2566 การยกระดับหมู่บ้านปูผาด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ บ้านห้วยหาดและบ้านหลักลายตำบลอวน อำเภอปัว จังหวัดน่าน   0


รายงานความก้าวหน้า

ไตรมาส ผลการดำเนินงาน งบประมาณที่ใช้ ผู้รับบริการ
4 [15702]

กิจกรรม : อบรมเชิงปฏิบัติ การเพาะขยายพันธุ์ปู
เรื่อง: การยกระดับหมู่บ้านปูผาด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ
บ้านห้วยหาดและบ้านหลักลายตำบลอวน อำเภอปัว จังหวัดน่าน
ผู้รับบริการ : กลุ่มเกษตรกรผู้ประกอบการท่องเที่ยวเชิงนิเวศบ้านห้วยหาด ตำบลอวน อำเภอปัว จังหวัดน่าน
วันที่ดำเนินการ 11-13 สิงหาคม 2566
วิทยากร ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เอกชัย ดวงใจ

รายละเอียดผลการ
ดำเนินงาน
เป็นกิจกรรมการอบรมเชิง ปฏิบัติ เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเพาะขยาย พันธุ์ปูการนำเสนอถึงหลักการและแนวทางที่เกี่ยวข้อง ดังนี้

1.การเลือกทำเล

2.การสร้างบ่อเลี้ยงปู

3.การเตรียมการเพาะพันธุ์ปู

4.ปัญหาและวิธีการแก้ปัญหาในการเพาะฟักไข่ปู

5.การอนุบาลปู

6.การเตรียมบ่อเลี้ยงปู

7.มาตรฐานงานฟาร์มเพาะเลี้ยงปู โดย 1) การเลือกทำเล กล่าวคือ การเลือกทำเล สร้างบ่อเพาะเลี้ยงปู มีความสำคัญ ส่งผลให้ การดำเนินกิจกรรมเพาะเลี้ยงปู ประสบความสำเร็จ โดยการเลือกทำเลควรพิจารณาอย่างละเอียดในด้านต่าง ๆ เช่น ที่ดินและลักษณะของดิน ปริมาณและคุณภาพน้ำลักษณะภูมิประเทศ ลักษณะภูมิอากาศ ตลอดจนความเหมาะสมของสถานที่กับปัจจัยด้านอื่นๆ ซึ่งอาจรวมถึงสภาพเศรษฐกิจและสังคม 2) แหล่งน้ำ มีน้ำปริมาณเพียงพอตลอดทั้งปี หรืออย่างน้อยตลอดช่วงฤดูกาลเพาะพันธุ์ น้ำส่วนใหญ่ได้มาจาก 2 แหล่งคือ 1)แหล่งน้ำบนดิน 2)แหล่งน้ำใต้ดิน 3) สามารถหาพันธุ์ ปู และอาหารปู ได้ง่าย ไม่ขัดต่อกฎหมายประมง มีแหล่งรับซื้อผลผลิตที่ผลิตได้ และการคมนาคมสะดวก 4) การเตรียมการเพาะพันธุ์ ปู การเตรียมการเพาะพันธุ์นับว่ามีความสำคัญ มากที่จะส่งผลให้การเพาะพันธุ์ ประสบผล สำเร็จซึ่งต้องสร้างบ่อพักน้ำหรือบ่อตกตะกอน บ่อเลี้ยงอาหารธรรมชาติ โรงเพาะฟักและอุปกรณ์ที่ใช้ และ5) บ่อเพาะพันธุ์หรือบ่อผสมพันธุ์ ควรมีขนาดตั้งแต่ 1-5 ตารางเมตรความลึกของน้ำ ประมาณ 10 เซนติเมตร ส่วนบ่อฟักไข่ เป็นบ่อที่ใช้ฟักไข่ปูวัยอ่อนหลังจากผสมในการจัดเตรียมบ่อฟักไข่
  



รายงานโดย นางสาวศศิภา ชุมภูธิมา วันที่รายงาน 25/09/2566 [15702]
60000 20
4 [15701]

กิจกรรม : อบรมเชิงปฏิบัติการผลิตอาหารกึ่งเปียกสำหรับเลี้ยงปู เรื่อง: การยกระดับหมู่บ้านปูผาด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ บ้านห้วยหาดและบ้านหลักลายตำบลอวน อำเภอปัว จังหวัดน่าน
ผู้รับบริการ : กลุ่มเกษตรกรผู้ประกอบการท่องเที่ยวเชิงนิเวศบ้านห้วยหาด ตำบลอวน อำเภอปัว จังหวัดน่าน
วันที่ดำเนินการ 28-30 กรกฎาคม 2566
วิทยากร ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เอกชัย ดวงใจ
รายละเอียดผลการดำเนินงาน เป็นกิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติเพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการผลิตอาหารกึ่งเปียกสำหรับเลี้ยงปู การนำเสนอบทบาทและความสําคัญของอาหารที่มีผลต่อการเจริญเติบโต การดำรงชีวิต และการสืบพันธุ์ของปูผา เนื่องจากต้นทุนส่วนใหญ่ 70-80 เปอร์เซ็นต์ ของการเพาะเลี้ยงปูเป็นค่าอาหาร ความต้องการสารอาหารของสัตว์แต่ละชนิดและในแต่ละช่วงของการเจริญเติบโตของปู การถ่ายทอดองค์ความรู้ ดังนี้ การคัดเลือกแหล่งของวัตถุดิบอาหาร โดยเน้นวัตถุดิบโปรตีนสูงแต่ต้นทุนต่ำ อาทิ โครงไก่สด ก้อนเลือดต้มสุก มันไก่สด เป็นต้น การเลือกใช้วัตถุดิบและส่วนผสมเพิ่มเติมในสูตรอาหารปู เช่น การเสริมสารแคลเซียมในสูตรอาหาร วิตามินและแร่ธาตุ โดยปริมาณสารอาหาร สูตรอาหารที่ดีควรมีสารอาหารครบทุกชนิด และเพียงพอต่อความต้องการของสัตว์ตามระยะการเจริญเติบโต ขนาด ชนิดของสัตว์หรือชนิดของผลผลิต ความสมดุลของสารอาหาร มีความสมดุลของสารอาหารในอาหารสัตว์ ได้แก่ สัดส่วนของพลังงานต่อโปรตีน สัดส่วน ของแร่ธาตุ เช่น แคลเซียมต่อฟอสฟอรัส หรือความสมดุลของกรดอะมิโน เป็นต้น การผลิตอาหารปูและการเก็บรักษาอาหาร อาหารและการให้อาหาร โดยความน่ากิน สูตรอาหารนั้นควรมีความน่ากิน สัตว์มีความชอบกินและกินได้มากตามความต้องการ และการจัดการคุณภาพน้ำในบ่อเลี้ยงปู
 



