2566 การพัฒนาผู้นำและเครือข่ายเกษตรปลอดภัยตามแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจสีเขียว (BCG Model) และ Eco Rice จังหวัดเชียงราย 0
ผล ผลผลิตที่ได้จากการดำเนินโครงการ ประกอบด้วย 1. เกษตรกรที่ได้รับการถ่ายทอดความรู้และทักษะ จำนวน 100 คน 2. ความรู้และทักษะที่ถ่ายทอดให้กลุ่มเป้าหมาย จำนวน 2 เรื่อง 3. ผู้นำการเปลี่ยนแปลงด้าน วทน. (STI changemakers) ที่สามารถถ่ายทอดความรู้ให้ผู้อื่นได้จำนวน 10 คน 4. ความพึงพอใจของผู้รับบริการ ร้อยละ 88.69 5. จำนวนผู้นำความรู้ ทักษะที่ได้รับไปใช้ประโยชน์จำนวน 100 คน 6. สัดส่วนมูลค่าทางเศรษฐกิจที่จะเกิดขึ้น 1 เท่าเมื่อเปรียบเทียบกับงบประมาณที่ได้รับ 7. องค์ความรู้จากการสำรวจผลลัพธ์ในเชิงรายได้ ต้นทุน และผลตอบแทนในการปลูกข้าวที่เกิดจากการแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจสีเขียว และ Eco Rice จังหวัดเชียงรายจำนวน 1 องค์ความรู้
ผล 1. ผู้นำการเปลี่ยนแปลง จำนวน 10 ราย ในการขยายผลองค์ความรู้ในพื้นที่ของตนเอง 2. องค์ความรู้ใหม่ "หลักสูตรมหาวิทยาลัยชาวนา" ที่สามารถใช้ในการเผยแพร่องค์ความรู้ให้แก่เกษตรกรทั่วไป 3. ภาคีเครือข่ายในการขับเคลื่อนและหนุนเสริมกิจกรรมของโครงการในอนาคต ประกอบด้วย 1) อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย และ 2) สำนักงานเกษตรอำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย ซึ่งมีความพร้อมในการร่วมมือกันในการยกระดับการทำการเกษตรในพื้นที่ของโครงการ รวมถึงการขยายหน่วยงานภาคีเครือข่ายในพื้นที่ข้างเคียงในปีที่ 2
ผล 1. ผลทางเศรษฐกิจ จากการดำเนินการโครงการ คณะผู้ดำเนินโครงการได้มีการศึกษาผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจ ในปีที่ 1 ในการถ่ายทอดองค์ความรู้และพัฒนาทักษะการทำการเกษตรตามแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจสีเขียวและ Eco Rice 1.1 ต้นทุนในการปลูกข้าวของเกษตรกรลดลง สามารถประหยัดต้นทุนในการผลิตข้าวได้ร้อยละ 50 100 1.2 เกษตรกรมีรายได้เพิ่มจากการจำหน่ายผลผลิตข้าวเพิ่มขึ้นร้อยละ 15 -30 1.3 รายได้เพิ่มเติมจากการทำการเกษตรแบบ Eco Rice ร้อยละ 50 -100 1.4 ลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือนของเกษตรกรได้ร้อยละ 20-35 2. ผลทางสังคม 2.1 เครือข่ายเกษตรกรที่มีความร่วมมือกันในการยกระดับการปลูกข้าวมุ่งสู่การผลิตข้าวแบบปลอดภัย 2.2 เกษตรกรการมีการรวมกลุ่ม เกิดกิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ สร้างองค์ความรู้ใหม่ร่วมกัน เกิดเป็นหลักสูตร มหาวิทยาลัยชาวนา ที่สามารถเผยแพร่องค์ความรู้สู่เกษตรกรรายอื่นๆ ในอนาคต 2.3 เกษตรกรมีความมั่นคงในอาชีพทางการเกษตร มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น 3. ผลทางสิ่งแวดล้อม 3.1 สิ่งแวดล้อมได้รับผลกระทบจากการผลิตข้าวลดลง เช่น การลดการเผาตอซังข้าว การลด การใช้สารเคมี การใช้ปุ๋ยเคมี ในทางการเกษตร 3.2 คุณภาพดินดีขึ้น การลดการใช้ปุ่ยและสารเคมีทางการเกษตร ปรับเปลี่ยนมาใช้สารอินทรีย์ ทำให้คุณภาพดินในแปลงนาของเกษตรกรมีคุณภาพดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง 3.3 คุณภาพของน้ำ การปนเปื้อนสารเคมีจากแปลงนาข้าวลงสู่แม่น้ำ ลดลง เนื่องจากการลด เลิกใช้สารเคมีทางการเกษตร
