2566 การพัฒนายกระดับผ้าไหมมัดหมี่กลุ่มสตรีสหกรณ์ทอผ้าบ้านผักหนอก สู่สากล 0
ผล 1. จำนวนคนที่ได้รับการถ่ายทอดความรู้/เทคโนโลยี 20 คน 2. จำนวนเทคโนโลยีที่ถ่ายทอด(ระบุรายละเอียดองค์ความรู้เทคโนโลยี) 4 เรื่อง 3. จำนวนวิทยากรที่สามารถถ่ายทอดความรู้ให้ผู้อื่นได้ 5 คน 4. ร้อยละความพึงพอใจของผู้รับบริการ ร้อยละ 96.4 5. จำนวนผู้นำความรู้/เทคโนโลยีที่ได้รับไปใช้ประโยชน์ 10 คน 6. สัดส่วนมูลค่าทางเศรษฐกิจที่จะเกิดขึ้น เท่า ร้อยละ 10(ประมาณการ) 7. ผื้นผ้าที่เป็นเอกลักษณ์ของชุมชนบ้านผักหนอก 1 สี 3 ลวดลาย (อยู่ระหว่างดำเนินการ) 8 เสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย จำนวน 5 รูปแบบ รายละเอียดดังนี้ ผลผลิตที่ได้ คือ 1) ผลิตภัณฑ์ผืนผ้าไหมมัดหมี่ย้อมสีธรรมชาติ สีงาช้าง (ครีมอ่อน) ที่ได้จากการย้อมด้วย ใบบัวบก ผสานกับ สีน้ำตาล จากเปลือกประดู่ สร้างผืนผ้าไหมมัดหมี่ลายผักหนอก อันเป็นเอกลักษณ์ของกิจการ 1) สมาชิกของกลุ่มสามารถย้อมสีธรรมชาติได้ 16 คน จากผู้เข้าร่วม 20 คน คิดเป็นร้อยละ 80 2) สมาชิกของกลุ่มสามารถทอผ้าได้ 13 จากผู้เข้าร่วม 20 คน คิดเป็นร้อยละ 65 ซึ่งจำแนกเป็น -สมาชิกที่พัฒนาทักษะสู่การทอผ้าลายมัดหมี่ 5 คน -สมาชิกที่พัฒนาทักษะสู่การทอผ้าพื้น 8 คน จากกิจกรรมการพัฒนาแปรรูปผลิตภัณฑ์เสื้อผ้าเครื่องแต่งกายเชิงเทคนิค การพัฒนาการแปรรูป การออกแบบ การตัดแพทเทิร์น การตัดเย็บ การตกแต่ง ที่ใช้เทคนิคที่มีความซับซ้อน โดยตั้งเป้าหมายผลผลิตและผลลัพธ์ 1) ผู้เข้าร่วมกิจกรรม สามารถ พัฒนาทักษะการตัดเย็บผ้า ได้ไม่น้อยกว่า ร้อยละ 50 จากจำนวนผู้เข้าร่วม 2) ผลิตภัณฑ์เสื้อผ้าเครื่องแต่งกายผลิตจากผ้าเอกลักษณ์ของชุมชน จำนวน 5 ชิ้น พัฒนาสื่ออันเป็นช่องทางในการสื่อสารทางการตลาด ผลผลิตจากการดำเนินกิจกรรมคือ 1) เว็บไซต์ Silktella.com เพื่อเป็นการเพิ่มช่องทางทางการสื่อสารทางการตลาด 2) มีการจัดทำฉลากสินค้าเพื่อการส่งเสริมการขาย 1,000 ชิ้น และ 3) มีการผลิตคลิปวีดิโอสั้นเพื่อสื่อโฆษณา ประชาสัมพันธ์ ผลิตภัณฑ์ของกิจการ
ผล จำนวนสมาชิกอันเป็นศักยภาพการผลิตเพิ่มขึ้น 9 คน ผลลัพธ์จากการดำเนินกิจกรรม คือ ศักยภาพและกำลังการผลิตของกิจการ เพิ่มขึ้น ร้อยละ 45 และผ้าที่พัฒนามีเอกลักษณ์ที่แตกต่าง ราคาผืนละ 3,500 มูลค่าเพิ่มที่สูงขึ้น จากเดิม 1,000 บาท ร้อยละ 40 จากการเก็บข้อมูลยอดขาย ณ วันที่รายงาน ผ้าฝ้ายสีพื้นย้อมสีผักหนอก ยอดขาย 30 เมตร และผ้าไหมมัดหมี่ ย้อมสีธรรมชาติ ลายผักหนอก ยอดสั่งจอง 8 เมตร
