2566 การบริการให้คำปรึกษาและข้อมูลเทคโนโลยี ประจำปีงบประมาณ 2566   0


รายงานความก้าวหน้า

ไตรมาส ผลการดำเนินงาน งบประมาณที่ใช้ ผู้รับบริการ
4 [15502]


รายงานโดย นางนิชมลกานต์  ขุนเพชร วันที่รายงาน 15/09/2566 [15502]
33250 200
3 [14686]

 

กิจกรรมที่ 1กิจกรรมบริการให้คำปรึกษาทางเทคโนโลยี

การพัฒนากระบวนการผลิตและออกแบบบรรจุภัณฑ์ของผลิตภัณฑ์กระหรี่ปั๊บ

ในวันที่  3 มกราคม 2565

สถานที่ :สถานประกอบการ ต.ลานข่อย อ.ป่าพะยอม จ.พัทลุง

ดำเนินการโดย :นายอัฏฐพล เทพยา คณะศิลปกรรมศาสตร์

ผลการดำเนิน :ผู้ประกอบการเข้ามาขอคำปรึกษากับอาจารย์นายอัฏฐพล เทพยา เพื่อขอคำปรึกษาในการออกแบบกระบวนการผลิตเพื่อให้สามารถลดแรงงานคนและการเก็บรักษาขนมได้นาน ไม่เสียหาย
และประหยัดพื้นที่ขนส่งเพื่อนำไปออกบูธนอกสถานที่ อาจารย์ได้ให้คำปรึกษาออกแบบกระบวนการผลิตอาหารห่วงโซ่อุปทาน วิเคราะห์ว่าขั้นตอนใดเป็นคอขวดของการผลิต และการออกแบบกระบวนการสำหรับกระหรี่พัฟแบบสดที่ใช้สำหรับส่งไปยังเฟรนไชน์ต่างๆเพื่อนำไปขายทอด โดยใช้กระบวนการ pre-cooked
ให้สามารถยืดอายุผลิตภัณฑ์การเป็นรักษาได้

การพัฒนาน้ำมันว่านสมุนไพร 108

ในวันที่ 17 พฤศจิกายน 2565

สถานที่ : สถานประกอบการ ต.คลองเฉลิม อ.กงหรา จ.พัทลุง

ดำเนินการโดย :ผศ.ดร.พท.พิรุณรัตน์ แซ่ลิ้ม

ผลการดำเนิน :ผู้ประกอบการมีความต้องการที่จะพัฒนากระบวนการผลิตในการผลิตน้ำมันว่านสมุนไพร 108 และออกแบบฉลากบรรจุภัณฑ์ใหม่ ซึ่งผศ.ดร.พท.พิรุณรัตน์ แซ่ลิ้ม อาจารย์คณะวิทยาการสุขภาพและการกีฬาได้ให้คำแนะนำในการออกแบบกระบวนการผลิตในการสกัดวิธีใหม่ที่ง่าย และได้สาระสำคัญคงที่ และออกแบบฉลากให้มีข้อมูลส่วนประกอบบนฉลากให้ถูกต้อง ทั้งนี้ได้ส่งต่อให้ขอรับทุนสนับสนุนภายใต้โครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์สินค้าชุมชน (ตามแนวทางคูปองวิทย์เพื่อโอทอป) ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 พื้นที่จังหวัดพัทลุง

การพัฒนาเครื่องประดับจากเมล็ดน้ำตาพระศิวะ

ในวันที่  20 พฤศจิกายน 2565

สถานที่ : ต.ตะแพน อ.ศรีบรรพต จ.พัทลุง

ดำเนินการโดย :อาจารย์ชลธิดา  เกษเพชร

ผลการดำเนิน :ผู้ประกอบการขอรับคำปรึกษาด้านการพัฒนาแบบผลิตภัณฑ์เครื่องประดับจากเมล็ดน้ำตาพระศิวะแบบชุดเซ็ตสำหรับผู้หญิงและผู้ชาย อาจารย์ได้ให้คำปรึกษาเบื้องต้นโดยการที่จะออกแบบเครื่องประดับจากเมล็ดน้ำตาพระศิวะร่วมกับวัสดุอื่น เช่นเงิน/ลูกปัด ให้มีความเป็นอัตลักษณ์ของภาคใต้และนำความเชื่อความสิริมงคลมาผสมผสานสร้างความเป็นอัตลักษณ์ โดยให้มีรูปแบบที่เรียบง่าย สามารถสวมใส่ได้ทุกโอกาส เป็นชุดประกอบด้วย สร้อยคอ สร้อยข้อมือ ตุ้มหู แหวน เข็มกลัด (จัดชุดเซ็ตตามความนิยม ชาย/หญิง)  
ทั้งนี้ได้ส่งต่อให้ขอรับทุนสนับสนุนภายใต้โครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์สินค้าชุมชน (ตามแนวทางคูปองวิทย์เพื่อโอทอป) ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 พื้นที่จังหวัดพัทลุง

