือกระป๋องได้ เนื่องจากผลิตภัณฑ์สามารถทำให้มีขนาดเล็กพอคำ

 

สรุปผลการทำงาน: ถ่ายทอดและทดลองทำต้นแบบสแน็คปลา และนำมาบรรจุเป็นต้นแบบ เพื่อนำไปทดสอบตลาด



รายงานโดย นางสาวอิสราภรณ์ ใบวุฒิ วันที่รายงาน 22/01/2567 [16076]
7000 1
1 [16075]

กลุ่ม/ชุมชน/ผู้ประกอบการ : กลุ่มแปรรูปกระเจี๊ยบแดง

ที่อยู่:   34/1หมู่  2 ต. ไกรนอก อ.กงไกลาศ จ.สุโขทัย

เบอร์ติดต่อ: .0845944404/0810428544 ป้าณีต

ผลิตภัณฑ์กระเจี๊ยบแดง

ปัญหาและความต้องการ :

1. ต้องการพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่เพื่อยกระดับและสร้างมูลค่าเพิ่มเป็นกระเจี๊ยบผงสำหรับชงดื่มภายใต้บรรจุภัณฑ์พร้อมชง

การให้คำปรึกษา และข้อมูล :

การทำแห้งกระเจี๊ยบผงสำหรับชงดื่มสามารถทำได้หลายวิธี ทั้ง spray dry, drum dry, Tray dry ขึ้นกับบริบทและศักยภาพของผู้ผลิต อย่างไรก็ตาม จากความต้องการในการทำกระเจี๊ยบผงสำหรับชงดื่มเพื่อการการจัดทำต้นแบบสำหรับกลุ่มแปรรูปกระเจี๊ยบแดงสามารถที่จะทำกระเจี๊ยบผงจากกระเจี๊ยบสดหรือแห้งก็ได้ แต่ถ้าหากทำผงจากกระเจี๊ยบสดจะทำให้สีกลิ่นและรสชาติดีกว่าการผลิตกระเจี๊ยบผงที่ได้จากดอกแห้ง และการทำผงสามารถทำเป็นรสธรรมชาติ หรือทำเป็นน้ำตาลต่ำ หรือจะเป็นแบบรสชาติหวานชุ่มคอได้ โดยวิธีการการทำจะอาศัยเทคนิคการทำแห้ง เพื่อลดปริมาณชื้น (กรณีกระเจี๊ยบแห้ง) หรือใช้เทคนิคการสกัดเย็น (กระเจี๊ยบสด) ซึ่งจะให้สีและกลิ่นที่ดี

การกระเจี๊ยบผงชงดื่มจากกระเจี๊ยบสด

ส่วนผสม

กระเจี๊ยบสด                          500     กรัม

มอลโทเด็กตรินหรือน้ำตาล          1,000  กรัม

เกลือ                                   5         กรัม

สารป้องกันการจับตัวเป็นก้อนเช่น แคลเซียม อลูมิเนียม ซิลิเกต (calcium aluminum silicate) แคลเซียม ซิลิเกต (calcium silicate)(ใช้หรือไม่ใช่ก็ได้ ข้อดีของการใช้ คือจะช่วยให้ผงเกิดการกระจายตัว) ปริมาณการใช้ไม่เกิน 1,000 มิลลิกรัมต่อหนึ่งกิโลกรัมของอาหาร

          อุปกรณ์ที่จำเป็น

          เครื่องสกูรเดี่ยว (กรณีกระเจี๊ยบสด) หม้อต้มน้ำกระเจี๊ยบ (กรณีกระเจี๊ยบแห้ง) ผ้าขาวบาง กระทะเทฟร่อน เตาแก๊ส ตู้อบ (หากไม่มีสามารถทำได้แต่ตัวอย่างจะใช้เวลาต้องใจเย็น) เครื่องบดเป็นผง

วิธีทำ

1, นำกระเจี๊ยบสดผ่านเครื่องสกัดเย็น หรือต้มให้ความร้อนแบบเข้มข้น ทำการระเหยน้ำออกให้เหลือน้ำเพียง 50มิลิลิตร จากนั้นน้ำน้ำตาลหรือมอลโตเด็กซ์ตรินลงไปคลุกให้ทั่ว ตามด้วยเกลือ

