2566 ศูนย์บริการให้คำปรึกษาและเผยแพร่ข้อมูลด้านเทคโนโลยี (TCS)    0


รายงานความก้าวหน้า

ไตรมาส ผลการดำเนินงาน งบประมาณที่ใช้ ผู้รับบริการ
4 [15565]

รายงานความก้าวหน้าครั้งที่4

วันที่ 15 กรกฎาคม 2566 คลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยขอนแก่น วิทยาเขตหนองคาย นำโดยนายสุพีระ  วรแสน ดร.นิศารัตน์ ทิพยดารา นายเฉลิมเกียรติ  เขียวทอง และตัวแทนผู้รับบริการ ท่านดร.สมบัติ สิงห์สี เข้าร่วมนำเสนอรายงานการทำงานของคลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยขอนแก่น วิทยาเขตหนองคาย ในแพลตฟอร์มที่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณในปีพศ.2566  ณ.อุทยานวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่นร่วมกับสถาบันการศึกษาใกล้เคียง การนำเสนอได้รับข้อเสนอแนะจากคณะกรรมการในการทำงานของปีที่ผ่านมาและเสนอแนะให้ทำงานในอนาคตงบประมาณที่ใช้ 5,000 บาท

วันที่ 23 กรกฎาคม 2566 หน่วยงานคลีนิค​เทคโนโลยี มหาวิทยาลัยขอนแก่นวิทยาเขต หนองคาย นำโดยนายสุพีระ  วรแสน ดร.นิศารัตน์  ทิพยดารา ได้ร่วมมือกับ สำนักงานประมงจังหวัดหนองคาย นำโดยดร.สุทัศน์ เผือกจีน ร่วมกับศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืดหนองคาย นำโดย ผู้อำนวยการ ปวีณา​ ผิวขำ ร่วมกับศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืดอุดรธานี นำโดย ดร.สมบัติ​ สิงห์สี ร่วมกับสำนักงานสหกรณ์จังหวัดหนองคายนำโดย นาย อุดม​ กุศล ลงพื้นที่ตำบลวังหลวง อำเภอเฝ้าไร่ จังหวัดหนองคาย ณ.สวนบุญล้วนล้วน ของนาย บุญล้วนและเกษตรกรในพื้นที่จำนวน10ราย ในการลงเก็บข้อมูลเพื่อนำมาเขียนโครงการในแพลตฟอร์ม SCI (Science Village)หมู่บ้านปลาบึกครบวงจร ตำบลวังหลวง จังหวัดหนองคาย เพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม(อว.)ในปีงบประมาณ2567 การเก็บข้อมูลเป็นไปด้วยความเรียบร้อย ผู้เข้าร่วมได้รับความรู้ด้านการเลี้ยงปลาบึกแบบ360องศา จากท่านประมงจังหวัดหนองคาย และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ถึงการเลี้ยงปลาบึกอย่างเข้มข้น มีผู้เข้าร่วมอบรมจำนวน 30 คน งบประมาณที่ใช้จำนวน 5,000 บาท
               วันที่ 24 กรกฎาคม 2566 คลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยขอนแก่นวิทยาเขตหนองคาย นำโดย นาย สุพีระ  วรแสน ดร.นิศารัตน์  ทิพยดารา ดร.ธีระวุฒิ  ธีตรานนท์  ร่วมกันลงพื้นที่เก็บข้อมูลและบริการให้คำปรึกษา ณ.สวนกาแฟโกโก้ ของกลุ่มกาแฟโกโก้ สังคม หนองคาย ในตำบลบ้านม่วง อำเภอสังคม จังหวัดหนองคาย พบกับสมาชิกในกลุ่มเพื่อนำมาเขียนโครงการเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณในปีงบประมาณ2567 ในแพลตฟอร์ม BCE(เพิ่มศักยภาพธุรกิจชุมชน) พบปะพูดคุยถึงสภาพโดยรวม สภาพปัญหา แนวทางการแก้ปัญหาและการทำงานในอนาคต เพื่อการร่วมงานในพื้นที่ในอีก1-3ปีข้างหน้ามีผู้เข้าร่วมกิจกรรมจำนวน 10 คน งบประมาณที่ใช้จำนวน 2,000 บาท

