2566 โครงการบริการให้คำปรึกษาและเผยแพร่ข้อมูลเทคโนโลยี   0


รายงานความก้าวหน้า

ไตรมาส ผลการดำเนินงาน งบประมาณที่ใช้ ผู้รับบริการ
5 [15859]

         เข้าร่วมการประชุมเชิงปฏิบัติการ เครือข่ายอว. เพื่อพัฒนาศักยภาพจังหวัด ด้วยวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ประจำปี 2566 ภายในงาน TechnoMart 2023 วันที่ 14 - 15 สิงหาคม ที่ผ่านมา ณ ศูนย์แสดงสินค้า และการประชุมอิมแพคเมืองทองธานี จังหวัดนนทบุรี เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้กระบวนการจัดทำแผนงานและโครงการ “การเพิ่มศักยภาพจังหวัดด้วยวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ไปพัฒนาพื้นที่” ของเครือข่าย อว. พร้อมกันนี้ นางวนิดา บุญนาคค้า ผู้อำนวยการกองส่งเสริมและประสานเพื่อประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กปว.) ได้ให้เกียรติกล่าวรายงานในพิธีเปิดงานประชุมฯ ซึ่งภายในงาน อุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้เข้ารับรางวัลประกาศเกียรติคุณ คลินิกเทคโนโลยีที่มีผลงานดีเด่น ภายใต้แฟลตฟอร์มให้คำปรึกษาและข้อมูลเทคโนโลยี (Technology Consulting Service: TCS) ปี 2565 โดยมี นางสาวสุณีย์ เลิศเพียรธรรม หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ให้เกียรติมอบรางวัลและกล่าวแสดงความยินดี พร้อมมอบนโยบายการขับเคลื่อนเครือข่าย อว. เพื่อพัฒนาศักยภาพจังหวัด ด้วยวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม นอกจากนี้ ภายในการประชุมเดียวกัน คลินิกเทคโนโลยี มช. คว้าโล่รางวัลและประกาศเกียรติคุณโครงการหมู่บ้านข้าวและธัญพืชพื้นถิ่นล้านนา ในรางวัลแพลตฟอร์มบ่มเพาะหมู่บ้านวิทยาศาสตร์ดีเด่น (Science Community Incubator: SCI) ปี 2564 โดยมี อาจารย์ขจรเดช พิมพ์พิไล เป็นหัวหน้าโครงการ ทั้งนี้ได้รับเกียรติจาก นางสาวสุณีย์ เลิศเพียรธรรม หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เป็นผู้มอบโล่และประกาศเกียรติคุณดังกล่าว แก่หมู่บ้านวิทยาศาสตร์ ที่มีผลงานระดับดีเด่น  



รายงานโดย นายวันโชค  มณีเดช วันที่รายงาน 30/10/2566 [15859]
13800 100
3 [15037]

ค่าตอบแทนเจ้าหน้าที่คลินิกเทคโนโลยี เดือนกรกฎาคม ถึงกันยายน ระยะเวลา 3 เดือน เดือนละ 15,000 บาท



รายงานโดย นายวันโชค  มณีเดช วันที่รายงาน 13/08/2566 [15037]
45000 2
3 [15043]

 กิจกรรมตรวจติดตามความก้าวหน้าโครงการที่ได้รับงบประมาณสนับสนุน ปีงบประมาณ 2566 จำนวน 5 โครงการ



รายงานโดย นายวันโชค  มณีเดช วันที่รายงาน 13/08/2566 [15043]
8000 50
3 [14794]

ชื่อกิจกรรม : การให้บริการคำปรึกษาในการปรับปรุงเตาเผาถ่านกะลาแมคคาเดเมีย

ผู้รับบริการ : คุณเจษฎาจันทร์เงิน และคุณจิรประภา จันทร์ไพศรี วิสาหกิจชุมชนกลุ่มแปรรูปผลิตผลการเกษตรบ้านห้วยคอก

หน่วยงาน : คลินิกเทคโนโลยี มช.

สถานที่ : วิสาหกิจชุมชนกลุ่มแปรรูปผลิตผลการเกษตรบ้านห้วยคอกต.สะเมิงใต้ อ.สะเมิงจ.เชียงใหม่

ผลการดำเนินงาน : ลงพื้นที่ติดตามผลหลังการหารือและให้คำปรึกษาเบื้องต้นผ่าน zoom โดยผู้เชี่ยวชาญทำการเก็บข้อมูลรูปแบบวัสดุชีวมวล (กะลามะคาเดเมีย) และข้อมูลสภาพเตาเผาเดิมที่มีอยู่ เตาเดิมมีการถอดแบบเตาเผาถ่านพื้นฐานมาจากการดัดแปลงถังน้ำมัน 200 ลิตร บุฉนวนกันความร้อน เจาะช่องเดินท่อระบายไอเสียตรงกลาง ให้ความร้อนจากกองไฟด้านล่าง ฉะนั้น แนวคิดปรับปรุงเตา จะมีลักษณะ แสดงด้านล่าง โดยมาจากการร่วมอภิปรายระหว่างผู้เชี่ยวชาญ และผู้ประกอบการ ซึ่งเตารูปแบบใหม่ที่ผู้เชี่ยวชาญออกแบบให้ สามารถให้อุณหภูมิได้สูงขึ้น และให้ความร้อนได้อย่างทั่วถึงมากขึ้น เพื่อให้ได้ผลผลิตที่ออกมาเป็นถ่านกะลาแมคคาเดเมียคุณภาพสูง



รายงานโดย นายวันโชค  มณีเดช วันที่รายงาน 05/07/2566 [14794]
1600 6
3 [14792]

บทสรุปผู้บริหาร

 

          ในปีงบประมาณ พ.ศ.2566 สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ได้อนุมัติงบประมาณสนับสนุนให้แก่คลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เพื่อดำเนินโครงการการการบริการให้คำปรึกษาและเผยแพร่ข้อมูลเทคโนโลยี รหัส 6019 ภายใต้แพลตฟอร์มการบริการให้คำปรึกษาและข้อมูลเทคโนโลยี (TCS)โดยสรุปผลการดำเนินงาน ไตรมาสที่ เดือนเมษายน 2566 ถึงเดือนมิถุนายน 2566 แบ่งเป็นกิจกรรมย่อยจำนวน 3 กิจกรรม ดังนี้

กิจกรรมที่ 1) กิจกรรมการให้บริการคำปรึกษาและข้อมูลเทคโนโลยี

ผลผลิต/ผลลัพธ์ของโครงการ

ค่าเป้าหมาย

(หน่วยนับ)

 

ผลการดำเนินงาน

ไตรมาส 1

ไตรมาส 2

ไตรมาส 3

รวม

1. จำนวนผู้รับบริการคำปรึกษาทางเทคโนโลยี (คน)

50

9

14

13

37

2. จำนวนผู้รับบริการข้อมูลเทคโนโลยี (คน)

180

50

6

47

102

รวม

330

59

20

60

139

 

จัดกลุ่มตามช่องทางการรับบริการได้ดังนี้

ช่องทาง

จำนวนผู้รับบริการ

รวม

ไตรมาส1

ไตรมาส 2

ไตรมาส 3

โทรศัพท์

2

8

0

10

Email และ Line

0

0

2

2

สำนักงาน

0

1

53

54

การบริการนอกสถานที่ (ลงพื้นที่)

56

11

1

68

Application ZOOM

1

0

4

5

รวม

59

20

60

139

 
 
จัดกลุ่มตามประเภทเทคโนโลยี ได้แก่

ประเภทเทคโนโลยี

รายละเอียดเทคโนโลยี

เจ้าของเทคโนโลยี

เครื่องจักร

+ เตาเผาถ่านชาร์คุณภาพสูง

ศ.ดร.นคร ทิพยาวงศ์

คณะวิศวกรรมศาสตร์ มช.

n.tippayawong@yahoo.com

สิ่งทอ

+ การสกัดสีจากเศษวัสดุธรรมชาติเหลือใช้ เช่นเปลือกและเมล็ดลำไย และฟางข้าว เพื่อนำมาทำเป็นสีผสมชนิดแห้ง สำหรับใช้ในการย้อมผ้าแบบออแกนิก

อาจารย์ชวรจน์  ชะวะนะเวช

คณะวิจิตรศิลป์  มช.

chawaroj.c@cmu.ac.th

วัสดุศาสตร์

+ การนำก้อนเชื้อเห็ดเก่ามาขึ้นรูปเป็นกระถางดอกไม้เพื่อเพิ่มมูลค่า

อาจารย์ ดร. มาโนช นาคสาทา

คณะวิทยาศาสตร์ มช.

manoch.n@cmu.ac.th

เครื่องสำอาง

+ การทำสบู่สมุนไพร

รศ.ดร.ภญ.วรรธิดา  ชัยญาณะ

คณะเภสัชศาสตร์ มช.

wantida.chaiyana@cmu.ac.th

 

วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร

+ มาตรฐานผลิตภัณฑ์ในช่องทางการจำหน่ายสินค้าชุมชน

+ หลักการแปรรูปกล้วยตากและมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง

+ บรรจุภัณฑ์กล้วยตาก และการเพิ่มมูลค่าด้วยบรรจุภัณฑ์

 

 

 

-ผศ.ดร.สมชาย  จอมดวง

อดีตอาจารย์คณะอุตสาหกรรมเกษตร มช.

-ผศ.ดร.อรยา พรเอี่ยมมงคล

คณะมนุษยศาสตร์ (โภชนาการ) มช.

orraya.p@cmu.ac.th

เทคโนโลยีบรรจุภัณฑ์

+ หลักการออกแบบและข้อมูลบนบรรจุภัณฑ์

+ แนวทางการพัฒนาบรรจุภัณฑ์

 

อาจารย์ ดร.เปรม  ทองชัย

คณะอุตสาหกรรมเกษตร มช.

 prem.th@cmu.ac.th

บริหารธุรกิจ

+ แผนธุรกิจสำหรับผลิตภัณฑ์กล้วยตาก (BMC)

+ กระบวนการคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking)

-ผศ.ดร.วิสุทธร จิตอารี

คณะบริหารธุรกิจ มช.

wisuttorn.j@cmu.ac.th

-นายภูริวัต บุญนัก

อุทยานวิทย์ มช.

puriwat@step.cmu.ac.th

 

กิจกรรมที่ 2) การประสานงานและบริหารจัดการเครือข่าย

2.3) การบริหารจัดการทางด้านการเงิน งบประมาณ การติดตามประเมินผลและรายงานผล กิจกรรมที่เกี่ยวข้องจำนวน 1 กิจกรรม

 

รวมงบประมาณโครงการ ที่ใช้ในการดำเนินงานเดือนเมษายน 2566 – มิถุนายน 2566

  • กิจกรรมที่ 1 จำนวน 21,900 บาท
  • กิจกรรมที่ 2 จำนวน     200  บาท
  • ค่าตอบแทนเจ้าหน้าที่ประสานงานคลินิกเทคโนโลยี จำนวน 45,000 บาท

               รวม 67,100 บาท



รายงานโดย นายวันโชค  มณีเดช วันที่รายงาน 05/07/2566 [14792]
0 2
3 [14797]

ชื่อกิจกรรม : การให้บริการคำปรึกษาเบื้องต้นในการนำเศษเปลือกลำไยมาเพิ่มมูลค่าโดยการนำมาสกัดสีย้อมผ้าธรรมชาติ และทำเป็นผงสีสำหรับใช้ย้อมผ้า

ผู้รับบริการ : คุณวราพร สุยะใหญ่ วิสาหกิจชุมชนผลิตเเละเเปรรูปผ้าฝ้ายทอมือ อ.บ้านธิ จ.ลำพูน

หน่วยงาน: คลินิกเทคโนโลยี มช. ผลการดำเนินงาน :ผู้เชี่ยวชาญให้องค์ความรู้ในการย้อมสี เริ่มจากกระบวนการการเตรียมวัสดุให้สีจากธรรมชาติ, การสกัดสีโดยการนำไปเคี่ยวด้วยความร้อนประมาณ 1-2 ชั่วโมง และทริคการย้อมผ้าให้สีติดทน ด้วยปัจจัยที่มีผลต่อการย้อม เช่น ชนิดของสารช่วยย้อม และขั้นตอนการเติมสารช่วยย้อม อีกทั้งข้อมูลอื่นๆ เช่น การทำผงสีแบบแห้งสำหรับใช้ย้อมผ้า, การแนะนำกระบวนการยื่นขอมาตรฐานตัว G



รายงานโดย นายวันโชค  มณีเดช วันที่รายงาน 05/07/2566 [14797]
600 5
3 [14798]

ชื่อกิจกรรม : การให้บริการคำปรึกษาเบื้องต้นในการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากก้อนเชื้อเห็ดเก่าเหลือทิ้ง

ผู้รับบริการ : ร้อยตรี ณัฏฐนันท์ วรรณทัศน์ และคุณณัฐกานต์ วรรณทัศน์ วิสาหกิจชุมชนเพาะและแปรรูปเห็ดบ้านสวนแม่ทะ อ.แม่ทะ จ.ลำปาง

หน่วยงาน: คลินิกเทคโนโลยี มช.

