2566 การพัฒนาผู้นำด้านการถ่ายทอดระบบผลิตก๊าซชีวภาพชุมชนผ่านดิจิทัลคอนเทนต์   0


รายงานความก้าวหน้า

ไตรมาส ผลการดำเนินงาน งบประมาณที่ใช้ ผู้รับบริการ
4 [15628]

กิจกรรมที่ 4 กิจกรรมติดตามผลการใช้งานระบบผลิตก๊าซชีวภาพจากขยะอินทรีย์และการทำดิจิทัลคอนเทนต์ ติดตามผลการดำเนินงานผ่าน 3 ช่องทาง ได้แก่ ทางกลุ่มไลน์ของโครงการ การลงพื้นที่ และติดตามผ่านสื่อออนไลน์ต่าง ๆ ซึ่งจากการลงพื้นที่ติดตามการใช้งานระบบผลิตก๊าซชีวภาพของทั้ง 3 บ้านต้นแบบ พบว่า บ้านลุงศรีฑูรสามารถประหยัดการใช้ก๊าซหุงต้มจากเปลี่ยนเดือนละ 1ถัง เป็น 2 เดือน 1 ถัง เนื่องจากมีก๊าซชีวภาพเกิดขึ้นให้ใช้ทุกวันจากการเติมเศษอาหารต่าง ๆ เช่น น้ำแกง ข้าวเหนียว เศษขนมปัง เป็นต้น สำหรับบ้านลุงประเทือง ซึ่งประกอบกิจการร้านขายก๋วยเตี๋ยวที่ใช้ก๊าซหุงต้มมากถึงเดือนละ 8 ถัง ปัจจุบันลดการใช้ก๊าซหุงต้มเป็นเดือนละ 6 ถัง จากการสอบถามพบว่าก๊าซชีวภาพที่เกิดขึ้นสามารถใช้ต้มน้ำข้าวซอยได้ ซึ่งใช้เวลาในการต้มประมาณ 45 นาที ได้ถ่ายทอดให้กับลูกค้าที่มารับประทานอาหารที่ร้านมากกว่า 100 คน ซึ่งได้รับความสนใจในการนำต้นแบบไปปรับใช้ในครัวเรือนของตนเอง สำหรับชุดต้นแบบโรงเรียนบ้านป่าก้างนอกจากจะได้ลดค่าใช้จ่ายค่าแก๊สหุงต้ม ยังสามารถเป้นต้นแบบให้แก่นักเรียนได้ฝึกฝนเรียนรู้การใช้พลังงานทดแทนที่สามารถผลิตได้จากเศษอาหารเหลือทิ้ง รวมถึงการเป็นต้นแบบให้กับโรงเรียนและชุมชนที่สนใจได้มาเรียนรู้การใช้งานจริง โดยตลอดการติดตั้งระบบผลิตก๊าซชีวภาพจากโครงการพัฒนาผู้นำด้านการถ่ายทอดระบบผลิตก๊าซชีวภาพ ทางโรงเรียนมีผู้สนใจเข้ามาเยี่ยมชมต้นแบบจำนวน 6 ครั้ง รวม 22 คน

การติดตามผลผ่านช่องทางออนไลน์จะมีการสอบถามผู้เข้าร่วมอบรมในกลุ่มเกี่ยวกับการนำไปความรู้ด้านก๊าซชีวภาพไปถ่ายทอดรวมถึงการนำทักษะทั้งหมดที่ได้รับการอบรมในโรงการไปใช้ประโยชน์ ซึ่งพบว่าโดยส่วนใหญ่เป็นการถ่ายทอดแบบเล่าเรื่องปากต่อปากให้กับคนที่รู้จักฟัง และมีบางส่วนที่ได้รับความสนใจเนื่องจากมีการถ่ายทอดเป็นวิดีโอออนไลน์ลงในเพจเฟสบุค ตัวอย่าง เพจเฟสบุค “โรส มาแชร์”ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้เข้าร่วมอบรมที่ได้ถ่ายทอดความรู้ โดยวิดีโอเกี่ยวกับการประกอบ ติดตั้ง และการใช้งานระบบผลิตก๊าซชีวภาพมาผู้เข้าชมต่อวิดีโอมากกว่า 400 ครั้ง