วันที่ 30 กรกฎาคม 2566 คลินิกเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยขอนแก่นวิทยาเขตหนองคาย นำโดย นายสุพีระ  วรแสน  ดร.นิศารัตน์  ทิพยดาราร่วมกับทีมงานจากงานคอมพิวเตอร์และสารสนเทศ คณะสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น  ลงพื้นที่ ตำบลค่ายบกหวาน อ.เมือง จ.หนองคาย พบปะให้บริการคำปรึกษาให้กับกลุ่มทอผ้าพื้นเมืองค่ายบกหวาน วางแผนช่วยเหลือในด้านการตลาดให้ทางกลุ่มเพื่อขยายตลาดในลำดับต่อไปมีผู้เข้าร่วมกิจกรรมจำนวน 10 คนงบประมาณที่ใช้จำนวน 2,000 บาท

วันที่ 14-15 สิงหาคม 2566 คลินิกเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยขอนแก่นวิทยาเขตหนองคาย นำโดย นายสุพีระ  วรแสน  ดร.นิศารัตน์  ทิพยดารา เข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการ เครือข่าย อว. เพื่อพัฒนาศักยภาพจังหวัด ด้วยวิทยาศาสตร์ วิจัยและ นวัตกรรม ประจำปี 2566 ณ.เมืองทองธานี กทม.และเข้าร่วมในงานTechno Mart 2023 พร้อมกันนี้ยังได้มีการนำเสนอการทำงานของคลินิกในปีงบประมาณ2566ที่ผ่านมาให้กับเครือข่านย อว.และคณะกรรมการที่มาในงานในครั้งนี้ด้วย งบประมาณที่ใช้ 13,000 บาท

วันที่18-19 สิงหาคม 2566 คลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยขอนแก่น วิทยาเขตหนองคาย สร้างความร่วมมือและสร้างรายได้ให้กับคณะสหวิทยาการเพื่อต่อยอดโครงการในระยะต่อไปกับโครงการเพาะพันธุ์ปลาคณะสหวิทยาการ โดยได้รับความร่วมมือจาก สำนักงานประมงจังหวัดอุดรธานี ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืดอุดรธานี สำนักงานประมงจังหวัดหนองคาย ศูนย์วิจัยและพัฒนาเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืดหนองคาย พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำจังหวัดหนองคาย คลินิกเทคโนโลยี คณะสหวิทยาการ เริ่มตั้งแต่การให้ความรู้ด้านวิชาการ การฉีดฮอร์โมน การใช้เทคนิคการเพาะฟักแบบเคลื่อนที่ การฟักไข่ปลา การอนุบาลลูกปลา การปล่อยปลาลงบ่ออนุบาลมีผู้เข้าร่วมอบรมจำนวน 30 คน งบประมาณที่ใช้จำนวน 10,000 บาท



รายงานโดย นายสุพีระ วรแสน วันที่รายงาน 17/09/2566 [15565]
25000 100
3 [14534]

รายงานความก้าวหน้าครั้งที่3

วันที่ 24 มีนาคม 2566 คลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยขอนแก่นวิทยาเขตหนองคาย นำโดย ดร.นิศารัตน์ ทิพยดารา นายสุพีระ วรแสนผู้ประสานงาน ลงพื้นที่วิสาหกิจชุมชนบ้านโคกป่าฝาง ตำบลปะโค อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย พบปะผู้ประกอบการ ในเขตพื้นที่ใกล้เคียงมหาวิทยาลัยที่ได้ร่วมมือกัน วันนี้ลงพื้นที่ให้บริการปัญหาเกี่ยวกับเครื่องจักรสำหรับบดหัวปลาขนาดใหญ่เพื่อนำมาทำเป็นอาหารปลาและวัตถุดิบตั้งต้นในการผลิตปุ๋ยชีวภาพ และแลกเปลี่ยนเรียนรู้การแปรรูปปลาตะเพียนขาวว่ายังมีส่วนไหนที่สามารถแปรรูปเพิ่มมูลค่าได้มากกว่าเดิมขึ้นไปอีกจนเกิดเป็น Zero waste ปรึกษาเกี่ยวกับการสร้างเครือข่ายผู้เลี้ยงและผู้รับซื้อปลาตะเพียนขาว มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม 10 คน

