2567 โครงการให้บริการคำปรึกษาและข้อมูลทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คลินิกเทคโนโลยีเครือข่าย 0
ผล ผลผลิตที่ได้จากการดำเนินโครงการ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 โครงการให้บริการคำปรึกษาและข้อมูลทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คลินิกเทคโนโลยี เครือข่าย นครราชสีมา ได้ดำเนินโครงการทั้งสิ้น 2 กิจกรรมคือ กิจกรรมการให้บริการคำปรึกษาและข้อมูลเทคโนโลยีและการประสานงานเครือข่าย อววน. ในพื้นที่และหน่วยงานในจังหวัด มีผู้รับบริการทั้งสิ้น 407 คน แบ่งเป็น ผู้รับบริการคำปรึกษาทางเทคโนโลยี จำนวน 128 คน และผู้รับบริการข้อมูลเทคโนโลยี 279 คน ผู้รับบริการมีความพึงพอใจ ร้อยละ 80 โดยได้มีข้อมูลเทคโนโลยีพร้อมถ่ายทอด ในด้านต่าง ๆ ดังนี้ 1. เทคโนโลยีการออกแบบบรรจุภัณฑ์ 2. เทคโนโลยีพลังงานทดแทน 3. เทคโนโลยีการเกษตรสมัยใหม่ 4. การอารักขาพืช/การจัดการศัตรูพืชแบบปลอดภัย 5. การแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร/การทำมาตรฐาน 6. เทคโนโลยีการบริหารจัดการการตลาดสมัยใหม่ 7.เทคโนโลยีการบริหารจัดการสมัยใหม่
ผล ผลลัพธ์ที่ได้ จากการนำเทคโนโลยีการเกษตรสมัยใหม่ และ เทคโนโลยีพลังงานทดแทน ด้านเกษตรอัจฉริยะ (Smart Farm) ไปถ่ายทอดให้กับกลุ่มเกษตรกร จำนวน 3 กลุ่ม พบว่าผู้รับการถ่ายทอดสามารถนำไปปรับใช้ในการประกอบอาชีพได้ เช่น การบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ การนำพลังงานแสงอาทิตย์มาใช้ทดแทนพลังงานไฟฟ้า รวมถึงการเตรียมความพร้อมในเป็นต้นแบบเพื่อถ่ายทอดความรู้ในอนาคต เช่น ในเกษตรกรผู้ปลูกเห็ด ปริมาณผลผลิตก่อนใช้ระบบ เก็บผลผลิตเฉลี่ย 10 กิโลกรัม/วัน หลังจากนำเทคโนโลยีไปใช้ สามารถเก็บผลผลิตเฉลี่ย 15 กิโลกรัม/วัน รายได้จากการจำหน่ายเพิ่มขึ้น 300 บาท/วัน (ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 60 บาท) และจากการนำระบบควบคุมอุณหภูมิและการบริหารจัดการน้ำไปใช้ ทำให้เกษตรกรสามารถควบคุมปริมาณน้ำที่เหมาะสมกับอุณหภูมิลดระยเวลาในการให้น้ำ สามารถลดระยะเวลาในการทำงาน
ผล ผลกระทบที่เกิดขึ้น ผู้รับการถ่ายทอดที่นำเทคโนโลยีไปใช้ สามารถช่วยลดต้นทุนการผลิต โดยปริมาณน้ำที่ใช้ลดลงจากเดิม จากการใช้ระบบเกษตรอัจฉริยะในการบริหารจัดการน้ำ และปริมาณการใช้ไฟฟ้าจากเดิมก็ลดลงจากมีการใช้พลังงานแสงอาทิตย์ทดแทน สามารถลดระยะเวลาในการทำงาน เช่น ในเกษตรกรผู้ปลูกเห็ด จากการนำระบบควบคุมอุณหภูมิและการบริหารจัดการน้ำไปใช้ ทำให้เกษตรกรสามารถควบคุมปริมาณน้ำที่เหมาะสมกับอุณหภูมิลดระยเวลาในการให้น้ำ สามารถลดระยะเวลาในการทำงาน
รายงานความก้าวหน้า
ไตรมาส | ผลการดำเนินงาน | งบประมาณที่ใช้ | ผู้รับบริการ |
---|---|---|---|
4 [17458] |
วันที่ 6 - 7 สิงหาคม 2567 คลินิกเทคโนโลยี สถาบันวิจัยและพัฒนา มทร.อีสาน มอบให้นางสาวนันทวันทน์ ดูสันเทียะ และนางสาวจันทร์สุดา เจ็กมะดัน เจ้าหน้าที่คลินิกเทคโนโลยี เข้าร่วมกิจกรรมให้บริการข้อมูลด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ร่วมกับ สถาบันวิจัยและพัฒนา ในงาน SE Market Fair บ่มเพาะวิสาหกิจเพื่อสังคมด้วยการส่งเสริม โดย มทร.อีสาน นครราชสีมา และสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสังคม ณ ลาน Foyer ชั้น 4 ศูนย์การค้าเซ็นทรัลโคราช จังหวัดนครราชสีมา รายงานโดย นางสาวจันทร์สุดา เจ็กมะดัน วันที่รายงาน 18/09/2567 [17458] |
0 | 20 |
4 [17451] |
วันที่ 12 - 13 สิงหาคม 2567 รศ.ดร.ศักดิ์ระวี ระวีกุล ผู้อำนวยการคลินิกเทคโนโลยี สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน ได้มอบหมายให้นางสาวรัตนา ยี่จอหอ และนางสาวจันทร์สุดา เจ็กมะดัน เจ้าหน้าที่คลินิกเทคโนโลยี เข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาศักยภาพครูของกรมส่งเสริมการเรียนรู้ (ครู สกร.) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือด้วยวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) ณ ห้องประชุมมงคลประดู่ ชั้น 3 อาคาร 50 ปี เทคนิคไทย-เยอรมัน คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตขอนแก่น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาศักยภาพบุคลากรของ สกร. