2566 โครงการบริการให้คำปรึกษาและข้อมูลเทคโนโลยี คลินิกเทคโนโลยีเครือข่ายมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง   0


รายงานความก้าวหน้า

ไตรมาส ผลการดำเนินงาน งบประมาณที่ใช้ ผู้รับบริการ
4 [15658]

    คลินิกเทคโนโลยี เครือข่ายมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง ได้ดำเนินการจ้างเจ้าหน้าที่ประจำคลินิกเทคโนโลยี โดยสัญญาแบบจ้างเหมาบริการเป็นระยะเวลา ๑๒ เดือนๆละ ๑๕,๐๐๐ บาท ตั้งแต่เดือนธันวาคม ๒๕๖๕   เพื่อประสานงานและติดตามการดำเนินงานในคลินิกเทคโนโลยี เครือข่ายมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง 

 

    คลินิกเทคโนโลยี เครือข่ายมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง ร่วมแสดงนิทรรศการนวัตกรรมวิทยาศาสตร์ในงานวิทยาศาสตร์นิทัศน์ ราชภัฏลำปาง’๖๖ ภายใต้หัวข้อ“วิทยาศาสตร์เพื่อชีวิต สิ่งแวดล้อม BCG” เรียน-เล่น-งาน-อาชีพด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี บูธของคลินิกเทคโนโลยีเครือข่ายมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง มีกิจกรรมเย็บปักถักร้อย เช่น การทำกระเป๋าใส่เหรียญ การทำพวงกุญแจ และทำแจกันกระต่ายจากผ้าขนหนู เป็นการส่งเสริมกิจกรรมเพื่อเด็กและเยาวชนด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม เพื่อส่งเสริมและเปิดโอกาสให้เด็ก เยาวชน รวมถึงประชาชนทั่วไปในจังหวัดลำปางและจังหวัดใกล้เคียงศึกษาหาความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อมที่น่าสนใจนอกห้องเรียน จัดโดย คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง ระหว่างวันที่ ๑๘-๒๐ สิงหาคม ๒๕๖๖ ณ หอประชุมใหญ่ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง

   คลินิกเทคโนโลยีเครือข่ายมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง วันที่ ๒๗ สิงหาคม ๒๕๖๖ รศ.ดร พิมผกา โพธิลังกา ผู้เชี่ยวชาญประจำคลินิกเทคโนโลยี เครือข่ายมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง ได้ลงพื้นที่ติดตามการใช้งานระบบปรับปรุงคุณภาพ ณ เปรมจิตฟาร์ม ต.บ้านกิ่ว อ.แม่ทะ จ.ลำปาง ซึ่งเป็นสถานประกอบการที่เข้ารับการบริการให้คำปรึกษาและข้อมูลเทคโนโลยี Technology Consulting Service (TCS) คลินิกเทคโนโลยี เครือข่ายมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง และต่อมาได้ติดตั้งและใช้งานระบบปรับปรุงคุณภาพก๊าซชีวภาพอย่างง่ายสำหรับฟาร์มสุกรขนาดกลางเมื่อเดือนเมษายน 2566 การติดตามการใช้งานพบว่าระบบมีประสิทธิภาพดี สามารถลดปริมาณไฮโดรเจนซัลไฟล์ที่เป็นสาเหตุสำคัญในการกัดกร่อนลูกสูบในเครื่องยนต์ต้นกำลัง ประสิทธิภาพการใช้งานระบบที่ตรวจวัดได้ในครั้งนี้คิดเป็น ๙๙.๘๑ % โดยระบบสามารถลดปริมาณไฮโดรเจนซัลไฟล์จาก ๓๑๗๕ ppm เหลือ ๖ ppm ทั้งนี้ผู้เชี่ยวชาญได้ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการบำรุงรักษาระบบเพื่อการใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพต่อไป



รายงานโดย นายชัยวุฒิ  โกเมศ วันที่รายงาน 19/09/2566 [15658]
18180 60
3 [14622]

คลินิกเทคโนโลยี เครือข่ายมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง  ได้ดำเนินการจ้างเจ้าหน้าที่ประจำคลินิกเทคโนโลยี โดยสัญญาเป็นแบบจ้างเหมาบริการเป็นระยะเวลา 12 เดือน เดือนละ 15,000 บาท ตั้งแต่เดือนธันวาคม 2565   เพื่อประสานงานและติดตามการดำเนินงานของคลินิกเทคโนโลยี เครือข่ายมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง                                                          

