2566 โครงการบริการให้คำปรึกษาและข้อมูลเทคโนโลยีแก่ชุมชน   0


รายงานความก้าวหน้า

ไตรมาส ผลการดำเนินงาน งบประมาณที่ใช้ ผู้รับบริการ
4 [15597]

ตรวจติดตามการดำเนินงานของเกษตรกรที่ผ่านการถ่ายทอดเทคโนโลยี

เกษตรกรได้นำความรู้ที่ได้ผ่านการอบรมเชิงปฏิบัติการมาใช้ในการพัฒนาสินค้าและนำข้อมูล องค์ความรู้ มาใช้ในการดำเนินกิจกรรมภายในฟาร์ม มีการสร้างผลิตภัณฑ์สินค้าชนิดใหม่ มาจำหน่ายตลาดออฟไลน์ และออนไลน์ เพื่อเพิ่มรายได้ ลดรายจ่ายในครัวเรือน และพัฒนาศักยภาพของเกษตรกร และพัฒนาผลผลิตให้มีคุณภาพตามความต้องการของตลาด



รายงานโดย นายธรรมศาสตร์ จันทรัตน์ วันที่รายงาน 18/09/2566 [15597]
30000 15
4 [15461]
ร่วมกิจกรรมประชุมเชิงปฏิบัติการ เครือข่าย อว. ภายในงาน TechnoMart 2023
 
คลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ เข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการ เครือข่าย อว. เพื่อพัฒนาศักยภาพจังหวัด ด้วยวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ประจำปี 2566 ภายในงาน TechnoMart 2023 ในวันจันทร์ที่ 14 สิงหาคม 2566 ณ ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพ็ค เมืองทองธานี จังหวัดนนทบุรี
โดยคลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ ได้นำเสนอผลการดำเนินงานแพลตฟอร์มบริการให้คำปรึกษาและข้อมูลเทคโนโลยี (TCS) และแพลตฟอร์มเพิ่มศักยภาพธุรกิจชุมชน (BCE) และได้รับมอบประกาศเกียรติคุณหน่วยงานขับเคลื่อน “การพัฒนาศักยภาพจังหวัด ด้วยวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม” "ระดับดีเด่น" ประจำปี 2565


รายงานโดย นายธรรมศาสตร์ จันทรัตน์ วันที่รายงาน 13/09/2566 [15461]
15000 5
4 [15459]

โครงการบริหารจัดการคลนิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์

เพื่อบริหารจัดการและสนับสนุนการดำเนินงาน คลินิกเทคโนโลยี

คลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ ให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการด้านต่างๆ ให้มีคุณภาพ อาทิเช่น การบริหารทรัพยากรบุคคล  การบริหารงาน  การบริหารงบประมาณ การใช้วัสดุอุปกรณ์สำนักงาน  การบริหารความเสี่ยง การบริหารการเปลี่ยนแปลง  การบริหารทรัพยากรทั้งหมด ฯลฯ  เพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ และมีประสิทธิภาพตามเป้าหมายที่กำหนดไว้  โดยใช้การบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาล วัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ เป็นเครื่องมือที่จะช่วยให้สามารถทำงานได้สำเร็จรวดเร็วยิ่งขึ้นอีกทั้งยังอำนวยความสะดวกต่อการทำกิจกรรมด้านต่าง ๆ ได้สำเร็จตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ และทำงานให้เรียบร้อยมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

วัตถุประสงค์

เพื่อให้การบริหารจัดการของคลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล

ตัวชี้วัด :

เชิงปริมาณ :    1)การบริหารจัดการและสนับสนุนการดำเนินงานคลินิกเทคโนโลยี จำนวน 1 หน่วยงาน

เชิงคุณภาพ:    1)การบริหารจัดการของคลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ เป็นไปอย่างประสิทธิภาพ

2)การดำเนินงานของคลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ สะดวก รวดเร็ว เกิดความคล่องตัวมากขึ้น

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

การบริหารจัดการและสนับสนุนการดำเนินงานของคลินิคเทคโนโลยี อย่างมีประสิทธิภาพสะดวกรวดเร็ว เกิดความคล่องตัว



