2566 บ่มเพาะผลิตภัณฑ์ส่งเสริมการท่องเที่ยวด้วยสีธรรมชาติ : ชุมชนบ้านกองกาน ต.แม่ศึก อ.แม่แจ่ม จ.เชียงใหม่   0


รายงานความก้าวหน้า

ไตรมาส ผลการดำเนินงาน งบประมาณที่ใช้ ผู้รับบริการ
4 [15718]

กิจกรรมที่ 4 จัดถ่ายทอดความรู้เรื่องการจัดการท่องเที่ยวเชิงศิลปะและวัฒนธรรม
หลักการของการพัฒนาชุมชนท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม
สิ่งที่ควรคำนึงถึงในลำดับแรก สำหรับการพัฒนาชุมชนท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม คือ การสร้างความตระหนัก และจิตสำนึก อย่างมีส่วนร่วม ให้กับคนในชุมชนท้องถิ่น เห็นคุณค่าของมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมและทรัพยากรในท้องถิ่น เพราะเป็นต้นทุนสำคัญในการพัฒนา ต่อยอดสู่การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ซึ่งเป็นการ บูรณาการองค์ความรู้จากสหวิทยาการ และความรู้สมัยใหม่ เข้ากับความรู้และภูมิปัญญาของท้องถิ่น ดังนั้น การพัฒนาชุมชนท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม จึงไม่สามารถพัฒนาขึ้นได้โดยปัจจัยภายในหรือศักยภาพที่มีอยู่เดิมในชุมชนท้องถิ่นเพียงอย่างเดียว จำเป็นที่จะต้องเข้าใจสถานการณ์ภายนอก ที่เป็นทั้งโอกาส ผลกระทบ และภาวะคุกคาม ในการพัฒนาที่เหมาะสมกับบริบทของชุมชนท้องถิ่นนั้น ๆ
การพัฒนาชุมชนท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ถือเป็นแนวทางหรือทางเลือกหนึ่งของการพัฒนาชุมชนและท้องถิ่น โดยใช้การท่องเที่ยวเป็นเครื่องมือในการจัดการมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมและทรัพยากรในท้องถิ่น เพื่อให้เกิดการสร้างจิตสำนึกและการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ในการอนุรักษ์ ฟื้นฟู ต่อยอด และเผยแพร่ มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมและทรัพยากรในท้องถิ่น ทั้งที่จับต้องได้และจับต้องไม่ได้ นำไปสู่การสร้างมูลค่าและโอกาสทางเศรษฐกิจ รวมถึงกระบวนการทางสังคมและการเรียนรู้ทางวัฒนธรรมร่วมกัน โดยมีหลักการที่สำคัญ 7 ประการ ดังนี้
1. เคารพในสิทธิและความหลากหลายทางวัฒนธรรม
2. การจัดการมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมและทรัพยากรในท้องถิ่น
3. การสร้างสรรค์และการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน
4. การมีส่วนร่วมของภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง
5. ก่อให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ และความตระหนัก
6. คำนึงถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อ เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อม
7. ยกระดับคุณภาพชีวิตของตคนในชุมชนท้องถิ่น

 

 