ผลการดำเนินงาน :ผู้ประกอบการต้องการนำเศษวัสดุขี้เลื่อยจากก้อนเชื้อเห็ดเก่า (เห็ดนางฟ้า) มาเพิ่มมูลค่าเป็นผลิตภัณฑ์จากวัสดุที่ย่อยสลายได้นอกจากปุ๋ย ซึ่งปกติแล้วมีเศษขี้เลื่อยจากก้อนเชื้อเห็ดเก่าเป็นปริมาณหลายตันที่เหลือทิ้งจากการผลิต ผู้เชี่ยวชาญแนะนำให้นำมาทำเป็นกระถางดอกไม้ โดยนำมาผสมกับวัสดุประสาน เช่น แป้งเปียกที่ผสมน้ำมันพืช,น้ำ โดยให้ไมซีเรียมในเห็ดช่วยทำหน้าที่ในการให้ความเหนียว ความแข็งแรง วิธีการขึ้นรูป คือ กวนส่วนผสมให้เข้ากัน ด้วยเครื่องกวนผสมและใช้ความร้อน แล้วนำไปหล่อในแม่พิมพ์ตัวผู้ และตัวเมีย อัดด้วยแท่นอัดไฮโดรลิก ซึ่งผู้ประกอบการอยากเริ่มจากการทำกระถางขนาดประมาณ 15 ซม. ก่อน เพราะมีต้นทุนต่ำ และมีตลาดรองรับ ซึ่งจะมีการส่งต่อแหล่งทุนที่เหมาะสมต่อไป เพื่อวิจัยและพัฒนาหาอัตราส่วนส่วนผสม และกระบวนการผลิตที่เหมาะสมในการขึ้นรูป รวมถึงการทดสอบคุณสมบัติต่างๆเช่น ความเหนียว ความแข็งแรง การยึดเกาะ ฯ



รายงานโดย นายวันโชค  มณีเดช วันที่รายงาน 05/07/2566 [14798]
600 4
3 [14799]

ชื่อกิจกรรม : หารือความต้องการของผู้ประกอบการเกี่ยวกับการพัฒนาระบบมาตรฐานผลิตภัณฑ์

ผู้รับบริการ : คุณวิชัยเจริญ แสนชัยรุ่ง, คุณอำภา  สุวรรณมาลิก และคุณลักษณ์สุดา  สุวรรณมาลิก วิสาหกิจชุมชนห้วยหลวงพัฒนาออแกนิก

หน่วยงาน: คลินิกเทคโนโลยี มช.

สถานที่ :อุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มช.

ผลการดำเนินงาน :ผู้ประกอบการต้องการคำปรึกษาในการยื่นขอมาตรฐาน อย.ของผลิตภัณฑ์ยาหม่อง เพื่อยกระดับคุณภาพ สร้างความเชื่อมั่นให้ผู้บริโภค และขยายตลาด ปัจจุบันผลิตภัณฑ์วางจำหน่ายในชุมชน มีสถานที่ผลิตแต่ยังไม่มีอาคารผลิต ต้องการวางจำหน่ายในตลาดทั่วไป ในประเทศไทยและจีน ซึ่งเจ้าหน้าที่คลินิกเทคโนโลยีได้ให้คำแนะนำไปเบื้องต้น ว่าควรจะยื่นขอมาตรฐาน GMPก่อน หลังจากนั้นจึงสามารถยื่นขอเลขสารระบบ อย. ได้ ซึ่งจะมีการติดต่อผู้เชี่ยวชาญด้านการให้คำปรึกษามาตรฐานโรงงานผลิต และจะมีการนัดหมายผู้เชี่ยวชาญ และผู้ประกอบการ ในการลงพื้นที่ดูสถานที่ผลิตจริง และให้คำแนะนำในการปรับปรุงสถานที่ผลิต สุขาภิบาล และการยื่นเอกสารต่อไป



รายงานโดย นายวันโชค  มณีเดช วันที่รายงาน 05/07/2566 [14799]
0 6
3 [14800]

ชื่อกิจกรรม : การให้บริการคำปรึกษาเบื้องต้นในการทำสบู่สำหรับกลุ่มผู้มีผิวแพ้ง่าย

ผู้รับบริการ : คุณนฤมล  พรมเรือง, คุณเพ็ญแข  ศรีเมือง และคุณนันทนภัส วัฒนจึงโรจน์

วิสาหกิจชุมชนเกษตรผสมผสานบ้านท่าเหนือ ต.บ้านกิ่ว อ.แม่ทะ จ.ลำปาง (ภายใต้แบรนด์ Barnhouse บ้านเฮา)

หน่วยงาน: คลินิกเทคโนโลยี มช.

ผลการดำเนินงาน : กลุ่มผู้ประกอบการ อยากทำสบู่เหลวจากสารธรรมชาติ สำหรับกลุ่มผู้มีผิวแพ้ง่าย ใช้ได้ทุกเพศทุกวัย ซึ่งทำจากวัตถุดิบในชุมชน เช่น ข้าว อัญชัน ตะไคร้ น้ำผึ้ง ส้มป่อย ผู้เชี่ยวชาญได้ให้ข้อมูลเบื้องต้นว่าสบู่ มีสารประกอบหลัก 2ชนิด ได้แก่ สารชำระล้าง (main)ซึ่งมีหลายชนิด ที่เหมาะกับสภาพผิวแต่ละประเภท และสารเติมแต่ง (Additives)ช่วยเพิ่มความคงตัว ยืดอายุ และสร้างจุดขายให้ผลิตภัณฑ์และมีการแนะนำให้ผู้ประกอบการเลือกใช้สารเติมแต่งจากสารสกัดอัญชัน และส้มป่อย เพราะเป็นวัตถุดิบชุมชนที่สกัดง่าย เพียงแค่ใช้น้ำร้อนชง และมีสรรพคุณช่วยบรรเทาอาการระคายเคือง และให้คำแนะนำเกี่ยวกับการประเมินคุณภาพผลิตภัณฑ์สบู่เหลวเบื้องต้น ว่าควรมีความปลอดภัย มีคุณสมบัติความคงตัว และการทดสอบการระคายเคืองที่เหมาะสม ซึ่งจะมีการนัดหมายผู้เชี่ยวชาญ และผู้ประกอบการในการเตรียมสารเคมี วัสดุ อุปกรณ์ในการทำ workshop กระบวนการทำสบู่เหลวเบื้องต้นต่อไป



รายงานโดย นายวันโชค  มณีเดช วันที่รายงาน 05/07/2566 [14800]
600 6
3 [14805]

ชื่อกิจกรรม : การประสานงานเพื่อเตรียมความพร้อมในการเข้าร่วมกิจกรรมการตรวจติดตามความก้าวหน้าโครงการ ที่อยู่ภายใต้การดูแลของหน่วยงานคลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จำนวน 5 โครงการ

-         การประสานงานกับผู้ประสานงานคลินิกเทคโนโลยีภาคเหนือและ สวภ. เพื่อสอบถามรายละเอียดกิจกรรมและการนัดหมายสถานที่/การอำนวยความสะดวก

-         การประสานงานผู้รับผิดชอบโครงการและผู้ประกอบการทุกโครงการ จำนวน 3 ครั้ง ได้แก่

1.      การแจ้งกำหนดการเบื้องต้น

2.      การจัดทำไฟล์นำเสนอและรายละเอียดการนำเสนอ

การแจ้งเกณฑ์การประเมินความก้าวหน้าโครงการ



รายงานโดย นายวันโชค  มณีเดช วันที่รายงาน 05/07/2566 [14805]
200 12
3 [14806]

ค่าตอบแทนเจ้าหน้าที่คลินิกเทคโนโลยี เดือนเมษายน-มิถุนายน ระยะเวลา 3 เดือน เดือนละ 15,000 บาท



รายงานโดย นายวันโชค  มณีเดช วันที่รายงาน 05/07/2566 [14806]
45000 1
2 [14280]

ชื่อกิจกรรม : การให้บริการคำปรึกษาเบื้องต้นในการเพิ่มจุดเด่นให้ผลิตภัณฑ์เส้นใยโครเชต์และต้องการแก้ไขปัญหาเส้นด้ายเสื่อมสภาพสีซีดไว

ผู้รับบริการ : คุณรัชนีย์  ทองคำ กลุ่มผลิตภัณฑ์ผ้าและโครเชต์บ้านห้วยทราย

หน่วยงาน : คลินิกเทคโนโลยี มช.  

ผลการดำเนินงาน : อาจารย์ผู้เชี่ยวชาญแนะนำให้เตรียมปรับปรุงกระบวนการผลิตตามมาตรฐานกระบวนการผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (มาตรฐานตัว G)เพื่อยกระดับผลิตภัณฑ์ อีกทั้งแนะนำให้ปรับปรุงคุณภาพเส้นด้ายให้มีอายุการเก็บรักษานานขึ้น และดูแลง่ายขึ้น โดยการใช้สารเคลือบสิ่งทอที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เช่น ไขผึ้ง ไขถั่วเหลือง และเพิ่มคุณสมบัติสะท้อนน้ำให้แก่เส้นด้าย ซึ่งจะมีการส่งต่อแหล่งทุนที่เหมาะสมต่อไป เพื่อตรวจวิเคราะห์คุณภาพเส้นด้ายเดิม และเส้นด้ายที่เคลือบแล้ว และเตรียมความพร้อมสู่มาตรฐานกระบวนการผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (มาตรฐานตัว G)



รายงานโดย นายวันโชค  มณีเดช วันที่รายงาน 05/04/2566 [14280]
650 4
2 [14286]

ชื่อกิจกรรม : การให้บริการคำปรึกษาเบื้องต้นในการปรับปรุงคุณภาพสบู่สครับให้เป็นเนื้อเดียวกัน

ผู้รับบริการ : คุณกัญญ์สิริ  ปินไชยพัฒน์ บริษัท ละอองทองเฮิร์บ จำกัด

หน่วยงาน : คลินิกเทคโนโลยี มช.

