2566 การบริการให้คำปรึกษาและข้อมูลเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม   0


รายงานความก้าวหน้า

ไตรมาส ผลการดำเนินงาน งบประมาณที่ใช้ ผู้รับบริการ
4 [15350]

วันเดือนปี/สถานที่:  25  สิงหาคม  2566 ณ หอประชุมศรีวชิรโชติ มรพส. ส่วนทะเลแก้ว จัดงานโดยกองนโยบายและแผน มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

รายละเอียดการดำเนินงาน: โครงการคลินิกเทคโนโลยี ได้เข้าร่วมจัดกิจกรรมนิทรรศการในงานการรายงานผลภายใต้โครงการรายงานผลการดำเนินงานยุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น เพื่อทำการประชาสัมพันธ์การทำงาน แสดงผลงานของชุมชนที่ได้รับการพัฒนายกระดับสินค้า และส่งเสริมการจัดจำหน่ายสินค้าของผู้ประกอบการ โดยในการดำเนินงานครั้งนี้ ทางคลินิกเทคโนโลยีได้ประสานกับผู้ประกอบการให้นำผลิตภัณฑ์ชุมชนเข้าร่วมในงาน ประกอบด้วย ผลิตภัณฑ์หมี่กรอบแม่เทียบ ตำบลบางกระทุ่ม อำเภอบางกระทุ่ม จังหวัดพิษณุโลก  ผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์พืชสมุนไพรวิสาหกิจพืชสมุนไพรอัยย่ะ ต.คลองตาล อ.ศรีสำโรง จ.สุโขทัย ผลิตภัณฑ์ชาดาวเรืองและชาสมุนไพร ชุมชนบ้านถ้ำพริก ต.บ้านแยง อ.นครไทย จ.พิษณุโลก พัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนพริกแกง กลุ่มสัมมาชีพบ้านท่าขอนเบน ตำบลหินลาด อำเภอวัดโบสถ์ จังหวัดพิษณุโลก ผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์พุทธาเชื่อมคุณยาย ตำบลท่าหมื่นราม อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก ผลิตภัณฑ์ภายใต้โครงการคลินิกเทคโนโลยี ผลิตภัณฑ์คุกกี้งาดำเพื่อสุขภาพ ในการจัดงานครั้งนี้ทำให้ผู้ประกอบการและชุมชนที่เข้าร่วมดำเนินงานมีการจัดจำหน่ายสินค้ามากขึ้น ทำให้มีรายได้เพิ่มขึ้น นอกจากนี้งทางคลินิกเทคโนโลยียังได้ผลักดันผู้ประกอบการภายใต้การดูแลให้มีการพัฒนาศักยภาพ โดยจัดให้มีส่วนร่วมในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้ที่มาเข้าร่วมในงานด้วย

สรุปการดำเนินงาน: ได้ทำการประชาสัมพันธ์ผลงาน ส่งเสริมการจัดจำหน่ายให้กับผู้ประกอบการ ทำให้มีรายได้เพิ่มขึ้น และได้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อนำไปพัฒนาศักยภาพการทำงานเพิ่มขึ้น

รายชื่อผู้เข้าร่วม:นางสาวอิสราภรณ์ ใบวุฒิ และผู้ประกอบการจำนวน 6 กลุ่ม



รายงานโดย นางสาวอิสราภรณ์ ใบวุฒิ วันที่รายงาน 01/09/2566 [15350]
0 20
4 [15349]

วันเดือนปี/สถานที่:  วันที่ 22สิงหาคม 2566 ณ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มปลูกหม่อนแปรรูปน้ำมัลเบอร์รี่ หมู่ที่่ 7 ต.วังตะคล้อ อ.บ้านด่านลานหอย จ.สุโขทัย

รายละเอียดการดำเนินงาน: ทางคลินิกเทคโนโลยีร่วมกับ ผศ.ดร. พรดรัล จุลกัลป์ หัวหน้าโครงการการยกระดับและสร้างมูลค่าเพิ่มของผลิตภัณฑ์แปรรูปจากมัลเบอร์รี่ด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (แพลตฟอร์ม การเพิ่มศักยภาพธุรกิจชุมชน Building Community Enterprise : BCE)ลงพื้นที่ชุมชน เพื่อนำเสนอผลการดำเนินความก้าวหน้า ให้กับคณะกรรมการติดตามการประเมินผล จากสำนักงานปลัดกระทรวง กองส่งเสริมและประสานเพื่อประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดยการดำเนินงานมี ผลผลิต คือ ผลิตภัณฑ์มูลค่าเพิ่มจากมัลเบอร์รี 2 ผลิตภัณฑ์ (น้ำมัลเบอร์รีเข้มข้นและน้ำมัลเบอร์รีผสมน้ำผึ้งเข้มข้น กระบวนการผลิตตามมาตรฐาน GMP2กระบวนการ ผลิตภัณฑ์ที่มีมาตรฐาน 2 ผลิตภัณฑ์ และมีแผนธุรกิจจากสิ่งทีเกิดขึ้นทำให้สมาชิกมีองค์ความรู้ในกระบวนการแปรรูปผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มด้วยเทคโนโลยีที่เหมาะสม 2 คน สมาชิกมีทักษะและสามารถถ่ายทอดสู่ผู้สนใจในชุมชน 2 คน ก่อให้เกิดการสร้างรายได้ให้แก่ธุรกิจชุมชน โดยเฉลี่ย เท่ากับ 12,000 บาทต่อเดือนต่อคน วิสาหกิจชุมชนฯ มีความพร้อมในการดำเนินธุรกิจ

สรุปการดำเนินงาน: ในการติดตามได้มีข้อเสนอแนะในการดำเนินงานให้กับทางคณะทำงาน เพื่อการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการ โดยจะได้นำข้อเสนอแนะและข้อแนะนำไปประยุกต์ใช้ต่อไป

รายชื่อผู้เข้าร่วม:ผศ.ดร.พรดรัล จุลกัลป์  นางสาวอิสราภรณ์ ใบวุฒิ แกนนำและสมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มปลูกหม่อนแปรรูปน้ำมัลเบอร์รี่ และคณะติดตามประเมินผลจาก สป.อว. 



รายงานโดย นางสาวอิสราภรณ์ ใบวุฒิ วันที่รายงาน 01/09/2566 [15349]
0 12
4 [15348]

วันเดือนปี/สถานที่:  วันที่ 17สิงหาคม 2566 ณ ห้อง เทาแสด ศูนย์แสดงนิทรรศการและการจัดประชุม นานาชาติสมเด็จพระนเรศวรมหาราช มหาวิทยาลัยนเรศวร

รายละเอียดการดำเนินงาน: ประชุมเพื่อติดตามและรายงานความก้าวหน้าการดำเนินโครงการให้คำปรึกษาและข้อมูลเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ภายใต้กิจกรรมส่งเสริมการนำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม เพื่อเพิ่มศักยภาพการผลิตและเศรษฐกิจชุมชน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 แพลตฟอร์มบริการให้คำปรึกษาและข้อมูลเทคโนโลยี (Technology Consulting Service : TCS) โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.น้ำทิพย์ วงษ์ประทีป หัวหน้าโครงาการได้นำเสนอผลการดำเนินงานของโครงการในภาพรวมเป็นไปตามวัตถุประสงค์ เป้าหมายและตัวชี้วัดของโครงการ ทั้งนี้ทางคณะทำงานได้รับความร่วมมือจากตัวแทนผู้ประกอบการบางส่วนเข้าร่วมตอบข้อซักถาม เพื่อให้ข้อมูลกับคณะกรรมติดตามผลการดำเนินงานในการให้คำปรึกษาและข้อมูลเทคโนโลยีของคณะทำงานโครงการคำปรึกษาและข้อมูลเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม และในการการประชุมครั้งนี้มีผู้ดำเนินงานโครงการให้คำปรึกษาของมหาวิทยาลัยนเรศวร  และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาพิษณุโลก เข้าร่วมประชุม เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็น

สรุปการดำเนินงาน: รับฟังข้อแนะนำจากคณะกรรมการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้การทำงานชองเครือข่าย เพื่อนำไปพัฒนาต่อยอดการทำงานให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพดีขึ้นต่อไปในปี 2567

รายชื่อผู้เข้าร่วม:ผศ.ดร.น้ำทิพย์  วงษ์ประทีป ผศ.วาลิกา โพธิ์หิรัญ ผศ. สุรินทราพร แสวงงาม      อ.จุฑาธิป ประดิพัทธ์นฤมล นางเอมอร กมลวรเดช (ตัวแทน อว.ส่วนหน้า จ.สุโขทัย) นายสัมฤทธิ์ นพรัตน์ ผู้ประกอบการ หจก.เอส เค ฟู้ดแอนด์มาร์เก็ตติ้ง  นายเสนีย์ มงคลสมัคร์ ผู้ประกอบการปล้าร้าเจ๊แป๊ว        นายไร่ คงสิน ชุมชนบ้านน้ำคบ นางสาวศุกันญาภัทร์  ดอนคงมีสิษฐ์ ผู้ประกอบการพุทธราเชื่อม นางสาว สุรดี ปรีชารักษ์ ผู้ประกอบการฟาร์มเห็ด บ้านฟาร์มรักษ์ คณะติดตามและประเมินผล คณะทำงานภายใต้แพลตฟอร์ม TCSมหาวิทยาลัยนเรศวรและมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาพิษณุโลก 



รายงานโดย นางสาวอิสราภรณ์ ใบวุฒิ วันที่รายงาน 01/09/2566 [15348]
0 24
4 [15347]

 

วันเดือนปี/สถานที่ :  วันที่14-15สิงหาคม 2566 ณ ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพ็ค เมืองทองธานี จังหวัดนนทบุรี

รายละเอียดการดำเนินงาน: ประชุมถอดบทเรียนและนำเสนอผลการดำเนินงานเครือข่ายคลินิกเทคโนโลยี สู่การพัฒนาจังหวัด ภายใต้แพลตฟอร์ม TCS/NCB/BCE/SCI ทั้ง 4 ภาค รวม สถาบันการศึกษา 77 แห่ง นำเสนอผลการดำเนินงานแผนงาน/โครงการด้าน ววน. ของหน่วยปฏิบัติการ อว.ส่วนหน้า 20แห่งทั้งนี้ในการประชุมทางคณะทำงานคลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงครามได้นำเสนอผลการการดำเนนินภายใต้โครงการให้คำปรึกษาและข้อมูลเทคโนโลยี การยกระดับและสร้างมูลค่าเพิ่มของผลิตภัณฑ์แปรรูปจากมะม่วงด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (กลุ่มแปรรูปอาหารบ้านวังคล้าย ตำบลหนองปลาไหล อำเภอวังทรายพูน จังหวัดพิจิตร) และ การยกระดับและสร้างมูลค่าเพิ่มของผลิตภัณฑ์แปรรูปจากมัลเบอร์รี่ด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วิสาหกิจชุมชนกลุ่มปลูกหม่อนแปรรูปน้ำมัลเบอร์รี่ ตำบลวังตะคร้อ อำเภอบ้านด่านลานหอย จังหวัดสุโขทัย) โดยผลการดำเนินทั้ง 3 โครงการ เป็นไปตามวัตถุประสงค์ เป้าหมาย และตัวชี้วัดที่ตั้งไว้ นอกจากนี้ทาง อว.ส่วนหน้า จังหวัดสุโขทัย รศ.ดร.นิวัตร พัฒนา ได้นำเสนอแผนการพัฒนาจังหวัดสุโขทัย โดยเน้นประเด็นแผนการดำเนินงานด้านการท่องเที่ยว โดยมีการพัฒนาสินค้าและบริการเพื่อส่งเสริมการทำงานต้นน้ำและกลางน้ำของแผนการท่องเที่ยวสุโขทัยตามรอยอารยธรรมมรดกโลก จังหวัดสุโขทัย  รวมทั้งการเข้าร่วมครั้งนี้ทางคลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม ได้รับประกาศนียบัตรสำหรับการทำงานคลินิกเทคโนโลยีดีเด่น ประจำปีงบประมาณ 2565"( คลินิกเทคโนโลยีเครือข่ายที่มีผลการประเมินระดับดีเด่น จำนวน 35 แห่ง)  และทาง อว.ส่วนหน้า จังหวัดสุโขทัย ได้รับประกาศนียบัตรประกาศเกียรติคุณการจัดทำแผนจังหวัด เพื่อนำร่องการดำเนินงาน อว. ส่วนหน้า