รายงานโดย นางเรวดี ปุดอินทร์ วันที่รายงาน 18/09/2566 [15628]
42453 10
4 [15534]

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมอบรมพัฒนาทักษะผู้นำในการใช้ระบบผลิตก๊าซชีวภาพจากขยะอินทรีย์และกิจกรรมพัฒนาทักษะผู้นำการเปลี่ยนแปลงด้าน วทน. (STI Changemaker) การเขียนข้อเสนอโครงการและสนทนากลุ่ม (Focus groups) และเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อพัฒนาผู้นำการเปลี่ยนแปลงด้าน วทน. ซึ่งจัดกิจกรรมในวันที่ 27-28 ส.ค. พ.ศ. 2566 ซึ่งอบรมทั้งหมด 5ทักษะ ได้แก่ ทักษะการเขียนข้อเสนอโครงการ ทักษะการคิดเชิงออกแบบ ทักษะการเล่าเรื่อง เทคนิคการขายของ “ขายของต้องสร้างเรื่อง”ทักษะผู้นำในศตวรรษที่ 21 ทักษะการสื่อสาร และการออกแบบธุรกิจด้วย Business Model Canva (BMC Model) โดยคณะวิทยากรผู้เชี่ยวชาญการเขียนโครงการ ผศ.ดร.จุฑาภรณ์ ชนถาวร และคณะวิทยากรผู้เชี้ยงชาญด้านการตลาด นำโดย รศ.ดร.จำเนียน บุญมาก อ.นนท์ ปิ่นเงิน และ อ.พนมพร เฉลิมวรรณ์ และมีพิธีมอบเกียรติบัตรแก่ผู้เข้าร่วมอบรมที่อบรมอย่างน้อย 2 กิจกรรม



รายงานโดย นางเรวดี ปุดอินทร์ วันที่รายงาน 15/09/2566 [15534]
27 32680
3 [15187]

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการการประกอบและติดตั้งระบบผลิตก๊าซชีวภาพจัดขึ้นวันที่ 20-21 ก.ค. 2566 โดยวันที่ 20 ก.ค. 2566ช่วงเช้า 08.30 – 12.00 น. เป็นการบรรยายพื้นฐานการผลิตก๊าซชีวภาพ รูปแบบถังหมัก และการประกอบ-ติดตั้งระบบผลิตก๊าซชีวภาพขนาด 1,000 L โดยผู้เชี่ยวชาญ ผศ.ดร.รจพรรณ นิรัญศิลป์ และ อ.ชัยกรณ์ วงค์ชมภู รวมถึงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้แบ่งปันประสบการณ์การใช้งานและการเผยแพร่ความรู้ระบบผลิตก๊าซชีวภาพของวิทยากรที่ได้รับคัดเลือกจากการอบรมแพลทฟอร์ม NCB ปีงบประมาณ 2565 พื้นที่แม่แฝก ซึ่งประกอบไปด้วยวิทยากรทั้งหมด 5 คน ได้แก่ นายณัฐภูมิ สิทธิขัติย์ ประสบการณ์ด้านการเผยแพร่ความรู้ในรูปแบบของการทำ CSR ของบริษัทสู่ชุมชน ว่าที่ ร.ต.หญิง ธิติมา หลวงราษฎร์ นางลำดวน อุปนันท์ นางพรรณี มาศรี ประสบการณ์การใช้งานจริงภายในครัวเรือน ความปลอดภัยของระบบจัดเก็บก๊าซชีวภาพ และนางสาวกัญญาภัค บุญตอม ประสบการณ์การใช้งานภายในครัวเรือนและการใช้ปุ๋ยน้ำชีวภาพซึ่งเป็นผลพลอยจากระบบผลิตก๊าซชีวภาพในเกษตรกรรมสวนลำไย หลังจากนั้นในช่วงบ่ายจึงเป็นกิจกรรมปฏิบัติการประกอบระบบผลิตก๊าซชีวภาพฯ ต้นแบบจำนวน 3 ชุด เพื่อนำไปติดตั้งในวันที่ 21 ก.ค. 66 ณ สถานที่ต้นแบบ โดยวันที่ 21 ก.ค. 66 เริ่มการติดตั้งต้นแบบที่ 1 โรงเรียนบ้านป่าก้าง ต้นแบบที่ 2 บ้านลุงศรีฑูร ร้านรับทำขนมไทยและอาหารว่าง และต้นแบบที่ 3 บ้านลุงประเทือง ร้านขายก๋วยเตี๋ยว