2. นำส่วนผสมที่เค้ากันไปอบที่อุณหภูมิ 50-55องศาเซลเซียส เป็นเวลาประมาณ 3 ชั่วโมงให้สังเกตให้แห้งสนิทไม่ติดมือ หากยังไม่แห้งให้อบต่อจนแห้ง

3. นำส่วนผสมมาบดให้ปั่นให้ละเอียด และผสมสารป้องกันการจับตัวเป็นก้อนตามปริมาณที่กฎหมายกำหนด

บรรจุภัณฑ์ :เป็นซองฟอยล์อลูมิเนียนขนาด 7x10เซนติเมตร ขนาดบรรจุ 25 มิลลิกรัม จะใช้น้ำเติมได้ 200มิลลิลิตร

 

สรุปผลการทำงาน: ทดลองทำต้นแบบด้านบรรจุภัณฑ์และทางผู้ประกอบการได้ทดลองทำต้นแบบ เพื่อนำตัวอย่างไปจัดจำหน่าย



รายงานโดย นางสาวอิสราภรณ์ ใบวุฒิ วันที่รายงาน 22/01/2567 [16075]
5000 2
1 [16074]

กลุ่ม/ชุมชน/ผู้ประกอบการ : กลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปรรูปผลิตภัณฑ์ ท้องถิ่น ตำบลไกลกลาง อำเภอกงไกรลาศ

ที่อยู่:   130/1หมู่   1 ต. ไกรกลาง อ.กงไกลาศ จ.สุโขทัย

เบอร์ติดต่อ: .0869327330

ผลิตภัณฑ์จมูกข้าวอบ

ปัญหาและความต้องการ :

1. ต้องการพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ลักษณะคล้ายกับแผ่นจมูกข้าวอบกรอบพร้อมบรรจุภัณฑ์

การให้คำปรึกษา และข้อมูล :

จมูกข้าว คือ ส่วนเล็กๆ ที่อยู่บริเวณปลายเมล็ดของเมล็ดข้าว หากเป็นจมูกข้าวที่ไม่ผ่านการขัดสีจะมีคุณค่าทางโภชนาการสูง ซึ่งประโยชน์ของจมูกข้าวช่วยรักษาความสมดุลของฮอร์โมนชนิดต่างๆ ในร่างกายได้เป็นอย่างดี บำรุงและรักษาสายตาหรือการมองเห็น ป้องกันการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศในเพศชาย บำรุงระบบประสาทและสมอง ลดคอเลสเตอรอลและไตรกรีเซอร์ไรด์ซึ่งมีผลกระทบต่อร่างกาย บำรุงผิวพรรณ ช่วยให้ผิวพรรณดูสดใส เรียบเนียน ป้องกันและบำรุงรักษามะเร็งบางชนิด เสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย ทำให้ไม่เจ็บป่วยง่าย ป้องกันและลดการเป็นโรคหัวใจได้ ป้องกันโรคที่เกี่ยวกับหลอดเลือด ป้องกันและลดอาการของโรคอัลไซเมอร์ ลดระดับน้ำตาลในเลือดได้เป็นอย่างดี ช่วยให้ไม่เป็นโรคเบาหวาน เพิ่มหรือเสริมคอเลสเตอรอลชนิดดี (HDL) ที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย ระบบขับถ่ายสามารถทำงานได้เป็นอย่างดี ป้องกันมะเร็งลำไส้ที่มีสาเหตุมาจากระบบขับถ่ายไม่ดี อย่างไรก็ตามจมูกข้าวหากนำมาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ได้หลากหลาย เช่น จมูกข้าวอบกรอบ จะสามารถช่วยเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ได้

 

การทำจมูกข้าวอบกรอบ

ส่วนผสม

ข้าวกล้องหุงสุก            

จมูกข้าว                     100     กรัม

ฟักทองนึ่งสุก               100    กรัม

แป้งสาลีอเนกประสงค์     30      กรัม

(กระเทียม                   30       กรัม

พริกไทยป่น                 20       กรัม

เกลือปั่นละเอียด            5         กรัม

น้ำตาลทราย                15       กรัม) อาจใช้จำเป็นต้องใช้หากต้องการรสธรรมชาติ โดยหากได้เป็นแผ่นกรอบแล้วสามารถโรยคาราเมล เคลือบนมเนย หรืออื่นๆ ได้