สรุปการดำเนินงาน: นำข้อเสนอแนะมาพัฒนาและต่อยอดการดำเนินงานในปี พ.ศ. 2567ให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นต่อไป

รายชื่อผู้เข้าร่วม:รศ.ดร. นิวัตร พัฒนะ ผศ.ดร. น้ำทิพย์ วงษ์ประทีป นางเอมอร กมลวรเดช  และนางสาวอิสราภรณ์  ใบวุฒิ



รายงานโดย นางสาวอิสราภรณ์ ใบวุฒิ วันที่รายงาน 01/09/2566 [15347]
6100 4
4 [15346]

วันเดือนปี/สถานที่:  วันที่ 11-15สิงหาคม 2566ณ ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพ็ค เมืองทองธานี จังหวัดนนทบุรี

รายละเอียดการดำเนินงาน: ร่วมจัดแสดงนิทรรศการในงานเทคโนโลยีและนวัตกรรมของไทย ประจำปี 2566 :TechnoMart 2023 โดยทางคณะทำงานคลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม ได้ประสานความร่วมมือไปยังสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม เพื่อนำผลงานเทคโนโลยีและนวัตกรรมพร้อมใช้ในส่วนของมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงครามร่วมจัดนิทรรศการในงาน โดยผลงานที่นำเข้าร่วมจัดแสดงนิทรรศการ ได้แก่ ผลงานที่จดทรัพย์สินทางปัญญา (กระถางจากวัสดุย่อยสลายได้ สูตรอาหารสำหรับจิ้งหรีด) และผลิตภัณฑ์ชุมชน (น้ำพริกแม่แก๋) เข้าร่วมจัดงานในครั้งนี้

สรุปการดำเนินงาน: ประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ผลงานพร้อมใช้งานให้กับสาธารณชน และมีผู้ให้ความสนใจในการเยี่ยมชมบูธไม่น้อยกว่า 50ราย และนำข้อมูลไปพัฒนาการดำเนินงานต่อไป

รายชื่อผู้เข้าร่วม:คณะทำงานคลินิกเทคโนโลยี และ เจ้าหน้าที่สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม



รายงานโดย นางสาวอิสราภรณ์ ใบวุฒิ วันที่รายงาน 01/09/2566 [15346]
0 2
4 [15351]

วันเดือนปี/สถานที่:  วันที่ 29สิงหาคม 2566  ศาลาเอนกประสงค์ บ้านวังคล้าย หมู่ที่ 11 ต.หนองปลาไหล อ.วังทรายพูน จ.พิจิตร

รายละเอียดการดำเนินงาน: ทางคลินิกเทคโนโลยีร่วมกับ ผศ.ดร. พรดรัล จุลกัลป์ หัวหน้าโครงการโครงการการยกระดับและสร้างมูลค่าผลิตภัณฑ์จากมะม่วงฯ :กลุ่มแปรรูปอาหารบ้านวังคล้าย(แพลตฟอร์ม การเพิ่มศักยภาพธุรกิจชุมชน Building Community Enterprise : BCE)ลงพื้นที่ชุมชน เพื่อนำเสนอผลการดำเนินความก้าวหน้า ให้กับคณะกรรมการติดตามการประเมินผล จากสำนักงานปลัดกระทรวง กองส่งเสริมและประสานเพื่อประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดยการดำเนินงานมี ผลผลิต คือ ผลิตภัณฑ์มูลค่าเพิ่มจากมะม่วง 2 ผลิตภัณฑ์ (มะม่วงกวนโบราณลดน้ำตาล และเยลลี่มะม่วงลดน้ำตาล)  กระบวนการผลิตตามมาตรฐาน GMP2กระบวนการ ผลิตภัณฑ์ที่มีมาตรฐาน 2 ผลิตภัณฑ์ และแผนธุรกิจจากสิ่งทีเกิดขึ้นทำให้สมาชิกมีองค์ความรู้ในกระบวนการแปรรูปผลิตภัณฑ์ด้วยเทคโนโลยีที่เหมาะสม 2 คน และสมาชิกมีทักษะและสามารถถ่ายทอดสู่ผู้สนใจในชุมชน 2 คน ก่อให้เกิดการสร้างรายได้ให้แก่ธุรกิจชุมชน โดยเฉลี่ย เท่ากับ 8,000 บาทต่อเดือนต่อคน วิสาหกิจชุมชนฯ มีความพร้อมในการดำเนินธุรกิจ

สรุปการดำเนินงาน: ในการติดตามได้มีข้อเสนอแนะในการดำเนินงานให้กับทางคณะทำงาน เพื่อการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการ โดยจะได้นำข้อเสนอแนะและข้อแนะนำไปประยุกต์ใช้ต่อไป

รายชื่อผู้เข้าร่วม:รศ.ดร. นิวัตร พัฒนะ  ผศ.ดร.น้ำทิพย์  วงษ์ประทีป ผศ.ดร. พรดรัล จุลกัลป์  นางสาวอิสราภรณ์  ใบวุฒิ กลุ่มผู้นำชุมชนบ้านวังคล้าย วิทยาลัยอาชีวศึกษาพิจิตร (อว.ส่วนหน้าจังหวัดพิจิตร) และคณะติดตามประเมินผลโครงการจำนวน 5 ท่าน 



รายงานโดย นางสาวอิสราภรณ์ ใบวุฒิ วันที่รายงาน 01/09/2566 [15351]
0 20
3 [15205]

กลุ่ม/ชุมชน/ผู้ประกอบการ : นายไร่คงสิน (ผู้ใหญ่บ้าน)   

ที่อยู่:   ชุมชนบ้านน้ำคบ หมู่ 4 ตำบลบ้านยาง อำเภอวัดโบสถ์ จังหวัดพิษณุโลก

เบอร์ติดต่อ: 087-210-2945

ผลิตภัณฑ์น้ำตาลโตนด

ปัญหาและความต้องการ :น้ำตาลสดที่ไม่สามารถเก็บรักษาได้นาน มีการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ในรูปแบบขวดขนาด 1.5ลิตร ในราคา 50 บาท แต่ผลิตภัณฑ์มักจะเสียเร็วหากจำหน่ายไม่หมด จำเป็นต้องนำผลิตภัณฑ์ไปแช่เยือกแข็ง เพื่อเก็บรักษาไว้ทำให้มีต้นทุนการผลิตสูงขึ้น นอกจากนี้ทางกลุ่มยังต้องการข้อมูลเกี่ยวกับการพัฒนาสินค้าน้ำตาลสดให้เป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ สามารถทำได้หรือไม่

การให้คำปรึกษา และข้อมูล :การยืดอายุการเก็บรักษาผลิตภัณฑ์น้ำตาลสด สามารถทำได้โดยใช้วิธีการถนอมอาหารโดยการใช้ความร้อน การใช้ความร้อนทำได้ 2รูปแบบ คือ การพาสเจอร์ไรส์ และการสเตอริไรส์ ที่อยู่ในสถานที่ผลิตที่ได้มาตรฐานการผลิตตามเกณฑ์การผลิตที่ดี (GMP)ที่ต้องมีการควบคุมที่ดีเพื่อให้ผลิตภัณฑ์มีอายุการเก็บที่นานขึ้น ส่วนพัฒนาผลิตภัณฑ์น้ำตาลสดสามารถพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์น้ำตาลสดเสริมสมุนไพรเพื่อให้เกิดรสชาติใหม่ได้

สรุปผลการทำงาน: คณะทำงานคลินิกเทคโนโลยีจะได้ประสานนักวิจัยเชื่อมโยงกับผู้ประกอบการเพื่อแก้ไขปัญหาเชิงลึก ผ่านโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์สินค้าชุมชน (ตามแนวทางคูปองวิทย์เพื่อโอทอป) ประจำปีงบประมาณ 2567ต่อไป เนื่องจากเป็นสินค้า OTOP

รายชื่อคณะทำงาน: ผศ.ดร.น้ำทิพย์ วงษ์ประทีป  ผศ.ดร.สุพัตรา เจริญภักดี บดีรัฐ  อาจารย์จุฑาธิป  ประดิพัทธ์นฤมล และนางสาวอิสราภรณ์ ใบวุฒิ



รายงานโดย ผศ.ดร.น้ำทิพย์ วงษ์ประทีป วันที่รายงาน 18/08/2566 [15205]
5780 2
3 [14525]

นางสาวปฤษฎาพร นาคะเกศ กลุ่มผลไม้แปรรูป ย่ารอด ตั้งอยู่ที 146 หมู่ 11 ตำบลคลองยาง อำเภอสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย ต้องการขอข้อมูลและคำปรึกษาเกี่ยวกับกระบวนการผลิตที่เป็นไปตามมาตรฐาน GHP และสามารถยืดอายุการเก็บรักษาผลิตภัณฑ์ผลไม้แปรรูปได้และเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ อย. โดยแนวทางให้คำปรึกษาด้วยการพัฒนากระบวนการผลิตให้ถูกสุขลักษณะที่ดีในการผลิตอาหาร ในการเลือกใช้อุปกรณ์และเครื่องมือกระบวนการผลิต การฆ่าเชื้อด้วยความร้อน การบรรจุและลักษณะบรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสมเพื่อยืดอายุการเก็บรักษาผลิตภัณฑ์รวมทั้งควรพัฒนารูปแบบแผนผังสถานที่ผลิตให้เป็นไปตามมาตรฐาน GMP420 พ.ศ.2563 ในเรื่องของ วิธีการผลิต เครื่องมือเครื่องใช้ในการผลิต และการเก็บรักษาอาหาร ให้คำปรึกษาและแนะนำข้อมูลของหลักเกณฑ์ในการขอรับรองมาตรฐาน การจัดทำเอกสารเพื่อยกระดับให้ผลิตภัณฑ์ผลไม้แปรรูปได้รับการรับรอง อย.