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในพื้นที่เป้าหมาย 20 จังหวัด โดยใช้กลไกองค์ความรู้ด้านอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม จากเครือข่าย อว. และสถาบันอุดมศึกษา ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เพื่อเข้าร่วมพัฒนาแผนงานโครงการที่ตอบโจทย์ ความต้องการของพื้นที่และ เกิดหลักสูตรการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาทักษะอาชีพ ตลอดจนเกิดเครือข่าย ความร่วมมือ เกิดแนวทาง การบูรณาการ เพื่อสร้างโมเดลนำร่องการพัฒนาศักยภาพครู สกร. ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งการเข้าร่วมกิจกรรมครั้งนี้ มีเครือข่ายคลินิกเทคโนโลยี ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน (นครราชสีมา, ขอนแก่น, สุรินทร์, สกลนคร) มหาวิทยาลัยราชภัฏ (อุดรธานี, ร้อยเอ็ด, เลย) มหาวิทยาลัยขอนแก่น (หนองคาย) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานีและครูกรมส่งเสริมการเรียนรู้ (ครู สกร.) (จังหวัดเลย หนองบัวลำภู อุดรธานี บึงกาฬ สกลนคร นครพนม หนองคาย มุกดาหาร ขอนแก่น มหาสารคาม ร้อยเอ็ด กาฬสินธุ์ นครราชสีมา ชัยภูมิ สุรินทร์ บุรีรัมย์ อำนาจเจริญ ยโสธร อุบลราชธานี ศรีสะเกษ) รายงานโดย นางสาวจันทร์สุดา เจ็กมะดัน วันที่รายงาน 18/09/2567 [17451] |
5760 | 2 |
4 [17362] |
วันพฤหัสบดีที่ 5 กันยายน 2567 งานคลินิกเทคโนโลยี มทร.อีสาน นำโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุภาธินี กรสิงห์ อาจารย์สังกัดคณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี และเจ้าหน้าที่งานคลินิกเทคโนโลยี สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน ดำเนินการลงพื้นที่ติดตามและประเมินผล โครงการให้บริการคำปรึกษาและข้อมูลทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คลินิกเทคโนโลยีเครือข่าย (กิจกรรมที่ 4 ติดตามและประเมินผล) ประจำปีงบประมาณ 2567 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อติดตามและประเมินผลการดำเนินโครงการให้มีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล ในเขตพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 3 แห่ง ดังนี้ 1. หมู่บ้านหนองบุญมาก ตำบลแหลมทอง อำเภอหนองบุญมาก จังหวัดนครราชสีมา 2. หมู่บ้านหนองจาน ตำบลขามสะแกแสง อำเภอขามสะแกแสง จังหวัดนครราชสีมา 3. ฟาร์มบ้านเห็ด ตำบลพะเนา อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา
จากการลงพื้นที่ติดตามผลการดำเนินงานโครงการให้บริการคำปรึกษาและข้อมูลทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คลินิกเทคโนโลยีเครือข่าย โดยการสอบถามข้อมูล จากตัวแทนกลุ่มเกษตรกร กลุ่มอาชีพ และกลุ่มผู้ประกอบการ ภายหลังจากการเข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านเกษตรอัจฉริยะของกลุ่มต่างๆ ซึ่งทางกลุ่มสามารถนำองค์ความรู้ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ที่ได้รับการถ่ายทอดด้านเกษตรอัจฉริยะ ไปปรับใช้ได้อย่างเหมาะสมในแต่ละกลุ่ม เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ข้อมูลระหว่างผู้ถ่ายทอดเทคโนโลยีและผู้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยี เพื่อการนำเทคโนโลยีไปปรับใช้ให้เหมาะกับพื้นที่ ทางกลุ่มได้รับข้อเสนอแนะเพิ่มเติมจากผู้ถ่ายทอดเทคโนโลยี ซึ่งจะเป็นประโยชน์แก่กลุ่มต่าง ๆ ในการนำความรู้ที่ได้รับไปพัฒนาต่อยอดให้เกิดประโยชน์ต่อไป รายงานโดย นางสาวจันทร์สุดา เจ็กมะดัน วันที่รายงาน 10/09/2567 [17362] |
2260 | 25 |
4 [17361] |
