2567 ศูนย์บริการให้คำปรึกษาและเผยแพร่ข้อมูลด้านเทคโนโลยี 0
ผล ผลผลิต จำนวนผู้รับบริการคำปรึกษากำหนดไว้ที่ 50 คน ทำได้ 390 คน จำนวนผู้รับบริการข้อมูลเทคโนโลยีกำหนดไว้ที่ 150 คน ทำได้ 1000 คน ร้อยละความพึงพอใจของผู้รับบริการ มากกว่าร้อยละ 80 ทำได้ร้อยละ 98
ผล กลุ่มวิสาหกิจชุมชน กลุ่มเกษตรกร ผู้ประกอบการ และผู้ที่สนใจทั่วไป ผลกระทบทางเศรษฐกิจ ผู้รับบริการสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้จนสามารถช่วยลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ให้กับตัวเองและชุมชน ตัวชี้วัด 1. จำนวนข้อมูลเทคโนโลยีพร้อมถ่ายทอด ไม่น้อยกว่า 20 รายการ 2. จำนวนข้อมูลการบริหารให้คำปรึกษาที่ลงในระบบ ไม่น้อยกว่า 20 รายการ 3. จำนวนข้อมูลผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการพัฒนาด้วย วทน. ไม่น้อยกว่า 20 รายการ 4. จำนวนข้อมูลผู้เชี่ยวชาญในหน่วยงาน ไม่น้อยกว่า 20 รายการ
ผล ผลกระทบทางเศรษฐกิจ ผู้รับบริการสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้จนสามารถช่วยลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ให้กับตัวเองและชุมชน ประมาณ 652500 บาท
รายงานความก้าวหน้า
ไตรมาส | ผลการดำเนินงาน | งบประมาณที่ใช้ | ผู้รับบริการ |
---|---|---|---|
4 [18028] |
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่4 วันที่ 5-6 กรกฎาคม 2567 คลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยขอนแก่น วิทยาเขตหนองคาย นำโดย นาย สุพีระ วรแสน ดร.นิศารัตน์ ทิพยดารา นาง พัชรีพร หงษา ได้รับเกียรติจาก สำนักงานประมงจังหวัดบึงกาฬ ในการอบรมให้ความรู้กับเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการพัฒนาและยกระดับศักยภาพของเกษตรกรด้านการแปรรูปสัตว์น้ำในวันที่ 5-6 กรกฎาคม 2567 ณ.ศูนย์เครือข่ายด้านการประมงของนาย สาคร เดชราช ตำบลพรเจริญ อำเภอพรเจริญ จังหวัดบึงกาฬ ได้รับความสนใจจากเกษตรกรจาก 8 อำเภอรวม 40 คน ท่านประมงอำเภอทั้ง 8 อำเภอ ท่านประมงจังหวัดบึงกาฬ(นายพงศ์เทพ จันทรชิต) รวมทั้งหัวหน้าส่วนราชการ รวมบุคคลเข้าร่วมงานประมาณ 70 คน โดยมีประธานคือท่านผู้ว่าราชการจังหวัดบึงกาฬ (นาย จุมพฏ วรรณฉัตรสิริ)มาร่วมให้เกียรติกล่าวเปิดงานและกล่าวให้โอวาสในงานนี้ด้วย การอบรมเป็นไปด้วยความเรียบร้อย มีการอบรมการแปรรูปปลาเป็นผลิตภัณฑ์ ลูกชิ้นปลา ลูกชิ้นปลาระเบิด ทอดมันปลา แจงลอน การให้ความรู้ในการแล่ปลาชำแหละปลา การทำแบรนด์ การสร้างแบรนด์ การขาย การสร้าง story telling ใช้งบประมาณทั้งสิ้นจำนวน 40,000 บาท วันที่ 11 กรกฎาคม 2567 คลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยขอนแก่น วิทยาเขตหนองคาย นำโดย นาย สุพีระ วรแสน ดร.นิศารัตน์ ทิพยดาราได้รับเกียรติให้เป็นคณะกรรมการการทำประชาพิจาร การสร้างมาตรฐานของไข่ผำ ร่วมกับ กรมประมง มกอช. กรมวิชาการเกษตร การสัมมนาระดมความเห็นต่อร่างมาตรฐานสินค้าเกษตรเรื่องการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับผำหรือไข่น้ำในวันพฤหัสบดีที่11 ก.