2566 การพัฒนาผลิตภัณฑ์แปรรูปจากลำไยเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจหมู่บ้านตึ๊ดใหม่ ตำบลเชียงคาน อำเภอเชียงกลาง จังหวัดน่าน   0


รายงานความก้าวหน้า

ไตรมาส ผลการดำเนินงาน งบประมาณที่ใช้ ผู้รับบริการ
4 [15716]

กิจกรรมที่ 8 การติดตามและสรุปผลการดำเนินกิจกรรม

ในวันที่ 23-24 กันยายน 2566 ทางวิสาหกิจชุมชนลำไยคุณภาพบ้านตึ๊ดใหม่ ได้ประชุมสรุปการทำกิจกรรมโครงการ ทั้ง 3 ปี จากการประชุมทางวิสาหกิจชุมชนมีแนวทางที่จะดำเนินการต่อไป คือ

1. พัฒนาลำไยอบแห้งสีทองให้เป็นสินค้าของวิสาหกิจฯ ต่อไป เพื่อเป็นการยกระดับและสร้างมูลค่าให้กับลำไยต่อไป ส่งเสริมกิจกรรมกลุ่มในการพัฒนาเครื่องสำอาง แชมพู และสบู่น้ำมัน และยานวดจากสาระสำคัญจากเมล็ดลำไย เพื่อเตรียมความพร้อมในการขอเข้ารับการประเมินมาตรฐานต่าง ๆ ในอนาคต

2. แนวทางการตลาดปัจจุบันทางวิสาหกิจชุมชน มีการนำลำไยอบแห้งสีทองตามงานต่างๆจากการออกบูธ และเครือข่ายในพื้นที่ และปัจจุบันได้มีการขายผ่านทางออนไลน์

3.แนวทางการบริหารจัดการวิสาหกิจทางวิสาหกิจมีการจัดทำระบบบัญชีรายได้-รายจ่ายการเก็บข้อมูลการผลิตสินค้า และมีการกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบให้กับสมาชิก ในส่วนต่างๆเช่นฝ่ายผลิต การตลาดและการจัดทำบัญชี

สิ่งที่ต้องปรับปรุง

   • การส่งเสริมให้มีการสร้างคนรุ่นใหม่เข้ามามีส่วนร่วมมากขึ้น

   • การกระตุ้นให้มีการสร้างสื่อประชาสัมพันธ์ผ่านออนไลน์อย่างสม่ำเสมอ

   • สร้างความหลากหลากของผลิตภัณฑ์ให้มากขึ้น



รายงานโดย ดร. วัชรี เลขะวิพัฒน์ วันที่รายงาน 27/09/2566 [15716]
4610 15
4 [15715]

กิจกรรมการสกัดสารสำคัญและตรวจสารสำคัญจากกระบวนการสกัดสาระสำคัญจากเมล็ดลำไย

จากการที่วิสาหกิจชุมชนได้รับการอบรมการสกัดสาระสำคัญจากเมล็ดลำไย และได้ทำการสกัดสารเมล็ดลำไยด้วยตนเองจากวิธีการ จาก 3 ตัวอย่าง

•ตัวอย่างที่1  ผงเมล็ดลำไยบดละเอียดสกัดเอทานอล 50% เป็นเวลา 1 อาทิตย์ พบค่าเฉลี่ยปริมาณสาระสำคัญ ellagic 954.43 ไมโครกรัม/มิลลิลิตร
•ตัวอย่างที่2 ผงเมล็ดลำไยบดละเอียดสกัดเหล้า (40ดีกรี ประมาณ 40%เอทานอล) พบค่าเฉลี่ยปริมาณสาระสำคัญ ellagic 724.39ไมโครกรัม/มิลลิลิตร
•ตัวอย่างที่3 เมล็ดลำไยทุบพอหยาบสกัดเหล้า 40ดีกรี แช่ 1 วัน แล้วเอาไปเวฟที่ 750watt เป็นเวลา 1 นาที พบค่าเฉลี่ยปริมาณสาระสำคัญ ellagic 1113.66 ไมโครกรัม/มิลลิลิตร

พบว่าวิธีการสกัดสาระสำคัญด้วยวิธีที่ 3 ทำได้ง่ายแต่ให้สารสำคัญที่สูงกว่า

 



รายงานโดย ดร. วัชรี เลขะวิพัฒน์ วันที่รายงาน 27/09/2566 [15715]
8500 20
4 [15535]

