2566 แมลงและเกษตรอินทรีย์กินดีชุมชนบ้านแม่ตาด 0
ผล ผลผลิต/ผลลัพธ์ 1. จำนวนคนที่ได้รับการถ่ายทอดความรู้/เทคโนโลยี 30 คน 2. จำนวนเทคโนโลยีที่ถ่ายทอด 6 เรื่อง 3. จำนวนวิทยากรที่สามารถถ่ายทอดความรู้ให้ผู้อื่นได้ 5 คน 4. ร้อยละความพึงพอใจของผู้รับบริการ 85 ร้อยละ 5. จำนวนผู้นำความรู้/เทคโนโลยีที่ได้รับไปใช้ประโยชน์ 30 คน 6. สัดส่วนมูลค่าทางเศรษฐกิจที่จะเกิดขึ้น 1.5-2 เท่า 7. จำนวนผู้รับองค์ความรู้และมีความสนใจในการขอรับรองมาตรฐานฟาร์มที่ดี 5 ราย
ผล เชิงคุณภาพ 1. สมาชิกในชุมชน 30 คนนำความรู้จากเทคโนโลยีที่ถ่ายทอดไปประยุกต์ใช้จำนวน 4 กิจกรรม 2. จำนวนผลิตภัณฑ์ที่อยู่ระหว่างการรับรองมาตรฐาน อย. 2 ผลิตภัณฑ์ 3. ได้สถานที่ผลิตอาหารที่ไม่เข้าข่ายโรงงาน 1 ที่ 4. ใบอนุญาตสถานที่ผลิตอาหารที่ไม่เข้าข่ายโรงงาน จากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา 5. ร้อยละของผู้รับบริการที่นำความรู้ไปใช้ประโยชน์ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 ของคนที่เข้ารับการถ่ายทอดฯ เชิงปริมาณ (มูลค่าเงิน) เพิ่มรายได้ให้กับกลุ่ม 15,000 45,000 บาท ต่อเดือน
ผล 15.1 เศรษฐกิจ เพิ่มรายได้ (แสดงรายการ วิธีการหารายได้จากการนำองค์ความรู้/เทคโนโลยีไปพัฒนาธุรกิจของผู้ประกอบการ) วิสาหกิจมีรายได้เพิ่มขึ้นจากการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ได้แก่ จิ้งหรีดทอดและ จิ้งหรีดทอดสมุนไพร 1. ผลิตภัณฑ์จิ้งหรีดทอด ขนาด 50g มูลค่าตัวสินค้า กรัมละ 0.48 x 50 = 24 บาท แพคเกจอัดไนโตรเจน 10 บาท ทุนรวม 34 บาท ราคาขาย 65 บาท 2. ผลิตภัณฑ์จิ้งหรีดทอดสมุนไพร 50g ค่าตัวสินค้า กรัมละ 0.45 x 50 = 22.5 บาท แพคเกจอัดไนโตรเจน 10 บาท ทุนรวม 32.5 บาท ตั้งขายไว้ที่ 65 บาท โดยตั้งเป้าการส่งเสริมการขายในงานฤดูหนาว อ. สันกำแพง ระหว่างวันที่ 22 ธันวาคม 2566 ถึง 31 ธันวาคม 2566 นอกจากนี้ยังมีการสร้างรายได้จากการผลิตและจำหน่ายน้ำยาฆ่าเชื้อสำหรับฟาร์มจิ้งหรีดโดยจากความต้องการและข้อมูลในการสั่งซื้อ พบว่ามีปริมาณในการใช้งาน 300 ลิตรต่อเดือน ซึ่งสามารถขายได้ลิตรละ 150 บาทซึ่งสามารถเพิ่มรายได้ให้กับกลุ่ม 15,000 45,000 บาท ต่อเดือน ลดรายจ่าย (แสดงรายการ วิธีการที่ช่วยลดค่าใช้จ่ายให้กับผู้ประกอบการเมื่อได้นำองค์ความรู้/เทคโนโลยีไปปรับใช้ในการประกอบธุรกิจ ........วิสาหกิจชุมชนฯมีการบริหารทรัพยากรในชุมชนให้เป็นวัตถุดิบที่หมุนเวียนในกระบวนการเลี้ยงและกระบวนการแปรรูปโดยเฉพาะการใช้ผลผลิตจากเกษตรอินทรีย์ทำให้ลดต้นทุนจากการซื้อวัตถุดิบและเป็นการสร้างรายได้หมุนเวียนในชุมชนได้อีกทางหนึ่ง 15.2 สังคม (เช่น เกิดการจ้างงาน ลดการย้ายถิ่นฐาน ครอบครัวเป็นสุข เป็นต้น) คนในชุมชนมีอาชีพใหม่จากการแปรรูปและผลิตผลิตภัณฑ์จิ้งหรีด มีรายได้ทั้งรายได้หลักหรือรายได้เสริมเพิ่มขึ้นในครัวเรือน โดยอาชีพที่เกิดขึ้นนี้เหมาะสมกับกลุ่มเกษตรกรผู้สูงอายุหรือเตรียมตัวเข้าสู่วัยสูงอายุซึ่งสอดคล้องกับสภาวะการเข้าสู่ Silver Economic 15.3 สิ่งแวดล้อม (เช่น การลดปัญหามลพิษ การเพิ่มพื้นที่ป่า การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ เป็นต้น) คุณภาพสิ่งแวดล้อมในชุมชนดีขึ้นจากการเลี้ยงจิ้งหรีดที่ไม่มีการใช้สารเคมีฆ่าแมลงและการเกษตรอินทรีย์