องค์ประกอบของการพัฒนาชุมชนท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม
องค์ประกอบของการพัฒนาชุมชนท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ออกเป็น 5 องค์ประกอบดังนี้
1. ด้านการจัดการมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมและทรัพยากรในท้องถิ่น การจัดการมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมและทรัพยากรในท้องถิ่น หมายถึง กระบวนการในการสร้างความตระหนัก เห็นคุณค่า ความรัก ความหวงแหน และภาคภูมิใจของคนในชุมชนที่มีต่อมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมและทรัพยากรในท้องถิ่น ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการ การศึกษา รวบรวมข้อมูลมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชุมชน เช่น ข้อมูลประวัติศาสตร์ชุมชน ภูมิปัญญาท้องถิ่น งานประเพณี พิธีกรรม สถาปัตยกรรม เป็นต้น แล้วนำข้อมูลเหล่านั้นมาจัดการอย่างเป็นระบบ เพื่อให้เกิดการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และเผยแพร่
2. ด้านการบริหารจัดการที่ยั่งยืน การบริหารจัดการที่ยั่งยืน หมายถึง การบริหารจัดการการท่องเที่ยวที่มีการออกแบบ การวางแผน การกำหนดมาตรการ และข้อตกลง ต่าง ๆ เพื่อป้องกันและลดผลกระทบทางลบที่จะส่งผลเสียต่อ วัฒนธรรม สังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ยังรวมถึงการบริหารจัดการองค์กรชุมชนเพื่อการบริหารจัดการการท่องเที่ยว ที่สอดคล้องกับบริบททางด้านพื้นที่ เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ของชุมชนท้องถิ่น นั้น ๆ
3. ด้านการมีส่วนร่วม การมีส่วนร่วม หมายถึง การมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ ส่วนเสีย หรือผู้ที่เกี่ยวข้องในการจัดการชุมชนท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม โดยมีระดับของการมีส่วนร่วมที่หลากหลาย เช่น ร่วมวางแผน ร่วมบริหารจัดการ ร่วมรับผลประโยชน์ และร่วมรับผิดชอบ ทั้งนี้จะต้องสอดคล้องกับรูปแบบการบริหารจัดการตามบริบท ด้านพื้นที่ เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ของชุมชนท้องถิ่น นั้น ๆ
4. ด้านการจัดกิจกรรมและกระบวนการเรียนรู้ การจัดกิจกรรมและกระบวนการเรียนรู้ หมายถึง การนำเสนอเรื่องราวของ มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมและทรัพยากรในท้องถิ่น ผ่านการจัดกิจกรรมและกระบวนการเรียนรู้ ที่มุ่งเน้นให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมและกระบวนการ เกิดความรู้ ความเข้าใจ ความตระหนัก และเห็นคุณค่า จากการมีส่วนร่วมในสถานการณ์จริง การปฏิบัติจริง และการถ่ายทอดโดยคนในท้องถิ่น
5. ด้านการอนุรักษ์ ฟื้นฟู เผยแพร่ และการสร้างคุณค่า การอนุรักษ์ ฟื้นฟู เผยแพร่ และการสร้างคุณค่า หมายถึง กระบวนการของการท่องเที่ยว มีส่วนสำคัญให้เกิดกระบวนการในการอนุรักษ์ ฟื้นฟู เผยแพร่ และการสร้างคุณค่า ให้กับ มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมและทรัพยากรในท้องถิ่น ทั้งในมิติทางเศรษฐกิจและมิติทางสังคม
 



รายงานโดย นางสาวอภิญญา ไชยวงค์ วันที่รายงาน 28/09/2566 [15718]
22948 35
4 [15717]

กิจกรรมที่ 3 จัดถ่ายทอดความรู้เรื่องการจัดการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์
 



รายงานโดย นางสาวอภิญญา ไชยวงค์ วันที่รายงาน 28/09/2566 [15717]
34422 35
4 [15720]

ผลผลิตที่ได้รับ(Output)(ผลผลิตที่ได้รับจากการดำเนินงานซึ่งสอดคล้องกับวัตถุประสงค์หลักของโครงการ/กิจกรรม)
 1. องค์ความรู้เรื่องการเครื่องจักรกลชุมชน : การออกแบบเครื่องปั่นฝ้าย(พัฒนาต่อยอด) อย่างน้อย 1 องค์ความรู้
  2. องค์ความรู้เรื่องการพัฒนาแบบบรรจุภัณฑ์ผลิตภัณฑ์ Eco Product ตามอัตลักษณ์ อย่างน้อย 1 องค์ความรู้
  3. องค์ความรู้เรื่องการจัดการท่องเที่ยวตามแนววิถีใหม่ อย่างน้อย 1 องค์ความรู้

ผลลัพธ์ที่ได้รับ (Outcome) (ผลประโยชน์ที่ได้จากผลผลิตของโครงการ/กิจกรรม)
       1. เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับองค์ความรู้เรื่องการเครื่องจักรกลชุมชน : การออกแบบเครื่องปั่นฝ้าย(พัฒนาต่อยอด)
2. เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับองค์ความรู้เรื่องการพัฒนาแบบบรรจุภัณฑ์ผลิตภัณฑ์ Eco Product ตามอัตลักษณ์ อย่างน้อย 1 องค์ความรู้
3. เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับองค์ความรู้เรื่องการจัดการท่องเที่ยวตามแนววิถีใหม่ อย่างน้อย 1 องค์ความรู้