ผล การเพิ่มศักยภาพการผลิตให้แก่กลุ่มสตรีทอผ้าบ้านผักหนอก สมาชิกที่ออกจากกลุ่มไปทำงานรับจ้างตามที่ต่างๆกลับเข้ากลุ่มและมีสมาชิกใหม่เพิ่มเข้าร่วมเป็นกำลังการผลิตของกลุ่ม
รายงานความก้าวหน้า
ไตรมาส | ผลการดำเนินงาน | งบประมาณที่ใช้ | ผู้รับบริการ | ||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
4 [15751] |
รายงานไตรมาส 4 จากการดำเนินกิจกรรมในไตรมาสที่ 3 ซึ่งประกอบด้วย สำรวจพื้นที่ร่วมกับชุมชนถ่ายทอดความรู้ในการเลือกวัตถุดิบจากธรรมชาติที่มีคุณสมบัติสีย้อม การถ่ายทอดความรู้ การย้อมสีธรรมชาติจากผักหนอกสู่สมาชิกกลุ่มการจัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการทักษะการออกแบบเสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย การตัดแพทเทิร์น (PATTERN)การตัดเย็บ และการตกแต่งกิจกรรม “ปั้นนักการตลาดบ้านผักหนอก” ถ่ายทอดความรู้สร้างกิจกรรม เพื่อส่งเสริมศักยภาพคนในชุมชน ด้านการสำรวจตลาด พฤติกรรมผู้บริโภค และการขายในไตรมาสที่ 4 นี้จะขอรายงานถึงผลผลิตอันเกิดจากการดำเนินงาน ตามวัตถุประสงค์ของโครงการดังนี้ แนวทางการพัฒนา 1 การพัฒนาต้นน้ำฟื้นฟู พัฒนาศักยภาพการผลิตของชุมชน ร่วมกับการสร้างเอกลักษณ์ผลิตภัณฑ์ให้โดดเด่นและแตกต่าง ทั้งด้านสีและลวดลายบนผืนผ้า ซึ่งได้กำหนด วัตถุประสงค์ เพื่อต่อยอดความรู้โดยจัดอบรมเชิงปฏิบัติการการย้อมสีธรรมชาติ การทอผ้ามัดหมี่ ถ่ายทอดความรู้เพื่อสร้างบุคคลากร/สมาชิกใหม่ เสริมศักยภาพการผลิตในกระบวนการผลิต โดยตั้งเป้าหมายผลผลิตและผลลัพพท์ 2 ประเด็น คือ 1) พัฒนาศักยภาพการผลิตในด้านการเพิ่มขึ้นของสมาชิก และการพัฒนาทักษะในการผลิตผ้าไหมมัดหมี่ 2) ผ้าที่พัฒนามีเอกลักษณ์ที่แตกต่างและมูลค่าเพิ่มที่สูงขึ้นอย่างน้อยร้อยละ 10 จากการดำเนินกิจกรรม “GEN 2 ผ้าผักหนอก” ถ่ายทอดความรู้ การย้อมสีธรรมชาติ การออกแบบลายผ้าจากทุนวัฒนธรรมของท้องถิ่น การทอผ้ามัดหมี่ เพื่อสร้างช่างทอผ้ารุ่นใหม่ สืบทอดงานทอผ้าไหมมัดหมี่บ้านผักหนอก ผลผลิตที่ได้ คือ 1) ผลิตภัณฑ์ผืนผ้าไหมมัดหมี่ย้อมสีธรรมชาติ สีงาช้าง (ครีมอ่อน) ที่ได้จากการย้อมด้วย ใบบัวบก ผสานกับ สีน้ำตาล จากเปลือกประดู่ สร้างผืนผ้าไหมมัดหมี่ลายผักหนอก อันเป็นเอกลักษณ์ของกิจการ 1) สมาชิกของกลุ่มสามารถย้อมสีธรรมชาติได้16 คน จากผู้เข้าร่วม 20 คน คิดเป็นร้อยละ 