2566 ยกระดับผ้าไหมทอมือ กลุ่มทอผ้าไหมบ้านห้วยทราย จังหวัดมหาสารคาม สู่สากล    0


รายงานความก้าวหน้า

ไตรมาส ผลการดำเนินงาน งบประมาณที่ใช้ ผู้รับบริการ
4 [15737]

กิจกรรมที่ 3 การตลาด และการสร้างภาพลักษณ์องค์กร (ต่อ)                             

                    การติดตามให้คำช่วยเหลือและให้คำแนะนำปรึกษา

                   การทดสอบตลาดและส่งเสริมการขาย

                   



รายงานโดย รศ.ดร.ศักดิ์ชาย สิกขา วันที่รายงาน 28/09/2566 [15737]
40000 18
4 [15735]

กิจกรรมที่ 3 การตลาด และการสร้างภาพลักษณ์องค์กร                              

                         การวิเคราะห์สถานการณ์ทางการตลาด ขับเคลื่อนกลไกทางการตลาด การสร้างภาพลักษ์องค์กร เพื่อยกระดับการจำหน่ายสินค้า

                         กิจกรรมฝึกออบรมการจำหน่ายสินค้าผ่านสื่อออนไลน์ และการฝึกทักษะการไลฟ์สด

                          ผลการดำเนินงาน การอบรมทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติ รวมทั้งการจัดทำสื่อกราฟิก สื่อภาพเคลื่อนไหว และการถ่ายทดความรู้การขายสินค้าออนไลน์ แบบไลฟ์สด ส่งผลให้เกิดความเปลี่ยนแปลงมียอดจำหน่ายที่สูงขึ้น ได้รับการติดต่อจากลูกค้ามากขึ้น ผู้ประกอบการมีความมั่นใจในการจำหน่ายสินค้าผ่านสื่อมากขึ้น

                        ในระยะยาวผู้ประกอบการสามารถต่อยอดการจำหน่ายภายในประเทศได้ทุกช่องทาง 



รายงานโดย รศ.ดร.ศักดิ์ชาย สิกขา วันที่รายงาน 28/09/2566 [15735]
50000 18
4 [15734]

กิจกรรมที่ 3 การตลาด และการสร้างภาพลักษณ์องค์กร (เพิ่มเติม)     

โดยได้มีการออกแบบและผลิตบรรจุภัณฑ์ ประเภทกล่องกระดาษ ซึ่งเป็นความต้องการของผู้ประกอบการและสอดคล้องกับผลิตภัณฑ์ที่พัฒนาใหม่ มีการคัดเลือกรูปแบบบรรจุภัณฑ์ที่ออกแบบ โดยได้มีกาสั่งผลิตจำนวน 750 กล่อง (ระบุในโครงการจำนวน 500 กล่อง)

       1) การส่งมอบบรรจุภัณฑ์ กล่องกระดาษบรรจุผ้าไหม

        2) Facebook แสดงการใช้งานบรรจุภัณฑ์เพื่อยกระดับการจำหน่ายสินค้า

 

 


 



รายงานโดย รศ.ดร.ศักดิ์ชาย สิกขา วันที่รายงาน 28/09/2566 [15734]
22800 18
3 [15112]

กิจกรรมที่ 3 การตลาด และการสร้างภาพลักษณ์องค์กร (เพิ่มเติม)                          

               - การวิเคราะห์สถานการณ์ทางการตลาด ขับเคลื่อนกลไกทางการตลาด

                - การสร้างภาพลักษ์องค์กร เพื่อยกระดับการจำหน่ายสินค้า

               การดำเนินงาน : ได้มีการจัดอบรมเพื่อค้นหาการสร้างภาพลักษ์องค์กร เพื่อยกระดับการจำหน่ายสินค้า ซึ่งมีการวิเคราะห์สถานการณ์ทางการตลาด ขับเคลื่อนกลไกทางการตลาด

               ในการนี้ ได้มีการออกบบบรรจุภัณฑ์ ประเภทกล่องกระดาษ ซึ่งเป็นความต้องการของผู้ประกอบการและสอดคล้องกับผลิตภัณฑ์ที่พัฒนาใหม่ มีการคัดเลือกรูปแบบบรรจุภัณฑ์ที่ออกแบบ โดยได้มีกาสั่งผลิตจำนวน 750 กล่อง (ระบุในโครงการจำนวน 500 กล่อง)



