2566 โครงการยกระดับมาตรฐานการผลิตน้ำบูดูในพื้นที่จังหวัดนราธิวาส    0


รายงานความก้าวหน้า

ไตรมาส ผลการดำเนินงาน งบประมาณที่ใช้ ผู้รับบริการ
4 [15697]

เมื่อช่วงวันที่ 15 -18 เดือนกันยายน คณะผู้รับผิดชอบโครงการ ยกระดับมาตรฐานการผลิตน้ำบูดูในพื้นที่จังหวัดนราธิวาส และคลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ ได้ลงพื้นที่ ไปยังกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มน้ำบูดู บ้านบือราแป๊ะ เลขที่ 48/1 ม.3 ต. โคกเคียน  อ.เมือง จ.นราธิวาส เพื่อนำผู้เชี่ยวชาญด้านกระบวนการแปรรูปน้ำบูดู และการยืดอายุน้ำบูดู ลงไปให้บริการให้คำปรึกษา ในกระบวนการ และขั้นตอน ในการทำบูดูอัดแท่ง หรืออัดก้อน เนื่องจากทางกลุ่มเห็นว่า การทำบูดูอัดก้อนเป็นที่น่าสนใจในท้องตลาด ซึ่งง่ายต่อการบริโภค จำหน่าย และการนำไปเป็นของฝาก ของที่ละลึกได้ โดยผู้เชี่ยวชาญได้ให้คำแนะนำเบื้องต้น โดยกระบวนการพัฒนาและผลิตจะดำเนินในปีที่ 3 



รายงานโดย นายวิรัตน์ หน่อแดง วันที่รายงาน 22/09/2566 [15697]
0 20
4 [15574]

เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2566 คณะกรรมการการประเมินติดตามโครงการได้มีกำหนดการลงพื้นที่เพื่อติดตามความก้าวหน้าการดำเนินโครงการ เพื่อเพิ่มศักยภาพการผลิตและเศรษฐกิจชุมชน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566 ภายใต้แพลตฟอร์มเพิ่มศักยภาพธุรกิจชุมชน โครงการยกระดับมาตรฐานการผลิตน้ำบูดูในพื้นที่จังหวัดนราธิวาส ปีที่ 2 โดยสำหรับกิจกรรมการดำเนินงานปีที่ 1 (2565) เป็นกระบวนการถ่ายทอดเทคโนโลยีองค์ความรู้การผลิตน้ำบูดูให้มีคุณภาพ มาตรฐาน สะอาด ปลอดภัย และถูกสุขลักษณะอนามัย ส่วนปีที่ 2 (2566) จะมุ่งในเรื่องของการพัฒนาการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากบูดูในรูปแบบที่หลากหลาย โดยมีการนำผลผลิตน้ำบูดูมาพัฒนาเป็นบูดูผง เพื่อง่ายต่อการนำไปใช้บริโภค ตลอดจนมีความสะดวกในการเคลื่อนย้ายหรือขนส่ง จากนั้นมีการนำบูดูผงมาพัฒนาต่อยอดเป็นส่วนผสม ได้เป็นผลิตภัณฑ์ คือ ทองพับ และคุกกี้บูดู ซึ่งสามารถตอบโจทย์กลุ่มลูกค้าได้ทุกเพศ ทุกวัย และเน้นการยกระดับศักยภาพผู้ประกอบการผลิตน้ำบูดูในชุมชน ผู้ประกอบการมีการพัฒนาศักยภาพที่เพิ่มขึ้น เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ให้ทันเหตุการณ์ เทคโนโลยี และรูปแบบการตลาดที่ทันสมัย เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภค การสร้างความเข้มแข็งให้กับกลุ่มผู้ประกอบการในพื้นที่ ในการรวบรวบองค์ความรู้ ภูมิปัญญาต่างๆ รวมทั้งพัฒนาการสื่อสารและการประสานงาน เพื่อสร้างความมั่นใจ สร้างแรงจูงใจ กล้าตัดสินใจ สามารถบริหารการตลาด การจัดการสินค้า การเงิน/การบัญชี ได้ และสามารถเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขัน



รายงานโดย นายวิรัตน์ หน่อแดง วันที่รายงาน 17/09/2566 [15574]
7200 20
4 [15573]