รายงานโดย นายธรรมศาสตร์ จันทรัตน์ วันที่รายงาน 13/09/2566 [15459]
50000 0
4 [15457]

กิจกรรมการผลิตตู้อบพลังงานแสงอาทิตย์เพื่อแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร

จากการลงพื้นที่สำรวจข้อมูลตำบลชนแดน อำเภอชนแดน จังหวัดเพชรบูรณ์ พบว่า ในการทำอาชีพเกษตรกรรมส่วนใหญ่ จะทำตลอดทั้งปี ในช่วงที่ว่างเว้นจากการเพาะปลูก หมดฤดูทำไร่ ก็จะมีการเพาะปลูกพืชผัก ผลไม้หมุนเวียนตามฤดูกาล เช่น ผักสลัด ผักเคล ผักคื่นช่าย ฟักทองบัตเตอร์นัท มันเทศ มะเขือเทศ ข้าวโพดหวาน กล้วยน้ำว้า เป็นต้น โดยกลุ่มเป้าหมายส่วนใหญ่ จะเป็นกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร และผู้สูงอายุ  ในการผลิตผลผลิตทางการเกษตร และนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ เพื่อนำไปจำหน่ายในตลาดชุมชน แต่เนื่องจาก กลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกพืชผัก ผลไม้ ยังขาดองค์ความรู้ในการผลิต และแปรรูปผลิตภัณฑ์ ซึ่งคณะผู้รับผิดชอบโครงการมีแผนดำเนินงานที่จะนำวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี มาพัฒนาเสริมสร้างองค์ความรู้และอาชีพเสริมให้กับชุมชน สร้างให้เกิดเป็นผลิตภัณฑ์ที่สามารถสร้างผลกำไรให้กับชุมชนได้ สร้างรายได้หมุนเวียนในชุมชนเพิ่มขึ้นจากการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ หรือบริการในชุมชน

การบริโภคอาหารและสมุนไพรเพื่อสุขภาพ ทั้งระบบการปลูกและบริโภคมากขึ้นตามลำดับ เช่น พริก กระชาย ฟ้าทะลายโจร ขิง ตะไคร้ อัญชัน มะกรูด เป็นต้น หรือพืชผักผลไม้ เช่น ผักเคล มะเขือเทศ กล้วย มะม่วง มะขาม เป็นต้น และเพื่อพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์สำหรับสุขภาพ ทางด้านสมุนไพรหรืออาหารแปรรูปให้สามารถเก็บรักษาไว้ได้นาน แต่กระบวนการแปรรูปจะมีปัญหาในเรื่องการเก็บสภาพแห้งเป็นอย่างมาก เนื่องจากสภาวะอากาศที่ไม่เหมาะสมต่อการแปรรูปสมุนไพรหรือผลไม้ให้มีคุณภาพ และปริมาณของผลผลิตได้ตรงตามความต้องการของตลาด จึงต้องศึกษาหาวิธีการแปรรูปโดยการใช้พลังงานแสงอาทิตย์ ซึ่งถือได้ว่ากำลังเป็นที่นิยมและได้รับความสนใจอย่างแพร่หลาย ด้วยเหตุผลที่ว่าพลังงานแสงอาทิตย์นั้นเป็นพลังงานฟรี และเป็นพลังงานทดแทนที่ใช้ได้ อย่างไม่มีวันหมด จึงทำให้ปัจจุบันกลุ่มเกษตรกรเริ่มสนใจมาใช้ตู้อบพลังงานแสงอาทิตย์เป็นจำนวนมาก แปรรูปผลผลิตทางการเกษตร สามารถลดต้นทุน ลดรายจ่าย สร้างรายได้ และสร้างเป็นผลิตภัณฑ์ชนิดใหม่ เป็นต้น โดยนำเทคโนโลยีด้านการเกษตรและอุตสาหกรรมมาแก้ไขปัญหาดังกล่าว เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต เพิ่มมูลค่าสินค้า ลดรายจ่าย และเพิ่มรายได้ สร้างผลิตภัณฑ์ชนิดใหม่ สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน โดยกลุ่มเครือข่ายศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) เป็นศูนย์กลางในการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิต การบริหารจัดการ และการตลาดแก่เกษตรกร รวมทั้งการให้บริการทางการเกษตร สามารถให้เกษตรนำไปใช้ในการประกอบอาชีพสำหรับปรับใช้ในชีวิตประจำวัน จึงได้จัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการอันเป็นอีกแนวทางหนึ่งในการถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชน และสังคมท้องถิ่นต่อไป