กิจกรรมที่ 7 การถ่ายทอดเทคโนโลยีการใช้ประโยชน์จากสารสกัดจากเมล็ดลำไย และการแปรรูปผลิตภัณฑ์ยานวด 

ในวันที่ 10กันยายน 2566 ดำเนินการจัดกิจกรรม “การถ่ายทอดเทคโนโลยีการใช้ประโยชน์จากสารสกัดจากเมล็ดลำไย และการแปรรูปผลิตภัณฑ์ยานวด สรรพคุณจากสารสำคัญ EllagnicAcid
โดยให้องค์ความรู้

1.การสกัดสารจากเมล็ดลำไย
2.ให้องค์ความรู้การทำเจลยานวด โดยนำสารสกัดเมล็ดลำไยมาเป็นส่วนผสม
3.ให้องค์ความรู้การทำยานวดจากเมล็ดลำไยด้วยวิธีพื้นบ้าน


รายงานโดย ดร. วัชรี เลขะวิพัฒน์ วันที่รายงาน 15/09/2566 [15535]
49430 25
4 [15533]

กิจกรรมที่  6 การประเมินโครงการ

ในวันที่ 7 กันยายน 2566 ผู้ทรงคุณวุฒิจากคลินิกเทคโนโลยีได้มาเยี่ยมชมวิสาหกิจชุมชนลำไยคุณภาพบ้านตึ๊ดใหม่จำนวน 6 ท่าน ได้มาเพื่อตรวจโครงการ ซึ่งทางกลุ่มได้มีการบรรยายและตอบข้อซักถามของผู้ทรงคุณวุฒิ

โดยทางผู้ทรงคุณวุฒิได้ให้คำแนะนำ ดังนี้

1.ควรหาวิธีนำลำไยเกรด C ที่ราคาตกต่ำมาแปรรูปเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม
2.การทำลำไยอบแห้งควรปรับรูปลักษณ์ของผลิตภัณฑ์เพื่อให้ดู
3.การทำเครื่องสำอาง เช่น สบู่ หรือ ยาสระผม ควรหาต้นทุนเพื่อที่จะนำไปพัฒนาเพื่อเป็นสินค้าในการจัดจำหน่าย และควรตรวจสารสำคัญเพื่อหาคุณภาพสินค้า และสิ่งสำคัญควรทำการประเมินอายุของผลิตภัณฑ์ เพื่อที่จะได้นำสินค้าไปจัดจำหน่าย

โดยทางวิสาหกิจชุมชน ได้รับฟังคำแนะนำเพื่อจะนำเข้าที่ประชุมในการวางแผนนำคำแนะนำมาปรับปรุงและแนวทางในการดำเนินในการพัฒนาผลิตภัณฑ์การแปรรูปลำไยต่อไป



รายงานโดย ดร. วัชรี เลขะวิพัฒน์ วันที่รายงาน 15/09/2566 [15533]
0 15
4 [15525]

กิจกรรมที่ 5 การเรื่องการทำเครื่องสำอางจากสารกัดลำไย 

ในวันที่ 2 - 3 กันยายน 2566 ทางวิสาหกิจชุมชนลำไยคุณภาพบ้านตึ๊ดใหม่ ได้ทำกิจกรรมการสกัดสาระสำคัญจากเมล็ดลำไยโดยการใช้สารสกัดสำคัญในเมล็ดลำไย คือสารฟินอลิกที่เป็นสารที่มีสรรพคุณทางทางด้านการต้านอนุมูลอิสระ แลการใช้ประโยชน์จากสารสกัดเพื่อมาทำเป็นสบู่น้ำมัน เพื่อส่งเสริมให้สมาชิกในวิสาหกิจชุมชนฯ ได้ไปใช้ในครัวเรือน 

ผลลัพธ์ สมาชิกได้ใช้ผลิตภัณฑ์ที่สามารถผลิตเองได้และสร้างรายได้จากการขายผลิตภัณฑ์



รายงานโดย ดร. วัชรี เลขะวิพัฒน์ วันที่รายงาน 15/09/2566 [15525]
45120 20
3 [15092]

กิจกรรมที่ 4 การออกบูธประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์ลำไยอบแห้งสีทอง

