2566 โครงการการบริการให้คำปรึกษาและข้อมูลเทคโนโลยี    0


รายงานความก้าวหน้า

ไตรมาส ผลการดำเนินงาน งบประมาณที่ใช้ ผู้รับบริการ
3 [15221]

ไตรมาสที่ 1

             โครงการบริการให้คำปรึกษาและบริการข้อมูลเทคโนโลยี วิทยาลัยการอาชีพขอนแก่น

“เรื่อง การจัดทำบัญชีต้นทุนการทอผ้าไหม”ณ ศาลาไหมไทย วิทยาลัยการอาชีพขอนแก่น อำเภอชนบท จังหวัดขอนแก่นและ วันโพธิ์ชัย ตำบลเมืองเพีย อำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น ระหว่าง วันที่ 27-28 ธันวาคม  2565 เนื่องด้วยสถานการณ์ เกิดภาวะน้ำท่วมหลายพื้นที่ในเขตภาคอีสาน ทำให้วัตถุดิบในการผลิตและทอผ้าขาดแคลนและมีราคาสูงขึ้น แต่ยังมีกลุ่มผู้ทอผ้ายังดำเนินกิจกรรมดังกล่าว คลินิกเทคโนโลยี วิทยาลัยการอาชีพขอนแก่น ได้ลงพื้นที่ตามโครงการบริการให้คำปรึกษาและบริการข้อมูลเทคโนโลยี ประจำปีงบประมาณ 2566  ในพื้นที่ของกลุ่มผู้ทอผ้าไหม/ผ้าฝ้าย/ผ้าพื้นเมือง/แม่บ้าน/เกษตรกร/ประชาชนผู้สนใจทั่วไป ในเขตพื้นที่อำเภอชนบทและอำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น จากการลงพื้นที่สำรวจความต้องการพบว่ากลุ่มผู้ทอผ้ามีความต้องการทราบต้นทุนของการทอผ้าก่อนนำผลิตภัณฑ์ออกจำหน่าย ดังนั้นคลินิกเทคโนโลยี วิทยาลัยการอาชีพขอนแก่นจึงได้จัดโครงการให้ความรู้การทำบัญชีต้นทุนสินค้าขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์คือ

  1. เพื่อส่งเสริมให้กลุ่มผู้ทอผ้าได้มีความรู้การทำบัญชีต้นทุนสินค้า
  2. เพื่อสามารถทำบัญชีต้นทุนสินค้าได้ถูกต้อง
  3. เพื่อลดปัญหาการขายสินค้าขาดทุนโดยไม่ทราบต้นทุนผลิตสินค้าที่แท้จริง
  4. เพื่อสร้างวินัยในการลงบัญชีต้นทุนสินค้าอย่างสม่ำเสมอ

ในการจัดทำโครงการครั้งนี้มีผู้เข้ารับบริการให้คำปรึกษาข้อมูลเทคโนโลยี จำนวน 70 คน

ผลลัพธ์

    ผู้รับบริการข้อมูลและคำปรึกษา ได้รับความรู้และสามารถทำบัญชีต้นทุนในการทอผ้าแต่ละครั้ง

ได้อย่างถูกต้องและสม่ำเสมอ ช่วยลดปัญหาการขาดทุนเมื่อนำสินค้าไปจำหน่าย เนื่องจากทราบถึงต้นทุนที่แท้จริงจึงส่งผลให้การกำหนดราคาขายได้รับความพึงพอใจทั้งผู้ซื้อและผู้ขาย

ผลกระทบ

    ผู้รับบริการข้อมูลและคำปรึกษา ได้รับวิธีการแก้ไขปัญหา ในการกำหนดราคาขายสินค้า โดยการคำนึงถึงต้นทุนการทอผ้า ที่เกิดขึ้นอย่างมีระบบ และสามารถเพิ่มศักยภาพในการสร้างอาชีพได้อย่างยั่งยืน

งบประมาณที่ใช้ไป จำนวน 30,000 บาท

https://drive.google.com/file/d/1-oLZMo1F1K433mrUptiu33gBGUDI6Fy9/view?usp=drive_link

https://drive.google.com/file/d/1zEISkYkWGlrnRa3hhSYZwqKBThA1QLXv/view?usp=drive_link

https://drive.google.com/file/d/17aV7ezSo_oSr43SEqDkl906l4MbdXbao/view?usp=drive_link

https://drive.google.com/file/d/1O9MR9F_rIS0dnbz5QdUIg9CeCjIC0fRS/view?usp=drive_link

https://drive.google.com/file/d/1FtbuluZ0PHne7WlCOeBelKLbN64q_SSs/view?usp=drive_link

