2566 โครงการบริการคำปรึกษาด้านธุรกิจการเกษตรแบบครบวงจร   0


รายงานความก้าวหน้า

ไตรมาส ผลการดำเนินงาน งบประมาณที่ใช้ ผู้รับบริการ
4 [15762]

งบประมาณในการบริหารจัดการโครงการ และการวางระบบรองรับการขอรับบริการ และผู้ดำเนินโครงการในแพลตฟอร์มต่างๆ ในปีงบประมาณ 2567

  • วัสดุสำนักงาน                                                                                    5846     บาท
  • ค่าถ่ายเอกสาร คู่มือการดำเนินโครงการและเล่มรายงานสมบูรณ์              17500   บาท
  • ค่าจ้างเหมาจัดทำเวบไซด์คลินิก                                                          30000   บาท


รายงานโดย ดร.อรวรรณ วนะชีวิน วันที่รายงาน 30/09/2566 [15762]
53346 0
4 [15764]

การถ่ายทอดองค์ความรู้ต่อยอดให้แก่กลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์ในหัวข้อการผลิตถ่านชีวภาพโดยระบบปฏิกรณ์ชีวมวลเพื่อผลิตถ่านชีวภาพอัตโนมัติด้วย IoT
ซึ่งเป็นการต่อยอดให้กลุ่มวิสาหกิจฯ หลังจากที่ผู้ประกอบการเป็นตัวแทนเข้ารับการอบรมเรื่องกระบวนการเผาถ่านไบโอชาด้วยเทคนิคทอริแฟคชั่นและไพโรไลซิส ที่ได้บูรณาการกับคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรมสาขาวิชาวิศวกรรมพลังงานและวิศวกรรมโลจิสติกส์ ในการจัดฝึกอบรมระบบปฏิกรณ์ชีวมวลเพื่อผลิตถ่านชีวภาพอัตโนมัติด้วย IoTครั้งนี้ได้ทำการประยุกต์ใช้ระบบ IoTกับการเผาถ่านเพื่อควบคุมอุณหภูมิบนฐานข้อมูล ผ่านโปรแกรม ArduinoIDEให้มีการบันทึกข้อมูลอุณหภูมิที่เกิดปฏิกิริยาที่เหมาะสมของชีวมวลแต่ละชนิดบนฐานข้อมูล Node Red (รายงานงบประมาณที่ใช้ในการดำเนินไปแล้วในไตรมาสที่ 3)



รายงานโดย ดร.อรวรรณ วนะชีวิน วันที่รายงาน 30/09/2566 [15764]
0 21
4 [15763]

กิจกรรมการถ่ายทอดองค์ความรู้ต่อยอดให้แก่กลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์ซึ่งเป็นกลุ่มผู้ผลิตถ่านไม้ไบโอชาร์ ซึ่งขอรับบริการคำปรึกษาเรื่องการแก้ไขสภาพปัญหากระบวนการเผาถ่านจากแพลตฟอร์มบริการให้คำปรึกษา TCSทำการต่อยอดผลิตภัณฑ์ให้มีความครบวงจรที่มากขึ้น โดยขอรับบริการคำปรึกษาพัฒนาแชมพูสมุนไพรให้มีจุดเด่นจากถ่านไบโอชาร์และสมุนไพรพื้นบ้านของกลุ่มวิสาหกิจฯ ซึ่งกระบวนการถ่ายทอดฯ ในนี้มีที่ปรึกษา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปิยพร สรีสม คณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ผู้จัดการเครือข่ายคลินิกเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย และได้ทำการพุฒนาหาค่าสัดส่วนที่เหมาะสมขององค์ประกอบสมุนไพร ความคงตัวไม่แยกชั้นของแชมพู เป็นต้น 



รายงานโดย ดร.อรวรรณ วนะชีวิน วันที่รายงาน 30/09/2566 [15763]
14500 23
4 [15761]

วันที่ 12-13 และ 16 กรกฏาคม 2566

คณะกรรมการติดตามตรวจประเมินการดำเนินโครงการ จาก กปว.สป.อว. และผู้ทรงคุณวุมิ ประกอบด้วย รศ.ดร.จุฑามาศ พีรพัชระ ดร.นฤดม นวลขาว คุณสุวิทย์ เปานาเรียง คุณมงคล งามเจริญวงษ์ ติดตามตรวจประเมินการดำเนินโครงการในการดำเนินงานของเครือข่ายคลินิกเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย จำนวน 5 โครงการประกอบด้วย

โครงการการพัฒนาผู้นำและเครือข่ายเกษตรปลอดภัยตามแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจสีเขียว (NCB)

โครงการชุมชนสามัคคีเกษตรอินทรีย์ฟาร์ม (SCI)

โครงการยกระดับและพัฒนาผลิตภัณฑ์ข้าวแต๋นด้วยกระบวนการมาตรฐานเพื่อเข้าสู่ตลาดดิจิทัล (BCE)

โครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ต้นแบบจากกล้วยครบวงจร (BCE)

โครงการร้อยรักตี้ฮ่อมลมจอย (BCE)



รายงานโดย ดร.อรวรรณ วนะชีวิน วันที่รายงาน 30/09/2566 [15761]
8700 80
4 [15760]

วันที่ 12 กรกฏาคม 2566

เครือข่ายคลินิกเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา และวิทยาลัยเกษตรเชียงราย ร่วมประชุมเพื่อรายงานผลการดำเนินโครงการการให้บริการคำปรึกษา ภายใต้แพลตฟอร์ม TCS ต่อผู้ทรงคุณวุฒิประกอบด้วย รศ.ดร.จุฑามาศ พีรพัชระดร.นฤดม นวลขาว และคณะกรรมการติดตามตรวจประเมินการดำเนินโครงการ จาก กปว.สป.อว. ณ ห้องประชุมสภามหาวิทยาลัย ตึกอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย



รายงานโดย ดร.อรวรรณ วนะชีวิน วันที่รายงาน 30/09/2566 [15760]
3500 25
4 [15765]

รายละเอียดของผู้ขอเข้ารับคำปรึกษาและรายละเอียดการให้บริการคำปรึกษา ไตรมาสที่ 2

ลำดับ

ชื่อผู้รับบริการ

ประเภทลูกค้า

ที่อยู่

ความต้องการ

รายละเอียดการให้คำปรึกษา

22

คุณไพลิน กาวี

ผู้ประกอบการ

สะพานไทย อ.บางบาล จ.อยุธยา

อยากพัฒนาและแปรรูปผลิตภัณฑ์จากถั่วลูกไก่ : ผู้ขอรับบริการมีความสนใจในการปรึกษาด้านกระบวนการการแปรรูปถั่วลูกไก่ เป็น ผงโปรตีน และข้าวเกรียบ เหตุผลที่สนใจถั่วลูกไก่เนื่องจากเป็นถั่วที่มีปริมาณโปรตีนสูง และราคาวัตถุดิบยังไม่สูง

แนะนำสูตรทำข้าวเกรียบถั่วลูกไก่ และกระบวนการในการทำแป้ง การฝานตัวอย่าง และรูปแบบการทอดที่เหมาะสม

23

คุณศรันย์ เนมหาวรรณ์

ผู้ประกอบการ

176 ม.11 ต.ห้วยไคร้ อ.แม่สาย จ.เชียงราย

สินค้าบางชนิดมีกลิ่นหืน เช่นแตงโมกรอบ ฟักทองกรอบ มะม่วงกรอบอมน้ำมัน ไม่เกิน 3 เดือนมีกลิ่นหืน แต่ความกรอบยังคงดีอยู่มีข้อมูลการทดสอบ Wa ค่า water activity ได้มีข้อมูลเก็บไว้เป็นระยะ เคยเข้าโครงการของแม่ฟ้าหลวง set up R&D improve product 5 ปีที่แล้ว ลองเปลี่ยนกระบวนการบางอย่างหลายรอบแล้วแต่ยังแก้ปัญหาดังกล่าวได้ไม่สำเร็จ

ให้ทบทวนกระบวนการผลิต ซึ่งอาจเกิดจากตัววัตถุดิบที่ไม่คงที่ เช่นความสุข หรือการหั่นของเครื่องที่ทำให้ความหนาบางไม่เท่ากัน การใช้ไฟไม่สม่ำเสมอ และการรีดน้ำมันออกจากผลิตภัณฑ์ซึ่งทำให้ยังคงมีน้ำมันคงค้าง

24

คุณชุติมา วงศ์สุภานิชกุล

เกษตรกร/ผู้ประกอบการ

79 บ้านดงพระพร

ต.ป่างิ้ว อ.เวียงป่าเป้า จ.เชียงราย

ผู้รับบริการดำเนินการเพาะปลูกพืชในระบบเกษตรอินทรีย์ มีปัญหาการเพาะปลูกได้แก่ การปลูกมะเขือเทศในบางฤดูกาลไม่ให้ผลผลิต และมีปัญหาด้านแมลงศัตรูพืช เช่น หมัดกระโดด โดยทางผู้รับบริการได้ใช้มีการใช้สารชีวภัณฑ์แล้วแต่ไม่สามารถแก้ปัญหาได้ดีเท่าที่ควร

แก้ไขเรื่องระบบโรงเรือนที่มีความปิดสนิท และให้สังเกตการณ์ติดเชื้อบางอย่างในดิน หรือการเกิดเชื้อราที่บริเวณใบ ซึ่งอาจจะทำให้เกิดการติดเชื้อและลามไปยังต้นอื่นได้

เจ้าหน้าที่ประสานงานรับหน้าที่ประสานผู้เชี่ยวชาญโรคพืชลงให้บริการยังสถานประกอบการ

25

คุณสุรพงษ์ ผาสุก

นักพัฒนาชุมชน

กลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์วิถีพอเพียง ต.ธารทอง อ.พาน จ.เชียงราย

 

ความสนใจในการพัฒนาคุณภาพสินค้าได้แก่ ถ่านอัดแท่ง รวมถึงต้องการความช่วยเหลือในการวัดคุณสมบัติจำเพาะของผลิตภัณฑ์เพื่อก่อให้เกิดความเชื่อมั่นในคุณภาพที่ได้รับการยืนยันด้วยการวิเคราะห์

1. การให้ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีพลังงานทำการตรวจวิเคราะห์คุณสมบัติของผลิตภัณฑ์ถ่านของกลุ่ม

2. หารูปแบบในการจัดกิจกรรมเพื่อบริการในการให้คำปรึกษา ทั้งในด้านกระบวนการผลิตถ่านไบโอชาร์ และการให้บริการปรึกษาด้านการตลาด การออกแบบบรรจุภัณฑ์ และรูปแบบบรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสม

คลินิกเทคโนโลยีเครือข่ายมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย จะดำเนินการบริการในการวิเคราะห์ค่าบริการพลังงานของถ่านอัดแท่งที่ได้ทำการพัฒนา

