2566 โครงการบริการคำปรึกษาและบริการข้อมูลด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี    0


รายงานความก้าวหน้า

ไตรมาส ผลการดำเนินงาน งบประมาณที่ใช้ ผู้รับบริการ
4 [15442]

จัดทำรายงานฉบับสมบูรณ์ 



รายงานโดย น.ส.ชลาลัย เหง้าน้อย วันที่รายงาน 12/09/2566 [15442]
0 0
4 [15306]

ช่องทาง

แผน

ผล

จำนวนผู้รับบริการคำปรึกษาทางเทคโนโลยี (คน)ข้อมูลผู้รับบริการต้องบันทึกในระบบคลินิกเทคโนโลยีออนไลน์เท่านั้น

60 คน

187 คน

จำนวนผู้รับบริการข้อมูลเทคโนโลยี

100 คน

252 คน

ร้อยละความพึงพอใจของผู้รับบริการ

80 %

91.23 %

จำนวนข้อมูลในระบบ CMO

20 ข้อมูล

187 ข้อมูล

จำนวนผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการพัฒนาใหม่

1 ผลิตภัณฑ์

2 ผลิตภัณฑ์

 

 

ประเด็น

ผลการดำเนินงาน

ผลกระทบ

วิธีการสกัดสารสำคัญจากกระท่อม

ให้บริการคำปรึกษาวิธีการสกัดสารสำคัญจากกระท่อม เพื่อเป็นการพัฒนาผลิตภัณฑ์พืชกระท่อมเพื่อการส่งออก โดยทางทีมคลินิกเทคโนโลยีให้ข้อมูลเบื้องต้น ด้วยเทคโนโลยี Spray dry ควบคู่กับการใช้เครื่อง rotary evaporator เครื่องอบ เครื่อง HPLC. และ เทคนิคแก๊สโครมาโทกราฟี (Gas Chromatography, GC) โดยคลินิกประสานการดำเนิงานเพื่อบูรณาการร่วมกับโรงงานต้นแบบเภสัชกรรมไทยมมาตรฐานGMP-PIC ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร

ได้ทำการลงนาม MoU ร่วมกันระหว่างหน่วยงาน เพื่อการใช้วัตถุดิบ เครื่องมือ และบุคลากรร่วมกัน

การลดขั้นตอนการเตรียมเส้นใย

นักศึกษาสาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการได้ทำโปรเจคการลดระยะเวลาของการทำเส้นด้าย ด้วยการทำเครื่องเข็นฝ้าย

พัฒนาเครื่องมือโดยบูรณาการกับการเรียนการสอน (โปรเจคนักศึกษา)

การเพาะพันธุ์ปลา

ปัจจุบันมีการเพาะพันธุ์ปลาตะเพียนเพื่อเป็นวัตถุดิบหลักในการทำปลาส้ม โดยจำหน่าย กิโลกัมละ 60 - 80 บาท

ส่งต่อวัตถุดิบให้กับกลุ่มปลาส้ม โดยกลุ่มปลาส้มมีรายได้เฉลี่ยเดือนละ 12,000 บาท

การใช้ประโยชน์จากเครื่องจักรเก่า

วางระบบเพื่อปรับลดการใช้เชื้อเพลิงให้ลดน้อยลง การปรับใช้เครื่องจักรที่มีอยู่แล้วให้เกิดประโยชน์ และการตลาดภายในประเทศ และการส่งออก

อยู่ระหว่างการส่งข้อเสนอโครงการ Talent mobility

การทำปุ๋ย

บูรณาการร่วมกับโครงการ U2T

ลดรายจ่ายจากการซื้อปุ๋ยเคมี 3,000 - 5,000 บาท (จากการเก็บข้อมูล U2T)

การแปรรูปผลิตภัณฑ์จากผ้า

บูรณาการร่วมกับโครงการ U2T โดยมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ กระเป๋า และเสื้อ