          วันจันทร์ที่ 29 พฤษภาคม  2566  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ชัยวุฒิ โกเมศ ผู้จัดการคลินิกเทคโนโลยีเครือข่ายมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง และคณะกรรมการคลินิกเทคโนโลยีเครือข่าย มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง พร้อมเจ้าหน้าที่คลินิกเทคโนโลยีฯ ลงพื้นที่บริการให้คำปรึกษาและถ่ายทอดองค์ความรู้เทคนิคการย้อมสีเส้นด้ายด้วยสีธรรมชาติจากพืชท้องถิ่น โดยมีผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สำเริง นราแก้ว เป็นวิทยากรและเป็น ผู้เชี่ยวชาญในคลินิกเทคโนโลยีเครือข่ายมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง ถ่ายทอดเทคโนโลยีองค์ความรู้ให้แก่กลุ่มวิสาหกิจชุมชนเย็บปักถักร้อย ตำบลแม่เมาะ อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง 

          คลินิกเทคโนโลยีเครือข่ายมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง ลงพื้นที่ให้บริการคำปรึกษาการถ่ายทอดองค์ความรู้การย้อมสีเส้นด้ายด้วยสีธรรมชาติจากพืชท้องถิ่น โดยใช้สีย้อมใบสักและใบกาสะลอง แทนการใช้สีย้อมจากสารเคมี เพื่อลดต้นทุนและเป็นการยกระดับผลิตภัณฑ์ ซึ่งจะทำให้สินค้าของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเย็บปักถักร้อย มีความน่าสนใจมากยิ่งขึ้น

https://www.facebook.com/photo/?fbid=653199683518767&set=pcb.653201606851908

https://www.facebook.com/photo/?fbid=653199636852105&set=pcb.653201606851908

https://www.facebook.com/photo?fbid=653199660185436&set=pcb.653201606851908

https://www.facebook.com/photo/?fbid=653200810185321&set=pcb.653201606851908

วันที่ 12-14 มิถุนายน 2566 นำโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ชัยวุฒิ โกเมศ ผู้จัดการคลินิกเทคโนโลยีเครือข่ายมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง และคณะกรรมการ พร้อมเจ้าหน้าที่คลินิกเทคโนโลยี เครือข่ายมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง เข้าร่วมประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้และสร้างความร่วมมือการพัฒนานวัตกรรมเพื่อพัฒนาชุมชนกับสถาบันนวัตกรรมคลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยพะเยา รวมถึงการบูรณาการการทำงานถ่ายทอดองค์ความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ทรัพย์สินทางปัญญา และการใช้ประโยชน์จากวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแบบมีส่วนร่วมในเชิงพาณิชย์ชุมชนและสังคมมาใช้ในการบริการวิชาการ พร้อมเข้าเยี่ยมชมการให้บริการของศูนย์บริการเครื่องมือวิทยาศาสตร์และตรวจสอบมาตรฐานผลิตภัณฑ์ และศูนย์เรียนรู้พัฒนาต้นแบบผลิตภัณฑ์ นวัตกรรมอาหาร ณ มหาวิทยาลัยพะเยา  ในการนี้คลินิกเทคโนโลยีเครือ ข่ายมหาวิทยาลัยพะเยาได้แนะนำแนวทางการบริหารจัดการคลินิกเทคโนโลยีเป็นอย่างดี

          นอกจากนี้ได้เข้าร่วมเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกับคลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย ในหัวข้อเทคโนโลยีกับนวัตกรรมการพัฒนาชุมชน เพื่อการยกระดับผลิตภัณฑ์ชุมชน ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย และเข้าเยี่ยมชมการบริการวิชาการของคลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย โดยโปรแกรมวิชาเทคโนโลยีและนวัตกรรมการอาหาร ของคลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย

 https://www.facebook.com/photo/?fbid=663503132488422&set=pcb.663498692488866
https://www.facebook.com/photo/?fbid=645362637636107&set=pcb.645250450980659
https://www.facebook.com/photo/?fbid=645362980969406&set=pcb.645250450980659
https://www.facebook.com/photo/?fbid=663497159155686&set=pcb.663498692488866
https://www.facebook.com/photo/?fbid=663497282489007&set=pcb.663498692488866

เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2566  อาจารย์ ดร.ทิพรัตน์ ติฆะปัญญา ผู้เชี่ยวชาญคลินิกเทคโนโลยีเครือข่ายมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง และ นางสาวอนุสรา ลอยมาปิง ผู้เชี่ยวชาญการวิเคราะห์สารพิษตกค้างในผลผลิตทางการเกษตรเทคโนโลยี ลงพื้นที่ถ่ายทอดองค์ความรู้และสาธิตขั้นตอนการวิเคราะห์สารพิษตกค้าง ให้แก่กลุ่มผักปลอดภัยบ้านวังหินและกลุ่มผักแปลงใหญ่ โดยมีนางนฤมล แสงดี ประธานกลุ่มผักปลอดภัยบ้านวังหิน และนางเกสร นันทะเลิศ ประธานกลุ่มผักแปลงใหญ่ ตำบลเถินบุรี พร้อมด้วยสมาชิกกลุ่ม เข้ารับบริการ “เทคนิคการวิเคราะห์สารพิษตกค้างในผลผลิตทางการเกษตร”เข้าร่วมกิจกรรม ณ ที่ทำการหมู่บ้าน บ้านวังหิน ตำบลเถินบุรี อำเภอเถิน จังหวัดลำปาง ภายใต้โครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีไปสู่การสร้างผลิตภัณฑ์ของหน่วยงานคลินิกเทคโนโลยี

          การถ่ายทอดองค์ความรู้และสาธิตขั้นตอนการวิเคราะห์สารพิษตกค้างด้วยชุดทดสอบ GT โดยทำการสุ่มตัวอย่างพืชผักของสมาชิกกลุ่มจำนวน 10 ตัวอย่าง มาทำการทดสอบ ผลการวิเคราะห์พบว่าพืชผักทั้ง 10 ตัวอย่าง มีความปลอดภัยจากสารพิษตกค้าง สำหรับผลผลิตทางการเกษตรอีกจำนวน 50 ตัวอย่าง นำมาทำการวิเคราะห์สารพิษตกค้างที่ห้องปฏิบัติการ คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง จะดำเนินการสรุปผลการวิเคราะห์และรายงานผลการทดสอบให้กับกผักปลอดภัยบ้านวังหินและกลุ่มเกษตรกรผักแปลงใหญ่ ตำบลเถินบุรี อำเภอเถิน จังหวัดลำปาง ต่อไป

https://www.facebook.com/photo/?fbid=666764668828935&set=pcb.666764778828924

https://www.facebook.com/photo?fbid=666764585495610&set=pcb.666764778828924

https://www.facebook.com/photo?fbid=666764628828939&set=pcb.666764778828924

https://www.facebook.com/photo?fbid=666764738828928&set=pcb.666764778828924

วันที่ 23 - 30 มิถุนายน 2566  คลินิกเทคโนโลยี เครือข่ายมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง ร่วมจัดแสดงสินค้าและผลิตภัณฑ์จากผู้ประกอบการที่เคยร่วมโครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชน  โดยมีสินค้าที่หลากหลาย เช่น ตุ๊กตาน้องถ่านน้อย ตุ๊กตาช้าง 3 งา  ถุงหอมสมุนไพร (ถุงเงินถุงทอง) จิ้งหรีดช็อต น้ำพริกลาบ น้ำพริกปลาสมุนไพร กล้วยฉาบ   ผักไฮโดรโปนิกส์ เป็นต้น ตั้งแต่เวลา 10.00 - 20.00 น. ณ ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้าอุตสาหกรรมภาคเหนือ (DIPROM MICE CENTER) อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง ซึ่งจัดโดยศูนย์วิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรม “อุตสาหกรรมแฟร์” อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ ปั้นแต่งโตไว ด้วยดีพร้อม  เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตรวมถึงการจำหน่ายสินค้าเพื่อกระตุ้นการตลาดให้กระจายสู่ระดับภูมิภาคให้มากขึ้น ตลอดจนได้รับความร่วมมือจากองค์กรชั้นนำทั้งภาครัฐ ภาคเอกชนและสถาบันการศึกษาต่างๆ ในการจัดงานเพื่อให้เกิดการบูรณาการ