น้ำร้อน                      100     กรัม

น้ำมันสำหรับทอด

          อุปกรณ์ที่จำเป็น

          หม้อหุงข้าว ชามผสม พิมพ์เกลี่ยแผ่นแป้ง ตู้อบหรือแสงแดด กระทะ เตาแก๊ส ทัพพีทอด ทัพพี่คน

วิธีทำ

1, นำจมูกข้าวไปหุงให้สุก

2. เตรียมชามผสม ใส่จมูกข้าว ฟักทอง แป้งสาลีอเนกประสงค์ น้ำตาลทราย เกลือ พริกไทย คนให้เข้ากัน นำไปขึ้นรูปตามใจชอบ แล้วนำไปอบให้แห้งจะได้แผ่นจมูกข้าวดิบ

3. ตั้งกระทะ ใส่น้ำมันจนท่วม วอร์มน้ำมันให้ร้อนได้ที่ จนมีฟองฟู่ขึ้นมาเมื่อใช้ตะเกียบจิ้มลงไป แล้วใส่แผ่นจมูกข้าว ทอดจนขึ้นฟู กรอบสวยงามได้ที่แล้ว ให้ตักขึ้น พักให้สะเด็ด

          บรรจุภัณฑ์:ควรเป็นถาดรองสี่เหลี่ยมผืนผ้าและบรรจุในซองซิป หรือเป็นซองและกล่องแบบชีตพาย

สรุปผลการทำงาน: ทดลองผลิตต้นแบบผลิตภัณฑ์และบรรจุในภาชนะบรรจุเพื่อให้เห็นต้นแบบผลิตภัณฑ์ตามคำปรึกษา เพื่อเป็นต้นแบบผลิตภัณฑ์ในการจัดจำหน่าย



รายงานโดย นางสาวอิสราภรณ์ ใบวุฒิ วันที่รายงาน 22/01/2567 [16074]
7600 4
1 [16069]

กลุ่ม/ชุมชน/ผู้ประกอบการ : เจ๊เฉลียวปลาสด(คุณแวน)

ที่อยู่:   8/1หมู่ 1 ต. กง อ.กงไกลาศ จ.สุโขทัย

เบอร์ติดต่อ: .0831629496

ผลิตภัณฑ์ปลาทับทิม

ปัญหาและความต้องการ :

1. ต้องการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ที่สามารถรับประทานได้ทันที เช่น ผลิตภัณฑ์ปลาทับทิมผงโรยข้าวสำหรับเด็ก

การให้คำปรึกษา และข้อมูล :

การพัฒนาผลิตภัณฑ์ปลาทับทิมสำหรับโรยข้าว หรือการทำฟุริคาเกะ สามารถพัฒนาเป็นนวัตกรรมผลิตใหม่ โดยนำตัวปลามาผ่านการทำให้สุกด้วยการนึ่ง อบ หรือย่าง และผสมกับเครื่องปรุงรสที่ประกอบด้วยซอสถั่วเหลือง น้ำตาลทราย เกลือ และอาจตามด้วยงาขาว งาดำ สาหร่าย ไข่ขาวอบแห้ง ไข่แดงอบแห้ง หรือผงผัก ทำการผสมให้เข้ากัน จากนั้นอาศัยกระบวนการทำงาน (ใช้เทคโนโลยีการอบแห้งด้วยการควบคุมอุณหภูมิการให้ความร้อนไม่เกิน 70องศาเซลเซียสโดยใช้กระทะธรรมดา หรือหากต้องการคุณภาพที่ดีคือการใช้ตู้อบ (hot air oven) ควบคุมอุณหภูมิการอบที่ 55องศาเซลเซียส เป็นเวลา 5ชั่วโมงหรือจนกว่าจะแห้ง) จากนั้นควรทำการบรรจุในบรรจุภัณฑ์ที่สามารถป้องกันความชื้นกลับคืนสู่ผลิตภัณฑ์ทันที โดยบรรจุภัณฑ์ที่ใช้สามารถใช้เป็นแบบซองฟอยล์อลูมิเนียม หรือขวดแก้วปิดฝาสนิท หรือกระป๋องพลาสติกแบบฝาดึง

 

สูตรส่วนผสม

ส่วนผสมA      น้ำเชื่อม

  1. ซี้อิ้วขาวเห็ดหอม               200     กรัม
  2. น้ำตาลทราย                     370    กรัม
  3. น้ำเปล่า                           50       กรัม
  4. น้ำมะนาว                        100     กรัม
  5. เกลือ                              70       กรัม