การพัฒนาน้ำเคยยอดหวายแห้ง

ในวันที่  22  พฤศจิกายน 2565

สถานที่ :สถานประกอบการ อำเภอป่าพะยอม จังหวัดพัทลุง

ดำเนินการโดย :ผศ.ดร.พรพิมล มะยะเฉียว

ผลการดำเนิน :ผู้ประกอบการขอคำปรึกษาเรื่องการพัฒนาน้ำเคยยอดหวายแห้งให้มีรสชาติดี สีคงทน และอยากได้ความรู้และเครื่องมือที่ใช้ในการบวนการผลิตที่สามารถยืดอายุการเก็บรักษาผลิตภัณฑ์ได้นานขึ้น
ผศ.ดร.พรพิมล มะยะเฉียว ได้ให้คำแนะนำในการผลิตเป้นน้ำเคยยอดหวายแห้งชนิดโรยข้าว โดยการพัฒนาและออกแบบกระบวนการผลิต วิเคราะห์กระบวนการที่ก่อให้เกิดความเสื่อมเสียและวิธีควบคุมลดการปนเปื้อนและการยืดอายุการเก็บรักษาให้ได้ประมาณ 1-2 เดือน ทั้งนี้ได้ส่งต่อให้ขอรับทุนสนับสนุนภายใต้โครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์สินค้าชุมชน (ตามแนวทางคูปองวิทย์เพื่อโอทอป) ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 พื้นที่จังหวัดพัทลุง

การพัฒนาลูกแป้งข้าวหมากผง

ในวันที่  5 มกราคม 2566

สถานที่ : ห้องประชุม อุทยานวิทยาศาสตร์และนวัตกรรมสังคม

ดำเนินการโดย :นางสาววิจิตรา อมรวิริยะชัย

ผลการดำเนิน :ผู้ประกอบการมีความต้องการที่จะพัฒนาสูตรลูกแป้งชนิดใหม่เพื่อเพิ่มความหลากหลาย และพัฒนาลูกแป้งข้าวหมากในรูปแบบผง เพื่อง่ายในการใช้งานของลูกค้า อาจารย์ได้ให้คำปรึกษาเบื้องต้นในการพัฒนาลูกแป้งโดยใช้เชื้อโพรไบโอติกสายพันธุ์ที่คัดแยกได้ใหม่จากน้ำผึ้งชันโรง และการออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสมในการบรรจุแป้งข้าวหมากผงที่ง่ายต่อการใช้งานของลูกค้า ทั้งนี้ได้ส่งต่อผู้ประกอบการเพื่อเข้าถึงแหล่งทุนภายใต้โครงการหน่วยขับเคลื่อนนวัตกรรมเพื่อสังคม ประจำพื้นที่ภาคใต้ ประจำปีงบประมาณ 2566

การพัฒนาผลิตภัณฑ์บำรุงผิวจากน้ำมันเทพทาโร

ในวันที่  6 มกราคม 2566

สถานที่ : ห้องประชุม อุทยานวิทยาศาสตร์และนวัตกรรมสังคม

ดำเนินการโดย :อ.ดร. พรวิชัย เต็มบุตร

ผลการดำเนิน : เดิมผู้ประกอบการได้สกัดน้ำมันจากไม้เทพทาโรมาทำเป็นผลิตภัณฑ์น้ำมันเหลือง น้ำมันเขียว มันหม่องและยาดม จึงอยากที่จะพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์อื่นๆ อาจารย์ได้ให้ไอเดียในการพัฒนาเครื่องสำอาง Aroma spa สำหรับนวดผ่อนคลายและบำรุงผิวจากน้ำมันเทพทาโร ทั้งนี้ได้ส่งต่อผู้ประกอบการเพื่อเข้าถึงแหล่งทุนภายใต้โครงการหน่วยขับเคลื่อนนวัตกรรมเพื่อสังคม ประจำพื้นที่ภาคใต้ ประจำปีงบประมาณ 2566

การพัฒนาผลิตภัณฑ์จากกระจูด

ในวันที่ 2 พฤษภาคม 2566

สถานที่ :ห้องประชุม อุทยานวิทยาศาสตร์และนวัตกรรมสังคม

ดำเนินการโดย :ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พชร ผลนาค

ผลการดำเนิน : ผู้ประกอบการมีความต้องการที่จะพัฒนาผลิตภัณฑ์กระจูดให้มีหกลิ่มที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว อาจารย์มีคำแนะนำให้ทดลองให้ใช้กลิ่นจากน้ำมันหอมระเหยอบส่วนของผ้าที่บุในกระเป๋า
โดยใช้ในอุณหภูมิและวิธีเทคนิคที่เหมาะสม ซึ่งอาจจะส่งต่อเข้าสู่กระบวนการทดลองเพื่อเข้าสู่โครงการ
ในแพลตฟอร์มอื่นๆในสำนักงาน และได้ให้ผู้ประกอบการเข้าร่วมแผนงานการสร้างผู้ประกอบการรายใหม่
ในภูมิภาค (New Regional Startups) (P1)

กิจกรรมที่ 2กิจกรรมบริการข้อมูลเทคโนโลยี

  1. งานสัมมนาและนิทรรศการมีชีวิตเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนเพื่อสังคม ภาคใต้ ประจำปี 2565 “...สืบสาน รักษา ต่อยอด ตามรอยพ่อ : ยกระดับวิสาหกิจชุมชน สู่ นวัตกรรมธุรกิจเพื่อสังคม...”

