2566 พัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพรอินทรีย์เชิงพาณิชย์ของวิสาหกิจชุมชนสมุนไพรอินทรีย์ลุ่มสุ่ม ต.ลุ่มสุ่ม อ.ไทรโยค จ.กาญจนบุรี   0


รายงานความก้าวหน้า

ไตรมาส ผลการดำเนินงาน งบประมาณที่ใช้ ผู้รับบริการ
5 [15862]

กิจกรรมที่ 6 การติดตามและประเมิน ผลการดำเนินงาน

           จากการถ่ายทอดความรู้ เรื่องการทำการตลาดสมัยใหม่ ผ่านสื่อโชเซียลมีเดีย และนำผลิตภัณฑ์ออกจำหน่ายนั้น สามารถสรุปความพึงพอใจ และการนำไปใช้ประโยชน์ของผู้เข้าร่วมการอบรมของชุมชนฯ ทั้ง 15 คน ได้ดังนี้

ความพึงพอใจโดยรวม อยู่ในระดับมากที่สุด ด้วยค่าเฉลี่ย 4.78เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย พบว่า ด้านวิทยากร อยู่ในระดับมากที่สุด ด้วยค่าเฉลี่ย 4.80 รองลงมาคือ ด้านความคิดเห็นเกี่ยวกับการจัดอบรม อยู่ในระดับมากที่สุด ด้วยค่าเฉลี่ย 4.79 ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก อยู่ในระดับมากที่สุด ด้วยค่าเฉลี่ย 4.77 และด้านกระบวนการ/ขั้นตอนการให้บริการ อยู่ในระดับมากที่สุด ด้วยค่าเฉลี่ย 4.74 ตามลำดับ



รายงานโดย ผศ.ณัฐยา ชุ่มบุญชู วันที่รายงาน 17/12/2566 [15862]
2000 15
5 [15861]

กิจกรรมที่ 5 การจัดอบรมการทำการตลาดสมัยใหม่ ผ่านสื่อโชเซียลมีเดีย และนำผลิตภัณฑ์ออกจำหน่าย

           คณะผู้ดำเนินงาน ได้ทำการนำเสนอผลิตภัณฑ์ และถ่ายทอดความรู้ทางด้านการตลาด โดยมีหัวข้อในการอบรม ดังนี้

1.        การตลาดแบบรู้ใจ เพื่อสร้างการรับรู้

ความสำคัญของการทำการตลาดแบบรู้ใจลูกค้า รู้จักองค์ประกอบที่เกี่ยวข้องและการสร้างการรับรู้ ผ่านตัวอย่างที่สามารถประยุกต์ใช้ได้กับธุรกิจ การสร้างสรรค์คอนเทนต์ให้ตอบโจทย์ลูกค้า และการสร้าง
แบรนด์ให้มีพลัง เพื่อสร้างทิศทางและคุณค่าของการทำธุรกิจอย่างยั่งยืน

2.        การตลาดออนไลน์ เพื่อเพิ่มโอกาสทางธุรกิจ

          การทำการตลาดผ่านช่องทางออนไลน์สำหรับผลิตภัณฑ์ชุมชน การสร้างเรื่องราว(Storytelling) ที่ดีเพื่อสร้างภาพจำ และความแตกต่างที่นอกเหนือจากคู่แข่ง รวมถึงเทคนิควิธีการปิดการขายอย่างมีประสิทธิภาพ และการถ่ายภาพสินค้าด้วยสมาร์ทโฟนเพื่อเพิ่มโอกาสทางธุรกิจ

3.        การออกแบบธุรกิจ (Business Model Canvas)

การพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชน ให้ตอบโจทย์ความต้องการลูกค้า และการสร้างแผนภาพธุรกิจ (Business Model Canvas)เพื่อให้สามารถบริหารจัดการธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิ และเห็นถึงรูปแบบการดำเนินการที่ชัดเจน



รายงานโดย ผศ.ณัฐยา ชุ่มบุญชู วันที่รายงาน 17/12/2566 [15861]
51600 40
5 [15860]