https://www.facebook.com/photo/?fbid=669962121842523&set=pcb.669963755175693

https://www.facebook.com/photo?fbid=669962128509189&set=pcb.669963755175693

https://www.facebook.com/photo?fbid=669962218509180&set=pcb.669963755175693

เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2566 อาจารย์ ดร.เอกชัย ญาณะ ผู้เชี่ยวชาญประจำคลินิกเทคโนโลยี เครือข่าย มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง ได้รับการติดต่อทางโทรศัพท์จาก คุณอกนิษฐ์ จันทร์ศิริ นักวิชาการสิ่งแวดล้อมชำนาญ การ ส่วนการจัดการคุณภาพน้ำ อากาศและเสียง สำนักงานสิ่งแวดล้อมและควบคุมมลพิษที่ 2 ลำปาง เพื่อขอคำปรึกษาจากการมีข้อร้องเรียนจากประชาชนให้มีการตรวจสอบคราบปนเปื้อนที่เกิดขึ้นในแม่น้ำวัง อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง

          จากนั้นในวันที่ 29 มิถุนายน 2566 อาจารย์ ดร.เอกชัย ญาณะ จึงนำอุปกรณ์ plankton net ไปเก็บตัวอย่างน้ำวังบริเวณเขื่อนยาง พบว่า คราบปนเปื้อนดังกล่าวมีสีแดงลอยเป็นฟิล์มบนผิวน้ำ และมีกลิ่นเหม็นมาก ส่วนน้ำตัวอย่างน้ำที่เก็บได้มีสีเขียวเข้ม และหลังจากการตรวจสอบในห้องปฏิบัติการพบว่า มีการกระจายตัวของแพลงก์ตอนพืช โดยแพลงก์ตอนพืชชนิดเด่นที่ตรวจพบได้แก่ Pandorina spp., Euglena spp., Oscillartoria spp. และ Acutodesmus spp. ซึ่งไม่ใช่คราบน้ำมัน อย่างที่ประชาชนตั้งข้อสงสัย แพลงก์ตอนพืชดังกล่าวสามารถเจริญเติบโตได้จากน้ำเสียที่ปล่อยลงสู่แม่น้ำวัง เนื่องจากแพลงก์ตอนชนิดที่พบสามารถนำของเสียจากน้ำเสียที่ปล่อยลงสู่แม่น้ำวังมาใช้เป็นแหล่งอาหารในการเจริญเติบโต นอกจากนั้นเมื่อเซลล์เก่าตายยังสามารถกลายเป็นแหล่งอาหารให้กับเซลล์ใหม่ ผ่านการย่อยสลายของจุลินทรีย์กลุ่มอื่น และเมื่อแพลงก์ตอนพืชได้รับแสงแล้ว จะเคลื่อนที่ขึ้นบนผิวน้ำเพื่อสังเคราะห์แสงและผลิตอาหาร จึงทำให้เราสามารถเห็นเป็นคราบลอยบนผิวน้ำนั่นเอง ซึ่งปรากฏการณ์ดังกล่าวที่เกิดขึ้นในแม่น้ำวังขณะนี้คือ ปรากฏการณ์สาหร่ายสะพรั่ง หรือที่เรียกว่า algae bloom

          ในวันเดียวกัน อาจารย์ ดร.เอกชัย ญาณะ จึงได้แจ้งข้อมูลดังกล่าวให้กับ คุณอกนิษฐ์ จันทร์ศิริ (คุณข่าง: khang) ผ่านทางไลน์แอปพลิเคชัน และคุณอกนิษฐ์ จันทร์ศิริ ได้แจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ทำการแก้ไขโดยการเปลี่ยนถ่ายน้ำในบริเวณที่เกิดขึ้นเพื่อลดปริมาณการเติบโตของสาหร่ายในแม่น้ำวัง

 

 



รายงานโดย นายชัยวุฒิ  โกเมศ วันที่รายงาน 04/07/2566 [14622]
82160 40
2 [14066]

