2566 บริการรับคำปรึกษาและแก้ไขปัญหาด้านเทคโนโลยี พร้อมเผยแพร่ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 0
ผล การดำเนินงานเป็นไปตามแผนที่วางไว้ ผู้เข้ามารับบริการมีความพึงพอใจตามเป้าหมาย ด้านผลิตภัณฑ์ ผู้เชี่ยวชาญและเทคโนโลยีตรงตามเป้าหมายที่วางไว้
ผล 1.นำองค์ความรู้ด้านวทน.ไปใช้ในการแก้ไขปัญหาในภาคการผลิต ทั้งในสถานประกอบการหรือภาคอุตสาหกรรม ลดรายจ่ายและเพิ่มรายได้ให้แก่ผู้รับบริการ 2.ได้พื้นที่ในการวิจัยเพื่อพัฒนาชมชนอย่างยั่งยืน (Fundamental Fund,หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.)) 3.เกิดการบูรณาการการเรียนการสอน 4.เกิดนักวิจัยระดับชุมชน (อสวท.) 5.เกิดองค์ความรู้ไปบรรจุในแผนยุทธศาสตร์ของศูนย์พัฒนาโครงการหลวงเลอตอ จ.ตาก (ป่าให้สี)
ผล มีการพัฒนาทักษะ องค์ความรู้ (Up-Skill) ต่อไปเรื่อยๆ เพื่อสร้างความเชี่ยวชาญให้กับตนเองและชุมชนเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ที่เหมาะกับภูมิสังคมของชุมชนในระบบนิเวศที่เอื้อต่อการดำรงชีพของชุมชนอย่างยั่งยืน
รายงานความก้าวหน้า
ไตรมาส | ผลการดำเนินงาน | งบประมาณที่ใช้ | ผู้รับบริการ |
---|---|---|---|
4 [15703] |
คลินิกเทคโนโลยี มทร.ล้านนา ร่วมกับธนาคารออมสินภาค 8 ส่งมอบผลิตภัณฑ์จากการพัฒนาผ้า รายงานโดย นางสาวอภิญญา ไชยวงค์ วันที่รายงาน 26/09/2566 [15703] |
0 | 0 |
4 [15704] |
คลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เข้าร่วมโครงการสืบสานศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านล้านนาคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ : สรรสร้างเสน่ห์บนผืนผ้าด้วยธรรมชาติ เพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐศาสตร์ ปี 3 ได้ร่วมเป็นวิทยากรถ่ายทอดองค์ความรู้เรื่อง การพัฒนาผ้าพื้นเมืองด้วยการย้อมหรือพิมพ์ การพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์ชุมชนและการเพิ่มมูลค่าสินค้าชุมชน มีการสาธิตการย้อมผ้าด้วยสีธรรมชาติ ให้กับนักศึกษาคณะเศรษฐศาสตร์ และยังมีการประกวดแข่งขันเพื่อเพิ่มมูลค่าของสินค้าทางการเกษตร สู่การเป็นผู้ประกอบการยุคใหม่ โดยผศ.ไพโรจน์ วรพจน์พรชัยร่วมเป็นคณะกรรมการในการตัดสินในครั้งนี้ด้วย รายงานโดย นางสาวอภิญญา ไชยวงค์ วันที่รายงาน 26/09/2566 [15704] |
0 | 30 |
3 [14904] |
วันที่ 12-14 กรกฎาคม 2566 คลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ร่วมกับ ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้ (สกร.) ตำบลเวียง ร่วมจัดกิจกรรมบริการให้คำปรึกษา เรื่อง การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำและการผลิตอาหารสัตว์น้ำ โดยมีวิทยากร อาจารย์สมเกียรติ ตันตา อาจารย์ประจำหลักสูตรวิชาเอกประมง คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ลำปาง