กิจกรรมที่ 3 การนำผลิตภัณฑ์ที่ได้มาทดสอบความพึงพอใจของผลิตภัณฑ์จากกลุ่มตัวอย่างผู้บริโภค

คณะผู้ดำเนินงาน ได้นำตัวอย่างผลิตภัณฑ์ที่ได้จัดทำการกิจกรรมที่ 1 และนำรูปแบบจุภัณฑ์ที่เป็นตัวอย่าง (Mock up) พร้อมกับรายละเอียดของผลิตภัณฑ์ไปทำการทดสอบกับกลุ่มเป้าหมาย (หลังจากการรับฟังคณะกรรมการที่เข้ามาให้คำแนะนำ จึงได้เปลี่ยนกลุ่มเป้าหมายให้สอบคล้องกับผลิตภัณฑ์ คือช่วงวัย 40 – 60 ปี)และได้นำผลิตภัณฑ์นี้ไปให้กลุ่มเป้าหมาย และกลุ่มที่ใกล้เคียงกับกลุ่มเป้าหมาย 

ซึ่งจากผลการทดสอบนี้ ผู้วิจัยพยายามปรับบรรจุภัณฑ์ให้มีสีสันที่สดใสเพิ่มขึ้น และมุ่งเน้นไปที่ข้อมูลของผลิตภัณฑ์ เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคให้มากที่สุด ส่วนด้านการส่งเสริมทางการตลาดจะมุ่งเน้นไปที่รสชาติกระเจี๊ยบเป็นหลัก เนื่องจากรสชาตินี้ได้ผลตอบรับที่ดี มีรสชาติที่โดนใจผู้บริโภค และจะนำเอาข้อมูลส่วนนี้ไปวางแผนการบริหารจัดการทางด้านการกระจายสินค้า ให้สามารถเข้าถึงผู้บริโภคได้ง่าย

 



รายงานโดย ผศ.ณัฐยา ชุ่มบุญชู วันที่รายงาน 17/12/2566 [15860]
6000 124
4 [15450]

กิจกรรมที่ 4: 4. ดำเนินการนำผลิตภัณฑ์เยลลี่สมุนไพรพร้อมดื่มเพื่อสุขภาพ เข้าสู่กระบวนการขอรับรองคุณภาพตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนของเยลลี่เหลว  (มผช.)



รายงานโดย นางสาววรันฐิยา ไชยลา วันที่รายงาน 13/09/2566 [15450]
9200 6
4 [15448]

กิจกรรมที่ 2: ออกแบบบรรจุภัณฑ์เชิงสร้างสรรค์ร่วมกับชุมชน โดยจัดทำแบบร่างบรรจุภัณฑ์ต้นแบบเชิงสร้างสรรค์โดยมีผู้เชี่ยวชาญให้คำปรึกษา



รายงานโดย นางสาววรันฐิยา ไชยลา วันที่รายงาน 13/09/2566 [15448]
28600 10
4 [15449]

กิจกรรมที่ 1: การทดลองดำเนินการผลิต “เยลลี่สมุนไพรพร้อมดื่มเพื่อสุขภาพ” จากสมุนไพร 2ชนิด
 

ผลิตภัณฑ์ต้นแบบและดำเนินการขอมาตรฐาน อย. โดยขั้นตอนการเนินการในการเตรียมยื่นขอการรับรองมาตรฐาน ดังนี้

1. เตรียมข้อมูลส่วนประกอบและขั้นตอนการผลิตเจลลี่กระเจี๊ยบ/ใบเตยผสมอันชัน โดยสูตรเจลลี่กระเจี๊ยบมีส่วนประกอบและขั้นการผลิต ดังนี้

          
สูตรกระเจีียบ
           น้ำกระเจี๊ยบ      60 % / 

           กรดซิตริก         0.11 %

           คาราจีแนน       0.64 %

           ผงบุก              0.18 %

           น้ำเปล่า           27.42 %

           น้ำตาลทราย      11.42 %
 

สูตรใบเตยผสมอันชัน
           น้ำใบเตย            30 % 
           น้ำอันชัน             30%