รายงานความก้าวหน้า
ไตรมาส | ผลการดำเนินงาน | งบประมาณที่ใช้ | ผู้รับบริการ |
---|---|---|---|
5 [15922] |
ผลิตและจำหน่าย นำยาฆ่าเชื้อสำหรับฟาร์มจิ้งหรีด นอกจากผลิตภัณฑ์ที่ได้ระบุไว้ในโครงการแล้ว วิสาหกิจชุมชนฯได้ผลิตและจำหน่าย นำยาฆ่าเชื้อสำหรับฟาร์มจิ้งหรีด โดยการใช้เทคโนโลยีที่ได้รับการถ่ายทอดต่อยอดให้เกิดรายได้เข้าชุนชนโดยน้ำยานี้ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีในภาคอีสานโดยในปัจจุบันกลุ่มได้จัดจำหน่ายน้ำยาไปแล้วประมาณ 400 ลิตรโดยมีต้นทุนของผลิตภัณฑ์ อยู่ที่ 55 บาท และจำหน่ายในราคา ลิตรละ 150 บาท โดยกลุ่มเป็นเจ้าภาพในการดำเนินการและจะมีการต่อยอดผลิตภัณฑ์และหาช่องทางการตลาดมาสนับสนุนในการดำเนินการในปี 2567 ต่อไป รายงานโดย นายวันโชค มณีเดช วันที่รายงาน 03/01/2567 [15922] |
0 | 5 |
5 [15921] |
การขอรับรองมาตรฐาน อย. ของผลิตภัณฑ์จิ้งหรีดทอดและ จิ้งหรีดทอดสมุนไพร หลังจากได้รับการประเมินใบอนุญาตสถานที่ผลิตอาหารที่ไม่เข้าข่ายโรงงาน จากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาแล้วคณะวิจัยและสมาชิกในเครือข่ายได้วางแผนเพื่อที่จะขอรับรองมาตรฐานต่อไป ซึ่งขณะนี้อยู่ในกระบวนการยื่นเอกสารขอ อย. ผ่านระบบออนไลน์ รายงานโดย นายวันโชค มณีเดช วันที่รายงาน 03/01/2567 [15921] |
5000 | 4 |
5 [15920] |
การขอใบอนุญาตสถานที่ผลิตอาหารที่ไม่เข้าข่ายโรงงาน จากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา จากที่วิสาหกิจได้มีความรู้ในการเตรียมสถานที่ จากตัวแทนสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา จังหวัดเชียงใหม่แล้วนั้นได้ทำการปรับปรุงให้เข้าเกณฑ์มาตรฐานและยื่นขอประเมินเพื่อขอใบอนุญาตสถานที่ผลิตอาหารที่ไม่เข้าข่ายโรงงาน ซึ่งคณะกรรมการได้ลงพื้นที่เพื่อตรวจประเมินและออกใบอนุญาตสถานที่ผลิตให้แก่วิสาหกิจชุมชน
รายงานโดย นายวันโชค มณีเดช วันที่รายงาน 03/01/2567 [15920] |
5000 | 5 |
5 [15919] |
การขอคำปรึกษาองค์ความรู้ด้านการเตรียมการขอใบอนุญาตสถานที่ผลิตอาหารที่ไม่เข้าข่ายโรงงาน จากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา วิสาหกิจชุมชนฯได้ดำเนินการขอคำปรึกษาเพื่อการเตรียมการขอใบอนุญาตสถานที่ผลิตอาหารที่ไม่เข้าข่ายโรงงาน จากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา โดยการเตรียมสถานที่ อุปกรณ์ และองค์ประกอบในรายละเอียดจาก ตัวแทนสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาที่ได้กรุณาลงพื้นที่มาให้ความรู้และคำแนะนำเพื่อการขอใบอนุญาต