รายงานโดย ผศ.ดร.น้ำทิพย์ วงษ์ประทีป วันที่รายงาน 29/06/2566 [14525]
10000 1
3 [14519]

ทางคณะทำงานได้ให้คำปรึกษาและข้อมูลกับผู้ประกอบการ คือ คุณอรณี  พูลเลิศ เป็นกลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านแจ่มจ้าเมืองบางขลัง อยู่ที่ ต.เมืองบางขลัง อ.สวรรคโลก จ.สุโขทัย เป็นผู้ผลิตที่ีมีผลผลิตคือ มะขามแดง และต้องการพัฒนาผลิตภัณฑ์ กัมมี่และเจลลี่ ภายใต้มาตรฐานการผลิตที่ได้ GMP ทางทีมที่ปรึกษาจึงได้ให้คำปรึกษาและข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับผลิตเจลลี่มะขามแดงจำเป็นต้องใช้วิธีการสกัดให้ได้น้ำมะขามแดง แล้วนำไปผสมกับสารที่ก่อให้เกิดเจล เช่น คาราจีนแนน แซนแทน หรือผงวุ้น ซึ่งการใช้สารที่ก่อให้เกิดเจลที่ต่างกันก็จะให้เจลลี่ที่ต่างกัน ส่วนการผลิตกัมมี่จะใช้เป็น เจลาติน ที่จะต้องมีส่วนผสมของน้ำตาลและกรดที่พอเหมาะจึงจะทำให้ได้เจลของกัมมี่ที่ดี



รายงานโดย ผศ.ดร.น้ำทิพย์ วงษ์ประทีป วันที่รายงาน 28/06/2566 [14519]
5000 1
3 [14501]

นางสาวขนิษฐา เปี้ยสา กลุ่มวิสาหกิจชุมชนพอดีสมุนไพรตั้งอยู่เลขที่ 122ม.2ถนน แม่สอด-แม่ระมาดต.แม่ปะ อ.แม่สอด จ. ตากมีปัญหาและต้องของกลุ่มต้องการการพัฒนาผลิตภัณฑ์น้ำมันหอมระเหยสมุนไพรนวดตัวผสมสารสกัดขิงและไพล ที่ช่วยผ่อนคลายกล้ามเนื้อบรรเทาอาการปวดเมื่อยนั้น ทางคณะวิจัยภายใต้การดำเนินงานคลินิกเทคโนโลยีได้ให้ข้อมูลและคำปรึกษาเบื้องต้นในการพัฒนาผลิตภัณฑ์สามารถทำได้โดยการสกัดสารสำคัญจากนำสมุนไพรขิงสดและไพลสด ด้วยวิธีการทอด (hot oil extract) ในสัดส่วนสมุนไพรและ Isopropyl myristate 1:20 จากนั้นทำการกรองและนำส่วนของเหลวไปใช้ในสูตรของการผลิตน้ำมันนวด นอกจากนี้การยกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ให้มีความน่าเชื่อถือสามารถบรรจุผลิตภัณฑ์ในภาชนะบรรจุแบบแก้วและปิดเครื่องหมายการค้าที่ได้รับการจดแจ้ง ซึ่งการจัดทำมาตรฐานต้องผลิตภายใต้สถานที่ผลิตที่ได้รับรองมาตรฐานจากสาธารณสุขจะทำให้ผลิตภัณฑ์สามารถจำหน่ายได้หลายช่องทาง



รายงานโดย ผศ.ดร.น้ำทิพย์ วงษ์ประทีป วันที่รายงาน 28/06/2566 [14501]
10000 1
3 [14500]

นางบุปผา วัน กลุ่มวิสาหกิจชุมชนยาสีฟันสมุนไพรเอนไซม์เฮิร์บบุปผาวัน ตั้งอยู่ที่ อาคาร/หมู่บ้าน ไอส์แลนด์3เลขที่ 88/17ม.6ถนนคีรีนาคพรต ต.นครสวรรค์ออก อ. เมือง จ. นครสวรรค์ ซึ่งจากการความต้องการของผู้ประกอบการในการสร้างรายได้จากการพัฒนาผลิตภัณฑ์แชมพูปิดผมขาวจากสมุนไพร 5ชนิด (ขิงดอกอัญชันใบย่านางทองพันชั่ง ใบหมี่) และบรรจุภัณฑ์ที่มีมาตรฐาน ทางนักวิจัยจึงได้ให้ข้อมูลและคำปรึกษาเกี่ยวกับแชมพูที่ผลิตจากสมุนไพรทั้ง 5ชนิด นั้น ในผลิตภัณฑ์จะมีสารประกอบกลุ่มฟีนอลลิก และมีฤทธิ์ต้านออกซิเดชั่น ช่วยบำรุงผมและหนังศีรษะ จึงมีศักยภาพในการนำมาพัฒนาผลิตภัณฑ์แชมพูเพื่อการปิดผมขาว ด้วยกระบวนการสกัดสารสำคัญจากนำสมุนไพร ขิงดอกอัญชันใบย่านางทองพันชั่ง ใบหมี่มาอบให้แห้งและปั่นบดเป็นผง สกัดด้วยวิธีการต้ม (Decoction) ในสัดส่วนผงพืชและน้ำกลั่นสัดส่วน 1:20จากนั้นทำการกรอง และนำส่วนของเหลวไปใช้งาน ในการพัฒนาสูตรแชมพูปิดผมขาวจากสมุนไพร 5ชนิด



รายงานโดย ผศ.ดร.น้ำทิพย์ วงษ์ประทีป วันที่รายงาน 28/06/2566 [14500]
10000 1
3 [14499]

นางธัญภัส อินสูง ไร่กาแฟตานวยร่องกล้า ตั้งอยู่ที่ เลขที่ 9 หมู่ที่ 10 ตำบลเนินเพิ่ม อำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก ได้ขอข้อมูลและคำปรึกษาเกี่ยวกับการกะเทาะเปลือกแมคคาเดเมียเพื่อลดระยะเวลาการผลิต และการจัดทำระบบมาตรฐานการผลิตให้เป็นไปตามระบบมาตรฐาน GMP 420สำหรับผลิตภัณฑ์แมคคาเดีเมีย ซึ่งคณะวิจัยภายใต้การดำเนินงานคลินิกเทคโนโลยีได้ให้ข้อมูลและคำปรึกษาเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาของการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตด้วยการใช้เทคโนโลยีการกะเทาะเปลือกที่มีการหมุนของมอเตอร์ลำเลียงวัตถุดิบให้เข้าช่องป้อนได้ได้ด้วยการคัดผลแมคคาเดียก่อนให้มีขนาดเท่ากันจากนั้นให้เทผ่านช่องลำเลียงให้แมคคาเดเมียเคลื่อนที่เป็นลำดับและถูกตีด้วยใบตึกระทบจนเปลือกแตกและผ่านช่องลำเลียงจัดเก็บเมล็ดระหว่างเปลือกและเมล็ด จากนั้นนำเมล็ดไปผ่านกระบวนการอบต่อไป ส่วนการจัดทำระบบมาตรฐานนั้น การจัดผังลำดับการผลิตต้องเป็นเส้นตรงเพื่อป้องกันการปนเปื้อนข้าม และต้องมีการผลิตในอาคารที่ปิดสนิท เพื่อป้องกันสัตว์และแมลงที่อาจทำให้ผลิตภัณฑ์ไม่มีมีความปลอดภัย



รายงานโดย ผศ.ดร.น้ำทิพย์ วงษ์ประทีป วันที่รายงาน 28/06/2566 [14499]
10000 1
3 [14498]

คุณอัญชลี โหนนา กลุ่มสัมมาชีพบ้านท่าขอนเบน ตั้งอยู่เลขที่ 103หมู่ 8ตำบลหินลาด อำเภอวัดโบสถ์ จังหวัดพิษณุโลก  ได้ขอคำปรึกษากับนักวิจัยภายใต้การดำเนินงานของคลินิกเทคโนโลยี เกี่ยวกับการจัดทำสถานที่ผลิตพริกแกงชนิดต่างๆ เพื่อจัดทำมาตรฐานกระบวนการผลิตให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน GMP 420 โดยจากการวิเคราะห์ในการรับสภาพปัญหา พบว่า อาคารการผลิตของกลุ่มผู้ผลิตยังไม่สามารถปิดสนิท และสถานที่บางส่วนยังมีพื้นหรือบริเวณที่อาจมีการเกาะของฝุ่นละออง พร้อมกับการจัดอุปกรณ์การผลิตยังไม่พร้อมในการดำเนินการ ดังนั้นทางนักวิจัย (ผศ.ดร.น้ำทิพย์ วงษ์ประทีป) จึงได้ให้ข้อมูลและคำปรึกษาด้วยการแก้ไขในการใช้อุปกรณ์เป็นที่เป็นผนังเรียบราคาถูก (ไม้ฝาเฌอร่า) ในการปิดช่องโหว่ของอาคารการผลิต ใช้การทาสีเพื่อป้องกันฝุ่นจับพื้นผิวผนังต่างๆ ในอาคารการผลิต นอกจากนี้ทางนักวิจัยยังให้ข้อมูลและคำปรึกษาเกี่ยวกับการผลิตพริกแกงอบแห้งเพื่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ ด้วยการใช้เทคโนโลยีตู้อบแห้งในการอบผลิตภัณฑ์ให้มีคุณภาพและมีความสม่ำเสมอของผลิตภัณฑ์ 



รายงานโดย ผศ.ดร.น้ำทิพย์ วงษ์ประทีป วันที่รายงาน 28/06/2566 [14498]
10000 1
3 [14497]

นางสาวพรรษกร วรวิมลวนิช ร้านไร่วิมลวานิช ตั้งอยู่ที่ 357/60 หมู่ 3 ต.อรัญญิก อ.เมือง จ.พิษณุโลก เป็นผู้ผลิตและจำหน่ายกล้วยตากอบธรรมชาติ กล้วยอบน้ำผึ้ งและขนมของฝากต่างๆ ซึ่งปัจจุบันได้มีการขยายธุรกิจจำหน่ายวัตถุดิบและอุปกรณ์สำหรับผลิตภัณฑ์เบเกอรี่ และพบปัญหาสินค้าที่เป็นวัตถุดิบ เช่นแป้ง นมผง ซอสต่างๆ มีถุงฉีกขาดหรือแตก ที่เกิดจากการเคลื่อนย้ายหรือขนส่ง บางรายการสามารถเปลี่ยนคืนแต่บางรายการไม่ได้ทำคืนหรือจำหน่ายได้ ทำให้เกิดการสูญเสียรายได้ให้กับองค์กร อย่างไรก็ตามจากการวิเคราะห์คุณภาพของวัตถุดิบยังคงมีคุณภาพที่ดีสามารถนำมาประยุกต์และสร้างมูลค่าเพิ่มได้ ทางนักวิจัยภายใต้การดำเนินของคลินิกเทคโนโลยี จึงให้ข้อมูลและองค์ความรู้จากปัญหาความต้องการของผู้ประกอบ ด้วยการนำวัตถุดิบเหล่านั้นมาผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ ได้แก่ คุกกี้ชนิดต่างๆ ที่ได้จากวัตถุดิบที่ได้รับความเสียหาย ด้วยการใช้เทคโนโลยีการลดมันเนยจากกระบวนการขึ้นรูปน้ำมันร่วมกับโปรตีนไข่ด้วยการตีให้เป็นนื้อเจลก่อน จากนั้นจึงใส่ส่วนผสมต่างๆ ตามลำดับของการผลิต จากนั้นจึงเพิ่มคุณค่าทางโภชนาการด้วยธัญพืช และยืดอายุการเก็บรักษาด้วยบรรจุภัณฑ์ที่ปิดสนื เพื่อส่งเสริมโอกาสของการจำหน่ายและยังมีคุณภาพความปลอดภัยต่อลูกค้า ตอลดจนสามารถลดการขาดทุนจากความเสียหายของสินค้าที่เกิดจากสาเหตุดังกล่าวอีกทั้งยังสามารถสร้างรายได้ให้กับองค์กรอีกด้วย