 

วันที่ 28 มีนาคม 2566 คลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยขอนแก่น วิทยาเขตหนองคายและศูนย์AIC หนองคาย คณบดีคณะสหวิทยาการ พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร คณาจารย์และเจ้าหน้าที่ให้การต้อนรับ "อธิบดีกรมส่งเสริมการค้า กระทรวงอุตสาหกรรมและพาณิชย์" และคณะเจ้าหน้าที่จากกระทรวงฯจากสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวได้มาดูงานแลกเปลี่ยนบทบาทกับทางคณะสหวิทยาการ ในเรื่องการทำงานบริการวิชาการแก่ชุมชนของ(คลีนิคเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยขอนแก่น วิทยาเขตหนองคาย) (การทำงานของAIC )อันมีบทบาทในการบริการวิชาการแก่ชุมชนการผลักดันผู้ประกอบการระดับต่างๆให้เป็นผู้ประกอบการที่มีความเข้มแข็ง หลังจากนั้นจะเป็นการแนะนำผู้ประกอบการที่มีส่วนได้ส่วนเสียกับการร่วมงานกับทางคลินิกเทคโนโลยีและAIC การตอบข้อซักถามของคณะดูงานและการเยี่ยมชมนิทรรศการที่จัดโดยผู้ประกอบการบรรยากาศเป็นไปด้วยความรู้และความสมานสามัคคีของทั้งสองฝ่ายไทยและลาวผู้เข้าร่วมกิจกรรมประมาณ 50 คน

วันที่ 23 พฤษภาคม 2566 คลินิกเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยขอนแก่นวิทยาเขตหนองคาย นำโดย รศ.ดร.กฤษดาค้าเจริญ ดร.นิศารัตน์ทิพยดารา นาย สุพีระ วรแสน ได้รับเกียรติจากสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดหนองคายในการจัดอบรมเกษตรกร ในโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์สินค้าชุมชน ประเภทผลิตภัณฑ์ปศุสัตว์ณ.ที่ทำการวิสาหกิจชุมชนผู้เลี้ยงโคเนื้อบ้านโคกคำ ตำบลพระธาตุบังพวน อำเภอเมืองหนองคาย จังหวัดหนองคาย มีการให้ความรู้ด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ การตลาด การขนส่งสินค้าปศุสัตว์ได้รับทั้งความรู้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กันอย่างเป็นกันเอง มีผู้เข้าร่วมกิจกรรรมจำนวน 30 คน

วันที่ 25 มิถุนายน 2566 คลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยขอนแก่น วิทยาเขตหนองคาย นำโดย นาย สุพีระวรแสน ดร.นิศารัตน์ ทิพยดารา อ.ธีระวุฒิ ธีตรานนท์ ได้รับเกียรติจาก ดร.สมบัติ สิงห์สี.ผอ.ศพจ.อุดรธานี ในการลงพื้นที่ พบเกษตรกรตำบลกุดจับ จังหวัดอุดรธานี ในการลงไปให้ความรู้ในการเลี้ยงหอยเชอรี่สีทอง การเลี้ยงปลาตะเพียนขาว การเลี้ยงกบในกระชัง การจัดตั้งกลุ่ม การคิดหาวิธีการแปรรูปหอยเชอรี่ การแปรรูปปลาตะเพียน การแปรรูปกบ ได้รับความสนใจจากเกษตรกรในพื้นที่กว่า 20 ชีวิต พร้อมทั้งมีการลงไปในแปลงของเกษตรกรพร้อมให้ความรู้ในการหาพื้นที่เหมาะสมในการทำบ่ออนุบาลปลาตะเพียนอีกด้วย มีผู้เข้าร่วมกิจกรรรมจำนวน 20 คน