     หลังจากจบการอบรมกิจกรรมที่ 1 จึงติดตามการเกิดก๊าซชีวภาพของแต่ละบ้านต้นแบบผ่านทางไลน์กลุ่มโครงการ ซึ่งพบว่าสามารถผลิตก๊าซชีวภาพใช้ได้ทั้ง 3 บ้าน และยังไม่มีปัญหาที่ต้องแก้ไข



รายงานโดย นางเรวดี ปุดอินทร์ วันที่รายงาน 15/08/2566 [15187]
178620 36
3 [15186]

กิจกรรมที่ 1กิจกรรมการอบรมสื่อออนไลน์ซึ่งจะประชาสัมพันธ์สื่อด้านก๊าซชีวภาพทั้งหมด 3 ตอน โดยวันที่ 13 ก.ค. 2566 เริ่มส่งตอนที่ 1และ 2 เว้นระยะ 1 วัน จึงปล่อยตอนที่ 3เพื่อให้เวลาผู้เข้าร่วมอบรมได้ศึกษาตามความสะดวกและนำไปใช้ประกอบการปฏิบัติจริงในกิจกรรมที่ 2 โดยหลังจากประชาสัมพันธ์มีการเข้าชมแต่ละตอนเพิ่มขึ้นมากกว่า 100 ครั้ง แสดงให้เห็นถึงความสนใจเบื้องต้นของผู้เข้าร่วมการอบรม



รายงานโดย นางเรวดี ปุดอินทร์ วันที่รายงาน 15/08/2566 [15186]
10300 35
3 [14760]

วันที่ 16 มิถุนายน 2566

     เดินทางไปตำบลสันป่าเปาเพื่อประสานงานการจัดกิจกรรมตลอดโครงการกับผู้ร่วมอบรม ตัวแทนวิทยากรจากผู้เข้าร่วมอบรมรุ่นที่ 1 เจ้าหน้าที่เทศบาลตำบลสันป่าเปา โดยมีการประชุมเพื่อชี้แจงวัตถุประสงค์โครงการ รายละเอียดกิจกรรม และตกลงวันในการจัดกิจกรรมที่ 1-3 โดย

·      กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมอบรมออนไลน์ ระบบก๊าซชีวภาพจากขยะอินทรีย์ผ่านไลน์กลุ่มชื่อ “ก๊าซชีวภาพ x ดิจิทัลคอนเทนต์ สันป่าเปา ปี 66”

·      กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมติดตั้งระบบผลิตก๊าซชีวภาพจากขยะอินทรีย์ และเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อพัฒนาผู้นำการเปลี่ยนแปลงด้านก๊าซชีวภาพ จัดกิจกรรม ณ เทศบาลตำบลสันป่าเปา วันที่ 20-21 กรกฎาคม 2566

·   กิจกรรมที่ 3กิจกรรมอบรมพัฒนาทักษะผู้นำในการใช้ระบบผลิตก๊าซชีวภาพจากขยะอินทรีย์และกิจกรรมพัฒนาทักษะผู้นำการเปลี่ยนแปลงด้าน วทน. (STI Changemaker) การเขียนข้อเสนอโครงการและสนทนากลุ่ม (Focus groups) และเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อพัฒนาผู้นำการเปลี่ยนแปลงด้าน วทน. จัดกิจกรรม ณ เทศบาลตำบลสันป่าเปา วันที่ 17-18 สิงหาคม 2566

     หลังจากนั้นจึงเดินทางไปสำรวจครัวเรือนที่จะเป็นต้นแบบในการติดตั้งระบบผลิตก๊าซชีวภาพเบื้องต้น ทั้งหมด 3 ครัวเรือน ได้แก่ ครัวเรือนที่ 1 บ้านนายกสุวัจน์ ณ วิชัย ครัวเรือนที่ 2 นายประเทือง บำรุง บ้านหมู่ที่ 2 และครัวเรือนที่ 3



รายงานโดย นางเรวดี ปุดอินทร์ วันที่รายงาน 05/07/2566 [14760]
2100 21