คลินิกเทคโนโลยี เครือข่ายมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง ได้ดำเนินการจ้างเจ้าหน้าที่ประจำคลินิกเทคโนโลยี โดยสัญญาแบบจ้างเหมาบริการเป็นระยะเวลา 12 เดือนๆละ 15,000 บาท ตั้งแต่เดือนธันวาคม 2565   เพื่อประสานงานและติดตามการดำเนินงานในคลินิกเทคโนโลยี เครือข่ายมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง  

     คลินิกเทคโนโลยีได้ลงพื้นที่ให้คำปรึกษาโดยมีผู้เชี่ยวชาญผู้ช่วยศาสตราจารย์ชัยวุฒิ โกเมศ ผู้จัดการคลินิกเทคโนโลยีเครือข่ายมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง และ อาจารย์ ดร.ธีราภรณ์ พรหมอนันต์ ผู้เชี่ยวชาญคลินิกเทคโนโลยีเครือข่ายมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง ผู้ช่วยศาสตราจารย์กาญจนา รัตนธีรวิเชียร ผู้เชี่ยวชาญคลินิกเทคโนโลยีเครือข่ายมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ ลงพื้นที่ให้คำปรึกษาแก่กลุ่มวิสาหกิจชุมชนเย็บปักถักร้อย ตำบลแม่เมาะ อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง ในเรื่องการยกระดับผลิตภัณฑ์ โดยใช้สีย้อมธรรมชาติ และการพัฒนาเส้นใยธรรมชาติด้วยนาโนเทคโนโลยี ซึ่งจะทำให้สินค้ามีความน่าสนใจ เพื่อดึงดูดกลุ่มเป้าหมายของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเย็บปักถักร้อยมากยิ่งขึ้น

คลินิกเทคโนโลยีเครือข่ายมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง อาจารย์ ดร.ทิพรัตน์ ติฆะปัญญา ผู้เชี่ยวชาญในคลินิกเทคโนโลยีเครือข่ายมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง ด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารพร้อมด้วยนักศึกษาชั้นปีที่ 2 สาขาวิชานวัตกรรมและธุรกิจอาหาร คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง ลงพื้นที่ถ่ายทอดองค์ความรู้การออกแบบบรรจุภัณฑ์อาหาร แก่กลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรกรบ้านทุ่งม่านเหนือ ตำบลบ้านเป้า อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง โดย นางสาวกัณฑิมา สารีบท ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนฯ พร้อมด้วยสมาชิกกลุ่ม ณ สถานที่ผลิตอาหาร กลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรกรบ้านทุ่งม่านเหนือ ภายใต้โครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีไปสู่การสร้างผลิตภัณฑ์ ของหน่วยงาน คลินิกเทคโนโลยีเครือข่ายมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง

          กิจกรรมในครั้งนี้ได้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ชนิดและประเภทของบรรจุภัณฑ์อาหาร และการเลือกใช้บรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสม รวมไปถึงการคืนความรู้ การพัฒนาผลิตภัณฑ์โยเกิร์ตข้าวหมากและผลิตภัณฑ์เมี่ยงคำสำเร็จรูป จากการบรูณาการร่วมกับการเรียนการสอนในรายวิชานวัตกรรมเพื่อการจัดการธุรกิจอาหาร ของนักศึกษาชั้นปีที่ 2 สาขาวิชานวัตกรรมและธุรกิจอาหาร โดยทางกลุ่มวิสาหกิจชุมชนได้รับความรู้ทางวิชาการและร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์การพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร พร้อมทั้งได้มีแนวทางในการประยุกต์ใช้องค์ความรู้กับการผลิตจริงต่อไป

   คลินิกเทคโนโลยีเครือข่ายมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง ผู้ช่วยศาตราจารย์ชัยวุฒิ โกเมศ ผู้จัดการคลินิกเทคโนโลยีเครือข่ายมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง อาจารย์.ดร.วิภานุช ใบศล และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์โศภิษฐพร ศิลปภิรมย์สุข ผู้เชี่ยวชาญของคลินิกเทคโนโลยีเครือข่ายมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ ลงพื้นที่ให้คำปรึกษาแก่กลุ่มเกษตรอินทรีย์นาครัว บ้านน้ำโท้ง ตำนาครัว อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง ในเรื่องการทำปลาแดดเดียวอาหารแปรรูป ซึ่งจะเพิ่มความหลากหลายเพื่อขยายตลาดสู่ลูกค้าให้มากขึ้น และจะส่งเสริมให้ชาวบ้านเลี้ยงปลาเพิ่มขึ้นเพื่อที่จะรองรับการตลาดและกระจายรายได้ไปสู่ชุมชนในพื้นที่ 