ผลการดำเนินงาน :  ผู้ประกอบการพบปัญหาในการแยกชั้นของสบู่สครับสมุนไพรซึ่งต้องการแก้ไขจุดนี้ อาจารย์ผู้เชี่ยวชาญ จึงให้แนวทางการแก้ไขตั้งแต่การปรับปรุงกระบวสนการผลิต ในการคน เขย่า และให้ความร้อน และปรับปรุงสูตรโดยอาจเพิ่ม Emulsifierเป็นตัวผสานเนื้อสครับ และเพิ่มสารให้ความหนืด ซึ่งจะมีการส่งต่อแหล่งทุนที่เหมาะสมต่อไป เพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณในการตั้งตำรับเครื่องสำอางใหม่ และถ่ายทอดกระบวนการผลิต รวมถึงวิเคราะห์ทดสอบคุณภาพเนื้อสครับ



รายงานโดย นายวันโชค  มณีเดช วันที่รายงาน 05/04/2566 [14286]
650 3
2 [14292]

ออกบู้ทประชาสัมพันธ์บริการ และผลิตภัณฑ์นวัตกรรมของหน่วยงานคลินิกเทคโนโลยี มช. ในงานเกษตรภาคเหนือ 2566 และเข้าร่วมกิจกรรม Showcaseผลิตภัณฑ์นวัตกรรมจากโครงการ แพลตฟอร์มBCE

ผู้รับบริการ

คุณปวีณา       ประชาสุขสันต์

คุณณัฐภัทร     จอมคำ

คุณศศินา        หินโม

คุณดรุณี         สามใบ

คุณจิตรวรรณ  ขัติกุล

คุณโฉมพยงค์   นวงค์ยา

คุณทัศนีย์        พรหมสมบัติ

คุณณัฏนิชา     คำมูลใจ

คุณจริยา        สิงห์คำ

คุณรัตนา        ณ ลำพูน

คุณศรีวรรณ    คำส่วย

คุณศุภกฤต     ทองดี



รายงานโดย นายวันโชค  มณีเดช วันที่รายงาน 05/04/2566 [14292]
3500 15
2 [14291]

ประสาน ศวภ. ตอบรับการออกบู้ทประชาสัมพันธ์บริการ และผลิตภัณฑ์นวัตกรรมของหน่วยงานคลินิกเทคโนโลยี มช. ในงานเกษตรภาคเหนือ 2566



รายงานโดย นายวันโชค  มณีเดช วันที่รายงาน 05/04/2566 [14291]
0 2
2 [14290]

ประชุมเชิงปฏิบัติการ "การขับเคลื่อนและส่งเสริมการใช้ประโยชน์งานด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ในระดับภูมิภาค ประจำปี 2567-2570 ณ โรงแรมแมนดาริน ซึ่งมีผู้บริหารหน่วยงาน และผู้จัดการคลินิกเทคโนโลยีเข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าว และร่วมออกบู้ทประชาสัมพันธ์บริการ และผลิตภัณฑ์นวัตกรรมของหน่วยงาน



รายงานโดย นายวันโชค  มณีเดช วันที่รายงาน 05/04/2566 [14290]
8500 7
2 [14289]

หารือการจัดทำแผนขับเคลื่อนและส่งเสริมการใช้ประโยชน์งานด้าน ววน. ในระดับภูมิภาค ประจำปี 2567 – 2570 ครั้งที่ 2
เพื่อระดมสมองกำหนดหัวข้อ Cluster ในการขับเคลื่อน วทน. ตามความเหมาะสมของแต่ละภูมิภาค  (ภาคเหนือ)



รายงานโดย นายวันโชค  มณีเดช วันที่รายงาน 05/04/2566 [14289]
0 4
2 [14288]

คลินิกเทคโนโลยี มช.  รับหน้าที่ดำเนินงานในการประชาสัมพันธ์และเป็นผู้ประสานงานหลัก ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์สินค้าชุมชน คูปองวิทย์เพื่อโอทอป ปีงบประมาณ 2566



รายงานโดย นายวันโชค  มณีเดช วันที่รายงาน 05/04/2566 [14288]
500 30
2 [14287]

การประชุมชี้แจงการจัดทำ “แผนขับเคลื่อนและส่งเสริมการใช้ประโยชน์งานด้าน ววน. ในระดับภูมิภาค พ.ศ. 2567 – 2570” (ครั้งที่ 1 : วันที่ 10 ต.ค. 2565 เวลา 13.00 – 15.00 น.)

บุคคลภายนอก ได้แก่ สป.อว , อว.ส่วนหน้า , เครือข่ายอุทยานวิทย์ , เครือข่ายคลินิกเทคโนโลยี, UBI, CoE

สรุปประเด็น

·       ประเด็นที่ 1 : กปว. ชี้เเจงภาพรวมการปรับโครงสร้างการทำงานของ กปว.  ให้มีการทำงานร่วมกันเเบบ One Route ของ 5 หน่วยงาน ได้เเก่ อว.ส่วนหน้า , เครือข่ายอุทยานวิทย์, คลินิกเทคโนโลยี, UBI เเละ CoE

-         จากเดิมมีเเผนงาน 31Platform จะปรับรวมเเละมีการทำงานร่วมกันเหลือ 3 Platform

 

·       ประเด็นที่ 2 :

การนัดหมายเข้าร่วมกิจกรรม Focus group เเบ่งกันเเต่ละภาค รวม 5 หน่วยงาน ผ่านโปรเเกรมZoom เพื่อระดมความคิดและหารือในประเด็น ดังนี้

-         1. การนำ ววน.ไปใช้ประโยชน์

-         2. การดำเนินงานด้วยกลไกของ กปว. 3platform

-         3. การปรับการทำงานเเบบ one route

-         4. การมีส่วนร่วมของเครือข่าย กปว.

-         5. การทำงานข้ามหน่วยงานโดยใช้ competency

              - ประเด็นดังกล่าวต้องสอดคล้องกับเเผนชาติ 13, ยุทธศาสตร์ อววน., เเผนBCG, เเผนพัฒนาภาคฯ

              - เเผนพัฒนาภาคเอกชน



รายงานโดย นายวันโชค  มณีเดช วันที่รายงาน 05/04/2566 [14287]
0 4
2 [14293]

ประชุมต้อนรับท่าน ดร.ดนุช ตันเทอดทิตย์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวง (อว.) หารือแนวทางการต่อยอดผลิตภัณฑ์จากชุมชน U2Tที่มีความพร้อมและมีศักยภาพสูง ซึ่งจะมีการติดตามและสำรวจข้อมูลความต้องการของผู้ประกอบการU2T แต่ละรายต่อไป



รายงานโดย นายวันโชค  มณีเดช วันที่รายงาน 05/04/2566 [14293]
1000 10
2 [14285]

ชื่อกิจกรรม : การให้บริการคำปรึกษาเบื้องต้นในการขจัดน้ำส่วนเกินจากยางรัก เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพความบริสุทธิ์

ผู้รับบริการ : คุณเทพี  ปู่จันทร์ วิสาหกิจชุมชนยางรักอมก๋อยอย่างยั่งยืน

หน่วยงาน : คลินิกเทคโนโลยี มช.

ผลการดำเนินงาน :  เดิมผู้ประกอบการได้ผลผลิตยางรัก โดยไม่ผ่านกรรมวิธีในการขจัดน้ำปนเปื้อนออกก่อนมำมาใช้ หรือส่งจำหน่าย ซึ่งทำให้คุณภาพของน้ำยางไม่มีความหนืดตามมาตรฐาน และไม่มีความเงางามเท่าที่ควร อาจารย์ผู้เชี่ยวชาญจึงแนะนำให้นำยางรักไปผ่านเทคนิคการปั่นเหวี่ยงเพื่อควบคุมคุณภาพ ซึ่งจะมีการส่งต่อแหล่งทุนที่เหมาะสมต่อไป เพื่อปรับปรุงเครื่องปั่นเหวี่ยงให้มีความเร็วรอบและกำลังที่เหมาะสม  และตรวจวิเคราะห์คุณภาพน้ำยางรัก ก่อนและหลังผ่านเครื่องปั่นเหวี่ยงต่อไป



รายงานโดย นายวันโชค  มณีเดช วันที่รายงาน 05/04/2566 [14285]
650 4
2 [14284]

ชื่อกิจกรรม : การให้บริการคำปรึกษาเบื้องต้นในการตั้งสถานที่ผลิตน้ำแร่ธรรมชาติ

ผู้รับบริการ : คุณณัฏฐา  ชาญเลขา

                คุณวรลักษณ์ สมเขื่อน

หน่วยงาน : คลินิกเทคโนโลยี มช.

สถานที่ : วิสาหกิจชุมชนบุผาสวรรค์ ต.โป่งแยง อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่

ผลการดำเนินงาน :  เดิมผู้ประกอบการผลิตและจำหน่ายน้ำดื่มทั่วไป แต่อยากผลิตน้ำแร่ธรรมชาติให้มีมาตรฐานสกากล จึงต้องการคำปรึกษาเกี่ยวกับสถานที่ผลิต จึงมีการสำรวจสถานที่โดยรอบและตาน้ำแร่ ซึ่งกว้างประมาณ 3งาน อาจารย์ผู้เชี่ยวชาญแนะนำว่าควรตั้งเป็นโรงงานขนาดกลาง และเริ่มจากการให้คำแนะนำด้านเอกสารที่ใช้ประกอบการยื่น ซึ่งเอกสารที่ใช้ประกอบ ได้แก่ เอกสารรับรองการเกิดตาน้ำจากกรมธรณี รายการตรวจน้ำแร่ธรรมชาติ ซึ่งผู้ประกอบการจะมีการตรวจเช็คเอกสารเดิมที่มีอยู่ และดำเนินการส่งตรวจคุณภาพน้ำแร่ธรรมชาติจากห้องปฏิบัติการที่ได้มาตรฐาน ซึ่งจะมีการนัดหมายดูเอกสาร และผลตรวจน้ำแร่อีกรอบ และส่งต่อแหล่งทุนที่เหมาะสมต่อไป



รายงานโดย นายวันโชค  มณีเดช วันที่รายงาน 05/04/2566 [14284]
800 6
2 [14283]

ชื่อกิจกรรม : การให้บริการคำปรึกษาเบื้องต้นในการพัฒนาอัตลักษณ์ผลิตภัณฑ์เครื่องเงิน

ผู้รับบริการ : พระครูพิทักษ์สุทธิคุณ

                คุณภูมิรพี  พรรณาเทวี

                คุณสวรรค์  แคว้นไธสง

                คุณรณรงค์  วงศ์จักติ๊บ

                คุณศราฉัตร  มาลากุล

                ดร.สุทพี      สุภาพ

                คุณภารุณรัศมี  เบญญจินดาพิศุทธิ์

                คุณจุฬาภา    กลิ่นหอม

               วิสาหกิจชุมชนกลุ่มหัตถศิลป์ล้านนา

หน่วยงาน : คลินิกเทคโนโลยี มช.