โครงการคลินิกเทคโนโลยีเครือข่าย ครั้งที่ 4 ร่วมกับจังหวัดและหน่วยงานเครือข่าย มุ่งประชาสัมพันธ์เผยแพร่ และให้ความรู้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนแก่ผู้ประกอบการและกลุ่มอาชีพ ----------------------------------------------- วันอังคารที่ 27 สิงหาคม 2567 รศ.ดร.บัณฑิต กฤตาคม รองอธิการบดีฝ่ายวิจัย พัฒนานวัตกรรม และบริการวิชาการ วิจัยและพัฒนา ดร.ชยกฤต เพชรช่วย รองผู้อำนวยการฝ่ายบริหารงานทั่วไป ผศ.จิรวัฒน์ จันทร์สว่าง รองผู้อำนวยการฝ่ายบริการวิชาการ พร้อมบุคลากรสถาบันวิจัยและพัฒนา จัดโครงการให้บริการคำปรึกษาและข้อมูลทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คลินิกเทคโนโลยีเครือข่าย กิจกรรมที่ 2 ประชาสัมพันธ์ เผยแพร่ และส่งเสริมการนำ วทน. เพิ่มศักยภาพการผลิตและเศรษฐกิจชุมชน ร่วมกับจังหวัดและหน่วยงานเครือข่ายคลินิกเทคโนโลยี ครั้งที่ 4 ณ องค์การบริหารส่วนตำบลด่านขุนทด อำเภอด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมา ได้รับเกียรติจาก นายเส่ง ขั้วสุวรรณ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลด่านขุนทด เป็นประธานกล่าวเปิดโครงการ กิจกรรมนี้มุ่งเน้นการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชน โดยมีการให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการออกแบบบรรจุภัณฑ์ การพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์ การสร้างแบรนด์และช่องทางการจัดจำหน่าย เพื่อเพิ่มมูลค่าและรายได้ให้กับชุมชน รวมถึงการสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดตั้งวิสาหกิจเพื่อสังคม รายงานโดย นางสาวจันทร์สุดา เจ็กมะดัน วันที่รายงาน 10/09/2567 [17361] |
71870 | 53 |
4 [17191] |
คลินิกเทคโนโลยี มทร.อีสาน ร่วมงานประชุมเครือข่ายส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม --------------------------------------------- วันพฤหัสบดีที่ 25 กรกฎาคม 2567 รศ.ดร.ศักดิ์ระวี ระวีกุล ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา มอบ นางสาวกชพร บุญเทียมทัด หัวหน้าสำนักงานผู้อำนวยการ พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่คลินิกเทคโนโลยี มทร.อีสาน เข้าร่วมงานประชุมเครือข่ายส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (Science Research and Innovation (SRI) Network Townhall) ภายใต้งานอว.แฟร์ : SCI POWER FOR FUTURE THAILAND ณ ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ กรุงเทพมหานคร โอกาสนี้ ผศ.ดร.หริส ประสารฉ่ำ ผู้ช่วยอธิการบดี มทร.อีสาน วิทยาเขตขอนแก่น เป็นผู้แทนมหาวิทยาลัยฯ เข้ารับโล่ SRI ENGAGEMENT NETWORK ทั้งนี้ได้รับเกียรติจาก นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ศ.ดร.ศุภชัย ปทุมนากุล รองปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และนายเอกพงศ์ มุสิกะเจริญ ผู้อำนวยการกองส่งเสริมและประสานเพื่อประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ร่วมบันทึกภาพ รายงานโดย นางสาวจันทร์สุดา เจ็กมะดัน วันที่รายงาน 08/08/2567 [17191] |
8720 | 3 |
4 [17165] |
งานคลินิกเทคโนโลยี สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน เข้าร่วมกิจกรรม Road Show เผยแพร่องค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ในวันอังคารที่ 23 กรกฎาคม 2567 ณ ศาลาประชาคมบ้านหนองตะลุมปุ๊กใหม่พัฒนา อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา ซึ่งสถาบันวิจัยและพัฒนา นำโดย รศ.ดร.บัณฑิต กฤตาคม รองอธิการบดีฝ่ายวิจัย พัฒนานวัตกรรม และบริการวิชาการ พร้อมด้วยคณะผู้บริหารสถาบันวิจัยและพัฒนา และอาจารย์ในสังกัดมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน จัดกิจกรรมนี้ขึ้น เพื่อเผยแพร่งานด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม แก่หน่วยงานภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ เอกชน วิสาหกิจชุมชน เกษตรกร และประชาชนทั่วไป ได้นำองค์ความรู้ เทคโนโลยีและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ ตลอดจนการให้บริการคำปรึกษาและข้อมูลเทคโนโลยีทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา ในการจัดกิจกรรมครั้งนี้ได้รับเกียรติจากวิทยากรที่มีความเชี่ยวชาญ จำนวน 10 ท่าน ดังนี้
1. คุณธรรศนรินทร์ แก้วสัจจาวัฒนา
2. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุภาธิณี กรสิงห์
3. ผู้ช่วยศาสตราจารย์จิรายุส วรรัตน์โภคา
4. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชมภูนุช ฆ้องลา
5. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อโนทัย วิงสระน้อย
6. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปาริชาติ กินรี
7. ดร.เครือวัลย์ มาลาศรี
8. ดร.ปนัดดา จันทะกล
9. ดร.สิริกานต์ ไชยสิทธิ์
10. ดร.นันทิยา ณ หนองคาย
รายงานโดย นางสาวจันทร์สุดา เจ็กมะดัน วันที่รายงาน 24/07/2567 [17165] |
0 | 35 |
4 [17164] |
งานคลินิกเทคโนโลยี สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน เข้าร่วมงาน โครงการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการสู่ยุค 4.0 ของสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดนครราชสีมา ระหว่างวันที่ 16 -17 กรกฎาคม 2567 ณ โรงแรมปัญจดารา จังหวัดนครราชสีมา ในการจัดงานครั้งนี้ มหาวิทยาลัยฯ ได้รับความอนุเคราะห์จาก นางสาวพุทธิมาลย์ เชียรพิมาย ตำแหน่ง พัฒนาการจังหวัดนครราชสีมา สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดนครราชสีมา และนางจำเรียง มณีพินิจ ตำแหน่ง ผู้อำนวยการกลุ่มงานส่งเสริมการพัฒนาชุมชน ให้ทางมหาวิทยาลัยฯ นำผลงานของคลินิกเทคโนโลยีเข้าร่วมให้คำปรึกษาเกี่ยวกับข้อมูลด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแก่ประชาชน สำหรับนำไปใช้ประโยชน์ในการประกอบอาชีพ โดยมีผู้ให้บริการข้อมูลทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ดังนี้
1. ผู้ช่วยศาสตราจารย์จิรวัฒน์ จันทร์สว่าง ตำแหน่ง รองผู้อำนวยการฝ่ายบริการวิชาการ
2. ดร.ชยกฤต เพชรช่วย ตำแหน่ง รองผู้อำนวยการฝ่ายบริหารงานทั่วไป
3. นางสาวรัตนา ยี่จอหอ ตำแหน่ง นักวิชาการศึกษา
4. นางสาวนันทวันทน์ ดูสันเทียะ ตำแหน่ง นักวิชาการศึกษา
5. นางสาวจันทร์สุดา เจ็กมะดัน ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป
รายงานโดย นางสาวจันทร์สุดา เจ็กมะดัน วันที่รายงาน 24/07/2567 [17164] |
0 | 34 |
4 [17163] |
คลินิกเทคโนโลยี จัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านเกษตรอัจฉริยะสำหรับกลุ่มประชาชนทั่วไป
-------------------------------------------------------
วันศุกร์ที่ 12 กรกฎาคม 2567 คลินิกเทคโนโลยี มทร.อีสาน จัดโครงการให้บริการคำปรึกษาและข้อมูลทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คลินิกเทคโนโลยีเครือข่าย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 อบรมเชิงปฏิบัติการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านเกษตรอัจฉริยะสำหรับกลุ่มประชาชนทั่วไป
ณ อำเภอหนองบุญมาก จังหวัดนครราชสีมา
โครงการนี้ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม เพื่อส่งเสริมการนำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม มาเพิ่มศักยภาพการผลิตและเศรษฐกิจชุมชน
ภายในงานได้มีการเชิญวิทยากรที่มีความเชี่ยวชาญในด้านการออกแบบและสร้างระบบควบคุมอัจฉริยะ ระบบ IoT Smart farm และ Smart Home มาร่วมถ่ายทอดองค์ความรู้แก่ผู้เข้าร่วมโครงการ ได้แก่:
• ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุภาธิณี กรสิงห์ ผู้ช่วยคณบดี คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี
• คุณสุทธินันท์ ชั้นกลาง ผู้จัดการฝ่ายวิจัยและพัฒนา บริษัท ออโตเมชัน ไมโคร ดีไซน์จำกัด
โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อเผยแพร่งานด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม แก่หน่วยงานภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ เอกชนวิสาหกิจชุมชน เกษตรกร และประชาชนทั่วไป ได้นำองค์ความรู้ เทคโนโลยีและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ตลอดจนการให้บริการคำปรึกษาและข้อมูลเทคโนโลยีทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา
รายงานโดย นางสาวจันทร์สุดา เจ็กมะดัน วันที่รายงาน 23/07/2567 [17163] |
12860 | 34 |
4 [17162] |
