2566 Eco print Ecotourism ชุมชนป่าแลวหลวง อำเภอสันติสุข จังหวัดน่าน   0


รายงานความก้าวหน้า

ไตรมาส ผลการดำเนินงาน งบประมาณที่ใช้ ผู้รับบริการ
4 [15700]

การติดตามผลการดำเนินงาน พบปะหารือเพื่อหาแนวทางในการดำเนินงานในปีที่ 2 หากได้รับงบสนับสนุน  ในวันที่ 23 กันยายน 2566 โดยประชุมเกี่ยวกับเส้นทางท่องเที่ยวในชุมชน Ecotourism ซึ่ง
การท่องเที่ยวแบบยั่งยืนหรือการเที่ยวแบบใส่ใจสิ่งแวดล้อม อาจจะทำให้ทุกคนนึกถึงการเที่ยวแบบเดินป่า ชมภูเขา แต่นั่นก็ไม่ใช่ทั้งหมดเพราะการท่องเที่ยวแบบ Ecotourism ถูกแบ่งออกเป็น 3 ประเภททางเลือกคือ
1. แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ (Natural Attractions) หรือที่เกิดจากสภาพแวดล้อมตามธรรมชาติ ประกอบด้วย สภาพภูมิอากาศ (climate) ทิวทัศน์ที่สวยงาม (Scenery) และสัตว์ป่า (Wildlife)
2. แหล่งท่องเที่ยวที่มนุษย์สร้างขึ้น (Manufactured Attractions) เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ตรงกันข้ามกับแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ เน้นชมสิ่งก่อสร้างและสถาปัตยกรรมทางประวัติศาสตร์ ศาสนสถาน สถานที่ราชการที่ก่อสร้างขึ้น เช่น พระราชวัง อาคารเก่าแก่ที่มีประวัติความเป็นมาที่สำคัญ
3. แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมและวิถีชีวิต เน้นการท่องเที่ยวแบบชมอารยธรรมในอดีต หรือวัฒนธรรม หรือวิถีชีวิตของชนกลุ่มน้อย รวมถึงพิธีกรรม พิธีการงานฉลองรื่นเริงต่างๆ ศิลปะการแสดง ดนตรี เพลงพื้นบ้าน การร่ายรำ การละเล่น และงานหัตถกรรมต่างๆ

 จากการลงความคิดเห็นร่วมกัน พบว่า

1. ชุมชนและทางกลุ่มวิสาหกิจฯ ต้องการทำการท่องเที่ยวทางธรรมชาติ จะเน้นการเดินป่าไปยังไก่ป่าแคมป์ ในตำบลป่าแลวหลวง  สำรวจเส้นทาง ต้นไม้ต่าง ๆ โดยจะมีกิจกรรมการทำผ้า Ecoprint เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการทำกิจกรรม ใช้เวลา 2 วัน

2. การท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมและวิถีชีวิต โดยแบ่งออกเป็น 

      2.1  โดยจะมีการสาธิตกิจกรรมการทำผ้า Ecoprint  การพักที่บ้านนาสามขา @รัก กิจกรรมการท่องเที่ยวโยนนาข้าว เก็บใบไม้หรือทำสีจากธรรมชาติ ใช้เวลา 2 วัน

      2.2  การทำผ้า Ecoprint ใน 1 วัน มีการเรียนรู้เรื่องใบไม้ในชุมชนโดยจะให้ทางสมาชิกกลุ่ม ทำการปลูกต้นไม้ทั้งที่ให้สีและให้รูปร่างเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้แก่ผู้มาเรียน จากนั้นจะให้วิทยากรประจำกลุ่มสอนเรื่องการวางใบไม้ การนึ่ง หรือการทุบใบไม้ เพื่อให้เกิดลวดลาย

 

 



รายงานโดย นายพิทญาธร  อิ่นแก้ว วันที่รายงาน 25/09/2566 [15700]
20340 25
4 [15679]

วันที่ 7 กันยายน 2566

นายพิทญาธร อิ่นแก้ว ตัวแทนจากคลินิคเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ ฯ ร่วมกับคณะติดตามประเมินผลจากส่วนกลาง สป.อว. จำนวน 6 ท่าน ได้แก่

1. นางอาภาพร  สินธุสาร (กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.)
2. นายเฉลิมพงษ์ กล้าขยัน (สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (สนช.)
3. น.ส.เดือนเพ็ญ อาจไธสง (กปว. สป.อว.)
4. น.ส. เอสา เวชกิจกุล (กปว. สป.อว.)
5. น.ส. รชนิศ ศรีวิชัย (ปค.ภาคเหนือ สป.อว.)
6. น.ส.จุฑาทิพ รุณสุข (กปว. สป.อว.)

ได้ดำเนินการติดตามประเมินผลและสอบถามให้ข้อเสนอแนะในการจัดทำโครงการ ตั้งแต่เวลา 9.00 -11.00 น.