รายงานโดย นางสาวศศิภา ชุมภูธิมา วันที่รายงาน 25/09/2566 [15701]
80000 20
4 [15381]

กิจกรรม การเตรียมบ่อขุนปู เรื่อง การยกระดับหมู่บ้านปูผาด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ บ้านห้วยหาดและบ้านหลักลายตำบลอวน อำเภอปัว จังหวัดน่าน

ผู้รับบริการ : กลุ่มเกษตรกรผู้ประกอบการท่องเที่ยวเชิงนิเวศบ้านห้วยหาด ตำบลอวน อำเภอปัว จังหวัดน่าน

วิทยากร ผศ.ดร.เอกชัย ดวงใจ

รายละเอียดการดำเนินงาน : เป็นกิจกรรมการเตรียมบ่อสำหรับขุนเลี้ยงปู โดยเกษตรกรได้เรียนรู้แนวทางปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบหรือการสร้างบ่อสำหรับขุนเลี้ยงปูตัวเต็มวัย เช่น ระดับความลึกของบ่อและน้ำที่เหมาะสมสำหรับปู การกำหนดตำแหน่งจุดน้ำเข้าและจุดระบายน้ำออกจากบ่อ การเลือกใช้วัสดุส่งเสริมการหลบซ่อนของลูกปูและการหลบอาศัยของปู โดยมีรายละเอียดดังนี้ ในการทำบ่อซีเมนต์สำหรับเลี้ยงปูนาขนาด 3*20 เมตร ทำเป็นแบบเทพื้นปูน จากนั้นใส่หินหนาประมาณ 20 – 30 เซนติเมตร เพื่อให้ปูได้หลบ โดยการใส่หินในบ่อนั้น ควรลาดเอียงอีกข้างหนึ่งมีน้ำเลียนแบบบ่อธรรมชาติ ต่อมาปลูกพืชพรรณไม้น้ำเพื่อให้เป็นแหล่งอาศัยและเป็นแหล่งอาหารของปู อาทิ ผักบุ้ง ผักตบชวา ทำการต่อสปริงเกอร์ ฉีดน้ำให้บ่อชุ่มชื่นอยู่เสมอ นำเอาทางมะพร้าวมาวางในบ่อ เพื่อให้ปูได้อยู่อาศัยหลบซ่อน จากนั้นเราก็ปล่อยปูลงเลี้ยงความหนาแน่น 1 กิโลกรัม/1 ตรม.
 
 



รายงานโดย นางสาวศศิภา ชุมภูธิมา วันที่รายงาน 05/09/2566 [15381]
50000 20
3 [14807]

กิจกรรม การเตรียมพ่อแม่พันธุ์ปูผา เรื่อง การยกระดับหมู่บ้านปูผาด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ บ้านห้วยหาดและบ้านหลักลายตำบลอวน อำเภอปัว จังหวัดน่าน

ผู้รับบริการ : กลุ่มเกษตรกรผู้ประกอบการท่องเที่ยวเชิงนิเวศบ้านห้วยหาด ตำบลอวน อำเภอปัว จังหวัดน่าน

วันที่ดำเนินการ 1-5 มิถุนายน 2566

วิทยากร ผศ.ดร.เอกชัย ดวงใจ

รายละเอียดการดำเนินงาน เป็นกิจกรรมการรวบรวมและการเตรียมพ่อแม่พันธุ์ปูผา เพื่อปรับพฤติกรรมการกินอาหารของปูในการเลี้ยงระบบปิด กล่าวคือ ภายหลังจากเกษตรกรรวบรวมพันธุ์ปูผาจากแหล่งน้ำธรรมชาติ จากนั้นจะนำมาขุนในบ่อซีเมนต์ จำนวน 4 บ่อ โดยอาหารที่ใช้ขุนปูในช่วงนี้ คือ อาหารกึ่งเปียกซึ่งผลิตจากการนำโครงไก่สดจากนั้นบดผสมกับรำละเอียดก่อนน้ำมาให้ปูกินต่อเนื่องกระทั่งครบ 2 เดือน ตลอดระยะเวลาการขุนพ่อแม่พันธุ์ปูผาใช้ระบบน้ำประปาภูเขา
 



รายงานโดย นางสาวศศิภา ชุมภูธิมา วันที่รายงาน 05/07/2566 [14807]
35000 20