26

คุณอัครพล พิชัย

เลขานุการนายก

27

คุณกัลยาณี สุวรรณ

เกษตรกร

28

คุณสวัสดิ์ เชื้อเมืองพาน

เกษตรกร

29

คุณโสฬส เชื้อเมืองพาน

เกษตรกร

30

คุณบุญส่ง สุวรรณ

เกษตรกร

31

คุณชมพูนุช สุวรรณ

เกษตรกร

32

คุณแจ่มจันทร์ ไชยวรรณ

เกษตรกร

33

คุณอุดม ไชยวรรณ

เกษตรกร

34

คุณนิศรา

เกษตรกร

35

คุณจิราพร

เกษตรกร

36

คุณเวสเซล ไฮเซทส์

ผู้ประกอบการ

313 ใหม่ทุ่งหมด ต.สถาน

อ.เชียงของ จ.เชียงราย

ปรึกษาปัญหาการปนเปื้อนเชื้อจุลินทรีย์กลุ่มโคลิฟอร์ม โดยโรงงานได้ทำการผลิตผงแป้งอาหารเด็กอีกครั้ง โดยพบว่าในส่วนของเชื้อจุลินทรีย์ปนเปื้อนได้แก่ เชื้อ Coliform มีค่าเกินเกณฑ์มาตรฐาน (World food program, WFP: SUPER CEREAL plus corn soya blend) ซึ่งในส่วนของ Coliform กำหนดให้มีค่าไม่เกิน 10 cfu per gram ทั้งนี้ทางโรงงานได้อยู่ระหว่างการตรวจสอบการปนเปื้อนซ้ำอีกครั้งในแต่ละตัน และจากการตรวจซ้ำในจำนวนผงแป้ง 9 ตัน ยังพบว่ามีค่าการปนเปื้อนเกินเกณฑ์มาตรฐาน ซึ่งการปนเปื้อนเชื้อในรอบการผลิตนี้เป็นการปนเปื้อนเชื้อในชนิดที่ต่างจากลอตการผลิตเดิม

การเดินทางไปยังสถานที่ผลิตเพื่อวิเคราะห์จุดเสี่ยงในการก่อให้เกิดการปนเปื้อน และการเพิ่มจุดควบคุมวิกฤต + นัดหมายในการเก็บตัวอย่างวัตถุดิบเพื่อวิเคราะห์ในรอบการผลิตถัดไป

37

คุณธนภัทร ไลย์

ผู้ประกอบการ

42/1 ม.10 บ้านสันหลวง ต.จันจว้าใต้ อ.แม่จัน จ.เชียงราย

ได้มีการเริ่มทดลองทำฝรั่งอบแห้งจำหน่ายไปแล้วประมาณ 2-3 เดือนโดยในกระบวนการดอง/แช่อิ่ม โดยผลิตภัณฑ์ฝรั่งอบแห้งที่ได้ยังมีคุณลักษณะที่ไม่นิ่ง ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ไม่มีกลิ่น (มีแต่รสชาติหวานแต่ไม่หอมกลิ่นเนื้อฝรั่ง) อยากได้สูตรที่มีความนิ่ง แน่นอนในการควบคุมคุณภาพสินค้า

ให้คำแนะนำในการปรับกระบวนการผลิตเพื่อช่วยรักษากลิ่นของฝรั่งอบแห้ง และใช้วัตถุเจือปนในอาหารในปริมาณที่เหมาะสมตามกฎหมายกำหนด ผู้ประกอบการจะนำไปทดลองปรับกระบวนการและนำผลิตภัณฑ์ไปทดสอบคุณภาพ ต่อไป

 

39

คุณวราภรณ์ อ่อนนวน

ผู้ประกอบการ

69 ม.5 บ้านดอนเรือง ต.เมืองชุม อ.เวียงชัย จ.เชียงราย

ต้องการทำผลิตภัณฑ์อาหารอื่นๆ เพิ่ม อยากทราบกระบวนการที่ทำให้อาหารสามารถเก็บได้นาน และการบรรจุที่มีคุณภาพ ปัญหาที่พบในปัจจุบันคือ น้ำพริกน้ำเงี้ยวที่ทำการผลิต ไม่สามารถเก็บรักษาได้นาน เน่าเสียง่าย โดยบรรจุภัณฑ์ในปัจจุบันเป็นถุงพลาสติกใส (ถุงร้อน)

การยืดอายุการเก็บรักษาของผลิตภัณฑ์น้ำพริกลาบ และน้ำพริกน้ำเงี้ยว สามารถควบคุมหรือจัดการได้ตั้งแต่ (1) วัตถุดิบ (2) การควบคุมคุณภาพของผลิตภัณฑ์ (3) รูปแบบของบรรจุภัณฑ์

40

คุณศิวตา เตชะเนตร

ผู้ประกอบการ

103 หมู่ 8 ต.ท่ามะโอ ต.จอมหมอกแก้ว อ.แม่ลาว จ.เชียงราย

1) การเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตร และอยากมีสถานที่ผลิตที่ได้มาตรฐาน Ex. อย. + สามารถเข้าถึงตลาดได้กว้างมากขึ้น 2) ต้องการระบบผลิตไซรัปอ้อย ที่สามารถควบคุมอุณหภูมิและเวลาในการผลิตที่รักษาคุณภาพสินค้าไว้ได้นาน3) ต้องการบรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสม สำหรับสินค้าแปรรูป              4) ต้องการระบบน้ำที่ควบคุมด้วยสมาร์ทโฟน หรือพลังงานโซลาร์เซลล์5) อยากมีความรู้ตลาดสมัยใหม่ สำหรับสมาชิกกลุ่มที่เข้าถึงได้ทุกวัย

1. แนะนำให้ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านการวิเคราะห์ตลาด และกลุ่มเป้าหมาย

2. แนะนำไปใช้บริการ โรงงานต้นแบบของ STEP อุทยานวิทยาศาสตร์ภาคเหนือ

41

คุณแสงนภา ต๊ะดุก

เกษตรกร/ผู้ประกอบการ

32 หมู่ 3 บ้านป่ายาวหลวง ต.ริมกก อ.เมือง จ.เชียงราย

ต้องการอยากแปรรูปผลิตภัณฑ์  ผู้ขอรับบริการยังไม่เคยลองแปรรูปผลิตภัณฑ์ใดๆ แต่มีความสนใจอยากรับข้อมูลองค์ความรู้เกี่ยวกับการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากเคล ขอบเขตของผลิตภัณฑ์แปรรูปที่ผู้ขอรับบริการสนใจยังไม่ชัดเจน เช่น ต้องการผลิตภัณฑ์เครื่องดื่ม ผลิตภัณฑ์อบแห้ง ผลิตภัณฑ์ทอดกรอบ หรือผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ เมื่อถามข้อมูลเพิ่มเติมได้รายละเอียดว่าสนใจการแปรรูปเป็นผงแห้ง

ประเภทของวัตถุดิบที่อยากนำมาแปรรูป มีความต้องการใช้วัตถุดิบตัวที่ตั้งใจนำมาผลิตผลิตภัณฑ์แปรรูปโดยจำเพาะ แต่ยังไม่ได้ระบุว่าเป็นวัตถุดิบชนิดใด ผู้ขอรับบริการมีความสนใจในการเรียนรู้แพลตฟอร์มการตลาดอื่นๆ นอกเหนือจากช่องทางเฟสบุ๊ค / กลยุท์การตลาด

1. สอบถามเกี่ยวกับสถานการณ์การผลิต และการขายในปัจจุบันเพื่อวิเคราะห์พฤติกรรมของลูกค้า ซึ่งพบว่าเป็นกลุ่มคนรักสุขภาพ ซื้อจากเฟสบุ๊กเป็นหลัก ยังไม่มีช่องทางอื่น

2. แนะนำให้เพิ่มกลุ่มลูกค้าเป้าหมายในลักษณะของการตลาดธุรกิจต่อธุรกิจ (B2B) โดยมุ่งที่การขายใบสด แทนการขายแบบต้น เพื่อให้ได้ปริมาณการขายที่มากขึ้น ความถี่การขายเพิ่มขึ้น โดยมุ่งไปที่กลุ่มธุรกิจที่ต้องใช้ผลิตภัณฑ์ใบเคล โดยเรียงลำดับที่สำคัญ คือ (1.) กลุ่มร้านอาหารในเชียงราย ที่ขายอาหารเน้นสุขภาพ อาหารมูลค่าสูง อาหารฟิวชั่น อาหารอิตาเลี่ยน (2.) กลุ่มห้างสรรพสินค้าในเชียงราย ที่มีกลุ่มลูกค้าเป็นคนรักสุขภาพ และมีรายได้สูง มีพฤติกรรมมองหาผักผลไม้ที่มีคุณค่าต่อสุขภาพ

3. แนะนำให้ปรับวิธีการสื่อสารการตลาดในช่องทางเฟสบุ๊ก โดยลดเนื้อหาเกี่ยวกับแปลงผัก ลดความถี่ในการโพสเป็น 2-3วันต่อครั้ง เพิ่มเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับผักเคลในลักษณะอื่นๆ เช่น เมนูสุขภาพ คุณค่าของผัก วิธีการทำอาหาร วิธีการทำเครื่องดื่มผักเคลปั่น หรือการอ้างอิงจากลูกค้าที่มีสุขภาพดี    4. แนะนำให้พัฒนาช่องทางการตลาดบนเฟสบุ๊กให้มีประสิทธิภาพ ควบคู่กับการหากลุ่มลูกค้าใหม่ๆ เพื่อเป็นฐานสำหรับการขยายกิจการ และการแปรรูปเพื่อผลิตและจำหน่ายเองในอนาคต

42

คุณคริส มอร์แกน

ผู้จัดการมูลนิธิวัฒนเสรี

มูลนิธิวัฒนเสรี 171 หมู่ 1

ตำบลโป่งแพร่ อำเภอแม่ลาว จังหวัดเชียงราย 57000

ปรึกษาเรื่องการวางระบบสารสนเทศ สำหรับประเมินความเสี่ยงจากการค้ามนุษย์

ผู้เข้ารับการปรึกษาได้รับการเเนะนำ และออกแบบระบบ ในการประเมินโดยต้องเขียนเว็ปไซด์ ที่มีระบบประเมิณเเละเก็ข้อมมูลตามตัวชี้วัด

43

คุณลูซี แมคเครย์

ผู้จัดการมูลนิธิวัฒนเสรี

มูลนิธิวัฒนเสรี 171 หมู่ 1

ตำบลโป่งแพร่ อำเภอแม่ลาว จังหวัดเชียงราย 57000

ปรึกษาเรื่องการทำระบบสารสนเทศ

ผู้เข้ารับการปรึกษาได้รับการเเนะนำ และร่วมออกแบบระบบ ต่างๆในการใช้ระบบสาระสนเทศในการทำงานเเละรายงานผลขององค์กร ตลอดจนเเนะนำนักโปรเเกรมให้รับช่วงต่อในการออกแบบและพัฒนาระบบ

44

คุณสุกัญญา เตชะเนตร

บุคคลทั่วไป

มูลนิธิวัฒนเสรี 171 หมู่ 1

ตำบลโป่งแพร่ อำเภอแม่ลาว จังหวัดเชียงราย 57000

วิธีในการประเมินโครงการให้เป็นที่ยอมรับ เพื่อรายงานผลไปสู่หน่วยงานแม่ที่ต่างประเทศ

ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับวิธีเก็บรวบรวมข้อมูล และและเครื่องมือที่ใช้รายงานผล ได้เเต่ การออกเเบบสำรวจความพึงพอใจ แบบประเมินรายได้ การวิเคราะห์ SROI

45

คุณแสงเดือน เครือวงศ์

บุคคลทั่วไป

46

นางสาวโยสิยาห์ จันทร์ต๊ะ

บุคคลทั่วไป

46

คุณมุจรินทร์ โอภาโส

เกษตรกร

133 หมู่ 8 บ้านภูเขาแก้ว ต.ช่างเคี่ยน อ.เทิง จ.เชียงราย

แนวทางการเพิ่มมูลค่าสิ่งเหลือใช้ทางการเกษตรจากการเพาะปลูกกาแฟโรบัสต้า เพื่อเป็นแนวทางในการเพิ่มรายได้ให้แก่สมาชิกกลุ่มวิสาหกิจกาแฟ