มีรายได้เพิ่มขึ้นจากเดิม 8,000 - 10,000 บาท

ประเด็น

ผลการดำเนินงาน

ผลกระทบ

การพัฒนาระบบธุรกิจหมากเม่าโดยการยกระดับไวน์หมากเม่าสกลนคร

ต่อยอดและคงฐานการดำเนินงานด้านหมากเม่า และเพื่อยกระดับธุรกิจหมากเม่าสกลนครให้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

เกิดไวน์เมกเกอร์ขึ้นใหม่จำนวน 24 ราย สรุปบทเรียนเพื่อการพัฒนาคนที่ไม่ได้รางวัล

การเลี้ยงสุกร

บูรณาการร่วมกับโครงการ U2T

ลดรายจ่ายจากค่าอาหาร 3,000 - 5,000 บาท

การดูแลสัตว์

บูรณาการร่วมกับโครงการ U2T

ได้แนวทางการดูแลสัตว์ วัว - ควาย - สุกร เบื้องต้น(จากการเก็บข้อมูล U2T)

การแปรรูปผลิตภัณฑ์จากข้าว

อบรมการทำข้าวแต๋นน้ำแตงโม โดยบูรณาการร่วมกันกับนิคมสร้างตนลำน้ำอูน ในการสนับสนุนงบประมาณในการถ่ายทอดองค์ความรู้

ทดลองจำหน่ายสินค้าในหน่วยงานราชการ และตามตลาดของทางหน่วยงานราชการจัดขึ้น

การแก้ไขปัญหาการเผาซังข้าวโพด

ถ่ายทอดองค์ความรู้การทำถ่านอัดแท่งจากซังข้าวโพด โดยการบูรณาการงบประมาณ โดยสมาคมผู้พิการจังหวัดแม่ฮ่องสอน เป็นผู้สนับสนุนงบประมาณ ปัจจุบันอยู่ระหว่างการเจรจาทางการค้า เพื่อส่งออกไปยังประเทศสโลวาเกีย

ขยายผลไปยังตลาดต่างประเทศ

การทำการตลาดออนไลน์

สอนการไลฟ์สด

1. มีเพจ แสนแปน-Sanpan ไม้กวาดมือเสือจากไม้ไผ่ ภูมิปัญญาท้องถิ่น 2. เพิ่มยอดขายจากการขายสินค้าในรูปแบบขายส่ง 10% จากเดิมขายส่งราคาต่อชิ้นๆละ 19 บาท (1000 ชิ้น/เดือน) ขายออนไลน์ 59 บาทต่อชิ้น (30-40 ชิ้น/เดือน)

การต่อยอดผลิตภัณฑ์ไม้กวาดมือเสือ

พัฒนาผลิตภัณฑ์เป็นไม้เกาหลัง ที่วางโทรศัพท์ โดยการบูรณาการร่วมกับพัฒนาชุมชนจังหวัดสกลนคร เป็นผู้สนับสนุนงบประมาณ

ได้รับคัดเลือกจากพัฒนาชุมชนจังหวัดสกลนคร เป็นตัวแทนของกลุ่ม OTOP เพื่อไปจำหน่ายสินค้าที่เมืองทองธานี (รายได้จากการจำหน่าย ประมาณ 50,000 - 60,000 บาท)

พัฒนาผลิตภัณฑ์จากกรุงเขมา

เก็บตัวอย่าง ทดลองผลิตภัณฑ์เป็นเจลลี่กรุงเขมาพร้อมทาน และเตรียมความพร้อมในการเขียนโครงการแฟลตฟอร์ม BCE

เตรียมเขียนโครงการในแฟลตฟอร์ม BCE ในปีงบประมาณ 2567

ออกแบบแปลน และสร้างโรงเรือนแปรรูปผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร

อยู่ระหว่างการออกแบบแปลน เพื่อได้แบบแปลนเพื่อนำไปสู่กระบวนการขอปลูกสร้าง

-



รายงานโดย น.ส.ชลาลัย เหง้าน้อย วันที่รายงาน 30/08/2566 [15306]
61975 252
3 [14639]
คลินิกเทคโนโลยี เข้าร่วมติดตามผลการดำเนินการให้บริการคำปรึกษาข้อมูลด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 
เพื่อติดตามผลของการให้บริการคำปรึกษาพบว่า มูลค่าที่ได้จากการให้คำปรึกษา ดังนี้
1. ผลิตภัณฑ์แปรรูปจากปลา 
  ผลิต เดือนละ 100 กก 
ต้นทุน 8,000 บาท
จำหน่าย 12,000 บาท
กำไร 4,000 บาท
2. ผลิตภัณฑ์สมุนไพร
        ยาดมโบราณ
  ผลิต เดือนละ 200 ชิ้น 
ต้นทุน 1,600 บาท
จำหน่าย 2,400 บาท
กำไร 800 บาท
        ยาหม่อง
  ผลิต เดือนละ 200 ชิ้น 
ต้นทุน 3,000 บาท
จำหน่าย 4,000 บาท
กำไร 1,000 บาท
3.กลุ่มแปรรูปไม้กวาดมือเสือบ้านหนองแสนแปน
        ผลิต เดือนละ 1,000 ชิ้น 
ต้นทุน 12,000 บาท
จำหน่าย 25,000 บาท
กำไร 13,000 บาท
4. สมาคมผู้ปกครองออทิสติกจังหวัดสกลนคร
          ทาง มทร.อีสาน วข.สกลนคร โดย ได้นำนักศึกษา ลงพื้นที่ ดูแลศูนย์เรียนรู้ของ สมาคม และปัจจุบันขยายผลสู่การทำโครงการเพื่อขอรับทุนสนับสนุนจาก กสศ. (กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา) ทำโครงการส่งเสริมอาชีพส้รางรายได้ให้กับกลุ่ม ปัจจุบันอยู่ระหว่างทำสัญญารับทุน
 
 
- ค่าจ้างเจ้าหน้าที่คลินิกเทคโนโลยี
- ค่าสาธารณูปโภค


รายงานโดย น.ส.ชลาลัย เหง้าน้อย วันที่รายงาน 04/07/2566 [14639]
60000 30
3 [14529]

          คลินิกเทคโนโลยีฯ ให้บริการคำปรึกษาการออกแบบแปลนโรงแปรรูปผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร วัดป่าชมพูพาน ต.สร้างค้อ อ.ภูพาน จ.สกลนคร  โดยคลินิกเทคโนโลยี พร้อมด้วยอาจารย์ทางด้านสาขาวิชาวิศวกรรมโยธา ลงพื้นที่เพื่อดูสถานที่ในการก่อสร้างอาคารแปรรูปฯ ซึ่งเป็นการรื้ออาคารฉันท์หลังเก่าที่ทรุดโทรมแล้วสร้างใหม่ ด้วยราคาสิ่งปลูกสร้างราคาประมาณ 500,000 บาท ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวอยู่ระหว่างออกแบบแปลน และประสานไปยังสาธารณสุขจังหวัดสกลนคร เพื่อให้อาคารแปรรูปฯนั้นเป็นไปตามที่ทางสาธารณสุขรับรอง 

           ในการให้บริการคำปรึกษานั้น ได้ดำเนินการไปแล้ว 2 ครั้ง คือ

           ครั้งที่ 1 ลงพื้นที่เพื่อดูสถานที่จริงกับอาจารย์ผู้ออกแบบแปลน

           ครั้งที่ 2 ประชุมออนไลน์ร่วมกัน ระหว่าง วัดชมพูภาน โดยพระอาจารย์  ทางทีมออกแบบ มทร.อีสาน วข.สกลนคร คลินิกเทคโนโลยีฯ และอาจารย์ชายกร  สินธุสัย เพื่อให้แนวทางในการออกแบบให้เป็นไปตามาตรฐาน

           ซึ่งตอนนี้ อยู่ระหว่างการออกแบบ



รายงานโดย น.ส.ชลาลัย เหง้าน้อย วันที่รายงาน 30/06/2566 [14529]
0 4
3 [14426]

