2566 การเพิ่มคุณค่าสมุนไพรว่านสาวหลงและผักบุ้งทะเล เพื่อพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง วิสาหกิจชุมชนคนรักษ์มะพร้าวตะเคียนเตี้ย อ.บางละมุง จ.ชลบุรี ปีที่ 2   0


รายงานความก้าวหน้า

ไตรมาส ผลการดำเนินงาน งบประมาณที่ใช้ ผู้รับบริการ
5 [15869]

รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานโครงการเครือข่ายคลินิกเทคโนโลยี สป.อว. ภายใต้ กิจกรรมการส่งเสริมการนำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม (วทน.) เพื่อเพิ่มศักยภาพการผลิตและเศรษฐกิจชุมชน ประจำปีงบประมาณ 2566 แพลตฟอร์มเพิ่มศักยภาพธุรกิจชุมชน (BCE) โครงการการเพิ่มคุณค่าสมุนไพรว่านสาวหลงและผักบุ้งทะเล เพื่อพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง วิสาหกิจชุมชนคนรักษ์มะพร้าวตะเคียนเตี้ย อ.บางละมุง จ.ชลบุรี

มีผลการดำเนินงาน ดังนี้

1. กิจกรรมประชุม ดำเนินการในวันที่ 14,25 พฤศจิกายน 2566 และวันที่ 2 ธันวาคม 2566


ผู้รับผิดชอบกิจกรรม

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ตวงสิริ สยมภาค

รายละเอียดผลการดำเนินงาน

เพื่อทบทวนแผนการดำเนินงานและผลการดำเนินงานร่วมกับชุมชน

ขั้นตอนและผลการดำเนินโครงการ (ระบุรายละเอียดให้ชัดเจน)

             ประชุมทบทวนแผนการดำเนินงาน ขั้นตอนการดำเนินงาน และกำหนดระยะนัดหมายการดำเนินงานแต่ละกิจกรรมวิสาหกิจชุมชนคนรักษ์มะพร้าวตะเคียนเตี้ย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ตวงสิริ สยมภาค หัวหน้าโครงการ พร้อมทีมงานนักวิจัยจากคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เข้าร่วมประชุมเพื่อทบทวนแผนงาน และผลการดำเนินงานของกิจกรรมที่ผ่านในปีงบประมาณ 2566 รูปแบบการดำเนินงานและเป้าหมายของโครงการ ดำเนินการประชุมทบทวนแผนการดำเนินงาน ขั้นตอนการดำเนินงาน และกำหนดระยะนัดหมายการดำเนินงานแต่ละกิจกรรม เพื่อให้ชุมชนเข้าใจวัตถุประสงค์ของโครงการ และทำความรู้จักกับผู้รับผิดชอบในแต่ละกิจกรรม รวมถึงหารือในเรื่องการติดตามผลการดำเนินโครงการ ของตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ของชุมชน

ผลการดำเนินงาน:
1. วิสาหกิจชุมชนทำความรู้จักกับผู้รับผิดชอบในแต่ละกิจกรรม
2. ชุมชนเข้าใจวัตถุประสงค์ของโครงการ และร่วมทบทวนแผนการดำเนินงาน ขั้นตอนการทำงาน
3. มีการกำหนดระยะเวลาการดำเนินงานแต่ละกิจกรรมอย่างชัดเจน เพื่อนัดหมายสมาชิกมาร่วมกิจกรรม
4. สมาชิกรับทราบและเข้าใจถึงเป้าหมายของโครงการฯ ปีที่ 2
5. ผู้เข้าร่วมโครงการ 10 คน ความพึงพอใจจากการเข้าร่วมกิจกรรม คิดเป็นร้อยละ 95