การสอบถามถึงวัตถุดิบที่มีอยู่ของทางกลุ่ม และผลิตภัณฑ์ที่ทางกลุ่มได้ดำเนินการพัฒนาแล้วในปัจจุบัน เพื่อเป็นข้อมูลในการเลือกให้บริการในการพัฒนาผลิตภัณฑ์

47

คุณธนนชัย สมจิตต์

สำนักงานเกษตรอำเภอ

538 หมู่ 2 บ้านเวียงเชียงแสน ต.เวียง อ.เชียงแสน จ.เชียงราย

ต้องการปรึกษาเกี่ยวกับการพัฒนาทักษะอาชีพ และช่องทางการตลาดให้แก่กลุ่มเกษตรกรแปลงใหญ่ ที่มีผลผลิตได้แก่ ข้าว หม่อนไหม ยางพารา และปลานิล

อยู่ระหว่างการติดต่อประสานเพื่อรวบรวมข้อมูลความต้องการคำปรึกษาของสมาชิกกลุ่ม เพื่อเตรียมการในการลงพื้นที่คลินิกให้คำปรึกษาสัญจร ในปี 2567

48

คุณจันจิรา นันทะ

ผู้ประกอบการ

58 หมู่ 8 ต.ช่างเคี่ยน

อ.เทิง จ.เชียงราย

ต้องการเพิ่มผลิตภัณฑ์ใหม่ให้แก่กิจการ เนื่องจากเป็นกลุ่มเกษตรกรมีผลผลิตที่หลากหลาย ซึ่งผู้ประกอบการต้องการอยากพัฒนาหน้าข้าวแต๋นที่มีส่วนผสมของกาแฟ

ที่ปรึกษารับโจทย์ไปพัฒนาในห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์การอาหารเพื่อให้เกิดเป็นแนวคิดใหม่ที่นอกเหนือจากหน้าข้าวแต๋นที่มีในท้องตลาด

49

คุณหล้า จินดาธรรม

เกษตรกร/ผู้ประกอบการ

354 หมู่ 1 ต.จอมหมอกแก้ว อ.แม่ลาว จ.เชียงราย

การผลิตสบู่กลีเซอรีนเพื่อจำหน่ายมีปัญหาการอ่อนตัวของสบู่เมื่อมีการนำกลับมาหลอมใหม่

อยู่ระหว่างการติดต่อผู้เชี่ยวชาญในการให้คำปรึกษา

50

คุณเวสเซล ไฮเซทส์

ผู้ประกอบการ

313 ใหม่ทุ่งหมด ต.สถาน อ.เชียงของ จ.เชียงราย

พบการปนเปื้อนเชื้อโคลิฟอร์มในผลิตภัณฑ์อาหารผงเด็กอย่างต่อเนื่อง ทางผู้ประกอบการต้องการความช่วยเหลือในด้านการหาสาเหตุ การตรวจวิเคราะห์การปนเปื้อนในจุดเสี่ยง และการแนะนำแนวทางในการแก้ไขปัญหา

การตรวจวิเคราะห์เชื้อ และระบุกระบวนการที่เกิดการปนเปื้อนของเชื้อ

การระบุสาเหตุที่เป็นไปได้สูงในการก่อให้เกิดการปนเปื้อนของเชื้อได้แก่สุขออนามัยของผู้ปฏิบัติงาน จึงได้มีการแนะนำแนวทางในการปฏิบัติตัว การปรับเปลี่ยนกระบวนการ รวมถึงการวางแผนในการอบรมผู้ปฏิบัติงานให้มีความเข้าใจเกี่ยวกับการปฏิบัติตนที่ดีในโรงงานผลิตอาหาร

51

คุณปรียานันท์ ปะเมโท

 

ผู้จัดการโรงงาน

3 ทุ่งซาง ต.ศรีดอนชัย อ.เชียงของ จ.เชียงราย 0835743433

52

คุณศราวุฒิ สมบัติ

หัวหน้าฝ่ายผลิต

3 ทุ่งซาง ต.ศรีดอนชัย อ.เชียงของ จ.เชียงราย 0835743433



รายงานโดย ดร.อรวรรณ วนะชีวิน วันที่รายงาน 30/09/2566 [15765]
12500 30
4 [15629]

วันที่ 7 กันยายน 2566 โครงการคลินิกเทคโนโลยีให้บริการคำปรึกษา และวางแผนป้องกันการเกิดการปนเปื้อนเชื้อจุลินทรีย์ซ้ำ ในผลิตภัณฑ์ผงอาหารเด็กทารก ครั้งที่ 2 บริษัทแม่โขงวาเล่ย์ฟู้ด โดยในครั้งนี้ทำการเก็บตัวอย่างเพื่อส่งวิเคราะห์การปนเปื้อนที่ศูนย์สิ่งแวดล้อม และทดสอบผลิตภัณฑ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย



รายงานโดย ดร.อรวรรณ วนะชีวิน วันที่รายงาน 18/09/2566 [15629]
10000 0
4 [15626]

คลินิกเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย ร่วมจัดแสดงนิทรรศกาลเพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์การนำงานวิจัยและองค์ความรู้ของมหาวิทยาลัยไปสู่ชุมชน โดยในครั้งนี้ได้เข้าร่วมกิจกรรมคลินิกเกษตรเคลื่อนที่ ณ องค์การบริหารส่วนตำบลป่าหุ่ง อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย โดยการนำแผ่นพับประชาสัมพันธ์เพื่อรับสมัครผู้สนใจเข้ารับบริการคำปรึกษา การแจกเอกสารประชาสัมพันธ์ชุดความรู้ต่างๆ ของมหาวิทยาลัย รวมไปถึงการร่วมแจกกล้าไม้ การแจกจ่ายปุ๋ยมูลไส้เดือน เป็นต้น โดยมีเกษตรกรที่สนใจเข้าร่วมกิจกรรมไม่น้อยกว่า 100 คน



รายงานโดย ดร.อรวรรณ วนะชีวิน วันที่รายงาน 18/09/2566 [15626]
5000 100
4 [15609]

เครือข่ายคลินิกเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย เรียนเชิญคุณเอกพงศ์ มุสิกะเจริญ ผู้อำนวยการกลุ่มส่งเสริมธุรกิจเทคโนโลยีและนวัตกรรม กองส่งเสริมและประสานเพื่อประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กปว.) เป็นวิทยากรในการบรรยายทำความเข้าใจโครงการคลินิกเทคโนโลยีให้แก่คณาจารย์ที่สนใจเขียนข้อเสนอโครงการเพื่อขอรับงบประมาณประจำปี 2567 โดยในครั้งนี้ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จำรัส กลิ่นหนู รองอธิการบดี เป็นประธานในการกล่าวเปิดกิจกรรม และมีคณาจารย์เข้าร่วมรับฟังการบรรยายไม่น้อยกว่า 30 คน



รายงานโดย ดร.อรวรรณ วนะชีวิน วันที่รายงาน 18/09/2566 [15609]
3600 33
4 [15607]
เครือข่ายคลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงรายประชาสัมพันธ์ภายในมหาวิทยาลัยเพื่อเปิดรับข้อเสนอโครงการประจำปีงบประมาณ 2567 โดยผลการทำประชาสัมพันธ์คณาจารย์ไม่น้อยกว่า 30 คนสนใจเข้ารับฟังแนวทางการเขียนข้อเสนอโครงการรประจำปีงบประมาณ 2567


รายงานโดย ดร.อรวรรณ วนะชีวิน วันที่รายงาน 18/09/2566 [15607]
0 50
4 [15625]

วันที่ 17 กันยายน 2566 คลินิกเทคโนโลยีลงพื้นที่ให้บริการคำปรึกษาและถ่ายทอดเทคโนโลยีการทำสบู่ธรรมชาติจากกาแฟโรบัสต้าให้แก่กลุ่มวิสาหกิจชุมชนพัฒนากาแฟนครเทิง เนื่องจากกลุ่มมีความต้องการขอรับบริการคำปรึกษาเพื่อต่อยอดการพัฒนาให้แก่ผู้สูงวัยในกลุ่มวิสาหกิจชุมชนจากการผลิตกาแฟโรบัสต้าโดยมีความต้องการองค์ความรู้การผลิตสบู่ธรรมชาติ และสบู่เหลว ซึ่งในครั้งนี้มีวิทยากร ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วลีพรรณ รกิติกุล สาขาวิชาเคมี และอาจาย์ ดร.อรวรรณ วนะชีวิน สาขาวิชาชีววิทยา จากคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นผู้ให้คำปรึกษาและถ่ายทอดเทคโนโลยีครั้งนี้



รายงานโดย ดร.อรวรรณ วนะชีวิน วันที่รายงาน 18/09/2566 [15625]
18500 21
4 [15614]

วันที่ 14 -15 สิงหาคม พ.ศ.2566 ผศ.ดร.ศรชัย มุ่งไธสง อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย และผู้อำนวยการคลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงรายมอบหมายให้ ผศ.ดร.จำรัส กลิ่นหนู รองอธิการบดี ปฏิบัติงานรองผู้อำนวยการคลินิกฯ ผศ.ดร.ปิยพร ศรีสม คณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีปฏิบัติงานผู้จัดการคลินิกฯ และ อ.ดร.อรวรรณ วนะชีวินปฏิบัติงานผู้ประสานงานแพลตฟอร์ม TCS เข้าร่วมงานประชุมเชิงปฏิบัติการเครือข่าย อว. เพื่อพัฒนาศักยภาพจังหวัด ด้วยวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ประจำปี 2566 ภายในงานเทคโนมาร์ท 2023 ณ อิมแพค เมืองทองธานีโดยในกิจกรรม เครือข่ายคลินิกฯมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงรายเข้าร่วมกิจกรรมเสวนาแลกเปลี่ยนการดำเนินโครงการและเข้ารับรางวัลเครือข่ายคลินิกที่มีผลการดำเนินงานโดดเด่นปี 2565



รายงานโดย ดร.อรวรรณ วนะชีวิน วันที่รายงาน 18/09/2566 [15614]
11357 3
3 [14663]