รายงานโดย รศ.ดร.ศักดิ์ชาย สิกขา วันที่รายงาน 13/08/2566 [15112]
20000 18
3 [15110]

กิจกรรมที่ 2 การพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตผลิตภัณฑ์แปรรูปจากผ้า

               โดยคณะทำงานในโครงการได้เลือกดำเนินงานในกิจกรรมที่ 2 ดังนี้

                     1) การออกแบบที่สอดคล้องกับตลาด การตัดแพทเทิร์น

                     2) การตัดเย็บแปรรูปผลิตภัณฑ์จากผ้าไหมและผ้าฝ้าย

               การดำเนินงาน : ได้มีการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการจำนวน 3 วัน ระหว่างวันที่ 17-19 มิถุนายน พ.ศ. 2566 ณ สถานประกอบการ กลุ่มทอผ้าไหมบ้านห้วยทราย โดยเชิญผู้เชี่ยวชาญจากมหาวิทยาลัยขอนแก่น ซึ่งเป็นภายนอกเป็นวิทยากรหลัก ในการฝึกทักษะปฏิบัติตลอดการอบรม

              ผลการอบรม :ได้ผลิตภัณฑ์ต้นแบบ  6รายการ  1) เสื้อสตรี (ชุดเดรส) จำนวน 2 ชุด 2) กระเป๋า จำนวน 3 แบบ 3) หมวก จำนวน 1 แบบ โดยได้มีการเรียนรู้การออกแบบที่สอดคล้องกับตลาด การตัดแพทเทิร์น

การตัดเย็บด้วยจักร การปักลายเอกลักษณ์ (ลายปู ลายพืชพรรณ) บนผลิตภัณฑ์ผ้า สำหรับการผลิตกระเป๋าและหมวก เน้นการใช้ผ้าเศษที่เหลือจากการผลิต ซึ่งผู้ประกอบการมีผ้าเศษจำนวนมากทั้งผ้าไหมและผ้าฝ้ายเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม



รายงานโดย รศ.ดร.ศักดิ์ชาย สิกขา วันที่รายงาน 13/08/2566 [15110]
50000 18
3 [15109]

กิจกรรมที่ 1 สร้างนวัตกรรมผ้าไหมทอมือ และผ้าฝ้าย       

  1. การพัฒนานวัตกรรมในการผลิตเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้สินค้า

การดำเนินงาน : เน้นการพัฒนาเทคนิคการย้อมสีจาก “เปลือกต้นเชือก” ที่มีมากในพื้นที่ ซึ่ง

เป็นวัสดุคุณภาพดีที่มีรสฝาดและเปลี้ยวในตัวเอง ถือเป็นคุณสมบัติเบื้องต้นที่ดี โดยการพัฒนาจะเน้นการคิดค้นส่วนผสมเพื่อให้เกิดสีที่หลากหลาย สีที่มีคุณภาพคงทน รวมทั้งองค์ความรู้ในการรักษาธรรมชาติเพื่อให้เกิดความยั่งยืนในการใช้งาน

                    โดยจัดอบรมเชิงปฏิบัติการจำนวน 3 วัน ระหว่างวันที่ 6-7 พฤษภาคม พ.ศ. 2566 และวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2566 ณ สถานประกอบการ กลุ่มทอผ้าไหมบ้านห้วยทราย

สำหรับการค้นหาสูตรในการติดสีจากเปลือกเชือก เพื่อลดต้นทุนการผลิตและสร้างมูลค่าเพิ่มให้

สินค้า และแก้ปัญหาของการไม่ติดสีจากการย้อมสีจากเปลือกเชือกที่ผ่านมา ในโครงการได้มีทดลองทั้งหมด 6 สูตร โดยคัดเลือกพืชที่มีคุณสมบัติในการให้สีคุณภาพดี เพื่อใช้เป้นส่วนผสม และมีโทนสีที่อยู่ในกลุ่มสีเดียวกัน ประกอบด้วย สูตรที่ 1 เปลือกเชือก ทอสลับกับเส้นฝ้ายที่ย้อมจากใบสบู่เลือด ปะหูดสูตรที่ 2 เปลือกเชือกต้มรวมกับฝักคูณ (ย้อมทับ 2 รอบ) สูตรที่ 3 เปลือกเชือกต้มร่วมกับแก่นประดู่ สูตรที่ 4 เปลือกเชือกต้มร่วมกับใบเมือดแอ่ สูตรที่ 5 เปลือกเชือกต้มร่วมกับใบใบยูคาลิปตัส สูตรที่ 6 เปลือกเชือกต้มร่วมกับฝักคูณ สัดส่วนใช้เปลือกเชือก 3 กก. ต้มรวมกับวัสดุอื่นอย่างละ 1 กก. แบ่งออกเป็น 4 หม้อต้ม ใช้เวลาในการต้มย้อมรอบละ 30 นาที และคัดเลือกส่งตรวจคุณภาพจำนวน 4 สูตร ดังนี้