รายงานโดย ผศ.ดร.น้ำทิพย์ วงษ์ประทีป วันที่รายงาน 28/06/2566 [14497]
10000 1
3 [14496]

นางประทุมพร เกตุบำรุง กลุ่มวิสาหกิจชุมชนผู้ปลูกและแปรรูปละมุด ตั้งอยู่ที่ 29หมู่ที่ 1ตำบลท่าทอง อำเภอสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย  เป็นผู้ผลิตผลิตภัณฑ์แชมพูมะกรูดที่มีปัญหาเรื่องของผลิตภัณฑ์แชมพูที่มีอายุการเก็บสั้น ผลิตภัณฑ์ยังไม่ได้เลขจดแจ้งเพื่อแสดงถึงความเป็นมาตรฐาน เพื่อขยายโอกาสทางการตลาด ซึ่งทางนักวิจัยได้ลงพื้นที่วิเคราะห์ปัญหาความต้องการ เพื่อให้ข้อมูลและคำปรึกษาให้กับผู้ประกอบการในเบื้องต้น พบว่า แชมพูที่ผลิตมีขนาดและปริมาณ 250มิลลิลิตร ซึ่งเป็นขวดใหญ่ อีกทั้งผลิตภัณฑ์ไม่มีส่วนผสมของสารเคมี อีกทั้งกระบวนการผลิตมีขั้นตอนหลายอย่างที่ส่งผลต่องการปนเปื้อนข้าม ดังนั้นการแก้ไขสามารถทำได้โดยการปรับรูปแบบบรรจุภัณฑ์ที่ให้ผู้ใช้สามารถใช้ครั้งเดียวด้วยการลดปริมาณการบรรจุภายใต้บรรจุภัณฑ์ที่สามารถบรรจุแบบ hot fillได้ และให้ปรับกระบวนการผลิตขึ้นตอนสุดท้ายให้มีการต้มฆ่าเชื้อแล้วบรรจุทันทีเพื่อทำการยับยั้งและทำลายเชื้อจุลินทรีย์ที่อาจเกิดขึ้น และการผลิตควรทำภายใต้โรงเรือนและอุปกรณ์การผลิตที่ได้มาตรฐาน สะอาด มิดชิด ตลอดจนการเลือกใช้นำในการผลิตต้องเป็นน้ำที่ได้มาตรฐานมี อย. รับรองในระดับหนึ่ง จะทำให้สามารถควบคุมคุณภาพสินค้าให้มีความสะอาด ปลอดภัย และมีอายุการเก็บรักษายาวนาน



รายงานโดย ผศ.ดร.น้ำทิพย์ วงษ์ประทีป วันที่รายงาน 28/06/2566 [14496]
10000 1
3 [14502]

นางสาวพรปวีณ์ ลวนานนท์ Beauty Mulberryเลขที่ 106 ม.3 ซอย บ้านคลองบง ต.ดงมูลเหล็ก อ.เมือง จ.เพชรบูรณ์เป็นผู้ผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์  Beauty Mulberry สบู่ใบหม่อน และ Beauty Mulberry เซรั่มใบหม่อน ภายใต้ยี่ห้อ Beauty Mulberry ซึ่งผู้ประกอบการมีต้องการข้อมูลและคำปรึกณาเกี่ยวกับการพัฒนาผลิตภัณฑ์โลชั่นบำรุงผิวกายและครีมเจลพอกหน้าผสมสารสกัดหม่อน โดยใช้ใบหม่อนและผลหม่อนซึ่งมีสารประกอบกลุ่มฟีนอลลิกและแอนโทไซยานินที่คุณสมบัติในการบำรุงผิว จึงเหมาะกับการนำมาเป็นส่วนประกอบในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางทางนักวิจัยภายใต้การดำเนินงานโครงการคลินิกเทคโนโลยีได้ให้ข้อมูลและคำปรึกษาเบื้องต้นเกี่ยวกับการพัฒนาสามารถทำได้โดยใช้กระบวนการสกัดสารสำคัญจากนำใบหม่อนและผลหม่อนสุก มาอบให้แห้งและปั่นบดเป็นผง ทำการสกัดด้วยวิธีการแช่หมัก (maceration) ในสัดส่วนผงพืชต่อ Propylene glycol (50% w/w)  สัดส่วน 1:10 ทำการแช่หมักนาน 10 วัน จากนั้นจึงทำการกรองนำส่วนของเหลวไปใช้ตามสูตรในการผลิตโลชั่นบำรุงผิว หรือคลืมพอกหน้าได้



รายงานโดย ผศ.ดร.น้ำทิพย์ วงษ์ประทีป วันที่รายงาน 28/06/2566 [14502]
10000 1
3 [14520]

นางคนึง ภักดีบาง กลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปรรูปมะม่วง ตั้งอยู่ เลขที่ 84/1 หมู่ที่ 4 ตำบลศรีนคร อำเภอศรีนคร จังหวัดสุโขทัย ผู้ผลิตสินค้าผลิตภัณฑ์แปรรูปจากมะม่วง เช่น ข้าวเกรียบมะม่วง มะม่วงป็อป เป็นต้นต้องการขอข้อมูลและคำปรึกษาเกี่ยวกับการเพิ่มประสิทธิภาพกำลังการผลิตข้าวเกรียบมะม่วง และการควบคุมกระบวนการผลิตให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพเพื่อหาวิธีในการป้องกันการปนเปื้อนน้ำมันเครื่องจักรที่ปนเปื้อนในผลิตภัณฑ์ ซึ่งแนวทางการให้คำปรึกษาเบื้องต้นแก่ผู้ประกอบการด้วยการใช้แนวคิดการปรับปรุงเครื่องจักรและอุปกรณ์โดยออกแบบถังผสมและแกนหมุนให้มีช่องว่างมากพอในการทำความสะอาดและการเปลี่ยนยางโอริงที่เป็นแบบ Food grade เพื่อป้องกันการปนเปื้อนจากของเหลวของเครื่องจักรภายนอก และเครื่องตัดก้อนแป้งที่ตัดได้ขนาดไม่สม่ำเสมอมีความหนาไม่เท่ากัน ชิ้นที่มีความหนามากเกินไป ทอดออกมาแล้วจะหนาและแข็ง ต้องได้รับการพัฒนารูปแบบการตัดของใบมีดให้เป็นแบบแรงเฉือนด้วยแกนหมุนที่ติดใบมีดและมีสปริงดันวัสดุเพื่อป้อนก้อนแป้งเข้าห้องตัดอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ



รายงานโดย ผศ.ดร.น้ำทิพย์ วงษ์ประทีป วันที่รายงาน 28/06/2566 [14520]
10000 1
3 [14506]

นายเสนีย์ มงคลสมัคร์ เจ้าของกิจการปลาร้าเจ้แป๊ว 2 อยู่ที่ 200 หมู่ 7 ต.บางระกำ อ.บางระกำ จ.พิษณุโลกเป็นผู้ประกอบการที่ทำการผลิตลจำหน่ายผลิตภัณฑ์น้ำพริกต่าง และผลิตภัณฑ์จากปลาร้า มีความต้องการขอข้อมูลและคำปรึกษาเกี่ยวกับการพัฒนาผลิตภัณฑ์น้ำพริกแจ่วบองปลากรอบ ซึ่งทางนักวิจัยและคณะทำงานคลินิกเทคโนโลยีไดให้ข้อมูลและคำปรึกษาเกี่ยวกับการพัฒนาผลิตภัณฑ์น้ำพริกแจ่วบองสมุนไพรสามารถเลือกสมุนไพรได้หลายขนิดในการนำมาผลิต โดยส่วนผสมหลักเป็นปลาร้าหมักได้คุณภาพ ประกอบกันในการผลิตช่วงของบรรจุภัณฑ์ควรมีการช้บรรจุภัณฑ์เป็นแบบกระปุกที่ทำมาจากวัสดุ pp มีคุณสมบัติทนร้อน ป้องกันความชื้นและอากาศ แต่ลักษณะกระปุกยังสามารถมองเห็นผลิตภัณฑ์ภายในได้ และควรใช้กระปุกที่มีขนาดพอเสริฟต่อ 1 มื้อและมีต้นทุนต่ำ ส่วนปลากรอบควรบรรจุในซองฟอยล์ขนาดเล็กที่ได้มาตรฐาน สามารถป้องกันความชื้นและอากาศได้ ซึ่งบรรจุภัณฑ์ที่ออกแบบสามารถอายุการเก็บรักษาและสะดวกต่อการใช้งานและขนส่ง



รายงานโดย ผศ.ดร.น้ำทิพย์ วงษ์ประทีป วันที่รายงาน 28/06/2566 [14506]
10000 1
3 [14518]

ทีมที่ปรึกษานำโดย ผศ.สุรินทราพร แสวงงาม ได้ลงพื้นที่ ณ ฟาร์มเห็ด บ้านฟาร์มรักษ์ ตำบลวังทอง อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก ได้พบกับคุณสุรดี ปรีชารักษ์ ผู้ดำเนินธุรกิจเพาะเห็ด เพื่อจำหน่ายผลผลิต ก้อนเชื้อเห็ด และอาหารแปรรูปจากเห็ด ผลผลิตหลักของฟาร์มได้แก่ เห็ดนางฟ้า เห็ดหูหนู และ เห็ดนางรม อาหารแปรรูปจากเห็ดที่จำหน่ายในปัจจุบัน คือ ข้าวเกรียบเห็ด แหนมเห็ด และเห็ดหยอง แหล่งจำหน่ายหลักได้แก่ ตลาดสด ร้านจำหน่ายสินค้า OTOP งานนิทรรศการแสดงสินค้า ออนไลน์ (Facebook: ฟาร์มเห็ด บ้านฟาร์มรักษ์) มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนอยู่ที่ 25,000 บาท จากการสอบถามปัญหา ความต้องการ และการวินิจฉัยสถานการณ์เพื่อแก้ปัญหาและการพัฒนาธุรกิจ พบว่า ผู้ประกอบการต้องการพัฒนาธุรกิจและยกระดับมาตรฐานสินค้า ทางทีมที่ปรึกษาได้ให้คำแนะนำลำดับขั้นตอนเพื่อการพัฒนาดังนี้ อันดับแรกต้องต้องดำเนินการจัดแผนผังสถานที่เพาะเห็ดให้เป็นไปตามมาตรฐาน GAPรวมถึงกระบวนการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวที่ถูกสุขลักษณะเพื่อขอใบรับรองมาตรฐานสินค้าเกษตร ขั้นที่สองนำผลผลิตทางการเกษตรที่ได้การรับรองมาตรฐานมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ โดยพัฒนากระบวนการผลิตให้ถูกสุขลักษณะที่ดี และสามารถยืดอายุการเก็บรักษาผลิตภัณฑ์ได้มากขึ้น เช่น การพัฒนากระบวนการผลิตข้าวเกรียบเห็ดให้สามารถเก็บได้นานมากขึ้น ลดปฏิกิริยาออกซิเดชันที่ทำให้เกิดกลิ่นเหม็นหืน เป็นต้น รวมถึงการหารูปแบบบรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสม มีข้อมูลฉลากถูกต้องตามหลักเกณฑ์ และรูปลักษณ์สวยงาม โดดเด่น เป็นที่ยอมรับของผู้บริโภค ขั้นที่สาม เมื่อกระบวนการผลิตเป็นไปตามสุขลักษณะที่ดีและผลิตภัณฑ์เป็นที่ยอมรับของผู้บริโภคแล้ว ต้องดำเนินการขอใบอนุญาตสถานที่ผลิตอาหารเพื่อยกระดับผลิตภัณฑ์ให้มีมาตรฐาน ต้องดำเนินการให้คำปรึกษาเรื่องสถานที่ผลิตและการจัดเตรียมเอกสารยื่นขอเลขสารบบ รวมถึงการดำเนินการวางแผนธุรกิจ การพัฒนาช่องทางการจัดจําหน่ายสินค้าและบริการ ทำให้เกิดต้นแบบ นักธุรกิจภายในชุมชนและเกิดการถ่ายทอดองค์ความรู้จากองค์กรการศึกษาสู่ชุมชนต้นแบบ จากชุมชนต้นแบบสู่ชุมชนเพื่อการขยายผลภายในชุมชนได้ต่อไปในอนาคต ลดความเหลื่อมล้ำของสังคมอย่างยั่งยืน