2) กิจกรรมเข้าศึกษาดูงาน ดำเนินการในวันที่ 24 พฤศจิกายน 2566
ผู้รับผิดชอบกิจกรรม
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ตวงสิริ สยมภาค
รายละเอียดผลการดำเนินงาน
ทีมงานคลินิกเทคโนโลยี คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้เข้าศึกษาดูงาน ณ โรงพยาบาลอภัยภูเบศร จังหวัดปราจีนบุรี ภายใต้โครงการการเพิ่มคุณค่าสมุนไพรว่านสาวหลงและผักบุ้งทะเล เพื่อพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางวิสาหกิจชุมชนคนรักษ์มะพร้าวตะเคียนเตี้ย อ.บางละมุง จ.ชลบุรี (ปีที่ ๒) งบประมาณเครือข่ายคลินิกเทคโนโลยี ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๖ โดยมีกลุ่มเป้าหมาย คือ วิสาหกิจชุมชนคนรักษ์มะพร้าวตะเคียนเตี้ย ซึ่งเป็นกลุ่มที่ผลิตน้ำมันมะพร้าวสกัดเย็น เป็นวัตถุดิบตั้งต้นของผลิตภัณฑ์สมุนไพรเพื่อสุขภาพและความงาม สามารถนำไปผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ มากมาย เช่น เครื่องสำอาง แชมพู โลชั่น ครีมนวด เจลสบู่ ผลิตภัณฑ์สปา เป็นต้น โดยมีผู้เข้าศึกษาดูงาน จำนวน 10 คน เพื่อให้เกิดการต่อยอดในการผลิตสมุนไพร การควบคุมคุณภาพ และการพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางจากสมุนไพร

ผลการดำเนินงาน:
ผู้เข้าร่วมโครงการ 10 คน ความพึงพอใจจากการเข้าร่วมกิจกรรม คิดเป็นร้อยละ 95


3) กิจกรรมเทคนิคการถ่ายภาพ ดำเนินการในวันที่ 27 พฤศจิกายน 2566
ผู้รับผิดชอบกิจกรรม
อาจารย์ยศภัทร เรืองไพศาล
รายละเอียดผลการดำเนินงาน
    เนื่องจากปีที่ 1 ได้ดำเนินกิจกรรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการจำหน่ายสินค้าออนไลน์ Facebook, Line ฯลฯ เพื่อเผยแพร่ข้อมูลผลิตภัณฑ์ การส่งเสริมการขายไปยังลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย และขยายกลุ่มลูกค้าในอนาคตเรียบร้อยแล้วนั้น ในปีที่ 2 นั้น ทีมคลินิกเทคโนโลยี ได้ต่อยอดด้านการจำหน่ายสินค้าออนไลน์ ด้วยการจัดกิจกรรมการเทคนิคการถ่ายภาพและการนำเสนอสินค้า เพื่อส่งเสริมการตลาดผ่านการสื่อสารด้วยการใช้วิธีการโฆษณา ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ โดยการดำเนินกิจกรรมดังกล่าว เริ่มการบรรยายการถ่ายภาพสินค้าเพื่อนำเสนอสินค้า พร้อมยกตัวอย่างภาพเพื่อให้เข้าใจมากขึ้น หลังจากนั้นมีการปฏิบัติ ให้ผู้เข้าร่วมโครงการลองถ่ายภาพสินค้าจากอุปกรณ์ที่ทีมงานเตรียมให้ หรือจากธรรมชาติที่มีอยู่ได้ และช่วงบ่ายก็ได้นำรูปภาพเข้ามาทำสินค้าโปรโมทในโปรแกรม Canva  


ผลการดำเนินงาน:
การดำเนินการผู้เข้าร่วมโครงการมีความเข้าใจเรื่องการถ่ายภาพสินค้า ร้อยละ 95  
โดยมีผลงานการถ่ายสินค้า ดังภาพที่แนบมาพร้อมนี้

 



รายงานโดย นางสาววรรณษา บาลโสง วันที่รายงาน 27/12/2566 [15869]
47582.26 10
4 [15841]

รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานโครงการเครือข่ายคลินิกเทคโนโลยี สป.อว. ภายใต้ กิจกรรมการส่งเสริมการนำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม (วทน.) เพื่อเพิ่มศักยภาพการผลิตและเศรษฐกิจชุมชน ประจำปีงบประมาณ 2566 แพลตฟอร์มเพิ่มศักยภาพธุรกิจชุมชน (BCE) โครงการการเพิ่มคุณค่าสมุนไพรว่านสาวหลงและผักบุ้งทะเล เพื่อพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง วิสาหกิจชุมชนคนรักษ์มะพร้าวตะเคียนเตี้ย อ.บางละมุง จ.ชลบุรี ปีที่ 2