การลงพื้นที่เพื่อให้บริการคำปรึกษา และหาแนวทางในการถ่ายทอดองค์ความรู้การผลิตถ่านไบโอชาร์
(11 เม.ย. 66, ไตรมาส 3)
วันที่ 11 เมษายน 2566 คลินิกเทคโนโลยีเครือข่ายมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงรายได้เดินทางไปเยี่ยมชม ศูนย์การเรียนรู้สวนพระพร เกษตรอินทรีย์วิถีแห่งความพอเพียง เพื่อพบปะกับกลุ่มผู้ประกอบการเกษตรอินทรีย์ PGS ต.ธารทอง อ.พาน จ.พะเยา ทั้งนี้ได้มีการดำเนินการประชาสัมพันธ์ช่องทางในการเข้ารับบริการคำปรึกษาภายใต้โครงการการให้บริการคำปรึกษาด้านธุรกิจการเกษตรแบบครบวงจร แก่สมาชิกกลุ่ม และตัวแทนจากเทศบาลตำบล รวมทั้งสิ้นจำนวน 11 ราย พร้อมทั้งให้ข้อมูลรูปแบบในการเข้าถึงการบริการ ในการนี้ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นงนุช ศรีเล็ก และอาจารย์ปรานต์ เมฆอากาศ อาจารย์ประจำโปรแกรมวิชาวิศวกรรมพลังงานและเทคโนโลยีไฟฟ้า คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงรายได้ร่วมแลกเปลี่ยน และให้องค์ความรู้เกี่ยวกับกระบวนการผลิตถ่านไบโอชาร์ และแนวทางในการพัฒนารูปแบบการควบคุมมาตราฐานของกระบวนการผลิต เพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพคงที่ และมีคุณลักษณะที่เหมาะสมแก่การนำไปประยุกต์เพื่อใช้ประโยชน์ในรูปแบบต่างๆ ที่มีมูลค่าสูงขึ้นต่อไปในอนาคต
ทั้งนี้ทางกลุ่มมีความสนใจในการพัฒนาคุณภาพสินค้าได้แก่ ถ่านอัดแท่ง รวมถึงต้องการความช่วยเหลือในการวัดคุณสมบัติจำเพาะของผลิตภัณฑ์เพื่อก่อให้เกิดความเชื่อมั่นในคุณภาพที่ได้รับการยืนยันด้วยการวิเคราะห์ ซึ่งคลินิกเทคโนโลยีเครือข่ายมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย จะดำเนินการบริการในการวิเคราะห์
ประเด็นปัญหาสำคัญเพิ่มเติมที่กลุ่มต้องการการคำแนะนำและการให้คำปรึกษา รวมถึงช่องทางจากทางคลินิกเทคโนโลยี ได้แก่การเข้าถึงตลาดสินค้าที่เหมาะสม
นอกจากนี้ทางเทศบาล ต.ธารทอง คณาจารย์คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม และคลินิกเทคโนโลยีได้มีการวางแผนร่วมกันในการจัดกิจกรรมการให้การปรึกษา แก่กลุ่มผู้ประกอบการด้านเกษตรในเขต เทศบาล ต.ธารทองในโอกาสถัดไป
• ตกลงรับวิเคราะห์คุณสมับัติถ่านอัดแท่ง เพื่อเปรียบเทียบคุณภาพกับถ่านในท้องตลาด
• เทศบาล ต.ธารทอง มีแนวทางในการต้องการเชื่อมโยงคนรุ่นใหม่เข้ามาส่งเสริมคุณภาพชีวิตของคนในชุมชน
• รับตัวอย่างสินค้ามาเพื่อแก้ป้ายสติกเกอร์
• หารูปแบบในการจัดกิจกรรมเพื่อบริการในการให้คำปรึกษา ทั้งในด้านกระบวนการผลิตถ่านไบโอชาร์ และการให้บริการปรึกษาด้านการตลาด การออกแบบบรรจุภัณฑ์ และรูปแบบบรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสม
 

ลำดับ

รายชื่อ

ตำแหน่ง

1

คุณสุรพงษ์ ผาสุก

นักพัฒนาชุมชน อบต.ธารทอง

2

คุณอัครพล พิชัย

เลขานุการนายกฯ อบต.ธารทอง

3

คุณกัลยาณี สุวรรณ

 

4

คุณสวัสดิ์ เชื้อเมืองพาน

สมาชิกเกษตรอินทรีย์ PGS อ.พาน

5

คุณโสฬส เชื้อเมืองพาน

สมาชิกเกษตรอินทรีย์ PGS อ.พาน

6

คุณบุญส่ง สุวรรณ

สมาชิกเกษตรอินทรีย์ PGS อ.พาน

7

คุณชมพูนุช สุวรรณ

 

8

คุณแจ่มจันทร์ ไชยวรรณ

สมาชิกเกษตรอินทรีย์ PGS อ.พาน

9

คุณอุดม ไชยวรรณ

ผู้ผลิตถ่านอัดแท่ง

10

คุณนิศรา

วิสาหกิจชุมชน

11

คุณจิราพร

วิสาหกิจชุมชน



รายงานโดย ดร.อรวรรณ วนะชีวิน วันที่รายงาน 05/07/2566 [14663]
2360 11
3 [14665]

17 พฤษภาคม 2566

คลินิกเทคโนโลยี ให้บริการคำปรึกษาในรูปแบบออนไลน์ เรื่องกระบวนการแปรรูปถั่วลูกไก่ กระบวนการในการรับมาตรฐาน อย. และรูปแบบของผลิตภัณฑ์แบบต่างๆ โดย ผศ.ดร.พรหทัย พุทธวัน ผู้เชี่ยวชาญด้านวิทยาศาสตร์การอาหารโปรแกรมวิชาเทคโนโลยีและนวัตกรรมอาหารคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัย เป็นผู้ให้บริการคำปรึกษาในครั้งนี้

22 พฤษภาคม 2566

คลินิกเทคโนโลยี ให้บริการคำปรึกษาในรูปแบบออนไลน์ เรื่องการแก้ไขปัญหาการเหม็นหืน การยืดอายุการเก็บรักษาผลิตภัณฑ์ผักและผลไม้ทอดกรอบให้แก่ผู้ประกอบการ บริษัททริปเปิล เจ ฟู้ด โดย ผศ.ดร.พรหทัย พุทธวัน ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมอาหาร
การขยายผล : การรับนักศึกษาโปรแกรมวิชาเทคโนโลยีและนวัตกรรมอาหารในการเตรียมฝึกประสบการณ์แบบสหกิจศึกษา ณ สถานประกอบการ (CWIE) / ผู้ประกอบการได้ผู้ที่มีทักษะความรู้และความเชี่ยวชาญด้านการอาหารในการช่วยศึกษาวิจัย เพื่อพัฒนาคุณภาพการผลิต
 



รายงานโดย ดร.อรวรรณ วนะชีวิน วันที่รายงาน 05/07/2566 [14665]
1000 5
3 [14668]

8 มิถุนายน 2566

คลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย ออกพื้นที่เพื่อให้บริการคำปรึกษา และวางแผนป้องกันการเกิดการปนเปื้อนเชื้อจุลินทรีย์ซ้ำ ในผลิตภัณฑ์ผงอาหารเด็กทารก โดยการวิเคราะห์สถานที่ผลิต และจุดที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงในการ
ปนเปื้อนซ้ำ ทั้งนี้ การตามหาสาเหตุอยู่ระหว่างการรอรอบการผลิตลอตใหม่ ซึ่งทางคลินิกจะลงพื้นที่ดำเนินการอีกครั้งเพื่อเก็บตัวอย่างเพื่อการวิเคราะห์โอกาสในการปนเปื้อน



รายงานโดย ดร.อรวรรณ วนะชีวิน วันที่รายงาน 05/07/2566 [14668]
2800 2
3 [14669]

9 มิถุนายน 25566

การประชุมคณะกรรมการบริหาร ครั้งที่ 4/2566 วางแผน กำหนดตัวผู้รับผิดชอบในการดำเนินงานรับผู้ติดตามตรวจประเมินโครงการในวันที่ 12, 13 และ 16 กรกฏาคม 2566 การวางแผนประชาสัมพันธ์การเขียนข้อเสนอเพื่อรับงบประมาณปี 2567

13 มิถุนายน 2566

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศรชัย มุ่งไธสง อธิการบดี และผู้อำนวยการคลีนิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย มอบหมายให้ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จำรัส กลิ่นหนู รองอธิการบดีและรองผู้อำนวยการคลีนิกฯ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปิยพร ศรีสม คณบดี คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและผู้จัดการคลีนิกฯ ร่วมต้อนรับคณะศึกษาดูงานและเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดำเนินงานกับคณะทำงานคลีนิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง โดยคณะกรรมการคลีนิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย ได้แก่ อ.ดร.อรวรรณ วนะชีวิน อ.ดร.ธนายุทธ ช่างเรือนงาม ผศ.ดร.ทิพวรรณ ประเสริฐสินธ์ ผศ.บรรทด จอมสวรรค์ และ นางสาวศิวพร พลอยเพ็ชร เข้าร่วมกิจกรรม ทั้งนี้ยังได้มีการเยี่ยมชมโปรแกรมวิชาเทคโนโลยีและนวัตกรรมการอาหาร โดย ผศ.วาสนา แก้วโพธิ์ ประธานโปรแกรมวิชาฯ และผศ.ดร.พรหทัย พุทธวัน ผู้เชี่ยวชาญและนักวิจัยคลีนิกฯ เป็นผู้นำเสนอผลงานร่วมกับนักศึกษาสาขาวิชาเทคโนโลยีและนวัตกรรมการอาหาร
 



รายงานโดย ดร.อรวรรณ วนะชีวิน วันที่รายงาน 05/07/2566 [14669]
971 13
3 [14670]

16 มิถุนายน 2566

เครือข่ายคลินิกเทคโนโลยี เข้าร่วมประชุมกับ อว.ส่วนหน้า หอการค้า และสภาอุตสาหกรรมจังหวัด ทั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการทราบขอบเขตของแผนพัฒนาจังหวัด เพื่อนำมาใช้เป็นแนวทางในการชี้แจงสำหรับผู้ที่สนใจเขียนข้อเสนอโครงการในการรับงบประมาณในปี 2567-2570

22 มิถุนายน 2566

เครือข่ายคลินิกเทคโนโลยีนำโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จำรัส กลิ่นหนู รองอธิการบดี และคณะกรรมการคลินกเทคโนโลยี ร่วมกันชี้แจงแนวทางการยื่นข้อเสนอโครงการเพื่อขอรับงบประมาณสนับสนุนปีงบประมาณ 2567 แก่คณาจารย์ที่มีความสนใจร่วมยื่นข้อเสนอโครงการโดยได้มีการแลกเปลี่ยนประเด็นจากคณาจารย์ที่ได้รับงบประมาณสนับสนุนปีงบประมาณ 2566 ในด้านเทคนิคการเขียนข้อเสนอโครงการ แนวทางการดำเนินงานในพื้นที่เพื่อสร้างความสำเร็จในโครงการ เป็นต้น
ผู้เข้าร่วมกิจกรรม 12 คน
 

ลำดับ

รายชื่อ

ตำแหน่ง

สังกัด

1

อาจารย์นเรศ ใหญ่วงศ์

อาจารย์

คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม

2

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ชัชชัย วรพัฒน์

อาจารย์

คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม

3

อาจารย์ ปรานต์ เมฆอากาศ

อาจารย์

คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม

4

อาจารย์ ดร. สุวนันท์ แก้วจันทา

อาจารย์

วิทยาลัยการแพทย์พื้นบ้านและการแพทย์ทางเลือก

5

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. วิภาวรรณ นันโท

อาจารย์

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

6

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ วาสนา แก้วโพธิ์

อาจารย์

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

7

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ณัฐธิดา จุมปา

อาจารย์

คณะวิทยาการจัดการ

8

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ อนุสรา บุญจิตร

อาจารย์

คณะสาธารณสุขศาสตร์

9

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ เพ็ชรสวัสดิ์ กันคำ

อาจารย์

คณะสังคมศาสตร์

10

อาจารย์ ทศพล คชสาร

อาจารย์

คณะสังคมศาสตร์

11

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ศศิพัชร์ หาญฤทธิ์

อาจารย์

คณะสังคมศาสตร์

12

อาจารย์ วัฒนา ปัญญามณีศร

อาจารย์

คณะครุศาสตร์



รายงานโดย ดร.อรวรรณ วนะชีวิน วันที่รายงาน 05/07/2566 [14670]
0 18
3 [14676]