ในวันพฤหัสบดีที่ 20 มิถุนายน 2567 คลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน นำโดยนางสาว นันทวันทน์ ดูสันเทียะ และนางสาวรัตนา ยี่จอหอ เจ้าหน้าที่คลินิกเทคโนโลยี ได้ออกหน่วยเคลื่อนที่ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ และภาคเอกชน “ภายใต้โครงการสร้างเสริมความจงรักภักดีต่อสถาบัน บำบัดทุกข์ บำรุงสุข สร้างรอยยิ้มให้ประชาชน” ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ของจังหวัดนครราชสีมา เพื่อให้คำปรึกษาเกี่ยวกับข้อมูลด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแก่ประชาชน สำหรับนำไปใช้ประโยชน์ในการประกอบอาชีพ ณ วัดบ้านกล้วย บ้านกล้วย หมู่ที่ 17 ตำบลดงใหญ่ อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา ผลงานที่เข้าร่วมจัดนิทรรศการวิชาการ ผลงานวิจัย เทคโนโลยี นวัตกรรมด้านการเกษตร การสร้างระบบควบคุมการบริหารจัดการน้ำในแปลงเกษตร ด้วยระบบ loT "ตู้ควบคุมอัจฉริยะ" ของ ผศ.สุภาธิณี กรสิงห์ คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี รายงานโดย นางสาวจันทร์สุดา เจ็กมะดัน วันที่รายงาน 23/07/2567 [17162] |
992 | 7 |
3 [17061] |
คลินิกเทคโนโลยี จัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านเกษตรอัจฉริยะสำหรับกลุ่มเกษตรกรไร่อ้อย
----------------------------------------
วันพุธที่ 26 มิถุนายน 2567 คลินิกเทคโนโลยี มทร.อีสาน จัดโครงการให้บริการคำปรึกษาและข้อมูลทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คลินิกเทคโนโลยี เครือข่าย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 อบรมเชิงปฏิบัติการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านเกษตรอัจฉริยะสำหรับกลุ่มเกษตรกรไร่อ้อย
ณ โรงเรียนขามสะแกแสง ตำบลขามสะแกแสง อำเภอขามสะแกแสง จังหวัดนครราชสีมา
โครงการนี้ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม เพื่อส่งเสริมการนำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม มาเพิ่มศักยภาพการผลิตและเศรษฐกิจชุมชน
ภายในงานได้มีการเชิญวิทยากรที่มีความเชี่ยวชาญในด้านการออกแบบและสร้างระบบควบคุมอัจฉริยะ ระบบ IoT Smart farm และ Smart Home มาร่วมถ่ายทอดองค์ความรู้แก่ผู้เข้าร่วมโครงการ ได้แก่:
• ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุภาธิณี กรสิงห์ ผู้ช่วยคณบดี คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี
• คุณสุทธินันท์ ชั้นกลาง ผู้จัดการฝ่ายวิจัยและพัฒนา บริษัท ออโตเมชัน ไมโคร ดีไซน์จำกัด
• คุณไพสาน พิมพ์ภักดี
โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อเผยแพร่งานด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม แก่หน่วยงานภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ เอกชน วิสาหกิจชุมชน เกษตรกร และประชาชนทั่วไป ได้นำองค์ความรู้ เทคโนโลยีและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ตลอดจนการให้บริการคำปรึกษาและข้อมูลเทคโนโลยีทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา
รายงานโดย นางสาวจันทร์สุดา เจ็กมะดัน วันที่รายงาน 05/07/2567 [17061] |
14260 | 50 |
3 [17057] |
โครงการให้บริการคำปรึกษาและข้อมูลทางด้าน
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คลินิกเทคโนโลยีเครือข่าย
-----------------------------------
วันอังคารที่ 25 มิถุนายน 2567 คลินิกเทคโนโลยี มทร.อีสาน จัดโครงการให้บริการคำปรึกษาและข้อมูลทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คลินิกเทคโนโลยีเครือข่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567
ณ ฟาร์มเห็ด ตำบลพะเนา อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา
โดยได้รับเกียรติจาก รศ.ดร.บัณฑิต กฤษดาคม รองอธิการบดีฝ่ายวิจัย พัฒนา นวัตกรรม และบริการวิชาการ เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการ
โครงการนี้ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม เพื่อส่งเสริมการนำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม มาเพิ่มศักยภาพการผลิตและเศรษฐกิจชุมชน