ในวันที่วันที่ 28 – 29 พฤศจิกายน

สถานที่ :ณ องค์การบริหารส่วนตำบลขอนหาด ต.ขอนหาด อ.ชะอวด จ.นครศรีธรรมราช

ผลการดำเนินงาน :   สำนักบ่มเพาะวิชาการเพื่อวิสาหกิจในชุมชน มหาวิทยาลัยทักษิณเข้าร่วมงานสัมมนาและนิทรรศการมีชีวิตเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนเพื่อสังคม ภาคใต้ ประจำปี 2565 “...สืบสาน รักษา ต่อยอด ตามรอยพ่อ : ยกระดับวิสาหกิจชุมชน สู่ นวัตกรรมธุรกิจเพื่อสังคม...”  ณ องค์การบริหารส่วนตำบลขอนหาด ต.ขอนหาด อ.ชะอวด จ.นครศรีธรรมราช โดยมีกิจกรรมเวทีล้อมวงพูดคุย “กำหนดแนวทางการจัดทำระบบนิเวศวิสาหกิจชุมชนธุรกิจเพื่อสังคม” ผู้ร่วมวงเสวนา หน่วยงานองค์กรภาคี ดังนี้

1.นายสมนึก คงชู 

เกษตรจังหวัดพัทลุง 

เรื่อง...เกษตรปลอดภัยสู่ธุรกิจ BCG MODEL

2.รศ.ดร.วิรชัย โรยนรินทร์

ประธานที่ปรึกษาสมาคมพลังงานทดแทนสู่ชุมชนแห่งประเทศไทย

เรื่อง... แนวทางการหนุนเสริมธุรกิจเพื่อสังคมกับพลังงานทดแทนสู่ชุมชน

3.ดร.อำพล อาภาธนากร

ผู้จัดการฝ่ายกิจการเพื่อสังคม สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ

เรื่อง....นวัตกรรมเพื่อสังคม สู่ ความยั่งยืนของชุมชน

4.ผศ.ดร.นุกูล อินทระสังขา 

ผอ.สำนักบ่มเพาะวิชาการเพื่อวิสาหกิจในชุมชน มหาวิทยาลัยทักษิณ 

เรื่อง...บทบาทและงานวิชาการ ในการสนับสนุนวิสาหกิจชุมชน

5.ดร.กันตพงศ์ คงหอม 

ผอ.โรงเรียนบ้านสี่แยก ต.ทุ่งสง อ.นาบอน จ.นครศรีธรรมราช

เรื่อง...โรงเรียนสาธิตเครือข่ายตำบลวิถีพอเพียง (ยุวเกษตรเถ้าแก่น้อย)

6.นายธนเดช ณัฐวัฒน์จิระประไพ  

ประธานเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนตำบลท่าตะเภา

จังหวัดชุมพร 

เรื่อง...เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อการเกษตรกับธุรกิจเพื่อสังคม

7.นายอติวิชญ์ นิลทะรัตน์

ประธานเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนธนาคารผึ้งและชันโรงบางแก้ว ภาคใต้ 

เรื่อง นวัตกรรมการเลี้ยงผึ้งชันโรง เพื่อเพิ่มมูลค่า สู่ ธุรกิจเพื่อสังคม

8.นายเทอด นมรักษ์

พนักงานพัฒนาธุรกิจ สำนักงาน ธ.ก.ส. สาขาจังหวัดพัทลุง

เรื่อง การเข้าถึงแหล่งทุน ในการสนับสนุนวิสาหกิจชุมชน

และมีการจัดนิทรรศการด้านวิชาการและประชาสัมพันธ์โครงการบริการให้คำปรึกษา โดย สำนักบ่มเพาะวิชาการเพื่อวิสาหกิจในชุมชน มหาวิทยาลัยทักษิณ เพื่อได้เข้าถึงแหล่งทุนในการดำเนินการต่อไป

  1. กิจกรรมประชุมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้แก่ผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP เพื่อส่งเสริมให้เครือข่ายองค์ความรู้ KBO จังหวัด

ในวันที่23 – 24 มกราคม 2566

สถานที่ :ณ ห้องประชุมเพชรสุกานต์ 1 ชั้น 1 โรงแรมชัยคณาธานี อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง

ผลการดำเนินงาน :   โครงการส่งเสริมกระบวนการเครือข่ายองค์ความรู้ (Knowledge – Based OTOP : KBO) จังหวัดพัทลุง ประจำปีพ.ศ.2566กิจกรรมประชุมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้แก่ผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP เพื่อส่งเสริมให้เครือข่ายองค์ความรู้ KBO จังหวัด เป็นศูนย์กลางในการให้ความช่วยเหลือและสนับสนุนการพัฒนาขีดความสามารถของผู้ประกอบการ OTOP ยกระดับผลิตภัณฑ์ OTOP ให้มีคุณภาพได้มาตรฐาน มีบรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสมและสามารถเพิ่มมูลค่าและสร้างนวัตกรรม

วันที่ 23มกราคม 2566บรรยายในหัวข้อแนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์โดยใช้นวัตกรรมโดยนางนิชมลกานต์ ขุนเพชร ตำแหน่งผู้จัดการกลุ่มภารกิจคลินิกเทคโนโลยีและหน่วยขับเคลื่อนนวัตกรรมเพื่อสังคม

วันที่ 24มกราคม 2566บรรยายในหัวข้อ การสร้างเรื่องราว (Story of Product) และการสร้างแบรนด์ โดยอาจารย์ พลัฏฐ์ ยิ้มประเสริฐ ตำแหน่งอาจารย์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ และนายฐาณพัฒณ์ คงพัฒน์ ตำแหน่งนักพัฒนาธุรกิจ สังกัดสำนักบ่มเพาะวิชาการเพื่อวิสาหกิจในชุมชน