ผู้เข้าร่วมกิจกรรมทั้งหใดจำนวน 110 คน

งบประมาณทั้งสิ้นจำนวน 45,000 บาท



รายงานโดย นายสุพีระ วรแสน วันที่รายงาน 02/07/2566 [14534]
45000 110
2 [13871]

รายงานความก้าวหน้าครั้งที่1

วันที่ 11 พฤศจิกายน 2565 คลินิกเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยขอนแก่น วิทยาเขตหนองคาย นำโดย ดร.นิศารัตน์ ทิพยดารา นาย สุพีระ วรแสน ได้รับเกียรติจาก นายอำพล จินดาวงค์ ประมงจังหวัดอุดรธานี นายสมบัติ สิงห์สี ผอ.ศพจ.อุดรธานี เข้าพบปะทหารที่เข้ารับการถ่ายทอดการเพาะเลี้ยงปลานิล ณ ค่ายพระยาสุนทรธรรมธาดา อ.เมืองอุดรธานี และหารือกับหน่วยทหาร พัน.1.ร.13 เกี่ยวกับการเพาะเลี้ยงปลานิลและกบ การเตรียมกระชังจุดใหม่ในแหล่งน้ำที่มีสัตว์นักล่าเช่นปลาชะโด  การทำอาหารปลาอาหารกบแบบลดต้นทุน การเพาะเลี้ยงผำประสิทธิภาพสูง เพื่อเตรียมพื้นที่รองรับการรับเสด็จฯให้มีความพร้อมทุกจุดในค่ายทหาร ภายใต้โครงการ ทหารพันธุ์ดีงบประมาณที่ใช้ 5,000บาท

วันที่ 12 พฤศจิกายน 2565คลินิกเทคโนโนโลยี มหาวิทยาลัยขอนแก่น วิทยาเขตหนองคาย นำโดย ดร.นิศารัตน์ ทิพยดารา นาย สุพีระ วรแสน และคลินิกเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี นำโดย นายอรุณศักดิ์ ไชยอุบล นายจักรรัตน์ บุญภา ได้รับเกียรติจาก นายสมบัติ สิงห์สี ผอ.ศพจ.อุดรธานี ในการเข้าพบปะพูดคุยแนวทางการจัดการปัญหาน้ำใช้มีกลิ่นตกค้างในระบบ ณ.ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืดอุดรธานี บริเวณริมอ่างเก็บน้ำเขื่อนห้วยหลวง บ้านโคกสะอาด ตำบลโคกสะอาด อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี ได้รับความรู้และแนวทางการแก้ไขด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจากผู้เชี่ยวชาญ นายอรุณศักดิ์ เป็นไปด้วยความเรียบร้อย นับเป็นการทำงานร่วมกันของหน่วยงานคลินิกในพื้นที่ใกล้เคียง บูรณาการให้เกิดประโยชน์กับหน่วยงานอื่นอย่างมีประสิทธิภาพ งบประมาณที่ใช้ 10,000 บาท

วันที่19-21 พฤศจิกายน 2565 คลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยขอนแก่น วิทยาเขตหนองคายและคณะจากมหาวิทยาลัยขอนแก่น เข้าร่วม การประชุมเชิงปฏิบัติการ การขับเคลื่อนและส่งเสริมการใช้ประโยชน์งานด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมในระดับภูมิภาค ประจำปี 2567-2670ณ โรงแรมปาร์ค กรุงเทพฯ

รายชื่อผู้เข้าร่วม

1. ศาตราจารย์ธิดารัตน์ บุญมาศ รองอธิการบดีฝ่ายนวัตกรรมและวิสาหกิจ

2. รองศาสตราจารย์จุรีรัตน์ ดาดวง คณบดีคณะเทคนิคการแพทย์

3. ผู้ช่วยศาสตราจารย์พัชราภรณ์ ทิพยวัฒน์ รองคณบดีฝ่ายวิจัย นวัตกรรมและวิสาหกิจ คณะเทคนิคการแพทย์