รายงานโดย ผศ.ดร.น้ำทิพย์ วงษ์ประทีป วันที่รายงาน 28/06/2566 [14518]
5000 1
3 [14495]

นางสาวศุกันญาภัทร์  ดอนคงมีสิษฐ์เจ้าของบริษัทสิษฐเศรษฐ์ จำกัด ตั้งอยู่ที่บ้านหนองเตาอิฐ เลขที่ 2 หมู่ที่ 3ตำบลท่าหมื่นราม  อำเภอวังทองจังหวัดพิษณุโลกเป็นผู้ผลิตผลิตภัณฑ์พุทราเชื่อมรสชาติต่างๆ ที่มีความต้องการในการขอข้อมูลและคำปรึกษาเกี่ยวกับการพัฒนาและยกระดับคุณภาพผลิตภัณฑ์พุทราเชื่อม ด้วยการจัดทำระบบมาตรฐานเพื่อขอการรับมาตรฐาน อย. พัฒนากระบวนการผลิตให้ได้ระบบ GMP 420การเพิ่มประสิทธิการผลิตดัวยเครื่องจักร การส่งเสริมการจัดจำหน่ายด้วยบรรจุภัณฑ์เพื่อกลุ่มเป้าหมายค้าปลีก และการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่หๆ จากผลผลิตทางการเกษตร จากปัญหาต่างๆ ทางนักวิจัยได้ให้ข้อมูลและคำปรึกษาแก้ไขปัญหาโดย ในกระบวนการผลิตต้องมีการเลือกใช้วัสดุอุปกรณ์ในการผลิตตามหลักเกณฑ์ GMP ใช้แหล่งให้ความร้อนด้วยเตาแก๊ส เพื่อควบคุมความสะอาดและอุณหภูมิในเบื้องต้น และใช้ระยะเวลาในการควบคุมเพียงให้เกิดการออสโมซิสของน้ำตาลเข้าสู่เนื้อพุทราเท่านั้น จากนั้นใช้หลักการอบแห้งที่อุณหภูมิต่ำด้วยตู้อบ (ลดกำลังคนและเพื่อความสะอาด) เพื่อระเหยน้ำออก และทำให้การน้ำเชื่อมเข้มข้น แต่สีของผลิตภัณฑ์ยังคงสวยสม่ำเสมอ ภายใต้โรงเรือนที่มีการจัดวางตำแหน่งของพื้นที่ให้เป็นสัดส่วนและปิดสนิท เพื่อป้องกันแมลงและการปนเปื้อนข้ามต่างๆ และการจัดสายการผลิตต้องเส้นตรง หรือ ตัวยู หรือตัวเอส ตลอดจนพนักงานทุกคนต้องมีการรักษาความสะอาดก่อนผลิตและหลังผลิต ส่วนเรื่องของเครื่องจักรที่ควรมีการนำมาเพิ่มประสิทธิการผลิตสามารถใช้เป็นพิมพ์ขี้นรูปแบบแผ่นสำหรับพุทราแผ่น เครื่องทุบเม็ดเพื่อแยกเปลือกและเม็ดออกแทนแรงงานคน เป็นต้น นอกจากนี้การเพิ่มมูลค่าให้กับองค์กรสามารถนำผลิตภัณฑ์ที่เหลือทิ้งจากกระบวนการผลิตพุทราเชื่อม เช่น เม็ดพุทราที่ยังมีเนื้อติดอยู่ (สามารถนำมาผ่านการแยกเนื้อออกด้วยการนำมาให้ความร้อน ทำการแยกเนื้อออก และนำเนื้อมาผ่านการผสมด้วยส่วนผสมของน้ำตาล เกลือ กรดซิตริก ปรับลักษณะเนื้อสัมผัสและรสชาติ ให้เป็นผลิตภัณฑ์สังขยาพุทรา เป็นต้น



รายงานโดย ผศ.ดร.น้ำทิพย์ วงษ์ประทีป วันที่รายงาน 28/06/2566 [14495]
10000 1
3 [14511]

นางกรุณา มีสมบูรณ์ กลุ่ม OTOP แม่ลำเจียก ตั้งอยู่ที่72 หมู่ 2 ตำบลหนองจิก อำเภอคีรีมาศ จังหวัดสุโขทัยเป็นกลุ่มผู้ผลิตผลิตภัณฑ์เผือกทอดกรอบ กล้วยทอดกรอบ มันเส้นทอดกรอบ ได้ขอข้อมูลและคำปรีกษาเกี่ยวกับการพัฒนาผลิตภัณฑ์เผือกอบกรอบ รสบาร์บีคิว และพัฒนากระบวนการผลิตเผือกอบกรอบ ให้มีประสิทธิภาพการทำงานเพิ่มขึ้น โดยสามารถลดเวลาการทำงาน หรือจัดกระบวนการผลิตให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น รวมถึงผู้ประกอบการมีความต้องการออกแบบและพัฒนาบรรจุภัณฑ์เผือกอบกรอบ รสบาร์บีคิว โดยการแพ็คบรรจุแบบกระป๋อง PET ให้มีฉลากสินค้าที่โดดเด่น ทันสมัย และบ่งบอกคุณค่าทางโภชนาการ จึงได้หให้ข้อมูลและคำปรึกษาเบื้องต้นโดยทำผลิตภัณฑ์ใหม่ "เผือกอบกรอบ รสบาร์บีคิว" ด้วยการนำเผือกมาปอกเปลือก หั่นเป็นชิ้นแว่นๆ ชั่งน้ำหนักพร้อมทอด นำไปทอดด้วยไฟกลางค่อนไปทางแรง 3-4 นาที แล้วนำมาพักในตะแกรง จากนั้นก็เคี่ยวส่วนผสมซอสบาร์บีคิวในกระทะ พอน้ำซอสได้ที่ก็นำเผือกที่ทอดลงในกระทะเคล้าๆ ให้น้ำซอสบาร์บีคิวเกาะเคลือบเผือกจนทั่ว จากนั้นตักขึ้นพักไว้บนถาดให้เย็นสนิท จากนั้นแพ็คบรรจุในกระปุก PET ที่สามารถปิดฝาได้สนิท ป้องกันแมลง ฝุ่นละออง เชื้อโรคต่างๆ ได้ เมื่อรับประทานไม่หมดสามารถปิดฝาเพื่อรับประทานภายหลังได้ อีกทั้งพกพาสะดวก สามารถใส่กระเป๋าเพื่อพกไปยังที่ต่างๆ ได้ กระปุก PET มีคุณสมบัติชนิด Food Grade ใช้บรรจุอาหารได้รับมาตรฐานความปลอดภัย มีขายตามท้องตลาดทั่วไปและโรงงานรายใหญ่ที่ช่องทางออนไลน์ นอกจากนี้บรรจุภัณฑ์ใหม่จะต้องมีตราสินค้าที่โดดเด่น เป็นเอกลักษณ์ มีคู่สีที่สากลและทันสมัยต่อปัจจุบัน ต้องสื่อให้ผู้บริโภคมีความสนใจมากยิ่งขึ้น ฉลากจะต้องเป็นไปตามกฎหมายของฉลากของกระทรวงสาธารณสุข โดยมีการตรวจคุณค่าทางโภชนาการ นอกจากนี้ฉลากแบบใหม่สามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ทุกวัย โดยเฉพาะวัยรุ่นและวัยทำงาน (15-60 ปี) และนักท่องเที่ยว ที่สนใจในสินค้า OTOP ด้านอายุการเก็บรักษา กระปุกแบบ PET ฝาดึงปิดสนิทนั้น สามารถป้องกันการปนเปื้อนต่างๆ และป้องกันลมหรืออากาศซึ่งเป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่จะทำให้คุณภาพของอาหารเปลี่ยนแปลง ได้ดีกว่าบรรจุภัณฑ์แบบเดิม จึงทำให้อายุการเก็บรักษาของบรรจุภัณฑ์แบบใหม่ สามารถมีอายุการเก็บรักษาเพิ่มจากบรรจุภัณฑ์แบบเดิม โดยอายุการเก็บรักษาบรรจุภัณฑ์แบบใหม่สามารถเก็บรักษาได้นานอย่างน้อย 3 เดือน และฉลากใหม่ต้องพร้อมเพื่อยื่นขอมาตรฐาน อย อีกด้วย



รายงานโดย ผศ.ดร.น้ำทิพย์ วงษ์ประทีป วันที่รายงาน 28/06/2566 [14511]
10000 1
3 [14516]

นางอมรรัตน์ พันธุ์นายม วิสาหกิจชุมชนกลุ่มแปรรูปผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร หมู่ 3 ต.บ้านโคก ตั้งอยู่บ้านเลขที่ 86 หมู่ 3 ตำบลบ้านโคก อำเภอเมืองเพชรบูรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์ ได้ขอคำปรึกษาเกี่ยวกับการพัฒนาและออกแบบกระบวนการผลิตผักและผลไม้แช่อิ่มอบแห้ง เนื่องจากในการผลิตมักมีปัญหาเรื่องของเวลาในการแช่อิ่มที่ใช้เวลานานเพื่อรอให้ความหวานเข้าเนื้อผักและผลไม้ดองจนทำให้เกิดกลิ่นหมัก เกิดการสูญเสียผลิตภัณฑ์ สินค้าไม่ได้คุณภาพ ซึ่งแนวทางการให้คำปรึกษาเบื้องต้นด้วยการปรับปรุงกระบวนการผลิตที่มการให้ความร้อนระดับพาสเจอร์ไรซ์ในการฆ่าเชื้อเบื้องต้นก่อน แล้วใช้คลื่นความถี่สูงหรือการเพิ่มแรงดัน เพื่อช่วยให้น้ำตาลแทรกซึมเข้าไปในเนื้อของผลแช่อิ่มอย่างรวดเร็ว



รายงานโดย ผศ.ดร.น้ำทิพย์ วงษ์ประทีป วันที่รายงาน 28/06/2566 [14516]
10000 1
3 [14514]

นางสุพรรษา มโหธร กลุ่มเครื่องปั้นดินเผาสังคโลกบ้านเกาะน้อย ตั้งอยู่ที่ บ้านเกาะน้อย 73/2หมู่ 5 ต.หนองอ้อ อ.ศรีสัชนาลัย จ.สุโขทัย ต้องการขอข้อมูลและคำปรึกษาเกี่ยวกับการพัฒนาเคลือบผลิตภัณฑ์สังคโลกที่มีต้นทุนต่ำ โดยการใช้วัตถุดิบในท้องถิ่น หรือวัสดุเหลือทิ้งมาเป็นส่วนผสม แต่เคลือบยังคงมีความสวยงามและคงความเป็นเอกลักษณ์ของเครื่องสังคโลก  ซึ่งทางนักวิจัยได้ให้ข้อมูลและคำปรึกษาการพัฒนาผลิตภัณฑ์ดังกล่าวเบื้องต้น คือ สามารถทำได้โดยใช้เศษขวดแก้วสีเขียวผ่านกระบวนการบดให้ละเอียด นำมาใช้เป็นส่วนผสมของเคลือบสังคโลก ซึ่งทำให้เกิดสีเคลือบที่มีเอกลักษณ์ใกล้เคียงกับเคลือบสังคโลกโบราณมากที่สุด และนำไปใช้เคลือบผลิตภัณฑ์สังคโลกที่ยังคงความเป็นอัตลักษณ์



รายงานโดย ผศ.ดร.น้ำทิพย์ วงษ์ประทีป วันที่รายงาน 28/06/2566 [14514]
10000 1
3 [14504]

นาย วรวุฒิ  อินคำมา กลุ่มน้ำพริกบ้านแม่ทุเลา ตั้งอยู่ที่ 124 หมู่ที่ 2 ตำบลไทยชนะศึก อำเภอทุ่งเสลี่ยม จังหวัดสุโขทัย เป็นผู้ผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์คือน้ำพริกลาบ และน้ำพริกแกงเผ็ด ต้องการขอข้อมูลและคำปรึกษาเกี่ยวกับการยืดอายุการเก็บรักษาผลิตภัณฑ์พริกแกงเผ็ดและพริกแกงลาบให้ยาวนาน และการผลิตที่ถูกวิธีตามมาตรฐาน เนื่องจากเมื่อทำน้ำพริกเสร็จแล้วบางครั้งเกิดฝนตกหนักติดต่อกันหลายวันไม่สามารถนำไปจำหน่ายในตลาดนัดจึงทำให้บางครั้งน้ำพริกเน่าเสีย กลุ่มผู้ประกอบการขาดความรู้เกี่ยวกับการคัดเลือกวัตถุดิบ กระบวนการผลิต การเก็บรักษา การจัดการในพื้นที่ ทางนักวิจัยจึงให้ข้อมูลและคำปรึกษาเกี่ยวกับการคัดเลือกวัตถุดิบ กระบวนการผลิต การเก็บรักษา การจัดการในพื้นที่ โดยลดการปนเปื้อนสิ่งที่ไม่ต้องการทางกายภาพและชีวภาพด้วยการจัดทำสถานที่ อุปกรณ์เครื่องจักร และการปฏิบัตินในการผลิตให้สะอาดภายใต้โรงเรือนที่ปิดสนิท ควรมีการการลดความชื้นผลิจภัณฑ์ด้วยตู้อบหลังการคั่วน้ำพริกเสร็จด้วยการใช้ไฟสม่ำเสมอ การบรรจุและการจัดเก็บในสภาวะแวดล้อมที่ป้องกันสัตว์และจุลินทรีย์ก่อโรคมาทำลายผลิตภัณฑ์และการบรรจุน้ำพริกควรเลือกใช้บรรจุภัณฑ์ที่สะอาด แข็งแรง คงทน เช่น กระปุกที่ได้มาตรฐานความปลอดภัย เพื่อยืดอายุการเก็บรักษา



รายงานโดย ผศ.ดร.น้ำทิพย์ วงษ์ประทีป วันที่รายงาน 28/06/2566 [14504]
10000 1
3 [14512]

คุณ​​ต้อย ขาวป้อม กลุ่มสัมมาอาชีพชุมชนบ้านป้อม เป็นกลุ่มที่ผลิตปลาส้มจากปลาจีนตราปลาส้มบ้านป้อม ตั้งอยู่ที่ เลขที่166หมู่ที่3ต.บ้านป้อม อ.คีรีมาศ จ.สุโขทัย มีความต้องการในการขอข้อมูลและคำปรึกษาเกี่ยวกับพัฒนากระบวนการผลิตปลาส้มบ้านป้อมให้มีกระบวนการผลิตที่มีคุณภาพตามมาตรฐานการผลิตที่ดีและมีประสิทธิภาพการทํางานเพิ่มขึ้น ทางคณะวิจัยภายใต้การดำเนินงานของคลินิกเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงครามได้ให้คำปรึกษากระบวนการผลิตเพื่อยืดอายุการเก็บรักษา สามารถทำได้โดยลดการปนเปื้อนของเชื้อจุลินทรีย์ก่อโรค เน้นการจัดการวัตถุดิบให้มีความสะอาดปลอดภัยตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนปลาส้ม (มผช.26/2557ผลิตภัณฑ์ปลาส้ม) และการจัดการกระบวนการผลิตให้มีความต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพมากขึ้นและมีความต้องการความรู้ด้านการจัดทำบรรจุภัณฑ์ที่มีขนาดบรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสมสามารถปกป้องผลิตภัณฑ์ให้คงสภาพความสดใหม่ ทั้ง สี คุณภาพ รสชาติ ควบคุมกลิ่นรบกวนจากผลิตภัณฑ์ ฉลากสินค้าให้มีความโดดเด่นเป็นไปตามมาตรฐาน รวมถึงมีความต้องการรับการให้คำปรึกษาด้านการปรับปรุงสถานที่ผลิตให้เป็นไปตามมาตรฐานGMP เพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่ระบบมาตรฐาน



รายงานโดย ผศ.ดร.น้ำทิพย์ วงษ์ประทีป วันที่รายงาน 28/06/2566 [14512]
10000 1
3 [14503]

คุณกฤษณา สุขอนันต์ ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนพืชสมุนไพรบ้านถ้ำพริก ตั้งอยู่ที่ 273 หมู่ 3 ต.บ้านแยง อ.นครไทย จ.พิษณุโลก ผู้ประกอบมีความต้องการขอข้อมูลและคำปรึกษาเกี่ยวกับการพัฒนาและออกแบบบรรจุภัณฑ์สำหรับผลิตภัณฑ์ยาหม่องที่มีสรรพคุณแก้คัดจากพืชสมุนไพร และต้องการคำปรึกษาเกี่ยวกับการออกแบบรูปร่าง รูปทรงที่มีความทันสมัย สะดวกต่อการใช้งาน ง่ายต่อการเก็บรักษา และเพื่อป้องกันการหลอมละลายของตัวอย่าง และสะดวกต่อการใช้งาน ทางคณะวิจัยภายใต้การทำงานคลินิกเทคโนโลยีได้จึงได้ให้ข้อมูลและคำปรึกษาเบี้องต้นของการผลิตยาหม่องสมุนไพรที่มีสรรพคุณแก้คัน สามารถใช้พืชสมุนไพรได้หลากหลายชนิด ได้แก่ สมุนไพรประเภทขมิ้นชัน ไพล และหรือเปลือกกล้วย (ผลิตภัณฑ์ยาหม่องจะออกโทนสีเหลือง) นอกจากนี้ยังสามารถใช้สารสกัดจากสมุนไพรประเภทใบตำลึง ฟ้าทะลายโจร และหรือใบรางจืด (ผลิตภัณฑ์ยาหม่องจะออกโทนสีเขียว) โดยวิธีการการสกัดจะใช้สมุนไพรมานำมาแช่และต้มเคี่ยวในน้ำมันที่ใช้เป็นส่วนผสมในยาหม่องอัตราส่วนสมุนไพร 4 ส่วนต่อน้ำมันสกัด 1ส่วน จากนั้นทำการกรอง และ สามารถนำไปผสมกับส่วนผสมตัวยาในการผลิตยาหม่องตามสูตร และการเลือกใช้บรรจุภัณฑ์เพื่อสะดวกต่อการพกพาสามารถทำเป็นแท่งที่ดันขึ้นลงได้เวลาใช้งานและเก็บรักษา



รายงานโดย ผศ.ดร.น้ำทิพย์ วงษ์ประทีป วันที่รายงาน 28/06/2566 [14503]
10000 1
3 [14510]

นายคิรายุ อภิมา กลุ่มอภิมาฟู๊ด (Apima food) ตั้งอยู่ที่ 73/4 หมู่ 7 ตำบลบ้านน้ำพุ อำเภอคีรีมาศ จังหวัดสุโขทัย เป็นผู้ผลิตและจัดจำหน่ายเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ข้าวเกรียบ ได้ขอข้อมูลและคำปรึกษากับนักวิจัยภายใต้การดำเนินงานคลินิกเทคโนโลยีเกี่ยวกับการพัฒนากระบวนการผลิตข้าวเกรียบธัญพืชดิบ ให้มีกระบวนการผลิตมีคุณภาพตามมาตรฐานการผลิตที่ดี และมีประสิทธิภาพการทำงานเพิ่มขึ้น โดยสามารถลดเวลาการทำงาน หรือจัดกระบวนการผลิตให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น และการปรับปรุงสถานที่ผลิตให้เป็นไปตามมาตรฐาน GMP เพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่ระบบมาตรฐานมะม่วง   ทางนักวิจัยจึงได้ให้ข้อมูลและคำปรึกษาเกี่ยวกับระบบการผลิต โดยควรทำการปรับปรุงกระบวนการผลิตด้วยการปรับเปลี่ยนวิธีการทำงานของผู้ประกอบการให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานการผลิตอาหารที่ดีตั้งแต่การเตรียมวัตถุดิบข้าวเกรียบธัญพืช เช่น ฟักทอง มัน หรือเผือก การนวดผสม การนึ่ง การตากแดด จนกระทั่งการบรรจุ และเลือกใช้อุปกรณ์ในการผลิตที่มีมาตรฐานความปลอดภัยทางอาหารหรือวัสดุ food grade และสามารถทำความสะอาดได้โดยง่ายไม่เป็นที่สะสมของจุลินทรีย์ รวมถึงในกระบวนการผลิตเดิม พบว่า ในขั้นตอน การหั่นข้าวเกรียบมีความล่าช้า เนื่องจากต้องหั่นข้าวเกรียบให้เป็นแผ่นบาง ยังพบการทำงานที่ล่าช้า (ดังภาพแผนผังการไหล) เกิดการรอคอยงานในกระบวนการ และการตากข้าวเกรียบกลางแจ้ง เป็นขั้นตอนที่เป็นจุดที่ต้องแก้ไข เนื่องจากอาจเกิดการปนเปื้อนของฝุ่นละอองหรือแมลงได้ ซึ่งจากการวิเคราะห์กระบวนการผลิตยังพบการทำงานที่ไม่ลื่นไหลหรือต่อเนื่อง จะส่งผลให้กำลังการผลิตไม่เป็นไปตามเป้าหมายได้ กอบกับแรงงานเป็นผู้สูงอายุ จึงต้องมีการแก้ปัญหาในกระบวนการให้การทำงานลื่นไหลและมีประสิทธิภาพการทำงานเพิ่มขึ้น และเหมาะสมกับแรงงานซึ่งเป็นผู้สูงอายุและควรปรับปรุงสถานที่ผลิตให้เป็นไปตามมาตรฐานการผลิตที่ดี หรือ GMP โดยมีการปรับปรุงห้องผลิต โดยแบ่งสัดส่วนห้องผลิตแยกออกจากสถานที่ส่วนบุคคล และห้องผลิตจะต้องมิดชิด ป้องกันสัตว์และแมลงต่างๆ ที่อาจเล็ดลอดเข้ามาในห้องผลิต ภายในส่วนการผลิตจะต้องทำการแบ่งบริเวณเปียกหรือ แห้ง และส่วนที่สะอาดสำหรับการผลิต รวมถึงที่เก็บวัตถุดิบ และที่ทิ้งของเสีย เป็นต้น เพื่อลดการปนเปื้อนข้าม โดยทีมที่ปรึกษาจะจัดอบรมการผลิตข้าวเกรียบธัญพืชดิบให้เป็นไปตามหลักการผลิตอาหารที่ดีและถูกสุขลักษณะ โดยสาธารณสุขจังหวัดสุโขทัย และการจัดแผนผังห้องผลิตที่ถูกต้อง นอกจากนี้นำตัวอย่างภายหลังการผลิตมาวิเคราะห์คุณภาพด้านต่างๆ และผลักดันเพื่อเตรียมความพร้อมให้ยื่นขอรับมาตรฐานสถานที่ผลิตที่ดี (GMP) เพื่อรองรับการผลิตผลิตภัณฑ์ของกลุ่ม