เริ่มต้นจากสวนวรรณวงศ์ ที่เป็นศูนย์เรียนรู้หมากเม่า เครือข่ายหมู่บ้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อจะนำไปสู่การพัฒนาเป็นโรงเรียนหมากเม่า จากแนวคิดและความตั้งใจของท่านนายกสมาคมหมากเม่าสกลนคร อ.คนพ วรรณวงศ์ เจ้าของสวนวรรณวงศ์ ที่มีความตั้งใจ มุ่งมั่นเพื่อถ่ายทอดส่งต่อให้ลูกหลานได้ร่วมเรียนรู้ ในนามคลินิกเทคโนโลยี มทร.สกลนคร ซึ่ง ทำหน้าที่พาทเนอร์ในการสานต่อฐานข้อมูลหมากเม่า ที่ได้จากการศึกษารวบรวมจากท่าน ผศ.ดร. สุดารัตน์ สกุลคู เพื่อเป็นฐานในการเรียนรู้สืบต่อไป



รายงานโดย นางสาวชญาภา บุตรแสน วันที่รายงาน 12/06/2566 [14426]
0 5
3 [14399]

วันอังคารที่ 19 พฤษภาคม 2566 คลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร นำทีมโดย ผศ.สุภกาญจน์ พรหมขันธ์ อาจารย์ประจำสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร คณะทรัพยากรธรรมชาติ ได้ดำเนินการอบรมเชิงปฏิบัติการการทำข้าวแต๋น ซึ่งเป็นการแปรรูปผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรเพื่อส่งเสริมการสร้างอาชีพเสริมให้กับสมาชิกนิคมสร้างตนเองลำน้ำอูน จังหวัดสกลนคร



รายงานโดย นางสาวชญาภา บุตรแสน วันที่รายงาน 29/05/2566 [14399]
15000 30
3 [14375]

วันอังคารที่ 18 เมษายน 2566 คลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร นำทีมโดย ผศ.สุภกาญจน์ พรหมขันธ์ อาจารย์ประจำสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร คณะทรัพยากรธรรมชาติ ได้ให้บริการคำปรึกษาเกี่ยวกับการแปรรูปผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรเพื่อส่งเสริมการสร้างอาชีพเสริมให้กับสมาชิกนิคมสร้างตนเองลำน้ำอูน จังหวัดสกลนคร



รายงานโดย นางสาวชญาภา บุตรแสน วันที่รายงาน 02/05/2566 [14375]
0 10
3 [14374]

คลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร นำทีมโดย ผศ.ดร.สัณหวัจน์ ทองแดง รองคณบดีฝ่ายวิชาการและวิจัยคณะอุตสาหกรรมและเทคโนโลยี และ อาจารย์บัญชา ล้ำเลิศ , อาจารย์ศรายุทธ พลสีลา , อาจารย์อภิชาติ อาแพงพัน ได้ให้บริการคำปรึกษาเกี่ยวกับการผลิตถ่านอัดแท่งคุณภาพสูงให้กับคนพิการและผู้ดูแลคนพิการและการลดการเผาขยะทางการเกษตรในที่โล่งเพื่อหมอกควันและลดค่าฝุ่น pm 2.5 และจัดโครงการการอบรมเชิงปฏิบัติการ การส่งเสริมอาชีพคนพิการผลิตถ่านอัดแท่งคุณภาพสูง ณ เทศบาลตำบลแม่ลาน้อย อำเภอแม่ลาน้อย จังหวัดแม่ฮ่องสอน ในระหว่างวันที่ 3-7 เมษายน 2566 โดยมีท่านหัวหน้าพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เป็นประธาน พร้อมด้วยท่านนายอำเภอแม่ลาน้อย และท่านนายกเทศมนตรีตำบลแม่ลาน้อย



รายงานโดย นางสาวชญาภา บุตรแสน วันที่รายงาน 02/05/2566 [14374]
24360 50
2 [13801]

คลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร ได้จัดกิจกรรมเพื่อเป็นการต่อยอดและคงฐานการดำเนินงานด้านหมากเม่า และเพื่อยกระดับธุรกิจหมากเม่าสกลนครให้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยการร่วมเสวนาเพื่อยกระดับธุรกิจหมากเม่าสกลนคร ร่วมกันระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิเช่น เกษตรจังหวัดสกลนคร มทร.อีสาน วข.สกลนคร มรภ.สกลนคร มก.วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จ.สกลนคร และหน่วยงานภาคเอกชน เพื่อวิพากษ์และยกระดับไวน์หมากเม่าสกลนคร



รายงานโดย นางสาวชญาภา บุตรแสน วันที่รายงาน 14/03/2566 [13801]
43200 40
2 [13800]

คลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร ได้จัดกิจกรรมworkshop สอนทำเทียนหอมและให้บริการคำปรึกษาแนะนำเกี่ยวกับการควบคุมศัตรูพืชโดยใช้น้ำหมักและสมุนไพร การทำปุ๋ยหมักชีวภาพ และปุ๋ยน้ำหมักดูแลต้นไม้ ในระหว่างวันที่ 10 -16 ก.พ. 66 ณ งานเกษตรและเทคโนโลยีพื้นบ้านอีสาน คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร



รายงานโดย นางสาวชญาภา บุตรแสน วันที่รายงาน 14/03/2566 [13800]
15000 256
2 [13799]

คลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร เข้าร่วมจัดนิทรรศการและกิจกรรมเวิร์คช็อปและให้บริการคำปรึกษาแนะนำเกี่ยวกับการควบคุมศัตรูพืชโดยใช้น้ำหมักและสมุนไพร การทำปุ๋ยหมักชีวภาพ และปุ๋ยน้ำหมักดูแลต้นไม้ ในระหว่างวันที่ 13 - 22 มกราคม 2566 ในงานรวมน้ำใจไทสกล (งานกาชาด) ประจำปี 2566 ณ ลานหน้าศาลากลางจังหวัดสกลนคร



รายงานโดย นางสาวชญาภา บุตรแสน วันที่รายงาน 14/03/2566 [13799]
15465 356
1 [13677]

1.ให้บริการคำปรึกษาโรงงานมันสำปะหลังยงแสงไทย วันที่ 4 พฤศจิกายน 2565 คลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร นำโดย อาจารย์พรศิลป์ อุบาลี อาจารย์ประจำสาขาวิศวกรรมอุตสาหการ ได้เข้าให้บริการคำปรึกษา ณ โรงงานมันสำปะหลังยงแสงไทย อ.พังโคน จ.สกลนคร เกี่ยวกับการวางระบบเพื่อปรับลดการใช้เชื้อเพลิงให้ลดน้อยลง การปรับใช้เครื่องจักรที่มีอยู่แล้วให้เกิดประโยชน์ และการตลาดภายในประเทศ และการส่งออก 



รายงานโดย นางสาวชญาภา บุตรแสน วันที่รายงาน 07/12/2565 [13677]
0 5
1 [13676]

1.ให้บริการคำปรึกษาชมรมผู้ปกครองบุคคลออทิสติกสกลนคร คลินิกเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสานร่วมให้บริการคำปรึกษาแหล่งสร้างอาชีพและรายได้ให้กับครอบครัวคนพิเศษ วันที่ 3 พฤศจิกายน 2565 คลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร ร่วมกับศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดสกลนคร. ร่วมให้บริการคำปรึกษาพัฒนาศักยภาพของชมรมผู้ปกครองบุคคลออทิสติกสกลนคร นำโดย ผศ.ดร.ราตรี พระนคร และผศ.ดร.ปราโมทย์ เหลาลาภะ ให้บริการคำปรึกษากับชมรมผู้ปกครองบุคคลออทิสติกสกลนคร บริการความรู้ที่เกี่ยวข้องกับคนพิเศษและครอบครัวแหล่งสร้างอาชีพและรายได้ให้กับครอบครัวคนพิเศษ และการเป็นศูนย์อบรมให้ความรู้ โดยภายในศูนย์เรียนรู้ มีฐานการเรียนรู้จำนวน 5 ฐาน ได้แก่ 1. ฐานเรียนรู้ STS ฐานข้อมูลคนพิการ 2. ฐานปลูกสมุนไพรร่วมปลูกต้นกรุงเขมา 3. ฐานเลี้ยงไส้เดือน 4. ฐานเรียนรู้การปลูกเม่า และ 5. ฐานเรียนรู้บ้านดิน และ ปฏิบัติการสร้างบ้านดิน เพื่อให้ผู้ที่สนใจเข้ามาเรียนรู้ สู่การพึ่งพาตนเองสร้างอาชีพและรายได้ของสมาชิกชมรม และผู้คนที่สนใจสำหรับคนพิเศษและคนที่สนใจทั่วไป ณ ชมรมผู้ปกครองบุคคลออทิสติก จังหวัดสกลนคร ตำบลนาหัวบ่อ อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร 