ค. 2567 เวลา8.30-16.30 น.ณ.จังหวัดอุดรธานีผู้เข้าร่วมกิจกรรมจำนวน 40 คน ใช้งบประมาณทั้งสิ้น 3,250 บาท วันที่12-13กันยายน 2567 คลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยขอนแก่น วิทยาเขตหนองคาย เข้าร่วมกิจกรรมการพัฒนาศักยภาพครูของกรมส่งเสริมการเรียนรู้(ครู สกร.)ภาคตะวันออกเฉียงหนือ ด้วยวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ณ. อาคาร50ปี เทคนิคไทย-เยอรมัน คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตขอนแก่น วันนี้ทำหน้าที่ให้คำปรึกษา ครูสกร.สร้าง One page ในมิติเชิงสังคม เพื่อสร้างความร่วมมือ ในการร่วมงานกันระหว่างหน่วยงานสกร.และอว.ใช้งบประมาณทั้งสิ้น 8,000 บาท รวมใช้งบประมาณ 51,250 บาท มีคนเข้าร่วมโครงการจำนวน 110 คน รายงานโดย นายสุพีระ วรแสน วันที่รายงาน 30/09/2567 [18028] |
51250 | 110 |
3 [17115] |
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่3 วันศุกร์ที่ 26 เมษายน 2567 คณะสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จัดให้มีการอบรม เชิงปฏิบัติการ เรื่อง การถ่ายทอดเทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงไข่ผำและการแปรรูปไข่ผำ ระยะที่ 1 ภายใต้โครงการจัดตั้งศูนย์วิจัยและพัฒนา นวัตกรรมอาหารเพื่ออนาคต คณะสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยขอนแก่นโตบได้รับเกียรติจาก ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืดอุดรธานี โดยท่านผู้อำนวยการ ดร.สมบัติสิงห์สี ให้เกียรติมาเป็นวิทยากรหลักในงาน ร่วมกับดร.นิศารัตน์ทิพยดาราในการให้ความรู้ในการเพาะเลี้ยงผำเบื่องต้นการเพาะเลี้ยงไข่ผำเชิงพาณิชย์ มาตรฐานของไข่ผำ และปิดท้ายด้วยการให้ความรู้จากคลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยขอนแก่น วิทยาเขตหนองคาย โดย นาย สุพีระวรแสน ในการแปรรูปไข่ผำเป็นผลิตภัณฑ์เสันก๋วยจั๊บเวียตนามจากไข่ผำ การแปรรูปลูกชิ้นจากไข่ผำ ได้รับความสนใจจากผู้เข้าร่วมอบรม เช่นตัวแทน YSF{YOUNG SMART FARMER NONG KHAI}ตัวแทนเกษตรกร และผู้สนใจทั่วไป ให้ความสนใจเข้าร่วมอบรมจำนวนทั้งสิ้น 15 คน พร้อมกันนี้ได้มีการจัดตั้งกลุ่มพืชแห่งอนาคต ไข่ผำ ขึ้นเพื่อนำร่องเกษตรกรในจังหวัดหนองคายชังบประมาณจำนวน 25,000 บาท วันที่ 24 พฤษภาคม 2567 คลินิคเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยขอนแก่นวิทยาเขตหนองคาย นำโดยนาย สุพีระวรแสน ลงพื้นที่ร่วมกับองค์กรชุมชนจังหวัดหนองคาย ในพื้นที่ตำบลวัดธาตุ อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย เพื่อให้บริการคำปรึกษาแก่เกษตรกรผู้ปลูกกล้วยน้ำว้าในพื้นที่ เพื่อพัฒนา แปรรูปเป็นกล้วยตาก และการส่งเสริมการขายได้รับความสนใจจากเกษตรกรจำนวน20คนและได้ให้คำปรึกษาใยการแปรรูปผลิตภัณฑ์เนื้อเพิ่มให้เกษครกรใช้งบประมาณจำนวน 10,000 บาท วันที่ 27 พฤษภาคม 2567 เวลา 8.30- 16.30 น. ดร.สมบัติ สิงห์สี ผอ.ศพจ.