และได้ประชาสัมพันธ์การเปิดรับสมัครโครงการหน่วยขับเคลื่อนนวัตกรรมเพื่อสังคม และโครงการบริการให้คำปรึกษา โดยนางสาวอังคณา นวลจันทร์ ตำแหน่งนักพัฒนาธุรกิจ และนางสาวคชาภรณ์ รองเดช  ตำแหน่งนักพัฒนาธุรกิจ สังกัดสำนักบ่มเพาะวิชาการเพื่อวิสาหกิจในชุมชน

  1. กิจกรรม Open Innovation Road Show ภาคใต้ ครั้งที่ 6/2566”

ในวันที่31 มกราคม 2566

สถานที่ :ห้องประชุมบัวหลวง ทักษิณาคาร มหาวิทยาลัยทักษิณ จังหวัดพัทลุง

ผลการดำเนินงาน :   สำนักบ่มเพาะวิชาการเพื่อวิสาหกิจในชุมชน มหาวิทยาลัยทักษิณได้เข้าร่วม สัมมนากิจกรรม Open Innovation Road Show ภาคใต้ ครั้งที่ 6/2566” ซึ่งจัดโดย อุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ร่วมกับสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ(องค์การมหาชน) ซึ่งโครงการดังกล่าวได้รับเกียรติจาก “ รองศาสตราจารย์ ดร.สมัคร แก้วสุกแสง ”รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยทักษิณ กล่าวเปิดงาน ในกิจกรรมดังกล่าวได้มีการบรรยายเกี่ยวกับรายละเอียดการขอทุนสนับสนุน

ทั้งนี้ได้มีการประชาสัมพันธ์ในการเปิดรับสมัครผู้ประกอบการที่มีความสนใจจะสมัครขอทุนสนับสนุน ของหน่วยขับเคลื่อนนวัตกรรมเพื่อสังคมประจำพื้นที่ภาคใต้ (SID) โดยนางนิชมลกานต์ ขุนเพชร ผู้จัดการกลุ่มภารกิจคลินิกเทคโนโลยีหน่วยขับเคลื่อนนวัตกรรมเพื่อสังคม สำนักบ่มเพาะวิชาการเพื่อวิสาหกิจในชุมชน มหาวิทยาลัยทักษิณ

  1. กิจกรรมการลงนามความร่วมมือพัฒนานวัตกรรมในภูมิภาคระหว่างสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) มหาวิทยาลัยทักษิณ หอการค้าจังหวัดพัทลุง และจังหวัดพัทลุง และเปิดตัว “หน่วยขับเคลื่อนนวัตกรรมเพื่อสังคมประจำพื้นที่ภาคใต้” ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566

ในวันที่14 กุมภาพันธ์  2566

สถานที่ :หอประชุมเฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง

ผลการดำเนินงาน :   สำนักบ่มเพาะวิชาการเพื่อวิสาหกิจในชุมชน มหาวิทยาลัยทักษิณจัดการลงนามความร่วมมือพัฒนานวัตกรรมในภูมิภาคระหว่าง จังหวัดพัทลุง สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หอการค้าจังหวัดพัทลุง และมหาวิทยาลัยทักษิณ ทั้งนี้มีการเปิดตัว “หน่วยขับเคลื่อนนวัตกรรมเพื่อสังคมประจำพื้นที่ภาคใต้” ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 และกิจกรรมเสวนาเกี่ยวกับ “แนวทางการทำงานด้านนโยบายและบทบาทของหน่วยขับเคลื่อนนวัตกรรมเพื่อสังคม พื้นที่ภาคใต้ เพื่อตอบโจทย์ความต้องการในการสร้างหมุดหมายใหม่สู่การพัฒนาเป็นมหาวิทยาลัยนวัตกรรมเพื่อสังคม ซึ่งมีผู้ร่วมเสวนาดังนี้

* รองศาสตราจารย์ ดร.ณฐพงศ์ จิตรนิรัตน์

อธิการบดีมหาวิทยาลัยทักษิณ

* คุณคุณาวุฒิ บุญญานพคุณ

ผู้อำนวยการฝ่ายนวัตกรรมเพื่อสังคม สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน)

* คุณเกศกมล จันทร์โภคาไพบูลย์

ประธานกรรมการบริหาร YEC หอการค้าจังหวัดพัทลุง

* คุณสุเทพ ไชยธานี

บริษัท ปลาณีตฟาร์ม จำกัด

 

กิจกรรมมีวัตถุประสงค์

- เพื่อสร้างนวัตกรด้านสังคมผ่านการบ่มเพาะ และให้คำปรึกษา ภายใต้ระบบพี่เลี้ยง เพื่อไปช่วยพัฒนาเศรษฐกิจ สังคมและชุมชน ด้วยการนำนวัตกรรมไปแก้ปัญหาด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน

- พัฒนาแนวคิดสู่ต้นแบบหรือโครงการนำร่องเป็นผลงานนวัตกรรมเพื่อสังคมที่สร้างผลกระทบเชิงสังคมได้อย่างเป็นรูปธรรมในกลุ่มจังหวัดยากจนของประเทศ หรือพื้นที่เป้าหมายนำร่องด้วยนวัตกรรม

- เพื่อสร้างหน่วยขับเคลื่อนนวัตกรรมเพื่อสังคม และเครือข่ายนวัตกรรมเพื่อสังคมทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัยทักษิณ ให้สามารถทำงานเชิงบูรณาการ แบ่งปันองค์ความรู้ วิเคราะห์มิติปัญหาสังคมในพื้นที่ และสร้างระบบนิเวศนวัตกรรมที่เอื้อต่อการเติบโตของนวัตกรรมอย่างยั่งยืน และสร้างผลกระทบเชิงสังคมได้อย่างเป็นรูปธรรม