การเตรียมปลาทับทิม  เอาปลามาแช่น้ำเกลือ 4 เปอร์เซ็นต์ ที่ใช้น้ำเปล่า 9 ส่วนต่อน้ำใบเตย 1 ส่วน หมัก 3 ชั่วโมง แล้วนำมาอบให้สุกด้วยเตาอบ 180องศาเป็นเวลา 45นาที จากนั้นนำเนื้อปลามาขยี้ให้ละเอียด ชั่งปลาให้ได้ 500กรัมผสมกับเกลือ 20กรัม ให้เข้ากัน แล้วนำไปคั่วจนแห้งจะได้ปลาเกือบกรอบไว้สำหรับทำเป็นส่วนผสมผงโรยข้าว

ส่วนผสม B       ผงโรยข้าวปลาทับทิม

  1. ปลาทับทิม                       100     กรัม (หรือจะใช้ปลาอย่างเดียวก้ได้ 600กรัม)
  2. งาขาว                             250     กรัม
  3. งาดำ                              250     กรัม
  4. สาหร่ายเส้น                      6         กรัม

หมายเหตุ : สูตรนี้ใช้น้ำปรุงรส 250 กรัม

อุปกรณ์ที่จำเป็น

  1. ตู้อบแห้ง
  2. กระทะสำหรับคั่วงา
  3. เตาแก๊ส
  4. ทัพพี
  5. หม้อต้มน้ำปรุง

 

วิธีการทำผงโรยข้าวเบื้องต้น

          นำส่วนผสมAและ B ผสมให้เข้ากัน จากนั้นนำไปคั่วจนแห้ง หรือนำเข้าตู้ทับ เมื่อแห้งสนิททิ้งให้เย็น แล้วบรรจุทันทีในภาชนะปิดสนิท

บรรจุภัณฑ์:แนะนำให้บรรจุในซองอลูมิเนียมฟอยล์ขนาด 4x6นิ้ว ขนาดบรรจุไม่เกิน 30กรัม เพื่อให้รับประทานได้หมดภายใน 1 มื้อ

สรุปผลการทำงาน: ผู้ประกอบการสามารถนำเอาองค์ความรู้ที่ได้จากการให้คำปรึกษาไปทดลองผลิตสินค้าตัวใหม่ขององค์กร เพื่อจัดทำต้นแบบนำไปทดลองจัดจำหน่ายต่อไป

รายชื่อคณะทำงาน:

1. ผศ.ดร.น้ำทิพย์ วงษ์ประทีป

2. นางสาวอิสราภรณ์ ใบวุฒิ



รายงานโดย นางสาวอิสราภรณ์ ใบวุฒิ วันที่รายงาน 22/01/2567 [16069]
7070 3
1 [16068]

กลุ่ม/ชุมชน/ผู้ประกอบการ : เคียวชิซังฟาร์ม(แก๊บ)

ที่อยู่:   35/4หมู่ 4 ต. ป่าแฝกอ.กงไกลาศ จ.สุโขทัย

เบอร์ติดต่อ: .063-731-9364

ผลิตภัณฑ์ไซรัปมะม่วง

ปัญหาและความต้องการ :

1. ต้องการพัฒนายกระดับและพัฒนาผลิตภัณฑ์มะม่วงสำหรับกลุ่มเป้าหมายวัยรุ่น เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม

การให้คำปรึกษา และข้อมูล :