           กรดซิตริก         0.11 %

           คาราจีแนน       0.64 %

           ผงบุก              0.18 %

           น้ำเปล่า           27.42 %

           น้ำตาลทราย      11.42 %

วิธีการทำ

1. นำน้ำตาลทราย คาราจีแนน และผงบุกรวมกัน

2. นำน้ำเปล่าตั้งไฟให้ร้อน จากนั้นค่อยๆ เทส่วนผสมน้ำตาลทราย คาราจีแนน ผงบุกลง คนให้ละลายจนหมด วัดอุณหภูมิที่ 90องศาเซลเซียส

3. ค่อยๆ เทน้ำกระเจี๊ยบที่เตรียมลงในส่วนผสม วัดอุณหภูมิให้ได้ 85องศาเซลเซียส นาน 3นาที

4. ยกลงตักฟองออกและบรรจุซอง ปิดฝาให้สนิท จากนำไปทำให้เย็นทันที

 

2 ดำเนินการส่งตัวอย่างเจลลี่วิเคราะห์คุณภาพ ดังนี้

    2.1 การวิเคราะห์คุณภาพเจลลี่ตาม ประกาศ ฉบับที่ 213 พ.ศ. 2543 แยม/เจลลี่/มาร์มาเลดในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท โดยมีรายการที่ตรวจวิเคราะห์ ดังนี้

           - ค่าความเป็นกรด-ด่าง

           - วัตถุกันเสีย

           - กรดเบนโซอิก

           - กรดซอร์บิก

            - ซัลเฟอร์ไดออกไซด์

            - น้ำหนักเนื้ออาหาร + น้ำหนักสุทธิ

            - ตะกั่ว

            - MPN Coliforms BAM

            - จุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรค

            - Salmonella spp.

            - S. aureus

........................ ผลการดำเนินงาน อยู่ระหว่างรอผลผลการวิเคราะห์............................

2.2 การวิเคราะห์ฉลากโภชนาการ แบบเต็ม มีรายการวิเคราะห์ ดังนี้

                                - พลังงาน

                                - พลังงานจากไขมัน

                                - ไขมัน

                                - ไขมันอิ่มตัว

                                - โคเลสเตอรอล

                                - โปรตีน

                                - คาร์โบไฮเดรต

                                - ใยอาหาร

                                - น้ำตาล

                                - โซเดียม

                                - วิตามินเอ

                                - วิตามินบี 1

                                - วิตามินบี 2

                                - แคลเซียม

                                - เหล็ก

........................ ผลการดำเนินงาน อยู่ระหว่างรอผลผลการวิเคราะห์............................

3. การวางแผนผังสถานที่ผลิตผลิตภัณฑ์ เจลลี่

                 วิสาหกิจชุมชนสมุนไพรอินทรีย์ลุ่มสุ่ม  ตำบล ลุ่มสุ่ม  อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี มีสถานที่สำหรับผลิตชา ที่ได้รับการรองมาตรฐาน อย. แล้ว จากการปรึกษาและสอบถามข้อมูลกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดในการดำเนินการยื่นขอการรับรองมาตรฐาน อย. ผลิตภัณฑ์เจลลี่ สามารถที่ใช้สถานที่ผลิตเดียวกันได้ โดยกลุ่มวิสาหกิจต้องจัดทำตารางการผลิตของผลิตภัณฑ์ ให้ชัดเจน และเพิ่มพื้นที่ในส่วนของกระบวนการผลิตเจลลี่ที่ต้องมีการใช้ความในการพาสเจอไรซ์เจลลี่ คณะทำงานได้นำแผนผังสถานที่ผลิตชา ร่วมหารือกับกลุ่มวิสาหกิจเพื่อปรับให้เป็นไปตามที่สำนักงานสาธารสุขจังหวัดแนะนำ 



รายงานโดย นางสาววรันฐิยา ไชยลา วันที่รายงาน 13/09/2566 [15449]
83800 30