ในวันที่10– 12สิงหาคม 2566 ทางวิสาหกิจชุมชนลำไยคุณภาพบ้านตึ๊ดใหม่ ได้ร่วมออกงานพืชผักผลไม้ปลอดภัยและของดีอำเภอเชียงกลาง โดยมีการนำผลิตภัณฑ์จากลำไย อาทิเช่น ลำไยสด ลำไยอบแห้งสีทอง น้ำลำไย ร่วมกิจกรรมออกบูธ และประชาสัมพันธ์สินค้าและขายสินค้า



รายงานโดย ดร. วัชรี เลขะวิพัฒน์ วันที่รายงาน 13/08/2566 [15092]
5000 20
3 [15091]

กิจกรรมที่ 3 การทำลำไยอบแห้ง

วันที่  30-31กรกฎาคม 2566 และ 5-6 สิงหาคมคมได้ดำเนินกิจกรรมการทำลำไยอบแห้งสีทอง เพื่อแปรรูปลำไยสดเป็นสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับลำไยสดจากสวนในพื้นที่ โดยนำลำไยคุณภาพเกรด AAจำนวน 200กิโลกรัม มาทำการแปรรูปเป็นลำไยอบแห้งสีทองได้ออกมา ประมาณ 20 กิโลกรัมโดยมีสมาชิกของวิสาหกิจชุมชน มาร่วมการทำการแปรรูปลำไยอบแห้งตั้งแต่กระบวนการแกะคว้านการล้างน้ำการจัดเรียงและเข้าสู่ตู้อบโดยมีขั้นตอนดังนี้

1.นำลำไยผลสดร่วงที่ผ่านการคัดเกรด ในการอบครั้งนี้ใช้ ลำไยเกรด A แล้วคัดผลเน่า แมลงเจาะออกทิ้ง แล้วนำมาล้างด้วยน้ำสะอาด 1 ครั้ง
2.นำลำไยมาแกะเปลือก คว้านเมล็ดออก แล้วล้างด้วยน้ำสะอาดอีก 3 ครั้ง
3.นำเนื้อลำไยที่ได้มาเรียงคว่ำบนตะแกรงสแตนเลสที่สะอาด
4.นำเข้าเตาอบที่อุณหภูมิ 65 – 80 องศาเซลเซียส ใช้เวลาประมาณ 12 ชั่วโมง
5. หลังจากอบแห้งเสร็จทำการบรรจุเพื่อดำเนินการขายต่อไป


รายงานโดย ดร. วัชรี เลขะวิพัฒน์ วันที่รายงาน 13/08/2566 [15091]
27300 20
3 [14391]

กิจกรรมที่ 2 การศึกษาดูงาน

ในระหว่างวันที่ 24-25 เมษายน2566 ผู้รับผิดชอบโครงการและทีมงานได้จัดกิจกรรมศึกษาดูงาน ณ วิสาหกิจุชมชนลำไยสีทองบ้านสันป่าเหียง จังหวัดลำพูน และ ที่แปลงใหญ่ลำไย ตำบลป่าซาง อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูนมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ทางวิสาหกิจชุมชนฯ มีความรู้ ความเข้าใจ และเพิ่มศักยภาพเกี่ยวกับกระบวนการแปรรูปลำไยอบแห้งสีทอง การทำการตลาด รวมถึงการบริหารจัดการวิสาหกิจชุมชน มีผู้ร่วมกิจกรรมในการศึกษาดูงานทั้งหมด 17 คน โดยมีรายละเอียด ดังนี้

  1. การศึกษาดูงาน ณ วิสาหกิจุชมชนลำไยสีทองบ้านสันป่าเหียง จังหวัดลำพูน

กลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปรรูปลำไยเนื้อสีทองบ้านสันป่าเหียงมีแนวคิดจากคนในชุมชนบ้านสันป่าเหียงหมู่ที่ 7  ตำบลมะเขือแจ้  อำเภอเมืองลำพูน  จังหวัดลำพูนได้รวมตัวกันเพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาผลผลิตลำไยล้นตลาดราคาตกต่ำผลผลิตที่ออกมามากในช่วงเดือนกรกฎาคมของทุกปีและใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการถนอมอาหาร พัฒนามาเป็นการอบแห้งเป็นลำไยอบแห้งเนื้อสีทอง จนปัจจุบันนี้มีกระบวนการผลิตที่มีคุณภาพ ได้มาตรฐาน มีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับในทุกระดับ  จากการดำเนินงานของกลุ่มทำให้คนในชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรมก่อให้เกิดการกระจายรายได้  สามารถพึ่งพาตนเองได้เป็นอย่างดีและยังเป็นแหล่งเรียนรู้ศึกษาดูงานของส่วนราชการ สถานศึกษา และกลุ่มอาชีพต่าง ๆ ทั้งในชุมชนและนอกชุม และยังเป็นศูนย์รวมหรือตลาดในการวางจำหน่ายสินค้าของกลุ่ม/ชุมชน/เครือข่ายเป็นที่รู้จักของผู้บริโภค และลูกค้าประจำ และยังเป็นแหล่งเรียนรู้และศูนย์เรียนรู้ของคนในชุมชนที่มีการปลูกและแปรรูปลำไย 

