2566 การพัฒนาผลิตภัณฑ์โกโก้นางั่วด้วยวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรมอย่างครบวงจร   0


รายงานความก้าวหน้า

ไตรมาส ผลการดำเนินงาน งบประมาณที่ใช้ ผู้รับบริการ
4 [15593]
คณะกรรมการลงพื้นที่ติดตามความก้าวหน้าการดำเนินโครงการที่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณโครงการส่งเสริมนำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อเพิ่มศักยภาพการผลิตและเศรษฐกิจชุมชน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 วันที่ 28 สิงหาคม 2566 เวลา 13.00 - 17.00 น. ณ ห้องประชุมอินทผาลัม อาคารเฉลิมพระเกียรติฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี และวิสาหกิจชุมชนกลุ่มโกโก้นางั่ว อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์ โดยมี อาจารย์พิพัฒน์ ชนาเทพาพร รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและบริการสังคม และคณะผู้บริหารคณะเทคโนโลยีการเกษตรและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม ให้การต้อนรับผู้ทรงคุณวุฒิ และคณะกรรมการ จากสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สป.อว.) ส่วนกลาง


รายงานโดย นายธรรมศาสตร์ จันทรัตน์ วันที่รายงาน 18/09/2566 [15593]
0 30
3 [14593]

โครงการการพัฒนาผลิตภัณฑ์โกโก้นางั่วด้วยวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรมอย่างครบวงจร ปีที่ 2

กิจกรรมที่ 3 อบรมเชิงปฏิบัติการการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ของผลิตภัณฑ์โกโก้

วันที่ 24 พฤษภาคม 2566

ณ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนโกโก้นางั่ว ตำบลนางั่ว อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์

ถ่ายทอดองค์ความรู้และอบรมเชิงปฏิบัติการการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ของผลิตภัณฑ์โกโก้

 

วิทยากรโดย อาจารย์นิรุต ขันทรี

ถ่ายทอดองค์ความรู้และอบรมเชิงปฏิบัติการการออกแบบโลโก้ของผลิตภัณฑ์โกโก้

วิทยากรโดย อาจารย์ธนวรรธน์  ท้าวนอก



รายงานโดย นายธรรมศาสตร์ จันทรัตน์ วันที่รายงาน 04/07/2566 [14593]
70000 40
3 [14592]

โครงการการพัฒนาผลิตภัณฑ์โกโก้นางั่วด้วยวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรมอย่างครบวงจร ปีที่ 2

กิจกรรมที่ 2 ถ่ายทอดองค์ความรู้และอบรมเชิงปฏิบัติการยกระดับผลิตภัณฑ์โกโก้ในการเข้าสู่การขอมาตรฐาน

วันที่ 19พฤษภาคม 2566

ณ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนโกโก้นางั่ว ตำบลนางั่ว อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์

ถ่ายทอดองค์ความรู้การยกระดับผลิตภัณฑ์โกโก้ในการเข้าสู่การขอมาตรฐาน

 

วิทยากรโดย นางสาวรชยา กันต์โฉม, นางสาวกันต์กนก แพงหลวง และนางศันสนีย์ แก้วพวงคำ สำนักงานสาธารณสุข จังหวัดเพชรบูรณ์

 



รายงานโดย นายธรรมศาสตร์ จันทรัตน์ วันที่รายงาน 04/07/2566 [14592]
60000 40
3 [14586]

ภาพกิจกรรม โครงการการพัฒนาผลิตภัณฑ์โกโก้นางั่วด้วยวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรมอย่างครบวงจร ปีที่ 2

กิจกรรมที่ 1 การอบรมเชิงปฏิบัติการแปรรูป และพัฒนาผลิตภัณฑ์โกโก้

วันที่ 17 - 18พฤษภาคม 2566

ณ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนโกโก้นางั่ว ตำบลนางั่ว อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์

ถ่ายทอดองค์ความรู้การแปรรูป และพัฒนาผลิตภัณฑ์โกโก้ เป็นเครื่องดื่มคอมบูฉะเพื่อสุขภาพ จากเปลือกหุ้มเมล็ดโกโก้คั่ว

 

วิทยากรโดย นายภานุพงศ์ ตันติรัตน์ (ผู้เชี่ยวชาญในการผลิตเครื่องดื่มคราฟ) Young Smart Farmer จังหวัดเพชรบูรณ์ เจ้าของ ในไร่ คาเฟ่