สถานที่ : วัดศรีสุพรรณ ต.หายยา อ.เมือง จ.เชียงใหม่

ผลการดำเนินงาน :  กลุ่มผู้ประกอบการต้องการส่งเสริมภูมิปัญญาเครื่องเงิน และส่งเสริมช่างทำเครื่องเงินให้มีรายได้ จึงต้องการพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องเงินให้มีอัตลักษณ์เป็นที่น่าสนใจของลูกค้าชาวไทย และชาวต่างชาติ อาจารย์ผู้เชี่ยวชาญจึงมีการสอบถามข้อมูลผลิตภัณฑ์เดิม และข้อมูลจุดเด่นของวัดและชุมชน เพื่อวิเคราะห์หาสิ่งที่เป็นอัตลักษณ์เด่น และสนับสนุนการทำstory telling ของผลิตภัณฑ์ และให้แนวทางว่าควรนำเครื่องเงินมาทำเป็นผลิตภัณฑ์ตามกระแสนิยมที่สอดแทรกอัตลักษณ์ท้องถิ่นลงไป ซึ่งหลังจากการติดตามผลการวิเคราะห์อัตลักษณ์จากอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญ ได้สรุปแนวทางร่วมกันว่า ควรออกแบบสร้างสรรค์เครื่องประดับร่วมสมัยแนวคิด 12 นักษัตรล้านนาจากอุโบสถเงินวัดศรีสุพรรณ ซึ่งจะมีการส่งต่อแหล่งทุนที่เหมาะสมในการพัฒนาและออกแบบผลิตภัณฑ์ต่อไป



รายงานโดย นายวันโชค  มณีเดช วันที่รายงาน 05/04/2566 [14283]
800 9
2 [14295]

ส่งรายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการพัฒนาการสกัดน้ำมันเมล็ดเจียและการตั้งตำรับเครื่องสำอางที่มีส่วนผสมของ น้ำมันเมล็ดเจีย ตามมาตรฐานการผลิตที่ดี มุ่งสู่การตลาดดิจิทัล ภายใต้แพลตฟอร์มเพิ่มศักยภาพธุรกิจชุมชน (Building Community Enterprise : BCE) ปีงบประมาณ 2566 ซึ่งผลการดำเนินงานเป็นไปตามวัตถุประสงค์ และตัวชี้วัดของโครงการ ซึ่งผู้รับบริการ (ผู้ประกอบการ) มีความพึงพอใจในผลผลิต และผลลัพธ์ที่ได้จากโครงการ และพร้อมที่จะนำเทคโนโลยี และองค์ความรู้ที่ได้รับจากการถ่ายทอดไปใช้ประโยชน์ต่อไป



รายงานโดย นายวันโชค  มณีเดช วันที่รายงาน 05/04/2566 [14295]
100 3
2 [14281]

ชื่อกิจกรรม : การให้บริการคำปรึกษาเบื้องต้นในการลดการสูญเสียชิ้นงานขันโตกที่แตกหักระหว่างการขนส่ง

ผู้รับบริการ : คุณกาญจนา  มูลดง

                คุณณัฐดนัย   มูลดง

หน่วยงาน : คลินิกเทคโนโลยี มช.

สถานที่ : กลุ่มทำเครื่องเขินลายดงป่างิ้ว ต.มะขุนหวาน อ.สันป่าตอง จ.เชียงใหม่

ผลการดำเนินงาน :  ผู้ประกอบการต้องการลดการสูญเสีย และลดการแตกหักของชิ้นงานขันโตกขนาด 6 นิ้ว ระหว่างขนส่ง ซึ่งจากเดิมมีการแตกหักของชิ้นงานคิดเป็นประมาณ 30 – 40 % จากจำนวนชิ้นงานทั้งหมด อาจารย์ผู้เชี่ยวชาญจึงให้แนวทางแก้ปัญหา โดยการทำบรรจุภัณฑ์ห่อหุ้มชิ้นงานแบบ one-by-one ซึ่งวัสดุบรรจุภัณฑ์ควรมีคุณสมบัติกันกระแทกได้ดี แต่มีต้นทุนต่ำ ซึ่งทางกลุ่มผู้ประกอบการมีเครือข่ายกับกลุ่มทำกระดาษสาในชุมชน อาจารย์ผู้เชี่ยวชาญจึงสนใจในการนำกระดาษสามาขึ้นรูปเป็นกล่องบรรจุภัณฑ์ อีกทั้งแนะนำแนวทางเสริม คือการทำระบบถอดประกอบขันโตก เพื่อให้สามารถลำเลียงชิ้นงานในการขนส่งได้มีประสิทธิภาพมากขึ้นซึ่งจะมีการส่งต่อแหล่งทุนที่เหมาะสมต่อไป เพื่อขอรับการสนับสนุนในส่วนขอค่าใช้สอย วัสดุอุปกรณ์ และค่าตรวจวิเคราะห์ความแข็งแรงของกล่องบรรจุภัณฑ์



รายงานโดย นายวันโชค  มณีเดช วันที่รายงาน 05/04/2566 [14281]
800 4
2 [14306]

ชื่อกิจกรรม : การให้บริการคำปรึกษาเบื้องต้นในการควบคุมคุณภาพการทำกล้วยตากพลังงานแสงอาทิตย์

ผู้รับบริการ : คุณบัวไข่  จันทร์เงิน หัวหน้ากลุ่มอาชีพแปรรุปกล้วยตากบ้านห้วยคอก

หน่วยงาน : คลินิกเทคโนโลยี มช.

สถานที่ : บ้านห้วยคอก ต.สะเมิงใต้ อ.สะเมิง จ.เชียงใหม่

ผลการดำเนินงาน : ปัญหาของชุมชน คือ พื้นที่มีหมอกควันเยอะ แสงแดดเข้าถึงยาก ทำให้กระบวนการตากใช้เวลานาน ต้องการคำแนะนำในการเลือกตู้อบ/ตากที่มีกิจลักษณะที่ดี คุณลักษณะเหมาะสมกับกำลังการผลิต และต้องการองค์ความรู้ วิธีการแปรรูปกล้วยตากด้วยตู้อบ ทำให้ใช้เวลาตากลดลง จำหน่ายสินค้าได้ทันต่อความต้องการของผู้บริโภค ซึ่งจะมีการติดตามผล และส่งต่อแหล่งทุนที่เหมาะสมต่อไป เพื่อขอรับการสนับสนุนในส่วนของค่าตรวจวิเคราะห์ และการถ่ายทอดเทคโนโลยีการแปรรูปต่อไป



รายงานโดย นายวันโชค  มณีเดช วันที่รายงาน 05/04/2566 [14306]
2100 6
2 [14274]

ชื่อกิจกรรม : การให้บริการคำปรึกษาเบื้องต้นในการเพิ่มมูลค่าเศษผ้าเหลือทิ้ง

ผู้รับบริการ : คุณภาสกร  ข้ามสาม หัวหน้ากลุ่มหม้อห้อมแพร่

หน่วยงาน: คลินิกเทคโนโลยี มช.

สถานที่ : บ้านทุ่งโฮ้ง อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่

ผลการดำเนินงาน : ผู้ประกอบการมีความสนใจในการลดขยะจากการผลิต (ZERO waste) ซึ่งจากการวินิจฉัยในขั้นตอนและกระบวนการตามความต้องการในการนําเศษผ้ามาแปรรูปเป็นถุง โดยรวบรวมเศษผ้าจากการตัดเย็บในชุมชน ซึ่งอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญได้ให้คำแนะนำว่าสามารถนำเศษผ้ามาย่อยด้วยเครื่องย่อย และขึ้นรูปเป็นผลิตภัณฑ์ถุงกระดาษ สำหรับใช้ในกลุ่ม เป็นกระบวนการที่ไม่ซับซ้อน และสามารถเพิ่มมูลค่าเศษผ้าเหลือทิ้งได้มาก ซึ่งจะมีการเชิญชวนเข้าร่วมโครงการที่เหมาะสมต่อไป



รายงานโดย นายวันโชค  มณีเดช วันที่รายงาน 05/04/2566 [14274]
3700 4
2 [14279]

ชื่อกิจกรรม : การให้บริการคำปรึกษาเบื้องต้นในการปรับปรุงแก้ไขปัญหาการแยกชั้นของผลิตภัณฑ์ประเภทบาล์มนวดคลายกล้ามเนื้อ

ผู้รับบริการ : คุณนิกร นิชกรรม วิสาหกิจชุมชนกลุ่มผู้ปลูกและแปรรูปสมุนไพรเพื่อสุขภาพและความงาม

หน่วยงาน : คลินิกเทคโนโลยี มช.

ผลการดำเนินงาน : อาจารย์ผู้เชี่ยวชาญแนะนำให้เริ่มหาสาเหตุของการแยกชั้น ตั้งแต่การควบคุมคุณภาพการสกัดสาร และนำมาตรวจคุณลักษณะทางกายภาพ ทางเคมี และทางจุลชีววิทยา และความคงตัว เพื่อหาวิธีแก้ปัญหาให้ตรงจุด ซึ่งจะมีการส่งต่อแหล่งทุนที่เหมาะสมต่อไป เพื่อตรวจวิเคราะห์คุณภาพ และตั้งตำรับเครื่องสำอางใหม่



รายงานโดย นายวันโชค  มณีเดช วันที่รายงาน 05/04/2566 [14279]
650 4
2 [14271]

ชื่อกิจกรรม : การให้บริการคำปรึกษาเบื้องต้นในการทำชาดอกปทุมมา

ผู้รับบริการ : คุณสังวาลย์ ศรีวิชัย

หน่วยงาน: คลินิกเทคโนโลยี มช.

ผลการดำเนินงาน :เดิมผู้ประกอบการเพาะปลูกดอกปทุมมาสด ส่งจำหน่ายในจังหวัดเชียงใหม่ และพื้นที่ใกล้เคียงตามฤดูกาล แต่ต้องการเพิ่มมูลค่าและขยายฐานการตลาด จึงอยากนำดอกปทุมมามาแปรรูปเป็นชาดอกไม้ อาจารย์ผู้เชี่ยวชาญจึงให้คำแนะนำการแปรรูป ตั้งแต่การคัดเลือกวัตถุดิบ การทำความสะอาด การอบแห้ง ไปจนถึงการบรรจุ การส่งจำหน่าย มาตรฐานผลิตภัณฑ์ รวมถึงการวาง STP marketing อย่างครบวงจร ซึ่งจะมีการนัดหมายลงพื้นที่ถ่ายทอดวิธีการแปรรูปต่อไป



รายงานโดย นายวันโชค  มณีเดช วันที่รายงาน 05/04/2566 [14271]
600 6
2 [14282]

ชื่อกิจกรรม : การสาธิตการทำชาเชียงดาหมัก เพื่อเพิ่มมูลค่าและคุณประโยชน์จากกระบวนการผลิตเดิม

ผู้รับบริการ : คุณโสรัตยา   บัวชุม

                คุณสุมาลี      บัวชุม

                คุณอรพินท์   สุมาตา

                คุณยุพิน      เหลืองรุ่ง

                คุณวันเพ็ญ    วิถี  

                คุณอรพรรณ  หวังวิวัฒนา

                คุณกันยา     สุริยา

                คุณสุดา       สุจาย

                คุณนฤมล    บัวเย็น

                คุณนภดล    ศรีวิเศษ

                คุณวันเพ็ญ   โสกันเกตุ

                คุณต้นแก้ว    เกตุสุดา

                คุณสนใจ     ไชยนิพนธ์

                คุณเรวัตร    สุทธาธะระ

                คุณสีทอง    ศรีแก้วพิน

                คุณบัวแก้ว  ภูวัติหมื่น

                คุณศรีนวล  โสภาอินทร์

หน่วยงาน : คลินิกเทคโนโลยี มช.

สถานที่ : กลุ่มแปรรูปเชียงดาบ้านป่าสักน้อย ต.เชิงดอย อ.ดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่

ผลการดำเนินงาน :  กลุ่มผู้ประกอบการติดต่อมา ต้องการยกระดับผลิตภัณฑ์ชาเชียงดาอบแห้ง ให้มีจุดเด่นมากขึ้น ด้วยการใช้นวัตกรรมที่ไม่ซับซ้อน อาจารย์ผู้เชี่ยวชาญจึงแนะนำให้ทำเป็นชาหมักแบบชาจีน ซึ่งมีการนัดหมายลงพื้นที่สาธิตกระบวนการทำชาเชียงดาหมัก โดยเพิ่มขั้นตอนการหมักนวดชาในผ้าขาวบางลงไปจากกระบวนการเดิม หลังจากการคั่ว ก่อนนำไปอบ ส่งผลให้ final product ที่ได้ มีคุณปร



รายงานโดย นายวันโชค  มณีเดช วันที่รายงาน 05/04/2566 [14282]
1500 19
2 [14309]

ชื่อกิจกรรม : การให้บริการคำปรึกษาเบื้องต้นในการปรับปรุงคุณภาพเห็ดทอดกรอบ

ผู้รับบริการ : คุณยุพิน  ตนมิตร

                คุณศุภมาส จิตมณี

                คุณณัฐวดี  หน่ออรุณ

หน่วยงาน: คลินิกเทคโนโลยี มช.