2.การศึกษาดูงาน ณแปลงใหญ่ลำไยป่าซาง จังหวัดลำพูน

แปลงใหญ่ลำไยป่าซาง จังหวัดลำพูน เป็นการรวมตัวของผู้ปลูกลำไยในพื้นที่ตำบลป่าซางที่เป็นลำไยคุณภาพ และเริ่มมีการผลิตลำไยนอกฤดู โดยผลผลิตลำไยในแต่ละปีมีจำนวนมากในช่วงเดือนมิถุนายน จนถึงช่วงต้นสิงหาคม ทำให้เกิดผลผลิตลำไยล้นตลาด และมีราคาตกต่ำ ในการนี้ทางแปลงใหญ่ลำไยป่าซางได้มีการพัฒนากระบวนการทางตลาดให้ลำไยสดขายให้ได้ราคาที่สูงกว่าท้องตลาดทั่วไป และสามารถส่งขายในตลาดที่ระดับสูงขึ้นเช่นห้างสรรพสินค้า เป็นต้น โดยการทำลำไยมัดพวงที่มีมาตรฐาน โดยการให้เกษตรกรคัดลำไยคุณภาพที่ดี แต่มีการตัดก้านไม่มีความยาวที่เท่ากันเพื่อให้ดูเป็นระเบียบและตรวจสอบซึ่งเป็นที่พอใจของลูกค้าเป็นอย่างมาก นอกจากนี้ทางแปลงใหญ่ลำไยป่าซางยังได้รับการจากส่งเสริมจากสำนักงานเกษตรอำเภอป่าซางในการสนับสนุนอาคารสำหรับคัดลำไย ห้องอบรมควันลำไย และตู้อบลำไยเพื่อแปรรูปเป็นลำไยอบแห้งสีทอง ลำไยอบแห้งทั้งเปลือก ลำไยอบแห้งแบบอัดแท่ง เป็นต้น ทั้งนี้วิทยากรยังได้เล่าถึงประสบการณ์และปัญหาที่เกิดขึ้นจากการทำงาน และให้ข้อเสนอแนะในการจัดการบริหารทั้งในเรื่องของคนและการวางแผนการผลิต เป็นต้น



รายงานโดย ดร. วัชรี เลขะวิพัฒน์ วันที่รายงาน 11/05/2566 [14391]
35320 17
2 [13865]

กิจกรรมที่ 1  การสรุปผลการดำเนินงานปีที่1และ 2 และการเสวนาจัดทำแผนการดำเนินโครงการในปีที่ 3 ร่วมกับกลุ่มและชุมชนในพื้นที่

ในวันอาทิตย์ที่ 12 มีนาคม2566ผู้รับผิดชอบโครงการและทีมงานได้ลงพื้นไปยังวิสาหกิจลำไยคุณภาพบ้านตึ๊ดใหม่ ตำบลเชียงคาน อำเภอเชียงกลาง จังหวัดน่าน เพื่อ จัดทำกิจกรรมการสรุปผลการดำเนินงานในปีที่ 1 และปีที่ 2  และการเสวนาเพื่อจัดทำแผนดำเนินโครงการในปีที่ 3 ร่วมกับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนลำไยคุณภาพบ้านตึ๊ดใหม่ โดยจากการประชุมและการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น โดยมีรายละเอียด ดังนี้

1.สรุปกิจกรรมที่ได้ดำเนินกิจกรรมในปีที่ 1 และ 2

ในปีที่1  : ดำเนินการในปีงบประมาณ 2564  เป้าหมาย: เพื่อถ่ายเทคโนโลยีในการแปรรูปลำไยอบแห้งสีทอง และการพัฒนาผลิตภัณฑ์แชมพูและสบู่จากสารสกัดเมล็ดลำไย โดยได้รับงบประมาณสนับสนุน 220,000 บาท

