2566 โครงการบริการให้คำปรึกษาและข้อมูลเทคโนโลยี    0


รายงานความก้าวหน้า

ไตรมาส ผลการดำเนินงาน งบประมาณที่ใช้ ผู้รับบริการ
4 [15640]

วันที่ 23 สิงหาคม 2566 ร่วมประชุมหารือ “การพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์ชุมชนด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม” ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ร่วมกับ อว.ส่วนหน้า จังหวัดสกลนคร พร้อมด้วย 3 มหาวิทยาลัยลัย ประกอบด้วย มหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนคร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร โดยร่วมกันวางแผนการเขียนข้อเสนอโครงการตามแผนพัฒนาจังหวัด และวางแผนการดำเนินงานร่วมกัน



รายงานโดย น.ส.ณภัค จีรวัชรโภคิน วันที่รายงาน 18/09/2566 [15640]
870 0
4 [15639]

     เมื่อวันที่ 11 – 15 สิงหาคม 2566 คลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
เข้าร่วมจัดนิทรรศการในงานเทคโนโลยีและนวัตกรรมของไทย ปี 2566 : TechnoMart  2023 ภายใต้แนวคิด BCG “พลิกโฉมประเทศไทย สู่เศรษฐกิจสร้างคุณค่า สังคมเดินหน้าอย่างยั่งยืน” ณ ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพ็ค เมืองทองธานี 
   โดยส่งผลงานรถแทรคเตอร์ไฟฟ้าขนาดเล็กเพื่อการเกษตร ร่วมจัดแสดงผลงาน โดยมีอาจารย์ศรศักดิ์ ฤทธิ์มนตรีเจ้าของผลงาน และทีมงานเข้าร่วมจัดนิทรรศการ



รายงานโดย น.ส.ณภัค จีรวัชรโภคิน วันที่รายงาน 18/09/2566 [15639]
10000 0
4 [15638]

วันที่ 26 สิงหาคม 2566 คลินิกเทคโนโลยีร่วมกับอุทยานวิทยาศาสตร์ และ UBI จัดการอบรมและการแสดงผลงานนวัตกรรม เทคโนโลยี และองค์ความรู้จากการวิจัยของนักศึกษาโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเปิดโอกาสให้นักศึกษานำผลงานวิจัยมาพัฒนา และผลักดันให้เกิดการต่อยอดและพัฒนางานวิจัย ตลอดจนนักศึกษามีแนวคิดในการออกแบบแผนความเป็นไปได้ทางธุรกิจรูปแบบใหม่ มีวิธีการนำเสนอผลงานวิจัยให้เป็นที่น่าสนใจ และมีศักยภาพผลักดันออกสู่เชิงพาณิชย์โดยมีนักศึกษาเข้าร่วมกิจกรรมเป็นจำนวนมาก และมีผู้ส่งผลงานนำเสนอจำนวน 3 ผลงาน ได้แก่  1. ผลงานตะขอฮุกประยุกต์ใหม่   2. เครื่องหั่นไส้กรอก 3. ที่หั่นขนมปัง

จากนักศึกษาคณะวิทยาการจัดการ  ส่งผลงานเข้าร่วมการแสองผลงาน ณ ห้องประชุมสถาบันวิจัยและพัฒนา ชั้น 2 อาคาร 21 มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร โดยมี ผศ.ดร.สาคร อินทะชัยเป็นประธานเปิดงาน 



รายงานโดย น.ส.ณภัค จีรวัชรโภคิน วันที่รายงาน 18/09/2566 [15638]
3000 55
4 [15647]

วันพฤหัสบดีที่ 31 สิงหาคม 2566 คลินิกเทคโนโลยี จัดอบรมกิจกรรม ร่วมกับ อว.ส่วนหน้า จังหวัดสกลนคร โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ชาคริต ชาญชิตปรีชา รักษาราชการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร กล่าวต้อนรับคณะหน่วยงานจากสำหนักงานกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ผู้ประกอบการ และผู้ร่วมอบรม กิจกรรม การเพิ่มทักษะการประกอบธุรกิจสำหรับผู้ประกบอการผลิตภัณฑ์ชุมชน ด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ปีงบประมาณ 2566 ณ ห้องประชุมสภานักศึกษา ชั้น 3 อาคาร 20 กองพัฒนานักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร จากนั้นเปิดกิจกรรมและชี้แจงวัตถุประสงค์กิจกรรม โดย นางวนิดา บุญนาคค้า ผู้อำนวยการกองส่งเสริมและประสานเพื่อประโยชน์ ทางวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และบรรยาย เรื่อง ทิศทางการตลาด 2570 กับการเตรียมพร้อมของผู้ประกอบการการยกระดับผลิตภัณฑ์ด้วย วทน. ปรับตัว เปลี่ยนแปลง ปรับปรุง และการวิเคราะห์แนวทางการยกระดับผลิตภัณฑ์ด้วย วทน. ที่สอดคล้องกับทิศทางการตลาด โดย ดร.สร้อยฟ้า เสริฐแก้ว ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจสังคมบริษัท เดลฟิคอน จำกัด และดร.อรุณประภาส์ ธนกิจโกเศรษฐ์ ที่ปรึกษาด้านเศรษฐศาสตร์ บริษัท เดลฟิคอน จำกัด

 



รายงานโดย น.ส.ณภัค จีรวัชรโภคิน วันที่รายงาน 18/09/2566 [15647]
0 24
4 [15310]