สถานที่ : วิสาหกิจชุมชนดอกไม้งามบ้านเกาะกลาง ต.ป่าแดด อ.เมือง จ.เชียงใหม่

ผลการดำเนินงาน : ทางกลุ่มวิสาหกิจชุมชน มีความประสงค์ที่จะพัฒนาผลิตภัณฑ์เห็ดทอดกรอบ เนื่องจากเห็ดเป็นผลิตผลในท้องถิ่นที่มีการเพาะปลูกอยู่แล้ว เป็นการเพิ่มมูลค่า รวมทั้งต้องการให้สมาชิกในกลุ่มฯ มีความรู้ด้านการผลิตและแปรรูปอาหาร จึงได้ทดลองแปรรูปผลิตภัณฑ์เห็ดทอดกรอบด้วยตนเอง อย่างไรก็ตามผลิตภัณฑ์ที่ได้ยังไม่เป็นที่พอใจ เนื่องจากมีความอมน้ำมันสูง ความกรอบและสีไม่สม่ำเสมอ จึงยังไม่เป็นที่ถูกใจของผู้บริโภค ส่งผลให้จำหน่ายได้แค่ในพื้นที่ชุมชนเท่านั้น ด้วยคุณลักษณะปรากฎดังกล่าว เป็นปัจจัยโดยตรงที่ส่งผลต่ออายุการเก็บรักษาของผลิตภัณฑ์ ยิ่งจำกัดตลาดในการวางจำหน่ายรวมไปถึงราคาของผลิตภัณฑ์

ทางนักวิจัยจึงเล็งเห็นว่าควรนำเอาองค์ความรู้ทางด้านการแปรรูปผลิตภัณฑ์เห็ดทอดกรอบ โดยจะพัฒนาให้ได้สูตรที่คงที่ ไม่อมน้ำมัน มีคุณลักษณะทางเคมีกายภาพ ได้แก่ ปริมาณความชื้น ค่าวอเตอร์แอคติวิตี้ ค่าสี เนื้อสัมผัส ตามที่ต้องการ และทำการถ่ายทอดให้แก่ชุมชนต่อไป รวมทั้งการประเมินอายุการเก็บรักษาของผลิตภัณฑ์ นอกจากนั้น จะทำการฝึกอบรมสุขลักษณะที่ดีในการผลิต เพื่อประยุกต์ใช้ในการแปรรูปขั้นต้น รวมไปถึงสร้างโอกาสในการยกระดับมาตรฐานเพื่อขยายตลาดต่อไปในอนาคต ซึ่งจะส่งต่อแหล่งทุนที่เหมาะสมต่อไป



รายงานโดย นายวันโชค  มณีเดช วันที่รายงาน 05/04/2566 [14309]
800 6
2 [14318]

ค่าตอบแทนเจ้าหน้าที่ประสานงานคลินิกเทคโนโลยี เดือนตุลาคม 2565 ถึง เดือนมีนาคม 2566 เป็นระยะเวลา 6 เดือน เดือนละ 15,000 บาท



รายงานโดย นายวันโชค  มณีเดช วันที่รายงาน 05/04/2566 [14318]
90000 1
2 [14317]

ประสานงาน ศวภ. เชิญชวนผู้ประกอบการในพื้นที่เข้าร่วมจัดแสดงสินค้า Mhesi Innovation Fair @Jingjai market มากาด มาจอย ซึ่งมีผู้ประกอบการที่อยู่ในกความดูแลของคลินิกเทคโนโลยี มช. เข้าร่วมจำนวน 3 ราย



รายงานโดย นายวันโชค  มณีเดช วันที่รายงาน 05/04/2566 [14317]
100 5
2 [14316]

ประสานงานผู้เชี่ยวชาญในหน่วยงานในการรวบรวมส่ง, ปรับข้อเสนอโครงการ ส่งแบบตอบยืนยันการดำเนินโครงการ และรายงานความก้าวหน้าไตรมาสที่ 1–2 กิจกรรมส่งเสริมการนำ วทน. เพื่อเพิ่มศักยภาพการผลิตและเศรษฐกิจชุมชน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 : แพลตฟอร์มเพิ่มศักยภาพธุรกิจชุมชน (BCE) จำนวน 3 โครงการ และแพลตฟอร์มเพิ่มศักยภาพเครือข่าย (NCB) จำนวน 3 โครงการ



รายงานโดย นายวันโชค  มณีเดช วันที่รายงาน 05/04/2566 [14316]
300 20
2 [14315]

ชื่อกิจกรรม : การให้บริการคำปรึกษาเทคโนโลยีเบื้องต้นในการพัฒนาครีมนวดสมุนไพร

ผู้รับบริการ : คุณวิไล วิชัยวงศ์ ศูนย์พัฒนาการแพทย์แผนไทย ท่าศาลา เมืองเชียงใหม่

หน่วยงาน : คลินิกเทคโนโลยี มช.

ผลการดำเนินงาน : ผู้ประกอบการต้องการขยายรูปแบบการจำหน่ายให้ผลิตภัณฑ์ที่จะพัฒนานั้นสามารถตอบสนองลูกค้าได้หลากหลายและใช้งานได้กว้างขึ้นไม่เฉพาะแต่ผู้ที่มารับบริการที่ศูนย์นวดฯ จึงต้องการปรับรูปแบบผลิตภัณฑ์น้ำมันนวดเป็นครีมนวด แต่ยังขาดองค์ความรู้ในการพัฒนาสูตรการผลิต รวมถึงขาดความเข้าใจในการจัดการผลิตเพื่อรองรับการขอขึ้นทะเบียนมาตรฐานต่างๆ จึงต้องการองค์ความรู้และเทคโนโลยีพัฒนาผลิตภัณฑ์ครีมนวดสำหรับการนวดแผนไทย โดยจะมีการส่งต่อแหล่งทุนที่เหมาะสมต่อไป เพื่อขอรับการสนับสนุนในการตั้งตำรับยานวดใหม่ เพื่อปรับเปลี่ยนรูปแบบผลิตภัณฑ์



รายงานโดย นายวันโชค  มณีเดช วันที่รายงาน 05/04/2566 [14315]
650 4
2 [14314]

ชื่อกิจกรรม : การให้บริการคำปรึกษาเทคโนโลยีเบื้องต้นในการปรับปรุงเนื้อสัมผัสลำไยให้นุ่มหนึบ

ผู้รับบริการ : คุณภาสิมา  พิงคะสัน

หน่วยงาน : คลินิกเทคโนโลยี มช.

สถานที่ : วิสาหกิจชุมชนเกษตรกรแปรรูปลำไยภูผาทิพย์ม.9 บ้านป่าเป้า ต.มะเขือแจ้ อ.เมือง จ.ลำพูน

ผลการดำเนินงาน: เนื้อลำไยอบแห้งสีทองที่สถานประกอบการใช้เป็นส่วนผสมมีเนื้อสัมผัสที่แห้ง และแข็งเกินไป หรือสำหรับเค้กลำไยที่เป็นที่ต้องการของผู้บริโภค มียอดจำหน่ายที่ดี มีความต้องการพัฒนาปรับปรุงให้สามารถยืดอายุการเก็บรักษาได้นานยิ่งขึ้น เพิ่มคุณค่าและประโยชน์ โดยใช้วัตถุดิบที่มีหลากหลายในพื้นที่ เพื่อที่จะขยายฐานผู้บริโภคและเพิ่มโอกาสทางการตลาด ซึ่งปัจจุบันทางสถานประกอบการ มีรายได้ต่อเดือนเฉลี่ย 30,000บาท/เดือน โดยมีช่องทางการจำหน่ายทั้งในประเทศ (งานแสดงและจัดจำหน่ายสินค้า ร้านขายของฝาก ร้านกาแฟ) และต่างประเทศ (จีน มาเลเซีย)

จากการที่ได้มีการคุยร่วมกันระหว่างผู้ประกอบการและทีมที่ปรึกษาโดยมี อ.ขจรเดช พิมพ์พิไล และ อ. สมชาย จอมดวง สามารถสรุปประเด็นปัญหาที่สำคัญและความต้องการของสถานประกอบการดังนี้

1. ต้องการพัฒนากระบวนการผลิตลำไยนุ่มหนึบสีทองที่มีความอ่อนนุ่ม มีอายุการเก็บรักษายาวนานได้ที่อุณหภูมิห้อง สามารถจำหน่ายในรูปแบบพร้อมทานหรือใช้เป็นส่วนผสมผลไม้ในผลิตภัณฑ์อื่น

2.ต้องการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของสถานประกอบการโดยมีส่วนผสมของลำไยนุ่มหนึบสีทองให้มีคุณภาพและคุณลักษณะตามต้องการของผู้บริโภค เพื่อเพิ่มรายได้และขยายตลาดต่อไป

หลังจากทางที่ปรึกษาได้นำเสนอแนวทางในการแก้ไขปัญหาและการพัฒนาปรับปรุงผลิตภัณฑ์ตามที่ผู้ประกอบการระบุความต้องการมา ทางผู้ประกอบการมีความสนใจและมีเห็นตรงกัน และมีความพร้อมที่จะให้การสนับสนุนร่วมมือในการดำเนินการ ซึ่งจะเป็นการช่วยขยายตลาด สร้างงาน และเพิ่มรายได้ อีกทั้งช่วยเพิ่มมูลค่าให้ลำไยซึ่งเป็นผลไม้อัตลักษณ์ของจังหวัดลำพูนซึ่งจะมีการส่งต่อแหล่งทุนที่เหมาะสมต่อไป เพื่อขอรับการสนับสนุนในการปรับปรุงคุณลักษณะผลิตภัณฑ์



รายงานโดย นายวันโชค  มณีเดช วันที่รายงาน 05/04/2566 [14314]
800 4
2 [14313]

ชื่อกิจกรรม : การถ่ายทอดวิธีการทำลำไยคอมบูชะ

ผู้รับบริการ : คุณวุฒิไกร บุญตัน

                คุณมงคล   สิทธิเจริญ            

วิสาหกิจสวนชุมชนลำไยเพื่ออุตสาหกรรม

หน่วยงาน : คลินิกเทคโนโลยี มช.

สถานที่ : คณะอุตสาหกรรมเกษตร มช.

ผลการดำเนินงาน : ผู้เชี่ยวชาญถ่ายทอดวิธีการทำลำไยคอมบูชะ ด้วยกระบวนการผลิตที่ไม่ซับซ้อน



รายงานโดย นายวันโชค  มณีเดช วันที่รายงาน 05/04/2566 [14313]
1200 6
2 [14312]

ชื่อกิจกรรม : การให้บริการคำปรึกษาเบื้องต้นในการปรับปรุงเตาเผาถ่านชาร์คุณภาพสูง

ผู้รับบริการ : คุณเจษฎา  จันทร์เงิน      

วิสาหกิจชุมชนกลุ่มแปรรูปผลผลิตการเกษตรบ้านห้วยคอก ต.สะเมิงใต้ อ.สะเมิง จ.เชียงใหม่

หน่วยงาน : คลินิกเทคโนโลยี มช.