รายงานโดย นางสาวชญาภา บุตรแสน วันที่รายงาน 07/12/2565 [13676]
0 20
1 [13675]

ให้บริการคำปรึกษาพัฒนาศักยภาพกลุ่มไม้กวาดมือเสือ  คลินิกเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสานร่วมให้บริการคำปรึกษาการพัฒนาศักยภาพกลุ่มไม้กวาดมือเสือบ้านหนองแสนแปน เมื่อวันที่ 11 - 12 ตุลาคม 2565 คลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร ร่วมกับพัฒนาชุมชนจังหวัดสกลนคร และพัฒนาชุมชนอำเภอสว่างแดนดิน ร่วมให้บริการคำปรึกษาพัฒนาศักยภาพกลุ่มไม้กวาดมือเสือ นำโดย อ.เดือนรุ่ง สุวรรณโสภา รองผู้อำนวยการคลินิกเทคโนโลยี พร้อมด้วย ผศ.ศิริพร สารคล่อง,​ ผศ.ดร.ราตรี พระนคร, ดร.ปิยวิทย์ เกษร, ดร.ไพโรจน์ ภัทรปรีชา, ดร.รัตติกาล สุวรรณสิงห์ และนางสาวชลาลัย เหง้าน้อย ให้บริการคำปรึกษากับกลุ่มไม้มือเสอบ้านหนองแสนแปน การเพิ่มศักยภาพของผลิตภัณฑ์ การกำหนดราคา การคำนวณต้นทุน การบริหารจัดการกลุ่ม การเพิ่มความหลากหลายของสินค้า และการทำการตลาดออนไลน์​ โดยผลจากให้บริการคำปรึกษาดังกล่าว สามารถออกแบบตราสินค้าให้กลุ่ม และเรียนรู้วิธีการขายของออนไลน์บน Market Place และการ Live สดเพื่อจำหน่ายสินค้า ทาง Facebook

 

2. ให้บริการคำปรึกษาวิธีการสกัดสารสำคัญจากกระท่อม คลินิกเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสานร่วมให้บริการคำปรึกษา วิธีการสกัดสารสำคัญจากกระท่อม เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2565 คลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร ให้บริการคำปรึกษาวิธีการสกัดสารสำคัญจากกระท่อม เพื่อเป็นการพัฒนาผลิตภัณฑ์พืชกระท่อมเพื่อการส่งออก โดยทางทีมคลินิกเทคโนโลยี ซึ่งผู้เชี่ยวชาญให้ข้อมูลเบื้องต้น โดย ผศ.ดร.ราตรี พระนคร , ผศ.กรรณิการ สมบุญ และ ผศ.ศิริพร สารคล่อง ให้ข้อมูลเบื้องต้น ด้วยเทคโนโลยี Spray dry ควบคู่กับการใช้เครื่อง rotary evaporator เครื่องอบ เครื่อง HPLC. และ เทคนิคแก๊สโครมาโทกราฟี (Gas Chromatography, GC) โดยคลินิกประสานการดำเนิงานเพื่อบูรณาการร่วมกับโรงงานต้นแบบเภสัชกรรมไทยมมาตรฐานGMP-PIC ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร



รายงานโดย น.ส.ชลาลัย เหง้าน้อย วันที่รายงาน 06/12/2565 [13675]
20000 40