รายงานโดย นายวันโชค มณีเดช วันที่รายงาน 03/01/2567 [15919] |
5000 | 8 |
5 [15918] |
การอบรมให้ความรู้ด้านบรรจุภัณฑ์สำหรับผลิตภัณฑ์จิ้งหรีด ได้ทำการจัดอบรมถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับบรรจุภัณฑ์ที่มีในท้องตลาดและคุณสมบัติรวมไปถึงการเลือกใช้บรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสมกับผลิตภัณฑ์ของวิสาหกิจชุมชนฯ นอกจากนี้ยังได้รับการถ่ายทอดองค์ความรู้ในการจัดการขยะชุมชน ด้วยหลักการ 3Rและบริหารของเสียจากชุมชนให้มีประสิทธิภาพสูงสุดได้แก่ การใช้ประโยชน์สำหรับเป็นปุ๋ย การแปรรูปขยะทางการเกษตรให้สามารถนำกลับมาใช้ประโยชน์ในการเพาะปลูก และการเลี้ยงสัตว์ในชุมชน
รายงานโดย นายวันโชค มณีเดช วันที่รายงาน 03/01/2567 [15918] |
21700 | 20 |
5 [15917] |
การตรวจวิเคราะห์คุณค่าทางโภชนาการของผลิตภัณฑ์ในห้องปฏิบัติการ ซึ่งได้ผลดังนี้ ผลิตภัณฑ์: จิ้งหรีดทอดสมุนไพร 100 กรัม องค์ประกอบ: 1. จิ้งหรีดทอด 80 % 2. ผงปรุงรส 8 % 3. ตะไคร้ 4 % 4. พริก 4 % 5. ใบมะกรูด 3 % 6. น้ำมัน 1 % ข้อมูลโภชนาการ : พลังงาน 566.87Kcal โปรตีน 35.81g. ไขมัน 40.03g. คาร์โบไฮเดรต 15.84 g. รายงานโดย นายวันโชค มณีเดช วันที่รายงาน 03/01/2567 [15917] |
35000 | 3 |
5 [15916] |
การจัดทำผลิตภัณฑ์ต้นแบบ และการวิเคราะห์ทดสอบผลิตภัณฑ์ เช่น การทดสอบด้านกายภาพ ได้แก่ ค่า water activity ค่าความชื้น ค่าความหืน อายุการเก็บรักษา ด้านเคมี ได้แก่ สารตกค้างต่างๆ ตามหลักเกณฑ์ของประกาศกระทรวงสาธารณสุข รายงานโดย นายวันโชค มณีเดช วันที่รายงาน 03/01/2567 [15916] |
65800 | 10 |
4 [15803] |
การประชุมร่วมเพื่อหาบรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสมในชุมชน
รายงานโดย นายวันโชค มณีเดช วันที่รายงาน 02/10/2566 [15803] |
2500 | 10 |
4 [15802] |
จากกระบวนการเลี้ยงจนถึงกระบวนการเก็บเกี่ยวผลผลิตจิ้งหรีดที่รวมไปถึงการต้มสุกและการนำไปแช่แข็งผลิตภัณฑ์เพื่อรอจำหน้ายแล้วนั้น วิสาหกิจชุมชนยังได้มีโอการในการรับความรู้จากเจ้าของโรงงานในด้านการแปรรูปและการใช้เทคโนโลยีการแปรรูปที่เหมาะสมกับชุมชน โดยพิจารณาจากอุปกรณ์ที่มีในชุมชนเป็นอันดับแรก ซึ่งได้ข้อสรุปในการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากเดิมเป็นการอบกรอบ มาเป็น การทอดในน้ำมันแล้วนำไปอบไล่น้ำมันเพื่อให้ผลิตภัณฑ์คงความกรอบและไม่อมน้ำมันส่งผลให้สามารถยืดอายุการเก็บได้นานขึ้นและลดการเกิดกลิ่นหืนในผลิตภัณฑ์ได้ ซึ่งนอกเหนือจากแนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ได้กล่าวไปแล้วในข้างต้น มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ทั้งในรูปแบบ Up-skill ทั้งด้านแปรรูปและ position ของผลิตภัณฑ์ของชุมชนในตลาดจริง จากเจ้าของโรงงานในด้านการแปรรูป รวมไปถึงการใช้เทคโนโลยีการแปรรูปที่เหมาะสมกับชุมชน โดยพิจารณาจากอุปกรณ์ที่มีในชุมชน