ทั้งนี้กลุ่มเกษตรกรได้นำผลผลิตทางการเกษตรมาสร้างมูลค่าเพิ่มต่อไป



รายงานโดย นายธรรมศาสตร์ จันทรัตน์ วันที่รายงาน 13/09/2566 [15457]
90000 70
4 [15455]

กิจกรรมการเลี้ยงไส้เดือนเพื่อผลิตปุ๋ยมูลไส้เดือน

กลุ่มวิสาหกิจชุมชน YSF วิเชียรบุรีเกษตรพอเพียงเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ที่ตั้ง 27 หมู่ 11 ต.สระประดู่  อ.วิเชียรบุรี  จ.เพชรบูรณ์ โดยสมาชิคกลุ่ม มีกิจกรรมเกี่ยวกับการเกษตร ไร่ นา สวนผสม และการแปรรูปผลผลิตต่างๆ เช่น  แหนมเห็ด กระเทียมดอง กล้วยตาก กล้วยทอด  ในส่วนของการทำเกษตร ไร่ นา สวนผสมเป็นส่วนมาก กลุ่มอยากให้มีช่องทางในการลดต้นทุนเช่น การเลี้ยงไส้เดือนเพื่อเป็นปุ๋ยมูลไส้เดือน เพื่อนทดแทนปุ๋ย  ซึ่งยังสามารถต่อยอดขายมูลไส้เดือนเป็นรายเพิ่มให้สมาชิกอีกทางหนึ่งด้วย  ส่วนหนึ่งเพราะในพื้นที่มีมูลวัว จึงเหมาะนำมาใช้เพื่อลดต้นทุนการผลิต

สมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชน  ได้มีการดำเนินกิจกรรมการเกษตร ปลูกพืชในระบบโรงเรือน  เช่น มะเขือเทศ ผักสลัด ผักเคล โดยไม่ใช้สารเคมีในการปลูกพืช ซึ่งมูลไส้เดือนมีธาตุอาหารที่เหมาะสมต่อการทำเกษตร ลดต้นทุนการซื้อปัจจัยการผลิต ช่วยปรับสภาพดินให้ดีขึ้นโดยทำให้มีการรวมตัวของดินอย่างเหมาะสมตามธรรมชาติ เป็นสารอินทรีย์ 100% ปลอดสารพิษ ไม่ทำให้เกิดรากไหม้ในพืชแม้ใช้ในปริมาณที่มาก ปราศจากกลิ่นและมีฤทธิ์ในการดับกลิ่น ยับยั้งการเจริญของเชื้อราที่เป็นกับพืชและมีฤทธิ์ในการขับไล่แมลง ช่วยให้พืชมีการเจริญเติบโตดีขึ้นตามธรรมชาติ หลีกเลี่ยงการใช้สารเคมี กำจัดแมลง และศัตรูพืช ช่วยให้ดินเก็บรักษาความชื้น และธาตุอาหารในดิน ลดการชะล้างธาตุอาหารของน้ำลดปัญหาการสลายตัวของธาตุอาหาร เป็นตัวปลดปล่อยธาตุอาหารอย่างช้าๆ ปกป้องดินไม่ให้มีสภาพโครงสร้างแน่นแข็ง และช่วยเติมอินทรียวัตถุในเนื้อดิน ช่วยให้ดินร่วนซุย รากพืชสามารถแพร่ขยายได้กว้าง และสามารถช่วยลดต้นทุนการผลิตพืชของสมาชิกกลุ่ม สร้างอาหารปลอดภัย มีรายได้พิ่มขึ้น