เมื่อระหว่างวันที่ 14 -15 สิงหาคม 2566 คลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร เข้าร่วมการนำเสนอผลสำเร็จของโครงการที่ได้รับงบประมาณประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ภายใต้แพลตฟอร์ม TCS/SCI ณ ห้อง Venus 3
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และร่วมรับฟัง “แผนงาน/โครงการด้าน ววน. เพื่อการพัฒนาจังหวัดด้วยวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม” และร่วมแสดงความยินดีในพิธีรับมอบโล่และประกาศเกียรติคุณ ให้แก่ หน่วยปฏิบัติ อว.ส่วนหน้า 20 จังหวัด
คลินิกเทคโนโลยีเครือข่าย ระดับดีเด่น 35 เครือข่าย หมู่บ้านวิทยาศาสตร์ ระดับดีเด่น 13 หมู่บ้าน ผู้ประกอบการชุมชน ระดับดีเด่น 4 ชุมชนณ ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพ็ค เมืองทองธานี จังหวัดนนทบุรี 



รายงานโดย น.ส.ณภัค จีรวัชรโภคิน วันที่รายงาน 30/08/2566 [15310]
7989 0
4 [15309]

ค่าจ้างเหมาเจ้าหน้าที่ จำนวน 3 เดือน (เดือนกรกฎาคม - เดือนกันยายน)  เดือนละ 15,000 บาท  รวมเป็น 45,000 บาท



รายงานโดย น.ส.ณภัค จีรวัชรโภคิน วันที่รายงาน 30/08/2566 [15309]
45000 0
3 [15105]

วันที่ 7- 9  สิงหาคม 2566 สป.อว. ลงพื้นติดตามความก้าวหน้าการดำเนินโครงการ ภายใต้กิจกรรมส่งเสริมการนำ วทน.เพื่อเพิ่มศักยภาพและเศรษฐกิจชุมชน ประจำปี 2566 ในพื้นที่จังหวัดสกลนคร
ภายใต้การดำเนินงานคลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร จำนวน 4 โครงการ โดยมี นายเฉลิมพงษ์ กล้าขยัน สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) (คณะกรรมการ)  นางสาวนิศากร ยิ่งขจร  สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) (คณะกรรมการ)  พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่กองส่งเสริมและประสานเพื่อประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ได้แก่ นายเมธี ลิมนิยกุล นายวิทยา สุวรรณสุข นางสาวเดือนเพ็ญ อาจไธสง และนางสาววิลาวรรณ งอยผาลา เข้าร่วมการติดตามผลการดำเนินงานและให้ข้อเสนอแนะ  

       คลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร ได้รายงานการดำเนินโครงการการบริการให้คำปรึกษาและข้อมูลเทคโนโลยี : TCS  ประจำปีงบประมาณ 2566 โดยมี ผศ.ดร.ก้องภพ ชาอามาตย์ รองอธิการบดี กล่าวต้อนรับคณะกรรมการ  ผู้เข้าร่วมรายงานดำเนินโครงการประกอบด้วย ผศ.ดร.สาคร อินทะชัย ผู้จัดการคลินิก พร้อมด้วย เจ้าหน้าโครงการ และตัวแทนผู้รับบริการ จำนวน 3 ท่าน จากกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มอนุรักษ์และฟื้นฟูพันธุ์ข้าวพื้นเมือง "หอมดอกฮัง"  

1.โครงการหมู่บ้านการพัฒนาต้นแบบธุรกิจหมากเม่าแบบครบวงจรตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง สมาชิกสมาคมหมากเม่าสกลนคร ถนนถีนานนท์ ตำบลสร้างค้อ อำเภอภูพาน จังหวัดสกลนคร ภายใต้แพลตฟอร์มบ่มเพาะหมู่บ้านวิทยาศาสตร์ (SCI)  ได้รับข้อเสนอแนะให้เน้เรื่องต้นน้ำ ลดการสูญเสียและร่วงหล่นของผลหมากเม่า ป้องกันและกำจัดศัตรูพืชและนำเกษตรกรรุ่นใหม่ไปศึกษาดูงานการปลูกพืชที่มีลักษณะคล้ายกับหมากเม่าเพื่อสร้างแรงบันดาลใจในการปลูกหมากเม่า ในปีที่ 2  มีชุมชนเข้าร่วม 10 คน

2.โครงการหมู่บ้านการพัฒนาและยกระดับธุรกิจการเลี้ยงโคขุนเพื่อเพิ่มรายได้ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง ภายใต้แพลตฟอร์มบ่มเพาะหมู่บ้านวิทยาศาสตร์ (SCI)  ได้รับข้อเสนอแนะให้เน้นการพัฒนาสูตรอาหารต้นทุนต่ำเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงของราคาวัตถุดิบ  เนื่องจากราคากากมันเพิ่มขึ้น  ส่งเสริมให้เกษตรกรเลี้ยงโคแม่พันธุ์ เพื่อผลิตลูกโคขุนคุณภาพดี และพัฒนารูปแบบรอบการเลี้ยงโคขุนให้สามารถจำหน่ายได้ 4 รอบต่อปี ในปีที่ 3 ชุมชนเข้าร่วมจำนวน 6 คน 

3. หมู่บ้านโคขุนแบบมีส่วนร่วม ชุมชนบ้านคำพอก ตำบลโนนยาง อำเภอหนองสูง จังหวัดมุกดาหาร  ภายใต้แพลตฟอร์มบ่มเพาะหมู่บ้านวิทยาศาสตร์ (SCI)  เนื่องจากกลุ่มสหกรณ์การเกษตรหนองสูงเป็นกลุ่มมีความเข้มแข็ง ได้รับข้อเสนอแนะให้พัฒนาโครงการเพื่อของบประมาณแหล่งอื่นๆ ต่อไป  ชุมชนเข้าร่วม 10 คน



รายงานโดย น.ส.ณภัค จีรวัชรโภคิน วันที่รายงาน 13/08/2566 [15105]
5355 29
3 [14819]

