2566 การบริการให้คำปรึกษาและข้อมูลเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี   0


รายงานความก้าวหน้า

ไตรมาส ผลการดำเนินงาน งบประมาณที่ใช้ ผู้รับบริการ
4 [15730]

รายชื่อผู้รับบริการ ประจำปี 2566



รายงานโดย อติกานต์ รักษายศ วันที่รายงาน 28/09/2566 [15730]
0 0
4 [15560]

     คลินิกเทคโนโลยีเครือข่ายมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี นำโดย ได้ต้อนรับคณะกรรมการการตรวจติดตามความก้าวหน้าการดำเนินโครงการ ภายใต้กิจกรรมส่งเสริมการนำวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี เพื่อเพิ่มศักยภาพการผลิตและเศรษฐกิจชุมชน(แผนงานบริการให้คำปรึกษา ฯ TCS) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 เมื่อวันอังคารที่ 29 สิงหาคม 2566 ณ ห้องประชุมชัยพัฒนา คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ดร.ดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ รองอธิการบดี ฝ่ายพันธกิจสัมพันธ์ และเครือข่ายสังคม (อว.ส่วนหน้ามหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี) ผศ.ดร.นรา พงษ์พานิช ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา รศ.ดร.ฐิติพงศ์ เครือหงส์ คณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ดร.สุพรรณิการ์ ศรีบัวทอง นางสาวผกาวรรณ ราชรักษ์ นางอติกานต์ รักษายศ และนางสาวกัญญารัตน์ แสงสุวรรณ โดยคณะกรรมการได้ให้ข้อเสนอแนะเและแนงทางในการดำเนินงานโครงการภายใต้โครงการคลินิกเทคโนโลยี เพื่อการพัฒนาการทำงาน ตลอดจนการพัฒนาข้อเสนอโครงการในปีงบประมาณถัดไป



รายงานโดย อติกานต์ รักษายศ วันที่รายงาน 16/09/2566 [15560]
0 15
4 [15558]

เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2566 คลินิกเทคโนโลยี นำโดย รศ.ดร.ฐิติพงศ์ เครือหงส์ ได้จัดประชุมหารือร่วมกับ นางสาวกัญญารัตน์ แสงสุวรรณ ผู้ประสานงาน อว.ส่วนหน้า จังหวัดสุราษฎร์ธานี ในการหารือเพื่อขับเคลื่อนงานและบูรณาการกิจกรรม/โครงการร่วมกันในปีงบประมาณ 2567 การจัดทำข้อเสนอโครงการ การจัดหาพื้นที่กลุ่มเป้าหมาย และแนวนโยบายของ อว.ส่วนหน้า โดยมี ดร.สุพรรณิการ์ ศรีบัวทอง นางอติกานต์ รักษายศ และนางสาวผกาวรรณ ราชรักษ์ เจ้าหน้าที่ประจำคลินิกเทคโนโลยี เข้าร่วมประชุมหารือ



รายงานโดย อติกานต์ รักษายศ วันที่รายงาน 16/09/2566 [15558]
0 7
4 [15557]

คลินิกเทคโนโลยีร่วมจัดนิทรรศการในงานสัปดาห์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ ประจำปี พ.ศ.2566 ระหว่างวันที่ 16-18 สิงหาคม 2566 "วิทยาศาสตร์เพื่อชีวิต สิ่งแวดล้อมและสังคม BCG" ณ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
    - ร่วมจัดนิทรรศการในงานสัปดาห์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ ประจำปี พ.ศ.2566 ระหว่างวันที่ 16-18 สิงหาคม 2566 "วิทยาศาสตร์เพื่อชีวิต สิ่งแวดล้อมและสังคม BCG" ณ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
    - ร่วมจัดนิทรรศการในงาน มหกรรมวิชาการ 50 ปี จากวิทยาลัยครูสู่มหาวิทยาลัยแห่งการสร้างวิศวกรสังคม ระหว่างวันที่ 28 สิงหาคม – 30 สิงหาคม 2566 ที่ผ่านมา ณ หอประชุมวชิราลงกรณ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี

     และเมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2566 คลินิกเทคโนโลยี เครือข่ายมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ได้รับการตรวจติดตามและประเมินผลโครงการ คณะกรรมการ ติดตามความก้าวหน้าการดำเนินโครงการ ภายใต้กิจกรรมส่งเสริมการนำวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีเพื่อเพิ่มศักยภาพการผลิตและเศรษฐกิจชุมชน(แผนงานบริการให้คำปรึกษา ฯ TCS) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ณ ห้องประชุมชัยพัฒนา คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี



รายงานโดย อติกานต์ รักษายศ วันที่รายงาน 16/09/2566 [15557]
0 120
4 [15549]

     คลินิกเทคโนโลยีเครือข่ายมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ร่วมกับโครงการจัดตั้งกองบริการวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี นำโดย รศ.ดร.ฐิติพงศ์ เครือหงส์ ดร.สุพรรณิการ์ ศรีบัวทอง ได้ลงพื้นที่บ้านห้วยทราย หมู่ 3 ต.ทรัพย์ทวี อ.บ้านนาเดิม จ.สุราษฎร์ธานี เพื่อให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ปลาเม็งร่วมต่อยอดแปรรูปผลิตภัณฑ์พร้อมยกระดับต้มโคล้งปลาเม็งสำเร็จรูป-แกงส้มกบบรรจุกระป๋อง พร้อมรับประทานและพกพา หวังชุมชนพึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืน
     เนื่องจากบ้านห้วยทรายเป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพในการผลิตปลาเม็ง ซึ่งเป็นปลาน้ำจืดตามลำน้ำตาปีที่มีชื่อเสียงของจังหวัดสุราษฎร์ธานี และการเลี้ยงกบโดยการรวมกลุ่มของเกษตรกร โดยประชาชนในพื้นที่มีความต้องการยกระดับให้เป็นสินค้าและผลิตภัณฑ์เพื่อจำหน่ายนอกพื้นที่แต่ขาดองค์ความรู้ในการดำเนินการพัฒนาและยกระดับ ปลาเม็ง เป็นต้มโคล้งปลาเม็งแบบสำเร็จรูปพร้อมปรุงและรับประทาน ส่วนกบยกระดับเป็นแกงส้มกบแบบกระป๋องพร้อมรับประทาน โดยนำองค์ความรู้และนวัตกรรมที่มีอยู่ในมหาวิทยาลัยถ่ายทอดสู่ชุมชน ตามวิสัยทัศน์ของมหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาชุมชนท้องถิ่น ซึ่งตอบโจทย์การพัฒนาพื้นที่ด้านเศรษฐกิจ เพิ่มมูลค่าและสร้างรายได้ให้แก่ประชาชน และให้ประชาชนนำไปต่อยอดในภาคการผลิตเพื่อการจำหน่ายสร้างรายได้ให้กับชุมชน
     โดยนายกิตติศักดิ์ นาคกุล ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 3 บ้านห้วยทราย ตำบลทรัพย์ทวี อำเภอบ้านนาเดิม จังหวัดสุราษฎร์ธานี กล่าวว่า ประชาชนในชุมชนต้องการจัดตั้งกลุ่มเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสร้างรายได้ให้แก่ท้องถิ่น จึงได้มีแนวคิดขอความร่วมมือจากทุกภาคส่วนเพื่อเติมเต็มการดำเนินงานให้เกิดเป็นกระบวนการที่ชุมชนสามารถพึ่งพาตนเองได้ตั้งแต่ต้นจนจบ ซึ่งมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ได้เข้ามามีส่วนร่วมด้านการศึกษาเพื่อแก้ไขปัญหา ตลอดร่วมเปลี่ยนวิธีคิดแก่ชุมชนในการสร้างนวัตกรรมใหม่ โดยยึดจากวัตถุดิบที่มีในท้องถิ่น ซึ่งมีปลาเม็งและกบ ที่ได้รับการพัฒนาและส่งเสริมด้านเกษตรจนสามารถนำมาแปรรูปไปสู่ผลิตภัณฑ์ และชุมชนมีแผนปฏิบัติการจดแจ้งมาตรฐาน GMP/GHP การคำนวณต้นทุนการผลิต และยกระดับให้เป็นอีกหนึ่งเมนูของชาวห้วยทรายที่ขึ้นชื่อหวังต่อยอดสู่การจัดจำหน่ายตลาดออนไลน์ต่อไป



รายงานโดย อติกานต์ รักษายศ วันที่รายงาน 16/09/2566 [15549]
5250 45
4 [15543]

ไตรมาสที่ 4 การให้คำปรึกษาและบริการข้อมูลเทคโนโลยี ประจำปีงบประมาณ 2566 
กิจกรรมการประสานงานและบริหารจัดการเครือข่าย
- ค่าจ้างเหมาบุคคลธรรมดา ช่วยงานวุฒิปริญญาตรีทางวิทยาศาสตร์ หรือสาขาใกล้เคียง ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2565 – กันยายน 2566 จำนวน 12 เดือน × 15,000 บาท เป็นเงิน 180,000 บาท