80 2) สมาชิกของกลุ่มสามารถทอผ้าได้13 จากผู้เข้าร่วม 20 คน คิดเป็นร้อยละ 65ซึ่งจำแนกเป็น -สมาชิกที่พัฒนาทักษะสู่การทอผ้าลายมัดหมี่ 5 คน -สมาชิกที่พัฒนาทักษะสู่การทอผ้าพื้น 8 คน ผลลัพธ์จากการดำเนินกิจกรรม คือ ศักยภาพและกำลังการผลิตของกิจการ เพิ่มขึ้น ร้อยละ 45 และผ้าที่พัฒนามีเอกลักษณ์ที่แตกต่าง ราคาผืนละ 3,500 มูลค่าเพิ่มที่สูงขึ้น จากเดิม 1,000 บาท ร้อยละ 40 จากการเก็บข้อมูลยอดขาย ณ วันที่รายงาน ผ้าฝ้ายสีพื้นย้อมสีผักหนอก ยอดขาย 30 เมตร และผ้าไหมมัดหมี่ ย้อมสีธรรมชาติ ลายผักหนอก ยอดสั่งจอง 8 เมตร
แนวทางการพัฒนา 2การพัฒนากลางน้ำ เพื่อพัฒนาศักยภาพการผลิตของกลี่มทอผ้าบ้านผักหนอกแบบครบวงจร สำหรับการผลิตผลิตภัณฑ์ผ้าทอมือ วัตถุประสงค์ เพื่อถ่ายทอดความรู้โดยจัดอบรมเชิงปฏิบัติการ การพัฒนาแปรรูปผลิตภัณฑ์เสื้อผ้าเครื่องแต่งกายเชิงเทคนิค การพัฒนาการแปรรูป การออกแบบ การตัดแพทเทิร์น การตัดเย็บ การตกแต่ง ที่ใช้เทคนิคที่มีความซับซ้อน โดยตั้งเป้าหมายผลผลิตและผลลัพธ์ 1) ผู้เข้าร่วมกิจกรรม สามารถ พัฒนาทักษะการตัดเย็บผ้า ได้ไม่น้อยกว่า ร้อยละ 50 จากจำนวนผู้เข้าร่วม 2) ผลิตภัณฑ์เสื้อผ้าเครื่องแต่งกายผลิตจากผ้าเอกลักษณ์ของชุมชน จำนวน 5 ชิ้น จากการดำเนินกิจกรรมจัดอบรมเชิงปฏิบัติการ การพัฒนาแปรรูปผลิตภัณฑ์เสื้อผ้าเครื่องแต่งกายผลผลิตจากการดำเนินกิจกรรมคือ 1) ผู้เข้าร่วมกิจกรรม 20 คนสามารถ พัฒนาทักษะการตัดเย็บผ้า ได้ 9 คน คิดเป็นร้อยละ 45 จากจำนวนผู้เข้าร่วม และ 2) ชุดเสื้อผ้าสำหรับสตรีผลิตจากผ้าเอกลักษณ์ของชุมชน จำนวน 5 ชิ้น ในส่วนผลลัพธ์ทางกิจการยังไม่มีรายได้เพิ่มขึ้นจากการตัดเย็บเสื้อผ้า เนื่องจากผ้าไหมทอมือย้อมสีธรรมชาติในปัจจุบันเป็นผ้าที่มีราคาแพงผู้บริโภคจะไม่นิยมซื้อแบบชุดสำเร็จรูปแต่จะซื้อไปสั่งตัดให้เข้ากับรูปร่าง สรีระร่างกายของตนเองในร้านที่ช่างมีทักษะฝีมือสูง
แนวทางการพัฒนา 3 การพัฒนาปลายน้ำเพิ่มพูนศักยภาพทางการตลาด การขาย ใช้เทคโนโลยีในช่องทางที่เหมาะสม เพื่อสร้างช่องการตลาดออนไลน์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อถ่ายทอดความรู้โดยจัดอบรมเชิงปฏิบัติการชุมชนคนรุ่นใหม่ เข้ามามีส่วนร่วม และประกวดการผลิตสื่อเพื่อการโฆษณา ประชาสัมพันธ์ทางการขาย การตลาดผ่านระบบออนไลน์เพื่อการแข่งขันในตลาดยุคใหม่ออกแบบพัฒนาเว็บไซต์เพื่อเป็นช่องทางสื่อสารทางการตลาด โดยตั้งเป้าหมายผลผลิตและผลลัพธ์ 