มีผลการดำเนินงาน ดังนี้
1) กิจกรรมการทบทวนแผนธุรกิจ ดำเนินการในวันที่ 23 สิงหาคม 2566
ผู้รับผิดชอบโครงการ
    1. ผู้ช่วยศาสตราจารย์กฤตยชล ทองธรรมสถิต
    2. ผู้ช่วยศาสตราจารย์กิตติศักดิ์ วิธินันทกิตต์

รายละเอียดผลการดำเนินงาน
    กิจกรรมการวางแผนธุรกิจ และทบทวนแผนธุรกิจ (วันที่ 23 สิงหาคม 2566) มุ่งเน้นให้กลุ่มเป้าหมาย อันประกอบด้วย คณะกรรมการสมาชิกวิสาหกิจชุมชนคนรักษ์มะพร้าวตะเคียนเตี้ย เครือข่ายชุมชน ตลอดจนคณะทำงานโครงการร่วมกันปรึกษาหารือ พร้อมแลกเปลี่ยน และถ่ายทอดองค์ความรู้ ในประเด็นของการปรับปรุง เปลี่ยนแปลง (การทำให้วัตถุประสงค์และสาระสำคัญเดิมเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม) เพิ่มเติม (การเพิ่มผลิตภัณฑ์  รายการสินค้า และกิจกรรมที่ต้องการดำเนินการ) และแก้ไข (การแก้ไขข้อผิดพลาด โดยวัตถุประสงค์และสาระสำคัญของแผนยังคงเดิม) โดยทำการทบทวนในประเด็นที่สำคัญ คือ ความเป็นมาของธุรกิจ เป้าหมายและแผนปฏิบัติการทางการตลาด กลุ่มลูกค้าเป้าหมาย การผลิต การจัดการองค์กร และข้อมูลทางการเงิน

ผลการดำเนินงาน:
    1.  การประชุมปรึกษาหารือ เพื่อสรุปผลการดำเนินงานของโครงการ และการวางกรอบเนื้อหาความรู้เกี่ยวกับการวางแผนธุรกิจ การทบทวนแผนธุรกิจ และช่วงเวลาดำเนินกิจกรรมอบรมให้ความรู้ ซึ่งได้ดำเนินการในช่วงเดือนพฤษภาคม 2566 ที่ผ่านมา
    2.  การศึกษา ค้นคว้า รวบรวมข้อมูลที่สำคัญที่มีความเกี่ยวข้องกับการจัดทำแผนธุรกิจ และการทบทวนแผนธุรกิจ เช่น แผนธุรกิจฉบับเดิม เครื่องมือในการวางแผนธุรกิจ (Canvas, lean Canvas) ขั้นตอนการทบทวนแผนธุรกิจ และข้อมูลกิจกรรมของทางโครงการในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ พร้อมจัดทำเอกสารประกอบการดำเนินกิจกรรม
    3.  การฝึกอบรมกิจกรรม “การวางแผนธุรกิจ และการทบทวนแผนธุรกิจ” วันที่ 23 สิงหาคม 2566 ณ วิสาหกิจชุมชนคนรักษ์มะพร้าวตะเคียนเตี้ย โดยมีสมาชิกวิสาหกิจชุมชนคนรักษ์มะพร้าวตะเคียนเตี้ยเข้าร่วมรับการฝึกอบรม
    4. ผู้เข้าร่วมโครงการเสนอให้มีการทบทวนการวางแผนธุรกิจ ประกอบไปด้วยประเด็นสำคัญ ดังนี้
    • พันธกิจขององค์กร มุ่งให้ความสำคัญด้านการผลิตที่มีคุณภาพมาตรฐานเป็นหลัก
    • ปัญหาที่สำคัญองค์กร ให้เพิ่มประเด็น  
        o ศักยภาพในการผลิตมีจำนวน จึงทำให้ผลิตสินค้าได้ตามคำสั่งซื้อเท่านั้น (by order)
        o มีตัวแทนจำหน่ายน้อยราย และมีช่องทางการจัดจำหน่ายในวงแคบ ทำให้ลูกค้าเข้าไม่ถึงสินค้าขององค์กร
        o องค์กรขาดทักษะการจัดจำหน่ายที่สอดคล้องและตรงกับรูปแบบลูกค้าในยุคปัจจุบัน
    • วิธีแก้ปัญหา ให้เพิ่มประเด็น  
        o การลงทุนในเครื่องมือ เครื่องจักรเพิ่มเติม ตามสายการผลิตที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
        o เพิ่มช่องทางสื่อสารประชาสัมพันธ์ผ่านธุรกิจโรงแรม และสปาในพื้นที่เมืองพัทยา
    • จุดเด่นเฉพาะขององค์กร ให้เพิ่มประเด็น  
        o นักท่องเที่ยวกลุ่มตะวันออกกลางมีความชอบในกลิ่นของผลิตภัณฑ์ที่ได้จากว่านสาวหลง
    • ช่องทางเข้าถึงลูกค้า ให้เพิ่มประเด็น  
    o การติดต่อผ่านสื่อ Social Media
    o ช่องทางออนไลน์ ให้ปรับเหลือเพียง Facebook  Line และ Lazada
    o ควรเพิ่มการจัดจำหน่ายในโรงแรม สปา และแหล่งท่องเที่ยวภายในพื้นที่เมืองพัทยา และแหล่งท่องเที่ยววิสาหกิจชุมชน
    5. ผู้เข้าร่วมโครงการ 10 คน ความพึงพอใจจากการเข้าร่วมกิจกรรม คิดเป็นร้อยละ 93