อบรมเชิงปฏิบัติการแปรรูป และพัฒนาผลิตภัณฑ์โกโก้ เป็นเครื่องดื่มคอมบูฉะเพื่อสุขภาพ จากเปลือกหุ้มเมล็ดโกโก้คั่ว

ถ่ายทอดองค์ความรู้การแปรรูป และพัฒนาผลิตภัณฑ์โกโก้ เป็นผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางค์จากโกโก้

วิทยากรโดย ดร.กัญญารัตน์ เดือนหงาย  คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฎเพชรบูรณ์

อบรมเชิงปฏิบัติการแปรรูป และพัฒนาผลิตภัณฑ์โกโก้ เป็นผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางค์จากโกโก้

วิทยากรโดย ดร.กัญญารัตน์ เดือนหงาย  คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฎเพชรบูรณ์



รายงานโดย นายธรรมศาสตร์ จันทรัตน์ วันที่รายงาน 04/07/2566 [14586]
60000 40
2 [14094]

ชื่อโครงการ  : การพัฒนาผลิตภัณฑ์โกโก้นางั่วด้วยวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรมอย่างครบวงจร ปี 2

วิสาหกิจชุมชนกลุ่มโกโก้นางั่ว ตั้งอยู่ในตำบลนางั่ว จังหวัดเพชรบูรณ์ มีลักษณะเป็นพื้นที่ราบ และพื้นที่ราบเนินเขา มีประชากรทั้งหมด 12,789 คน แยกเป็น ชาย จำนวน 6,032 คน คิดเป็นร้อยละ 47.17 หญิง จำนวน 6,757 คน คิดเป็นร้อยละ 52.83 จำนวนครัวเรือนทั้งหมด 5,532 ครัวเรือน ประชากรในพื้นที่ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพด้านเกษตรกรรม ได้แก่ ยาสูบ ข้าว ข้าวโพด ถั่วเขียว เป็นต้น ซึ่งสภาพภูมิอากาศ แบ่งเป็น 3 ฤดู คือ ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์- เดือนเมษายนของทุกปี อุณหภูมิเฉลี่ยทั้งปีประมาณ 27 องศาเซลเซียส ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคม - เดือนตุลาคมของทุกปี  ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยทั้งปีประมาณ 1000 - 1200 มิลลิเมตร ฤดูหนาวเริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน – เดือนมกราคมของทุกปี อุณหภูมิเฉลี่ยทั้งปีประมาณ 23 องศาเซลเซียส จากสภาพภูมิศาสตร์เบื้องต้นของตำบลนางั่ว เหมาะแก่การทำเกษตรค่อนข้างมาก ประชาชนในพื้นที่ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม แต่ปัญหาคือ ประชาชนคนรุ่นใหม่ ไม่ชอบทำเกษตรกรรม ไม่สานต่อกิจการครอบครัว ออกจากบ้านสู่เมืองกรุงหรือต่างจังหวัด เพื่อไปทำงานหาเลี้ยงครอบครัว เหลือแต่ผู้สูงอายุที่ยังคงทำอาชีพเกษตรกรรมอยู่ ซึ่งจากสถานกาณ์ดังกล่าว กลุ่มวิสาหกิจชุมชนโกโก้ ตำบลนางั่ว จึงตั้งขึ้นจากการรวมตัวของกลุ่มเกษตรกรที่ต้องการส่งเสริมการสร้างเศรษฐกิจในชุมชน ยกระดับเศรษฐกิจในชุมชนโดยใช้โกโก้เป็นสื่อกลาง เช่นโครงการพาคนที่รักกลับบ้าน เนื่องจากว่า โกโก้ เป็นพืชเศรษฐกิจ ที่ปลูกง่าย ต้นทุนต่ำ ปลูกครั้งเดียว อายุเก็บเกี่ยวนาน ถึง 60 ปี ปลูกโกโก้ 2 ปี สามารถให้ผลผลิตได้เร็ว และสามารถปลูกร่วมกับพืชชนิดอื่นได้  โกโก้สามารถปลูกแซมพืชได้หลากหลายชนิด ต้องการแสงแดดรำไร สามารถปลูกพืชผสมผสานได้ และไม่ต้องใช้สารเคมี ทนต่อสภาพอากาศ สูงสุด 45 องศาเซลเซียส โดยจัดเป็นพืชทางเลือกใหม่ของเกษตรกรในพื้นที่ตำบลนางั่ว จากการลงพื้นที่พบว่า เกษตรกรผู้ปลูกโกโก้ยังขาดองค์ความรู้และการสนับสนุนหลายด้าน เช่น การเพาะปลูก การเก็บเกี่ยว เทคโนโลยีการผลิต การแปรรูปผลผลิตและ การตลาด ซึ่งคณะผู้รับผิดชอบโครงการมีแผนดำเนินงานที่จะนำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม มาพัฒนาโกโก้อย่างครบวงจร ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ  โดยมีแผนดำเนินกิจกรรม ปีงบประมาณ 2565 พัฒนาแปลงปลูกโกโก้ให้เข้าสู่มาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (GAP) และมาตรฐานเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม SDGsPGS เพื่อให้ได้โกโก้ที่มีคุณภาพ ปีงบประมาณ 2566 จะดำเนินโครงการถ่ายทอดองค์ความรู้เทคโนโลยีการแปรรูปและพัฒนาผลิตภัณฑ์จากเมล็ดโกโก้ และยกระดับผลิตภัณฑ์ในการเข้าสู่การขอมาตรฐาน และปีงบประมาณ 2567 จะดำเนินโครงการจัดทำโมเดลธุรกิจ โดยการขับเคลื่อนสู่การพัฒนาธุรกิจยั่งยืน เพื่อสร้างความมั่นคงทางด้านเศรษฐกิจและสังคมในชุมชน สู่ความยั่งยืนและยกระดับเศรษฐกิจฐานรากให้กับคนในชุมชน