รายงานโดย ผศ.ดร.น้ำทิพย์ วงษ์ประทีป วันที่รายงาน 28/06/2566 [14510]
10000 1
3 [14509]

คุณพเยาว์ ยิ่งเจริญ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปรรูปผลผลิตการเกษตรเมืองหวันโลก หรือกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรเมืองหวันโลก เป็นกลุ่มที่ผลิตกล้วยอบม้วน ตั้งอยู่ เลขที่ 43/3 หมู่ 4 ต.ในเมือง อ.สวรรคโลก จ.สุโขทัย แปรรูปผลผลิตการเกษตรเมืองหวันโลก คือ กล้วยอบม้วนได้ขอข้อมูลและคำปรึกษากับนักวิจัยภายใต้การดำเนินงานคลินิกเทคโนโลยีเกี่ยวกับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่จากกมะม่วง   ทางนักวิจัยจึงได้ให้ข้อมูลและคำปรึกษาเกี่ยวกับการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากมะม่วง โดยการนำมะม่วงที่มีปริมาณมากของผู้ประกอบการที่ขายไม่ได้ราคามาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์มะม่วงอบแห้งแบบกาเซ่ รสธรรมชาติ ไม่เติมน้ำตาลเพิ่ม ชิ้นพอดีคำ รับประทานง่าย และมีความต้องการในการพัฒนากระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์มะม่วงอบแห้งแบบกาเซ่ ให้ถูกสุขลักษณะเป็นไปตามมาตรฐานการผลิตอาหารที่ดี



รายงานโดย ผศ.ดร.น้ำทิพย์ วงษ์ประทีป วันที่รายงาน 28/06/2566 [14509]
10000 1
3 [14508]

นางสิริกร เพิ่มกวี กลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านห้วยคล้า ตั้งอยู่เลขที่ 3/2 หมู่ที่ 9 ตำบลสามเรือน จังหวัดสุโขทัย เป็นผู้ผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์แปรรูปผลิตผลทางการเกษตรในกลุ่มผักและผลไม้แปรรูปจากวัตถุดิบที่สมาชิกกลุ่มปลูกเอง แล้วนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ  ได้แก่ กล้วยน้ำว้าดิบอบแห้ง และ ผลไม้แช่อิ่ม นอกจากนี้ยังมีผลิตภัณฑ์แปรรูปอื่นๆ ได้แก่ ผงสมุนไพรบรรจุแคปซูล กล้วยน้ำว้าดิบผสมกระเจี๊ยบแบบผงและบรรจุแคปซูล จำหน่ายผ่านช่องทางออฟไลน์ได้ขอข้อมูลและคำปรึกษากับนักวิจัยภายใต้การดำเนินงานคลินิกเทคโนโลยีเกี่ยวกับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ คือ กล้วยน้ำว้าดิบผสมกระเจี๊ยบและสมุนไพรชนิดผงบรรจุซอง รับประทานโดยกรอกปาก หรือ ชงกับน้ำ โดยเน้นกลุ่มเป้าหมายใหม่เป็นคนวัยทำงานที่มีปัญหาเรื่องโรคกระเพาะและระบบขับถ่าย ซึ่งแนวทางการพัฒนาสามารถทำได้โดยนำกล้วยน้ำว้าดิบ กระเจี๊ยบเขียว ทำความสะอาดแล้วฝานหรือหั่นท่อน ส่วนลูกเดือยนำไปล้างแล้วต้มให้สุก จากนั้นนำวัตถุดิบที่ได้ไปอบที่ตู้อบพลังงานแสงอาทิตย์ อุณหภูมิ 40-60 องศาเซลเซียส 48 ชั่วโมง แล้วนำมาบดด้วยเครื่องบดละเอียด กรองผงผ่านตะแกรงขนาด 80 mesh นำผงที่ได้มาผสมกับผงช็อคโกแลต สารสกัดหญ้าหวาน ครีมเทียมมะพร้าว คาราจีแนนและมอลโตเด็กตริน บรรจุลงซองและปิดให้สนิท



รายงานโดย ผศ.ดร.น้ำทิพย์ วงษ์ประทีป วันที่รายงาน 28/06/2566 [14508]
10000 1
3 [14507]

นางสาวนพรัศม์ สำลี กลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์วิถีพอเพียง 459 ตั้งอยู่ที่ 93/8 หมู่ที่ 3 ตำบลวงฆ้อง อำเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลกเป็นผู้ผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์แป้งกล้วย กล้วยม้วน กระยาสารทเตาฟืนกล้วยตาก ภาชนะจากวัสดุธรรมชาติ กระเป๋าผ้า Eco Print และกระเป๋าผ้าลดโลกร้อนทั้งนี้ทางกลุ่มมีความต้องการขอข้อมูลและคำปรึกษาการผลิตแป้งกล้วย ซึ่งทางนักวิจัยได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับแป้งกล้วยมีคุณสมบัติเด่น คือ ให้พลังงานจากคาร์โบไฮเดรต ปราศจากกลูเตน แหล่งของแร่ธาตุที่สำคัญ เช่น โพแทสเซียม แมกนีเซียม ฟอสฟอรัส และแคลเซียม มีสารต้านอนุมูลอิสระ มีใยอาหารที่บริโภคได้ (Dietary fiber) สูงเมื่อเทียบกับแป้งชนิดอื่นๆ ใยอาหารจะช่วยให้ระบบขับถ่ายทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น แป้งกล้วยเป็นแป้งชนิดที่เมื่อบริโภคเข้าไปแล้วจะมีการย่อยและมีอัตราการปลดปล่อยน้ำตาลที่ช้ากว่าแป้งชนิดอื่น ๆ โดยเรียกคุณสมบัติว่านี้ว่าค่า Glycemic index (GI) โดยแป้งกล้วยจะมีค่า GI ต่ำ แป้งกล้วยจึงเหมาะกับการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารสำหรับผู้บริโภคที่ต้องการควบคุมระดับน้ำตาลในกระแสเลือด เช่น ผู้ป่วยโรคเบาหวานหรือผู้มีภาวะเสี่ยงโรคเบาหวาน ซึ่งแป้งกล้วยสามารถนำมาใช้ประโยชน์ในลักษณะเช่นเดียวกับแป้งอื่น ๆ ทั่วไป เช่น แป้งข้าวเจ้า แป้งข้าวเหนียว แป้งท้าวยายม่อม เป็นต้น โดยสามารถใช้ประโยชน์ในการแปรรูปเป็นอาหาร ขนม เบเกอรี่ เมื่อผ่านการแปรรูปแล้วเนื้อสัมผัสมีลักษณะแน่น แข็ง จึงเหมาะกับผลิตภัณฑ์ที่มีเนื้อสัมผัสกรอบ เช่น คุกกี้ บิสกิต ขนมปังกรอบ เป็นต้น



รายงานโดย ผศ.ดร.น้ำทิพย์ วงษ์ประทีป วันที่รายงาน 28/06/2566 [14507]
10000 1
3 [14505]

นายสัมฤทธิ์ นพรัตน์ ผู้จัดการห้างหุ้นส่วนจำกัด เอสเคฟู้ดแอนด์มาร์เก็ตติ้ง ตั้งอยู่ที่ 45 หมู่ 5 ตำบลวังสำโรง อำเภอตะพานหิน จังหวัดพิจิตรเป็นผู้ผลิตภัณฑ์คางกุ้งรสลาบ บาร์บิคิว ต้มยำ ฯลฯ มีความต้องการพัฒนาผลิตภัณฑ์คางกุ้งที่มีรสชาติใหม่ ที่ไม่ใช้เครื่องปรุงเขย่า ต้องการในรูปแบบ 3 รส คล้ายปลากรอบที่มีการโรยงา และคงให้ผลิตภัณฑ์มีความกรอบไม่เหนียวติดฟัน เพื่อเพิ่มความหลากหลายของผลิตภัณฑ์ และตามความต้องการของลูกค้า ทางนักวิจัยภายใต้การดำเนินงานของคลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม ได้ให้ข้อมูลและคำปรึกษาเบื้องต้นถึงแนวทางการแก้ไขปัญหาความต้องการด้วยการพัฒนาคางกุ้งสามรสจะนำคางกุ้งที่ได้มาอบให้แห้งหมาด จึงจะนำไปทอด (ไม่ต้องชุบแป้ง) พักไว้ ทำการเตรียมน้ำปรุงที่ประกอบด้วยน้ำตาล เกลือ และพริก ที่สัดส่วนพอเหมาะ นำเคี่ยวให้เหนียวเข้มข้นได้ที่แล้ว จึงนำคางกุ้งลงเคลือบและโรยด้วยงา คลุกให้ทั่ว นำไปอบในตู้อบลมร้อนที่อุณหภูมิ 50 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 2 ชั่วโมง เพื่อไล่ความชื้นที่คงค้างอยู่กับตัวน้ำปรุงออกให้หมด เพื่อให้ผลิตภัณฑ์คงกรอบได้นาน นำผลิตภัณฑ์ไปบรรจุในภาชนะที่ปิดสนิท จะช่วยทำให้ผลิตภัณฑ์สามารถเก็บรักษาได้นาน



รายงานโดย ผศ.ดร.น้ำทิพย์ วงษ์ประทีป วันที่รายงาน 28/06/2566 [14505]
10000 2
3 [14513]