2) กิจกรรมการคิดต้นทุน ดำเนินการในวันที่ 27 สิงหาคม 2566
ผู้รับผิดชอบโครงการ
    1. ผู้ช่วยศาสตราจารย์กิตติศักดิ์ วิธินันทกิตต์
    2. ผู้ช่วยศาสตราจารย์กฤตยชล ทองธรรมสถิต

รูปแบบกิจกรรมดำเนินงาน
    มุ่งเน้นให้กลุ่มเป้าหมาย อันประกอบด้วย คณะกรรมการสมาชิกวิสาหกิจชุมชนคนรักษ์มะพร้าวตะเคียนเตี้ย เครือข่ายชุมชน วิทยากรและคณะกรรมการดำเนินงาน ถ่ายทอดองค์ความรู้ ดอกเบี้ย มูลค่าเทียบเท่าปัจจุบัน และการวิเคราะห์ผลตอบแทนการเงิน และการประมาณรายไดและคาใชจายในการจำหนายเครื่องสำอาง เพื่อวิเคราะหผลตอบแทนทางการเงินของการดำเนินโครงการ พร้อมตอบข้อสงสัยและประเด็นซักถาม

ผลการดำเนินงาน:
1. ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ เรื่อง ดอกเบี้ย มูลค่าเทียบเท่าปัจจุบัน และการวิเคราะห์ผลตอบแทนทางการเงิน
2. ผู้เข้าร่วมโครงการ สามารถประมาณรายได้และค่าใช้จ่ายในการจำหน่ายเครื่องสำอาง เพื่อวิเคราะห์ผลตอบแทนทางการเงินได้
3. ผู้เข้าร่วมโครงการ 10 คน ความพึงพอใจจากการเข้าร่วมกิจกรรม คิดเป็นร้อยละ 90


 



รายงานโดย นางสาววรรณษา บาลโสง วันที่รายงาน 05/10/2566 [15841]
14993.44 10
3 [15023]

รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานโครงการเครือข่ายคลินิกเทคโนโลยี สป.อว. ภายใต้ กิจกรรมการส่งเสริมการนำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม (วทน.) เพื่อเพิ่มศักยภาพการผลิตและเศรษฐกิจชุมชน ประจำปีงบประมาณ 2566 แพลตฟอร์มเพิ่มศักยภาพธุรกิจชุมชน (BCE)
โครงการการเพิ่มคุณค่าสมุนไพรว่านสาวหลงและผักบุ้งทะเล เพื่อพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง วิสาหกิจชุมชนคนรักษ์มะพร้าวตะเคียนเตี้ย อ.บางละมุง จ.ชลบุรี