รายงานโดย นายวันโชค มณีเดช วันที่รายงาน 02/10/2566 [15802] |
15000 | 15 |
4 [15800] |
การจัดอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้แนวทางการปฏิบัติที่ดีในการเลี้ยงจิ้งหรีดให้กับ คณะวิจัย วิสาหกิจชุมชน ผู้ประกอบการ โดยการถ่ายทอดเทคโนโลยีและกระบวนการเลี้ยงจิ้งหรีดด้วยเทคโนโลยีสะอาดตั้งแต่การเตรียมอุปกรณ์การเลี้ยง บ่อเลี้ยง การฆ่าเชื้อและควบคุมแมลงศัตรูจากการใช้กรดไฮโปคลอรัสทั้งในการเตรียมบ่อเลี้ยงและการดูแลระหว่างการเลี้ยงไปจนถึงการเก็บเกี่ยว ร่วมกับองค์ความรู้เรื่องสุขอนามัยที่ดีในการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์ จากกองผลิตภัณฑ์ปศุสัตว์ กรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
รายงานโดย นายวันโชค มณีเดช วันที่รายงาน 02/10/2566 [15800] |
30000 | 20 |
3 [14478] |
กิจกรรมประชุมเพื่อหาแนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์และการต่อยอดผลิตภัณฑ์จิ้งหรีดอบร่วมกับภาคเอกชน - สินค้าแปรรูปจิ้งหรีดที่มีในชุมชน - ความนิยมในชุมชน - แนวโน้มการตลาดในชุมชน - ปัญหาปัจจุบันที่เกิดกับผลิตภัณฑ์จิ้งหรีดในชุมชน จากนั้นให้สมาชิกระดมสมองและหาข้อสรุปเพื่อเลือกผลิตภัณฑ์ที่จะเป็นผลิตภัณฑ์ดาวเด่นและหาแนวทางการแก้ไขปัญหาเพื่อนำไปใช้ในกระบวนการถัดไป อีกทั้งมีการประชุมเพื่อหาแนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์และการต่อยอดผลิตภัณฑ์จิ้งหรีดอบร่วมกับภาคเอกชน จากข้อสรุปที่ได้จากการระดมสมองในชุมชนแล้วได้นำประเด็นสรุปมาแลกเปลี่ยนกับผู้ประกอบการภาคเอกชน - ชนิดของผลิตภัณฑ์ - เทคโนโลยีสำหรับกระบวนการผลิตที่เหมาะสมกับบริบทของวิสาหกิจชุมชน - อัตลักษณ์ของชุมชนในผลิตภัณฑ์ - การออกแบบแนวทางการแก้ปัญหาของผลิตภัณฑ์ รายงานโดย นายวันโชค มณีเดช วันที่รายงาน 27/06/2566 [14478] |
5000 | 10 |
2 [14323] |
การดำเนินงานระหว่างวันที่ 1 มกราคม - 31 มีนาคม 66
1. กิจกรรมการลงพื้นที่เพื่อเก็บข้อมูลรายละเอียดปัญหาเเละความต้องการของชุมชนเชิงลึก 2. กิจกรรมระดมสมองเพื่อให้เกิดแนวทางการพัฒนาที่เห็นภาพร่วมกันระหว่างคณะวิจัย วิสาหกิจชุมชน ผู้ประกอบการ และหน่วงงานภาครัฐ เพื่อให้เกิดการหมุนเวียนรายได้ เกิดการยกระดับเศรษฐกิจชุมชน เป็นช่องทางการพัฒนาสินค้าใหม่อย่างมีส่วนร่วมซึ่งเป็นการเพิ่มขีด ความสามารถในการแข่งขันให้ผู้ประกอบการได้อีกทางหนึ่งและสอดคล้องกับเศรษฐกิจชีวภาพ Bioeconomy ซึ่งเป็นหนึ่งใน BCG Economy Model 3. กิจกรรมการหารือ scope งานการตลาด : การทดสอบตลาดกับกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย >> การออกเเบบเเบบฟอร์มเเละรูปเเบบการเก็บข้อมูล เเละการกำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย รายงานโดย นายวันโชค มณีเดช วันที่รายงาน 05/04/2566 [14323] |
15000 | 15 |