แผนงานอยู่ระหว่างดำเนินการและรอเบิกจ่ายให้แล้วเสร็จในไตรมาสที่ 3

1

ค่าวัสดุการตรวจวิเคราะห์คุณภาพของถ่านอัดแท่ง จำนวน 3 ตัวอย่าง 

การต่อยอดหลังลงพื้นที่ถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตถ่ายไบโอชาร์ เพื่อตรวจวิเคราะห์คุณภาพของถ่านที่ได้รับการถ่ายทอดฯ ของผู้ประกอบการให้เกิดความเป็นรูปธรรมและสามารถใช้เป็นข้อมูลด้านคุณภาพและในการจำหน่ายออกสู่ท้องตลาดต่อไป

       5,000
2

การตรวจวิเคราะห์การปนเปื้อนของเชื้อ จำนวน 4 ตัวอย่าง 

การต่อยอดหลังผู้ประกอบการเข้ารับบริการคำปรึกษาโดยการลงพื้นที่วินิจฉัยปัญหา ณ สถานประกอบการและเก็บตัวอย่างเพื่อที่นำเข้าสู่กระบวนการวิเคราะห์การปนเปื้อนของเชื้อเพื่อให้คำปรึกษาในการแก้ไขสภาพปัญหาต่อไป

     10,000
3

ค่าจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์งานคลินิกเกษตรเคลื่อนที่

กิจกรรมเข้าร่วมประชาสัมพันธ์และให้บริการคำปรึกษานอกสถานที่ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนด้านการเกษตร ซึ่งดำเนินการจัดทำสื่อเพื่อใช้ประชาสัมพันธ์ให้ทราบถึงการให้บริการ และข้อมูลด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่จะสามารถาช่วยแก้ไขสภาพปัญหาหรือพัฒนาศักยภาพของผู้ประกอบการให้สูงขึ้น

     30,000
4

ค่าจัดกิจกรรมฝึกอบรม CIPP Model

กิจกรรมในเครือข่ายคลินิกเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงรายที่จะช่วยให้คณาจารย์ที่รับโครงการมีแนวทางในการเก็บข้อมูลด้านตัวเลขเพื่อวิเคราะห์ความสำเร็จของโครงการในมิติต่างๆ

     10,000
5

ค่าลงพื้นที่ถ่ายทอดเทคโนโลยีการทำสบู่ถ่านไบโอชาร์และมาตรฐานผลิตภัณฑ์

กิจกรรมต่อยอดและขยายผลด้านผลิตภัณฑ์หลังจากได้มีการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตถ่านอัดแท่งให้สามารถขยายผลไปสู่การผลิตผลิตภัณฑ์อื่นๆ ภายในกิจการ

     30,000
         85,000



รายงานโดย ดร.อรวรรณ วนะชีวิน วันที่รายงาน 05/07/2566 [14676]
85000 50
3 [14671]

28 มิถุนายน 2566, ไตรมาส 3

เครือข่ายคลินิกเทคโนโลยี โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปิยพร ศรีสม และ อ.ดร.อรวรรร วนะชีวิน ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ร่วมกับเครือข่ายคลินิกเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง และมหาวิทยาลัยพะเยา ในกิจกรรมแนวทางการเขียนข้อเสนอโครงการเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณการส่งเสริมและการนำ วทน. เพื่อเพิ่มศักยภาพการผลิตและเศรษฐกิจชุมชน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567
 



รายงานโดย ดร.อรวรรณ วนะชีวิน วันที่รายงาน 05/07/2566 [14671]
1488 2
2 [14252]

การให้บริการคำปรึกษา (ไตรมาส 1)

         ในไตรมาสที่ 1 (ต.ค. -ธ.ค. 65) คลินิกเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงรายได้ดำเนินการให้บริการคำปรึกษด้านธุรกิจการเกษตรแบบครบวงจรให้แก่ผู้ขอรับบริการทั้งสิ้นจำนวน 13 ราย โดยช่องทางในการขอรับบริการคำปรึกษาประกอบด้วยการขอรับบริการผ่าน QR code เพื่อกรอกแบบฟอร์มขอรับบริการ การติดต่อทางโทรศัพท์ และการให้การบริการคำปรึกษามีทั้งในรูปแบบออนไลน์ผ่าน Google meet และการเดินทางเข้ามาปรึกษาในมหาวิทยาลัย โดยในการให้บริการคำปรึกษาคลินิกฯ ได้มีการประสานผู้เชี่ยวชาญภายในมหาวิทยาที่มีความเหมาะสมกับการให้บริการรวมทั้งสิ้นจำนวน 9 ราย   จากการแบ่งกลุ่มประเด็นในการขอรับบริการคำปรึกษาตามหมวดที่ทางคลินิกฯ เปิดรับบริการ มีสัดส่วนของการเข้ารับบริการในหมวดต่างๆ ดังแสดงในกราฟ

รายละเอียดของผู้ขอเข้ารับคำปรึกษาและรายละเอียดการให้บริการคำปรึกษาดังแสดงในตารางที่ 1(ไตรมาสที่ 1)

ลำดับ

ชื่อผู้รับบริการ

ประเภทลูกค้า

ที่อยู่

ความต้องการ

ผลการให้คำปรึกษา

1

นายมนตรี ราชเสวี

เกษตรกร

089-8278979
ประจวบคีรีขันธ์
montree.feen@gmail.com

ต้องการรายละเอียดการหมักเพิ่มโกโก้อุปกรณ์ และขั้นตอนการหมักตั้งแต่เริ่มต้นครับ เนื่องจากผมเป็นเกตรกรที่ปลูกโกโก้ ต้องการเรียนรู้การหมักไวน์อน่างละเอียดทุกขั้นตอนครับ

อยู่ระหว่างการประสานผู้เชี่ยวชาญในการให้บริการ

2

นายนิคม มีเมล์

ผู้ประกอบการ

24 หมู่ 2 ต.วังใต้ อ.วังเหนือ จ.ลำปาง 0624248765

aarkorm@yahoo.com

ผู้ประกอบการเป็นตัวแทนกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ชาววังอินเตอร์ชั่น วิสาหกิจชุมชนโกโก้แปลงใหญ่ เมืองวัง เนื่องจากการผลิตโกโก้ที่ได้ดำเนินการก่อให้เกิดน้ำโกโก้ในปริมาณมากในแต่ละลอตการผลิต (น้ำโกโก้ไม่น้อยกว่า 50 ลิตร จากการหมักโกโก้ 15 ตัน) โดยทางผู้ประกอบการได้ทดลองทำเครื่องดื่มน้ำโกโก้สดดูแล้ว แต่ช่องทางการตลาดไม่ชัดเจน จึงอยากหาแนวทางในการสร้างมูลค่าให้แก่น้ำโกโก้ดังกล่าวโดยการนำมาผลิตเป็นไวน์โกโก้

ทางผู้ประกอบการได้เริ่มทดลองการทำไวน์จากน้ำโกโก้แล้วโดยการทดลองอยู่ในระหว่างกระบวนการก่อนการเติมเชื้อ ผู้เชี่ยวชาญจึงได้แนะนำเทคนิคต่างๆ และข้อควรระวังในการทำไวน์ ได้แก่ %น้ำตาลที่เหมาะสมของ Starter, เปอร์เซ็นต์ของ Alcohol ที่คาดว่าจะได้หลังกระบวนการผลิต แหล่งเชื้อ Yeast และขั้นตอนในการกระตุ้นยีสต์ก่อนเติมลงถังหมัก รวมถึงข้อควรระวัง ในด้านการปนเปื้อน ความสะอาด และอุปกรณ์ และสารต่างๆ ที่ควรใช้ ทั้งนี้ ผู้เชี่ยวชาญจะได้ดำเนินการในการให้คำปรึกษาในระหว่างกระบวนการผลิตครั้งนี้ไปจนกว่าจะได้ผลผลิตไวน์ออกมา ซึ่งจะทำให้สามารถหาแนวทางในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของทางกลุ่มให้มีความน่าสนใจได้ต่อไป (เช่นการเติมส่วนผสมอื่นๆ เช่นน้ำสับปะรดปัตตาเวีย น้ำลำไยเพื่อเป็นการสร้างกลิ่นและรสที่ดีขึ้น รวมไปถึงกระบวนการแต่งกลิ่นในอนาคต)

3

นางสาวปรียานันท์ ปะเมโท

 

ผู้ประกอบการ

3 ทุ่งซาง ต.ศรีดอนชัย อ.เชียงของ จ.เชียงราย 835743433

Priyanan.pametho@gmail.com

ต้องการปรึกษาขั้นตอนการกำจัดเชื้อจุลินทรีย์ ในกระบวนการผลิตและกระบวนการทำความสะอาดเครื่องผลิตอาหารผงสำหรับเด็ก

ผู้ขอรับบริการมาทำการปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญด้านวิทยาศาสตร์การอาหารโดยได้รับการแนะนำให้ทำการทดสอบเชื้อที่สงสัยการปนเปื้อนด้วยชุดอาหารสำเร็จรูป โดยจะมีผู้เชี่ยวชาญคอยช่วยเหลือในการเตรียมสารที่จำเป็นในการตรวจ ซึ่งการทดสอบจะทำในลอตการผลิตครั้งถัดไปในเดือน มกราคม - กุมภาพันธ์ 2566

4

คุณพิชญาภา ณรงค์ชัย **

เกษตรกร/ผู้ประกอบการ

212 บ้านทุ่งต้อม ต.ศรีดอนไชย อ.เทิง 0637720565

babeer3128@gmail.com

เป็นวิสาหกิจที่ประกอบกิจการ ปศุสัตว์ และประมง ได้การรับรองมาตรฐาน แต่พบปัญหาต่างๆ ได้แก่ 1) หมู ปลา ที่เลี้ยงไม่โตตามระยะเวลาที่ต้องการ อัตราการแลกเนื้อต่ำเนื่องจากใช้อาหารที่ผสมเองใช้วัตถุดิบในท้องถิ่น 2) เมื่อเลี้ยงปลาได้สักระยะปลาจะลอยคอ เนื่องจาก ในน้ำเลี้ยงปลามีปริมาณออกซิเจนต่ำ 3) การจัดการฟาร์มไม่เต็มประสิทธิภาพ เพราะสมาชิกกว่า 60% ยังไม่มีไฟฟ้าที่ใช้ในฟาร์ม

1) ปรับปรุงสูตรอาหารสำหรับการเลี้ยงหมูและปลา โดยต้องเพิ่มปริมาณอาหารประเภทโปรตีนมากยิ่งขึ้น 2) จัดหาเทคโนโลยีการเพิ่มปริมาณออกซิเจนให้กับน้ำที่ใช้เลี้ยงปลา 3) จัดหาไฟฟ้ามาใช้จากพลังงานทางเลือกอื่นช่น โซล่าเซลล์

5

คุณณัฐภพ คำเงิน

เกษตรกร

180 ม.14 ต.ป่าตึง อ.แม่จัน

0889758997

khamngern27@gmail.com

ต้องการใช้น้ำจากบ่อของตัวเอง แต่ขาดระบบการดึงน้ำเนื่องจากไม่มีไฟฟ้า

1. การคิดวางแผนการลงทุนระบบโซล่าเซลสำหรับสูบน้ำเข้านา แบบอัตราการสูบสูง 2. มุมมองการวางแผนการลงทุน และจุดคุ้มทุนในการใช้โซล่าเซลในฟาร์ม 3. มุมมองเบื้องต้นในการใช้โซล่าเซลในพื้นที่ในฟาร์ม ของเกษตรกร