มาถ่ายทอดองค์ความรู้การเพาะเลี้ยงปลานิลและกบแบบเลียนแบบธรรมชติ การอนุบาลลูกอ๊อดกบ การผลิตอาหารสัตว์น้ำ และยังมีการฝึกปฎิบัติการจัดการพ่อแม่พันธุ์กบหลังวางไข่ ให้แก่กลุ่มเกษตรกรและผู้ที่สนใจ ณ ศูนย์การเรียนรู้บ้านช่างคำ ตำบลเวียง อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ โดยการนำเทคนิควิธีการเลี้ยงกบ เพาะพันธ์ุกบเพื่อผลิตพ่อพันธ์ุแม่พันธ์ุและการผลิตอาหารสัตว์น้ำ เพื่อให้กลุ่มเกษตรกรสามารถนำความรู้ไปใช้ในการประกอบอาชีพหรือพัฒนาอาชีพ และสร้างรายได้
สรุปค่าใช้จ่าย ค่าดำเนินกิจกรรม 14,162 ค่าจ้างเหมาเจ้าหน้าที่คลินิก3 เดือน (ก.ค-ก.ย) 45,000 รวมเป็นเงิน รายงานโดย นางสาวอภิญญา ไชยวงค์ วันที่รายงาน 21/07/2566 [14904] |
59162 | 20 |
3 [14902] |
วันที่ 3-9 กรกฎาคม 2566 คลินิกเทคโนโลยี มทร.ล้านนา เข้าร่วมจัดนิทรรศการผลงานการขับเคลื่อนล้านนาอย่างสร้างสรรค์ด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมสู่เศรษฐกิจฐาน "BCG MHESI Innavation Fair for BCG Creative LANNA" จัดโดย กระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม (อว.)ซึ่งได้นำองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรม (วทน.) สู่การพัฒนาและแก้ปัญหาเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของประชาชนในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน สร้างอาชีพสร้างรายได้ลดรายจ่ายตลอดจนการสร้างโอกาสและช่องทางทางธุรกิจให้แก่ผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชนและเกษตรกร โดยคลินิกเทคโนโลยี ได้นำโครงการนวัตกรรมผ้าทอไทยลื้อย้อมสีธรรมชาติด้วยต้นห้อม จากชุมชนบ้านหนองปลามัน ตำบลน้ำแพร่ อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ มาถ่ายทอดเทคโนโลยีและนำเสนอผลงาน ยังได้มีการนำองค์ความรู้นวัตกรรมและเทคโนโลยีเข้าไปช่วยพัฒนากลุ่มในการพัฒนากระบวนการย้อมห้อม และย้อมสีธรรมชาติ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าทอไทลื้อย้อมห้อมและย้อมสีธรรมชาติ การออกแบบพัฒนาตราสินค้า ให้เป็นผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมกับความต้องการของกลุ่มเป้าหมายในตลาด และต่อยอดผลิตสินค้าออกสู่ตลาดในเชิงพาณิชย์ได้ ณ ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบพระชนพรรษาจังหวัดเชียงใหม่ รายงานโดย นางสาวอภิญญา ไชยวงค์ วันที่รายงาน 21/07/2566 [14902] |
0 | 0 |
3 [14437] |
เพิ่มเติม ค่าใช้จ่ายไตรมาส 1 ค่าจ้างเหมาติดตามและสรุปผล 30,000 บาท ค่าใช้จ่ายไตรมาส 2 ค่าจ้างเหมาเจ้าหน้าที่คลินิกเทคโนโลยี 30,000 บาท รายงานโดย นางสาวอภิญญา ไชยวงค์ วันที่รายงาน 15/06/2566 [14437] |
60000 | 0 |
3 [14435] |