วันที่ 21 พฤษภาคม 2566 คลินิกเทคโนโลยี ร่วมกับอาจารย์และบุคลากรมหาวิยาลัยราชภัฏสกลนคร ภายใต้โครงการ การส่งเสริมและยกระดับโคเนื้อสกลนคร ด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยี

โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบริบทชุมชนและชี้แจงวัตถุประสงค์การดำเนินงานโครงการการส่งเสริมและยกระดับโคเนื้อสกลนครด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยี

ณ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนโคขุนบ้านแคมพุง ตำบลโนนหอม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร มีผู้เข้ารวมจำนวน 40 คน ชุมชนเข้าใจแผนการดำเนินงานโครงการ

และรับทราบข้อมูลบริบทชุม สถานการณ์และปัญหาในชุมชน



รายงานโดย น.ส.ณภัค จีรวัชรโภคิน วันที่รายงาน 05/07/2566 [14819]
1000 40
3 [14818]

ค่าจ้างเหมาเจ้าหน้าที่คลินิก ประจำเดือนเมษายน - เดือนมิถุนายน 2566 จำนวน 3 เดือน ๆ ละ 15,000 บาท  รวม 45,000 บาท



รายงานโดย น.ส.ณภัค จีรวัชรโภคิน วันที่รายงาน 05/07/2566 [14818]
45000 0
3 [14648]

วันที่ 14 มิถุนายน 2566  คลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคนร
จัดประชุมเตรียมความพร้อมรับการประเมินโครงการ ภายใต้โครงการส่งเสริมการนำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อเพิ่มศักยภาพการผลิตและเศรษฐกิจชุมชน
ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 โดยมีรองศาสตราจารย์ ดร.ก้องภพ ชาอามาตย์  ตำแหน่งรองอธิการบดี และผู้จัดการคลินิกเทคโนโลยี เป็นประธานเปิดการประชุม
มีวัตถุประสงค์ เพื่อแจ้งกำหนดการให้ผู้รับผิดชอบโครงการทราบ และนัดหมายชุมชน ในการจัดเตรียมข้อมูล สำหรับเตรียมพร้อมรับการประเมินโครงการ และติดตามความก้าวหน้าในการดำเนินงานของแต่ละโครงการ ณ ห้องประชุมสถาบันวิจัยและพัฒนา ชั้น 1 อาคารสถาบันวิจัยและพัฒนา ผู้เข้าร่วมประชุมจำนวน 6 คน 



รายงานโดย น.ส.ณภัค จีรวัชรโภคิน วันที่รายงาน 04/07/2566 [14648]
0 6
3 [14645]

   วันที่ 4เมษายน 2566คลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
ติดตามการดำเนินงานโครงการบ่มเพาะหมู่บ้านวิทยาศาสตร์ “หมู่บ้านการพัฒนาต้นแบบธุรกิจหมากเม่าแบบครบวงจรตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง” โดยมี ผศ.เรืองฤทธิ์ หาญมนตรี ตำแหน่ง ผู้ช่วยอธิการบดีด้านวิชาการและการจัดการศึกษานอกที่ตั้ง เป็นผู้รับผิดชอบโครงการ ลงพื้นที่ดำเนินโครงการ ภายใต้กิจกรรม การคัดเลือกหมากเม่าสายพันธุ์ที่ให้ผลผลิตดี และการดูแลรักษาโรคแมลงและศัตรูหมากเม่า
โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีการจัดการแปลงหมากเม่าที่ลดการสูญเสียจากโรคและแมลงศัตรู ให้ผลติดรวงเยอะและผลสุกดำพร้อมกัน
ณ สมาชิกสมาคมหมากเม่าสกลนคร ตำบลสร้างค้อ อำเภอภูพาน จังหวัดสกลนคร  มีผู้เข้าร่วมจำนวน 50 คน ได้รับความรู้ ทักษะการคัดเลือกสายพันธุ์หมากเม่าที่ให้ผลผลิตที่ดี และองค์ความรู้ในการดูแลรักษาโรคแมลงและศัตรูหมากเม่า การจัดการแปลงหมากเม่าแบบครบวงจร โดยผู้เข้าร่วมกิจกรรมสามารถนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ในการประกอบอาชีพ และได้หมากเม่าและผลิตภัณฑ์หมากเม่าคุณภาพและมาตรฐานสินค้าเกษตรปลอดภัย



รายงานโดย น.ส.ณภัค จีรวัชรโภคิน วันที่รายงาน 04/07/2566 [14645]
500 50
3 [14647]