รายงานโดย นายธรรมศาสตร์ จันทรัตน์ วันที่รายงาน 13/09/2566 [15455]
30000 30
4 [15464]
ต้อนรับคณะกรรมการติดตามความก้าวหน้าการดำเนินโครงการ
การลงพื้นที่ติดตามความก้าวหน้าการดำเนินโครงการที่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณโครงการส่งเสริมนำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อเพิ่มศักยภาพการผลิตและเศรษฐกิจชุมชน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566
วันที่ 28 สิงหาคม 2566 เวลา 13.00 - 17.00 น. ณ ห้องประชุมอินทผาลัม อาคารเฉลิมพระเกียรติฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี และวิสาหกิจชุมชนกลุ่มโกโก้นางั่ว อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์ โดยมี อาจารย์พิพัฒน์ ชนาเทพาพร รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและบริการสังคม และคณะผู้บริหารคณะเทคโนโลยีการเกษตรและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม ให้การต้อนรับผู้ทรงคุณวุฒิ และคณะกรรมการ จากสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สป.อว.) ส่วนกลาง


รายงานโดย นายธรรมศาสตร์ จันทรัตน์ วันที่รายงาน 13/09/2566 [15464]
8750 50
3 [15194]

คลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ เป็นหน่วยงานซึ่งเป็นตัวแทนของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ในการประสานงานกับจังหวัดเพชรบูรณ์ โดยนำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ทั้งในส่วนของมหาวิทยาลัยและคลินิกเทคโนโลยีมาให้บริการคำปรึกษา เผยแพร่และถ่ายทอดให้กับประชาชนในเขตจังหวัดเพชรบูรณ์ คลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ ให้ความสำคัญในส่วนของการเกษตร โดยการนำเทคโนโลยีด้านการเกษตร ที่เป็นวิทยาการที่เกี่ยวข้องกับศิลปะในการนำเอาวิทยาศาสตร์ประยุกต์มาใช้เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อมนุษย์ในด้านการเกษตร เช่น การจัดการพืช การจัดการสัตว์ ผลผลิตจากสัตว์ การจัดหาแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร การใช้พลังงานทดแทน  การจัดหาวัสดุ การแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร การพัฒนาผลิตภัณฑ์ การนำเศษวัสดุเหลือทิ้งมาสร้างมูลค่าและผลิตภัณฑ์ชนิดใหม่  และอุปกรณ์ที่จำเป็นให้แก่เกษตรกร การแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าให้เกษตรกร การให้ความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีทางด้านการเกษตร รวมถึงการศึกษา วิจัย ค้นคว้า และทดลอง การวางแผนการดำเนินงาน และการจัดการ

ดังนั้น เพื่อให้ชุมชน เกษตรกร ผู้สูงวัย กลุ่ม Young Smart Farmerกลุ่ม Smart Farmer กลุ่มวิสาหกิจชุมชน เครือข่ายวิสาหกิจชุมชน กลุ่มสหกรณ์ เครือข่ายศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) ได้รับองค์ความรู้ครบถ้วนทางด้านเทคโนโลยีการเกษตร นวัตกรรม และได้รับโอกาสในการพัฒนาคุณภาพชีวิต เพิ่มมูลค่าสินค้า ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ และได้รับคำแนะนำต่างๆ อันนำไปใช้ในการประกอบอาชีพ และปรับใช้ในชีวิตประจำวัน จึงได้จัดโครงการเพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชน และสังคมท้องถิ่นต่อไปทำให้เกษตรกรมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น โดยได้กำหนดการดำเนินงาน 3 กิจกรรม ตามความต้องการของชุมชนในการแก้ไขปัญหา ดังนี้

 

กิจกรรมการพัฒนาผลิตทางการเกษตร สู่ผลิตภัณฑ์ใหม่เชิงพาณิชย์

วิสาหกิจชุมชนไร่มีสุข ตั้งอยู่ : 124 ม.7 ต.ประดู่งาม  อ.ศรีเทพ จ.เพชรบูรณ์กิจกรรมหลักของกลุ่มคือการผลิต และจำหน่าย ผลผลิตทางการเกษตร ปัจจุบันทางกลุ่มมีการปลูกมะเขือเทศอินทรีย์จำหน่ายให้กับกลุ่มลูกค้าในพื้นที่ ลูกค้าออนไลน์ และจำหน่ายให้กับสหกรณ์รักษ์ศรีเทพ จำกัด เพื่อจำหน่ายต่อให้กับตลาดโมเดิร์นเทรด (Tops)