คณะทำงานภายใต้โครงการ ฯ ได้นำผลิตภัณฑ์แปรรูป "ในรูปแบบบูดูผง" นำมาพัฒนา และต่อยอดเป็นผลิจภัณฑ์อื่น ๆที่นำส่วนประกอบของบูดูผง มาเป็นส่วนประกอบในกระบวนการแปรรุปเป็นผลิตภัณฑ์ชนิดอื่น ๆ ผ่านกระบวนการและเครื่องมือต่าง ๆ ให้อยู่ในรูปแบบของ ขนม เเละอาหาร  ต่าง ๆ เพื่อที่จะเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์แปรรูป และสร้างอัตลักษณ์ให้กับผลิตภัณฑ์แปรรูป ที่มีส่วนประกอบหลักคือ บูดู เป็นส่วนสำคัญ เพื่อให้ได้กลิ่น รสชาติ ของน้ำบุดู สามารถสร้างจุดสนใจ  ความชื่นชอบให้กับผู้บริโภค โดยหลังจากการที่ผู้ประกอลการ และสมาชิกในกลุ่ม ได้ฝึกทักษะกระบวนการนการแปรรูปน้ำบูดูเป็นผลิตภัณฑ์แล้ว  สมาชิกและผู้นำกลุ่มได้นำองค์ความรู้ที่ได้รับ ไปพัฒนาและต่อยอดในกลุ่มในชุมชน  เพื่อพัฒนาและแปรรูปน้ำบูดู ในการเพิ่มมูลค่าเป็นผลิตภัณฑ์อื่น  ที่สามารถจำหน่าย สร้างงาน สร้างอาชีพให้กับสมาชิกในกลุ่ม เเละเครือข่ายผู้ผลิตและแปรรูปน้ำบูดูต่อไปได้ในอนาคต



รายงานโดย นายวิรัตน์ หน่อแดง วันที่รายงาน 17/09/2566 [15573]
50000 30
4 [15568]

ช่วงวันที่ 7 - 10 สิงหาคม 2566 ทางคณะทำงานโครงการยกระดับมาตรฐานการผลิตน้ำบูดูในพื้นที่จังหวัดนราธิวาส ได้มีการนำบูดูในรูปของน้ำบูดูสด เพื่อนำมาเข้าสู่กระบวนการ ต่าง ๆ เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ แปรรูปในรูปของ "บูดูผง"  ซึ่งทางกลุ่มผู้ประกอบการ กลุ่มแปรรูปน้ำบูดูบ้านบือราเป๊ะ มีความคิดที่อยากนำบูดูรูปแบบน้ำ มาพัฒนาเป็นบูดูผงพร้อมทาน เพื่อที่จะเพิ่มมูลค่า และยกระดับผลิตภัณฑ์ให้อยู่ในรูปแบบของ ผง เพื่อง่ายต่อการนำไปบริโภค การขนส่ง และการเดินทาง และสามารถนำบูดูผงที่พัฒนาผลิตภัณฑ์ขึ้นมา นำไปต่อยอดให้กับผลิตภัณฑ์แปรรูปได้อีกหลาย อย่าง  โดยคณะทำงานภายใต้โครงการดังกล่าว ฯ ได้ประสานไปยังผู้ที่มีความเชี่ยวชาญในเรื่องของการทำบูดูผง เพื่อมาพัฒนาน้ำบูดูให้อยู่ในรูปของ "บูดูผง " ด้วยกระบวนการต่าง ๆ จนสำเร็จ ณ ห้องปฏิบัติการแปรรูปทางการเกษตร มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ หลักจากพัฒฯาสำเร็จขึ้นมา ทางกลุ่มได้นำบูดูผงที่พัฒนาขึ้น ลองไปทดสอบตลาด และนำไปต่อยอดให้กับผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ผลปรากฏว่าเป็นที่น่าพอใจ เป็นที่ต้องการของผู้บริโภค และท้องตลาดในพื้นที่ 

 


รายงานโดย นายวิรัตน์ หน่อแดง วันที่รายงาน 17/09/2566 [15568]
35000 30
4 [15567]
  • การพัฒนาบรรจุภัณฑ์และฉลากสินค้าเพื่อยกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์