โดยให้คำแนะนำเรื่องการขอมาตรฐานผลิตภัณฑ์  การจัดทำเส้นทางท่องเที่ยว การกำหนดราคาผลิตภัณฑ์



รายงานโดย นายพิทญาธร  อิ่นแก้ว วันที่รายงาน 19/09/2566 [15679]
7040 26
3 [15288]

กิจกรรมที่ 2 การพัฒนาบรรจุภัณฑ์ และตรายี่ห้อ    สำหรับการออกแบบบรรจุภัณฑ์  และป้ายแท็กมีข้อสรุปการประชุมร่วมกันอีกรอบในวันที่ 27 สิงหาคม 2566 ให้ใช้ชื่อ "ป่าแลว คราฟท์"  Palaew Cratf

-ออกแบบบรรจุภัณฑ์สำหรับใส่ผ้าถุงจำนวน 1,000 ถุง

-ออกแบบบรรจุภัณฑ์สำหรับผ้าคลุมไหล่จำนวน 1,000 ถุง

-ออกแบบตราผลิตภัณฑ์แบบป้ายแท็กสำหรับติดผลิตภัณฑ์จำนวน 1000 ป้าย



รายงานโดย นายพิทญาธร  อิ่นแก้ว วันที่รายงาน 29/08/2566 [15288]
21500 15
3 [15287]

กิจกรรมที่ 3  การบัญชีต้นทุน  การตั้งราคา และการตลาดออนไลน์ 

วันที่ 26 สิงหาคม 2566 อบรมเรื่องการบัญชีต้นทุน การตั้งราคา ดังนี้

1. ต้นทุนผ้าชิ้นเล็ก (หน้ากว้าง 22 นิ้ว ยาว 2 เมตร)
[  ] ต้นทุนผ้า 100 บ.
[  ] ค่าซักผ้า ผืนละ 5 บ.
[  ] ส่วนผสมแช่ผ้า 50 บ.
[  ] ค่านึ่งผ้า ผืนละ 6 บ. (แก๊สถังละ 500 บ. นึ่งได้ 4 ครั้ง ตกครั้งละ 125 บ. ต่อ 22 ผืน)
[  ] ค่าเก็บใบไม้  18 บ.
[  ] ค่าแรงคนทำ วางใบไม้+พัน  50-80 บ.
[  ] ค่าซักฟิกสี 20 บ.
รวม 288 บ.

ต้นทุนทำผ้า 290 บ.
สมาชิกขายเข้ากลุ่ม 300 บ.
สมาชิกซื้อ 340 บ. (กลุ่มได้กำไร 40 บ.)
ขายส่งขั้นต่ำ (6-10ผืน) 420 บ.
ขายปลีก 500 - 590 บ.
___________

2. ต้นทุนผืนใหญ่ (ขนาดกว้าง 45 นิ้ว × 2 เมตร)
[  ] ต้นทุนผ้า 200 บ.
[  ] ค่าซักผ้า 10 บ.
[  ] ส่วนผสมแช่ผ้า 80 บ.
[  ] ค่านึ่งผ้า ได้รอบละ 8 ผืน ตกผืนละ 15 บ.
[  ] ค่าเก็บใบไม้ 30 บ.
[  ] ค่าแรงคนทำ วางใบไม้+พัน  160 บ.
[  ] ค่าซักฟิกสี 20  บ.
รวมต้นทุน 515 บ. ตีเป็น 500 บ.

สมาชิกขายเข้ากลุ่ม 500 บ.
สมาชิกซื้อ 550 บ.(กลุ่มได้กำไร 50 บ.)
ขายส่งขั้นต่ำ คนนอก(ขั้นต่ำ 6 ผืน) 800 บ.
ขายปลีก 950 บ. (โอนส่งฟรี ปลายทาง +50)
___________

3. ผ้าคลุมไหล่ ขนาด 55x200 ซม.
[  ] ผ้าผืนละ 67 บ.
[  ] ค่าซัก 2 บ.
[  ] ส่วนผสมแช่ผ้า 25 บ.
[  ] ค่านึ่งผ้า ได้รอบละ 22 ผืน ตกผืนละ 5 บ.
[  ] ค่าเก็บใบไม้ 18 บ.
[  ] ค่าแรงคนทำ วางใบไม้+พัน 50 บ.
[  ] ค่าซักฟิกสี 20  บ.
รวมต้นทุน 188 บ.

สมาชิกขายเข้ากลุ่ม 200 บ.
สมาชิกซื้อ 230 บ. (30บ.เข้ากลุ่ม)
ขายส่งขั้นต่ำ คนนอก(ขั้นต่ำ 6 ผืน) 320 บ.
ขายปลีก 490-550 บ. (โอนส่งฟรี ปลายทาง +50)
___________

4. บริการรับทำผ้า (ลูกค้าส่งผ้ามาเอง)
[  ] คลุมไหล่ ค่าทำผืนละ 200-280 บ.
[  ] ผ้าชิ้นเล็ก ผืนละ 250 บ.
[  ] ผ้าใหญ่ 2 เมตร ผืนละ 500 บ
[  ] ผ้าใหญ่ 3 เมตร ผืนละ 600-700 บ.
[  ] ผ้าใหญ่ 4 เมตร ผืนละ 700-900 บ.