4. นางสาววราภรณ์ ผิวพรรณงาม รองผู้อำนวยการศูนย์บริหารเทคโนโลยีและนวัตกรรม

5.ดร.อภิรชัย วงษ์ศรีวรพล  ผู้อำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

6.นาย สุพีระ  วรแสน ผู้ประสานงานคลินิกฯ

7.ดร.นิศารัตน์ ทิพยดารา ผู้ประสานงานคลินิกงบประมาณที่ใช้จำนวน 20,000 บาท

               วันที่ 10ธันวาคม 2565  คลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยขอนแก่น วิทยาเขตหนองคายนำโดย ดร.นิศารัตน์  ทิพยดารา ผศ.ดร.มัชฌิมา วีรศิลป์ อาจารย์ประจำสาขาวิชาศิลปะศาสตร์และศึกษาศาสตร์ ลงพื้นที่ร่วมกับศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืดอุดรธานี ในการเสวนาและให้ความรู้กับเกษตรกร ในอำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี เรื่องเทคนิกการสร้างสรรค์อาหารจากพืชน้ำในบริบทของความเป็นไทย บัวลอยไข่ผำงบประมาณ 5,000 บาท

               วันที่ 26-27 ธันวาคม 2565 คลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยขอนแก่น วิทยาเขตหนองคายนำโดย รศ.ดร.กฤษดา  ค้าเจริญ ได้รับเกียรติจาก สำนักงานปฏิรูปที่ดินจังหวัดหนองคาย ให้เป็นวิทยากรในโครงการระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ข้าว ตำบลอุดมพร อำเภอเฝ้าไร่ จังหวัดหนองคาย เป็นวิทยากรในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ การพัฒนาบรรจุภัณฑ์ การตลาดออนไลน์และออฟไลน์ งบประมาณ 5,000 บาท

วันที่ 5 มกราคม 2565 คลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยขอนแก่น วิทยาเขตหนองคายเข้าร่วมประชุมร่วมกับสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ได้กำหนดจัดประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง แผนปฏิบัติการและแนวทางการขับเคลื่อนงานด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม สู่การพัฒนาภูมิภาค ประจำปี 2567 - 2570 ณ ห้องประชุม ชั้น 3A อาคารพระจอมเกล้าฯ สป.อว. (โยธี) ในรูปแบบการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (e-Meeting) ด้วยโปรแกรม Zoom Cloud Meeting ร่วมกับเครือข่ายจากทั่วประเทศ

รวมใช้งบประมาณในไตรมาสนี้จำนวน 45,000 บาท

จำนวนผู้รับถ่ายทอดเทคโนโลยีจำนวน 200 คน

รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 2

วันที่ 10 มกราคม 2566 คลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยขอนแก่น วิทยาเขตหนองคาย นำโดย ดร.นิศารัตน์ ทิพยดารา และนาย สุพีระ  วรแสน ผู้ประสานงานคลินิกฯ ได้รับเกียรติจาก นายเดชา รอดระวัง ประมงจังหวัดอุดรธานีและดร.สมบัติ สิงห์สี ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาการประจำสำนักงานเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืดอุดรธานี เข้าร่วมต้อนรับ พล.อ.วิจักขฐ์  สิริบรรลพ ที่ปรึกษาพิเศษประจำสำนักงานมูลนิธิชัยพัฒนาและคณะ ในการตรวจเยี่ยมความคืบหน้าในโครงการทหารพันธุ์ดี ณ ค่ายพระยาสุนทรธรรมธาดา ร.13 พัน1 จังหวัดอุดรธานีงบประมาณที่ใช้จำนวน 5,000 บาท