  1. กิจกรรมอบรม “Digital Marketing Strategy เคล็ดลับกลยุทธ์การตลาดดิจิทัลสำหรับผู้ประกอบการ ปี 2023”

ในวันที่23 กุมภาพันธ์ 2566

สถานที่ :ร้านอาหารเรดบีฟเฮ้าส์ จังหวัดพัทลุง

ผลการดำเนินงาน :   อุทยานวิทยาศาสตร์และนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยทักษิณจัดกิจกรรมอบรม “Digital Marketing Strategy เคล็ดลับกลยุทธ์การตลาดดิจิทัลสำหรับผู้ประกอบการ ปี 2023” กิจกรรมอบรมเพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับผู้ประกอบการในการทำธุรกิจ โดยคุณติวากรณ์ คำจุน ตำแหน่ง Digital Marketing Training สถาบันซัคเซสไอเดีย : สถาบันพัฒนาผู้ประกอบการและการฝึกอบรมพัฒนาทรัพยากรบุคคลด้านดิจิทัล

วัตถุประสงค์ในการอบรมครั้งนี้

เพื่อสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับ Digital Marketing ใน ปี 2023ให้กับผู้ประกอบการ

เพื่อให้ผู้ประกอบการเริ่มต้นทำการตลาดออนไลน์อย่างมีพื้นฐานที่แข็งแรง

เพื่อให้ผู้ประกอบการมีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับการตลาดออนไลน์

เพื่อให้ผู้ประกอบการวางแผนกลยุทธ์ทางการตลาดให้กับธุรกิจตนเองได้

และได้ประชาสัมพันธ์โครงการบริการให้คำปรึกษา โดยฝ่ายส่งเสริมเทคโนโลยีและนวัตกรรมสู่ชุมชน เพื่อได้เข้าถึงแหล่งทุนในการดำเนินการต่อไป

 

  1. กิจกรรมอบรม ด้านการพัฒนาบรรจุภัณฑ์สำหรับผลิตภัณฑ์ในชุมชน

ในวันที่19  เมษายน  2566

สถานที่ :ณ โรงแรมศิวา รอยัล พัทลุง 

ผลการดำเนินงาน :   อุทยานวิทยาศาสตร์และนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยทักษิณจัดกิจกรรมอบรมด้านการพัฒนาบรรจุภัณฑ์สำหรับผลิตภัณฑ์ในชุมชน ดร.วิญญู ศักดาทร ตำแหน่ง รองผู้อำนวยการศูนย์นวัตกรรมอาหารและบรรจุภัณฑ์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และอาจารย์คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ บรรยายในหัวข้อ  บรรจุภัณฑ์ของชุมชน,  การขอมาตรฐาน อย., ฮาลาล,  การจำลองการออกแบบตัวอย่างบรรจุภัณฑ์ของชุมชน และได้ประชาสัมพันธ์โครงการบริการให้คำปรึกษา โดยฝ่ายส่งเสริมเทคโนโลยีและนวัตกรรมสู่ชุมชน เพื่อได้เข้าถึงแหล่งทุนในการดำเนินการต่อไป

  1. กิจกรรมอบรมขายของทั่วไทยให้ปัง ด้วยออนไลน์

ในวันที่9   มิถุนายน  2566 

สถานที่ :โรงแรมศิวา รอยัล อำเภอเมือง จังหวัดพัทลุง

ผลการดำเนินงาน :   อุทยานวิทยาศาสตร์และนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยทักษิณจัดกิจกรรมอบรมขายของทั่วไทยให้ปัง ด้วยออนไลน์ วิทยากรโดย คุณรังสรรค์ พงษ์สุน อาจารย์ประจำหลักสูตรสื่อสารการตลาดดิจิทัล คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์กิจกรรมอบรมที่มีผู้เข้าร่วมกว่า 60 ราย



รายงานโดย นางนิชมลกานต์  ขุนเพชร วันที่รายงาน 05/07/2566 [14686]
170500 197
2 [14112]

กิจกรรมที่ 1กิจกรรมบริการให้คำปรึกษาทางเทคโนโลยี

1.ผลิตภัณฑ์ไวน์จากแป้งสาคู

ในวันที่ 10 พฤศจิกายน 2565

สถานที่ :สาคูบ้านยายฉุย ตำบลควนขนุน อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง

ดำเนินการโดย :กลุ่มภารกิจคลินิกเทคโนโลยีและหน่วยขับเคลื่อนวัตกรรมเพื่อสังคม

ผลการดำเนิน :ลงพื้นที่สำรวจความต้องการของกลุ่มสาคูบ้านยายฉุย ตำบลควนขนุน อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุงซึ่งผู้ประกอบการมีการผลิตสาคูต้นเป็นจำนวนมากซึ่งมีความต้องการที่จะผลิตเป็นไวน์สาคู ซึ่งขณะนี้ได้ทดทองผลิตไปบ้าง แต่ยังขาดองค์ความรู้และการใช้อุปกรณ์ในการผลิต จึงแนะนำให้เข้าร่วมโครงการคูปองวิทย์เพื่อโอทอปและ โครงการหมู่บ้านนวัตกรรมเพื่อสังคม ปี 2566 พื้นที่จังหวัดพัทลุงเพื่อที่ของบประมาณสนับสนุนในการพัฒนาต่อไป

 