ผลกระทบที่ได้รับ (Impact) (ผลกระทบที่ได้รับจากผลลัพธ์ของโครงการ/กิจกรรม)
1. ด้านเศรษฐกิจ
- รายได้ที่เพิ่มขึ้นจากผลิตภัณฑ์ส่งเสริมการท่องเที่ยวด้วยสีธรรมชาติ ของกลุ่มเป้าหมาย ไม่น้อยกว่าร้อยละ 10
- มูลค่าทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นจากการดำเนินโครงการเทียบกับงบประมาณที่ได้รับ ไม่น้อยกว่า 1 เท่า (B/C ratio >1)
2. ด้านสังคม
- จำนวนผู้ได้รับรายได้จากผลิตภัณฑ์ส่งเสริมการท่องเที่ยวด้วยสีธรรมชาติ เพิ่มขึ้น 2 คน
- จำนวนอาชีพใหม่ของคนในชุมชน 2 อาชีพ
3. ด้านสิ่งแวดล้อม
- จำนวนพื้นที่/แหล่ง/สถานที่ ทรัพยากรสีธรรมชาติ เพิ่มขึ้น 1 พื้นที่/แหล่ง/สถานที่

สรุปอภิปรายผล ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะโครงการ (บรรยายพอสังเขป)
โครงการศูนย์บ่มเพาะผลิตภัณฑ์ส่งเสริมการท่องเที่ยวด้วยสีธรรมชาติ : ชุมชนบ้านกองกาน ต.แม่ศึก อ.แม่แจ่ม จ.เชียงใหม่ มีวัตถุประสงค์เพื่อถ่ายทอดความรู้เรื่องการเครื่องจักรกลชุมชน : การพัฒนาเครื่องปั่นฝ้าย(พัฒนาต่อยอด) ถ่ายทอดความรู้เรื่องการพัฒนาแบบบรรจุภัณฑ์ผลิตภัณฑ์ Eco Product ตามอัตลักษณ์ และเพื่อถ่ายทอดความรู้การจัดการท่องเที่ยวตามแนววิถีใหม่ ผลการดำเนินงาน มีดังนี้
1. เกิดกระบวนการจัดการความรู้ ได้แก่ การจัดการความรู้เรื่องการเครื่องจักรกลชุมชน : การออกแบบเครื่องปั่นฝ้าย(พัฒนาต่อยอด) การจัดการความรู้เรื่องการพัฒนาแบบบรรจุภัณฑ์ผลิตภัณฑ์ Eco Product ตามอัตลักษณ์ และการจัดการความรู้เรื่องการจัดการท่องเที่ยวตามแนววิถีใหม่
2. เกิดกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ได้แก่ เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับองค์ความรู้เรื่องการเครื่องจักรกลชุมชน : การออกแบบเครื่องปั่นฝ้าย(พัฒนาต่อยอด) เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับองค์ความรู้เรื่องการพัฒนาแบบบรรจุภัณฑ์ผลิตภัณฑ์ Eco Product ตามอัตลักษณ์ และเกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับองค์ความรู้เรื่องการจัดการท่องเที่ยวตามแนววิถีใหม่
จากผลการดำเนินโครงการข้างต้น ทำให้เกิดความร่วมมือกับภาคีเครือข่ายทั้งในระดับชุมชน ระดับตำบล หรือเทศบาล และผู้ประกอบการระดับ OTOP คือ ร้านอาทิตยาผ้าซิ่นตีนจกแม่แจ่ม ที่จะร่วมกันพัฒนาผลิตภัณฑ์และพื้นที่รูปธรรมในการสื่อสารและส่งเสริมการท่องเที่ยวด้วยสีธรรมชาติ : ชุมชนบ้านกองกาน ต.แม่ศึก อ.แม่แจ่ม จ.เชียงใหม่ ต่อไป