มีผลการดำเนินงาน ดังนี้
1. กิจกรรมการประชุมร่วมเพื่อประสานงาน สนับสนุนการดำเนินงานและสรุปงาน ณ สวนป่าสาโรชกะแหวว คนรักษ์มะพร้าวตะเคียนเตี้ย อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี (วันที่ 22 พฤษภาคม 2566)
                 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ตวงสิริ สยมภาค หัวหน้าโครงการ พร้อมทีมงานนักวิจัยจากคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์และนวัตกรรม และคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ เข้าร่วมประชุมชี้แจงวัตถุประสงค์ รูปแบบการดำเนินงานและเป้าหมายของโครงการ ร่วมประชุมทบทวนแผนการดำเนินงาน ขั้นตอนการดำเนินงาน และกำหนดระยะนัดหมายการดำเนินงานแต่ละกิจกรรมวิสาหกิจชุมชนคนรักษ์มะพร้าวตะเคียนเตี้ย


ผลการดำเนินงาน:

                 1. วิสาหกิจชุมชนทำความรู้จักกับผู้รับผิดชอบในแต่ละกิจกรรม
                 2. ชุมชนเข้าใจวัตถุประสงค์ของโครงการ และร่วมทบทวนแผนการดำเนินงาน ขั้นตอนการทำงาน
                 3. มีการกำหนดระยะเวลาการดำเนินงานแต่ละกิจกรรมอย่างชัดเจน เพื่อนัดหมายสมาชิกมาร่วมกิจกรรม
                 4. สมาชิกรับทราบและเข้าใจถึงเป้าหมายของโครงการฯ ปีที่ 2  
                 5. ผู้เข้าร่วมโครงการ 10 คน ความพึงพอใจจากการเข้าร่วมกิจกรรม คิดเป็นร้อยละ 95


2. กิจกรรมการพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง (scrub)  (วันที่ 22 กรกฎาคม 2566)
                 ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุพัตรา พูลพืชชนม์ พร้อมด้วยผู้ช่วยศาสตราจารย์สายใจ จริยาเอกภาส และนางสาวกนกรัตน์ เบญจมาศ จัดกิจกรรมการพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง (scrub)  ณ วิสาหกิจชุมชนคนรักษ์มะพร้าวตะเคียนเตี้ย อ.บางละมุง จ.ชลบุรี ได้ดำเนินกิจกรรม บรรยาย เรื่อง คุณสมบัติสมุนไพร การเลือกใช้และการทดสอบฤทธิ์เบื้องต้น และปฏิบัติการ เรื่อง การผลิตผลิตภัณฑ์สครับผสมว่านสาวหลง

ผลการดำเนินงาน:     

                 1. ผู้รับผิดชอบกิจกรรมได้ถ่ายทอดความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางขัดผิว (Body Scrub) ให้แก่สมาชิก
                 2.  สมาชิกมีความเข้าใจเกี่ยวกับส่วนผสมและสารออกฤทธิ์ที่ใช้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์
                 3. สมาชิกได้นำครีมขัดผิวสูตรพื้นฐานที่ได้รับมาจากที่ปรึกษาของอุตสาหกรรมภาค 9 มาพัฒนาต่อยอดร่วมกับการใช้สารสกัดจากว่านสาวหลงเพื่อพัฒนาเป็นเครื่องสำอางที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว
                 4. สมาชิกได้ทดลองผสมสูตรและพัฒนากระบวนการผลิตหลายขั้นตอนจนเกิดเป็นครีมขัดผิวที่มีส่วนประกอบของว่านสาวหลงและมีเส้นใยจากว่านสาวหลง
                 5. ผู้เข้าร่วมโครงการ 10 คน ความพึงพอใจจากการเข้าร่วมกิจกรรม คิดเป็นร้อยละ 93