1) ทางกิจการมีเว็บไซต์ เพื่อเป็นการเพิ่มช่องทางทางการสื่อสารทางการตลาด 2) มีฉลากหรือบรรจุภัณฑ์เพื่อการส่งเสริมการขาย และ 3) มีการผลิตคลิปวีดิโอสั้นเพื่อสื่อโฆษณา ประชาสัมพันธ์ ผลิตภัณฑ์ของกิจการ โดยตั้งเป้าหมายผลผลิตและผลลัพธ์กิจการเพิ่มช่องทางในการสื่อสารทางการตลาด และมีรายได้เพิ่มขึ้นจากเดิมมากกว่าร้อยละ 10 จากการดำเนินกิจกรรม ถ่ายทอดความรู้สร้างกิจกรรม เพื่อส่งเสริมศักยภาพคนในชุมชน ด้านการสำรวจตลาด พฤติกรรมผู้บริโภค และการขาย วิทยากรโดย คุณอณุชา ทาจะปุ ผู้เชี่ยวชาญทางด้านการสร้างคอนเท้นท์ผ่านสื่อวีดิโอสั้น และได้จัด โครงการประกวดคลิปวิดีโอสร้างสรรค์ ประชาสัมพันธ์แนะนำผ้าทอมือบ้านผักหนอก ในหัวข้อ "ผ้าทอง้ามงามบ้านผักหนอก บอกต่อเด้อ" ภายใต้โครงการ การพัฒนายกระดับผ้าไหมมัดหมี่กลุ่มสตรีสหกรณ์ทอผ้าบ้านผักหนอกสู่สากล และพัฒนาสื่ออันเป็นช่องทางในการสื่อสารทางการตลาด ผลผลิตจากการดำเนินกิจกรรมคือ 1) เว็บไซต์ Silktella.comเพื่อเป็นการเพิ่มช่องทางทางการสื่อสารทางการตลาด 2) มีการจัดทำฉลากสินค้าเพื่อการส่งเสริมการขาย 1,000 ชิ้น และ 3) มีการผลิตคลิปวีดิโอสั้นเพื่อสื่อโฆษณา ประชาสัมพันธ์ ผลิตภัณฑ์ของกิจการภายไต้ Content “ผ้างามหลาย บ้านผักหนอก บอกต่อเด้อ”ในส่วนผลลัพธ์จากการจัดกิจกรรมคือ กลุ่มสตรสหกรณ์ทอผ้าบ้านผักหนอกมีรายได้เพิ่มขึ้นจากเดิม ร้อยละ 10 จากการเก็บข้อมูลยอดขาย ณ วันที่รายงาน 1) ผ้าฝ้ายสีพื้นย้อมสีผักหนอก ยอดขาย 30 เมตร2) ผ้าไหมมัดหมี่ ย้อมสีธรรมชาติ ลายผักหนอก ยอดสั่งจอง 8 เมตร จากผลการทดสอบตลาด (Market Test) ข้างต้น ระดับความพึงพอใจของการใช้งานอยู่ในระดับพึงพอใจมากที่สุด จากผู้ประเมิน 150คน พบว่า ผลิตภัณฑ์ที่มีระดับความพึงพอใจจัดเรียงตามค่าเฉลีย ได้ดังนี้
ผลการประเมินความพึงพอใจในการรับบริการ จากการประเมินผลความพึงพอใจในการเข้าร่วมกิจกรรม โครงการการพัฒนายกระดับผ้าไหมมัดหมี่กลุ่มสตรีสหกรณ์ทอผ้าบ้านผักหนอก สู่สากล ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566 พบว่าค่าคะแนนอยู่ในระดับ 95.42 หมายถึงพึงพอใจมาก และผู้ประกอบการยังให้ความสนใจที่จะเข้าร่วมโครงการต่อไป รายงานโดย ผศ.ดร.วุฒิพงษ์ โรจน์เขษมศรี วันที่รายงาน 30/09/2566 [15751] |
40490 | 20 | ||||||||||||||||||||||||
3 [15151] |