ประโยชน์ที่ประชาชน/สาธารณชนจะได้รับ
1. เกิดกระบวนการจัดการความรู้ ได้แก่
1.1 การจัดการความรู้เรื่องการเครื่องจักรกลชุมชน : การออกแบบเครื่องปั่นฝ้าย(พัฒนาต่อยอด)
1.2 การจัดการความรู้เรื่องการพัฒนาแบบบรรจุภัณฑ์ผลิตภัณฑ์ Eco Product ตามอัตลักษณ์
1.3 การจัดการความรู้เรื่องการจัดการท่องเที่ยวตามแนววิถีใหม่
2. เกิดกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ได้แก่
2.1 เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับองค์ความรู้เรื่องการเครื่องจักรกลชุมชน : การออกแบบเครื่องปั่นฝ้าย(พัฒนาต่อยอด)
2.2 เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับองค์ความรู้เรื่องการพัฒนาแบบบรรจุภัณฑ์ผลิตภัณฑ์ Eco Product ตามอัตลักษณ์
2.3 เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับองค์ความรู้เรื่องการจัดการท่องเที่ยวตามแนววิถีใหม่
 



รายงานโดย นางสาวอภิญญา ไชยวงค์ วันที่รายงาน 28/09/2566 [15720]
0 0
4 [15719]