ผลลัพธ์ที่ได้

   1.ลำไยอบแห้งสีทอง เพื่อสร้างผลิตภัณฑ์ให้กับชุมชนและสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับลำไยที่มีราคาตกต่ำ

   2.ผลิตภัณฑ์แชมพูและสบู่จากสารสกัดเมล็ดลำไย เพื่อลดปัญหาขยะจากเมล็ดลำไยและยังช่วยลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือนจากการพัฒนาเครื่องสำอาง เช่น สบู่และแชมพู

  3.การกำหนดราคาสินค้าจากถ่ายทอดความรู้เรื่องการคิดต้นทุนราคาสินค้าและการกำหนดราคา

  4.เทคนิคการพัฒนาสินค้าให้เป็นที่ต้องการของตลาด

ในปีที่2  : ดำเนินการในปีงบประมาณ 2565 เป้าหมาย: การพัฒนาผลิตภัณฑ์และการสร้างแบรนด์ โดยได้รับงบประมาณสนับสนุน 205,900 บาท

ผลลัพธ์ที่ได้

   1. แผนธุรกิจของลำไยอบแห้งสีทอง

   2.ลำไยอบแห้งสีทอง เพื่อพัฒนกระบวนการผลิตลำไยอบแห้งให้มีคุณภาพดีขึ้น

   3. การสร้างบรรจุภัณฑ์ และการสร้างแบรนด์ ดราคาสินค้าจากถ่ายทอดความรู้เรื่องการคิดต้นทุนราคาสินค้าและการกำหนดราคา

   4.การทำตลาดออนไลน์ มีการสร้างเพจเพื่อประชาสัมพันธ์และเป็นช่องทางการ      จัดจำหน่าย

2.แผนดำเนินงานโครงการต่อเนื่องในปีที่ 3

ในปีที่3  : ดำเนินการในปีงบประมาณ 2566  เป้าหมาย: เพิ่มศักยภาพในการผลิตลำไยอบแห้งสีทองและการสร้างตลาด โดยได้รับงบประมาณสนับสนุน 185,500 บาท

กิจกรรมในการดำเนินงาน

1.การพัฒนาศักยภาพการผลิตลำไยอบแห้งสีทอง

1.1 การศึกษาดูงานกระบวนการผลิตและการบริหารจัดการวิสาหกิจฯ

1.2การถ่ายทอดเทคโนโลยีการแปรรูปลำไยอบแห้งสีทอง

1.3 การถ่ายทอดเทคโนโลยีการใช้ประโยชน์จากเมล็ดลำไย

2.อบรมเรื่องกฎหมายเกี่ยวเช่น วกับการผลิตอาหารและเครื่องสำอาง เช่น การขอเลขจดแจ้งการขอ อย.

3.การสร้างกลยุทธ์และส่งเสริมการการตลาด

            3.1 การส่งเสริมการตลาดโดยจัดกิจกรรมการประกวดสื่อออนไลน์

           3.2 การสร้างกลยุทธ์ทางตลาดทั้งออนไลน์และออฟไลน์

3.สรุปปัญหาและอุปสรรคและแนวทางการแก้ปัญหาในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ลำไยอบแห้งสีทอง

ปัญหาและอุปสรรคจากการพัฒนาผลิตภัณฑ์ลำไยอบแห้งสีทอง

1) ปัญหาเรื่องแรงงานการคว้านไม่เพียงพอ และไม่ชำนาญ

2) การให้ความร้อนของตู้อบไม่ค่อยเสถียร

3) เนื่องจากยังไม่ได้ขอ อย. ทำให้การวางขายยังเป็นปัญหา

4) การเก็บไว้นานๆสีของลำไยอบแห้งจะเริ่มเปลี่ยนสี

5) ขาดคนประชาสัมพันธ์ เนื่องจากคนในพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุ

6) ขาดเงินทุนหมุนเวียน

แนวทางการแก้ปัญหา

1) ศึกษาดูงานเพื่อศึกษากระบวนการผลิตและการบริหารจัดการ

2) การอบรมเรื่องมาตรฐานอาหารและยา เพื่อวางแผนในการขอ อย.

3) การสร้างอาคารเพื่อขอมาตรฐาน

4) ส่งเสริมให้วิสาหกิจนำผลผลิตในชุมชนมาแปรรูปเพิ่มเติมเพื่อให้เกิดการหมุนเวียนของรายได้



รายงานโดย ดร. วัชรี เลขะวิพัฒน์ วันที่รายงาน 20/03/2566 [13865]
10520 25