รายงานไตรมาส 3 1 .สำรวจพื้นที่ร่วมกับชุมชนถ่ายทอดความรู้ในการเลือกวัตถุดิบจากธรรมชาติที่มีคุณสมบัติสีย้อม ในการดำเนินการ ปี 2566 ช่วงวันที่ 13–21 พฤษภาคม 2566 เป็นการสำรวจพื้นที่ เพื่อนำผักหนอก หรือใบบัวบก มาทดลองย้อมสีธรรมชาติ เพื่อให้เป็นสีผ้าที่เป็นเอกลักษณ์ของกิจการ นำมาสู่การทดลองร่วมกับสมาชิกเดิมของกลุ่มที่มีพื้นฐานความรู้ด้านการย้อมสีธรรมชาติ ทดลองทั้งการย้อมในฝ้ายและไหม ใช้ทั้งใบผักหนอกสดและผักหนอกชนิดแห้งบดเป็นผง จากผลการทดลองพบว่า ผักหนอกชนิดแห้งบดเป็นผงจะให้สีจับที่เส้นใยได้ดีกว่าที่ดีกว่า จะได้เส้นใยสีครีม และเทาอมเขียวอ่อนๆ ในขั้นตอนนี้ ใช้งบประมาณ 15,600 บาท 2. เมื่อสรุปความรู้จากการทดลองย้อมสีธรรมชาตจากผักหนอกแล้ว กิจกรรม “GEN 2 ผ้าผักหนอก” ถ่ายทอดความรู้ การย้อมสีธรรมชาติ การออกแบบลายผ้าจากทุนวัฒนธรรมของท้องถิ่น การทอผ้ามัดหมี่ เพื่อสร้างช่างทอผ้ารุ่นใหม่ สืบทอดงานทอผ้าไหมมัดหมี่บ้านผักหนอกใน ช่วงวันที่ 10 -25 มิถุนายน 2566 ผลจากการดำเนินการ มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมเพิ่มขึ้น จากโครงการในปี 2565 มีผู้เข้าร่วม 10 ในปี 2566มีคนในชุมชนที่เข้าร่วม เพิ่มขึ้น 19 คน ทั้งที่เป็น สมาชิกเดิมที่เคยออกจากกลุ่มไปและคนใหม่ที่สนใจ จึงให้สมาชิกที่เพิ่มขึ้นได้ทอผ้าพื้นสีธรรมชาติ 30 เมตรที่เป็นคำสั่งซื้อจากภายนอกเข้ามาที่กลุ่ม และให้สมาชิกเดิมที่พอจะมีพื้นฐานอยู่บ้างฝึกการทอผ้าลายด้วยเทคนิคการทอที่ซับซ้อนมากขึ้น ค่าใช้จ่ายในกิจกรรม ค่าวัสดุ อุปกรณ์ สำหรับปฏิบัติการย้อมสีธรรมชาติ และค่าใช้จ่ายในการอบรมเชิงปฏิบัติการใช้งบประมาณ 34,850 บาท 3.การผลิตผืนผ้าย้อมสีธรรมชาติลายเอกลักษณ์ชุมชนคณะผู้ดำเนินโครงการได้ดำเนินการออกแบบลายผ้านำใบบัวบก มาออกแบบลายผ้า โดยนำมาวิเคราะห์ร่วมกับรสนิยมผู้บริโภค เทรนด์2023 เกี่ยวกับรูปแบบเสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย เพื่อการออกแบบลายผ้าให้มีเอกลักษณ์ของท้องถิ่นและสอดคล้องกับความต้องการของตลาดผลงานการออกแบบ 10 ลาย และให้ประธานกลุ่มละสมาชิกคัดเลือก 3 ลาย เพื่อ ดำเนินการผลิตผืนผ้า ต้นแบบ แต่เนื่องจากตั้งแต่เดือน มีนาคมเป็นต้นมา ชุมชนประสบปัญหาหม่อนที่เลี้ยงไว้ตายหมดเนื่องจากสภาพอากาศที่ร้อนจัด และจากการติดต่อสอบไปยังแหล่งพื้นที่อื่น ๆ รวมถึงโรงงานที่ผลิต จำหน่ายเส้นไหมพบว่า ในพื้นที่ภาคอีสานประสบปัญหาเส้นไหมขาดตลาด ทางกลุ่มจึงใช้เวลาถึงต้นเดือนสิงหาคมในการได้เส้นไหมเพื่อนำมาผลิตผ้าต้นแบบของโครงการ ณ วันที่รายงานจึงอยู่ระว่างการทำผืนผ้าต้นแบบ ใช้งบประมาณ 34,000 บาท 4. ส่งผืนผ้าทดสอบมาตรฐาน. เป็นการนำผืนผ้าฝ้ายย้อมสีธรรมชาติจากผักหนอก ส่งเข้าทดสอบความคงทนการติดสีกับ สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ ณ วันที่รายงาน อยู่ระหว่างดำเนินการและรอผลการทดสอบ 5. จัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการทักษะการออกแบบเสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย การตัดแพทเทิร์น (PATTERN)การตัดเย็บ และการตกแต่ง ในวันที่ 22 กรกฎาคม -5 สิงหาคม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่ออบรม ให้ความรู้ ความเข้าใจในการออกแบบออกแบบเสื้อผ้า และเทคนิควิธีการ กระบวนการตัดเย็บโดยมี ผศ.ดร.วุฒิพงษ์ โรจน์เขษมศรี และอาจารย์สายฝน จำปาทอง เป็นวิทยากร ในการจัดกิจกรรมครั้งนี้ มีสมาชิกกลุ่มทอผ้าไหมผ้าฝ้ายบ้านผักหนอก เข้าร่วมกิจกรรมทั้งหมด 20 คน ใช้งบประมาณ 24,900 บาท หลังจากการออกแบบออกแบบเสื้อผ้าได้ตามต้องการแล้วได้มีการอบรมให้ความรู้กระบวนการตัดเย็บ ซึ่งจะเป็นการทำงานอย่างมีขั้นตอน เพื่อให้ได้ผลงานที่บรรลุตามความคาดหวังหรือเป้าหมายที่วางไว้โดยเริ่มจากการวิเคราะห์แบบที่ต้องการ งบประมาณเรื่องเงินที่ต้องใช้จ่าย วิเคราะห์เรื่องเครื่องมืออุปกรณ์ วางแผนการ เตรียมการ และการเย็บ กระบวนการตัดเย็บเสื้อผ้าและ มอบแบบเสื้อผ้าให้ชุมชนได้ทดลองตัดเย็บเสื่อผ้าผลิตภัณฑ์ต้นแบบโดยคณะผู้จัดโครงการคอยให้คำแนะนำปรึกษา 6. กิจกรรม “ปั้นนักการตลาดบ้านผักหนอก” ถ่ายทอดความรู้สร้างกิจกรรม เพื่อส่งเสริมศักยภาพคนในชุมชน ด้านการสำรวจตลาด พฤติกรรมผู้บริโภค และการขาย ในการนี้ได้จัดโครงการโครงการประกวดคลิปวิดีโอสร้างสรรค์ ประชาสัมพันธ์แนะนำผ้าทอมือบ้านผักหนอก ในหัวข้อ "ผ้าทอง้ามงามบ้านผักหนอก บอกต่อเด้อ" ภายใต้โครงการ การพัฒนายกระดับผ้าไหมมัดหมี่กลุ่มสตรีสหกรณ์ทอผ้าบ้านผักหนอกสู่สากล ได้มีการประชาสัมพันธ์โครงการและกำหนดจัดการ ฝึกอบรมถ่ายทอดความรู้การตลาด พฤติกรรมผู้บริโภค และการขายผ่านสื่อออนไลน์ด้วยคลิปวีดิโอ ในวันที่ 20-25 สิงหาคม ณ วันที่รายงาน อยู่ระหว่างดำเนินการ 7.ถ่ายทอดความรู้โดยจัดอบรมเชิงปฏิบัติการออกแบบพัฒนาเว็บไซต์เพื่อเป็นช่องทางสื่อสาร ส่งเสริมภาพลักษณ์องค์กร การขาย การตลาดผ่านระบบออนไลน์ อยู่ระหว่างดำเนินการ 8. จัดทำบรรจุภัณฑ์หรือฉลากสินค้า สำหรับผลิตภัณฑ์ใหม่ดำเนินการออกแบบแล้วเสร็จ อยู่ระหว่างดำเนินการและประสานงานโรงพิมพ์ ใช้งบประมาณ 5,000 บาท รายงานโดย ผศ.ดร.วุฒิพงษ์ โรจน์เขษมศรี วันที่รายงาน 13/08/2566 [15151] |