6

คุณรุ่งนภา เงินถา

เกษตรกร

63 บ้านถ้ำ ต.โป่งงาม อ.แม่สาย จ.เชียงราย

89666868

yordyah@gmail.com

ช่องทางในการจำหน่ายข้าวสาร เดิมขายส่งให้แก่บริษัท และขายให้คำรู้จักแบบปากต่อปากโดยแพ็คข้าวสูญญากาศเป็นกิโล ฝากขายร้านกาแฟ ช่องทางการจำหน่ายออนไลน์ผ่านเพจเฟสบุ๊คของตนเอง จึงต้องการที่จะหาช่องทางในการจำหน่ายอย่างไรให้น่าสนใจและมีหลากหลายมากขึ้น

ให้ปรับปรุงเพจเดิมที่เคยจำหน่ายสินค้า เพิ่มเรื่องราววิธีการนำเสนอโดยให้เจ้าของเองเป็นผู้เล่าเรื่องเชื่อมโยงสินค้าที่มีในฟาร์ม และนำเสนอในรูปแบบภาพเคลื่อนไหว ให้ลูกค้าทราบถึงวิถีการปลูกข้าวและกิจกรรมอื่นๆ ในฟาร์ม เชื่อมไปถึงข้าวที่จำหน่ายดีอย่างไรด้วยการสอนวิธีการหุงข้าวอย่างไรให้อร่อย และการปรุงอาหารที่มีวัตถุดิบจากฟาร์มอินทรีย์เพื่อดึงดูดความสนใจของผู้เข้าชม โดยผลัดเปลี่ยนกิจกรรมตามฤดูกาล เป็นต้น

7

คุณชูชาติ มูลดี

เกษตรกร

86 บ้านท่าต้นเกี๋ยง ต.สันติสุข อ.พาน จ.เชียงราย

863963211

เกษตรกรปลูกโกโก้ ที่ขายผลสดส่งโรงงาน ปัจจุบัน อยากหันมาแปรรูปผลผลิตเอง โดยอยากเริ่มแบบเล็กๆ ไม่ลงทุนสูง

อธิบายภาพรวมกระบวนการผลิตช็อคโกแลตและผงโกโก้ รวมทั้งน้ำโกโก้สด และให้คำแนะนำเกี่ยวกับประเด็นสำคัญและข้อควรระวังในระหว่างการหมักโกโก้

8

คุณนรินทร์ แสงพิชัย

ผู้ประกอบการ

8/1 บ้านปล้อง ต.ปล้อง อ.เทิง จ.เชียงราย

876564426

Rinza2735@gmail.com

ต้องการพัฒนาการแปรรูปปลานิลอินทรีย์แดดเดียว ให้มีคุณภาพและได้มาตรฐาน การพัฒนาบรรจุภัณฑ์

1) การหาอุณหภูมิและระยะเวลาที่เหมาะสมในการิบแห้งในตู้อบลมร้อนขนาดเล็ก และตูอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์

ตู้อบแห้งให้ใช้อุณหภูมิ 60-70C.  ตู้อบพลังงานแสงอาทิตย์ ให้บันทึกอุณหภูมิสภาพอากาศข้างนอหและข้างในตู้ที่อต่ละระยะเวลา เก็บตัวอย่างปลาที่แต่ละระยะเวลาการอบ มาขั่งน้ำหนัก และวัดค่าน้ำอิสระ (ไม่เกิน 0.85) ตามมี่ มผช. กำหนด

2) สุขลักษณะที่ดีในการแปรรูป โดยให้ความสำคัญกับน้ำที่ใช้ในกระบวนการแปรรูปต้องเป็นน้ำสะอาด ชำแหละและเตรียมปลบนโต๊ะสูงจากพื้น อย่างน้อย 60cm อุปกรณ์ ภาชนะ มีด เขียง ที่ใช้ต้องสะอาด คนทำงานต้องล้างมือ สวมถุงมือสะอาด หมวกคลุมผม และแมสปิดปาก

3) บรรจุภัณฑ์ควรเป็นพลาสติกซีลปิดสนิทสุญญากาศ และเก็บที่อุณหภูมิต่ำ หรือแช่แข็ง"

9

คุณธนกฤต ชมพู**

ผู้ประกอบการ

37 บ้านตงจาใจ ต.แม่สลองนอก อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย

649699053

vitapac.jacky@gmail.com

เป็นวิสาหกิจชุมชนดำเนินการพัฒนาสินค้าประเภทกาแฟโดยการใช้ยีนส์และ O3 ในกระบวนการผลิต และพบว่าในการผลิตกาแฟนั้นเกิดของเสียเช่น กากกาแฟ เชอรี่กาแฟ ซึ่งมีความต้องการพัฒนา ต่อยอดของเสียเหล่านี้เป็นน้ำส้มควันไม้ หรือ Wood vinegar และ สารดูดความชื้น ดูดกลิ่น

1. แนะนำกระบวนการผลิต อุปกรณ์ และเทคโนโลยีการผลิตน้ำส้มควันไม้เบื้องต้น

2. ประเมินศักยภาพด้านประเภทของเสียจากกระบวนการผลิตกาแฟ โดยจากข้อมูลของผู้รับบริการ ของเสียได้แก่ กากกาแฟ เชอรี่กาแฟ กาแฟที่คั่วแล้วไม่เป็นไปตามมาตรฐาน ซึ่งสามารถนำมาผลิตเป็นน้ำส้มควันไม้เพื่อใช้ในการเกษตรได้ และ ยังสามารถนำมาผลิตเป็นสารดูดความชื้นและสารดูดกลิ่นได้

10

คุณธัญพัฒน์ ปัญญาราช

เกษตรกร

84 บ้านทุ่งต้อม ต.ศรีดอนไชย อ.เทิง จ.เชียงราย

886834655

Peerapat7068@gmail.com

ต้องการแปรรูปข้าวอินทรีย์ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม

ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการแปรรูปข้าวกรณีที่ต้องการทำเป็นเครื่องดื่มผงพร้อมชงและเครืองดื่มน้ำนมข้าวผสมธัญพีช ที่ต้องการเก็บไว้ได้นาน ว่ามีข้อควรระวังและมาตรฐานที่จะเข้ามาเกี่ยวข้องอย่างไร ซึ่งเกษตรกรต้องมีความพร้อมและมุ่งมั่น ผู้ขอรับบริการให้ความสนใจต่อการทำข้าวสารเคลือบสีจากสมุนไพร และคิดว่าน่าจะเป็นการแปรรูปที่เหมาะสมกับเกษตรกร จึงให้ข้อคิดเห็นว่าน่าจะส่งต่อให้ผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ในการทำเรื่องนี้

11

คุณพงศ์พันธ์ ศิริแสน

เกษตรกร

165/1 บ้านหนองแรดใต้ ต.หนองแรด อ.เทอง จ.เชียงราย

899992330

เกษตรกร ประกอบการปลูกข้าว 17 ไร่ ในช่วงฤดูฝนน้ำท่วมขังไม่สามารถทำนาได้ จึงทำได้เพียงในช่วงฤดูนาปรังเท่านั้น ทุกครั้งที่เตรียมดิน หรือปลูกข้าวต้อบสูบน้ำเข้านาโดยใช้เครื่องยนต์เบนซิน ทำให้มีต้นทุน (น้ำมัน) ในการทำนาสูง ประกอบกับราคาข้าวตกต่ำ เมื่อจำหน่่ายผลผลิตจึ่งไ่ม่เคยได้กำไร จึงต้องการได้รับการสนับสนุนเครื่องสูบน้ำเข้านาโดยพลังงานแสงอาทิตย์

1. การจัดหาเครื่องสูบน้ำพลังแสงอาทิตย์

2. การทำไร่นาสวนผสม ตามโมเดลโคกหนองนา
และแนะนำหน่วยงานของรัฐในการติดต่อเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณจัดหาเครื่องสูบน้ำพลังแสงอาทิตย์

12

คุณชัยโรจน์ อัศวธัญโรจน์

เกษตรกร

209 หมู่ 7 บ้านท่าต้นเกี๋ยง ต.สันติสุข อ.พาน จ.เชียงราย

849495542

chairojt21@gmail.com

เกษตรกร เพิ่งเริ่มเพาะปลูกโกโก้ กำลังจะเก็บเกี่ยวขาย และทางโรงงานรับซื้อ อยากให้เตรียมเป็นเมล็ดแห้งมาขาย แทนการขายเป็นผลสด จึงอยากที่บกระบวนการเตรียมเมล็ดโกโก้แห้ง และอยากทราบกระบวนการแปรรูปโกโก้ไปเป็นช็อคโกแลตและผงโกโก้

ได้อธิบายกระบวนการเตรียมเมล็ดโกโก้แห้ง โดยต้องทำการหมักเมล็ดโกโก้ก่อน จากนั้นนำไปตากแห้งหรืออบจนมีความชื้นต่ำ จึงนำไปส่งจายโรงงานได้ และอธิบายกระบวนการแปรรูปช็อคโกแลต โดยนำเมล็ดหลังตากแห้ง มาคั่วเอาเปลือกออก จากนั้นจะได้โกโก้นิบส์ แล้วนำไปบดปั่นโดยใช้เครื่องบดช็อคโกแลต นาน 2-3 วัน จึงจะได้ช็อคโกแลตเหลว หรือ โกโก้แมส และเทลงพิมพ์ช็อคโกแลต ถ้าอยากทำผงโกโก้ ก็นำโกโก้นิบส์มาเข้าเครืองบดอัดแยกไขมันโกโก้ออก จะได้กากแล้วนำกากโกโก้ไปทำแห้ง และบดละเอียดให้เป็นผง

13

คุณนิพาพร ชุมภูวงศ์

ผู้ประกอบการ

166 หมู่ 12 บ้านร่องริว ต.สันติสุข อ.พาน จ.เชียงราย

905195209

toypop1234@gmail.com

"1.การเตรียมวัตถุดิบปลานิล ผู้ประกอบการต้องการวิธีการเตรียมปลานิลให้สะอาดปราศจากเชื้อจุลินทรีย์และต้องการให้เป็นปลานิลแดดเดียวรมควันไร้ก้าง 2.ผู้ประกอบการต้องการโรงอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์แบบเรือนกระจกหรือพาราโบล่าโดม 3.ผู้ประกอบการต้องการตู้อบรมควันแบบใช้ไฟฟ้าหรือแก๊สหุงต้ม"

"1.ในกรณีของการแล่ปลานิลเพื่อให้ได้ปลาแดดเดียวรมควันไร้ก้าง ทางผู้ประกอบการสามารถทำได้โดยเน้นการใช้มีดคมและฝึกทักษะในการแล่ด้วยตนเองได้เพราะมีผู้ประกอบการหลายกรณีที่ผุ้ให้คำปรึกษาได้เคยให้คำแนะนำสามารถทำด้วยตนเองได้เป็นอย่างดี 2.กรณีของพาราโบล่าโดมนั้น ผู้ประกอบการหลายกรณีที่ใช้แล้วทำให้ปลาที่ตากแล้วมีความสะอาดปราศจากสิ่งปนเปื้อนที่มากับอากาศเช่นฝุ่นละออง เชื้อจุลินทรีย์ เป็นต้น นอกจากนี้สามารถควบคุมอุณหภูมิในการอบแห้งได้เพราะพาราโบล่าโดมนี้จะมีการติดตั้งตัวให้ความร้อนในกรณีที่แสงแดดไม่เพียงพอจึงป้องกนการเน่าเสียของปลาได้ 3.ตู้อบรมควันแบบใช้ไฟฟ้าหรือแก๊สหุงต้ม ปัจจุบันมีจำหน่ายหลายขนาด สามารถควบคุมอุณหภูมิในการอบรมควัน ควบคุมปริมาณควันที่จะใช้อบและสามารถตั้งเวลาในการอบได้ จะทำให้ปลาแดดเดียวรมควันมีความสะอาดปลอดสารพิษที่อาจจะเกิดจากการรมควันได้"