กิจกรรมการพัฒนาบรรจุภัณฑ์และฉลากสินค้าผลิตภัณฑ์จากบูดู เพื่อผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์วิสาหกิจชุมชน เป็นกิจกรรมอีกส่วนที่ทางผู้รับผิดชอบโครงการได้มีการดำเนินการพัฒนา ซึ่งผลิตภัณฑ์ที่นำผลผลิตบูดูมาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อเพิ่มมูลค่า ได้แก่  บูดูผง ทองพับบูดูทรงเครื่อง และคุกกี้บูดู การพัฒนาบรรจุภัณฑ์ ถือเป็นสิ่งที่มีความสำคัญเพื่อสร้างบรรจุภัณฑ์ให้สามารถเอื้อประโยชน์ด้านหน้าที่ใช้สอยได้ดี คุ้มครองผลิตภัณฑ์ ประหยัด มีประสิทธิภาพในการผลิต บรรจุ การขนส่ง การเก็บรักษา การวางจำหน่าย และการอุปโภค และเพื่อสร้างบรรจุภัณฑ์ให้สามารถสื่อสาร สร้างผลกระทบทางจิตวิทยาต่อผู้บริโภคให้สามารถจดจำ ดึงดูด เป็นต้น และเพื่อยกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ ให้เป็นที่น่าสนใจ ตอบโจทย์ผู้บริโภค เป็นผลิตภัณฑ์ของฝากที่สามารถบ่งบอกความเป็นอัตลักษณ์ของพื้นที่ได้ดี อีกทั้งสามารถให้ผู้ประกอบการสามารถนำไปใช้ และเกิดการพัฒนาต่อยอดใช้ประโยชน์ในการดำเนินกิจกรรมทางธุรกิจเชิงพาณิชย์ต่อไป



รายงานโดย นายวิรัตน์ หน่อแดง วันที่รายงาน 17/09/2566 [15567]
24500 20
3 [15202]

เมื่อช่วงกลางเดือน กรกฏาคม 2566 ทางผู้รับผิดชอบโครงการ และคลินิกเทคโนโลยี มนร ได้ลงพื้นที่ ไปยังกลุ่มเพื่อติดตามความก้าวหน้า ของทางกลุ่มวิสาหกิจชุมชน กลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มน้ำบูดู บ้านบือราแป๊ะ  เลขที่ 48/1 ม.3 ต.โคกเคียน อ เมือง จ นราธิวาส หลังจากการอบรมถ่ายทอดเทคโนโลยี กระบวนการผลิตบูดูคุณภาพ และการพัฒนาผลิตภัณฑ์แปรรูปจากน้ำบูดู โดยประทานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มน้ำบูดู บ้านบือราแป๊ะ มีกระประชุมหารือกับกลุ่มสมาชิกในกลุ่ม และ เครือข่าย ว่าจะสนใจเปิดร้านค้าผลิตภัณฑ์แปรรูปจากน้ำบูดู ในชุมชน  โดยทางประธานกลุ่มต้องการให้ ทางผู้รับผิดชอบโครงการ จัดกิจกรรม และอบรมถ่ายทอดเทคโนโลยีให้กับสมาชิกในกลุ่ม ในเรื่องของการพัฒนาผลิตภัณฑ์แปรรูปจากน้ำบูดู ในรูปแบบ บูดูอัดเเท่ง บูดูผง และขนมปังสูตรบูดู  โดยทางคลินิกเทคโนโลยี และผู้รับผิดชอบโครงการ ได้ติดต่อและประสานไปยังผู้เชี่ยวชาญ ที่จะมาถ่ายทอดเทคโนโลยีให้กับกลุ่ม และได้นัดหมายกลุ่มผู้ประกอบการ และผู้เชี่ยวชาญ ในการอบรมถ่ายทอดเทคโนโลยีต่อไป



รายงานโดย นายวิรัตน์ หน่อแดง วันที่รายงาน 17/08/2566 [15202]
25300 15
3 [15200]

เทคโนโลยีกระบวนการผลิตบูดู 

1. เริ่มด้วยการนำปลาทะเลสดมาล้างให้สะอาด  อาจจะใช้ปลาชนิดใดก็ได้แต่ส่วนใหญ่ใช้ปลากะตักจึงจะให้น้ำบูดูที่มีกลิ่นหอมและรสชาติดี 

2. นำปลามาคลุกเคล้ากับเกลือให้เข้ากันโดยใช้อัตราส่วนปลากะตักต่อเกลือ 2 หรือ 3 ต่อเกลือ 1 ส่วนโดยน้ำหนัก