 



รายงานโดย นายชัยวุฒิ  โกเมศ วันที่รายงาน 04/04/2566 [14066]
70000 30
1 [13695]

คลินิกเทคโนโลยี เครือข่ายมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง ได้ดำเนินการจ้างเจ้าหน้าที่ประจำคลินิกเทคโนโลยี โดยสัญญาแบบจ้างเหมาบริการเป็นระยะเวลา 12 เดือนๆละ 15,000 บาท ตั้งแต่เดือนธันวาคม 2565   เพื่อประสานงานและติดตามการดำเนินงานในคลินิกเทคโนโลยี เครือข่ายมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง 

                คลินิกเทคโนโลยีเครือข่ายมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง โดยอาจารย์ ดร.ทิพรัตน์ ติฆะปัญญา ผู้เชี่ยวชาญในคลินิกเทคโนโลยีเครือข่ายมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง ด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารด้วยเทคโนโลยีการหมัก พร้อมด้วยนักศึกษาชั้นปีที่ 2สาขาวิชานวัตกรรมและธุรกิจอาหาร คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง  ลงพื้นที่ถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคนิคการหมักเมล็ดโกโก้แห้งที่ได้คุณภาพ แก่กลุ่มวิสาหกิจชุมชนโกโก้แปลงใหญ่เมืองวัง ตำบลวังใต้ อำเภอวังเหนือ   นำโดย นายอาคม มีเมลล์ ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนฯ พร้อมด้วยสมาชิกกลุ่ม จำนวนทั้งสิ้น 20คน ณ ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ตำบลวังใต้ อำเภอวังเหนือ จังหวัดลำปาง (ศพก. วังใต้) ภายใต้โครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีไปสู่การสร้างผลิตภัณฑ์ ของหน่วยงาน คลินิกเทคโนโลยี เครือข่ายมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง 

       การถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยีการผลิตเมล็ดโกโก้แห้งที่ได้คุณภาพ ทำให้กลุ่มวิสาหกิจชุมชนฯเกิดความรู้ความเข้าใจการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ เคมี และจุลินทรีย์ ตลอดระยะเวลาในการหมักเมล็ดโกโก้ให้ได้คุณภาพมากยิ่งขึ้น และได้มีการอภิปราย ซักถาม ถึงปัจจัยที่มีผลต่อกระบวนการหมักเพื่อให้ได้เมล็ดโกโก้แห้งที่ได้คุณภาพ รวมไปถึงการทดสอบคุณภาพของเมล็ดโกโก้แห้งที่ได้จากการหมักด้วยวิธีการ cut test โดยจะมีการวางแผนงานเพื่อปรับปรุงกระบวนการหมักเมล็ดโกโก้ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนฯ ให้มีคุณภาพดีและมีความสม่ำเสมอต่อไป    https://www.facebook.com/photo/?fbid=684002423309950&set=pcb.684003026643223

https://www.facebook.com/photo/?fbid=684002546643271&set=pcb.684003026643223https://www.facebook.com/photo?fbid=684002419976617&set=pcb.684003026643223

คลินิกเทคโนโลยีเครือข่ายมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง   โดยอาจารย์ ดร.ทิพรัตน์ ติฆะปัญญา ผู้เชี่ยวชาญในคลินิกเทคโนโลยีเครือข่ายมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง ด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารพร้อมด้วยนักศึกษาชั้นปีที่ 2 สาขาวิชานวัตกรรมและธุรกิจอาหาร คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง ลงพื้นที่ถ่ายทอดองค์ความรู้เทคโนโลยีการยืดอายุการเก็บรักษาผลิตภัณฑ์อาหาร แก่กลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรกรบ้านทุ่งม่านเหนือ ตำบลบ้านเป้า อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง  นำโดย นางสาวกัณฑิมา สารีบท ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนฯ พร้อมด้วยสมาชิกกลุ่ม ณ สถานที่ผลิตอาหาร กลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรกรบ้านทุ่งม่านเหนือ ภายใต้โครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีไปสู่การสร้างผลิตภัณฑ์ ของหน่วยงาน คลินิกเทคโนโลยี เครือข่ายมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง

                กิจกรรมในครั้งนี้ได้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กระบวนการผลิตขนมไทยที่เป็นอัตลักษณ์ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนฯ ได้แก่ ข้าวเหนียวมูล, เมี่ยงคำโบราณ, และข้าวหมาก และร่วมกันวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่ออายุการเก็บรักษาของขนมไทย พร้อมอภิปราย-ซักถาม พบว่าทางกลุ่มวิสาหกิจชุมชนฯได้มีการประยุกต์ภูมิปัญญาท้องถิ่นเข้ากับเทคนิคการผลิตขนมไทยทำให้เกิดคุณลักษณะเฉพาะ และมีความประสงค์ในการปรับปรุงรูปแบบการบริโภคเมี่ยงคำโบราณในลักษณะใหม่ที่ตอบสนองความต้องการของกลุ่มลูกค้าที่เป็นนักท่องเที่ยวทั้งภายในและภายนอกประเทศ และผลิตภัณฑ์เมี่ยงคำโบราณรูปแบบใหม่นี้จะต้องมีอายุการเก็บรักษาที่นานขึ้นกว่าเดิมเพื่อให้สะดวกต่อการขนส่ง โดยโจทย์ความต้องการของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนฯ ในครั้งนี้ได้นำไปสู่การบรูณาการงานร่วมกับการเรียนการสอนในรายวิชานวัตกรรมเพื่อการจัดการธุรกิจอาหาร ของนักศึกษาชั้นปีที่ 2 สาขาวิชานวัตกรรมและธุรกิจอาหาร เพื่อหารูปแบบและกระบวนการผลิตที่สามารถตอบโจทย์ความต้องการของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนฯ ต่อไป

https://www.facebook.com/photo/?fbid=687055596337966&set=pcb.687055926337933https://www.facebook.com/photo?fbid=687055523004640&set=pcb.687055926337933

https://www.facebook.com/photo/?fbid=687055616337964&set=pcb.687055926337933

                เครือข่ายมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง จัดประชุมเชิงปฏิบัติการและเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้   โดย รศ.ดร.พิมผกา  โพธิลังกา  รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและวิชาการต่างประเทศ ผู้เชี่ยวชาญประจำคลินิกเทคโนโลยี เครือข่ายมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง ได้เข้าร่วมการประชุม เพื่อให้คำปรึกษาด้านการใช้ก๊าซชีวภาพเป็นพลังงานทดแทนในครัวเรือนและการปรับปรุงคุณภาพก๊าซชีวภาพ เพื่อการใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพ แก่เกษตรกรและผู้สนใจในพื้นที่ตำบลสันดอนแก้ว อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง ณ ห้องประชุมเทศบาลตำบลสิริราช อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง เมื่อวันที่ 9พฤศจิกายน 2565

                พร้อมกันนี้ได้พบปะผู้นำชุมชน และอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม) นำเสนอประชาสัมพันธ์โครงการสำคัญต่างๆ ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปางได้ทำร่วมกับพื้นที่ตำบลสันดอนแก้ว และได้ลงพื้นที่เพื่อให้คำปรึกษาด้านการใช้ก๊าซชีวภาพเป็นพลังงานทดแทนในครัวเรือนและฟาร์มปศุสัตว์ในพื้นที่ บ้านแม่วะ บ้านสันดอนแก้ว และบ้านแม่ทาน เพื่อส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทนที่ทุกคนสามารถเข้าถึงได้ในราคาที่เหมาะสม ตามเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน

https://www.facebook.com/photo/?fbid=600796255174950&set=pcb.600796445174931https://www.facebook.com/photo/?fbid=600796338508275&set=pcb.600796445174931

https://www.facebook.com/photo?fbid=600796391841603&set=pcb.600796445174931



รายงานโดย นายชัยวุฒิ  โกเมศ วันที่รายงาน 28/02/2566 [13695]
82160 20