แผนดำเนินงานปี 2ปีงบประมาณ 2566(กลางน้ำ)

1. ถ่ายทอดองค์ความรู้ทางด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาพัฒนาการแปรรูปและพัฒนาผลิตภัณฑ์จากเมล็ดโกโก้ จำนวน 3 ผลิตภัณฑ์ ได้แก่ โกโก้แมส (Cocoa Mass), ผลิตภัณฑ์ครีมทาผิวที่มีส่วนผสมของโกโก้บัตเตอร์ และ เครื่องดื่มคอมบูฉะเพื่อสุขภาพ จากเปลือกหุ้มเมล็ดโกโก้คั่ว

2. ถ่ายทอดองค์ความรู้และอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ของผลิตภัณฑ์โกโก้

3. ยกระดับผลิตภัณฑ์โกโก้ในการเข้าสู่การขอมาตรฐาน จำนวน 1 ผลิตภัณฑ์   

กระบวนการ: 1. ถ่ายทอดองค์ความรู้ทางด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาพัฒนาการแปรรูปและพัฒนาผลิตภัณฑ์จากเมล็ดโกโก้โดยผู้เชี่ยวชาญ

                 2. ถ่ายทอดองค์ความรู้ จากหน่วยงานกระทรวงสาธารณสุข และสำนักงานพัฒนาชุมชน ในการยกระดับผลิตภัณฑ์โกโก้ให้เข้าสู่การขอมาตรฐาน เช่น มาตรฐานอย. หรือ OTOP เป็นต้น

ผลที่ได้:       1. ได้ผลิตภัณฑ์จากเมล็ดโกโก้ จำนวน 3 ผลิตภัณฑ์

                2. ได้ผลิตภัณฑ์โกโก้ในการเข้าสู่การขอมาตรฐาน จำนวน 1 ผลิตภัณฑ์

จากการลงพื้นที่ มีการวางแผนการพัฒนาโครงการต่อเนื่องปี 2 ในเรื่องของการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากโกโก้ ได้แก่ เครื่องดื่มคอมบูฉะเพื่อสุขภาพ ที่ใช้เปลือกหุ้มเมล็ดโกโก้ที่มีจำนวนมากในกระบวณการผลิตโกโก้ และผลิตภัณฑ์สบู่ โลชั่นที่มีส่วนผสมของโกโก้บัตเตอร์ เนื่องจากสมาชิกในกลุ่มเป็นผู้สงอายุค่อนข้างเยอะ อยากได้ผลิตภัณฑ์ที่ทำไม่ยุ่งยาก และสามารถเก็บไว้ได้นาน เพื่อให้ผู้สูงอายุในกลุ่มมีงานทำในช่วงที่รอผลผลิตโกโก้ออก


รายงานโดย นายธรรมศาสตร์ จันทรัตน์ วันที่รายงาน 04/04/2566 [14094]
0 5