2566 การเพิ่มมูลค่าทางการตลาดแก่เฝือกไม้ไผ่เพื่อเชื่อมโยงเป็นกิจกรรมสำหรับการจัดการท่องเที่ยวชุมชนของบ้านสามัคคีธรรม   0


รายงานความก้าวหน้า

ไตรมาส ผลการดำเนินงาน งบประมาณที่ใช้ ผู้รับบริการ
3 [15248]

รายงานความก้าวหน้าโครงการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566

ไตรามาสที่ 1 - 4 

 

       สถานที่  หมู่ 5 บ้านสามัคคีธรรม ต.ลุ่มสุ่ม อ.ไทรโยค จ.กาญจนบุรี

       ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการดำเนินกิจกรรม  212000 บาท

       จำนวนผู้เข้าร่วม 50 คน (รับการถ่ายทอดความรู้)

 

ความก้าวหน้าโครงการ 

ที่

กิจกรรม

ผลการดำเนินงานสำคัญโดยสรุป

(ระบุผลผลิต ผลลัพธ์ และผลของตัวชี้วัด

กิจกรรม/โครงการที่กำหนด)

ปัญหา อุปสรรค/ ข้อเสนอแนะ

1

การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการลดเชื้อราในเฝือกไม้ไผ่

-มีวิทยากรมาถ่ายทอดเทคโนโลยี 1 ท่าน

2.ผู้ได้รับการถ่ายทอด 50 คน

3.มีผู้สนใจลดเชื้อราและมอดในเฝือกเพื่อเพิ่มราคาขายเพิ่มขึ้น 20 บาท/ผืน จำนวน 3ครัวเรือน

1.การใช้อุปกรณ์ทำจากถังโลหะ(ถังยางมะตอย)ทำให้เกิดสนิมได้ง่ายทำให้ต้องมีการเปลี่ยนน้ำและเพิ่มสารระลายใหม่ทุกครั้งที่มีการใช้งาน และป้องกันน้ำเน่า

แก้ไขปัญหาด้วยการใช้ถังพลาสติกแทน

2.การอบรมควันไม่สามารถยับยั้งเชื้อราได้เกิน 15 วัน แต่ทำให้สีของไม้สวย ถ้าใช้วิธีการแช่น้ำยากันเชื้อราและมอดไม่ต้องอบรมควัน แต่ชาวบ้านต้องการความรวดเร็วในการผลิตทำให้ยังเลือกใช้วิธีการดั้งเดิม

2

การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการการลดมอดในเฝือกไม้ไผ่

3

การอบรมเชิงปฏิบัติการการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์สำหรับสินค้าชุมชน

1. มีวิทยากรมาถ่ายทอดเทคโนโลยี 1 ท่าน

2. ผู้ได้รับการถ่ายทอด 50 คน

3. มีการทดลองผลิตสินค้าจากป่าหลายชนิด โดยใช้วัตถุดิบจากป่า เช่น ไม้ไผ่ เศษไม้ ขี้เลื่อย และ มะพร้าวที่มีอยู่ในชุมชน มีผู้สนใจร่วมดำเนินการ 3 ครัวเรือน

1.ปัญหาหน้าฤดูการเพาะปลูกชาวบ้านจะให้ความสำคัญกับอาชีพเสริมน้อย และยอดคำสั่งซื้อไม่ค่อยต่อเนื่องทำให้เวลาในการผลิตสินค้าใหม่น้อยลงและไม่ได้ให้ความสำคัญเท่าที่ควร

4

การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการการวิเคราะห์จุดคุ้มทุนและวางแผนกำไร

1. มีวิทยากรมาถ่ายทอดเทคโนโลยี 1 ท่าน

2. ผู้ได้รับการถ่ายทอด 53 คน

3. ชาวบ้านเข้าใจการคิดต้นทุนและการวางแผนกำไรพร้อมนำไปประยุกต์ใช้ กับการทำสวน ทำไร่ เช่น มันสำปะหลัง และ กล้วย 3 ครัวเรือน

1.ถ้าผู้เข้าร่วมเป็นผู้สูงอายุจะเป็นอุปสรรคต่อการฝึกคำนวณในโทรศัพท์มือถือ

2.ถ้าผู้เข้าร่วมไม่มีโทรศัพท์ หรือ เครื่องคิดเลขติดตัวมาในที่อบรมนี้จะไม่สามารถฝึกทำตามได้ดีเพราะฟังอย่างเดียวค่ะ