วันที่ 12-13 มิถุนายน พ.ศ. 2566 คลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ร่วมกับ คลินิกเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ลำปาง ร่วมจัดกิจกรรมบริการให้คำปรึกษา เรื่อง Eco Printing การพิมพ์ลายผ้าด้วยใบไม้ด้วยเทคนิดห่มฮ้อมพื้นที่ปลูกดอยม่อนล้าน โดยมีวิทยากรถ่ายทอดองค์ความรู้ร่วมกับอาจารย์ณัฐอมร จวงเจิม อาจารย์ประจำหลักสูตรวิชาพืชศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร มทร.ล้านนา ลำปาง ให้แก่กลุ่มผ้าทอไทลื้อย้อมสีธรรมชาติ ณ บ้านหนองปลามัน ตำบลน้ำแพร่ อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งมีการเรียนรู้เกี่ยวกับเทคนิคการห่มสีด้วยฮ้อม การเรียนรู้เทคนิคการคัดเลือกใบไม้ที่เหมาะกัยการห่มสีผ้า Eco Printing ทำให้กลุ่มผ้าทอไทลื้อสามารถนำความรู้ไปใช้ในการประกอบอาชีพหรือพัฒนาอาชีพ และสร้างรายได้ให้กับครอบคัว และยังเป็นจุดขายสินค้าใหม่ๆ ที่เป็นผลิตถัณฑ์จากธรรมชาติอีกด้วย สรุปค่าใช้จ่าย ค่าจ้างเหมาเจ้าหน้าที่คลินิก 45,000 บาท ค่าดำเนินกิจกรรม 9,164บาท รวม 54,164 บาท
รายงานโดย นางสาวอภิญญา ไชยวงค์ วันที่รายงาน 15/06/2566 [14435] |
54164 | 20 |
3 [14434] |
วันที่ 2 มิถุนายน 2566 ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) อำเภอสันกำแพง และกลุ่มผู้ประกอบการ ร่วมกับ คลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เข้าร่วมประชุมและวางแผนงานการสืบสานผ้าซิ่นลายก่าน ณ กองดีมีศิลป์ กลุ่มอนุรักษ์มรดกสันกำแพง ตำบลสันกำแพง อำเภอสันกำแพง เพื่อพัฒนางานผ้าทอซิ่นลายก่าน ซึ่งเป็นลายดั่งเดิมของอำเภอสันกำแพง ในอดีตผ้าซิ่นลายก่านทำจากผ้าไหม ประกอบด้วยการย้อมสีไหมที่จะย้อมโดยการไล่โทนสีสามชั้นหรือสี่ชั้นขึ้นอยู่กับการออกแบบและการทออย่างพิถีพิถันจึงทำให้ผ้าซิ่นสันกำแพงมีความสวยงาม ชุมชนจึงอยากพัฒนางานผ้าซิ่นลายก่านให้กลับมามีชื่อเสียงและเป็นที่รู้จักอีกครั้ง รายงานโดย นางสาวอภิญญา ไชยวงค์ วันที่รายงาน 15/06/2566 [14434] |
0 | 10 |
3 [14432] |
วันที่ 8 พฤษภาคม 2566 กรมการปกครองอำเภอแม่แจ่ม ร่วมกับคลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เข้าร่วมการประชุมการตรวจสอบผ้าจกแม่แจ่ม ณ ที่ทำการปกครองอำเภอแม่แจ่ม โดยมีนายอำเภอแม่แจ่ม นางสาวพัทธนันท์ พิทาคำ เป็นประธานในการจัดประชุม ซึ่งอำเภอแม่แจ่มมีชื่อเสียงในเรื่อง ผ้าจก นับเป็นหนึ่งในชุมชนไม่กี่แห่งของไทยที่ยังคงรักษาและสืบทอดมรดกพื้นเมืองซิ่นตีนจก และ ผ้าทอหลายประเภท อันเป็นศิลปหัตถกรรมที่มีคุณค่าทั้งความงดงามและความหมาย จก เป็นเทคนิคการทำลวดลายบนผืนผ้าบนเส้นพุ่ง ด้วยวิธีการสอดด้ายเส้นพุ่งพิเศษเข้าไปเป็นช่วงๆ โดยใช้ขนแม่นหรือเหล็กแหลมช่วยในการจกหรือควักเส้นด้ายขึ้นมาบนเนื้อผ้าที่ทออยู่ การจกเป็นการสร้างลวดลายที่สามารถใช้ฝ้ายได้หลากหลายสีในลวดลายต่างๆ ที่ทำขึ้น ผ้าแม่แจ่มจะใช้เทคนิคนี้เป็นส่วนใหญ่ โดยคว่ำหน้าผ้าลงกับกี่ที่ทอ ซึ่งทำให้สามารถเก็บเงื่อนหรือปมฝ้ายได้เป็นระเบียบเรียบร้อยไม่หลุดง่าย