3. หลังจากคลุกปลากะตักกับเกลือให้เข้ากันได้ที่ดีแล้ว ก็จะนำไปใส่ในภาชนะปิด เช่น ไห โอ่งดินหรือบ่อซิเมนต์ ซึ่งชาวบ้านเรียกว่า  “บ่อบูดู ”  มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1 เมตร สูง 1 เมตร โดยการนำส่วนผสมใส่ในภาชนะดังกล่าวให้แน่น และโรยเกลือปิดส่วนบน หลังจากนั้นใช้วัสดุเช่น ไม้ไผ่สาน  กดทับกันไม่ให้ปลาลอย  และปิดปากภาชนะที่ใส่ให้แน่นในระหว่างการหมักต้องไม่ปล่อยให้อากาศเข้าไปในภาชนะที่ใช้หมักหรือให้อากาศเข้าไปได้น้อยที่สุด โดยจะเว้นปริมาตรบางส่วนในภาชนะไว้  เพื่อให้แก๊สที่เกิดจากการหมักสามารถดันฝาปิดบ่อน้ำบูดูออกมาได้

 4. จากนั้นนำมาตากแดดและปล่อยให้เกิดการเปลี่ยนแปลงโดยกระบวนการหมักตามธรรมชาติจากปฏิกิริยาทางเคมี  และเอนไซม์ชนิดต่าง ๆ ได้แก่  น้ำย่อยจากตัวปลา และกิจกรรมจากจุลินทรีย์ที่ถูกคัดเลือกโดยเกลือและสภาพการหมักที่เกิดขึ้นเริ่มจากการทำงานของเอนไซม์ที่อยู่ในตัวปลาเริ่มทำงานในการย่อยสลายในขณะที่จุลินทรีย์เริ่มแรกมีจำนวนมาก  ซึ่งมีแหล่งมาจากธรรมชาติ  เช่น จากตัวปลา และเกลือเป็นต้น เกลือจะเป็นตัวคัดเลือกให้เหลือแต่เฉพาะจุลินทรีย์ที่สามารถทนต่อเกลือเข้มข้นสูงได้ เช่น จุลินทรีย์ในกลุ่ม halophilic ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการเปลี่ยนแปลงของบูดู และอาจมีจุลินทรีย์ที่สามารถสร้างสปอร์หลงเหลืออยู่ทำให้ทนต่อสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมได้ ระยะเวลาในการหมักจะใช้เวลาประมาณ 8-12 เดือน โดยในช่วงระหว่างการหมักจะไม่มีการเปิดบ่อบูดูเลย  และจะต้องพยายามไม่ให้น้ำเข้าไปในบ่อเมื่อเวลาฝนตก เพราะจะทำให้บูดูมีสีดำ และมีกลิ่นเหม็น

5. เมื่อครบกำหนดเวลาผู้ผลิตจะเปิดบ่อบูดูซึ่งจะมีน้ำบูดูและเนื้อบูดูปะปนกันอยู่ในบ่อบูดูแล้วทำการแยก น้ำบูดูส่วนใสออกจากน้ำบูดูส่วนที่ขุ่น  น้ำบูดูส่วนใสเรียกว่า “น้ำบูดูใส”  ส่วนน้ำ บูดูที่มีเนื้อบูดูที่เหลือปะปนอยู่ในบ่อจะนำไปผลิตเป็น “น้ำบูดูข้น”



รายงานโดย นายวิรัตน์ หน่อแดง วันที่รายงาน 17/08/2566 [15200]
0 0
3 [15198]

เมื่อวันที่ 15 กรกฏาคม 66 ทางผู้รับผิดชอบโครงการ และคณะทำงานโครงการยกระดับมาตรฐานการผลิตน้ำบูดูในพื้นที่จังหวัดนราธิวาส ได้ลงพื้นที่ ไปยังกลุ่ม วิสาหกิจชุมชนกลุ่มน้ำบูดู บ้านบือระเปะ อำเภอเมือง ตำบลโคกเคียน จังหวัดนราธิวาส  เพื่อลงไปถ่ายทอดเทคโนโลยี กระบวนการคัดแยกน้ำบูดู ที่ได้มาตรฐาน โดยน้ำบูดูที่ผลิตขึ้น มี 2 น้ำ หรือ เรียกว่า น้ำข้น น้ำใส โดยทางกลุ่มผู้ประกอบการจะทำการคัดแยก เป็น 2ส่วน และบรรจุลงขวด ขายในรูปของน้ำบูดูสด โดยผ่านกรมวิธี ต่างๆ ที่ได้มาตรฐาน