14

คุณสุพัฒน์ เขตรักษา

ผู้ประกอบการ

117 บ้านปล้องเหนือ ต.ปล้อง อ.เทิง จ.เชียงราย

896674655

อยากพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์เพื่อเพิ่มยอดขาย ทำการตลาดให้กว้างขึ้น

1) การพัฒนารูปแบบของไม้กวาดรูปแบบใหม่ให้สามารถขยายตลาดจากเดิมได้โดยให้ดูมีความทันสมัย เพิ่มขนาดและรูปลักษณ์ให้มีความหลากหลาย เพิ่มสีสรรจากเดิม 2)การติดแท็กสินค้าและพัฒนาบรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสมกับรูปแบบใหม่ 3) การตลาดที่ขายในช่องทางออนไลน์

** หมายถึงผู้รับบริการคำปรึกษาที่มีศักยภาพเหมาะสมแก่การดำเนินการถ่ายทอดเทคโนโลยี


แนวทางการถ่ายทอดเทคโนโลยี

         จากผู้รับบริการคำปรึกษาจำนวน 14 รายในไตรมาสที่ 1  ผู้รับบริการและผู้เชี่ยวชาญได้มีการติดต่อระหว่างกันเพื่อต่อยอดในการพัฒนาจำนวน 2 ราย ซึ่งมีแผนจัดกิจกรรมการถ่ายทอดเทคโนโลยีให้แก่กลุ่มผู้ประกอบการในไตรมาสที่ 2 ประกอบด้วย

  1. กลุ่มวิสาหกิจชุมชนทุ่งต้อมเกษตรอินทรีย์ ต.ทุ่งต้อม อ.เทิง จ.เชียงราย ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีการผลิตผลผลิตทางการเกษตรภายใต้ระบบเกษตรอินทรีย์ โดยมีผลผลิตได้แก่ ข้าวขาว ข้าวกล้อง ปลานิล หมูดำเหมยซาน โดยทางกลุ่มมีตลาดรองรับผลผลิตที่ดี เช่น ไร่อิงจันทร์ สิรินฟาร์ม  เลม่อนฟาร์ม ซึ่งผลผลิตที่ได้ของกลุ่มในเวลานี้ยังไม่เพียงพอแก่ความต้องการของตลาด โดยทางกลุ่มมีความต้องการเทคโนโลยีพลังงานทางเลือกเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการเพาะเลี้ยงปลานิล เนื่องจากปลานิลนั้นเป็นต้นทางของการผลิตอาหารสัตว์อื่นๆ ในฟาร์ม โดยประเด็นต่างๆ ที่มีโอกาสในการใช้พลังงานทดแทนในการส่งเสริมการเลี้ยงคือ การใช้พลังงานในการเพิ่มอากาศในบ่อเลี้ยงปลานิล และการใช้พลังงานในการสร้างแสงสว่างเหนือบ่อในตอนกลางคืนเพื่อล่อแมลง
  2. กลุ่มวิสาหกิจชุมชนผลิตกาแฟ อะโวคาโด้ และ  ต.แม่จาใจ อ.แม่สลองนอก จ.เชียงราย โดยอาจารย์ผู้บริการคำปรึกษาได้ทำการติดต่อ และลงพื้นที่กลุ่มเป้าหมายเพิ่มเติมเพื่อรวบรวมข้อมูล และประเด็นความต้องการจากกลุ่มวิสาหกิจเพิ่มเติมในการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากกากกะลากาแฟซึ่งเป็นของเสียจากกระบวนการผลิต ทั้งนี้อาจารย์ผู้เชี่ยวชาญอยู่ระหว่างการดำเนินการขอทุนสนับสนุนการวิจัยจากแหล่งงบประมาณอื่น ควบคู่กับการสนับสนุนงบประมาณในการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากคลินิกฯ


รายงานโดย ดร.อรวรรณ วนะชีวิน วันที่รายงาน 05/04/2566 [14252]
8388 16
2 [14261]

วันที่ 10 มกราคม 2566 (ไตรมาสที่ 2)

ฝ่ายงานคลินิกเทคโนโลยี สถาบันถ่ายทอดเทคโนโลยีและนวัตกรรม จัดประชุมชี้แจงแนวทางการดำเนินโครงการและการสรรงบประมาณที่ได้รับการสนับสนุน ภายใต้โครงการคลินิกเทคโนโลยี กิจกรรมส่งเสริมการนำ วทน. เพื่อเพิ่มศักยภาพการผลิตและเศรษฐกิจชุมชน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ณ ห้องประชุมสถาบันการเรียนรู้ตลอดชีวิต  โดยมีผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จำรัส กลิ่นหนู รองอธิการบดี และอาจารย์ ดร.อรวรรณ วนะชีวิน ผู้จัดการคลินิกฯ นำการประชุมชี้แจงให้แก่หัวหน้าโครงการที่ได้รับโครงการสนับสนุนทั้งสิ้นจำนวน 6 โครงการ



รายงานโดย ดร.อรวรรณ วนะชีวิน วันที่รายงาน 05/04/2566 [14261]
0 6
2 [14258]

รายละเอียดของผู้ขอเข้ารับคำปรึกษาและรายละเอียดการให้บริการคำปรึกษา ไตรมาสที่ 2

ลำดับ

ชื่อผู้รับบริการ

ประเภทลูกค้า

ที่อยู่

ความต้องการ

ผลการให้คำปรึกษา

14

นายนิคม มีเมลล์

ผู้ประกอบการ

124 หมู่ 2 ตำบลวังใต้ อ.วังเหนือ จ.ลำปาง

วิสากิจชุมชน ชาววังอินเตอร์ชั่น,วิสาหกิจชุมชนโกโก้แปลงใหญ่เมืองวัง ต้องการคำปรึกษาในด้าน  

1. เทคนิคในการหมักเมล็ดโกโก้ และสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมกับพื้นที่ เพื่อให้ได้เมล็ดโกโก้คุณภาพ

2. เทคนิคในการตากเมล็ดโกโก้ และสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมกับพื้นที่ เพื่อให้ได้เมล็ดโกโก้คุณภาพ

3. การแปรรูปเมล็ดโกโก้เป็นผงโกโก้ที่ไม่เปรี้ยว   

4. การทำไวน์โกโก้

ผู้เข้ารับการปรึกษาได้ทดลองกระบวนการหมักไวน์ไปแล้ว ผู้เชี่ยวชาญจึงได้ให้คำแนะนำเพิ่มเติมเกี่ยวกับกระบวนการในการ

15

นายมนตรี ราชเสวี

เกษตรกร

089-8278979
ประจวบคีรีขันธ์
montree.feen@gmail.com

ต้องการรายละเอียดการหมักเพิ่มโกโก้อุปกรณ์ และขั้นตอนการหมักตั้งแต่เริ่มต้นครับ เนื่องจากผมเป็นเกตรกรที่ปลูกโกโก้ ต้องการเรียนรู้การหมักไวน์อน่างละเอียดทุกขั้นตอนครับ

เนื่องจากประเด็นที่ผู้ประกอบการให้ความสนใจในการผลิตไวน์โกโก้นั้น เมื่อที่ปรึกษาได้ทำการสอบถามเชิงลึกจึงพบประเด็นที่เป็นปัญหาติดขัดต่อการดำเนินการได้จริงคือเรื่องหลักศาสนา ทำให้เมื่อผลิตแล้วจึงไม่สามารถจำหน่ายได้ ที่ปรึกษาจึงเสนอแนะการทำคราฟโซดาพร้อมกับขั้นตอนการผลิตแก่ผู้ประกอบการ

16

นางสาว รัชดา ใจวงค์

ผู้ประกอบการ

172/15  ห้วยสักยางฮอม            ขุนตาลเชียงราย

ผู้ประกอบกิจการ เห็ดน้อยร้อยล้าน ปัจจุบันทำผลิตภัณฑ์ 2 ตัวคือ หน่อไม้อบแห้งสีทอง และปุ๋ย มีความต้องการ 1. หน่อไม้อบแห้งสีทอง อยากให้ช่วยพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ตรงความต้องการของตลาด ที่ดึงดูดทำยอดขายได้มากยิ่งขึ้น และมีมาตรฐานรับรองเพื่อเพิ่มความมั่นใจให้ลูกค้า

2. ปุ๋ย(สารปรับปรุงดิน) อยากให้ช่วยปรับสูตรและพัฒนาให้มีประสิทธิภาพในการปรับปรุงดินได้ดียิ่งขึ้น

 

17

นายกฤตอินดอน

เกษตรกร/ผู้ประกอบการ

31 ม่อนป่ายาง หนองแรด เทิงเชียงราย

เป็นวิสาหกิจชุมชน ผลิตภัณฑ์ที่ทำอยู่ ได้แก่ สเปรย์สมุนไพรกระดูกไก่ดำ สเปรย์สกัดจากเมล็ดลำไย น้ำมันงาผสมสารสกัดจากเมล็ดลำไย ปกติขายสินค้าในหมู่บ้าน และมีการออกบูทร่วมด้วย กำลังดำเนินการขอมาตรฐานโดยมีแพทย์แผนไทยเป็นที่ปรึกษา ต้องการ อยากทำการตลาด ขยายฐานลูกค้า เพื่อเพิ่มยอดขาย

ผู้ประกอบการต้องการขยายตลาดขยายฐานลูกค้าเพิ่มขึ้น เพื่อเพิ่มยอดขายให้สูงขึ้น แนะนำให้ ผู้ประกอบการพัฒนาสินค้าให้มีมาตราฐานสูงขึ้น1) ให้ทำฉลากบอกส่วนผสมของผลิตภัณฑ์ ให้ชัดเจน 2) ให้ขอใบจดแจ้ง อย. 3) ให้ประสานเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนกลุ่มสมุนไพรเทศบาลพญาเม็งราย จังหวัดเชียงราย เพื่อดูวิธีการผลิต ด้านการตลาด กลุ่มลูกค้าเป้าหมาย เพิ่มยอดขายให้สูงขึ้น 4) ให้ศึกษาข้อมูลสมุนไพรโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร จังหวัดปราจีนบุรี เพื่อจะได้ทราบถึงงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับส่วนผสมของผลิตภัณฑ์ เพื่อให้ลูกค้าเกิดความมั่นใจ

18

นางไอรดา มหามาตย์

เกษตรกร/ ผู้ประกอบการ

187 ม่อนป่ายางหนองแรด เทิง

เป็นวิสาหกิจชุมชน ทำตะกร้าหวาย โดยวัตถุดิบทั้งหมดมาจากพ่อค้าคนกลางและการซื้อขายจะต้องผ่านพ่อค้าคนกลางทั้งหมด ทำให้โดนกดราคา ขายได้ในราคาที่ต่ำกว่าท้องตลาด อยากทำการตลาด และเพิ่มช่องทางการขายให้หลากหลายมากยิ่งขึ้น