กิจกรรมที่ 5 จัดถ่ายทอดความรู้การจัดการท่องเที่ยวตามแนววิถีใหม่ และ กิจกรรมที่ 6 จัดกิจกรรมติดตามและประเมินผลโครงการ
การท่องเที่ยววิถีใหม่หรือการท่องเที่ยวแบบ New Normal เป็นการท่องเที่ยวที่เกิดขึ้นในช่วงที่มีการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด 19) ซึ่งนักท่องเที่ยวจะต้องปรับพฤติกรรมการท่องเที่ยวเพื่อป้องกันตนเองให้ปลอดภัยจากโควิด 19 ด้วยการปรับวิถีการดำรงชีวิตใหม่ อาทิ การเว้นระยะห่างทางสังคม การปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรคของกระทรวงสาธารณสุข รวมถึงผู้ประกอบการต้องปรับตัวเพื่อรองรับรูปแบบการท่องเที่ยวที่เปลี่ยนไปด้วย ซึ่งการเปลี่ยนแปลงนี้ก่อให้เกิดการสร้างนวัตกรรมเพื่อการท่องเที่ยววิถีใหม่ เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของนักท่องเที่ยวและช่วยกระตุ้นการท่องเที่ยวไทยในช่วงหลังการแพร่ระบาดของโรคดังกล่าวด้วย
ทั้งนี้ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ได้กำหนดนิยามเกี่ยวกับพฤติกรรมของนักท่องเที่ยววิถีใหม่ หรือที่เรียกว่าพฤติกรรมแบบ “BEST” ประกอบด้วย 1) B-Booking คือ การจองเพื่อใช้บริการล่วงหน้า เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถจัดสรรบริการให้สอดคล้องกับแนวปฏิบัติด้านสาธารณสุข ทั้งการจำกัดจำนวนคน และการรักษาระยะห่างระหว่างบุคคล 2) E-Environment เป็นการท่องเที่ยวอย่างรับผิดชอบต่อธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 3) S-Safety เป็นการเน้นเรื่องความปลอดภัย โดย ททท. ร่วมกับกระทรวงสาธารณสุขจัดทำโครงการยกระดับอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทยมาตรฐานความปลอดภัยด้านสุขอนามัย (Amazing Thailand Safety & Health Administration: SHA) ซึ่งมีการมอบตราสัญลักษณ์ให้กับผู้ประกอบการที่ผ่านการรับรองตามมาตรฐาน SHA เพื่อเป็นการรับรองความปลอดภัยด้านสุขอนามัยแก่นักท่องเที่ยว และ 4) T-Technology เป็นการนำเทคโนโลยีมาช่วยเพิ่มคุณค่าและประสบการณ์การท่องเที่ยว เช่น การใช้แพลตฟอร์ม Smart Map เพื่อช่วยในเรื่องการเดินทางของนักท่องเที่ยวให้สะดวกสบายและปลอดภัย เป็นต้น
นอกจากนี้ ในส่วนของธุรกิจการท่องเที่ยวได้มีการสร้างนวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ ๆ เพื่อแก้ปัญหาและคลายความกังวลในเรื่องของมาตรการรักษาระยะห่างทางสังคม และเพิ่มความปลอดภัยให้กับนักท่องเที่ยว รวมทั้งเพื่อเป็นเครื่องมือในการช่วยให้ธุรกิจการท่องเที่ยวสามารถดำเนินต่อไปได้ และเกิดเป็นประสบการณ์การท่องเที่ยววิถีใหม่ในอนาคต ดังนี้
1. เทคโนโลยีไร้สัมผัส (Contactless Technology) โดยภาคการท่องเที่ยวและการโรงแรมได้มีการนำเทคโนโลยีไร้สัมผัสมาใช้ตั้งแต่ก่อนการระบาดของโควิด 19 ซึ่งโรงแรมหลายแห่งได้ลงทุนกับเทคโนโลยีการสั่งงานด้วยเสียงในลิฟต์หรือในห้องพัก การใช้กุญแจดิจิทัล (Digital key) ในการปลดล็อกห้องพักผ่านสมาร์ตโฟน (Smart Phone) เพื่อเพิ่มความสะดวกสบายให้กับนักท่องเที่ยว รวมถึงการใช้ระบบเซนเซอร์ (Censor) สั่งการแทนการสัมผัส การใช้เทคโนโลยีจดจำใบหน้า การยืนยันตัวบุคคลด้วยไบโอเมตริก (Biometrics) ซึ่งปัจจุบันการใช้เทคโนโลยีไร้สัมผัสไม่เพียงแต่ช่วยให้เกิดความสะดวกสบายและแสดงถึงวิถีชีวิตที่ทันสมัยเท่านั้น แต่ยังเป็นการสร้างความมั่นใจและความปลอดภัยให้กับนักท่องเที่ยว ทั้งที่อยู่ในโรงแรม สนามบิน หรือสถานที่ท่องเที่ยวต่าง ๆ
2. แรงงานดิจิทัล (Digital Workforce) แรงงานดิจิทัลจะเข้ามาแทนแรงงานมนุษย์มากขึ้น ทั้งการใช้พนักงานหุ่นยนต์เพื่ออำนวยความสะดวกในการให้บริการถึงหน้าประตูห้องพัก การให้บริการในภัตตาคารหรือในสนามบิน รวมถึงการใช้หุ่นยนต์พูดคุยโต้ตอบกับนักท่องเที่ยวสำหรับคำถามที่นิยมถามบ่อย ๆ โดยเฉพาะคำถามเกี่ยวกับความกังวลในเรื่องความปลอดภัยและความเสี่ยงต่อโรคระบาด ซึ่งจะช่วยลดภาระงานของพนักงานที่เป็นมนุษย์ได้เป็นอย่างมาก
3. หนังสือเดินทางดิจิทัลหรือพาสปอร์ตดิจิทัล (Digital Passport) รัฐบาลในหลายประเทศกำลังพิจารณาการใช้วัคซีนพาสปอร์ตในรูปแบบดิจิทัลเพื่อใช้ในการเดินทางไปยังต่างประเทศ รวมถึงใช้เพื่อยืนยันประวัติการฉีดวัคซีนของผู้ที่ต้องการเข้าร่วมกิจกรรมตามที่สาธารณะต่าง ๆ นอกจากนวัตกรรมการยืนยันตัวตนดิจิทัลจะช่วยเรื่องการควบคุมโรคระบาดแล้ว การพัฒนาพาสปอร์ตดิจิทัลในอนาคตจะช่วยเพิ่มความปลอดภัยให้ผู้เดินทางสามารถควบคุมการเปิดเผยข้อมูลส่วนตัวได้ด้วยตัวเอง ซึ่งจะช่วยลดโอกาสการเกิดอาชญากรรมไซเบอร์ได้มากขึ้นด้วย
4. แพลตฟอร์มวางแผนการท่องเที่ยว (Tour Management Platforms) เป็นระบบที่ช่วยให้การวางแผนการเดินทางท่องเที่ยวมีความยืดหยุ่นและปรับเข้ากับความต้องการเฉพาะบุคคลมากขึ้น ทั้งในเรื่องของเว็บไซต์ แอปพลิเคชัน รวมทั้งระบบนำทางอิจฉริยะในรถยนต์ โดยจะเชื่อมโยงฐานข้อมูลจากส่วนต่าง ๆ เข้าด้วยกัน ซึ่งจะช่วยให้นักท่องเที่ยวสามารถออกแบบและวางแผนการท่องเที่ยวของตัวเองได้อย่างหลากหลายและตรงตามความต้องการ
5. ประสบการณ์ทางเลือก (Alternative Experience) เป็นการนำเทคโนโลยีเสมือนจริง (Virtual Reality) มาใช้เพื่อสร้างประสบการณ์ทางเลือกให้นักท่องเที่ยวหรือผู้ชมที่สามารถรับชมกิจกรรมต่าง ๆ ด้วยเทคโนโลยีจำลองสภาพแวดล้อมเสมือนจริง โดยสามารถรับชมผ่านคอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือ หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ ได้จากที่บ้าน ซึ่งเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ที่มีข้อจำกัดในการเดินทาง อาทิ ผู้สูงอายุ ผู้ป่วย เด็กเล็ก รวมถึงคนที่ต้องการประหยัดค่าใช้จ่ายในการเดินทางท่องเที่ยวได้มีโอกาสสัมผัสประสบการณ์การท่องเที่ยวเสมือนจริงที่มีความสะดวกและปลอดภัยจากการเดินทาง และการแพร่ระบาดของโควิด 19
อ้างอิงจาก https://library.parliament.go.th/index.php/th/radioscript/rr2565-feb6
 