          

ตารางปรียบเทียบผลการทอสอบ ผ้าย้อมสีจากเปลือกเชือก ผ้าฝ้ายลายขัด เกณฑ์การทดสอบการย้อมสี

ตามมาตรฐาน มอก. โดย การรับรองของสถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ กระทรวงอุตสาหกรรม

สูตรที่

สูตรการทดลองในการย้อมสี

มอร์แดนท์ /สารช่วยติดสี (mordant) 

โทนสี

1

ใบสบู่เลือด เปลือกเชือก ปะหูด

-

ลายผ้าขาวม้าสลับสี

(เขียว น้ำตาล เหลือง)

ลำดับทดสอบ

รูปแบบการทดสอบ

คะแนนเต็ม

ผลการทดสอบ

สรุปผล (ผ่าน/ไม่ผ่าน)

1

ความคงทนของสีต่อแสง

5

4

ผ่าน

2

ความคงทนของสีต่อการซัก

5

สีเปลี่ยนจากเดิม 4

ผ่าน

 

 

 

สีตกติดผ้าขาว 4-5

 

3

ความคงทนของสีต่อการขัดถู

5

สภาพแห้ง 4-5

สภาพเปียก 3-4

ผ่าน

4

ความคงทนของสีต่อเหงื่อ

5

สภาวะกรด 4

ผ่าน

 

 

 

สภาวะด่าง 1-2

ไม่ผ่าน

สูตรที่

สูตรการทดลองในการย้อมสี

มอร์แดนท์ /สารช่วยติดสี (mordant) 

โทนสี

2

เปลือกเชือกต้มรวมกับฝักคูณ

ย้อมทับ 2 รอบ

น้ำด่าง(ขี้เถ้าจากเปลือกเชือก)

น้ำตาล

ลำดับทดสอบ

รูปแบบการทดสอบ

คะแนนเต็ม

ผลการทดสอบ

สรุปผล (ผ่าน/ไม่ผ่าน)

1

ความคงทนของสีต่อแสง

5

2-3

 

2

ความคงทนของสีต่อการซัก

5

สีเปลี่ยนจากเดิม 4-5

ผ่าน

 

 

 

สีตกติดผ้าขาว 4-5

 

3

ความคงทนของสีต่อการขัดถู

5

สภาพแห้ง 4

สภาพเปียก 3-4

ผ่าน

4

ความคงทนของสีต่อเหงื่อ

5

สภาวะกรด 4

ผ่าน

 

 

 

สภาวะด่าง 4-5

ผ่าน

สูตรที่

สูตรการทดลองในการย้อมสี

มอร์แดนท์ /สารช่วยติดสี (mordant) 

โทนสี

2

เปลือกเชือกต้มรวมกับ

เปลือกประดู่

 

สารส้ม

น้ำตาลเข้ม

ลำดับทดสอบ

รูปแบบการทดสอบ

คะแนนเต็ม

ผลการทดสอบ

สรุปผล (ผ่าน/ไม่ผ่าน)

1

ความคงทนของสีต่อแสง

5

3

 

2

ความคงทนของสีต่อการซัก

5

สีเปลี่ยนจากเดิม 4-5

ผ่าน

 

 

 

สีตกติดผ้าขาว 4-5

 

3

ความคงทนของสีต่อการขัดถู

5

สภาพแห้ง 4-5

สภาพเปียก 3-4

ผ่าน

4

ความคงทนของสีต่อเหงื่อ

5

สภาวะกรด 4

ผ่าน

 

 

 

สภาวะด่าง 4-5

ผ่าน

สูตรที่

สูตรการทดลองในการย้อมสี

มอร์แดนท์ /สารช่วยติดสี (mordant) 

โทนสี

2

เปลือกเชือกต้มรวมกับ

ใบเมือดแอ่

 

น้ำด่าง(ขี้เถ้าจากเปลือกเชือก)

น้ำตาลอ่อน

ลำดับทดสอบ

รูปแบบการทดสอบ

คะแนนเต็ม

ผลการทดสอบ

สรุปผล (ผ่าน/ไม่ผ่าน)