ผลการดำเนินงาน : ทางกลุ่มมีปริมาณเปลือกแมคคาเดเมียที่เหลือทิ้งจากกระบวนการผลิตเป็นจำนวนมากมาก ประมาณ 70% (800 กิโลกรัม) ต่อรอบการผลิต ผู้ประกอบการจึงมีการนำเปลือกแมคคาเดเมียที่เหลือทิ้งจากกระบวนการผลิต มาผ่านกระบวนการเผา ที่อุณหภูมิ 600°Cด้วยเตาเผาขนาด 200 ลิตร ซึ่งผู้ประกอบการประดิษฐ์เตาเผาขึ้นมาเอง โดยใช้วัสดุหลักเป็นฉนวนไฟเบอร์เซรามิก เพื่อลดปริมาณของเสีย นำมาใช้เป็นเชื้อเพลิงในครัวเรือน และเพิ่มมูลค่าเป็นผลิตภัณฑ์ถ่านกัมมันต์ แต่พบว่ากระบวนการเผาและเตาเผาที่ใช้อยู่เดิม ไม่สามารถควบคุมอุณหภูมิ และการให้ความร้อนได้อย่างทั่วถึง จึงทำให้ถ่านที่ได้ออกมาเผาไหม้ไม่สมบูรณ์ มีบางส่วนที่เผาไหม้ไม่หมด และถ่านที่ได้เป็นถ่านทั่วไปสำหรับใช้เป็นเชื้อเพลิง แต่ไม่มีคุณสมบัติเป็นถ่านกัมมันต์ จึงต้องการปรับปรุงเตาเผาถ่านเปลือกแมคคาเดเมียเหลือทิ้งให้เป็นถ่านคุณภาพสูง อาจารย์ผู้เชี่ยวชาญ แนะนำว่าสามารถเพิ่มประสิทธิภาพเตาเผาถ่าน ให้สามารถควบคุมอุณหภูมิในการเผาที่อุณหภูมิ 500– 700 °Cและปรับโครงสร้างภายใน ให้เตาเผาถ่ายเทความร้อยได้ดียิ่งขึ้น ซึ่งควรจะแยกเตาเป็น 2 ส่วน ส่วนแรก เป็นเตาอันเดิม แต่ปรับปรุงให้ถ่ายเทความร้อนได้ดียิ่งขึ้น และเพิ่มเตาเผาส่วนที่ 2 ที่เผาได้ที่อุณหภูมิ 600 – 800 °C ซึ่งจะมีการส่งต่อแหล่งทุนที่เหมาะสม เพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณในการปรับปรุงเตาเผาต่อไป



รายงานโดย นายวันโชค  มณีเดช วันที่รายงาน 05/04/2566 [14312]
800 3
2 [14304]

ชื่อกิจกรรม : การให้บริการคำปรึกษาเบื้องต้นในการแก้ปัญหาระบบรันคิวนวด

ผู้รับบริการ : นางรุ่งฟ้า ประสิทธ์

                นายภานุพงศ์ ชูดี

 หน่วยงาน : คลินิกเทคโนโลยี มช.

สถานที่ : ศูนย์นวดแผนไทยตำบลหนองป่าครั่ง

ผลการดำเนินงาน :จากการสำรวจปัญหา อาจารย์ผู้เชี่ยวชาญให้แนวทางในการแก้ปัญหาโดยมุ่งเน้นที่การพัฒนาระบบสำหรับเจ้าหน้าที่ เพื่อบริหารจัดการการให้บริการและการเรียกคิวอัตโนมัติ โดยสามารถจัดการข้อมูลหมอนวดในศูนย์ บันทึกชั่วโมงการทำงาน ระบบจะคำนวณชั่วโมงทำงานและรายได้รายเดือนของหมอนวดแต่ละรายและจัดทำรายงานสรุป สำหรับการติดต่อจองคิวล่วงหน้า ในโครงการระยะที่หนึ่งนี้จะใช้ระบบการจองคิวผ่าน Line Officialและใช้ chat serviceช่วยรับข้อมูลการจองจากลูกค้าและส่งข้อมูลไปยังเจ้าหน้าที่เพื่อบันทึกลงระบบจองคิว เพื่อพัฒนาระบบบริหารจัดการการให้บริการสำหรับศูนย์นวดแผนไทยหนองป่าครั่ง สำหรับอำนวยความสะดวกแก่เจ้าหน้าที่ศูนย์นวดแผนไทยฯในการบริหารจัดการคิว เรียกคิว และทำสรุปรายงาน ซึ่งจะมีการส่งต่อเข้าแหล่งทุนที่เหมาะสม เพื่อขอรับการสนับสนุนในการพัฒนาระบบต่อไป



รายงานโดย นายวันโชค  มณีเดช วันที่รายงาน 05/04/2566 [14304]
700 8
2 [14310]

ชื่อกิจกรรม : การให้บริการคำปรึกษาเบื้องต้นในการปรับปรุงคุณภาพดิน และการใช้ปุ๋ยหมัก

ผู้รับบริการ : คุณกาญจนา  อะปินะ

                คุณปรัชญา   สมฤทธิ์

                วิสาหกิจชุมชนต๋องเปา ต.ดอนเปา อ.แม่วาง จ.เชียงใหม่

หน่วยงาน : คลินิกเทคโนโลยี มช.

สถานที่ : AT Organic farm

ผลการดำเนินงาน: กลุ่มวิสาหกิจชุมชนความต้องการปรับเปลี่ยนระบบเกษตรแบบเคมีมาเป็นเกษตรอินทรีย์อาจารย์ผู้เชี่ยวชาญให้แนวทางว่าควรที่จะได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตพืชในระบบอินทรีย์โดยเฉพาะปัจจัยการผลิตด้านการจัดการดินและปุ๋ยในการเพิ่มผลผลิตพืช และการจัดการศัตรูพืชโดยไม่พึงพาสารเคมี เพื่อให้เกษตรกรเข้าใจระบบการจัดการปัจจัยการผลิตที่เหมาะสมและสามารถปฏิบัติได้จริง ซึ่งจะมีการส่งต่อแหล่งทุนที่เหมาะสม เพื่อขอรับการสนับสนุนในการตรวจวิเคราะห์คุณภาพดิน และปรับสภาพดินเพื่อให้เกษตรกรบรรลุเป้าหมายและนำไปสู่การผลิตที่ยั่งยืนต่อไป



รายงานโดย นายวันโชค  มณีเดช วันที่รายงาน 05/04/2566 [14310]
800 6
2 [14299]

บทสรุปผู้บริหาร

 

          ในปีงบประมาณ พ.ศ.2566 สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ได้อนุมัติงบประมาณสนับสนุนให้แก่คลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เพื่อดำเนินโครงการการการบริการให้คำปรึกษาและเผยแพร่ข้อมูลเทคโนโลยี รหัส 6019 ภายใต้แพลตฟอร์มการบริการให้คำปรึกษาและข้อมูลเทคโนโลยี (TCS) โดยสรุปผลการดำเนินงานไตรมาสที่ เดือนมกราคม 2566 ถึงเดือนมีนาคม 2566 แบ่งเป็นกิจกรรมย่อยจำนวน 3 กิจกรรม ดังนี้

กิจกรรมที่ 1) กิจกรรมการให้บริการคำปรึกษาและข้อมูลเทคโนโลยี

ผลผลิต/ผลลัพธ์ของโครงการ

ค่าเป้าหมาย

(หน่วยนับ)

ผลการดำเนินงาน

ไตรมาส 1

ไตรมาส 2

รวม

1. จำนวนผู้รับบริการคำปรึกษาทางเทคโนโลยี (คน)

50

9

14

23

2. จำนวนผู้รับบริการข้อมูลเทคโนโลยี (คน)

180

49

6

55

รวม

330

58

20

78

 

 

จัดกลุ่มตามช่องทางการรับบริการได้ดังนี้

ช่องทาง

จำนวนผู้รับบริการ

รวม

ไตรมาส1

ไตรมาส 2

โทรศัพท์

2

8

10

Email และ Line

0

0

0

สำนักงาน

0

1

1

การบริการนอกสถานที่ (ลงพื้นที่)

56

11

66

Application ZOOM

1

0

1

รวม

58

20

78

 

ประเภทเทคโนโลยี

รายละเอียดเทคโนโลยี

เจ้าของเทคโนโลยี

วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร

+ ผงปรุงรสจากข้าวออแกนิก

ผศ.ดร.ภัทวรา ปฐมรังษิยังกุล

คณะอุตสาหกรรมเกษตร มช.

pattavara.p@cmu.ac.th

สิ่งทอและการเพิ่มคุณสมบัตินาโน

+ เทคนิคตกแต่งสำเร็จ (กลิ่นหอม)

รศ.พิศมัย  อาวะกุลพาณิชย์

คณะวิจิตรศิลป์  มช.

pitsamai.a@cmu.ac.th

สิ่งทอ

+ การย้อมสีธรรมชาติและการออกแบบพื้นผิวสิ่งทอจากการประยุกต์ใช้วัสดุและภูมิปัญญาท้องถิ่น

อาจารย์ชวรจน์  ชะวะนะเวช

คณะวิจิตรศิลป์  มช.

chawaroj.c@cmu.ac.th

การเลี้ยงสัตว์

+ เทคนิคการผสมพันธุ์ปูนานอกฤดูและการสุขาภิบาลบ่อเลี้ยงปู

ดร.อนุรักษ์ วงตา

สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพมช.

Anurak.wongta@cmu.ac.th

วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร

+ ข้าวเกรียบปูนา

ดร.อนุรักษ์ วงตา

สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพมช.

Anurak.wongta@cmu.ac.th

เครื่องจักร

+ การพัฒนาเครื่องแกะสลักหินด้วยระบบซีเอ็นซี

ผศ.ดร.วสวัชร นาคเขียว

คณะวิศวกรรมศาสตร์ มช.

wasawat@eng.cmu.ac.th

การเลี้ยงสัตว์

+ การฆ่าเชื้อและควบคุมแมลงศัตรูจิ้งหรีด

 

ดร.วศิน วงศ์วิไล

สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมช.

wwongwilai@gmail.com

คอมพิวเตอร์/เทคโนโลยีสารสนเทศ

+ การบริหารจัดการคิวสำหรับลูกค้ากับหมอนวดของชุมชน

ผศ.โดม โพธิกานนท์

คณะวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ มช.

dome.potikanond@cmu.ac.th

วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร

+ กล้วยน้ำว้าตาก/กล้วยน้ำว้าอบ

ผศ.ดร.อรยา พรเอี่ยมมงคล

คณะมนุษยศาสตร์ มช.

orraya.p@cmu.ac.th

วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร

+ กระบวนการพาสเจอไรซ์น้ำเต้าหู้

ผศ.ดร.ศศิธร  ใบผ่อง

คณะอุตสาหกรรมเกษตร มช.

sasitorn.bai@cmu.ac.th

วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร

+ เห็ดนางรมทอดกรอบ

อาจารย์ ดร.ทับกฤช  ขุมทรัพย์

คณะอุตสาหกรรมเกษตร มช.

tabkrich.khumsap@cmu.ac.th

การเกษตร

+ ปุ๋ยหมักอินทรีย์
+ การตรวจและปรับปรุงคุณภาพดิน

อาจารย์ ดร.ยุพา  จอมแก้ว

คณะเกษตรศาสตร์ มช.

yupa.c@cmu.ac.th

วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร

+ แสนคบาร์ถั่วลายเสือ

รศ.ดร.ยุทธนา พิมลศิริผล

ศูนย์นวัตกรรมอาหารและบรรจุภัณฑ์ มช.

yphimols@yahoo.com

เครื่องจักร

+ เตาเผาถ่านชาร์คุณภาพสูง

ศ.ดร.นคร ทิพยาวงศ์

คณะวิศวกรรมศาสตร์ มช.

n.tippayawong@yahoo.com

วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร

+ ลำไยอบแห้งนุ่มหนึบ

อาจารย์ขจรเดช  พิมพิไล

คณะวิศวกรรมศาสตร์ มช.

kphimph@yahoo.com

วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร

+ ลำไยไซเดอร์

+ ลำไยคอมบูฉะ

ผศ.ดร.จุไรรัตน์  เม้ากำเนิด

คณะอุตสาหกรรมเกษตร มช.

churairat.m@cmu.ac.th

เครื่องสำอาง

+ ครีมนวดจากสารสกัดสมุนไพร

รศ.ดร.วิชัย  ฉัตรทินวัฒน์

คณะวิศวกรรมศาสตร์ มช.

chattinw@gmail.com

 

กิจกรรมที่ 2) การประสานงานและบริหารจัดการเครือข่าย

2.3) การบริหารจัดการทางด้านการเงิน งบประมาณ การติดตามประเมินผลและรายงานผล กิจกรรมที่เกี่ยวข้องจำนวน 1 กิจกรรม

 

กิจกรรมที่ 3) การประสานการดำเนินงาน พัฒนาจังหวัดด้าน วทน. ร่วมกัน ศูนย์ประสานงานกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีประจำภูมิภาค ดำเนินกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง จำนวน 1 กิจกรรม

รวมงบประมาณโครงการ ที่ใช้ในการดำเนินงานเดือนมกราคม 2566 – มีนาคม 2566

  • กิจกรรมที่ 1 จำนวน 14,000 บาท
  • กิจกรรมที่ 2 จำนวน     300 บาท
  • กิจกรรมที่ 3 จำนวน     100 บาท
  • ค่าตอบแทนเจ้าหน้าที่ประสานงานคลินิกเทคโนโลยี จำนวน 45,000 บาท

               รวม 59,400 บาท



รายงานโดย นายวันโชค  มณีเดช วันที่รายงาน 05/04/2566 [14299]
0 4
2 [14273]

ชื่อกิจกรรม : การสาธิตการแปรรูปชาดอกปทุมมา

ผู้รับบริการ : คุณสังวาลย์ ศรีวิชัย

                คุณกุญช์ชญา สวัสดี

                คุณจรรยา   กาวิชัย

                คุณทักษิณ  ศรียาน

                คุณไวยิ่ง    ทองบือ

                คุณภูดิท    สวัสดี

หน่วยงาน: คลินิกเทคโนโลยี มช.