วันที่ 27 สิงหาคม 2566 จัดอบรมเรื่องการตลาดออนไลน์  การถ่ายภาพ  การจัดทำเนื้อหาเรื่องเล่าสำหรับการขายออนไลน์



รายงานโดย นายพิทญาธร  อิ่นแก้ว วันที่รายงาน 29/08/2566 [15287]
30150 15
3 [14936]

รายงานความก้าวหน้าเดือนกรกฎาคม 2566

  1. มีการจัดทำผ้าคลุมไหล่และผ้าชิ้น โดยใช้สีธรรมชาติ แบ่งกลุ่มการทำงานออกเป็น 4 กลุ่ม เพื่อเรียนรู้เรื่องสีธรรมชาติ

   2. การสำรวจใบไม้ในชุมชนเพื่อนำมาทำผ้า และเรียนรู้เรื่องสีของใบไม้

  3. ฝึกทักษะการวางใบไม้ และความคิดสร้างสรรค์ในการวางลวดลายผ้า

  4.  การบริหารจัดการกลุ่ม การแบ่งงานกันทำ



รายงานโดย นายพิทญาธร  อิ่นแก้ว วันที่รายงาน 03/08/2566 [14936]
5700 17
3 [14440]

กิจกรรมที่ 2 การพัฒนาบรรจุภัณฑ์และการสร้างตราสินค้า

-อบรมเชิงปฏิบัติการสร้างตราสินค้า ทางกลุ่มได้ออกแบบชื่อร่วมกัน แต่ยังมีข้อถกเถียงเรื่องสัญลักษณ์  ชื่อตรายี่ห้อ ที่จะนำมาใช้กับผลิตภัณฑ์เพื่อสร้างความแตกต่างและจดจำให้กับสินค้า จึงจะนัดหารือกันอีกรอบในเดือนกรกฎาคม

-ทางกลุ่มได้หารือแนวทางในการบริหารจัดการกลุ่มผ้า Ecoprint ป่าแลวหลวง  จึงได้กำหนดโครงสร้างการบริหารกลุ่มที่แยกออกมาจากกลุ่มวิสาหกิจผักดีดี๊ ป่าแลวหลวง  โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาผ้า ecoprint และสร้างงานสร้างอาชีพจากผ้า ecoprint ซึ่งได้รับความสนใจจากคนในชุมชน

-ทางกลุ่มได้ลองขึ้นต้นแบบสินค้า เช่น เสื้อ  ย่าม  ปลอกหมอน  ผ้านุ่ง เป็นต้น  เพื่อหาแนวทางในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้หลากหลายต่อไป

สำหรับแนวทางการดำเนินงานต่อไป

-หลังจากได้ประชุมหารือและโหวตชื่อตรายี่ห้อแล้วจะสามารถนำไปออกแบบบรรจุภัณฑ์ เช่น ถุง  ป้ายแท็กสินค้า ต่อไป



รายงานโดย นายพิทญาธร  อิ่นแก้ว วันที่รายงาน 15/06/2566 [14440]
16150 17
3 [14439]

กิจกรรมที่ 1 ถ่ายทอดองค์ความรู้เทคโนโลยีการย้อมสีธรรมชาติและการทำ Eco print ระหว่างวันที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2566 ถึง วันที่ 5 พฤษภาคม   พ.ศ. 2566 เวลา 08.00 – 17.00 น. ณ ที่ทำการกลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านป่าแลวผักดี๊ดี อำเภอสันติสุข จังหวัดน่าน จำนวนผู้เข้าอบรม 25 คน

-อบรมเชิงปฏิบัติการ การคัดเลือกชนิดของพรรณไม้ที่ให้สีธรรมชาติและประเภทของพรรณไม้ที่ให้รูปร่าง  ประเภทของผ้าที่เลือกใช้   การทำความสะอาดผ้าสำหรับนำมาทำ Eco-print

-อบรมเชิงปฏิบัติการ Eco-printเทคนิคพื้นฐานและการจัดวางใบไม้ลงบนผ้า การม้วนผ้า การนึ่งผ้า

วันที่ 27 พฤษภาคม 2566 

-อบรมเชิงปฏิบัติการ การทำน้ำห่มสีจากธรรมชาติ  จำนวน 4 สี ได้แก่ สีจากใบสัก ใบมะม่วง สีจากเปลือกไม้ ฝางเสน, การทำน้ำแช่ผ้าสารช่วยติดสี หรือมอร์แดน

-อบรมเชิงปฏิบัติการทำผ้า Econ-print แบบห่มสีธรรมชาติ



รายงานโดย นายพิทญาธร  อิ่นแก้ว วันที่รายงาน 15/06/2566 [14439]
114000 25
2 [14014]

ดำเนินการลงพื้นที่เพื่อประชุมหารือการดำเนินกิจกรรมของโครงการ  และการสำรวจทรัพยากรในท้องถิ่นจำพวกพืชพรรณไม้ต่าง ๆ ที่นำมาทำผ้าพิมพ์ใบไม้



รายงานโดย นายพิทญาธร  อิ่นแก้ว วันที่รายงาน 03/04/2566 [14014]
6120 16