1

ความคงทนของสีต่อแสง

5

2-3

 

2

ความคงทนของสีต่อการซัก

5

สีเปลี่ยนจากเดิม 4-5

ผ่าน

 

 

 

สีตกติดผ้าขาว 4-5

 

3

ความคงทนของสีต่อการขัดถู

5

สภาพแห้ง 4-5

สภาพเปียก 3-4

ผ่าน

4

ความคงทนของสีต่อเหงื่อ

5

สภาวะกรด 4

ผ่าน

 

 

 

สภาวะด่าง 4

ผ่าน

     สรุปผลการทดสอบจากตารางเปรียบเทียบข้างต้น พบว่าสูตรการย้อมสีโดยรวมที่มี

คุณภาพดีมากที่สุด คือ สูตรที่ 3 เปลือกเชือกต้มรวมกับเปลือกประดู่ และใช้มอร์แดนท์ /สารช่วยติดสี (mordant) คือ สารส้ม ผลสรุปคือ มีความคงทนของสีต่อแสง ระดับ 3  ความคงทนของสีต่อการซัก ระดับ 4-5 ความคงทนของสีต่อการขัดถู ระดับ 4-5 ความคงทนของสีต่อเหงื่อ สภาวะกรด ระดับ 4สภาวะด่าง ระดับ 4ซึ่งแปลความว่า สีเปลี่ยนแปลงเล็กน้อย เกณฑ์ผ่านสำหรับสีธรรมธรรมชาติ คือ ต้องไม่น้อยกว่า ระดับ 2-3 ในภาพรวมจึงถือว่า สูตรนี้ ดีที่สุดจากผลการทดลอง

 

                     2) พัฒนากระบวนการผลิตเพื่อลดต้นทุนการผลิตผ้าไหมทอมือ

                          ผลการดำเนินงาน : พัฒนากระบวนการผลิตเพื่อลดต้นทุนการผลิตผ้าไหมทอมือ โดยพัฒนาผ้าจากสีธรรมชาติที่เป็นเอกลักษณ์ในท้องถิ่นเป็นสีหลัก คือ สีจากเปลือกเชือก ส่วนสีที่นำมาใช้ร่วมอาจสีจากวัสดุต่างๆ ในท้องถิ่นที่สามารถหาได้ง่ายและมีความยั่งยืน เช่น สีจากใบสบู่เลือด สีจากฝักคูณ สีจากครั่ง และอื่นๆ

สำหรับสีจากเปลือกเชือก จากผลการทดสอบและการส่งตรวจมาตรฐาน ณ สำนักงานอุตสาหกรรมสิ่งทอ สูตรในการย้อมที่เหมาะสมที่สุด คือ สูตรการย้อมสีจากเปลือกเชือกร่วมกับเปลือกประดู่ ในกรณีของการใช้สีน้ำตาลเข้ม

                         สำหรับในการพัฒนากระบวนการผลิตในกิจกรรมนี้ คณะทำงานได้ออกแบบลายผ้าใหม่ เพิ่มเติม จำนวน 2 ลาย คือ ลายปูขันหมากประยุกต์ และลายปูดอกรัก โดยนำลายผ้าใหม่มาใช้ในการผลิตผ้าต้นแบบเป็นผ้าคลุมไหล่ หน้ากว้าง 75 เซนติเมตร ความยาว 2 เมตร จำนวน 12 ผืน และมีการผลิตเพื่อการจำหน่ายอย่างต่อเนื่อง ในราคาผืนละ 2,500 บาท(ผ้าคลุมไหล่เดิมจำหน่ายในช่วงราคา 1,000 – 1,500 บาท)

ในช่วงเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2566 ได้มีการจำหน่ายในต่างประเทศ( ประเทศเดนมาร์ก) และจำน่ายให้ลูกค้าชาวไทย

                        ทั้งนี้ สามารถสรุปได้ว่า ผลการพัฒนาขั้นตอนในการผลิตในบางขั้นตอน และการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของที่ระลึก ของฝาก ประเภทผ้าคลุมไหล่ สามารถทำให้เกิดมูลค่าเพิ่มที่มากขึ้นได้ และช่วยลดต้นทุนวัสดุในการย้อม และสามารถใช้เส้นไหมที่ผลิตในชุมชนได้อย่างอย่างคุ้มค่า