 

ไตรมาสที่ 2 

           โครงบริการให้คำปรึกษาและบริการข้อมูลเทคโนโลยี คลินิกเทคโนโลยีวิทยาลัยแก่น เรื่อง "การยกระดับคุณภาพผลิตภัณฑ์ผ้าไหมมัดหมี่" เพื่อเป็นการเพิ่มศักยภาพธุรกิจชุมเป้าหมายคือ กลุ่มทอผ้าไหมบ้านวงศ์สว่าง ตำบลปอแดง อำเภอชนบท จังหวัดขอนแก่น มีแนวคิดที่จะต่อยอดกระบวนการผลิตผ้าไหม จึงต้องการผู้เชี่ยวชาญที่ให้คำแนะนำเพื่อต่อยอดการผลิต และกระบวนการคิดผลิตแบบพึ่งพาตนเองและใช้ศักยภาพของกลุ่มชุมชนในการผลิตได้มาตรฐานและพัฒนาช่องทางการจัดจำหน่ายและทักษะการขายที่เหมาะสม เพื่อให้เกิดเป็นธุรกิจที่ยั่งยืนในอนาคตต่อไป โดยการดำเนินงานตามแผนกิจกรรม เริ่มจากการลงพื้นที่สำรวจ ปรึกษาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับชุมชนเพื่อการวางแผน วิเคราะห์แผนธุรกิจ อุปสรรค โอกาส และความเสี่ยงของการดำเนินธุรกิจเตรียมความพร้อมในการดำเนินงาน ประกอบด้วย การพัฒนาต่อยอดการใช้สีการผสมสีย้อมผ้าไหมเป็นที่ต้องการในตลาดผู้บริโภคและการเรียนรู้รูปแบบลวดลายผ้าไหมมัดหมี่ เพื่อเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ของกลุ่มทอผ้าไหมบ้านวงศ์สว่าง ตำบลปอแดง อำเภอชนบท จังหวัดขอนแก่น

โดยมีวัตถุประสงค์ ในการจัดกิจกรรมครั้งนี้ คือ

        1. เพื่อให้คำปรึกษา ถ่ายทอดองค์ความรู้และถ่ายทอดเทคนิคการใช้สีย้อมผ้าและการใช้เทคโนโลยี

           ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์โดยการใช้กราฟฟิกส์ในการออกแบบลายมัดหมี่ สำหรับกลุ่มทอผ้าไหม

           มัดหมี่ บ้านวงศ์สว่าง ตำบลปอแดง อำเภอชนบท จังหวัดขอนแก่น ให้มีมาตรฐานยิ่งขึ้น

        2. เพื่อสนับสนุนองค์ความรู้ที่ให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ในผลิตภัณฑ์และสร้างช่องทางการจำหน่ายให้กับ

           กลุ่มทอผ้าไหมมัดหมี่ ชาวบ้านวงศ์สว่าง ตำบลปอแดง อำเภอชนบท จังหวัดขอนแก่น

        3. เพื่อสร้างภาพลักษณ์ของธุรกิจให้มีความพร้อม สนับสนุนและช่วยเหลือผู้ประกอบการตั้งแต่เริ่ม

           จนดำเนินธุรกิจต่อไปได้

ในการจัดทำโครงการครั้งนี้มีผู้เข้ารับบริการให้คำปรึกษาข้อมูลเทคโนโลยี จำนวน 20 คน

          ผลลัพธ์

             ผู้รับบริการข้อมูลและคำปรึกษา ได้รับความรู้และสามารถในการใช้สีย้อมผ้าและกระบวนการขั้นตอนการย้อม ได้อย่างถูกต้องและได้สีที่สม่ำเสมอ สามารถพัฒนาลวดลายใหม่ ๆ ให้ทันสมัยนิยม

           ผลกระทบ

              ผู้รับบริการข้อมูลและคำปรึกษา ได้รับได้รับความรู้และทักษะที่เหมาะสมในการย้อมเส้นไหม และสามารถเพิ่มศักยภาพในการสร้างอาชีพได้อย่างยั่งยืน