รวมทั้งลวดลายที่เกิดขึ้นด้านหลังของลายซึ่งอยู่ด้านบนของกี่นี้มีความสวยงามไม่แพ้ด้านหน้าซิ่นแม่แจ่มจึงสามารถนุ่งได้ 2 ด้าน ผ้าจกนับเป็นศิลปะการสร้างลวดลายบนผ้าที่มีความเป็นอิสระในตัวเอง ซึ่งผู้ทอสามารถสร้างจินตนาการและแสดงออกซึ่งความคิดสร้างสรรค์ของตนเองได้มากที่สุดเช่นเดียวกับการวาดภาพและแต้มสีลงบนผืนผ้า องค์ประกอบของซิ่นตีนจกแม่แจ่ม แบ่งออกเป็นส่วนสำคัญ 3 ส่วน คือ ส่วนเอวซิ่น ส่วนตัวซิ่น และส่วนที่เป็นตีนจกหรือตีนซิ่น เมื่อนำทั้ง 3 ส่วน นี้มาเย็บต่อกันก็จะได้ซิ่นตีนจก 1 ผืน ทั้งนี้เนื่องจากสตรี แม่แจ่มส่วนใหญ่ยังนิยมทอผ้าแบบโบราณกันอยู่ โดยใช้กี่พื้นเมือง ซึ่งมีขนาดเล็ก ส่วนตัวซิ่นจะเป็นส่วนที่กว้างที่สุดที่สามารถทอได้ แต่ปัจจุบันนี้มีการทอซิ่นตีนจกแบบเต็มผืนขึ้นบ้างแล้ว รายงานโดย นางสาวอภิญญา ไชยวงค์ วันที่รายงาน 14/06/2566 [14432] |
0 | 10 |
3 [14431] |
วันที่ 5-6 พฤษภาคม 2566 .งานส่งเสริมและพัฒนาหัตถกรรม ฝ่ายส่งเสริมและพัฒนามูลนิธิโครงการหลวง ร่วมกับคลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา บริการให้คำปรึกษาเรื่อง การวางแผนการหัตถกรรมชนเผ่าเพื่อเพิ่มชีดความสามารถการพัฒนาผลิตภัณฑ์รูปแบบใหม่เพื่อสร้างรายได้ให้กับเกษตรกร ในพื้นที่สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง ณ หมู่บ้านขอบด้ง หมู่ 14 ตำบลม่อนปิ่น อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นที่ที่ชาวเขาเผ่ามูเซอดำและเผ่ามูเซอแดงอาศัยอยู่ร่วมกัน คนที่นี่นับถือผี มีวัฒนธรรมและความเป็นอยู่อย่างเรียบง่าย หมู่บ้านแห่งนี้ได้รับการส่งเสริม จากโครงการหลวงในด้านการเกษตรและด้านหัตถกรรมพื้นบ้าน ซึ่งงานหัตถกรรมที่มีชื่อเสียงของชุมชนคือ หญ้าอิบุแค หญ้าไข่เหาเส้นเล็ก ๆ จะขึ้นเฉพาะบริเวณบนดอยสูงที่มีอากาศหนาวเย็นเท่านั้น หนึ่งปีจะเก็บหญ้าได้เพียงหนึ่งครั้ง วิธีการเก็บ จะเก็บทีละเส้นเลือกเฉพาะหญ้าที่สมบูรณ์นำมาย้อมสี จากภูมิปัญญาชาวบ้านจึงเกิดหัตถกรรมสานและถักจากหญ้าอิบุแค ที่จะเห็นได้ชัด คือ การนำหญ้าอิบุแคมาถักเป็นกำไลข้อมือ กระเป๋าด้วยลวดลายและสีสันหลากหลายแบบ นำออกมาขายตามสถานที่ต่าง ๆ บริเวณใกล้เคียง เป็นงานฝีมือที่ทำได้ง่ายและเป็นการช่วยสร้างรายได้ให้แก่ครอบครัวอีกทางหนึ่ง รายงานโดย นางสาวอภิญญา ไชยวงค์ วันที่รายงาน 14/06/2566 [14431] |
0 | 29 |
3 [14433] |
วันที่ 11-12 พฤษภาคม 2566 เทศบาลตำบลสันทราย อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ ร่วมกับคลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา จัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการการย้อมผ้าด้วยสีธรรมชาติ ในโครงการส่งเสริมพัฒนาอาชีพกลุ่มปกาเกอะญอ หมู่ที่ 5 บ้านห้วยงูใน ณ อาคารชุมชนบ้านปกาเกอะญอ บ้านห้วยงูใน ตำบลสันทราย อำเภอฝาง มีการอบรมให้ความรู้และลงมือปฏิบัติ เรื่อง การย้อมสีธรรมชาติโดยใช้วัสดุธรรมชาติที่หาได้จากชุมชน ได้แก่ ขมิ้น ใบสัก เพกา เปลือกผักเฮือด ตองก๋ง เปลือกงิ้ว ห้อม และประดู่ นำมาย้อมกับเส้นฝ้ายและใช้สารช่วยย้อมเช่น สารส้ม น้ำด่าง สนิมเหล็ก มะขามเปือก ปูนขาว สามารถย้อมได้ 20 เฉดสี ช่วยให้ชาวบ้านกลุ่มปกาเกอะญอ บ้านห้วยงูใน นำเส้นฝ้ายที่ย้อมจากสีธรรมชาติไปทอเป็นสินค้าภายในชุมชนได้ในอนาคต รายงานโดย นางสาวอภิญญา ไชยวงค์ วันที่รายงาน 14/06/2566 [14433] |
0 | 24 |
3 [14430] |
วันที่ 28 เมษายน 2566 คลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา จัดกิจกรรมบริการให้คำปรึกษา เรื่อง การย้อมสีธรรมชาติ โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ไพโรจน์ วรพจน์พรชัย ซึ่งอบรมให้กับกลุ่มทอผ้าจกบ้านช่างแปลง 8 โดยใช้วัสดุธรรมชาติที่หาได้จากพื้นที่ในชุมชน ได้แก่ เปลือกประดู่ ให้สีน้ำตาลแดง และ เปลือกเพกาให้สีเขียวขี้ม้า ณ ศูนย์การเรียนรู้การทอผ้าจก บ้านช่างแปลง 8 อำเภอดอยเต่า จังหวัดเชียงใหม่ รายงานโดย นางสาวอภิญญา ไชยวงค์ วันที่รายงาน 14/06/2566 [14430] |
0 | 10 |
2 [14078] |
วันที่ 28-29 มีนาคม 2566 ศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนลำปาง สถาบันการพัฒนาชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย ได้มีจัดการจัดกิจกรรมประชุมเชิงปฏิบัติการเพิ่มศักยภาพด้านการใช้ประโยชน์จากทุนธรรมชาติ ประเภทพืชให้สี ตามโครงการสนองพระราชดำริโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.) โดยมี ผศ.ไพโรจน์ วรพจน์พรชัย ผู้จัดการคลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เชียงใหม่ เข้าร่วมเป็นวิทยากรให้คำปรึกษาเรื่อง การใช้ประโยชน์จากทุนธรรมชาติ ประเภทพืชให้สี มีการฝึกปฏิบัติการใช้ประโยชน์จากทุนธรรมชาติ ประเภทพืชให้สี เพื่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์โดยวิธีการมัดย้อมและพิมพ์ลายผ้าจากพืชให้สี โดย ผศ.ไพโรจน์ วรพจน์พรชัย ผู้จัดการคลินิกเทคโนโลยี สังกัดคณะศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เชียงใหม่ และ อาจารย์ณัฐอมร จวงเจิม สังกัดคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ลำปาง เป็นผู้ฝึกปฏิบัติ มีการถอดองค์ความรู้และแบ่งกลุ่มการนำเสนอองค์ความรู้เกี่ยวกับวิธีการมัดย้อมและพิมพ์ลายผ้าจากพืชให้สีเพื่อนำไปพัฒนาผลิตภัณฑ์ต่อไป รายงานโดย นางสาวอภิญญา ไชยวงค์ วันที่รายงาน 04/04/2566 [14078] |
0 | 32 |
2 [14002] |
วันที่ 6-8 มกราคม 2566 คลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ได้เข้าร่วมการจัดกิจกรรมมหกรรมงานวิจัยส่วนภูมิภาค ประจำปี ๒๕๖๖ ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ลำปาง โดยนำผลิตภัณฑ์ผ้าย้อมสีธรรมชาติจากต้นห้อมมาจัดจำหน่าย ภายในงานยังมีการจัดนิทรรศการต่างๆ มากมาย เช่น นิทรรรศการเฉลิมมพระเกียรติฯ นิทรรศการผลงานวิจัย นิทรรศการอุทยานวิทยาศาสตร์ ตลาดนัด U2T for BCG และสินค้าโอทอป เป็นต้น