รายงานโดย รศ.ดร.ศักดิ์ชาย สิกขา วันที่รายงาน 13/08/2566 [15109]
10000 18
2 [14247]

รายงานครั้งที่ 1 (มกราคม 2565-มีนาคม 2566)

 

โครงการ :ยกระดับผ้าไหมทอมือ กลุ่มทอผ้าไหมบ้านห้วยทราย จังหวัดมหาสารคาม สู่สากล

 

 กิจกรรมที่ 1 สร้างนวัตกรรมผ้าไหมทอมือ และผ้าฝ้าย       

 - การพัฒนานวัตกรรมในการผลิตเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้สินค้า

  - พัฒนากระบวนการผลิตเพื่อลดต้นทุนการผลิตผ้าไหมทอมือ

    กิจกรรมที่ 2 การพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตผลิตภัณฑ์แปรรูปจากผ้า

   - การออกแบบที่สอดคล้องกับตลาด การตัดแพทเทิร์น

 - การตัดเย็บแปรรูปผลิตภัณฑ์จากผ้าไหมและผ้าฝ้าย

กิจกรรมที่ 3 การตลาด และการสร้างภาพลักษณ์องค์กร                             

- การวิเคราะห์สถานการณ์ทางการตลาด ขับเคลื่อนกลไกทางการตลาด

- การสร้างภาพลักษ์องค์กร เพื่อยกระดับการจำหน่ายสินค้า

ดำเนินการตามแผนงานในกิจกรรมที่ 3

      คณะทำงานในโครงการได้เลือกดำเนินงานในกิจกรรมที่ 3 ก่อน เพื่อเป็นการจัดเก็บข้อมูลล่าสุดก่อนจัดประชุมระดมความคิด

เนื่องจากสถานการณ์ทางการตลาดมีความเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ดังนั้นควรมีการติดตามและวิเคราะห์ข้อมูลก่อนการพัฒนาในแต่ละรอบทุกครั้ง ซึ่งมีกิจกรรมต่างๆ ดังนี้

1) กิจกรรมวิเคราะห์เป้าหมายทางการตลาด พฤติกรรมผู้บริโภค ผ่าน Facebook page : Poopang- ปูแป้งห้วยทราย และผ่านการสัมภาษณ์ชาวต่างประเทศเพื่อเป็นข้อมูลสำหรับผลิตสื่อประชาสัมพันธ์และการส่งเสริมการขาย ในตลาดออนไลน์ของไทยและต่างประเทศ

2) ผลิตสื่อออนไลน์ จำนวนเพจที่ใช้เผยแพร่ จำนวน  15 เพจ เผยแพร่ใน Facebook page : Poopang- ปูแป้งห้วยทรายโดยเน้นการให้ข้อมูลสินค้าใหม่ที่ได้รับการพัฒนาในโครงการ คุณภาพและมาตรฐานที่ได้รับ ข้อมูลและช่องทางในการติดต่อสื่อสารและการแสดงรูปแบบการใช้งานจริงสำหรับผลิตภัณฑืผ้าใหม่ทอมือลายต่างๆ ที่พัฒนาในโครงการ 

โดยถ่ายทำภาพประกอบโฆษณาสินค้าทั้งนางแบบชาวไทย และนางแบบชาวจีน (ประเทศจีน เป็นหนึ่งในประเทศที่เป็นกลุ่มเป้าหมายทางการตลาด)

3)   เก็บข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล และสรุปข้อมูลทางการตลาดเพื่อจัดประชุมระดมความคิดเพื่อกำหนดกลยุทธ์ในการพัฒนาและขับเคลื่อนการพัฒนาสี ลวดลาย

 การแปรรูป รวมทั้งรูปแบบสื่อที่สอดคล้องกับกลุ่มเป้าหมาย พบว่า ในปี 2566 ผลิตภัณฑ์เริ่มมียอดจำหน่ายที่เพิ่มมากขึ้น ส่วนลวดลายผ้าไหมควรมีการปรับปรุงพัฒนาเพิ่มเติมบางราย

 ทั้งนี้ มีข้อเสนอแนะะให้พัฒนาผ้าฝ้ายย้อมสีธรรมชาติเข้าสู่ตลาดด้วยเนื่องจากผ้าไหมมีราคาค่อนข้างสูง และเพิ่มโทนสีให้หลากหลาย



รายงานโดย รศ.ดร.ศักดิ์ชาย สิกขา วันที่รายงาน 05/04/2566 [14247]
5000 0