  1. กิมจิแซ้ / ผงโรยข้าวขมิ้นชัน

ในวันที่ 26 ตุลาคม2565

สถานที่ :วิสาหกิจชุมชนสินธุ์แพรทอง ตำบลลำสินธุ์ อำเภอศรีนครินทร์ จังหวัดพัทลุง

ดำเนินการโดย :กลุ่มภารกิจคลินิกเทคโนโลยีและหน่วยขับเคลื่อนวัตกรรมเพื่อสังคม

ผลการดำเนิน :ลงพื้นที่สำรวจความต้องการของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนสินธุ์แพรทองซึ่งผู้ประกอบการได้ผลิตกิมจิแซ้ / ผงโรยข้าวขมิ้นชันโดยใช้วัตถุดิบในท้องถิ่นในการแปรรูป มีความต้องการที่จะพัฒนาปรับปรุงสูตรให้มีสูตรที่มาตรฐาน การยืดอายุการเก็บรักษาและพัฒนาบรรจุภัณฑ์ จึงแนะนำให้เข้าร่วมโครงการคูปองวิทย์เพื่อโอทอปและออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น เพื่อที่ของบประมาณสนับสนุนในการพัฒนาต่อไป

3.สเปรย์พ่นคอน้ำผึ้งชันโรงนาโหนดและเครื่องแกงพรุหานบัว

ในวันที่ 18 ตุลาคม 2565

สถานที่ :ณ ทักษิณาคาร มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง

ดำเนินการโดย :กลุ่มภารกิจคลินิกเทคโนโลยีและหน่วยขับเคลื่อนวัตกรรมเพื่อสังคม

 

ผลการดำเนิน :นางนิชมลกานต์ ขุนเพชร สังกัดสำนักบ่มเพาะวิชาการเพื่อวิสาหกิจในชุมชนได้ให้คำแนะนำการและชี้แจงหลักเกณฑ์การลงทะเบียนผู้ผลิต ผู้ประกอบการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP)อีกทั้งผู้ประกอบการมีความต้องการที่จะพัฒนาสเปรย์พ่นคอน้ำผึ้งชันทั้งด้านสัดส่วนของสูตรและบรรจุภัณฑ์
จึงแนะนำให้เข้าร่วมโครงการคูปองวิทย์เพื่อโอทอปเพื่อที่ของบประมาณสนับสนุนในการพัฒนาต่อไป

4.ขนมจีนข้าวญาไทรสมุนไทรสำเร็จรูป (อบแห้ง)

ในวันที่ 18 ตุลาคม 2565

สถานที่ :ณ ทักษิณาคาร มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง

ดำเนินการโดย :กลุ่มภารกิจคลินิกเทคโนโลยีและหน่วยขับเคลื่อนวัตกรรมเพื่อสังคม

 

ผลการดำเนิน :นางนิชมลกานต์ ขุนเพชร สังกัดสำนักบ่มเพาะวิชาการเพื่อวิสาหกิจในชุมชนได้ให้คำแนะนำการและชี้แจงหลักเกณฑ์การลงทะเบียนผู้ผลิต ผู้ประกอบการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP)อีกทั้งผู้ประกอบการมีความต้องการที่จะพัฒนาโรงเรือนในการผลิตขนมจีนข้าวญาไทรสมุนไทรสำเร็จรูป (อบแห้ง)และเครื่องจักรที่ใช้ในการผลิตจึงแนะนำให้เข้าร่วมโครงการคูปองวิทย์เพื่อโอทอปเพื่อที่ของบประมาณสนับสนุนในการพัฒนาต่อไป

 

กิจกรรมที่ 2กิจกรรมบริการข้อมูลเทคโนโลยี

  1. งานมหกรรมผลงานวิจัยและนวัตกรรมพร้อมใช้ มหาวิทยาลัยทักษิณ

กิจกรรมจัดนิทรรศการกิจกรรมงานเกษตรแฟร์-ทักษิณวิชาการ ประจำปี พ..2565

ในวันที่3-6 ตุลาคม 2565

สถานที่ :ณ หอประชุมเฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง

ผลการดำเนินงาน :   สำนักบ่มเพาะวิชาการเพื่อวิสาหกิจในชุมชน มหาวิทยาลัยทักษิณจัดนิทรรศการกิจกรรมงานเกษตรแฟร์-ทักษิณวิชาการ ประจำปี พ..2565 โดยมีกิจกรรมเสวานา Social Innovation and quadruple helix coordinationประสานพลังขับเคลื่อนนวัตกรรมแก้จนเพื่อคนเมืองลุงโดย
รศ.ดร สมัคร แก้วสุกแสงคุณกิตติพิชญ์ กลับคุณคุณดวงธิดา จันทร์พุ่มและคุณประโมทย์ ดำจวนลมและเสวนาบทบาทของอุทยานวิทยาศาสตร์กับการพัฒนา Social Innovation ในพื้นที่ภาคใต้โดย ผศ.ดร. คำรณ พิทักษ์ดร.อนุรักษ์ ถุงทองและผศ.ดร.นุกูล อินทระสังขาและกิจกรรมเปิดตัวชมรมนิสิตผู้ประกอบการการแนะนำโครงการพัฒนานิสิตผู้ประกอบการ โดย คุณตรีชิต เมธารัตนโชติผู้บริหารและผู้เข้าร่วมก่อตั้ง Veget deli