รายงานโดย นางสาวอภิญญา ไชยวงค์ วันที่รายงาน 28/09/2566 [15719]
61260 35
3 [14548]

กิจกรรมที่ 2 การถ่ายทอดความรู้เรื่องการจัดการท่องเที่ยวเชิงศิลปะและวัฒนธรรม
ทบทวนและนำเสนอแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ในชุมชนบ้านกองกาน ต.แม่ศึก อ.แม่แจ่ม จ.เชียงใหม่

ผู้ร่วมกิจกรรมและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
​กลุ่มเยาวชน แม่บ้าน และผู้สูงอายุบ้านกองกาน



รายงานโดย นางสาวอภิญญา ไชยวงค์ วันที่รายงาน 03/07/2566 [14548]
22570 30
3 [14547]

กิจกรรมที่ 1​ถ่ายทอดความรู้เรื่องการจัดการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์
การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์คืออะไร?
การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ หรือการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ หมายถึง การท่องเที่ยวที่คำนึงถึงแหล่งธรรมชาติ หรือแหล่งวัฒนธรรมอันมีความเกี่ยวเนื่องกับระบบนิเวศของสถานที่นั้นๆ โดยที่ไม่ก่อให้เกิดการรบกวน หรือความเสียหายต่อธรรมชาติ หรือระบบนิเวศ ในขณะเดียวกันยังเป็นการช่วยส่งเสริมวิถีชุมชนโดยรอบให้มีคุณภาพชีวิต หรือคุณภาพสิ่งแวดล้อมที่ดียิ่งขึ้น นับเป็นกระแสการท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยมในปัจจุบัน โดยมีจุดเด่นตรงที่นอกจากจะเป็นรูปแบบการท่องเที่ยวลักษณะหนึ่งแล้ว ยังช่วยส่งเสริมให้คุณภาพชีวิตและคุณภาพสิ่งแวดล้อมของท้องถิ่นได้เป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นธรรมชาติ วัฒนธรรมท้องถิ่น หรือกลุ่มคนในท้องถิ่น ให้มีความมั่นคง และยั่งยืนมากยิ่งขึ้น
การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์มีวิธีอย่างไรบ้าง?
ถ้าหากพูดถึงการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ หลายๆ คนอาจจะยังมองไม่เห็นภาพมากนัก แต่ถ้าหากพูดให้เห็นภาพมากที่สุดก็อาจจะเปรียบเสมือนการท่องเที่ยวในลักษณะเดินป่า แต่ก็ต้องลดอัตราการเกิดของขยะ หรือสิ่งที่อาจจะส่งผลเสียต่อธรรมชาติ อย่างเช่น
• วางแผนการเดินทางอย่างรัดกุม เพื่อช่วยประหยัดปริมาณน้ำมัน
• จัดกระเป๋า โดยเน้นปริมาณของที่จำเป็น เพื่อสะดวกต่อการเคลื่อนย้าย
• ลดอุปกรณ์ที่อาจจะก่อให้เกิดผลเสียต่อธรรมชาติ เช่น ทิชชู่เปียก หรือพลาสติกต่างๆ
• พกภาชนะใส่อาหารไปเอง เพื่อลดการใช้ภาชนะที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อธรรมชาติ
• พกถุงขยะส่วนตัวไปเอง เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดขยะในบริเวณดังกล่าวที่อาจจะส่งผลกระทบต่อธรรมชาติ หรือสัตว์ที่อาศัยในบริเวณใกล้เคียง
• หลีกเลี่ยงการขีดเขียน หรือทำสัญลักษณ์ใดๆ ลงบนต้นไม้ โขดหิน หรือโบราณวัตถุต่างๆ
• หลีกเลี่ยงการนำสิ่งของจากธรรมชาติติดไม้ติดมือกลับบ้าน
• สนับสนุนธุรกิจชุมชน เพื่อก่อให้เกิดการหมุนเวียนรายได้ของคนในพื้นที่
การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์มีประโยชน์ยังไง?
จากที่กล่าวมาข้างต้นนั้นจะพบว่าการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ที่นอกจากจะช่วยรักษา และดำรงไว้ซึ่งระบบนิเวศ และธรรมชาติ ณ สถานที่แห่งนั้นแล้ว การเที่ยวเชิงอนุรักษ์เองนั้นก็ส่งผลให้เกิดการกระตุ้นเศรษฐกิจบริเวณชุมชนใกล้เคียง นับว่าเป็นการกระจายรายได้สู่ชุมชน อีกทั้งยังช่วยสร้างจิตสำนึกที่ดีของนักท่องเที่ยวต่อการดูแลรักษาระบบนิเวศ และธรรมชาติจากการร่วมด้วยช่วยกันลดปัจจัยที่อาจจะส่งผลกระทบโดยตรงกับธรรมชาติ เช่น การลดปริมาณการใช้พลาสติก หรือไม่ทิ้งขยะในแหล่งธรรมชาติ นอกจากนี้นักท่องเที่ยวเองก็จะได้เรียนรู้ความสำคัญของธรรมชาติผ่านกระบวนการการศึกษาระบบนิเวศอีกด้วย
ทบทวนและนำเสนอแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ในชุมชนบ้านกองกาน ต.แม่ศึก อ.แม่แจ่ม จ.เชียงใหม่