โดยน้ำบูดูแบ่ง ออกเป็น 2 น้ำ คือ 

1 บูดูน้ำข้น  มีลักษณะที่สังเกตได้ชัด คือ จะมีส่วนที่เป็นเนื้อปลาที่ผสมอยู่กับบูดู เป็นบูดูที่ไม่มีการผสมส่วนผสมอื่น

2บูดูใส มีลักษณะคล้ายกับน้ำปลา แต่มีสีออกน้ำตาลแดงกว่าน้ำปลา มีหลายระดับขึ้นอยู่กับการนำไปผสมกับส่วนผสมอื่น เช่น น้ำเกลือ สีผสมอาหาร โดยมีอัตราส่วนแตกต่างกัน



รายงานโดย นายวิรัตน์ หน่อแดง วันที่รายงาน 17/08/2566 [15198]
20000 10
3 [14732]

รายงานโครงการไตรมาส 3
โครงการยกระดับมาตรฐานการผลิตบูดูในพื้นที่จังหวัดนราธิวาส

โครงการยกระดับมาตรฐานการผลิตบูดูในพื้นที่จังหวัดนราธิวาส ประจำปีงบประมาณ 2566 นำโดยอาจารย์วรรษมน วัฑฒนายน อาจารย์คณะวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ และเป็นผู้รับผิดชอบโครงการ มีกำหนดจัดกิจกรรมอบรมการถ่ายทอดเทคโนโลยี หลักสูตร การถ่ายทอดเทคโนโลยีการพัฒนาผลิตภัณฑ์แปรรูปจากน้ำบูดู ในวันศุกร์ ที่ 7 กรกฏาคม 2566 ณ ห้องประชุมชั้น 2 คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ โดยได้รับเกียรติจากวิทยากร คุณกาจนวิช บัวสว่าง หรือคุณครูหมูแฮม

กำหนดการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ
โครงการยกระดับมาตรฐานการผลิตบูดูในพื้นที่จังหวัดนราธิวาส
เรื่อง การถ่ายทอดเทคโนโลยีการพัฒนาผลิตภัณฑ์แปรรูปจากน้ำบูดู
วันที่ 7 กรกฎาคม 2566 เวลา 08.30-17.00 น.
ณ ห้องประชุมชั้น 2 คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์

เวลา กิจกรรม
08.00 - 08.30 น. ลงทะเบียน
08.30 - 09.00 น. แนะนำโครงการ โดยอาจารย์วรรษมน วัฑฒนายน หัวหน้าโครงการ
09.00 - 12.00 น. ปฏิบัติการ เรื่อง การถ่ายทอดเทคโนโลยีการพัฒนาผลิตภัณฑ์แปรรูปจากน้ำบูดู
(ผลิตภัณฑ์ : คุกกี้บูดู)
โดย วิทยากรภายนอก คุณกาญจนวิช บัวสว่าง และทีมผู้ช่วยวิทยากร


12.00 - 13.30 น. พักรับประทานอาหารเที่ยง (เลี้ยงอาหาร)
13.30 - 16.30 น. ปฏิบัติการ เรื่อง การถ่ายทอดเทคโนโลยีการพัฒนาผลิตภัณฑ์แปรรูปจากน้ำบูดู
(ผลิตภัณฑ์ : น้ำบูดูคั่วแห้ง)
โดย วิทยากรภายนอก คุณกาญจนวิช บัวสว่าง และทีมผู้ช่วยวิทยากร


หมายเหตุ 10.00-10.30 น. พักรับประทานอาหารว่าง
              14.00-14.30 น. พักรับประทานอาหารว่าง
 



รายงานโดย นางสาวฮัสมี แซะเเม วันที่รายงาน 05/07/2566 [14732]
65000 40
2 [13994]

คณะทำงานภายใต้โครงการยกระดับมาตรฐานการผลิตน้ำบูดู ฯ ได้ทำการลงพื้นที่ ดำเนินการติดตามผลการดำเนินงานในปีงบประมาณที่ผ่านมา และเข้าพบผู้นำชุมชน และประธานกลุ่ม ในการชี้เเจงและรับฟังประเด็นต่างๆ ที่ทางกลุ่มมีความต้องการเพิ่มเติม 

-ยังไม่ได้ดำเนินกิจกรรมตามตัวโครงการ เนื่องจากรองบประมาณในการสนับสนุน 



รายงานโดย นายวิรัตน์ หน่อแดง วันที่รายงาน 03/04/2566 [13994]
0 10