วันที่ 8 พฤษภาคม 2566 คลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
ติดตามการดำเนินงานโครงการบ่มเพาะหมู่บ้านวิทยาศาสตร์ “หมู่บ้านการพัฒนาและยกระดับธุรกิจการเลี้ยงโคขุนเพื่อเพิ่มรายได้ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง”
โดย ผศ.เรืองฤทธิ์ หาญมนตรี ตำแหน่ง ผู้ช่วยอธิการบดีด้านวิชาการและการจัดการศึกษานอกที่ตั้ง ผู้รับผิดชอบโครงการ ลงพื้นที่ดำเนินโครงการ ภายใต้กิจกรรม การถ่ายทอดเทคโนโลยีพัฒนาและปรับปรุงพันธุ์โค เพื่อผลิตโคขุนคุณภาพดี และการถ่ายทอดเทคโนโลยีประกอบสูตรอาหารต้นทุนต่ำจากวัตถุดิบอาหารสัตว์ที่มีในท้องถิ่นโดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีการคัดพันธุ์และปรับปรุงพันธุ์เพื่อผลิตลูกโคขุนที่มีคุณภาพ มีเกรดไขมันแทรกตามเกณฑ์ที่สหกรณ์การเลี้ยงปศุสัตว์ กรป.กลาง โพนยางคำ จำกัด ต้องการ สามารถจำหน่ายได้ในราคาสูง สร้างผลกำไรให้กับผู้เลี้ยง รวมถึงการเลี้ยง การดูแลสุขภาพ โรคและการสุขภิบาลฟาร์มโคขุน และเทคโนโลยีการลดต้นทุนค่าอาหาร โดยการประกอบสูตรอาหารต้นทุนต่ำจากวัตถุดิบอาหารสัตว์ที่มีในท้องถิ่น สำหรับการเลี้ยงโคขุน ณ ฟาร์มโคขุน นายเสน่ห์ ตองตาสี บ้านลาดดู่โคก ตำบลด่านม่วงคำ อำเภอโคกศรีสุพรรณ จังหวัดสกลนคร มีผู้เข้าร่วมจำนวน 54 คน ได้รับทักษะการผลิตโคขุนโพนยางคำแบบครบวงจร และทักษะการผลิตอาหารโคต้นทุนต่ำที่ผลิตจากปัจจัยการผลิตที่มีในท้องถิ่น และสามารถนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ในการประกอบอาชีพ สามารถผลิตอาหารโคชุนที่มีคุณภาพและมาตรฐานอาหารสัตว์ควบคุมเฉพาะเองได้ และสามารถสร้างงานสร้างอาชีพได้



รายงานโดย น.ส.ณภัค จีรวัชรโภคิน วันที่รายงาน 04/07/2566 [14647]
500 54
3 [14649]

วันที่ 22 มิถุนายน 2566  คลินิกเทคโนโลยี ร่วมกิจกรรมการส่งมอบนวัตกรรมและเทคโนโลยี ภายใต้โครงการ “การยกระดับผลผลิตทางการเกษตร ในพื้นที่แล้งด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับชุมชนท้องถิ่นจังหวัดสกลนคร”

    โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งมอบนวัตกรรมและเทคโนโลยีให้กับชุมชน โดยจัดแสดงผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร และแสดงผลงานนวัตกรรมและเทคโนโลยี เช่น รถไถไฟฟ้านั่งขับอเนกประสงค์ เครื่องหยอดข้าวขนาดเล็ก แบบ 4 แถว เครื่องทำความสะอาดเมล็ดพันธุ์ข้าวเปลือกและคัดแยกข้าวกล้อง เครื่องอบอเนกประสงค์พลังงานเซลล์แสงอาทิตย์เคลื่อนที่ได้ ณ ที่ว่าการอำเภอเต่างอย ตำบลเต่างอย อำเภอเต่างอย จังหวัดสกลนคร

     มีผู้เข้าร่วมจำนวน 50 คน ประกอบด้วย

  1. ผู้บริหาร อาจารย์ บุคลากร และนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
  2. คณะกรรมการจาก วช.
  3. เกษตรและสหกรณ์จังหวัดสกลนคร
  4. พัฒนาการอำเภอเต่างอย
  5. พัฒนาการอำเภอกุสุมาลย์
  6. เกษตรอำเภอเต่างอย
  7. เกษตรอำเภอกุสุมาลย์
  8. กลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มอนุรักษ์และฟื้นฟูข้าวพันธุ์พื้นเมือง “หอมดอกฮัง”
  9. กลุ่มวิสาหกิจชุมชนสมุนไพรไทหนองบัว
  10. กลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรสุขใจสมุนไพรไทเต่างอย

      โดยชุมชนได้รับได้รับนวัตกรรมต้นแบบสำหรับแก้ปัญหาภัยแล้ง



รายงานโดย น.ส.ณภัค จีรวัชรโภคิน วันที่รายงาน 04/07/2566 [14649]
3000 50
3 [14650]

วันที่ 29 มิถุนายน 2566 คลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
ติดตามการดำเนินงานโครงการหมู่บ้านโคขุนแบบมีส่วนร่วม ชุมชนบ้านคำพอก ตำบลโนนยาง อำเภอหนองสูง จังหวัดมุกดาหาร โดยมีนายเทพกร ลีลาแต้ม เป็นผู้รับผิดชอบโครงการ ลงพื้นที่ดำเนินโครงการ ภายใต้กิจกรรม การพัฒนาห่วงโซ่วัตถุดิบ (พัฒนาพื้นที่แหล่งอาหารสัตว์) และการพัฒนาแนวทางธนาครโคขุน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาห่วงโซ่วัตถุดิบ (พัฒนาพื้นที่แหล่งอาหารสัตว์)และการพัฒนาแนวทางธนาคารโคขุน ณ สหกรณ์การเกษตรหนองสูง อำเภอหนองสูง จังหวัดมุกดาหารมีผู้เข้าร่วมจำนวน 30 คนได้รับองค์ความรู้ในการพัฒนาห่วงโซ่วัตถุดิบ และการพัฒนาธนาคารโครุ่น สู่ตลาดโคพ่อพันธุ์  



รายงานโดย น.ส.ณภัค จีรวัชรโภคิน วันที่รายงาน 04/07/2566 [14650]
1500 30
3 [14646]

วันพุธที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2566 คลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
ร่วมกับ อว. ส่วนหน้า จังหวัดสกลนคร เป็นตัวแทนจัดประชุมหารือการนำเทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับการเลี้ยงโค สนับสนุนการพัฒนากลุ่มผู้เลี้ยงโคในพื้นที่จังหวัดสกลนคร จังหวัดนครพนม และจังหวัดมุกดาหาร

โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอเทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับการเลี้ยงโค (แอปพลิเคชันเซียนบรีฟและเซียนแดรี่)โดย ผศ.น.สพ.มนกานต์ อินทรกำแหง และคณะ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม และหารือการนำเทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับการเลี้ยงโค สนับสนุนการพัฒนากลุ่มผู้เลี้ยงโคในพื้นที่จังหวัดสกลนคร จังหวัดนครพนม และจังหวัดมุกดาหาร ร่

ผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วย

1. อว.ส่วนหน้า จังหวัดนครพนม และมุกดาหาร

2. อาจารย์และบุคลากรของมหาวิทยาลัยในพื้นที่จังหวัดสกลนคร นครพนม มุกดาหาร

3. สหกรณ์โพนยางคำ จังหวัดสกลนคร

4. สหกรณ์หนองสูง จังหวัดมุกดาหาร

5. นครพนมบีฟ (ไทยแลนด์)จังหวัดนครพนม

6. กลุ่มผู้เลี้ยงโคขุน/ผู้ประกอบการ ในพื้นที่จังหวัดสกลนคร นครพนม และมุกดาหาร

โดยมีนายเมธี ลิมนิยกุลผู้อำนวยการศูนย์ประสานงาน อว. ประจำภูมิภาค ภาคเหนือตอนบน และนายวิทยา สุวรรณสุข ผู้อำนวยการศูนย์ประสานงาน อว. ประจำภูมิภาค ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน เป็นตัวแทนกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เข้าร่วมประชุม ณ ห้องประชุมสภานักศึกษา ชั้น 3 อาคาร 20 มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร  



รายงานโดย น.ส.ณภัค จีรวัชรโภคิน วันที่รายงาน 04/07/2566 [14646]
0 38
2 [14147]

ค่าจ้างเหมาเจ้าหน้าที่คลินิก ประจำเดือนมกราคม - เดือนมีนาคม 2566 จำนวน 3 เดือน ๆ ละ 15,000 บาท  รวม 45,000 บาท



รายงานโดย น.ส.ณภัค จีรวัชรโภคิน วันที่รายงาน 05/04/2566 [14147]
45000 0
2 [14140]

ในระหว่างวันที่ 29 - 30 มีนาคม พ.ศ. 2566 คลินิกเทคโนโลยี สถาบันวิจัยและพัฒนา ร่วมกับ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร บูรณาการจัด โครงการ
“การให้คำปรึกษาและข้อมูลเทคโนโลยี” และ โครงการ “การใช้นวัตกรรมด้านวิทยาศาสตร์เพื่อความปลอดภัยในชีวิตประจำวัน” กลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มอนุรักษ์และฟื้นฟูพันธุ์ข้าวพื้นเมือง “หอมดอกฮัง” และกลุ่มเกษตรกรวิถีพองเพียงตำบลอุ่มจาน โดยจัดกิจกรรม ณ บ้านโคกสะอาด ตำบลอุ่มจานอำเภอกุสุมาลย์ จังหวัดสกลนคร ซึ่งกิจกรรมดังกล่าวได้รับเกียรติจากคณะผู้บริหารของมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร คณะผู้บริหารขององค์การบริหารส่วนตำบลอุ่มจาน และผู้นำชุมชนในตำบลอุ่มจานร่วมพิธีเปิดโครงการ และมีสมาชิกเกษตรกรเข้าร่วมการอบรมเชิงปฏิบัติการดังกล่าวมากกว่า 60 คน

     โดยมีท่านผู้ช่วยศาสตราจารย์ก้องภพ อาชาอามาตย์ ตำแหน่ง รองอธิการบดี และผู้จัดการคลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร เป็นผู้กล่าวเปิดงาน และได้รับเกียรติจากท่านรัฐวุฒิ บุตราช นายกองค์การบริหารส่วนตำบลอุ่มจาน เป็นประธานในพิธี

    การจัดกิจกรรมครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อบริการให้คำปรึกษาและข้อมูลเทคโนโลยี ภายใต้กิจกรรมการส่งเสริมการนำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม เพิ่อเพิ่มศึกยภาพการผลิตและเศรษฐกิจชุมชน ประกอบด้วยกิจกรรมดังนี้