สถานที่ : วิสาหกิจชุมชนเกษตรชีวภาพและสมุนไพรตำบลหนองจ๊อม

อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่

ผลการดำเนินงาน :ผู้ประกอบการมีศักยภาพและความพร้อมสูง ทั้งด้านวัตถุดิบ ด้านสถานที่ผลิต และด้านวัสดุอุปกรณ์ ซึ่งกลุ่มผู้ประกอบการได้ทดลองทำชาดอกปทุมมา ตามทฤษฎีที่ได้รับจากคำแนะนำจากอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญ และได้ออกมาเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีคุณลักษณะดีตามต้องการ แต่อาจต้องปรับกระบวนการแปรรูปอีกเล็กน้อย เพื่อให้ชาปทุมมาที่ได้ สามารถเก็บรักษาได้มากกว่า 3 เดือน ซึ่งจะมีการติดตามผล และเชิญชวนเข้าร่วมโครงการที่เหมาะสมต่อไป



รายงานโดย นายวันโชค  มณีเดช วันที่รายงาน 05/04/2566 [14273]
800 6
2 [14307]

ชื่อกิจกรรม : การให้บริการคำปรึกษาเบื้องต้นในการปรับปรุงประสิทธิภาพการให้ความร้อนน้ำเต้าหู้อินทรีย์

ผู้รับบริการ : คุณวิกร  ไวว่อง วิสาหกิจชุมชนธรรมเกษตรบ้านป่าป๋วย ต.ศรีบัวบาน อ.เมืองลำพูน จ.ลำพูน

หน่วยงาน : คลินิกเทคโนโลยี มช.

ผลการดำเนินงาน : ชุมชนมีความสนใจในการปรับปรุงประสิทธิภาพการฆ่าเชื้อของผลิตภัณฑ์น้ำเต้าหู้ที่สามารถเก็บในตู้เย็นจากกระบวนการผลิตของวิสาหกิจชุมชน ณ ปัจจุบันเก็บในตู้เย็นได้นานเพียง 7 วัน ให้สามารถเก็บได้นานกว่าเดิมอย่างน้อย 3-5วัน เพื่อเพิ่มโอกาสในด้านการกระจายสินค้าในการจัดจำหน่ายได้นานกว่าเดิมหรือขยายฐานกลุ่มลูกค้าได้ไกลกว่าเดิม ตลอดจนจะช่วยให้กลุ่มวิสาหกิจชุมชนฯ สามารถวางแผนการผลิตได้มีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น อาจารย์ผู้เชี่ยวชาญ ได้ให้แนวทางการยืดอายุการเก็บ โดยการปรับปรุงกระบวนการให้ความร้อน ซึ่งจะมีการติดตามผล และส่งต่อแหล่งทุนที่เหมาะสมต่อไป เพื่อขอรับการสนับสนุนในส่วนของค่าตรวจวิเคราะห์ และการถ่ายทอดเทคโนโลยีการแปรรูปต่อไป ซึ่งจะเป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับถั่วเหลือง ส่งผลดีกับเกษตรกรในพื้นที่ตลอดจนกลุ่มวิสาหกิจมีรายได้เพิ่มขึ้น อีกทั้งบุคลากรที่ปฏิบัติงานในการผลิตของกลุ่มวิสากิจชุมชนจะได้รับทักษะ ความรู้ ทางด้านการปฏิบัติที่ถูกต้องตามวิธีการและหลักเกณฑ์ที่ดีในการผลิตอาหาร รวมถึงองค์ความรู้ด้านการยืดอายุการเก็บรักษาผลิตภัณฑ์อีกด้วย



รายงานโดย นายวันโชค  มณีเดช วันที่รายงาน 05/04/2566 [14307]
1000 3
2 [14305]

อกิจกรรม : การให้บริการคำปรึกษาเบื้องต้นในการทำกล้วยตากอบพลังงานแสงอาทิตย์

ผู้รับบริการ : คุณภัคพงศ์  ทาหะพรหม

                คุณยิ่งศักดิ์   ทาหะพรหม

หน่วยงาน : คลินิกเทคโนโลยี มช.

สถานที่ : วิสาหกิจชุมชน highland eco farm บ้านป๊อก ต.สะเมิงเหนือ อ.สะเมิง จ.เชียงใหม่

ผลการดำเนินงาน : เนื่องจากบริเวณที่ตั้งของสถานประกอบการ มีผลผลิตกล้วยน้ำว้าจำนวนมากตลอดปี ซึ่งผู้ประกอบการมีการรับซื้อผลผลิตกล้วยน้ำว้าปลอดสารพิษจากกลุ่มเครือข่าย และชาวบ้านในพื้นที่ใกล้เคียงอยู่แล้ว จึงต้องการนำกล้วยน้ำว้ามาแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่า เป็นผลิตภัณฑ์เด่นของชุมชน ซึ่งในอนาคตมีแผนจะทำเป็นสถานที่ท่องเที่ยวหมู่บ้านออแกนิก แต่ยังขาดองค์ความรู้ในการแปรรูป จึงต้องการองค์ความรู้ในการแปรรูปกล้วยตาก และต้องการคำแนะนำในการเลือกอุปกรณ์สำหรับแปรรูปกล้วยตากด้วยโดมพลังงานแสงอาทิตย์ ด้วยกระบวนการแบบธรรมชาติ 100% ซึ่งอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญได้นำตัวอย่างกล้วยน้ำว้ามาลองอบในพาราโบลาโดมห้องปฏิบัติการ ว่าจะได้ออกมาเป็นกล้วยน้ำว้าที่มีคุณลักษณะเป็นที่ยอมรับของผู้บริโภคหรือไม่ ซึ่งจะมีการติดตามผล และส่งต่อแหล่งทุนที่เหมาะสมต่อไป เพื่อขอรับการสนับสนุนในส่วนของค่าตรวจวิเคราะห์ และการถ่ายทอดเทคโนโลยีการแปรรูปต่อไป



รายงานโดย นายวันโชค  มณีเดช วันที่รายงาน 05/04/2566 [14305]
1600 6
2 [14270]

บทสรุปผู้บริหาร

             ในปีงบประมาณ พ.ศ.2566 สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ได้อนุมัติงบประมาณสนับสนุนให้แก่คลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เพื่อดำเนินโครงการการการบริการให้คำปรึกษาและเผยแพร่ข้อมูลเทคโนโลยี รหัส 6019 ภายใต้แพลตฟอร์มการบริการให้คำปรึกษาและข้อมูลเทคโนโลยี (TCS)  โดยสรุปผลการดำเนินงาน ไตรมาสที่ 1 เดือนตุลาคม 2565 ถึงเดือนธันวาคม 2565 แบ่งเป็นกิจกรรมย่อยจำนวน 3 กิจกรรม ดังนี้

กิจกรรมที่ 1) กิจกรรมการให้บริการคำปรึกษาและข้อมูลเทคโนโลยี

ผลผลิต/ผลลัพธ์ของโครงการ

ค่าเป้าหมาย

(หน่วยนับ)

ผลการดำเนินงาน

1. จำนวนผู้รับบริการคำปรึกษาทางเทคโนโลยี (คน)

50

9

2. จำนวนผู้รับบริการข้อมูลเทคโนโลยี (คน)

180

49

รวม

330

58

 

จัดกลุ่มตามช่องทางการรับบริการได้ดังนี้

ช่องทาง

จำนวนผู้รับบริการ

โทรศัพท์

2

Email และ Line

0

สำนักงาน

0

การบริการนอกสถานที่ (ลงพื้นที่)

56

Application ZOOM

1

รวม

58

 

ประเภทเทคโนโลยี

รายละเอียดเทคโนโลยี

เจ้าของเทคโนโลยี

วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร

+ ชาดอกปทุมมา

+ ชาเชียงดาหมัก

ผศ.ดร.ศศิธร  ใบผ่อง

คณะอุตสาหกรรมเกษตร มช.

sasitorn.bai@cmu.ac.th

สิ่งทอและการเพิ่มคุณสมบัตินาโน

+ กระบวนการผลิตเนื้อห้อมและการย้อมห้อม

+ การย่อยเส้นใยเศษผ้าเหลือทิ้ง

+ การขึ้นรูปเส้นใยที่ย่อยแล้วเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่

 รศ.พิศมัย  อาวะกุลพาณิชย์

คณะวิจิตรศิลป์  มช.

pitsamai.a@cmu.ac.th

สิ่งทอ

+ การเพิ่มอายุการเก็บรักษาเส้นด้ายด้วยสารเคลือบที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
 

อาจารย์ชวรจน์  ชะวะนะเวช

คณะวิจิตรศิลป์  มช.

chawaroj.c@cmu.ac.th

ด้านศิลปะประดิษฐ์และงานหัตถกรรม

+ การขึ้นรูปบรรจุภัณฑ์ด้วยกระดาษสา

+ ระบบถอดประกอบขันโตก

ผศ.กานต์  คำแก้ว

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มช.

karn.khamkaew@cmu.ac.th

เครื่องจักร

+ เครื่องปั่นเหวี่ยงขจัดน้ำยางรัก

รศ.คนธาภรณ์  เมียร์แมน

คณะวิจิตรศิลป์  มช.

khontaporn.meerman@cmu.ac.th

เครื่องสำอาง

+ บาล์มนวดคลายกล้ามเนื้อ

 

รศ.ดร.ไชยวัฒน์ ไชยสุต

คณะเภสัชศาสตร์ มช.

chaiyavat@gmail.com

เครื่องสำอาง

+ สบู่สครับสมุนไพร

รศ.วรินทร รักษ์ศิริวณิช

ศูนย์นวัตกรรมอาหารและบรรจุภัณฑ์

warintorn.ruksiri.fin@gmail.com

ด้านศิลปะประดิษฐ์และ งานหัตถกรรม

+ การดุนลายโลหะเครื่องเงิน

รศ.ดร.รงคกร อนันตศานต์

คณะวิจิตรศิลป์  มช.

rongkakorn.anantasan@cmu.ac.th

วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร

+ การตั้งสถานที่ผลิตน้ำแร่ธรรมชาติสำหรับดื่ม

อาจารย์ ดร.ทับกฤช  ขุมทรัพย์

คณะอุตสาหกรรมเกษตร มช.

tabkrich.khumsap@cmu.ac.th

 

กิจกรรมที่ 2 ) การประสานงานและบริหารจัดการเครือข่าย

2.1) การประสานงานสถาบันการศึกษาและกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานคลินิกเทคโนโลยีดำเนินกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง จำนวน 6 กิจกรรม

2.2) การประสานงานภายในสถาบันการศึกษาและกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานหมู่บ้านแม่ข่าย วท. และสมาชิก อสวท.