ภายในงานได้มีการเชิญวิทยากรที่มีความเชี่ยวชาญในด้านการออกแบบและสร้างระบบควบคุมอัจฉริยะ ระบบ IoT Smart farm และ Smart Home มาร่วมถ่ายทอดองค์ความรู้แก่ผู้เข้าร่วมโครงการ ได้แก่:
• ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุภาธิณี กรสิงห์ ผู้ช่วยคณบดี คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี
• คุณสุทธินันท์ ชั้นกลาง ผู้จัดการฝ่ายวิจัยและพัฒนา บริษัท ออโตเมชัน ไมโคร ดีไซน์จำกัด
• คุณไพสาน พิมพ์ภักดี
กิจกรรมนี้มีเป้าหมายหลักในการเผยแพร่ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมแก่หน่วยงานภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ เอกชน วิสาหกิจชุมชน เกษตรกร และประชาชนทั่วไป ให้สามารถนำองค์ความรู้และเทคโนโลยีไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาการผลิตและเศรษฐกิจในท้องถิ่นได้อย่างยั่งยืน
รายงานโดย นางสาวจันทร์สุดา เจ็กมะดัน วันที่รายงาน 05/07/2567 [17057] |
98420 | 44 |
3 [17066] |
คลินิกเทคโนโลยี มทร.อีสาน เข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการ "การทบทวนแผนปฏิบัติการขับเคลื่อนและส่งเสริมการใช้ประโยชน์งานด้าน ววน. ในระดับภูมิภาค"
---------------------------------------------
คลินิกเทคโนโลยี มทร.อีสาน นำโดย ผศ.จิรวัฒน์ จันทร์สว่าง รองผู้อำนวยการฝ่ายบริการวิชาการ พร้อมด้วย นางสาวรัตนา ยี่จอหอ บุคคลากรสถาบันวิจัยและพัฒนา เข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่อง การทบทวนแผนปฏิบัติการขับเคลื่อนและส่งเสริมการใช้ประโยชน์งานด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ในระดับภูมิภาค ระหว่างวันที่ 30 มิถุนายน - 1 กรกฎาคม 2567 ณ อาคารอำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดขอนแก่น ภายใต้กิจกรรมส่งเสริมการนำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อเพิ่มศักยภาพการผลิตและเศรษฐกิจชุมชน ประจำปีงบประมาณ 2567
รายงานโดย นางสาวจันทร์สุดา เจ็กมะดัน วันที่รายงาน 05/07/2567 [17066] |
1688 | 2 |
3 [16790] |
วันพุธที่ 5 มิถุนายน 2567คลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน นครราชสีมา ร่วมกับ ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุภาธิณี กรสิงห์ อาจารย์สังกัดคณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี ดำเนินการลงพื้นที่สำรวจข้อมูลความต้องการและให้บริการ คำปรึกษาและข้อมูลเทคโนโลยี แก่กลุ่มเกษตรกร ณ ตำบลแหลมทอง อำเภอหนองบุญมาก จังหวัดนครราชสีมา ในการลงพื้นที่ครั้งนี้ได้รับเกียรติจาก นายไพสาน พิมพ์ภักดี ประธานกลุ่ม ซึ่งให้การต้อนรับเป็นอย่างดี และมีตัวแทนกลุ่มที่สนใจเข้ารับบริการ คำปรึกษาและข้อมูลเทคโนโลยี จำนวน 4 คน โดยการลงพื้นที่ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจข้อมูลปัญหาและความต้องการของกลุ่ม สรุปได้ดังนี้ ปัญหา 1. ต้องการระบบบริหารจัดการน้ำในไร่มันสำปะหลังเนื่องจากเกษตรกรส่วนใหญ่เริ่มเข้าสู่วัยผู้สูงอายุ 2. ปัจจุบันคนที่ขายอุปกรณ์และระบบควบคุมปั๊มน้ำโดยใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์มีจำนวนมากทำให้กลุ่มทำการตลาดยาก ความต้องการ 1. ตู้ควบคุมระบบน้ำอัตโนมัติสำหรับพื้นที่เกษตรแปลงใหญ่ 2. ตู้ควบคุมอัตโนมัติที่สามารถใช้งานร่วมกับชุดควบคุมปั๊มน้ำโซล่าเซลล์ได้ เพื่อเพิ่มจุดขาย และเป็นทางเลือกให้กับกลุ่มลูกค้ามากขึ้น
1. ณ บ้านหนองจาน หมู่ที่ 11 ตำบลขามสะแกแสง อำเภอขามสะแกแสง จังหวัดนครราชสีมา ในการลงพื้นที่นี้ได้รับเกียรติจาก นางจีรวรรณ ผันกลาง ประธานกลุ่ม ให้การต้อนรับเป็นอย่างดี และมีตัวแทนจากกลุ่มที่สนใจเข้ารับบริการคำปรึกษาและข้อมูลเทคโนโลยี จำนวน 7 คน โดยการลงพื้นที่ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจข้อมูลปัญหาและความต้องการของกลุ่ม โดยสรุปได้ดังนี้ ปัญหา 1. ขาดแคลนระบบการบริหารจัดการน้ำที่นำมาใช้งานร่วมกับระบบโซล่าเซลล์ในการสูบน้ำเข้าแปลงอ้อย 2.ขาดแคลนเทคโนโลยีและองค์ความรู้ต่าง ๆ ด้านเกษตรอัจฉริยะ ความต้องการ 1. ต้องการประยุกต์ใช้ตู้ควบคุมอัตโนมัติสำหรับเกษตรแปลงใหญ่ ในการบริหารจัดการน้ำร่วมกับระบบโซล่าเซลล์ในการสูบน้ำเข้าแปลงอ้อย 2. ต้องการองค์ความรู้ในการประกอบหรือสร้างตู้ควบคุมอัตโนมัติสำหรับเกษตรแปลงใหญ่ เพื่อให้เกิดความยั่งยืนและสามารถขยายผลไปยังแปลงอื่น ๆ ต่อไปได้ 3. ต้องการลดเวลาในการสูบน้ำเข้าแปลงอ้อยจากการเปิดปิดวาล์วด้วยมือ เป็นการควบคุมผ่านระบบ IoT ซึ่งสามารถใช้เวลาในการสร้างรายได้อื่น ๆ