จากต้นทุนวัตถุดิบของผู้ประกอบการ สามารถนำมาพัฒนาผลิตภัณฑ์ได้หลากหลายรูปแบบ แต่จากบริบทของกลุ่มที่มีอุปกรณ์และเครื่องมือในการผลิตจึงแนะนำและให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการผลิตเจลลี่มะม่วงภายใต้บรรจุภัณฑ์รูปทรงสี่เหลี่ยมและมีฝาจุกปิดสนิทที่สามารถพกพาได้ โดยการผลิตจะเริ่มจากการนำมะม่วงที่เป็นไซรับมะม่วง 30กรัม ผสมกับน้ำ 70กรัม ผสมให้เข้ากัน จากนั้นเติมผงบุกและคาราจีแนน ปริมาณ 0.35กรัม ทิ้งไว้ 5 นาที ให้ความร้อน 90 องศาเซลเซียสนาน 10นาที แล้วนำบรรจุใส่ถุง ปิดให้สนิท และแช่ในน้ำเย็นทันที ซึ่งผลิตภัณฑ์ที่ได้มีลักษณะหอมกลิ่นมะม่วงเล็กน้อย สามารถปรับปรุงกลิ่น เพิ่มขึ้น โดยการเติมกลิ่นเล็กน้อย ผลิตภัณฑ์จะมีเนื้อสัมผัสเป็นวุ้นและเจลที่อ่อน ดังนั้นบรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสมจะเป็นลักษณะที่บรรจุถุงที่มีฝาปิดขนาด 0.86เซนติเมตร แต่ถ้าใช้บรรจุภัณฑ์ที่เป็นแบบถ้วยตักต้องเพิ่มปริมาณของสารก่อเจล เป็น 1กรัม เพื่อให้เจลมีความแข็งและใช้ช้อนตักรับประทานได้โดยเนื้อเจลมีความคงตัว

 

สรุปผลการทำงาน: ส่งต่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์ต้นแบบาผลิตภัณฑ์ในงบประมาณมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม หรือ คูปองวิทย์เพื่อโอทอป

รายชื่อคณะทำงาน:

1. ผศ.ดร.น้ำทิพย์ วงษ์ประทีป

2. นางสาวอิสราภรณ์ ใบวุฒิ



รายงานโดย นางสาวอิสราภรณ์ ใบวุฒิ วันที่รายงาน 22/01/2567 [16068]
2930 3
2 [16081]

กลุ่ม/ชุมชน/ชื่อผู้ประกอบการ : วิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์วิถีสุโขทัยตำบลปากน้ำ

                                        (นายศุภกฤษณ์   ซับซ้อน)

ที่อยู่:   บ้านเลขที่9      หมู่   6    ต.ปากน้ำ        อ.สวรรคโลก      จ.สุโขทัย

เบอร์ติดต่อ:  061-7959899

ผลิตภัณฑ์แปรรูปผลโกโก้

ปัญหาและความต้องการ :

ต้องการแปรรูปผลผลิตโกโก้ให้เป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ และให้สามารถถูกนำไปใช้สร้างมูลค่าเพิ่มได้ ภายใต้บริบทของสถานประกอบการ

 

การให้คำปรึกษา และข้อมูล :

ผลิตภัณฑ์โกโก้ของทางกลุ่มเป็นเมล็ดโกโก้ที่ผานกระบวนการหมักพร้อมทำเป็นผงละเอียดได้ ควรนำมาประยุกต์ใช้ร่วมกับผลิตภัณฑ์อื่น เช่น เมล็ดมะม่วงหิมพานต์ ข้าว ลูกเดือย เป็นการนำผงโกโก้มาเคลือบ หรือนำมาเป็นส่วนผสมของไส้ที่นำมาประกอบกับผลไม้กรอบ เช่น กล้วยทอดกรอบ เผือก หรือมัน เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ทางผู้ประกอบการควรมีการผลิตสินค้าภายใต้สถานที่ผลิตที่ได้มาตรฐานด้วย โดยการทำเป็นส่วนผสมที่เด่นชัด กลิ่น รสชาติ ของโกโก้ต้องมีความโดดเด่น เบื้องต้นให้คำปรึกษาเกี่ยวกับทดลองทำต้นแบบเป็นข้าวป๊อบเคลือบหรือรสโกโก้ ที่มีลักษณะกรอบ

 

สรุปผลการทำงาน: คณะทำงานคลินิกเทคโนโลยีจะได้ประสานนักวิจัยเชื่อมโยงกับผู้ประกอบการเพื่อแก้ไขปัญหาเชิงลึก ผ่านโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์สินค้าชุมชน (ตามแนวทางคูปองวิทย์เพื่อโอทอป) ประจำปีงบประมาณ 2567ต่อไป เนื่องจากเป็นผู้ประกอบการสินค้า OTOP และมีการจัดทำต้นแบบผลิตภัณฑ์เพื่อทดสอบความต้องการของตลาด



รายงานโดย นางสาวอิสราภรณ์ ใบวุฒิ วันที่รายงาน 22/01/2567 [16081]
8000 5