รายงานความก้าวหน้า
ไตรมาส | ผลการดำเนินงาน | งบประมาณที่ใช้ | ผู้รับบริการ |
---|---|---|---|
4 [15707] |
กิจกรรมติดตามตามและประเมินผลโครงการ รายงานโดย ผศ.ดร.กษิดิศ ใจผาวัง วันที่รายงาน 26/09/2566 [15707] |
31500 | 100 |
4 [15699] |
กิจกรรมการสำรวจผลลัพธ์ในเชิงรายได้ ต้นทุน และผลตอบแทนในการปลูกข้าวที่เกิดจากการแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจสีเขียว และ Eco Rice จังหวัดเชียงราย รายงานโดย ผศ.ดร.กษิดิศ ใจผาวัง วันที่รายงาน 23/09/2566 [15699] |
18500 | 20 |
3 [14749] |
1. คณะกรรมการการดำเนินงานได้ทำการรวบรวมสมาชิกเกษตรกรที่จะเข้าร่วมโครงการ และดำเนินการขอความร่วมมือไปยังสำนักงานเกษตรอำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย รวมถึง ที่ว่าการอำเภอแม่สายจังหวัดเชียงราย ในการจัดกิจกรรมของโครงการ
2. คณะกรรมการดำเนินงาน ได้ร่วมกับสำนักงานเกษตรอำเภอแม่สายในการจัดกิจกรรมถ่ายทอดองค์ความรู้และพัฒนาทักษะการทำการเกษตรตามแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจสีเขียวและ Eco Rice และ กิจกรรมหนุนเสริมศักยภาพความเป็นผู้นำให้แก่เกษตรกรเพื่อขยายเกษตรกรในการปลูกข้าวตามแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจสีเขียว และ Eco Rice จังหวัดเชียงราย ในระหว่างวันที่ 30 มิถุนายน 2566 - 30 กันยายน 2566 2.1 เกษตรกรเข้าร่วมโครงการ จำนวน 100 คน เกษตรกรได้อบรมและลงมือปฏิบัติทักษะการทำการเกษตรบนแปลงสาธิต 3 แปลงในศุูนย์การเรียนรู้
2.2 เปิดรับสมัตรผู้นำเกษตรกรเบื้องต้น ได้ 3 ราย ที่พร้อมในการเข้าสู่การพัฒนา ผลลัพธ์ของกิจกรรม 3.1 ได้หลักสูตร มหาวิทยาลัยชาวนา แบบ 4 + 16 เพื่อใช้เป็นแนวทางในการขยายผลให้แก่โครงการ สำหรับเกษตรกรที่สนใจ และการดำเนินงานในปีต่อไป รายงานโดย ผศ.ดร.กษิดิศ ใจผาวัง วันที่รายงาน 05/07/2566 [14749] |
150000 | 100 |
2 [14030] |
1. กิจกรรมประสานหน่วยงานและสมัครเกษตรกรผู้ปลูกข้าวในเขตอำเภอแม่จัน เชียงแสนและแม่สาย จังหวัดเชียงราย
คณะดำเนินงานได้ประสานงานหน่วยงาน และได้ดำเนินการชี้แจงกระบวนการการดำเนินงานของโครงการ ร่วมกับเกษตรกรภายในพื้นที่ เพื่อขยายผลในการประชาสัมพันธ์เกษตรกรเข้าร่วมการอบรมตามหลักสูตร พัฒนาผู้นำและเครือข่ายเกษตรปลอดภัยตามแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจสีเขียว BCG Model และ Eco Rice เมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2566 ณ อำเภอแม่สายจังหวัดเชียงราย รายงานโดย ผศ.ดร.กษิดิศ ใจผาวัง วันที่รายงาน 04/04/2566 [14030] |
10000 | 40 |