วันเสาร์ที่ 21 มกราคม 2566 คลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยขอนแก่น วิทยาเขตหนองคาย ได้รับเกียรติจาก นายเดชา รอดระรัง ประจังหวัดอุดรธานี พร้อมด้วย ดร.สมบัติ สิงห์สี ผอ.ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืดอุดรธานี และอาจารย์คณะสหวิทยาการ ม.ขอนแก่น วิทยาเขตหนองคาย ลงพื้นที่แปลงใหญ่ปลาตะเพียนอำเภอไชย เพื่อรับฟังการบรรยายสรุปการดำกิจการที่ผ่านมา รวมถึงรับฟังปัญหาต่างพอสรุปได้ดังนี้

1.มีสมาชิกบ้างส่วนสามารถเลี้ยงปลาตะเพียนได้ผลดี

2.สมาชิกบางรายสามารถแปรรูปปลาตะเพียนขายได้ดี แต่วัตถุดิบปลาตะเพียนไม่เพียงพอ

3.ด้านปัญหาอุปสรรค

3.1 กลุ่มได้รับงบอุดหนุนแปลงใหญ่ยกระดับ ปี 2564 งบประมาณ 2.5 ล้านเศษ

-เครื่องผลิตอาหารปลา (สมาชิกไม่มีความเชื่อมั่นอาหารที่ผลิต, วัตถุดิบมีราคาสูง, ผู้ควบคุมการผลิตมีเพียงคนเดียวและมีภารกิจประจำ, เครื่องเสียบ่อย)

-Mobile Hatchery ยังติดปัญหาเพาะปลาแล้วลูกปลารอดน้อยมาก

3.2 เกษตรกรบางส่วนยังเข้าใจวิธีการเลี้ยงปลาตะเพียนไม่ถูกต้อง

สนง.ปจ.และ ศูนย์ฯ ได้ให้ความมั่นใจว่าจะเข้าไปขับเคลื่อนแปลงใหญ่นี้ให้ดำเนินการบรรลุตามเป้าหมาย 5 ด้าน ของแปลงใหญ่ ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ และการเครื่องมือที่ได้จากแปลงใหญ่ยกระดับให้คุ้มค่า คุ้มงบประมาณที่ได้รับ งบประมาณที่ใช้จำนวน 5,000 บาท

วันจันทร์ที่ 23 มกราคม 2566 คลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยขอนแก่น วิทยาเขตหนองคาย ร่วมกับ สป.อว.ร่วมมือกันจัดงานต้อนรับท่านดนุช ตันเทอดทิตย์ เลขานุการ รมว.อว.ให้เกียรติเป็นประธานเปิดโครงการส่งเสริมการตลาดเพื่อประขาสัมพันธ์และแนะนำผลิตภัณฑ์สินค้า U2T for BCG ณ บริเวณลานจัดจำหน่ายสินค้าโอทอป จ.หนองคาย มีกิจกรรมเสวนาในช่วงเช้าและการไลฟ์เปิดตลาดU2Tในช่วงบ่าย  การจัดงานในครั้งนี้ มี ผปก. ที่ได้รับการพัฒนาจากโครงการ U2T มาแสดงสินค้า และมาให้ข้อมูลความต้องการในการพัฒนาเพิ่ม โดยมี หน่วยปฎิบัติการเครือข่าย อว. ภูมิภาค หรือ ปค.ภาคอีสาน มารับประเด็นความต้องการของ ผปก. เพื่อนำไปสู่การเข้าร่วมโครงการต่างๆ ของ สป.อว. เช่น อุทยานวิทย์ฯ คลินิกเทคโนโลยี UBI คูปองวิทย์โอทอป เครื่องจักรชุมชน เป็นต้น ขอขอบคุณ คลินิกเทคโนโยี มข.หนองคาย ที่เป็นเจ้าภาพ บูรการการทำงานร่วมกับทาง มข. และ มรภ.อุดรธานี ร่วมด้วยเจ้าหน้าที่จากสป.อว.งบประมาณที่ใช้จำนวน 15,000 บาท

               วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2566 คลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยขอนแก่น วิทยาเขตหนองคาย ได้รับเกียรติจาก ดร.สมบัติ สิงห์สี ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและเพาะพันธ์สัตว์น้ำจืด อุดรธานี ลงพื้นที่เพื่อถอดองค์ความรู้เกี่ยวกับแผนขับเคลื่อนงานส่งเสริมการเพาะเลี้ยงและพัฒนาธุรกิจสัตว์น้ำจืดที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ ประจำปีงบประมาณ 2566 (ปลาตะเพียนขาว) ณ วิสาหกิจชุมชนแปลงใหญ่ปลาตะเพียนขาว อำเภอไชวาน จังหวัดอุดรธานีงบประมาณที่ใช้จำนวน 5,000บาท

วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2566 คลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยขอนแก่น วิทยาเขตหนองคาย นำโดยนาย สุพีระ  วรแสน  ดร.นิศารัตน์ ทิพยดารา นาย เฉลิมเกียรติ เขียวทอง ได้เข้าร่วมเป็นเกียรติแก่ผู้ศึกษาโครงการ การพัฒนาต้นแบบการผลิตหอยเชอรี่คุณภาพสูงในระบบปิดเชิงพาณิชย์ ณ ฝ่ายผลิตพันธุ์สัตว์น้ำห้วยหลวง ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืดอุดรธานี ในกิจกรรมครั้งนี้ได้มีการเสวนาผู้มีส่วนร่วมในการทำงานวิจัยและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ได้แก่ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืดอุดรธานี, ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืดอำนาจเจริญ, ประมงจังหวัดอุดรธานี, ประมงจังหวัดหนองคาย, เกษตรและสหกรณ์อุดรธานี, มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี, มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, คณะสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, กองพันทหารราบที่1 กรมทหารราบที่ 13 และเกษตรกรในพื้นที่ ในการนี้เกษตรกรผู้เลี้ยงหอยเชอรี่มาสาธิตวิธีการเลี้ยงหอยเชอรี่สีทอง และมีผลิตภัณฑ์แปรรูปจากหอยเชอรี่มาให้ทดลองทาน จากฝีมือของคลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยขอนแก่น วิทยาเขตหนองคาย เช่น หอยเชอรี่กรอบสามรส น้ำพริกนรกหอยเชอรี่ และหอยเชอรี่สดลวกจิ้มกับน้ำจิ้มรสเด็ดจากฝีมือของเกษตรกร นาย อนันต์ ชาญนรา การให้ความรู้ด้านการจัดการของเสียในห้องปฏิบัติการทั้งออนไลน์และออฟไลน์ โดย นาย ดลบันดาล  ทะสาและนายเฉลิมเกียรติ  เขียวทอง เป็นต้นงบประมาณที่ใช้จำนวน 15,000 บาท

               วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2566 คลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยขอนแก่น วิทยาเขตหนองคาย นำโดย นายสุพีระ  วรแสน ดร.นิศารัตน์ ทิพยดารา ให้บริการคำปรึกษาด้านการยึดอายุของผลิตภัณฑ์น้ำจิ้มสุกี้ของวิสาหกิจชุมชนเกษตรผสมผสานบ้านกุดบงน้อย ต.วัดธาตุ อ.เมือง จ.หนองคาย และจะมีวิสาหกิจเข้ารับบริการคำปรึกษาอีกกว่า20แห่ง กิจกรรมนี้สืบเนื่องมาจากการลงพื้นที่เยี่ยมชมตำบลต่างๆที่เข้าร่วมในโครงการU2T for BCG  ของท่านเลขานุการรัฐมนตรีกระทรวง อว.และเจ้าหน้าที่จาก สป.อว. เจ้าหน้าที่จาก สวภ.ส่วนภูมิภาค ในเดือนมกราคมที่ผ่านมา  สำหรับวิสาหกิจใดที่มีความประสงค์จะเข้าขอรับบริการให้คำปรึกษาด้านเทคโนโลยีการแปรรูป เทคโนโลยีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ บรรจุภัณฑ์ การตลาดออนไลน์และออฟไลน์ การเงินการบัญชี ฯลฯ สามารถเข้ารับบริการได้ที่ สำนักงานคลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยขอนแก่น วิทยาเขตหนองคาย ตึกบริหาร ชั้น3ห้องงานวิจัยงบประมาณที่ใช้ 0 บาท