2.ฟาร์มบ้านเห็ดตำบลพะเนา อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา ในการลงพื้นที่นี้ได้รับเกียรติจาก นายทองพูน ในพิมาย ประธานกลุ่ม ให้การต้อนรับเป็นอย่างดี และมีตัวแทนจากกลุ่มที่สนใจเข้ารับบริการคำปรึกษาและข้อมูลเทคโนโลยี จำนวน 4 คน โดยการลงพื้นที่ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจข้อมูลปัญหาและความต้องการของกลุ่ม โดยสรุปได้ดังนี้ ปัญหา 1. ขาดแคลนเทคโนโลยีในการควบคุมความชื้น และระบบพ่นหมอกแบบอัตโนมัติ 2.ขาดองค์ความรู้ต่าง ๆ ด้านเกษตรอัจฉริยะ ความต้องการ 1.ต้องการประยุกต์ใช้ตู้ควบคุมอัตโนมัติในการบริหารจัดการน้ำในโรงเรือนเพาะเห็ด 2. ต้องการองค์ความรู้ในการประกอบหรือสร้างตู้ควบคุมอัตโนมัติ เพื่อให้เกิดความยั่งยืนและสามารถขยายผลการทำไปยังแปลงอื่น ๆ ได้ รายงานโดย นางสาวจันทร์สุดา เจ็กมะดัน วันที่รายงาน 11/06/2567 [16790] |
2460 | 15 |
3 [16739] |
ในวันพฤหัสบดีที่ 23 พฤษภาคม 2567 คลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน นำโดยนางสาวนันทวันทน์ ดูสันเทียะ และนางสาวจันทร์สุดา เจ็กมะดัน เจ้าหน้าที่คลินิกเทคโนโลยี ได้ออกหน่วยเคลื่อนที่ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ และภาคเอกชน “ภายใต้โครงการสร้างเสริมความจงรักภักดีต่อสถาบัน บำบัดทุกข์ บำรุงสุข สร้างรอยยิ้มให้ประชาชน” ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ของจังหวัดนครราชสีมา เพื่อให้คำปรึกษาเกี่ยวกับข้อมูลด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแก่ประชาชน สำหรับนำไปใช้ประโยชน์ในการประกอบอาชีพ ณ องค์การบริหารส่วนตำบลทองหลาง บ้านโนนนางฝ้าย หมู่ที่ 2 ตำบลทองหลาง อำเภอจักราช จังหวัดนครราชสีมา
ผลงานที่เข้าร่วมจัดนิทรรศการวิชาการ ผลงานวิจัย เทคโนโลยี นวัตกรรมด้านการเกษตร
การสร้างระบบควบคุมการบริหารจัดการน้ำในแปลงเกษตร ด้วยระบบ loT "ตู้ควบคุมอัจฉริยะ"
ของ ผศ.สุภาธิณี กรสิงห์ คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี
รายงานโดย นางสาวจันทร์สุดา เจ็กมะดัน วันที่รายงาน 29/05/2567 [16739] |
632 | 30 |
3 [16686] |
ในวันพฤหัสบดีที่ 25 เมษายน 2567 คลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน นำโดยนางสาว นันทวันทน์ ดูสันเทียะ และนางสาวจันทร์สุดา เจ็กมะดัน เจ้าหน้าที่คลินิกเทคโนโลยี ได้ออกหน่วยเคลื่อนที่ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ และภาคเอกชน “ภายใต้โครงการสร้างเสริมความจงรักภักดีต่อสถาบัน บำบัดทุกข์ บำรุงสุข สร้างรอยยิ้มให้ประชาชน” ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ของจังหวัดนครราชสีมา เพื่อให้คำปรึกษาเกี่ยวกับข้อมูลด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแก่ประชาชน สำหรับนำไปใช้ประโยชน์ในการประกอบอาชีพ ณ องค์การบริหารส่วนตำบลลำเพียก บ้านลำเพียก หมู่ที่ 1 ตำบลลำเพียก อำเภอครบุรี จังหวัดนครราชสีมา ผลงานที่เข้าร่วมจัดนิทรรศการวิชาการ ผลงานวิจัย เทคโนโลยี นวัตกรรมด้านการเกษตร การสร้างระบบควบคุมการบริหารจัดการน้ำในแปลงเกษตร ด้วยระบบ loT "ตู้ควบคุมอัจฉริยะ" ของ ผศ.สุภาธิณี กรสิงห์ คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี รายงานโดย นางสาวจันทร์สุดา เจ็กมะดัน วันที่รายงาน 30/04/2567 [16686] |
1076 | 32 |
3 [16655] |