งบประมาณที่ใช้ไป จำนวน 15,000 บาท

https://drive.google.com/file/d/1xuHtI6eU0yyGJnBOVGo5gFWnox9HcY1Q/view?usp=drive_link

https://drive.google.com/file/d/1fmz8902TxSN-WnzWlMOxiwQJ-6aBEmhp/view?usp=drive_link

https://drive.google.com/file/d/1Bwdd7Y7u-GF8oknJPhTjUaLNQB5nBWRw/view?usp=drive_link

https://drive.google.com/file/d/1uYBwKuoGS7inFck2CYIO4hBsudRY7S5k/view?usp=drive_link

 

 

 



รายงานโดย นางสาวมาเรศไอลีน บัวสี วันที่รายงาน 21/08/2566 [15221]
45000 90
3 [15217]

กิจกรรมที่ 4

             โครงการบริการให้คำปรึกษาข้อมูลเทคโนโลยี คลินิกเทคโนโลยี วิทยาลัยการอาชีพขอนแก่นได้ดำเนินการจัดกิจกรรมในชื่อ การใช้เทคโนโลยีเพื่อเก็บฐานข้อมูลผลิตภัณฑ์ ให้กับกลุ่มนักเรียนนักศึกษา คณะครูอาจารย์ วิทยาลัยการอาชีพขอนแก่น และกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ศาลาไหมไทย ระหว่างวันที่ 20 กรกฎาคม 2566 เพื่อเป็นการส่งเสริมให้ผู้ประกอบการร้านค้า วิสาหกิจชุมชนชาวอำเภอชนบท รู้จักการนำเอาเทคโนโลยีเข้ามามีส่วนร่วม ในการบันทึกข้อมูล ผลิตภัณฑ์ เพื่อให้ผู้ที่สนใจ สินค้าสามารถดูรายละเอียด ผ่านช่องทางออนไลน์

              ทั้งนี้ คลินิกเทคโนโลยี วิทยาลัยการอาชีพขอนแก่น ได้รับความร่วมมือจากมหาวิทยาลัยขอนแก่นในการเป็นผู้ถ่ายทอดความรู้ของการจัดทำข้อมูลคลังสินค้า การสร้างฐานข้อมูลผลิตภัณฑ์ของตนเอง

วัตถุประสงค์ 

1. เพื่อสร้างระเบียบหมวดหมู่ของผลิตภัณฑ์

2. เพื่อให้ง่ายต่อการศึกษาหาข้อมูลของผลิตภัณฑ์นั้น

3. เพื่อส่งเสริมให้ผู้ประกอบการรู้จักใช้เทคโนโลยีเครื่องมือสื่อสารเข้ามามีบทบาทในการเก็บข้อมูลมากขึ้น

ผลลัพธ์

สมาชิกในชุมชน อำเภอชนบท สามารถที่จะรวบรวมข้อมูลผลิตภัณฑ์ของตนเอง และหาข้อมูลของผลิตภัณฑ์ได้ง่ายขึ้นและถูกใจลูกค้ามากขึ้น

ผลกระทบ

นักเรียนนักศึกษา คณะครูอาจารย์ และกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ได้รับการฝึกทักษะและการทำฐานข้อมูลผ่านช่องทางออนไลน์

 

 

https://drive.google.com/file/d/1mWDuKs2E_oueIDfVvWp7dlUlnFPvLOQY/view?usp=drive_link

https://drive.google.com/file/d/1irWvol4_BIUW4lzyIrItfULsCEoMOiFV/view?usp=drive_link

https://drive.google.com/file/d/1xIfAOwRuJeGeVJ2F3WWN15Ko2-8IiMyT/view?usp=drive_link

 

https://drive.google.com/file/d/1ZMl7xUgr_vGQYNLKqybDaP0es6_ofC06/view?usp=drive_link

https://drive.google.com/file/d/1Z79lJtmhjvqMbeZ3uOPncFXn-otr4fm0/view?usp=drive_link

https://drive.google.com/file/d/1sDtQM3sU8yPsO3bTlh2JWLa02JHGolD2/view?usp=drive_link



รายงานโดย นายภูมิรินทร์ สุริปะ วันที่รายงาน 20/08/2566 [15217]
59500 40
3 [14530]

กิจกรรมที่ 3

              โครงการบริการให้คำปรึกษาข้อมูลเทคโนโลยี คลินิกเทคโนโลยีวิทยาลัยการการอาชีพขอนแก่น

