2566 การบริการให้คำปรึกษาข้อมูลเทคโนโลยีและประชาสัมพันธ์คลินิกเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ - ชุมพร ประจำปีงบประมาณ 2566   0


รายงานความก้าวหน้า

ไตรมาส ผลการดำเนินงาน งบประมาณที่ใช้ ผู้รับบริการ
4 [15501]

 

รายงานความก้าวหน้าโครงการ การบริการให้คำปรึกษาข้อมูลเทคโนโลยีและประชาสัมพันธ์

คลินิกเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ – ชุมพร  ประจำปีงบประมาณ 2566

รหัสโครงการ : 6006

1. วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 08.30 – 16.30 น. คลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร เข้าร่วมจัดนิทรรศการบริการวิชาการและให้คำปรึกษา ในงาน “วันถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อเริ่มต้นฤดูกาลผลิตใหม่" (Fijeld day) ณ ที่ทำการแปลงใหญ่ปาล์มน้ำมัน หมู่ที่ 8 บ้านหนองปรือ ตำบลท่าชนะ อำเภอท่าชนะ จังหวัดสุราษฎร์ธานี การจัดนิทรรศการบริการวิชาการ ของคลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ในครั้งนี้ ได้รับความสนใจจากประชาชนที่เข้ามาร่วมงานเป็นอย่างมาก อาทิ การเลี้ยงไส้เดือนดิน กำจัดขยะอินทรีย์ และของเหลือใช้ในครัวเรือน, การผลิตไม้ดอกไม้ประดับในสวนปาล์มน้ำมัน, การใช้ประโยชน์ใบเสม็ดขาว การเพาะเลี้ยงสาหร่ายทะเลเพื่อการค้า, การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชเศรษฐกิจ, การเลี้ยงหอยเชอรี่สีทองเพื่อการค้า และการให้คำปรึกษาการจัดการสวนปาล์มน้ำมันเป็นต้น มีทั้งภาคเอกชน และประชาชน ได้เข้าเยี่ยมชมนิทรรศการบริการวิชาการของมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ได้บริการให้คำปรึกษาแก่ผู้ที่สนใจ จำนวน 40 คน

2. วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2566 อาจารย์ปณิดา กันถาด และ อาจารย์ฉัตรนลิน แก้วสม มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร จัดนิทรรศการทางวิชาการและร่วมต้อนรับ ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ลงพื้นที่ตรวจราชการจังหวัดชุมพร ณ กลุ่มเกษตรกรทำสวนทุ่งคาวัด หมู่ที่ 1 ตำบลทุ่งคาวัด อำเภอละแม จังหวัดชุมพร โดยมีการให้คำปรึกษาการผลิตกล้วยหอมทองเพื่อการส่งออกตามมาตรฐานการส่งออก มีทั้งภาคเอกชน และประชาชน ได้เข้าเยี่ยมชมนิทรรศการบริการวิชาการของมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ได้บริการให้คำปรึกษาแก่ผู้ที่สนใจ จำนวน 30 คน

3.วันที่ 15 มิถุนายน 2566 เวลา 09.00 น. ได้รับเกียรติจากนายวิสาห์ พูลศิริรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร ปาถกถาพิเศษ หัวข้อ “ทิศทางในการพัฒนาจังหวัดชุมพรร่วมกับกระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม” พร้อมกับให้กำลังใจทุกหน่วยงาน ในการร่วมกันพัฒนาและขับเคลื่อนจังหวัดชุมพรด้วยวิทยาศาสตร์ เพื่อให้เกษตรกรและประชาชนในจังหวัด “อยู่ได้ อยู่ดี และมีความสุขอย่างยั่งยืน” และอาจารย์ ดร.ฐิระ ทองเหลือ คณบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ให้การต้อนรับหัวหน้าส่วนราชการ ผู้แทนสถาบันการศึกษา และตัวแทนภาคประชาสังคม ในจังหวัดชุมพร พร้อมนำเสนอแนวทางในการพัฒนามหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ในงานเสวนาการพัฒนาศักยภาพจังหวัดด้วยวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) กระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ณ ห้องประชุมใหญ่ อาคารบุญรอด ศุภอุดมฤกษ์ในการนี้ โดยมีนายเอกพงศ์ มุสิกะเจริญ ผู้อำนวยการกลุ่มส่งเสริมธุรกิจเทคโนโลยีและนวัตกรรม กองส่งเสริมและประสานเพื่อประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กปว.) เข้าร่วมประชุมทางออนไลน์ด้วย มีผู้เข้าร่วมประชุม จำนวน 50 คน