รายงานโดย อติกานต์ รักษายศ วันที่รายงาน 16/09/2566 [15543]
180000 0
3 [14833]

ไตรมาสที่ 3 คลินิกเทคโนโลยีเครือข่ายมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ได้ดำเนินการให้คำปรึกษาและเป็นพี่เลี้ยงให้กับกลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตกะปิอำเภอท่าฉาง นำโดย ดร.สุพรรณิการ์ ศรีบัวทอง อาจารย์ผู้ประสานงานโครงการคลินิกเทคโนโลยี และ จนท.งานบริการวิชาการคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ตลอดจนทีมคณาจารย์จากหลักสูตรนวัตกรรมอาหารและโภชนาการ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี นอกจากนี้ ยังมีการให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการพัฒนาและถนอมอาหารโดยใช้ตู้อบพลังงานแสงอาทิตย์ จากวัถุดิบในท้องถิ่น เช่น กุ้งฝอย กุ้งแห้ง น้ำพริกสวรรค์ กะปิขัดน้ำ โดยใช้วัสดุจากในชุมชนท้องถิ่น ทั้งนี้ ชุมชนมีทุนด้านเครื่องมือ (ตุ้อบพลังงานแสงอาทิตย์ จากการสนับสุนงบประมาณจาก อว.อยู่แล้ว) คลินิกเทคโนโลยีจึงเป็นพี่เลี้ยงในการต่อยอดและส่งเสริมการประกอบอาชีพ และการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของกลุ่มประกอบการในพื้นที่ นอกจากนี้คลินิกเทคโนโลยีได้รับการประสานงานจากผู้ประสานงานโครงการส่วนกลางในการลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมประเมินโครงการ ในช่วงเดือนสิงหาคม ซึ่ง คลินิกเทคโนโลยีและ อว.ส่วนหน้ามหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ได้ร่วมประชุมหารือในการเตรียมการเพื่อเตรียมความพร้อมต่อไป



รายงานโดย อติกานต์ รักษายศ วันที่รายงาน 06/07/2566 [14833]
25000 25
2 [14134]

ไตรมาสที่ 1 คลินิกเทคโนโลยี เครือข่ายมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ได้รับแจ้งการจัดสรรงบประมาณที่เสนอขอ จำนวน 246,250 บาท และได้ดำเนินการปรับแก้ข้อเสนอโครงการและปรับงบประมาณตามคำแนะนำของคณะกรรมการ นอกจากนั้นได้มีการประชุมผู้ประสานงานคลินิกเทคโนโลยีเพื่อหาแนวทางในการดำเนินงานเพื่อให้ครอบคลุมกับงบประมาณที่ได้รับการจัดสรรในแต่ละกิจกรรมที่มีการวางแผนไว้

ไตรมาสที่ 2 สภาเกษตรกรจังหวัดสุราษฎร์ธานี ได้พากลุ่มเกษตรกรและผู้ประกอบการจาก อำเภอพุนพิน และอำเภอท่าฉาง จำนวน 8 ราย เพื่อขอรับคำปรึกษากับคลินิกเทคโนโลยี นำโดย ดร.สุพรรณิการ์ ศรีบัวทอง อาจารย์ผู้ประสานงานโครงการคลินิกเทคโนโลยี และ จนท.งานบริการวิชาการคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ตลอดจนทีมคณาจารย์จากหลักสูตรนวัตกรรมอาหารและโภชนาการ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อให้คำแนะนำการต่อยอดพัฒนาผลิตภัณฑ์ จำนวน 3 ผลิตภัณฑ์ คือ (1) ผลิตภัณฑ์น้ำพริกชนิดต่างๆ (2) ผลิตภัณฑ์กะปิ (3) ผลิตภัณฑ์จากน้ำตาลโตนด นอกจากนี้ยังมีกลุ่มผู้ประกอบการรุ่นใหม่ในโครงการ SRU young start up ร่วมกับ UBI มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ได้เข้ารับคำคำปรึกษาเกี่ยวกับการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากกุ้งและกะปิท่าเคย อ.ท่าฉาง จ.สุราษฎร์ธานี ซึ่งเป็นการต่อยอดองค์ความรู้จากโครงการแผนงานบ่มเพาะธุรกิจชุมชน ในโครงการพัฒนาทักษะอาชีพด้านการแปรรูปผลิตภัณฑ์เพื่อเพิ่มมูลค่าเพิ่ม (BCE 65) โดย ดร.สุพรรณิการ์ ศรีบัวทอง เป็นวิทยากรให้คำปรึกษา
 



รายงานโดย อติกานต์ รักษายศ วันที่รายงาน 05/04/2566 [14134]
36000 35