  1. การบรรยายเกี่ยวกับการสร้างความรู้ ความเข้าใจ และประโยชน์ของสารสำคัญที่พบในข้าวพันธุ์พื้นเมืองของชุมชนบ้านโคกสะอาด ซึ่งสารสำคัญในข้าวทั้ง 8 สายพันธ์ุ ของกลุ่มข้าวหอมดอกฮัง   ประกอบด้วย ข้าวก่ำน้อย ข้าวเหนียวแดง ข้าวมะลิเบา ข้าวโสมมาลี ข้าวเจ้าแดง ข้าวป้องแอ้ว ข้าวมะลิแดง ข้าวหอมทุ่ง และสารสำคัญที่พบในข้าว ประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต โปรตีน ไขมัน น้ำมัน วิตามิน แร่ธาตุ สารที่มีฤทธิ์ทางชีวภาพ เช่น สารกาบา สารแอนโทรไซยานิน สารประกอบฟินอลิก ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ฤทธิ์ลดระดับคลอเลสเตอรอลในเลือด โดยมี ผศ.ดร.วุฒิชัย รสชาติ และอาจารย์ ดร.จินดา จันดาเรือง คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นวิทยากร
  2. การบรรยายเรื่อง คุณภาพดินสู่การพัฒนาปรับปรุงดินในพื้นที่เพาะปลูกของเกษตรกร ดินในชุมชนบ้านโคกสะอาด เป็นดินร่วนปนทราย ผลจากการวิเคราะห์ดิน มีอินทรียวัตถุมากว่า 2 เปอร์เซ็นต์ ฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์น้อยกว่า 5 มก.P/กก และโพแทสเซียมที่แลกเปลี่ยนได้น้อยกว่า 60 มก.K/กก. ควรกำหนดอัตราธาตุอาหารสำหรับข้าวไวต่อช่วงแสงดังนี้ ธาตุอาหารไนโตรเจน 3 กิโลกรัมต่อไร่ ฟอสเฟตที่เป็นประโยชน์ในอัตรา 6 กิโลกรัมต่อไร  และโพแทชที่ละลายน้ำได้ในอัตรา 6 กิโลกรัมต่อไร่ โดย ผศ.ทรงทรัพย์ อรุณกมล คณะเทคโนโลยีการเกษตร เป็นวิทยากร
  3. การใช้นวัตกรรมด้านวิทยาศาสตร์เพื่อความปลอดภัยในชีวิตประจำวันโดยการผลิตปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงจากเศษวัสดุ ชีวมวลจากชุมชน โดย ผศ.ดร.วุฒิชัย รสชาติ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี    ณ สหกรณ์ เครดิตยูเนี่ยนฯ ตำบลอุ่มจาน อำเภอกุสุมาลย์ จังหวัดสกลนคร
  4. กิจกรรมการผลิตปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงจากเศษวัสดุชีวมวลจากชุมชน ณ แปลงนาสาธิตกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มอนุรักษ์และฟื้นฟูพันธุ์ข้าวพื้นเมือง “หอมดอกฮัง” ซึ่งสามารถผลิตปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงได้มากถึง 2 ตัน ซึ่งเป็นการลดรายจ่ายจากการใช้สารเคมีในการทำการเกษตรของกลุ่มเกษตรกร ร่วมทั้งเป็นการส่งเสริมและสนับสนุนให้เกษตรกรมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นภายใต้ยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น


รายงานโดย น.ส.ณภัค จีรวัชรโภคิน วันที่รายงาน 05/04/2566 [14140]
23000 60
2 [14138]

       ในวันจันทร์ที่ 13 มีนาคม 2566 คลินิกเทคโนโลยี สถาบันวิจัยและพัฒนา ร่วมกับคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร บูรณาการจัด โครงการ “การให้คำปรึกษาและข้อมูลเทคโนโลยี” และ โครงการ “การใช้นวัตกรรมด้านวิทยาศาสตร์เพื่อความปลอดภัยในชีวิตประจำวัน” ดำเนินกิจกรรมการพัฒนาปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงจากวัสดุในชุมชน เพื่อใช้ในการเกษตรรูปแบบอินทรีย์
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการส่งเสริมการนำวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม ณ ศาลาประชาคม ตำบลวาใหญ่ อำเภออากาศอำนวย จังหวัดสกลนคร  โดยมี ผศ.ดร.วุฒิชัย รสชาติ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นวิทยากรในกิจกรรมดังกล่าว



รายงานโดย น.ส.ณภัค จีรวัชรโภคิน วันที่รายงาน 05/04/2566 [14138]
0 30
2 [14137]

        วันที่ 24 มกราคม 2566 คลินิกเทคโนโลยี เข้าร่วมกิจกรรมโครงการส่งเสริมการตลาด
เพื่อประชาสัมพันธ์และแนะนำผลิตภัณฑ์สินค้า U2T for BCG     

         โดย ดร.ดนุช ตันเทอดทิตย์ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เป็นประธานเปิดโครงการ และ ผศ.ชาคริต ชาญชิดปรีชา รักษาราชการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร กล่าวรายงานวัตถุประสงค์ พร้อมรายงานผลการดำเนินงานของ จ.สกลนคร ณ หอประชุมมหาวชิราลงกรณ ม.ราชภัฏสกลนคร

        ซึ่งมีการเสวนาและรับฟังประเด็นความต้องการของผู้ประกอบการ และส่งเสริมการตลาด
เพื่อประชาสัมพันธ์และแนะนำผลิตภัณฑ์สินค้า โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อหารือแนวทางการสนับสนุนผู้ประกอบการและพัฒนาผลิตภัณฑ์โครงการมหาวิทยาลัยสู่ตำบล U2T for BCG ด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมและรับปังประเด็นปัญหาความต้องการ รวมทั้งแลกเปลี่ยนข้อเห็นคิด
เพื่อผลักดันแผนงาน/โครงการสู่พัฒนาพื้นที่ ซึ่งมีคณาจารย์ บุคลากร ผู้ประกอบการ ตัวแทนชุมชน
เข้าร่วมจำนวน 80 คน

       และมีจัดกิจกรรมการส่งเสริมการตลาดเพื่อประชาสัมพันธ์และแนะนำผลิตภัณฑ์สินค้า U2T for BCG  มีการจัดแสดงสินค้าออกสู่ตลาดผู้บริโภค เพื่อขยายโอกาสและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและพัฒนาช่องทางการตลาดให้แก่ผู้ประกอบการในภาคธุรกิจและภาคบริการ โดยมีชุมชนเข้าร่วมจัดแสดงสินค้าจำนวน 13 ตำบล ทั้งนี้ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวง อว. ได้มอบเกียรติบัตรแก่ชุมชนและผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนร่วมโครงการ



รายงานโดย น.ส.ณภัค จีรวัชรโภคิน วันที่รายงาน 05/04/2566 [14137]
0 80
2 [14136]

       วันที่ 13 - 22 มกราคม 2566 คลินิกเทคโนโลยี ร่วมกับหน่วยงานในมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร จัดบูธนำเสนอผลงาน "นวัตกรรมสู่การพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน"  ในงานรวมน้ำใจไทสกล ประจำปี 2566

โดยออกบูธจัดนำเสนอผลงานประกอบด้วย

    1. นำเสนอผลงานนวัตกรรมที่สามารถนำไปใช้โยชน์ได้จริงจากนักวิจัย มรสน. โดยมีนวัตกรรมที่นำเสนอ จำนวน 4 นวัตกรรม ได้แก่