ได้จักกิจกรรม ส่งเสริมการทอผ้าไหมมัดหมี่ให้กับนักเรียนนักศึกษา ในสถานศึกษาและชุมชน โดยดำเนินการ จัดการฝึกอบรม การทำผ้าไหมมัดหมี่ และได้จัดทำรูปแบบการฝึกอบรมเป็นหลักสูตรระยะสั้น ระหว่างวันที่

5 – 9 มิถุนายน 2566 เพื่อเป็นการส่งเสริมให้นักเรียนนักศึกษา ได้เรียนรู้เกี่ยวกับวิธีการทำผ้าไหมมัดหมี่ ทั้งนี้  ในการฝึกอบรมมีนักเรียนนักศึกษาที่สนใจ เข้าร่วมในการฝึกอบรมในครั้งนี้ จำนวน 100 คน โดยมีนักเรียน สาขาการตลาด และ สาขาการบัญชี ที่เข้าร่วมในกิจกรรมครั้งนี้

           คลินิกเทคโนโลยีวิทยาลัยการอาชีพขอนแก่น ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของผลิตภัณฑ์ผ้าไหมมัดหมี่ของชาวบ้านในชุมชนอำเภอชนบท ซึ่งปัจจุบันเยาวชนคนรุ่นใหม่ให้ความสำคัญเกี่ยวกับการทำผ้าไหมมัดหมี่ลดน้อยลง ทำให้ปัจจุบันผู้ทำผ้าไหมมัดหมี่ในชุมชนก็มีจำนวนลดลงเรื่อย ๆ คลินิกเทคโนโลยี วิทยาลัยการอาชีพขอนแก่น จึงได้จัดกิจกรรม ส่งเสริมการทอผ้าไหมมัดหมี่ขึ้น และเชิญชวนนักเรียนนักศึกษาเข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ เพื่อให้นักเรียนนักศึกษาได้เรียนรู้และเป็นการส่งเสริมให้คนรุ่นใหม่รู้จักคุณค่าของผ้าไหมยิ่งขึ้นและสามารถนำไปพัฒนาต่อยอดได้

 

 

 

            วัตถุประสงค์

  1. เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนนักศึกษา ได้เรียนรู้เกี่ยวกับกรรมวิธีการทอผ้าไหมมัดหมี่
  2. เพื่อให้นักเรียนนักศึกษา สามารถนำความรู้ไปต่อยอดสร้างรายได้ได้
  3. เพื่อเป็นการอนุรักษ์และส่งเสริมผลิตภัณฑ์ของคนในชุมชน

ผลลัพธ์

นักเรียนนักศึกษาที่เข้าร่วมกิจกรรม สามารถนำความรู้ที่ได้จากการฝึกอบรมในครั้งนี้ไปพัฒนาตนเองและยังสร้างรายได้จากการทำผ้าไหมมัดหมี่ เช่น การรับจ้างมัดหมี่ รับจ้างแก้หมี่ เป็นต้น

ผลกระทบ

ด้วยสังคมในปัจจุบัน มีนักเรียนนักศึกษา ให้ความสนใจในการทำผ้าไหมมัดหมี่น้อยลง และคนในชุมชนส่วนใหญ่ที่ยังคงทอผ้าไหมมัดหมี่อยู่จะเป็นกลุ่มผู้สูงอายุมากกว่ากลุ่มเยาชนนักเรียนนักศึกษา ดังนั้น การจัดกิจกรรมขึ้น เพื่อเป็นการอนุรักษ์และส่งเสริมให้นักเรียนนักศึกษารู้จักและเห็นคุณค่าของผ้าไหมมากยิ่งขึ้น

 

 

https://drive.google.com/drive/folders/1Wgplb-fAwIxvWFfzN7CdkLL1-W3tl8C-

https://drive.google.com/drive/folders/1Wgplb-fAwIxvWFfzN7CdkLL1-W3tl8C-

https://drive.google.com/drive/folders/1Wgplb-fAwIxvWFfzN7CdkLL1-W3tl8C-

https://drive.google.com/drive/folders/1Wgplb-fAwIxvWFfzN7CdkLL1-W3tl8C-

https://drive.google.com/drive/folders/1Wgplb-fAwIxvWFfzN7CdkLL1-W3tl8C-

https://drive.google.com/drive/folders/1Wgplb-fAwIxvWFfzN7CdkLL1-W3tl8C-

https://drive.google.com/drive/folders/1Wgplb-fAwIxvWFfzN7CdkLL1-W3tl8C-



รายงานโดย กฤติมา อนัดคะทัด วันที่รายงาน 30/06/2566 [14530]
121750 100