อีกทั้งการจัดบูธแสดงผลงานนวัตกรรมเชิงพาณิชย์ อุทยานวิทยาศาสตร์และนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยทักษิณบูธจัดแสดงผลงานเด่นผู้ประกอบการ Social Innovation จำนวน 10 ผลงานและ
บูธประชาสัมพันธ์โครงการภายใต้กลุ่มภารกิจคลินิกเทคโนโลยีและหน่วยขับเคลื่อนนวัตกรรมเพื่อสังคม โดยมีผู้สนใจจำนวน 48 ราย

ไตรมาสที่ 2เมษายน 2566

1.     กิจกรรมสร้างความรู้ ความเข้าใจ ในการยกระดับ OTOP ด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ภายใต้โครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์สินค้าชุมชน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 จังหวัดพัทลุง

ในวันที่ 18 พฤศจิกายน 2565

สถานที่ :ณ ห้องประชุมบัวหลวง ชั้น 2 อาคารทักษิณาคาร มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง

ผลการดำเนินงาน :   กลุ่มภารกิจคลินิกเทคโนโลยีและหน่วยขับเคลื่อนนวัตกรรมเพื่อสังคม สำนักบ่มเพาะวิชาการเพื่อวิสาหกิจในชุมชนได้มีการจัด ”กิจกรรมสร้างความรู้ ความเข้าใจ ในการยกระดับ OTOP ด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ภายใต้โครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์สินค้าชุมชน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 จังหวัดพัทลุง”ณ ห้องประชุมบัวหลวง ชั้น 2 อาคารทักษิณาคาร มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง

โดยมีกิจกรรมดังนี้

1. การชี้แจงแนวทางการดำเนินงานตามแนวทาง “คูปองวิทย์เพื่อโอทอป” (STI for OTOP)
โดยคุณเอกพงศ์ มุสิกะเจริญ นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการพิเศษ สังกัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

2. การให้ความรู้เรื่องมาตรฐานโรงเรือน โดยคุณกัญญรัตน์ บุญสนิท สังกัดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพัทลุง และมีการคัดเลือกผู้ประกอบการโอทอปที่มีความพร้อมและมีศักยภาพ เข้าร่วมการพัฒนาผลิตภัณฑ์ด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ตามแนวทางคูปองวิทย์เพื่อโอทอป ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ซึ่งมีคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 3 ท่านได้แก่

- นายคณิต ถิรวณิชย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการส่งเสริมและถ่ายทอดเทคโนโลยี

- นายสักขี แสนสุภา สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

- นายเอกพงศ์ มุสิกะเจริญ นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการพิเศษ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

3. งานสัมมนาและนิทรรศการมีชีวิตเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนเพื่อสังคม ภาคใต้ ประจำปี 2565

“...สืบสาน รักษา ต่อยอด ตามรอยพ่อ : ยกระดับวิสาหกิจชุมชน สู่ นวัตกรรมธุรกิจเพื่อสังคม...”

ในวันที่ 28 – 29 พฤศจิกายน  2565

สถานที่ :องค์การบริหารส่วนตำบลขอนหาด ต.ขอนหาด อ.ชะอวด จ.นครศรีธรรมราช

 

ผลการดำเนินงาน :สำนักบ่มเพาะวิชาการเพื่อวิสาหกิจในชุมชน มหาวิทยาลัยทักษิณ ได้ร่วมจัดบูธประชาสัมพันธ์โครงการในแพลตฟอร์มต่างๆ และผศ.ดร.นุกูล อินทระสังขา ตำแหน่งผู้อำนวยการสำนัก
บ่มเพาะวิชาการเพื่อวิสาหกิจในชุมชน ได้เข้าร่วมเสวนาในกิจกรรมเวทีล้อมวงพูดคุย “กำหนดแนวทางการจัดทำระบบนิเวศวิสาหกิจชุมชนธุรกิจเพื่อสังคม”

4. โครงการส่งเสริมกระบวนการเครือข่ายองค์ความรู้ (Knowledge – Based OTOP : KBO) จังหวัดพัทลุง

ประจำปีพ.ศ.2566 กิจกรรมประชุมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้แก่ผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP

ในวันที่ 23 มกราคม 2566

สถานที่ :ห้องประชุมเพชรสุกานต์ 1 ชั้น 1 โรงแรมชัยคณาธานี อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง

ผลการดำเนินงาน :โครงการส่งเสริมกระบวนการเครือข่ายองค์ความรู้ (Knowledge – Based OTOP : KBO) จังหวัดพัทลุง ประจำปีพ.ศ.2566 กิจกรรมประชุมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้แก่ผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP เพื่อส่งเสริมให้เครือข่ายองค์ความรู้ KBO จังหวัด เป็นศูนย์กลางในการให้ความช่วยเหลือและสนับสนุนการพัฒนาขีดความสามารถของผู้ประกอบการ OTOP ยกระดับผลิตภัณฑ์ OTOP ให้มีคุณภาพได้มาตรฐาน

มีบรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสมและสามารถเพิ่มมูลค่าและสร้างนวัตกรรม

วันที่ 23 มกราคม 2566 บรรยายในหัวข้อแนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์โดยใช้นวัตกรรม
โดยนางนิชมลกานต์ ขุนเพชร ตำแหน่งผู้จัดการกลุ่มภารกิจคลินิกเทคโนโลยีและหน่วยขับเคลื่อนนวัตกรรมเพื่อสังคม