4. วันที่ 24 มิถุนายน 2566 เวลา 11.00 น. อาจารย์ ดร.ภาวิดา รังษี รองคณบดีฝ่ายบริหารและยุทธศาสตร์ พร้อมด้วยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กมลวรรณ ศุภวิญญู รองคณบดีฝ่ายวิชาการ วิจัยและบริการวิชาการ ตัวแทนอาจารย์แต่ละสาขาวิชา และนักศึกใหม่ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ร่วมปล่อยปูม้าจำนวน 10,000,000 ตัว เพื่อฟื้นฟูธรรมชาติ ระบบนิเวศน์และความสมบูรณ์ของท้องทะเลไทย บริเวณทะเลหน้ามหาวิทยาลัยแม่โจ้มีผู้เข้าร่วมโครงการดังกล่าว จำนวน 50 คน

5. วันพุธที่ 28 มิถุนายน 2566 เวลา 13.30 อาจารย์ ดร.ภาวิดา รังษี รองคณบดีฝ่ายบริหารและยุทธศาสตร์ พร้อมด้วย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กมลวรรณ ศุภวิญญู รองคณบดีฝ่ายวิชาการ วิจัยและบริการวิชาการ นางสาวตรีชฎา สุวรรณโน ผู้อำนวยการสำนักงานคณบดี ตัวแทนอาจารย์ บุคลากร มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพรให้การต้อนรับ Mr. Rachmat Budiman เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐอินโดนีเซียประจำประเทศไทยพร้อมคณะ ในโอกาสเยือนมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ร่วมแลกเปลี่ยนและหารือความร่วมมือทางการศึกษา การวิจัย การแลกเปลี่ยนนักศึกษาบุคลากร ตลอดจนการทำข้อตกลงความร่วมมือในด้านต่างๆ ระหว่างมหาวิทยาลัยแม่โจ้กับประเทศอินโดนีเซียในอนาคตมีผู้เข้าร่วมโครงการดังกล่าว จำนวน 40 คน

6. วันที่ 16 สิงหาคม 2566 เวลา 10.00 น. นายวิสาห์ พูนศิริรัฒน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร มอบหมายให้นายสมพร ปัจฉิมเพชร รองผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธานพิธีเปิดโครงการ “วันวิทยาศาสตร์และ Open House" มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ครั้งที่ 3 ณ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร โดยมีอาจารย์ ดร.ฐิระ ทองเหลือ คณบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร กล่าวรายงานถึงการจัดโครงการ พร้อมกันนี้ได้รับเกียรติจากนายสุนทร จอมเมือง นายอำเภอละแม พ.ต.อ.ชนินทร์ ณรงค์น้อย ผกก.สภ.ละแม นายวนิพงค์ มุณีน้อย รองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดชุมพร นายสุระศักดิ์ ชัยตาแสง ตำแหน่ง ผู้อำนวยการวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีชุมพร นายกสมาคมการท่องเที่ยโดยชุมชน ประธานชมรมศิษย์เก่าแม่โจ้ ภาคใต้ ประธานชมรมศิษย์เก่าแม่โจ้ ชุมพร หัวหน้าส่วนราชการ ผู้อำนวยการโรงเรียน นักศึกษานักเรียน ประชาชน กลุ่มองค์กรหน่วยงานต่างๆ ทีเข้าร่วมจัดนิทรรศการบริการวิชาการและบรการให้คำปรึกษาด้านการเกษตร ทั้งด้านพืช ประมง สิ่งแวดล้อม การสร้างผลิตภัณฑ์ และการตลาด โดยมีผู้เข้าร่วมโครงการ จำนวน 300 คน

7. งานบริการวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยแม่โจ้ - ชุมพร โดยคุณชัยวิชิต เพชรศิลา รักษาการหัวหน้างานฯ และว่าที่ร้อยตรีขจรรักษ์ พู่พัฒนศิลป์ นักวิชาการเกษตรบรรยายให้ความรู้ด้านเศรษฐกิจพอเพียง การเลี้ยงผึ้งชันโรง การเลี้ยงไส้เดือน การขยายพันธ์ุไผ่ และการเพาะเลี้ยงดอกหน้าวัว ให้แก่คณะครู และนักศึกษา กศน. อำเภอทุ่งตะโก จังหวัดชุมพร จำนวน 40 คน ในวันที่ 2 - 3 กันยายน 2566 ณ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ – ชุมพร

               8. วันที่ 25 สิงหาคม 2566 เวลา 18.00 น. ที่วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีชุมพร อำเภอทุ่งตะโก จังหวัดชุมพร อาจารย์ ดร.ฐิระ ทองเหลือ คณบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร เข้าร่วมพิธีเปิดงาน “มหกรรมวิชาการวันงานเกษตรตะโก" ครั้งที่ 8 โดยมีนายวิสาห์ พูนศิริรัฒน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร เป็นประธานในพิธีเปิด และได้เข้าเยี่ยมชมนิทรรศการบริการวิชาการของมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร อาทิ การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ, การเพาะเลี้ยงแหนแดงเพื่อการเกษตร,การเลี้ยงไส้เดือนดินกำจัดขยะอินทรีย์และของเหลือใช้ในครัวเรือน,การผลิตไม้ดอกไม้ประดับในสวนปาล์มน้ำมัน,การเลี้ยงหอยเชอรี่สีทอง,ผลิตภัณฑ์น้ำสายชูหมักจากกล้วยเล็บมือนาง,การผลิตปุ๋ยอินทรีย์โดยจุลินทรีย์มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ในวันที่ 24 สิงหาคม 2566 ถึงวันที่ 4 กันยายน 2566 ณ วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีชุมพร อำเภอทุ่งตะโก จังหวัดชุมพรมีผู้รับบริการ จำนวน 60 คน

9. วันที่ 1 กันยายน 2566 เวลา 10.00 น. นายชัยวิชิต เพชรศิลา รักษาการหัวหน้างานบริการวิชาการและวิจัย ให้การต้อนรับคณะครูและนักเรียนโรงเรียนบ้านชาคลี อำเภอกะเปอร์ จังหวัดระนอง พร้อมบริการฐานการเรียนและแปลงผลิตพืชสาขาวิชาพืชศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร โดยบริการให้ความรู้ในฐานการเรียนต่างๆ เช่น ฐานการเรียนรู้พิพิธภัณฑ์สัตว์ทะเล, ฐานการเรียนรู้สถานีวิทยุเพื่อการศึกษา FM 90 MHz., ฐานการเรียนรู้การผลิตหน้าวัวในสวนปาล์มน้ำมัน, ฐานการเรียนรู้การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด, ฐานการเรียนรู้สารชีวภัณฑ์, ฐานการเรียนรู้การผลิตปุ๋ยอินทรีย์จากไส้เดือนดิน และแปลงพืชผักสาขาวิชาพืชศาสตร์ มีผู้รับบริการ จำนวน 30 คน

 



รายงานโดย นายสุวินัย เลาวิลาศ วันที่รายงาน 14/09/2566 [15501]
221250 94