3. กิจกรรมการทำบรรจุภัณฑ์และฉลาก (วันที่ 29 กรกฎาคม 2566)
                 อาจารย์อนงค์นาฏ โสภณางกูร พร้อมด้วยอาจารย์สุธีรา อานามวงษ์ และนางสาวกนกรัตน์ เบญจมาศ จัดกิจกรรมการทำบรรจุภัณฑ์และฉลาก ณ วิสาหกิจชุมชนคนรักษ์มะพร้าวตะเคียนเตี้ย อ.บางละมุง จ.ชลบุรี ได้ดำเนินกิจกรรม บรรยาย เรื่อง บรรยาย เรื่อง เทรนด์ของบรรจุภัณฑ์และการเลือกบรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสมกับผลิตภัณฑ์ และ ปฏิบัติการ เรื่อง การเลือกบรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสมกับผลิตภัณฑ์ (แบ่งกลุ่มระดมสมอง อภิปรายและนำเสนอ)

ผลการดำเนินงาน:    

                 1. ผู้รับผิดชอบกิจกรรมได้ค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวกับความนิยมของผู้บริโภคที่มีต่อผลิตภัณฑ์ขัดผิว ประกอบกับอัตลักษณ์เฉพาะของวิสาหกิจชุมชนคนรักษ์มะพร้าวตะเคียนเตี้ยมาพัฒนาเป็นรูปแบบของฉลาก
                 2. สมาชิกวิสาหกิจร่วมกันเลือกขนาด ลักษณะ ของบรรจุภัณฑ์ และการใช้สีสันของฉลากที่เหมาะสมสำหรับครีมขัดผิว
                 3. ผู้รับผิดชอบร่วมกันตัดสินใจในเรื่องของรูปลักษณ์ โลโก้ คำอธิบายรายละเอียดของผลิตภัณฑ์
                 4. บรรจุภัณฑ์ที่ใช้สำหรับบรรจุครีมขัดผิวจากว่านสาวหลง คือ กระปุกพลาสติกสีขาว ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 8 เซนติเมตร สูง 4 เซนติเมตร บรรจุครีม 150 กรัม มีฉลากด้านบนและโดยรอบที่มีโลโก้และชื่อผลิตภัณฑ์ มีลวดลายสีเขียว แสดงที่ความเป็นมิตรกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
                 5. ผู้เข้าร่วมโครงการ 10 คน ความพึงพอใจจากการเข้าร่วมกิจกรรม คิดเป็นร้อยละ 90

4. กิจกรรมการตรวจสอบคุณภาพผลิตภัณฑ์  (วันที่ 8 สิงหาคม 2566)
                 ผู้ช่วยศาสตราจารย์สายใจ จริยาเอกภาส พร้อมด้วยผู้ช่วยศาสตราจารย์สุพัตรา พูลพืชชนม์  จัดกิจกรรมการตรวจสอบคุณภาพผลิตภัณฑ์  ณ วิสาหกิจชุมชนคนรักษ์มะพร้าวตะเคียนเตี้ย อ.บางละมุง จ.ชลบุรี ได้ดำเนินกิจกรรม บรรยาย เรื่อง การตรวจสอบคุณภาพผลิตภัณฑ์บอดี้สครับผสมว่านสาวหลง และ ปฏิบัติการ เรื่อง การตรวจสอบคุณภาพผลิตภัณฑ์บอดี้สครับผสมว่านสาวหลง

ผลการดำเนินงาน:    