วันที่ 24 มกราคม 2566 บรรยายในหัวข้อ การสร้างเรื่องราว (Story of Product) และการสร้าง
แบรนด์ โดยอาจารย์ พลัฏฐ์ ยิ้มประเสริฐ ตำแหน่งอาจารย์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ และนายฐาณพัฒณ์ คงพัฒน์ ตำแหน่งนักพัฒนาธุรกิจ สังกัดสำนักบ่มเพาะวิชาการเพื่อวิสาหกิจในชุมชน

และได้ประชาสัมพันธ์การเปิดรับสมัครโครงการหน่วยขับเคลื่อนนวัตกรรมเพื่อสังคม และโครงการบริการให้คำปรึกษา โดยนางสาวอังคณา นวลจันทร์ ตำแหน่งนักพัฒนาธุรกิจ และนางสาวคชาภรณ์ รองเดช ตำแหน่งนักพัฒนาธุรกิจ สังกัดสำนักบ่มเพาะวิชาการเพื่อวิสาหกิจในชุมชน

 

 

       
  327058972_896946248100262_3256472666703875988_n
    327283069_867593814475364_6824055191915891620_n
 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

5. กิจกรรมการลงนามความร่วมมือพัฒนานวัตกรรมในภูมิภาคระหว่างสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) มหาวิทยาลัยทักษิณ หอการค้าจังหวัดพัทลุง และจังหวัดพัทลุง และเปิดตัว “หน่วยขับเคลื่อนนวัตกรรมเพื่อสังคมประจำพื้นที่ภาคใต้” ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566

ในวันที่14 กุมภาพันธ์ 2566 

สถานที่ :หอประชุมเฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง

ผลการดำเนินงาน :สำนักบ่มเพาะวิชาการเพื่อวิสาหกิจในชุมชน จัดกิจกรรมการลงนามความร่วมมือพัฒนานวัตกรรมในภูมิภาคระหว่างสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) มหาวิทยาลัยทักษิณ หอการค้าจังหวัดพัทลุง และจังหวัดพัทลุง และเปิดตัว “หน่วยขับเคลื่อนนวัตกรรมเพื่อสังคมประจำพื้นที่ภาคใต้” ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566โดยมีกิจกรรมเสวนาเกี่ยวกับ "แนวทางการทำงานด้านนโยบายและบทบาทของหน่วยขับเคลื่อนนวัตกรรมเพื่อสังคม พื้นที่ภาคใต้ เพื่อตอบโจทย์ความต้องการในการสร้างหมุดหมายใหม่สู่การพัฒนาเป็นมหาวิทยาลัยนวัตกรรมเพื่อสังคม”ซึ่งกิจกรรมมีวัตถุประสงค์

- เพื่อสร้างนวัตกรด้านสังคมผ่านการบ่มเพาะ และให้คำปรึกษา ภายใต้ระบบพี่เลี้ยง เพื่อไปช่วยพัฒนาเศรษฐกิจ สังคมและชุมชน ด้วยการนำนวัตกรรมไปแก้ปัญหาด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน

- พัฒนาแนวคิดสู่ต้นแบบหรือโครงการนำร่องเป็นผลงานนวัตกรรมเพื่อสังคมที่สร้างผลกระทบเชิงสังคมได้อย่างเป็นรูปธรรมในกลุ่มจังหวัดยากจนของประเทศ หรือพื้นที่เป้าหมายนำร่องด้วยนวัตกรรม

 

- เพื่อสร้างหน่วยขับเคลื่อนนวัตกรรมเพื่อสังคม และเครือข่ายนวัตกรรมเพื่อสังคมทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัยทักษิณ ให้สามารถทำงานเชิงบูรณาการ แบ่งปันองค์ความรู้ วิเคราะห์มิติปัญหาสังคมในพื้นที่ และสร้างระบบนิเวศนวัตกรรมที่เอื้อต่อการเติบโตของนวัตกรรมอย่างยั่งยืน และสร้างผลกระทบเชิงสังคมได้อย่างเป็นรูปธรรม

6.กิจกรรม“Digital Marketing Strategy เคล็ดลับกลยุทธ์การตลาดดิจิทัลสำหรับผู้ประกอบการ ปี 2023” กิจกรรมอบรมเพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับผู้ประกอบการในการทำธุรกิจ

ในวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2566

สถานที่ :ร้านอาหารเรดบีฟเฮ้าส์ จังหวัดพัทลุง

ผลการดำเนินงาน :อุทยานวิทยาศาสตร์และนวัตกรรมสังคม จัดกิจกรรม“Digital Marketing Strategy เคล็ดลับกลยุทธ์การตลาดดิจิทัลสำหรับผู้ประกอบการ ปี 2023” กิจกรรมอบรมเพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับผู้ประกอบการในการทำธุรกิจ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับ Digital Marketing ใน ปี 2023 ให้กับผู้ประกอบการ เพื่อให้ผู้ประกอบการเริ่มต้นทำการตลาดออนไลน์อย่างมีพื้นฐานที่แข็งแรง เพื่อให้ผู้ประกอบการมีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับการตลาดออนไลน์ เพื่อให้ผู้ประกอบการวางแผนกลยุทธ์ทางการตลาดให้กับธุรกิจตนเองได้ วิทยากรโดยคุณติวากรณ์ คำจุน ตำแหน่ง Digital Marketing Training สถาบันซัคเซสไอเดีย : สถาบันพัฒนาผู้ประกอบการและการฝึกอบรมพัฒนาทรัพยากรบุคคลด้านดิจิทัล

 

 

 

 

 



รายงานโดย นางนิชมลกานต์  ขุนเพชร วันที่รายงาน 04/04/2566 [14112]
50000 150