อุดรธานี, นายเดชา รอดระรัง ประมงจังหวัดอุดรธานี, ร่วมกับตัวแทนจากคลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยขอนแก่น วิทยาเขตหนองคาย คือ อาจารย์สุพีระ วรแสน และดร.นิศารัตน์ ทิพยดารา ดำเนินการฝึกอบรมการพัฒนาศักยภาพการผลิตและการใช้ประโยชน์ไข่น้ำในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ตามแนวทางพัฒนาแบบ BCG แก่เกษตรกรในโครงการ จำนวน 30ราย นอกจากนี้ยังมีเกษตรกรที่สนใจเข้าร่วมสังเกตการณ์, กภ.ดร.อัครานี ทิมินกุล ประธานวิสาหกิจชุมชนหมู่ที่ 5เพื่อพัฒนาการท่องเที่ยว, นักศึกฝึกงานจากมหาวิทยาลัยขอนแก่น และนักศึกษามหาวิทยาลัยมหาสารคาม ณ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืดอุดรธานีใช้งบประมาณจำนวน 25,000 บาท รายงานโดย นายสุพีระ วรแสน วันที่รายงาน 06/07/2567 [17115] |
60000 | 55 |
2 [16422] |
คลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยขอนแก่น วิทยาเขตหนองคาย นำโดย นาย สุพีระ วรแสน และนางพัชรีพร หงษา ได้รับเกียรติจากสำนักงานปฏิรูปที่ดินจังหวัดหนองคาย ในการเป็นวิทยากรอบรมเชิงปฏิบัติการในโครงการส่งเสริมดำเนินงานอันเนื่องมาจากพระราชดำริ กิจกรรมพัฒนาและส่งเสริม ศิลปหัตถกรรม(การแปรรูปอาหาร)ในเขตปฏิรูปที่ดินจังหวัดหนองคาย ประจำปีงบประมาณ 2566 หลักสูตรการแปรรูปอาหารจากกล้วยหอม ในระหว่างวันที่ 24-26 พฤศจิกายน 2566 ณ.กลุ่มวิสาหกิจชุมชนกล้วยหอมทอง ตำบลวังหลวง อำเภอเฝ้าไร่ จังหวัดหนองคาย การอบรมวิทยากรมีการอบรมหลักสูตรการแปรรูปอาหารจากกล้วยหอมทองทั้งหมด 5 หลักสูตรได้แก่ 1.กล้วยหอมทองขยำทอด 2.บ้าบิ่นมะพร้าวอ่อนกล้วยหอมทอง 3.เค้กกล้วยหอมทองสูตรนึ่ง 4.ขนมกล้วยหอมทองนึ่ง 5.แพนเค้กกล้วยหอมสูตรไร้แป้ง ได้รับความสนใจจากตัวแทนเกษตรกรจำนวน 10 คน งบประมาณที่ใช้ไปจำนวน 20,000 บาท วันศุกร์ ที่ 8 มีนาคม 2567 ศพจ.อุดรธานี ร่วมกับ คลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยขอนแก่น วิทยาเขตหนองคาย นำโดยดร.นิศารัตน์ ทิพยดารา และนายสุพีระ วรแสน สังกัดคณะสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และประธานวิสาหกิจชุมชนหมู่ที่ ๕ เพื่อพัฒนาการท่องเที่ยว (ดร.กภ.อัครานี ทิมินกุล) ร่วมต้อนรับเจ้าหน้าที่จากกองแผนงานกรมประมงในการติดตามงาน โครงการพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืน กิจกรรมพัฒนาการประมงด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ณ ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงผำ “วังผำอยู่ดี” บ้านวังบัวเหลือง ตำบลเพ็ญอำเภอเพ็ญ จังหวัดอุดรธานี และ บ่อผำบ้านสวนกลางสระครูหน่อย ที่ให้ความอนุเคราะห์สถานที่ คลินิกเทคโนโลยรับหน้าที่ในการมอบความรู้ในด้านการถ่ายทอดเทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงไข่ผำและการแปรรูปต่อยอดผลิตภัณฑ์จากไข่ผำเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆผู้สนใจเข้าร่วมกิจกรรมจำนวน 15 คน งบประมาณที่ใช้ไปจำนวน 5,000 บาท วันพุธที่13 มีนาคม 2567 คลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยขอนแก่น วิทยาเขตหนองคาย นำโดย นายสุพีระ วรแสน ดร.