  • รถเข็นสูบน้ำพลังงานเซลล์แสงอาทิตย์ โดย ผศ.ดร.ก้องภพ ชาอามาตย์
  • เครื่องอบอเนกประสงค์ พลังงานเซลล์แสงอาทิตย์เคลื่อนที่ได้ โดย ดร.ครรชิต สิงห์สุข
  • เครื่องตัดหญ้าไฟฟ้าดัดแปลง โดย อาจารย์ศรศักดิ์ ฤทธิ์มนตรี
  • เครื่องลดความชื่นข้าวเปลือกเคลื่อนที่ได้ใช้พลังงานความร้อนแบบไฮบริดและขับเคลื่อนบัสเลสมอเตอร์ด้วยพลังงานเซลล์แสงอาทิตย์ โดย ผศ.ดร.กิตติวัฒน์ จีบแก้ว และคณะ

    2. ผลิตภัณฑ์จากศูนย์ UBI SNRUที่จัดนำเสนอ ได้แก่ ผลิตภัณฑ์จากผ้าคราม เช่น กระเป๋า ผ้าคลุมไหล่ ถุงผ้า น้ำหมากเม่า ไวน์หมากเม่า เป็นต้น

  1. นำเสนอหลักสูตรอบรมระยะสั้น "การผสมเทียมโค" โดยมีหัวข้อประกอบหลักสูตรการอบรม ดังนี้
    • การวิภาคและสรีรวิทยาระบบสืบพันธ์ในเพศเมีย
    •  การตรวจการเป็นสัตว์และการผสมเทียม
    • การใช้น้ำเชื้อและการเก็บรักษา
    • สุขอนามัยและโรคในระบบสืบพันธุ์โค
    • ฝึกล้วงตรวจและสอดปืนฉีดน้ำเชื้อ
    • ฝึกการใช้น้ำเชื้อและการตรวจคุณภาพน้ำเชื้อ
  2. อาหารเลิศรสจากสาขาคหกรรมศาสตร์ เช่น ผกากรอง บัวลอย เป็นต้น
  3. นำเสนอและจัดจำหน่ายผักปลอดสารพิษ เช่น ผักคะน้า ผัดสลัด ผักกรีนครอส ป๊อปคอร์น และยำ เป็นต้น
  4. แสดงผลงานศิลปะและบริการวาดภาพเหมือน จากนักศึกษาสาขาทัศนศิลป์ โดยได้รับความสนใจจากผู้ปกครอง และเด็ก ๆ จำนวนมาก
  5. จุดรับสมัครนักศึกษา ปีการศึกษา 2566 โดยมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร เปิดรับสมัครนักศึกษา ปีการศึกษา 2566  ประกอบด้วย
    • ประเภทภาคปกติ  ประเภทรับตรง (เฉพาะหลักสูตร ค.บ.4 ปี)รับสมัคร 5 – 20 ม.ค. 66
    • ประเภทโครงการร่วมมือกับโรงเรียน (ทุกสาขาวิชา)รับสมัคร 27 ธ.ค. 65 – 12 พ.ค. 66
    • ภาคพิเศษ (เรียนเสาร์-อาทิตย์) รับสมัคร 11 ม.ค. – 12 พ.ค. 66

    โดยวัตถุประสงค์เพื่อประชาสัมพันธ์ และนำเสนอผลงานด้านวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม 



รายงานโดย น.ส.ณภัค จีรวัชรโภคิน วันที่รายงาน 05/04/2566 [14136]
0 50
2 [14135]

        ในวันพฤหัสบดีที่ 5 มกราคม 2566 คลินิกเทคโนโลยี ราชภัฏสกลนคร เข้าร่วมประชุมการขับเคลื่อนและแนวทางการขับเคลื่อนงานด้าน ววน. สู่การพัฒนาภูมิภาค ประจำปี 2567-2570

  1. แนวทางการดำเนินงานโมเดลเส้นทางเดียว (ONE Route Cooperative Model) เพื่อใช้ประโยชน์งานด้าน ววน. เพื่อการพัฒนาจังหวัด โดย นายเอกพงศ์ มุสิกะเจริญ
  2. การบริหารจัดการสำนักงานเพื่อการนำ ววน. ไปสู่การพัฒนาพื้นที่
    - มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง โดย ผศ.ดร.นุกูล อินทระสังข
    - มหาวิทยาลัยพะเยา โดย ผศ.ดร.สันธิวัฒน์ พิทักษ์พล

       และวันอังคารที่ 11 มกราคม 2566 คลินิกเทคโนโลยี ราชภัฏสกลนคร เข้าร่วมประชุมการขับเคลื่อนและแนวทางการขับเคลื่อนงานด้าน ววน. สู่การพัฒนาภูมิภาคประจำปี 2567-2570 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ     



รายงานโดย น.ส.ณภัค จีรวัชรโภคิน วันที่รายงาน 05/04/2566 [14135]
0 30
2 [14023]

รายงานไตรมาส 1

วันที่ 20 - 21 พฤศจิกายน 2565 คลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร เข้าร่วมการประชุมเชิงปฏิบัติการ “การขับเคลื่อนและส่งเสริมการใช้ประโยชน์งานด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม”
ในระดับภูมิภาค ประจำปี 2567 – 2570