คุณสนอง จันทร์สุข กลุ่มแปรรูปกล้วยบ้านนิคมพัฒนา เป็นกลุ่มที่ผลิตกล้วยฉาบโบราณหลากหลายรสชาติ ตั้งอยู่ เลขที่ 71 หมู่ 8 ต.หนองจิก อ.คีรีมาศ จ.สุโขทัย  ผู้ผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์กล้วยกล้วยฉาบโบราณ ภายใต้ตราสินค้า กล้วยฉาบโบราณน้องต้องตา มีความต้องการที่จะพัฒนากระบวนการทอดโดยการใช้เครื่องจักรในทอดกล้วยเพื่อเพิ่มกำลังการผลิต และลดต้นทุนด้านแรงงานการผลิต เนื่องจากวิธีการเดิมมีกระทะทอดกล้วยเพียง 1 กระทะเท่านั้น อีกทั้งยังมีแรงงานคนที่จำกัด ส่งผลให้ปริมาณกล้วยทอดในแต่ละรอบการผลิตมีปริมาณไม่เพียงพอต่อความต้องการในท้องตลาดที่มีในปัจจุบันจึงได้ขอข้อมูลและคำปรึกษาจากนักวิจัยภายใต้การดำเนินงานของคลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม โดยทางทีมคณะวิจัยได้ให้ข้อมูลและคำปรึกษาในการแก้ไขปัญหาโดยสามารถใช้เทคโนโลยีเครื่องทอดกล้วยกึ่งอัตโนมัติที่ใช้กระทะขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 400 มิลลิเมตร ลึก 200 มิลลิเมตร ติดตั้งชุดใบกวนมีรัศมีการกวน 200 มิลลิเมตรใช้แรงคนด้วยมอเตอร์ขนาด 25 วัตต์ เป็นต้นกำลัง และใช้ความร้อนจากแก๊ส ขนาด 618 วัตต์ นอกจากนี้การทอดกล้วยให้ได้คุณภาพที่ดีจะเริ่มจากการเทน้ำมันลงไปในกระทะทอดกล้วย และรอให้น้ำมันร้อนตามอุณหภูมิที่กำหนด จากนั้นฝานแผ่นกล้วยลงในน้ำมัน และทำการเปิดมอเตอร์ใบกวนที่ความเร็วรอบ 45 รอบต่อนาที เมื่อกล้วยสุกได้ที่จึงตักพักไว้บนตะแกรงสะเด็ดน้ำมัน จึงทำให้สามารถเพิ่มกำลังการผลิต ลดเวลาการทำงาน และไม่ต้องเพิ่มแรงงานในการผลิต



รายงานโดย ผศ.ดร.น้ำทิพย์ วงษ์ประทีป วันที่รายงาน 28/06/2566 [14513]
10000 1
2 [14028]

คุณจุฬาวรรณ มหัทธโนฤกษ์ แกนนำกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรกรสร้างสวรพลิกชีวิตน้ำตกปอย ตั้งอยู่ที่ 161 หมู่ที่ 16ตำบลวังนกแอ่น อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก ได้ขอคำปรึกษาและข้อมูลเกี่ยวกับการบริหารจัดการกับมะขาม โดยครั้งนี้ทีมงานที่ปรึกษาได้ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการนำเปลือกมะขามมาผ่านกระเผาและอัดขึ้นรูปเป็นผลิตภัณฑ์ถ่านอัดแท่ง เมล็ดมะขามนำมาสกัดเจล หรือชา หรือกาแฟ หรือบดเป็นแป้งเพื่อใช้เป็นสารข้นหนืด ส่วนเนื้อมะขามนอกจากจะขายแบบมะขามกิโลที่มีมูลค่าต่ำ อาจนำมาทำเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ไม่ว่าจะเป็นน้ำมะขาม แยมมะขาม มะขาวกวน และอื่นๆ อีกมากมายทั้งนี้การนำมะขามมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ใดๆ ก็ตามต้องคำนึ่งถึงความต้องการตลาดด้วย



รายงานโดย ผศ.ดร.น้ำทิพย์ วงษ์ประทีป วันที่รายงาน 03/04/2566 [14028]
5620 7
2 [14027]

คลินิกเทคโนโลยีได้ทำการประชาสัมพันธ์ เข้าร่วมกิจกรรม ประชุม และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ความร่วมมือ สร้างความรู้ความเข้าใจ และนำข้อมูลมาพัฒนาการดำเนินงานต่างๆ ตลอดทั้งไตรมาสตามภาพข่าว



รายงานโดย ผศ.ดร.น้ำทิพย์ วงษ์ประทีป วันที่รายงาน 03/04/2566 [14027]
0 0
2 [14022]

 

นาย สุรพงษ์ พวงอินทร์ ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปรรูปผลผลิตวนเกษตรปลอดสารบ้านแยง ตั้งอยู่ที่ 166/3 หมู่ 3 บ้านถ้ำพริก  ตำบล บ้านแยง อำเภอ นครไทย จังหวัด พิษณุโลก ได้ขอข้อมูลและคำปรึกษาเกี่ยวกับการแปรรูปเมล็ดกาแฟ และชาดอกกาแฟจากคณะทำงานโครงการคลินิกเทคโนโลยี ด้วยพื้นฐานของกลุ่มวิสาหกิจดังกล่าวทำการเพาะปลูกกาแฟไม่ต่ำกว่า 2 พันต้นในพื้นที่ 20 ไร่ ซึ่งในแต่ละปีจะมีผลผลิตมากถึง 30 ตัน แต่ปัญหาคือทางกลุ่มยังขาดองค์ความรู้ในเรื่องของการคั่วกาแฟให้มีกลิ่นหอม และการเก็บดอกกาแฟเพื่อนำมาทำชาโดยที่ยังคงสามารถเก็บเกี่ยวเมล็ดกาแฟได้ด้วย ทางคลินิกเองได้ให้คำปรึกษาเบื้องต้นถึงการใช้เทคโนโลยีการเก็บเกี่ยวดอกกาแฟ ดังนี้ เริ่มจากการที่กาแฟจะเริ่มออกดอกและบานสพรั่งจนส่งกลิ่นหอม เพื่อให้แมลงผสมเกสรทางธรรมชาติ  และให้ติดผลเมล็ดกาแฟก่อน ซึ่งสังเกตุจากตอนดอกกาแฟจะเริ่มมีสีน้ำตาลและบริเวณโคนดอกจะเห็น ผลอ่อนของเมล็ดกาแฟขึ้น ดอกกาแฟจะเริ่มเหี่ยวเป็นสีน้ำตาลตอ่อน จนเป็นสีน้ำตาลเข้มออกดำ และขั้วเกสรจะหลุด ซึ่งการเก็บเกี่ยวเพื่อให้ได้ทั้งผลเมล็ดกาแฟและชาจากดอกกาแฟจะต้องทำการเก็บเกี่ยวก่อนขั้วเกสรจะหลุดด้วยการให้คีมหรือกรรไกรเล็มตัดใต้ฐานดอก   (ปกติการเก็บเกี่ยวของชุมชนจะใช้มือเก็บเกี่ยวจะมีผลทำให้ปริมาณผลผลิตของเมล็ดกาแฟสูญเสียไป) และถ้าต้องการให้ได้การเก็บเกี่ยวที่มีประสิทธิภาพจะใช้อุปกรณ์ที่ออกแบบมาต้องสะดวกในการเคลื่อนย้ายและรวบรวมดอกกาแฟที่สะอาด จะใช้ผ้ารี่ที่ออกแบบให้เป็นลักษณะของเรือที่มีตัวเกี่ยวที่สามารถคล้องไว้กับกิ่งกาแฟ เพื่อเวลาเก็บเกี่ยวจะฝุ่นละอองล่วงหล่นไปยังพื้นที่ขณะเดียวกันดอกกาแฟยังคงค้างที่ภาชนะอยู่ โดยภาชนะนี้จะมีปลายช่วงล่างสามารถปล่อยดอกกาแฟไปยังถุงรวมหน่วยอีกที่ เพื่อการเก็บเกี่ยวดอกกาแฟ ที่สะอาด และคงได้ผลผลิตเมล็ดกาแฟ จากนั้นจะนำไปล้างน้ำเพื่อกำจัดฝุ่นละออง และนำไปอบแห้งที่อุณภูมิ 55 องศาเซลเซียสเป็นเวลา 3 ชั่วโมง แล้วนำมาคั่วที่อุณหภูมิ 170-180 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 10 นาที เพื่อให้เกิดกระบวนการ Canalization เพื่อให้ชาดอกกาแฟมีสารต้านอนุมูลอิสระ และมีความหวานมากขึ้น สามารถชงได้ทั้งน้ำร้อน และน้ำเย็นมี ส่วนการคั่วเมล็ดกาแฟให้มีความหอมควรใช้อุณหภูมิตั้งแต่ 180 องศาเซลเซียส ในภาชนะคั่วกาแฟ

 



รายงานโดย ผศ.ดร.น้ำทิพย์ วงษ์ประทีป วันที่รายงาน 03/04/2566 [14022]
5000 3
1 [13758]

ด้วยทางสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ได้ดำเนินงานโครงการขับเคลื่อนและส่งเสริมการใช้ประโยชน์งานด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (วน.) ในระดับภูมิภาค ประจำปี 2567-2570 ซึ่งจัดขึ้นในระหว่างวันที่ 20-21 พฤศจิกายน 2565 โดยวันที่ 20 พฤศจิกายน 2565 เป็นกิจกรรมการบรรยายแนวทาง One Route เพื่อใช้ประโยชน์งานด้าน ววน. สู่การพัฒนาจังหวัด และกิจกรรม Workshop การจัดทำแผนปฏิบัติการขับเคลื่อนและส่งเสริมการใช้ประโยชน์งานด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) ในระดับภูมิภาค สำหรับวันที่ 21 พฤศจิกายน 2565 ศ.สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ร่วมกับ ผู้บริหารมหาวิทยาลัยเครือข่าย กว่า 80 สถาบันทั่วประเทศ เข้าร่วมพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ “การขับเคลื่อนและส่งเสริมการใช้ประโยชน์วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาจังหวัด” ระหว่าง สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และ มหาวิทยาลัยเครือข่าย โดยมีผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชุมพล เสมาขันธ์ อธิการบดีทางมหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม ณ โรงแรมแมนดาริน ถนนพระรามที่ 4 กรุงเทพมหานคร และคลินิกเทคโนโลยีได้เข้าร่วมกิจกรรมผ่านระบบการประชุมทางไกลออนไลน์



รายงานโดย นางสาวอิสราภรณ์ ใบวุฒิ วันที่รายงาน 05/03/2566 [13758]
0 0
1 [13759]

คลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.น้ำทิพย์ วงษ์ประทีป ได้คำปรึกษาและถ่ายองค์ความรู้ให้กับผู้เข้าร่วมรับการฝึกอาชีพจำนวน 20 ราย ภายใต้โครงการพัฒนาทักษะเฉพาะของแรงงานอิสระยุค 4.0 (Gig Worker) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ประเภทการฝึกมือ สาขาการแปรรูปและถนอมอาหารประเภทผลไม้ ณ สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 9 พิษณุโลก กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กระทรวงแรงงาน เพื่อพัฒนาศักยภาพคนทำงานทุกระดับให้มีผลิตภาพแรงงานสูง สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงานและก้าวทันเทคโนโลยี ตลอดจนส่งเสริมแรงงานให้มีงานทำ มีรายได้ที่เหมาะสม นำไปสู่การยกระดับคุณภาพชีวิตที่ดี ให้แก่ประชาชนและลดความเหลื่อมล้ำของคนไทยให้ได้รับการฝึกอบรมฝีมือแรงงานอุตสาหกรรมตามเป้าหมายและพัฒนากำลัง แรงงานตอบสนองอุตสาหกรรม



รายงานโดย นางสาวอิสราภรณ์ ใบวุฒิ วันที่รายงาน 05/03/2566 [13759]
0 20