นิศารัตน์ ทิพยดารา และนาง พัชรีพร หงษา ได้รับเกียรติจาก สำนักงานปฏิรูปที่ดินจังหวัดหนองคาย ในการเป็นวิทยากรบรรยายเชิงปฏิบัติการในโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี ในการให้ความรู้ ในการสาธิตการแปรรูปผลิตภัณฑ์ในโครงการ(มะนาวและมะกรูด) เป็นน้ำยาล้างจานและสบู่จากน้ำมะนาว ได้รับความสนใจจากนักเรียนโรงเรียนรสลินคัคณางค์ ตำบลเฝ้าไร่ อำเภอเฝ้าไร่ จังหวัดหนองคาย ผู้เข้าอบรมทั้งสิ้น 40 คน ใช้งบประมาณไปรวม20,000 บาท วันศุกร์ที่15 มีนาคม 2567 คลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยขอนแก่น วิทยาเขตหนองคาย นำโดย นายสุพีระ วรแสนและนาง พัชรีพร หงษา ได้รับเกียรติจาก สำนักงานปฏิรูปที่ดินจังหวัดหนองคาย ในการเป็นวิทยากรบรรยายเชิงปฏิบัติการในโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี ในการให้ความรู้ ในการสาธิตการแปรรูปผลิตภัณฑ์ในโครงการ(มะกรูด) เป็นน้ำยาล้างจานการแปรรูปใบเตยเป็นสบู่ ได้รับความสนใจจากนักเรียนโรงเรียนบ้านจับไม้ ตำบลเฝ้าไร่ อำเภอเฝ้าไร่ จังหวัดหนองคาย ผู้เข้าอบรมทั้งสิ้น 40 คน ใช้งบประมาณไปทั้งสิ้นจำนวน 20,000 บาท วัน จันทร์ที่ 18 มีนาคม 2567 คลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยขอนแก่น วิทยาเขตหนองคาย นำโดย นายสุพีระ วรแสนและนาง พัชรีพร หงษา ได้รับเกียรติจาก สำนักงานปฏิรูปที่ดินจังหวัดหนองคาย ในการเป็นวิทยากรบรรยายเชิงปฏิบัติการในโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี ในการให้ความรู้ ในการสาธิตการแปรรูปผลิตภัณฑ์ในโครงการ(มะหลอด) เป็นน้ำยาล้างจานการแปรรูปมะหลอดเป็นสบู่ ได้รับความสนใจจากนักเรียนโรงเรียนบ้านนางิ้ว ตำบลนางิ้ว อำเภอสังคม จังหวัดหนองคาย ผู้เข้าอบรมทั้งสิ้น 40 คนใช้งบประมาณไปทั้งสิ้นจำนวน 20,000 บาท วัน พุธ ที่ 27 มีนาคม 2567 คลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยขอนแก่น วิทยาเขตหนองคายนำโดย นาย สุพีระ วรแสน นางพัชรีพร หงษา ได้รับเกียรติจาก สำนักงานปฏิรูปที่ดินจังหวัดหนองคาย ในการเป็นวิทยากร โครงการส่งเสริมและพัฒนาสินค้าเกษตรชีวภาพ กิจกรรมส่งเสริมการแปรรูปสมุนไพรด้วยโรงอบพลังงานแสงอาทิตย์ต้นทุนต่ำในเขตปฏิรูปที่ดินจังหวัดหนองคาย ในหลักสูตรการแปรรูปสมุนไพรด้วยโรงอบพลังงานแสงอาทิตย์ต้นทุนต่ำและพัฒนาผลิตภัณฑ์สินค้าเกษตรเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการแปรรูปสมุนไพรเพิ่มมูลค่าวัตถุดิบสมุนไพรหรือผลผลิตทางการเกษตรและพัฒนาช่องทางการตลาดสินค้าสมุนไพร จัดขึ้น ณ ศาลากลางบ้าน บ้านคำสะอาด หมู่ 6 ตำบลอุดมพร อำเภอเฝ้าไร่ จังหวัดหนองคาย มีผู้สนใจเข้าร่วมอบรมจำนวน 50 คน ได้รับความรู้ในการแปรรูปผลิตภัณฑ์สบู่จากกระดูกไก่ดำ น้ำมันเหลืองจากไพรและขมิ้น สเปรย์ไล่ยุงจากต้นกระดูกไก่ดำได้รับความสนใจจากปู้เข้าร่วมอบรมจำนวน 50 คน ใช้งบประมาณทั้งสิ้นจำนวน 30,000 บาท รายงานโดย นายสุพีระ วรแสน วันที่รายงาน 03/04/2567 [16422] |
115000 | 195 |