ข้อเสนอแนะ ก่อนเข้าร่วมอบรมที่เกี่ยวข้องกับการคิดคำนวณต้องแจ้งให้ผู้ใหญ่บ้านกำชับผู้เข้าร่วมให้นำเครื่องคิดเลขมาด้วย ทั้งนี้ เวลาลงให้คำปรึกษาหลังอบรมทางผู้วิจัยจึงได้นำเครื่องคิดเลขไปช่วยสอนอีกทาง

5

การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการการจัดทำบัญชีครัวเรือนสำหรับชุมชน

1. มีวิทยากรมาถ่ายทอดเทคโนโลยี 1 ท่าน

2. ผู้ได้รับการถ่ายทอด 53 คน

3. ชาวบ้านเข้าใจการคิดรายได้ รายจ่าย และเงินออมพร้อมจัดทำบัญชีครัวเรือนอย่างน้อย 3 ครัวเรือน

1.ถ้าผู้เข้าร่วมเป็นผู้สูงอายุจะเป็นอุปสรรคต่อการฝึกคำนวณในโทรศัพท์มือถือ

2.ถ้าผู้เข้าร่วมไม่มีโทรศัพท์ หรือ เครื่องคิดเลขติดตัวมาในที่อบรมนี้จะไม่สามารถฝึกทำตามได้ดีเพราะฟังอย่างเดียวค่ะ

ข้อเสนอแนะ

1.ก่อนเข้าร่วมอบรมที่เกี่ยวข้องกับการคิดคำนวณต้องแจ้งให้ผู้ใหญ่บ้านกำชับผู้เข้าร่วมให้นำเครื่องคิดเลขมาด้วย ทั้งนี้ เวลาลงให้คำปรึกษาหลังอบรมทางผู้วิจัยจึงได้นำเครื่องคิดเลขไปช่วยสอนอีกทาง

2. ปรับวิธีการสอนแบบทำบัญชีผ่าน Applicationออนไลน์ เป็นเขียนลงกระดาษ

6

การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการการด้วยเทคนิคการสร้างช่องทางขายออนไลน์ผ่าน Social media

1. มีวิทยากรมาถ่ายทอดเทคโนโลยี 1 ท่าน

2. ผู้ได้รับการถ่ายทอด 56 คน

3. ชาวบ้านเข้าใจวิธีการสร้างช่องทางกาตลาดใหม่จาก Shopee และ Lazada พร้อมทดลองขายสินค้าบน platform ดังกล่าว 2 ครัวเรือน

1. ผู้เข้าร่วมที่ไม่มี Smart phone จะไม่สามารถทดลองทำในวันที่ฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการได้ค่ะ

ข้อเสนอแนะ ผู้วิจัยจึงเลือกอาสาสมัครที่สนใจและพร้อมจะเป็นตัวแทนชุมชนในการลงขายผลิตภัณฑ์สินค้าของบ้านสามัคคีธรรม จำนวน 2 ครัวเรือน เพื่อทำการให้คำปรึกษาแบบเฉพาะทีละบุคคล

 

ประโยชน์ที่ได้รับจากการดำเนินโครงการ

1) ชาวบ้านได้รับรู้ถึงวิธีการเพิ่มมูลค่าของเฝือกไม้ไผ่จากการลดเชื้อราและมอด

2) ชาวบ้านได้รับรู้ถึงวิธีการเพิ่มมูลค่าของเฝือกไม้ไผ่จากการปรับเปลี่ยนบรรจุภัณฑ์ให้เหมาะสมตามกลุ่มลูกค้า

3) ชาวบ้านได้รับรู้และข้าใจถึงประโยชน์จากป่าชุมชนในหมู่บ้านและร่วมใจกันช่วยรักษาป่าให้เป็นแหล่งทรัพยากรอันมีค่าของทุกๆ คนในชุมชน

 

ภาพประกอบ

/online/cmo/filemanager/1615/files/BCE 2566(4).pdf



รายงานโดย นายธนากร  ยุทธพลนาวี วันที่รายงาน 23/08/2566 [15248]
212000 50