                 1. ผู้รับผิดชอบกิจกรรมได้ทดสอบผลิตภัณฑ์ครีมขัดผิวที่มีส่วนประกอบจากว่านสาวหลงด ด้านลักษณะปรากฏ กายภาพ สี กลิ่น และผลจากการใช้งาน กับสมาชิกฯ ที่สนใจ จำนวน 20 คน ซึ่งเป็นนักท่องเที่ยวที่มารับบริการจากวิสาหกิจฯ โดยการใช้แบบทดสอบร่วมกับการทดลองใช้ผลิตภัณฑ์จริง
                 2. ผลการตรวจสอบคุณภาพผลิตภัณฑ์ พบว่า ลักษณะปรากฏเป็นสีขาวออกน้ำตาล มีเส้นใยของว่านสาวหลงกระจายอยู่ในเนื้อครีม มีกลิ่นของว่านสาวหลง เนื้อเนียน
                 3. ผลจากการทดลองใช้ผลิตภัณฑ์ หลังจากขัดผิวเป็นวงกลมบนหลังมือ ประมาณ 2-3 นาที แล้วล้างออก ผู้ทดสอบพบว่า หลังมือเนียนนุ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับด้านที่ไม่ได้ใช้ผลิตภัณฑ์ และยังมีกลิ่นหอมอ่อนๆของว่านสาวหลงติดอยู่
                 4. ผลการทดสอบด้านเคมีและจุลินทรีย์ ยังอยู่ระหว่างการรอผลจากการส่งวิเคราะห์จากสำนักปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย) จำกัด   
                 5. ผู้เข้าร่วมโครงการ 10 คน ความพึงพอใจจากการเข้าร่วมกิจกรรม คิดเป็นร้อยละ 90

5. กิจกรรมติดตามประเมินผลการดำเนินงาน จาก สป.อว.  (วันที่ 9 สิงหาคม 2566)
                 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ตวงสิริ สยมภาค หัวหน้าโครงการ พร้อมทีมงานนักวิจัยจากคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์และนวัตกรรม และคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ให้การต้อนรับคณะกรรมการจาก กปว. ซึ่งลงตรวจประเมินพื้นที่ดำเนินโครงการเพื่อติดตามผลดำเนินโครงการของคลินิกเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก
 
ผลการดำเนินงาน:   หัวหน้าโครงการนำเสนอความก้าวหน้าการดำเนินงานโครงการฯ ปีที่ 2 ดังนี้
                                  1. มีการดำเนินงานแล้วเสร็จ ร้อยละ 67 ของแผนงานทั้งหมด
                                  2. ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่ผ่านการพัฒนา คือ ผลิตภัณฑ์ครีมขัดผิว (Body Scrub) ที่มีส่วนประกอบจากว่านสาวหลง
                                  3. การพัฒนาบรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสมของผลิตภัณฑ์ขัดผิวมีความสอดคล้องกับอัตลักษณ์ ส่วนผสม และแนวคิดของการดำเนินงาน (BCG) อีกทั้งมีความทันสมัย ดึงดูดความสนใจของลูกค้าได้เป็นอย่างดี เห็นได้จาก มีผู้สนใจสอบถามและขอซื้อผลิตภัณฑ์ที่ทางวิสาหกิจชุมชนเพิ่งผลิตเสร็จ
                                  4. มีการกำหนดราคาจำหน่ายครีมขัดผิว กระปุก 195 บาท ต่อขนาดบรรจุ 150 กรัม
                                  5. มีการพัฒนาช่องทางการจำหน่ายครีมขัดผิว เนเชอรัลลิปบาล์มและแป้งทาผิวกาย พร้อมกับผลิตภัณฑ์จากน้ำมันมะพร้าวสกัดเย็น อีกหลายรายการผ่านตัวแทนจำหน่าย โดยเป้าหมายเป็นนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศ
                                  6. การดำเนินกิจกรรมของวิสาหกิจชุมชนคนรักษ์มะพร้าวตะเคียนเตี้ย มีพันธมิตร เครือข่ายที่เข้ามาช่วยส่งเสริม คือ ชุมชนบ้านร้อยเสา ชมรมท่องเที่ยวตะเคียนเตี้ย โฮมสเตย์ป้าน้อย และสวนฟ้าใสไอโกะ ทำให้มีแนวโน้มการพัฒนาไปสู่ SE (Social Enterprise) ได้ดี
                                  7. ความพึงพอใจเฉลี่ยจากการเข้าร่วมกิจกรรม 4 กิจกรรม คิดเป็นร้อยละ 92

ภาพกิจกรรมดูได้ที่นี้
                   
https://drive.google.com/drive/folders/1kmZ5Wx7y75Ky0RX832e8gOaha9wIL0B7?usp=sharing



รายงานโดย นางสาววรรณษา บาลโสง วันที่รายงาน 12/08/2566 [15023]
110316.96 10