1) ให้ผู้ประกอบการพัฒนาสินค้าเพื่อขอมาตราฐานผลิตภัณฑ์ เช่น หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.) โดยให้ผู้ประกอบการติดต่อกับหน่วยงานภาครัฐ เช่น สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย เป็นต้น 2) ให้ผู้ประกอบการเพิ่มช่องทางการจำหน่ายสินค้า online โดยให้บุตรชาย ช่วยเหลือในช่องทางดังกล่าว

19

นายจตุพล  พงศ์ธนันดร

เกษตรกร

170 ม่อนป่ายาง หนองแรด เทิงเชียงราย

ปลูกข้าว ทำนาแบบผสมผสาน ทำให้พันธ์ข้าวผสมกันทั้งข้าวเจ้าและข้าวเหนียว ทำให้ขายได้ราคาน้อยโดนกดราคาจากพ่อค้าคนกลาง

อยากได้ความรู้และเทคโนโลยีในการเก็บเกี่ยวข้าวสมัยใหม่ เช่นเครื่องคัดเมล็ดข้าว

โดรนสำหรับพ่นยาให้ปุ๋ย เพื่อให้ผลผลิตข้าวออกมาสมบูรณ์และขายได้ในราคาที่สูงขึ้น

1) แนะนำให้เกษตรกรมีการวางแผนและจัดการการผลิตเพื่อให้สอดคล้องกับรูปแบบการปลูกพืชในปัจจุบันที่ต้องการมาตรฐานมากยิ่งขึ้น

2) ชี้ประเด็นสำคัญในการผลิตว่า ควรเริ่มจากจุดใดก่อน ซึ่งเกษตรกรรับและคาดว่าจะมีการขอคำแนะนำเพิ่มเติมต่อไป เช่น การเลือกระบบการปลูกว่าจะเป็นการปลูกข้าวเพื่อบริโภคหรือเพื่อผลิตเมล็ดพันธุ์ ก่อนจะเลือกมาตรฐานการผลิตว่าจะเป็นแบบ GAP หรืออินทรีย์ เพื่อที่จะวางแผนระบบในการจัดการการปลูกให้เหมาะสมกับเกษตรกรได้ง่ายขึ้น

3) ในส่วนของปัญหาแหล่งน้ำการเกษตรที่ไม่เพียงพอ  ในเบื้องต้น ได้ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการจัดทำโครงการขอแหล่งน้ำ แนะนำหน่วยงานหรือแหล่งข้อมูลที่เกษตรกรสามารถขอใช้ประโยชน์ได้  คาดว่าน่าจะมีการพูดคุยในรานละเอียดในครั้งต่อไปหากเกษตรกรสนใจได้

20

นางสาวจำปี บดกระโทก

เกษตรกร/ผู้ประกอบการ

เลขที่ 67ท่าหลุก แม่ยาวเมือง เชียงราย

ปัจจุบันทำเกษตรอินทรีย์เลี้ยงไก่อินทรีย์ มาประมาณ 4 ปี มีการส่งไข่ไก่ขายให้กับร้านค้า TOP, สิรินฟาร์ม และที่อื่นๆร่วมด้วย อยากพัฒนาโรงเลี้ยงไก่โดยใช้ระบบโซลาร์เซลล์ เพื่อประหยัดพลังงานในการใช้พัดลมระบายอากาศ และระบบพ่นหมอกเพื่อช่วยระบายอากาศให้ไก่

ที่ปรึกษาลงพื้นที่เพื่อหาข้อมูลในการพัฒนาจากสภาพพื้นที่จริง โดยที่ปรึกษาได้จัดทำข้อมูลเพื่อแก้ไขสภาพปัญหาการลดความร้อนจากโรงเรือนเลี้ยงไก่ ด้วยระบบน้ำหล่อหลังคา และพัดสมระบายอากาศจากพลังงานแสงอาทิตย์ โดยระบบที่ใช้มีตัวตรวจวัดอุณหภูมิของสิ่งแวดล้อมและสามารถควบคุมการเปิดปิดเครื่องได้อัตโนมัติ

21

นางมลธิยา ยองเพชร

เกษตรกร

91บ้านห้วยก้างศรีชุม ต. ไม้ยา    อ.พญาเม็งรายเชียงราย

ปัจจุบันทำปลูกกล้วย ปลูกไผ่ และปลูกพืชผักสวนครัว และมีเนื้อที่ 7 ไร่ มีความต้องการอยากปรับเปลี่ยนพื้นที่ให้เป็นโคกหนองนา มีการใช้ประโยชน์ของที่ดินที่มีอยู่ให้ได้มากที่สุด

ที่ปรึกษาได้แนะนำให้ผู้รับบริการยื่นชื่อเข้าร่วมโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ประยุกต์สู่ “โคก หนอง นา โมเดล” กับสำนักงานพัฒนาชุมชนระดับอำเภอ



รายงานโดย ดร.อรวรรณ วนะชีวิน วันที่รายงาน 05/04/2566 [14258]
4000 8
2 [14257]

วันที่ 24 มีนาคม 2566 (ไตรมาสที่ 2)

คลินิกเทคโนโลยี ได้ดำเนินการจัดกิจกรรมการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านให้แก่เครือข่ายผู้ประกอบการการด้าน เกี่ยวกับกระผลิตไบโอชาร์และน้ำส้มควันไม้จากการทอริแฟคชั่นและไพโรไลซิส ณ คณะเทคโนโยลีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย โดยมีคณาจารย์ประจำโปรแกรมวิชาวิศวกรรมพลังงานและเทคโนโลยีไฟฟ้า ได้แก่ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นงนุช ศรีเล็ก อาจารย์สิทธิกฤต เหล็กพลู และอาจารย์ปรานต์เมฆกาศ เป็นผู้ให้องค์ความรู้ ทั้งนี้องค์ความรู้ดังกล่าวจะเป็นประโยชน์ต่อการนำวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรมาก่อให้เกิดประโยชน์ด้วยการปรับปรุงคุณสมบัติเป็นวัสดุด้านพลังงาน และวัสดุมูลค่าสูงอื่นๆ เช่น สารปรับปรุงดิน สารตั้งต้นสำหรับการดูดซับ โดยในการอบรมครั้งนี้ได้มีตัวแทนผู้ประกอบการด้านการเกษตร เข้าร่วมกิจกรรมทั้งสิ้นจำนวน 14 ราย ดังแสดงรายละเอียด

ลำดับ

รายชื่อ

ชื่อสถานประกอบการ

ที่ตั้งสถานที่ประกอบการ

1

คุณพงษ์ลัดดา ศรีสะอาด

ยอดดอย

511/14ต.รอบอวียง อ.เมือง จ.เชียงราย 57000

2

คุณตฤณ ไกรขจรกิตติ

โรงคั่วกาแฟ

253หมุ่3ต.โปร่งแพร่ อ.แม่ลาว จ.เชียงราย

3

คุณแจ่มจันทร์  ไชยวรรณ์

วิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์วิถีแห่งความพอเพียง ถ่านอัดแท่ง

ต.ธารทอง อ.พาน จ.เชียงราย

4

คุณอุดม ไชยวรรณ์

วิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์วิถีแห่งความพอเพียง ถ่านอัดแท่ง

ต.ธารทอง อ.พาน จ.เชียงราย

5

คุณอินสอน วรรณโน

ทต.เวียงชัย

555ม.1ต.เวียงชัย อ.เวียงชัย จ.เชียงราย

6

คุณวรรธิดา  ราชคม

ทต.เวียงชัย

555ม.1ต.เวียงชัย อ.เวียงชัย จ.เชียงราย

7

คุณธนาวิทญ์ ตุ้ยวงค์

ทต.เวียงชัย

555ม.1ต.เวียงชัย อ.เวียงชัย จ.เชียงราย

8

คุณนพดล   มะโนลา

สวนผักแม่จันทร์หอม

หมู่ 11บ้านหนองหล่ม  ต.เวียงชัย อ.เวียงชัย จ.เชียงราย

9

คุณอัญธิกา  พรมขัดดุก

ทต.เวียงชัย

555หมู่ 1ตำบลเวียงชัย อำเภอเวียงชัย จังหวัดเชียงราย

10

คุณสมศักดิ์ เมืองแก้ว

ไม่ระบุ

ไม่ระบุ

11

คุณธนกฤต ชมภู

ไม่ระบุ

37 บ้านตงจาใจ ต.แม่สลองนอก อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย

12

คุณอภิชาติ เยาวยอด

ไม่ระบุ

ไม่ระบุ

13

คุณนนทกร อารีนิยม

ไม่ระบุ

ไม่ระบุ

14

คุณธนพัฒน์ พงค์ดอน

ไม่ระบุ

ไม่ระบุ



รายงานโดย ดร.อรวรรณ วนะชีวิน วันที่รายงาน 05/04/2566 [14257]
9240 14
2 [14256]

วันที่ 28 มีนาคม 2566

เครือข่ายคลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย ได้ดำเนินการประชุมให้แก่คณะผู้ดำเนินโครงการในแต่แพลตฟอร์ม NCB/BCE/SCIเพื่อชี้แจงความคืบหน้าการโอนงบประมาณสนับสนุนจาก สป.อว. แนวทางการเบิกจ่ายงบประมาณ รูปแบบการรายงานผลเข้าสู่ระบบ Clinic Monitoring Online (CMO) รวมถึงแนวทางในการติดตามผลการดำเนินโครงการให้แก่โครงการที่ได้รับงบประมาณสนับสนุนจำนวน 5 โครงการ ประกอบด้วย

แพลตฟอร์ม

โครงการ

หัวหน้าโครงการ

NCB

การพัฒนาผู้นำและเครือข่ายเกษตรปลอดภัยตามแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจสีเขียว (BCG Model) และ Eco Rice จังหวัดเชียงราย

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กษิดิศ ใจผาวัง

BCE

ร้อยรักตี้ฮ่อมลมจอย

อาจารย์ ดร.ธนายุทธ ช่างเรือนงาม

BCE

การยกระดับและพัฒนาผลิตภัณฑ์ข้าวแต๋นด้วยกระบวนการมาตรฐานการผลิตเพื่อเข้าสู่ตลาดดิจิทัล

อาจารย์กฤษณกัณฑ์

BCE

การพัฒนาผลิตภัณฑ์ต้นแบบจากกล้วยครบวงจร สู่การจัดตั้งวิสาหกิจชุมชนบ้านเมืองกาญจน์

อาจารย์ชญานิน       วังตาล

SCI

ชุมชนสามัคคีเกษตรอินทรีย์ฟาร์ม ตำบลแม่ฟ้าหลวง อำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ณัฐธิดา จุมปา



รายงานโดย ดร.อรวรรณ วนะชีวิน วันที่รายงาน 05/04/2566 [14256]
0 15
2 [14255]

วันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566 (ไตรมาสที่ 2)

มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงรายได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารการขับเคลื่อนงานคลินิกเทคโนโลยี โดยมีวัตถุประสงค์ในการอำนวยการดำเนินการ ให้คำปรึกษา แก้ไขปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงานของคลินิกเทคโนโลยี กำหนดแนวทางการดำเนินงานคลินิกฯ ให้สอดคล้องตามตัวชี้วัดของแหล่งทุน รวมถึงให้ข้อเสนอแนะแนวทางแก้ไขปัญหา อุปสรรคของงานคลินิกให้คณะทำงานที่ได้รับการแต่งตั้งให้ปฏิบัติหน้าที่เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปด้วยความเรียบร้อย โดยได้มีการประชุมคณะกรรมการบริหารฯ ครั้งแรกเมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566



รายงานโดย ดร.อรวรรณ วนะชีวิน วันที่รายงาน 05/04/2566 [14255]
0 7