2.3) การบริหารจัดการทางด้านการเงิน งบประมาณ การติดตามประเมินผลและรายงานผลจำนวน 2 กิจกรรม

  • การรวบรวม และส่งข้อเสนอโครงการฉบับสมบูรณ์ ปีงบประมาณ 2566แพลตฟอร์ม BCE จำนวน 3 โครงการ และแพลตฟอร์ม NCB จำนวน 1 โครงการ
  • การติดตามผลการดำเนินงาน รวบรวม และส่งรายงานฉบับสมบูรณ์แพลตฟอร์ม BCE ปีงบประมาณ 2565 จำนวน 1 โครงการ

 

กิจกรรมที่ 3) การประสานการดำเนินงาน พัฒนาจังหวัดด้าน วทน. ร่วมกัน  กับศูนย์ประสานงานกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีประจำภูมิภาค ดำเนินกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง จำนวน 1 กิจกรรม

 

รวมงบประมาณโครงการ ที่ใช้ในการดำเนินงานเดือนตุลาคม 2565 – ธันวาคม 2565

  • กิจกรรมที่ 1 จำนวน   11,600 บาท
  • กิจกรรมที่ 2 จำนวน   13,600 บาท
  • กิจกรรมที่ 3 จำนวน         0   บาท
  • ค่าตอบแทนเจ้าหน้าที่ประสานงานคลินิกเทคโนโลยี จำนวน 45,000 บาท

                รวม 70,200 บาท



รายงานโดย นายวันโชค  มณีเดช วันที่รายงาน 05/04/2566 [14270]
0 2
2 [14303]

ชื่อกิจกรรม : การให้บริการคำปรึกษาเบื้องต้นในการพัฒนาอัตลักษณ์สิ่งทอ

ผู้รับบริการ : คุณธิดา สุขสม

หน่วยงาน: คลินิกเทคโนโลยี มช.

สถานที่ : กลุ่มตัดเย็บสตรีพัฒนาบ้านดงหาดนาค ต.สบเตี๊ยะ อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่

ผลการดำเนินงาน : กลุ่มตัดเย็บสตรีพัฒนาบ้านดงหาดนาคประสบปัญหาในด้านการซื้อวัตถุดิบในการผลิตจากแหล่งขายขนาดใหญ่ ซึ่งทำให้วัตถุดิบในการผลิตไม่มีจุดเด่นที่แตกต่างจากผลิตภัณฑ์อื่นๆในท้องตลาด อีกทั้งชุมชนอยู่ห่างจากแหล่งวัตถุดิบ ทำให้เกิดต้นทุนที่เพิ่มขึ้น อาจารย์ผู้เชี่ยวชาญจึงแนะนำการแก้ปัญหา โดยการพัฒนาสิ่งทอและผลิตภัณฑ์ด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อยกระดับผลผลิตให้มีคุณภาพและมาตรฐานเป็นไปตามความต้องการของตลาด และสร้างอัตลักษณ์ที่โดดเด่นและแตกต่างให้กับผลิตภัณฑ์ของกลุ่ม รวมถึงแนะนำให้ปรับการย้อมสี ด้วยสีย้อมธรรมชาติและการออกแบบพื้นผิวสิ่งทอจากการประยุกต์ใช้วัสดุและภูมิปัญญาท้องถิ่น ซึ่งจะมีการส่งต่อแหล่งทุนที่เหมาะสมต่อไป



รายงานโดย นายวันโชค  มณีเดช วันที่รายงาน 05/04/2566 [14303]
1000 5
2 [14302]

ชื่อกิจกรรม : การให้บริการคำปรึกษาเบื้องต้นในการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากเศษผ้า

ผู้รับบริการ : คุณพัชรนันท์  กิจศิลป์วัฒนา

หน่วยงาน : คลินิกเทคโนโลยี มช.

สถานที่ : กลุ่มวิสาหกิจชุมชนเย็บปักถักร้อยบ้านสันทราย ต.บ้านธิ อ.บ้านธิ จ.ลำพูน

ผลการดำเนินงาน :ผู้ประกอบการมีเศษผ้าเหลือจำนวนมาก ซึ่งมีทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ ในส่วนของเศษผ้าขนาดใหญ่นั้น ผู้ประกอบการนำมาตัดเย็บต่อกันเป็นผืนผ้า ส่วนเศษผ้าขนาดเล็กนั้น ผู้ประกอบการจะขายยกกิโลให้กับกลุ่มที่ทำ พรมเช็ดเท้า ซึ่งหากสามารถนำมาสร้างนวัตกรรมใหม่เพื่อเพิ่มมูลค่าที่สูงขึ้นเพื่อตกแต่งผลิตภัณฑ์เดิมให้เกิดความ หลากหลายหรือสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ได้ ในส่วนของรูปแบบผลิตภัณฑ์นั้น ผู้ประกอบการตัดเย็บเป็นเสื้อผ้าสตรี ประเภทเสื้อคลุม เสื้อและกางเกง สตรี และผู้ประกอบการต้องการสร้างความหลากหลายให้กับผลิตภัณฑ์ โดยเฉพาะสำหรับตลาดจีน ซึ่งมีความชื่นชอบในรูปแบบที่มีรายละเอียดการตกแต่งมาก เน้นงานฝีมือมาก มีความใหม่ แตกต่างหลากหลายในตัวเอง ผลิตภัณฑ์กระเป๋าจึงเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ที่น่าสนใจ สามารถตกแต่งให้เกิดความหลากหลายได้มาก อาจารย์ผู้เชี่ยวชาญจึงแนะนำให้มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์กระเป๋าด้วยเทคนิคการถักทอจากเศษผ้าที่มีอยู่ นอกจากนี้ยังแนะนำการพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องประดับจากเศษผ้ามีกลิ่นหอมของดอกไม้ ด้วยการเพิ่มเทคนิคตกแต่งสำเร็จ เพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าอีกด้วย ซึ่งจะมีการติดตามผล และส่งต่อเข้าร่วมแหล่งทุนที่เหมาะสมต่อไป



รายงานโดย นายวันโชค  มณีเดช วันที่รายงาน 05/04/2566 [14302]
1100 5
2 [14301]

ชื่อกิจกรรม : การให้บริการคำปรึกษาเบื้องต้นในการทำผงปรุงรสจากข้าวอินทรีย์

ผู้รับบริการ : คุณบาลเย็น สุนันตา กลุ่มบ้านเย็นตาเกษตรอินทรีย์ (Bhanyenta Organic Farm)

หน่วยงาน : คลินิกเทคโนโลยี มช.

สถานที่ : หมู่บ้านสันทราย หมู่ที่ 6 ลวงเหนือ ดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่

ผลการดำเนินงาน :วิสาหกิจชุมชนมีความประสงค์จะรับการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตผลิตภัณฑ์ผงปรุงรสลาบอีสานและน้ำตก  เนื่องจากลาบอีสานและน้ำตกเป็นอาหารที่นิยมรับประทานทั่วประเทศไทย  เพราะเป็นอาหารที่มีรสชาติอร่อย สามารถปรุงอาหารได้ไม่จำเจเพราะใช้เนื้อสัตว์   ปัจจุบันมีผงปรุงอาหารรสลาบอีสานและน้ำตกจำหน่ายในบรรจุภัณฑ์ชนิดซอง และขวด เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้บริโภคที่ต้องการทำอาหารรับประทานเองที่บ้าน  บรรจุภัณฑ์ซองและขวดทำให้สะดวกแก่การจำหน่าย การซื้อ เก็บรักษา และใช้ปรุงอาหาร  เหมาะสำหรับวิถีการใช้ชีวิตของคนในยุคปัจจุบันที่มีเวลาน้อยในการทำอาหาร มีรสชาติอร่อยคงที่   ในผลิตภัณฑ์มีข้าวคั่วเป็นส่วนประกอบซึ่งสามารถใช้ข้าวของวิสาหกิจชุมชนฯ ได้ นอกจากนั้นยังมีการใช้วัตถุดิบอื่นที่หาได้ง่ายในพื้นที่ตำบลลวงเหนือและพื้นที่ใกล้เคียงเป็นส่วนประกอบ เช่น พริก หอมหัวใหญ่ ต้นหอม รากผักชี เป็นต้น  จึงเป็นโอกาสของวิสาหกิจชุมชนซึ่งมีข้าวในพื้นที่ตัวเอง ทำให้สามารถควบคุมคุณภาพข้าวและราคาของข้าวได้ สำหรับวัตถุดิบผักที่ต้องใช้ก็สามารถปลูกหรือจัดหาให้เพียงพอต่อการผลิตผลิตภัณฑ์ได้  แต่ไม่เคยทำผลิตภัณฑ์ผงปรุงรสลาบอีสาน-น้ำตกมาก่อนจึงมีความประสงค์จะเรียนรู้วิธีการผลิต และทำการผลิตผลิตภัณฑ์เพื่อจำหน่าย ซึ่งจะมีการส่งต่อแหล่งทุนที่เหมาะสม เพื่อขอรับการสนับสนุนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ต่อไป



รายงานโดย นายวันโชค  มณีเดช วันที่รายงาน 05/04/2566 [14301]
800 5
2 [14311]

ชื่อกิจกรรม : การให้บริการคำปรึกษาเบื้องต้นในการเพิ่มมูลค่ากากถั่วลายเสือ

ผู้รับบริการ : คุณฐานันต์ แก้วดิษฐ์               

วิสาหกิจสวนฅนปายไฮโดรโปนิกส์ หมู่ 8 ตำบลเวียงใต้ อำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน

หน่วยงาน : คลินิกเทคโนโลยี มช.

ผลการดำเนินงาน : ทางกลุ่มวิสาหกิจชุมชนมีความต้องการ และได้เล็งเห็นถึงช่องทางในการจัดการเมล็ดโกโก้ที่มีผลผลิตที่ล้นตลาดให้กลายเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ที่โดยใช้ทรัพยากรการผลิตที่มีในพื้นที่เพื่อหาแนวทางในการสร้างอาชีพ สร้างรายได้ให้แก่ชุมชน โดยพัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์ในท้องถิ่นในกลายเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ให้เข้าถึงผู้บริโภคในยุคปัจจุบัน
คือ สแน็คบาร์ถั่วลายเสือเคลือบช็อคโกแลต โดยใช้วัตถุดิบในพื้นที่คือกากถั่วลายเสือซึ่งเป็นผลพลอยได้ที่ได้จากกระบวนการสกัดน้ำมันถั่วลายเสือ และเมล็ดโกโก้ที่ปลูกในจังหวัดแม่ฮ่องสอน อาจารย์ผู้เชี่ยวชาญได้เล็งเห็นถึงความต้องการ ปัญหา และได้วิเคราะห์แนวทางแก้ไขปัญหาร่วมกับวิสาหกิจชุมชนโดยการส่งเสริมให้เกิดองค์ความรู้ที่เหมาะกับวิสาหกิจชุมชน นำเอาองค์ความรู้ที่มีอยู่นำไปต่อยอด และถ่ายทอดประยุกต์ใช้ในชุมชนได้ ผลิตภัณฑ์ สแน็คบาร์ถั่วลายเสือเคลือบช็อคโกแลต ผลิตโดยใช้เทคโนโลยีการผสมขึ้นรูปและการอบ (Baking Technology) กระบวนการบรรจุ ซึ่งจะมีการส่งต่อแหล่งทุนที่เหมาะสม ในการขอรับการสนับสนุนการพัฒนาผผลิตภัณฑ์ต่อไป



รายงานโดย นายวันโชค  มณีเดช วันที่รายงาน 05/04/2566 [14311]
650 4