159350 | 20 | ||||||||||||||||||||||||
2 [14211] |
คณะทำงานได้ลงพื้นที่เก็บข้อมูลและวินิจฉัยสถานประกอบการ ด้านวัสดุ การผลิต รูปแบบผลิตภัณฑ์ เก็บข้อมูลทางด้านเอกลักษณ์และวัฒนธรรมชุมชน และการตลาด ณ ปี 2565-2566 รายละเอียดผลการลงพื้นที่วินิจฉัยสถานประกอบการ ดังนี้ จากสถานการณ์ โรคระบาดโควิด-19 ส่งผลกระทบอย่างมากต่อการคงอยู่ของสมาชิกในกลุ่ม ด้วยสภาวะวิกฤติทางเศรษฐกิจที่ทำให้ยอดขายลดลง อุปสรรคในการออกร้านขายสินค้า ทำให้มีสมาชิกที่ที่เป็นกำลังการผลิตเดิมต้องออกจากกลุ่มไป ดังนั้น ยุทธศาสตร์ที่สำคัญในการสร้างความเข้มแข็งให้กับกิจการคือการ สร้างผู้สืบทอดการดำเนินงานการย้อมผ้า การทอผ้า เสริมศักยภาพ ทดแทนกำลังการผลิตที่ออกจากกลุ่มไป รวมถึงสร้างกิจกรรม เช่นการประกวด ทำคลิปหรือทำสื่อประชาสัมพันธ์ออนไลน์ สื่อสารผ่านโซเชี่ยลมิเดียร์ อย่างง่าย ๆ เพื่อดึงชุมชนคนรุ่นใหม่ เข้ามามีส่วนร่วมกับการตลาดการประชาสัมพันธ์ การโฆษณา เหล่านี้คือกิจกรรมที่จะดำเนินงาน ภายไต้โครงการในปีงบประมาณ 2566 ความคืบหน้าในการดำเนินงานรายงานผลได้ดังต่อไปนี้ สำรวจพื้นที่ร่วมกับชุมชนศึกษาวัตถุดิบจากธรรมชาติที่มีคุณสมบัติสีย้อมในการนี้ในส่วนของคณะทำงานและผู้ประกอบการเห็นพ้องต้องกันว่า เพื่อให้ได้เอกลักษณ์ของสีย้อมที่สัมพันธ์กับเอกลักษณ์ของชื่อชุมชน “ผักหนอก” หรือที่แปลว่าใบบัวบก จึงมีแนวคิดในการย้อมสีธรรมชาติจากใบบัวบก ซึ่งขณะนี้ยังไม่เคยมีใครนำมาใช้ อยู่ในช่วงของการทดลองสกัดน้ำสีออกจากใบบัวบก กิจกรรม “GEN 2 ผ้าผักหนอก” ถ่ายทอดความรู้ การย้อมสีธรรมชาติ การออกแบบลายผ้าจากทุนวัฒนธรรมของท้องถิ่น การทอผ้ามัดหมี่ เพื่อสร้างช่างทอผ้ารุ่นใหม่ สืบทอดงานทอผ้าไหมมัดหมี่บ้านผักหนอกอยู่ระหว่างการประชาสัมพันธ์ให้คนในชุมชนที่สนใจรับทราบ ทั้งนี้รอให้ทางกิจการเป็นผู้รวบรวมรายชื่อ และสรุปความรู้จากการทดลองย้อมสีด้วยใบบัวบกแล้วเสร็จจึงจะเริ่มกิจกรรม อบรมเชิงปฏิบัติการ ถ่ายทอดความรู้ การย้อมสีธรรมชาติ การออกแบบลายผ้าจากทุนวัฒนธรรมของท้องถิ่น การทอผ้ามัดหมี่ เพื่อสร้างช่างทอผ้ารุ่นใหม่ สืบทอดงานทอผ้าไหมมัดหมี่บ้านผักหนอก รายงานโดย ผศ.ดร.วุฒิพงษ์ โรจน์เขษมศรี วันที่รายงาน 05/04/2566 [14211] |
5000 | 7 |