ผู้ร่วมกิจกรรมและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
​กลุ่มเยาวชน แม่บ้าน และผู้สูงอายุบ้านกองกาน



รายงานโดย นางสาวอภิญญา ไชยวงค์ วันที่รายงาน 03/07/2566 [14547]
0 30
2 [14035]

จากแผนการดำเนินงานโครงการ เนื่องจากช่วงเดือน ธ.ค.-เม.ย. ของทุกปี พื้นที่ชุมชนบ้านกองกาน ต.แม่ศึก อ.แม่แจ่ม จ.เชียงใหม่ จะมีคนในพื้นที่ทั้งคนที่เคยเข้าร่วมโครงการกับทางคณะดำเนินงานและกลุ่มคนใหม่ ลุกขึ้นมาเป็นผู้ประกอบการล่องแพลำน้ำแจ่ม เส้นทางผาสะกาบ-ขัวโตงเตงบ้านกองกาน และผู้ประกอบการร้านอาหารชุมชนริมน้ำแจ่มเพื่อให้บริการแก่คนในพื้นที่และต่างพื้นที่ เพื่อให้สอดคล้องกับ Time Line กิจกรรมของชุมชน คณะผู้ดำเนินการจึงได้เริ่มกิจกรรมตามแผนดำเนินงานของโครงการฯ ข้างต้น ในกิจกรรมจัดถ่ายทอดความรู้เรื่องการจัดการท่องเที่ยวเชิงศิลปะและวัฒนธรรม และกิจกรรมจัดถ่ายทอดความรู้การจัดการท่องเที่ยวตามแนววิถีใหม่ เพื่อร่วมกันออกแบบโปรแกรมและกิจกรรมการท่องเที่ยวที่เหมาะสมกับภูมินิเวศวัฒนธรรมของชุมชนในช่วง เดือน ธ.ค.-เม.ย. ผลปรากฏว่า ได้ (ร่าง) โปรแกรมและกิจกรรมการท่องเที่ยวของชุมชนในช่วง เดือน ธ.ค.-เม.ย. ทั้งนี้ได้พูดคุยกันเบื้องต้นว่า จะออกแบบโปรแกรมและกิจกรรมการท่องเที่ยวของชุมชนในช่วงเดือนอื่นๆ เพื่อให้ครบรอบวงภูมินิเวศวัฒนธรรมของชุมชนทั้งปีของชุมชนต่อไป
 



รายงานโดย นางสาวอภิญญา ไชยวงค์ วันที่รายงาน 04/04/2566 [14035]
34800 30