         โดย ผศ.ก้องภพ ชาอามาตย์ ผู้จัดการคลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร เป็นตัวแทนคลินกเทคโนโลยี เข้าร่วมรับฟังการนำเสนอแนวทาง One Route เพื่อใช้ประโยชน์งานด้าน ววน. สู่การพัฒนาจังหวัด ของ กปว.สป.อว. เข้าร่วม Workshop การจัดทำแผนปฏิบัติการขับเคลื่อนและส่งเสริมการใช้ประโยชน์งานด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) ในระดับภูมิภาค ประจำปี 2567 - 2570 ทั้งหมด 5 ภูมิภาค และกิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การทำงานของเครือข่าย สป.อว  ทั้งนี้ได้เป็นตัวแทนอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร ในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ “การพัฒนาจังหวัดด้วยการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม” ระหว่าง กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และ กระทรวงมหาดไทย และรับฟังงานแถลงความสำเร็จของความร่วมมือการจัดทำ “แผนพัฒนาเศรษฐกิจภูมิภาคภาคเอกชน พ.ศ. 2566 - 2570” ภายใต้บันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่าง คณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) และ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เพื่อนำแผนพัฒนาเศรษฐกิจภูมิภาค ฉบับภาคเอกชน ไปสู่การพัฒนาจังหวัด และตัวแทนในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ “การขับเคลื่อนและส่งเสริมการใช้ประโยชน์วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาจังหวัด” ระหว่าง สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และ มหาวิทยาลัยเครือข่าย 



รายงานโดย น.ส.ณภัค จีรวัชรโภคิน วันที่รายงาน 03/04/2566 [14023]
2686 50
2 [14026]

รายงานไตรมาส 1

ในวันพฤหัสบดีที่ 15 ธันวาคม 2565 อว.ส่วนห้า และคลินิกเทคโนโลยีเข้าร่วมประชุมคณะกรรมการเครือข่ายองค์ความรู้ KBO จังหวัดสกลนคร โดยเป็นศูนย์ในการให้ความช่วยเหลือและสนับสนุนการพัฒนาขีดความสามารถของผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOPในการพัฒนายกระดับผลิตภัณฑ์ OTOP ให้มีคุณภาพได้มาตรฐาน มีบรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสม และสามารถเพิ่มมูลค่า สร้างนวัตกรรม  

 

ค่าจ้างเหมาเจ้าหน้าที่คลินิกเทคโนโลยี ประจำเดือนตุลาคม - ธันวาคม 2565 จำนวน 3 เดือน  เดือนละ 15,000 บาท รวมทั้งหมด 45,000 บาท

 

 



รายงานโดย น.ส.ณภัค จีรวัชรโภคิน วันที่รายงาน 03/04/2566 [14026]
45000 20
2 [14024]

รายงานไตรมาส 1

        ในวันศุกร์ที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2565 คลินิกเทคโนโลยี สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร ต้อนรับคณะกรรมาธิการการศึกษา วุฒิสภา ถ่ายทอดเทคโนโลยีเกี่ยวกับการประยุกต์
ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการพัฒนาทักษะและการจัดการเรียนรู้สู่อาชีพใหม่ และการวิจัยพลังงานเซลล์แสงอาทิตย์ (Solar Energy) นำโดย ดร.ตวง อันทะไชย ประธานกรรมาธิการการศึกษา พร้อมด้วย
รศ.ดร.ศักดิ์ไทย สุรกิจบวร ประธานคณะกรรมาธิการการอาชีวศึกษา และคณะ ในการนี้ รศ.วาสนา เกษมสินธ์ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาและผู้อำนวยการคลินิกเทคโนโลยี ได้นำเสนอภาพรวม
การดำเนินงานของสถาบันวิจัยและพัฒนา และ ศ.ดร.ทศวรรษ สีตะวัน ที่ปรึกษาศูนย์ความเป็นเลิศด้านพลังงานทางเลือก นำเสนอผลการวิจัยและการประยุกต์ใช้พลังงานเซลล์แสงอาทิตย์ ตลอดจน
การเผยแพร่และขยายผลสู่การใช้งานจริง จากนั้นเป็นการร่วมประชุมแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นในการพัฒนาทักษะและองค์ความรู้สู่การสร้างอาชีพใหม่ที่สอดคล้องและเป็นไปตามความต้องการของผู้เรียนอาชีวศึกษาในปัจจุบัน พร้อมเยี่ยมชมนิทรรศการนวัตกรรมด้านพลังงานทางเลือกและพลังงานเซลล์แสงอาทิตย์ของนักวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร ได้แก่
                1.รถเข็นสูบน้ำพลังงานเซลล์แสงอาทิตย์

                2. เครื่องอบแห้งข้าวเปลือกแบบไฮบริด

                3. รถไฟฟ้าเพื่อการเกษตร

                4. เครื่องตัดหญ้าไฟฟ้า

                5. เครื่องอบอเนกประสงค์พลังงานแสงอาทิตย์เคลื่อนที่
      และนวัตกรรมของคณะครูและนักเรียนจากโรงเรียนธาตุนารายณ์วิทยาซึ่งเป็นเครือข่ายโครงงาน การวิจัยและนวัตกรรมของมหาวิทยาลัย ได้แก่

                1. ผลงานวิจัยเรื่อง ชุดชาวนาป้องกันโรคลมแดด Farmers suit to prevent sunstroke 

                2. ผลงานวิจัยโครงงาน : เครื่องบดและอัดอเนกประสงค์เซลล์แสงอาทิตย์

                3. ผลงานวิจัยโครงงาน : การศึกษาอิทธิพลของลำดับการเคลือบชั้นฟิล์มที่มีต่อประสิทธิภาพของเซลล์แสงอาทิตย์ชนิดซิงค์ออกไซด์และแคดเมียมซัลไฟด์ควอนตัมดอทเซ็นซิไทเซอร์



รายงานโดย น.ส.ณภัค จีรวัชรโภคิน วันที่รายงาน 03/04/2566 [14024]
8100 50