งานคลินิกเทคโนโลยี สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน เข้าร่วมจัดงานนิทรรศการวิชาการผลงานวิจัย เทคโนโลยี นวัตกรรมด้านการเกษตร งานเกษตรสุรนารี’67 ระหว่างวันที่ 12 - 21 มกราคม 2567 ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี จังหวัดนครราชสีมา โดยมีเจ้าหน้าที่คลินิกเทคโนโลยี เข้าร่วมให้คำปรึกษาเกี่ยวกับข้อมูลด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแก่ประชาชน สำหรับนำไปใช้ประโยชน์ในการประกอบอาชีพ ประกอบไปด้วยบุคลากรดังรายชื่อต่อไปนี้ วันศุกร์ที่ 12 มกราคม 2567 1.นางศิรินภา ขันติโกมล 2.นางสาวรัตนา ยี่จอหอ วันเสาร์ที่ 13 มกราคม 2567 1.นางอรุณี มณที 2.นางสาวรัตนา ยี่จอหอ วันอาทิตย์ที่ 14 มกราคม 2567 1.นางสาวอุษณีย์ หอมจะบก 2.นางสาวรัตนา ยี่จอหอ วันจันทร์ที่ 15 มกราคม 2567 1.นางสาวนันทวันทน์ ดูสันเทียะ 2.นางสาวรัตนา ยี่จอหอ วันอังคารที่ 16 มกราคม 2567 1.นางศิรินภา ขันติโกมล 2.นางสาวกิติยาวดี เกตุนอก วันพุธที่ 17 มกราคม 2567 1.นางสาวอุษณีย์ หอมจะบก 2.นางสาวอรอุมา เป้าประจำเมือง วันพฤหัสบดีที่ 18 มกราคม 2567 1.นางสาวกิติยาวดี เกตุนอก 2.นางสาวอรอุมา เป้าประจำเมือง วันศุกร์ที่ 19 มกราคม 2567 1.นางสาวนันทวันทน์ ดูสันเทียะ 2.นางสาวรัตนา ยี่จอหอ 3. .นางสาวอรอุมา เป้าประจำเมือง วันเสาร์ที่ 20 มกราคม 2567 1.นางสาวภควรรณ วรรณวัติ 2.นางสาวอุษณีย์ หอมจะบก วันอาทิตย์ที่ 21 มกราคม 2567 1.นางสาวภควรรณ วรรณวัติ 2.นางสาวรัตนา ยี่จอหอ 3.นางสาวอุษณีย์ หอมจะบก ผลงานที่เข้าร่วมจัดนิทรรศการวิชาการ ผลงานวิจัย เทคโนโลยี นวัตกรรมด้านการเกษตร ผลงานที่ 1 - เครื่องดื่มน้ำนมข้าวฮางงอกอินทรีย์ - เครื่องดื่มน้ำนมข้าวกล้องหอมมะลิเพาะงอกเสริมขมิ้นชัน ของ ดร.อภิชัย สาวิสิทธิ์ คณะวิทยาศาสตร์และศิลปศาสตร์ โดยให้บริการคำปรึกษาและข้อมูลทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ดังนี้ - นวัตกรรมการผลิตเครื่องดื่มน้ำนมทางเลือกจากข้าว - เทคโนโลยีการแปรรูปและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม - เทคโนโลยีการฆ่าเชื้อผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มแบบพาสเจอไรซ์ในภาชนะบรรจุปิดสนิท ผลงานที่ 2 การสร้างระบบควบคุมการบริหารจัดการน้ำในแปลงเกษตร ด้วยระบบ loT "ตู้ควบคุมอัจฉริยะ" ของ ผศ.สุภาธิณี กรสิงห์ คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี โดยให้บริการคำปรึกษาและข้อมูลทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ดังนี้ - ความรู้ด้านอุปกรณ์ loT/ไฟฟ้าเบื้องต้น/การบริหารจัดการน้ำ - เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์สมัยใหม่ ผสมผสานกับอุปกรณ์ loT - บอร์ดความคุมอัจฉริยะ รายงานโดย นางสาวจันทร์สุดา เจ็กมะดัน วันที่รายงาน 18/04/2567 [16655] |
0 | 43 |
3 [16656] |
งานคลินิกเทคโนโลยี สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน เข้าร่วมงาน “ฉลองวันแห่งชัยชนะของท้าวสุรนารี”ระหว่างวันที่ 23 มีนาคม - 3 เมษายน 2567 ณ บริเวณลานอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี สนามหน้าศาลากลางจังหวัดนครราชสีมา สวนสุรนารี สวนอนุสรณ์สถานวีรชนคนโคราช และถนนราชดำเนิน อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา นำโดยนางอรุณี มณที และนางสาวจันทร์สุดา เจ็กมะดัน เจ้าหน้าที่คลินิกเทคโนโลยี นำผลงานของคลินิกเทคโนโลยีเข้าร่วมให้คำปรึกษาเกี่ยวกับข้อมูลด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแก่ประชาชน สำหรับนำไปใช้ประโยชน์ในการประกอบอาชีพ ผลงานที่เข้าร่วมจัดนิทรรศการวิชาการ ผลงานวิจัย เทคโนโลยี นวัตกรรมด้านการเกษตร การสร้างระบบควบคุมการบริหารจัดการน้ำในแปลงเกษตร ด้วยระบบ loT "ตู้ควบคุมอัจฉริยะ" ของ ผศ.สุภาธิณี กรสิงห์ คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี โดยให้บริการคำปรึกษาและข้อมูลทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ดังนี้ - ความรู้ด้านอุปกรณ์ loT/ไฟฟ้าเบื้องต้น/การบริหารจัดการน้ำ - เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์สมัยใหม่ ผสมผสานกับอุปกรณ์ loT - บอร์ดความคุมอัจฉริยะ รายงานโดย นางสาวจันทร์สุดา เจ็กมะดัน วันที่รายงาน 18/04/2567 [16656] |
0 | 10 |