ปัญหา : ปัจจุบันในช่วงผลผลิตมีปริมาณมากและล้นตลาด ทางกลุ่มมีปัญหาผลผลิตออกมาเยอะกว่าความต้องการของตลาด กลุ่มจึงอยากได้องค์ความรู้ ในการแปรรูปมะเขือเทศ เพื่อสามารถแปรรูปผลผลิตที่ล้นตลาดให้มีมูลค่าเพิ่มมากขึ้น สร้างผลิตภัณฑ์ใหม่เพื่อเป็นช่องทางการเพิ่มชนิดสินค้าให้มีความหลากหลายและสร้างรายได้เพิ่มขึ้นจากเดิม

ผลิตภัณฑ์ ซอสพิซ่า และ ซอสมะเขือเทศ จากมะเขือเทศเกรดสำหรับการแปรรูป



รายงานโดย นายธรรมศาสตร์ จันทรัตน์ วันที่รายงาน 17/08/2566 [15194]
30000 25
3 [14584]

บริการให้คำปรึกษาข้อมูลทางด้านเทคโนโลยี โดยคณาจารย์ สาวิชาเทคโนโลยีการผลิต สาขาวิชาออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม และสาขาวิชาการจัดการเกษตรสมัยใหม่ ได้ร่วมกันออกแบบ และให้คำปรึกษาในการผลิตเครื่องจักรผลิต ออกแบบบรรจุภัณฑ์ และการแปรรูปผลิตภัณฑ์ หม่ำ จากเนื้อวัว เพื่อเป็นผลิตภัณฑ์ของฝากให้กับนักท่องเที่ยว



รายงานโดย นายธรรมศาสตร์ จันทรัตน์ วันที่รายงาน 04/07/2566 [14584]
0 10
3 [14583]

ติดตามและเยี่ยมชมกลุ่มเกษตรกรที่มีการนำเทคโนโลยีหลังจากการถ่ายทอดเทคโนโลยีในการสร้างผลิตภัณฑ์ ทองม้วนสด จากแป้งกล้วยของกลุ่มไส้เมี่ยง ตำบลวังชมภู อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์ จากการถ่ายทอดเทคโนโลยี เมื่อ ปี 2564  ซึ่งได้สร้างอาชีพและรายได้ให้กับกลุ่ม จำหน่ายตลาดประชารัฐ และออกบูธต่างๆในจังหวัดเพชรบูรณ์



รายงานโดย นายธรรมศาสตร์ จันทรัตน์ วันที่รายงาน 04/07/2566 [14583]
0 10
3 [14581]

ลงพื้นที่ในการรับฟังปัญหาและแนวทางในการพัฒนาผลผลิตทางการเกษตร เพื่อพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่เชิงพาณิช ของกลุ่มศุนย์การเรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตรอำเภอชนแดน จังหวัดเพชรบูรณ์ ในการนำตู้อบพลังงานแสงอาทิตย์มาใช้ในการอบผักเพื่อเป็น ผงผักโรยข้าวเพื่อสุขภาพ



รายงานโดย นายธรรมศาสตร์ จันทรัตน์ วันที่รายงาน 04/07/2566 [14581]
0 10
3 [14579]

ติดตามการนำเทคโนโลยีไปใช้ประโยชน์ การใช้ตู้อบพลังงานแสงอาทิตย์แปรรูปผลผลิตทางการเกษตร  ประจำปี 2564 และ 2565 เช่น กล้วย มะขาม ต้นอ่อนข้าวสาลี ปลาดุกผง ผัก สมุนไพร เพื่อพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ อีกทั้งสามารถเป็นจุดเรียนรู้ให้กับเด็กและเยาวชนได้ศึกษาเกี่ยวกับเทคโนโลยีและนวัตกรรมของตัวเครื่อง 