สรุปค่าใช้จ่าย
ค่าจ้างเหมาเจ้าหน้าที่คลินิก 15,000 บาท
ค่าดำเนินกิจกรรม 4,656 บาท
รวม 19,656 บาท รายงานโดย นางสาวอภิญญา ไชยวงค์ วันที่รายงาน 03/04/2566 [14002] |
58246 | 45 |
2 [14003] |
รายละเอียดค่าใช้จ่ายไตรมาสที่ 1 ค่าจ้างเหมาเจ้าหน้าที่คลินิกเทคโนโลยี 15,000 บาท ค่าวัสดุ 23,590 บาท รวมทั้งสิ้น 38,590 บาท จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม 30 คน รายงานโดย นางสาวอภิญญา ไชยวงค์ วันที่รายงาน 03/04/2566 [14003] |
0 | 0 |
2 [13973] |
วันที่ 24-25 มีนาคม 2566 คลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตขอนแก่น ร่วมกับสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดขอนแก่น จัดทำโครงการ “ครูอาสาสมัครวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ครู อสวท.)”ขึ้นเพื่อเป็นการเสริมสร้างความเข้มแข็งและลดความเหลื่อมล้ำให้กับระบบฐานรากของประเทศด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม (วทน.) โดยบูรณาการกับหน่วยงานในสังกัดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดขอนแก่น ที่จะนำเอาองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม (วทน.) ผ่านกลไกการจัดการเรียนการสอนและการส่งเสริมอาชีพของหน่วยงานต่าง ๆ ในสังกัดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดขอนแก่น ลงสู่ชุมชนและกลุ่มเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้เกิดผลลัพธ์อย่างเป็นรูปธรรม และขอความร่วมมือมายังคลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เชียงใหม่ ในการขอเชิญครูอาสาสมัครวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ครู อสวท.) ของสำนักงาน กศน.จังหวัดเชียงใหม่ ที่มีผลงานในการนำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม (วทน.) ผ่านกลไกการจัดการเรียนการสอนและการส่งเสริมอาชีพในชุมชนมาแลกเปลี่ยนกระบวนการวางแผน กระบวนการคิดและกระบวนการทำงานที่นำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม (วทน.) มาสร้างประโยชน์ให้กับชุมชน กับบุคลากรในสังกัดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดขอนแก่น ณ ห้องประชุมมงคลประดู่ อาคาร 50 ปี ไทย-เยอรมัน ขอนแก่น มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตขอนแก่น หัวข้อในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้
1.เรื่อง บทบาทหน้าที่ของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม ที่มีต่อการพัฒนาชุมชน วิทยากรโดย นายเอกพงศ์ มุสิกะเจริญ ผู้อำนวยการกลุ่มส่งเสริมธุรกิจเทคโนโลยีและนวัตกรรม รายงานโดย นางสาวอภิญญา ไชยวงค์ วันที่รายงาน 31/03/2566 [13973] |
6760 | 40 |