               วันที่ 16-17 กุมภาพันธ์ 2566 คลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยขอนแก่น วิทยาเขตหนองคาย โดยนาย สุพีระ  วรแสน ได้รับเกียติจาก สำนักงานปฏิรูปที่ดินจังหวัดหนองคาย ในการฝึกอบรมโครงการระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ข้าว ตำบลอุดมพร อำเภอเฝ้าไร่ จังหวัดหนองคาย ปีงบประมาณ2566 ในหลักสูตร การแปรรูปผลิตภัณฑ์จากข้าวเพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตร โดยมีเกษตรกรเข้าร่วมอบรมจำนวน 64 คน ณ.อาคารรวบรวมผลผลิตทางการเกษตร ตำบลอุดมพร อำเภอเฝ้าไร่ จังหวัดหนองคายงบประมาณที่ใช้จำนวน 25,000บาท

               วันที่ 5 มีนาคม 2566 ถึงวันที่ 13 มีนาคม 2566 คลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยขอนแก่น วิทยาเขตหนองคาย โดยนาย สุพีระ  วรแสน ดร.นิศารัตน์ ทิพยดารา และ นายเฉลิมเกียรติ เขียวทอง ได้ร่วมออกบู๊ทให้บริการและคำปรึกษาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในงานฉลองอนุสาวรีย์ปราบฮ่อ ใต้ร่มพระบารมี 196 ปีเมืองหนองคายและงานกาชาดจังหวัดหนองคาย ประจำปี พ.ศ.2566 ในงานมีการบริการให้คำปรึกษาแก่ทั้งประชาชนที่ให้ความสนใจทั่วไป เกษตรกรรายเดี่ยว เกษตรกรรายกลุ่ม สหกรณ์ต่างๆ วิสาหกิจชุมชนต่างๆ หน่วยงานราชการที่สนใจที่จะร่วมงานกันในอนาคต การหาผู้เชี่ยวชาญในพื้นที่ การหาเครือข่ายการทำงานร่วมกัน ได้รับผลตอบรับเป็นอย่างดี งบประมาณที่ใช้จำนวน 60,000บาท

               วันที่ 16-17 มีนาคม 2566 คลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยขอนแก่น วิทยาเขตหนองคาย โดยนาย สุพีระ  วรแสน ดร.นิศารัตน์ ทิพยดารา และวิทยากรผู้เชี่ยวชาญในการสร้างโลโก้ผลิตภัณฑ์ ได้รับเกียรติจาก สำนักงาน ปฎิรูปที่ดินจังหวัดหนองคาย ลงพื้นที่บ้านม่วง อำเภอสังคม จังหวัดหนองคาย ในการร่วมมือพัฒนาแบรนด์สินค้าวิสาหกิจชุมชน กาแฟ&โกโก้ สังคม หนองคาย ณ.ร้าน Minority Café กาแฟชนกลุ่มน้อย  ในกิจกรรมการเพิ่มมูลค่าสินค้ากาแฟและโกโก้ และมีการให้บริการการให้ความรู้การสร้างแบรนด์ การสร้าง story telling การทำโลโก้ของสินค้า การพัฒนาบรรจุภัณฑ์  งบประมาณที่ใช้จำนวน 10,000 บาท

รวมงบประมาณที่ใช้ในไตรมาสนี้จำนวน 140,000 บาท

รวมจำนวนผู้ที่รับการถ่ายทอดเทคโนโลยี จำนวน 800 คน

 

 

              



รายงานโดย นายสุพีระ วรแสน วันที่รายงาน 21/03/2566 [13871]
175000 1000