รายงานโดย นายธรรมศาสตร์ จันทรัตน์ วันที่รายงาน 04/07/2566 [14579]
0 100
3 [14578]

ถ่ายทอดองค์ความรู้ในการพัฒนาสูตรอาหารไก่ชน ร่วมกับสหกรณ์จังหวัดเพชรบูรณ์ในโครงการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อสร้างเครือข่ายผู้ผลิต ประจำปีงบประมาณ พศ 2566 ภายใต้โครงการยกระดับสถาบันเกษตรกรให้เป็นผู้ประกอบการธุรกิจเกษตร เป็นการอบรมเชิงปฏิบัติการ การผลิตอาหารสัตว์ โดยอาจารย์จันทร์จิรา โต๊ะขวัญแก้ว วิชาเอกเทคโนโลยีการผลิตสัตว์ หลักสูตรเกษตรศาสตร์ คณะเทคโนโลยีการเกษตรและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม ณ สหกรณ์การเกษตรหนองไผ่ จำกัด ตำบลหนองไผ่ อำเภอหนองไผ่ จังหวัดเพชรบูรณ์



รายงานโดย นายธรรมศาสตร์ จันทรัตน์ วันที่รายงาน 04/07/2566 [14578]
0 30
3 [14574]

อาจารย์พิพัฒน์ ชนาเทพาพร รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและบริการสังคม (รองผู้อำนวยการคลินิกเทคโนโลยี ) มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ ร่วมประชุมแนวทางในการขับเคลื่อน กับกลุ่ม Young Smart Farmer และเครือข่ายวิสาหกิจชุมชน Green Diamond ของจังหวัดเพชรบูรณ์ เพื่อวางแนวทาง และกรอบในการทำงานร่วมกัน โดยเป้าหมายมุ่งเน้นในการนำ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมมาใช้ในการขับเคลื่อนภาคการเกษตรของจังหวัดเพชรบูรณ์



รายงานโดย นายธรรมศาสตร์ จันทรัตน์ วันที่รายงาน 03/07/2566 [14574]
0 15
3 [14570]

ติดตามการใช้เทคโนโลยีไปใช้ประโยชน์ การถ่ายทอดองค์ความรุ้ เรื่องการติดตั้งระบบให้น้ำอัตโนมัติด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ จากโครงการถ่ายทอดเชิงปฏิบัติการ เมื่อปี 2563  ในแปลงปลูกผักสวนครัว ณ เครือข่ายศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร ซึ่งเป็นศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง เกษตรทฤษฎีใหม่ เกษตรผสมผสาน ตำบลห้วยสะแก อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์ ในโครงการช่วยเหลือผู้เสพ/ผู้ติดยาเสพติดของศูนย์ฟื้นฟูสภาพทางสังคม จังหวัดเพชรบูรณ์ ประจำปีงบประมาณ 2566 รุ่นที่ 1 2 และ 3 ร่วมกับสำนักงานเกษตรจังหวัดเพชรบูรณ์ โดยให้องค์ความรู้ทางด้านการติดตั้งรบบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์เพื่อใช้ในแปลงปลูก เช่น สำนักงานเกษตรจังหวัดเพชรบูรณ์ สำนักงานสหกรณ์จังหวัดเพชรบูรณ์ กอรมน นักศึกษา เกษตรกร เพื่อเป็นแปลงต้นแบบ ลดค่าใช้จ่าย และสร้างรายได้ให้กับกลุ่มที่สนใจ



รายงานโดย นายธรรมศาสตร์ จันทรัตน์ วันที่รายงาน 03/07/2566 [14570]
0 150
2 [14077]

คลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์
กิจกรรม ร่วมออกบูธงานมะขามหวาน
คลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ ออกบูธประชาสัมพันธ์ ร่วมกับ หน่วยงานภายในจังหวัดเพชรบูรณ์ ในภาคส่วนของ ศูนย์ AIC (Agritech and Innovation Center) ที่ร่วมกับหน่วยงานของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่ออกบูทประชาสัมพันธ์ของแต่ละหน่วยงาน
กิจกรรม จะมีการทำ work shop ต่างๆ ให้ความรู้ทางด้านเทคโนโลยี ให้คำปรึกษาทางด้านเทคโนโลยี และเชื่อมโยงการทำงานแบบบูรณาการร่วมกับหน่วยงานในจังหวัด ดังนี้

1.กิจกรรม ร่วมออกบูธงานมะขามหวาน

คลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ ออกบูธประชาสัมพันธ์ ร่วมกับ หน่วยงานภายในจังหวัดเพชรบูรณ์ ในภาคส่วนของ ศูนย์AIC (Agritech and Innovation Center) ที่ร่วมกับหน่วยงานของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่ออกบูธประชาสัมพันธ์ของแต่ละหน่วยงาน

กิจกรรมจะมีการทำ work shop ต่างๆ ให้ความรู้ทางด้านเทคโนโลยี มีการให้คำปรึกษาทางด้านเทคโนโลยี และเชื่อมโยงการทำงานแบบบูรณาการร่วมกับหน่วยงานในจังหวัด

จำนวนผู้เข้าเยี่ยมชม 253 คน

2.คลินิกเทคโนโลยีร่วมกิจกรรมงาน Field day

วันถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อเริ่มต้นฤดูกาลผลิตใหม่ ระดับจังหวัด

คลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ ออกบูธประชาสัมพันธ์ ร่วมกับ หน่วยงานภายในจังหวัดเพชรบูรณ์ ในภาคส่วนของ ศูนย์AIC (Agritech and Innovation Center) ที่ร่วมกับหน่วยงานของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่ออกบูทประชาสัมพันธ์ของแต่ละหน่วยงาน

กิจกรรม จะมีฐานการเรียนรู้ ด้านพลังงานหมุนเวียน (โซลาร์เซล) ด้านพัฒนาบรรจุภัณฑ์ ในรูปแบบ เพิ่มมูลค่า สินค้าเด่น เน้นขายดี ด้านการควบคุมศัตรูพืชด้วยชีวภัณฑ์ ด้านการปลูกผักอินทรีย์เพื่อการท่องเที่ยว แต่ละด้านสำหรับเกษตรกร ได้มาเรียนรู้ ฝึกทักษะ อบรม

จำนวนผู้เข้าร่วม 150 คน

3.คลินิกเทคโนโลยีร่วมออกกิจกรรมภายใต้โครงการบริการวิชาการ โดยคณะเทคโนโลยีการเกษตรและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม ร่วมกับกลุ่ม Young Smart Farmer เพชรบูรณ์

โครงการยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยเพื่อพัฒนาท้องถิ่น  ในกิจกรรมการใช้ประโยชน์จากไมคอร์ไรซา และการพัฒนาคุณภาพปุ๋ยอินทรีย์มูลไส้เดือน ผลิตปุ๋ยหมักหัวเชื้อดินพรีเมี่ยม กับสูตรดินพรีเมี่ยม และ ออกแบบแพ็คเกจผลิตภัณฑ์ เพื่อให้กลุ่มได้ลดต้นทุนการผลิต สร้างรายได้ และอาชีพของสมาชิกกลุ่ม จำนวนผู้เข้าร่วม 30 คน

 

4.เยี่ยมชมกิจกรรม ประชุม และให้คำปรึกษาเกษตรกร

ให้คำปรึกษาทางด้านเทคโนโลยี และร่วมประชุมในการดำเนินงานแบบบูรณาการร่วมกันทุกภาคส่วน กลุ่มเกษตรกรทั้งจังหวัดเพชรบูรณ์และจังหวัดพิจิตร เช่นกลุ่ม Young Smart Farmer กลุ่มวิสาหกิจชุมชน เกษตรกรทั่วไป กลุ่มผู้สูงวัย และหน่วยงานภาครัฐ

จำนวนผู้เข้าร่วม 80 คน



รายงานโดย นายธรรมศาสตร์ จันทรัตน์ วันที่รายงาน 04/04/2566 [14077]
0 513