2 [13869] |
วันที่ 17-18 กุมภาพันธ์ 2566 คลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เข้าร่วมออกบูททดสอบตลาดและจำหน่ายผลิตภัณฑ์จัดแสดงนิทรรศการผลงานการพัฒนาและยกระดับผลิตภัณฑ์สินค้าชุมชน ด้วย วทน.สู่เชิงพาณิชย์ (ระดับภูมิภาค)“MHESI Innovation Fair @ Jingjai Market” ณ ตลาดจริงใจมาณเก็ต อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อเป็นการจำหน่ายและจัดแสดงผลิตภัณฑ์สินค้าชุมชนที่ได้รับการพัฒนาและยกระดับด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม รายงานโดย นางสาวอภิญญา ไชยวงค์ วันที่รายงาน 20/03/2566 [13869] |
0 | 0 |
2 [13868] |
วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2566 คลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ร่วมกับ คลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ลำปาง จัดกิจกรรมการแปรรูปไวน์มะม่วง ให้แก่กลุ่มชาวบ้านเกษตรกรผู้ปลูกมะม่วงหลังจากมีการหมักไวน์ในระยะเวลา 6 เดือน จึงได้มีการติดตามผลและบรรจุไวน์ที่ทำการหมักและได้รสชาติที่สมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว รายงานโดย นางสาวอภิญญา ไชยวงค์ วันที่รายงาน 20/03/2566 [13868] |
0 | 24 |
2 [13867] |
วันที่ 9-10 กุมภาพันธ์ 2566 คลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ร่วมกับ กศน.ตำบลเวียง อำเภอพร้าวและเทศบาลตำบลเวียงพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ จัดกิจกรรมบริการให้คำปรึกษา เรื่อง เทคโนโลยีการผลิตแก๊สชีวภาพด้วยถัง 200 ลิตร โดย ผศ.ยุธนา ศรีอุดม วิทยากรสังกัดมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ตาก ณ ศูนย์การเรียนรู้บ้านช่างคำ ตำบลเวียง อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ให้แก่กลุ่มเกษตรกร และให้ชุมชนได้เรียนรู้การผลิตแก๊สชีวภาพ สรุปค่าใช้จ่าย ค่าดำเนินกิจกรรม 9,584 บาท รายงานโดย นางสาวอภิญญา ไชยวงค์ วันที่รายงาน 20/03/2566 [13867] |
9584 | 23 |
2 [13866] |
วันที่ 6-7 กุมภาพันธ์ 2566 คลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ร่วมกับ กศน.ตำบลเวียง อำเภอพร้าวและเทศบาลตำบลเวียงพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ จัดกิจกรรมบริการให้คำปรึกษา เรื่อง การเพาะเลี้ยงปลานิลจิตลดาในบ่อดิน โดย อาจารย์สมเกีรยติ ตันตา วิทยากรสังกัดมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ลำปาง ณ ศูนย์การเรียนรู้บ้านช่างคำ ตำบลเวียง อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ให้แก่กลุ่มเกษตรกร และให้ชุมชนได้เรียนรู้การเพาะเลี้ยงปลานิลจิตลดาในบ่อดิน ซึ่งนำมาสู่การสร้างอาชีพ สร้างรายได้ให้กับชุมชน สรุปค่าใช้จ่าย ค่าดำเนินกิจกรรม 9,584 บาท รายงานโดย นางสาวอภิญญา ไชยวงค์ วันที่รายงาน 20/03/2566 [13866] |
9584 | 23 |