2566 โครงการบริการให้คำปรึกษาและแก้ไขปัญหาเทคโนโลยีการประกอบอาชีพในชุมชน 0
ผล 1.จำนวนผู้รับบริการรวม 233 คน 2.จำนวนผู้นำความรู้ไปใช้ประโยชน์ 71 คน 3.ความพึงพอใจของผู้รับบริการร้อยละ 92.08 4.ช่องทางการรับบริการ - ร่วมจัดกิจกรรมกับหน่วยงานในพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช หน่วยปฎิบัติการ อว. ส่วนหน้า จังหวัดนครศรีธรรมราช จังหวัดกระบี่ หน่วยปฎิบัติการ อว. ส่วนหน้า จังหวัดกระบี่ ศูนย์ประสานงานของกระทรวง อว. ประจำภูมิภาค ภาคใต้ และกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม จัดกิจกรรมบริการให้คำปรึกษาและถ่ายทอดเทคโนโลยี จำนวนผู้รับบริการให้คำปรึกษา 71 คน จำนวนผู้รับบริการข้อมูล 162 คน 5.พื้นที่การให้บริการ - นครศรีธรรมราช 233 คน 6.จำนวนข้อมูลในระบบ CMO ดังนี้ 1. จำนวนข้อมูลเทคโนโลยีพร้อมถ่ายทอด 25 รายการ 2. จำนวนข้อมูลการบริการให้คำปรึกษา 20 รายการ 3. จำนวนข้อมูลผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการพัฒนาด้วย วทน. 23 รายการ 4. จำนวนข้อมูลผู้เชี่ยวชาญในหน่วยงาน 2 รายการ
ผล -คณะทำงานคลินิกเทคโนโลยีทราบความต้องการชุมชนเพื่อพัฒนางานวิชาการของมหาวิทยาลัยร่วมกับสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม -ชุมชนนำความรู้ไปใช้ประโยชน์จากการจัดกิจกรรมบริการให้คำปรึกษาและถ่ายทอดเทคโนโลยี จำนวน 3 ชุมชน 7 องค์ความรู้ -ชุมชนนำความรู้ไปใช้ในลักษณะการลดรายจ่าย 438,600 บาท และลดความเสี่ยงสารเคมีตกค้างในผลผลิตมังคุดที่ส่งออกไปยังประเทศญี่ปุ่น ออสเตรเลีย ยุโรป ทำให้รายได้จากการจำหน่ายผลผลิตมังคุดเป็นมูลค่า 22,990,000 บาท ผู้เข้ารับบริการให้คำปรึกษาส่วนใหญ่ปรึกษาด้านการขยายเชื้อราไตรโคเดอร์มา เมธาไรเซียม บิวเวอร์เรีย และการขยายเชื้อราในระดับห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อควบคุมโรคพืชและแมลงศัตรูพืช จำนวน 45 ราย และเกษตรกรเข้ารับคำปรึกษามีแนวโน้มความสนใจในการทำเกษตรแบบชีววิธีมากขึ้นเพื่อความปลอดภัยในสุขภาพของตนเอง ผู้บริโภคและสิ่งแวดล้อม -ชุมชนนำความรู้หลังการบริการให้คำปรึกษาการส่งเสริมสุขภาพของเกษตรกรปี 2566 ไปใช้ ทำให้มีแนวโน้มการลดค่าคอเรสเตอรอล เกษตรกรสามารถอ่านค่าความดันโลหิต จังหวะการเต้นของหัวใจ ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อมือและกล้ามเนื้อขาได้ และเกษตรกรชุมชนวังอ่างกำลังปรับปรุงสูตรชาสมุนไพรให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้เยี่ยมชมศึกษาดูงานที่ ศูนย์เรียนรู้โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริระดับจังหวัดนครศรีธรรมราชเพื่อเป็นเมนูอัตลักษณ์ของอาหารและเครื่องดื่มของชุมชนวังอ่าง
ผล ผลกระทบทางตรง การคำนวณต้นทุนโครงการคิดเป็น 981.75 บาทต่อคน ลดรายจ่ายรวม 438,600 บาท เพิ่มรายได้ ดังนี้ -ลดรายจ่ายการใช้สารชีวภัณฑ์ทดแทนสารกำจัดโรคพืช/ศัตรูพืชของเกษตรกร เป็นเงิน 438,600 บาท ต้นทุนค่าใช้จ่ายสำหรับสารชีวภัณฑ์รวม 228,750 บาท และจากการจำหน่ายกลุ่มมังคุดชะอวดพูนผลที่นำเทคโนโลยีไปใช้ในลดความเสี่ยงสารเคมีตกค้างในผลผลิตที่ส่งออกไปยังประเทศญี่ปุ่น ออสเตรเลีย ยุโรป คิดเป็นมูลค่า 22,990,000 บาท ดังนั้น แสดงการได้ผลลัพธ์ทางมูลค่า 101.50 เท่าของการลงทุนทั้งโครงการ -เกษตรกรชุมชนวังอ่าง แกนนำ อสม. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลควนไม้บ้อง และสำนักสงฆ์ควนไม้บ้อง กำลังร่วมพัฒนา หลักสูตรการนวดเพื่อสุขภาพ กับมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เพื่อส่งเสริมอาชีพแก่แกนนำ อสม. แกนนำเกษตรกร สำหรับนักท่องเที่ยวในแหล่งท่องเที่ยวของชุมชนวังอ่าง -ศูนย์เรียนรู้โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริระดับจังหวัดนครศรีธรรมราชได้รับการยอมรับให้เป็นต้นแบบการศึกษาเรียนรู้การขยายผลการใช้สารชีวภัณฑ์ในสวนทุเรียนในพื้นที่อำเภอชะอวด ผลกระทบทางอ้อม ในปี 2566 สำหรับการขยายผลโครงการบริการให้คำปรึกษาและแก้ไขปัญหาเทคโนโลยีการประกอบอาชีพในพื้นที่ชุมชนในปี 2566 คลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ส่งข้อมูลผลิตภัณฑ์ ข้อมูลเทคโนโลยี ช่องทางการเข้าถึงข้อมูลตามแนวทางการพัฒนาเป้าหมายที่ยั่งยืน SDGs ข้อ 2 เพื่อร่วมสนับสนุนการจัดอันดับตามตัวชี้วัด THE Impact Ranking ของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
รายงานความก้าวหน้า
ไตรมาส | ผลการดำเนินงาน | งบประมาณที่ใช้ | ผู้รับบริการ |
---|---|---|---|
4 [15570] |
เดือนสิงหาคม คณะทำงานคลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ร่วมกิจกรรมการนำเสนอความก้าวหน้าโครงการบริการให้คำปรึกษาและแก้ไขปัญหาเทคโนโลยีการประกอบในชุมชนแก่ผู้ทรงคุณวุฒิจากสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เครือข่ายคลินิกเทคโนโลยี ภายใต้โครงการประชุมเชิงปฏิบัติการ เครือข่าย อว. เพื่อพัฒนาศักยภาพจังหวัด ด้วยวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ประจำปี 2566 ภายในงาน TechnoMart 2023 ตั้งแต่วันที่ 14 - 15 สิงหาคม 2566 ณ ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพ็คเมืองทองธานี จังหวัดนนทบุรี เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้กระบวนการจัดทำแผนงาน/โครงการ “การเพิ่มศักยภาพจังหวัดด้วยวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ไปพัฒนาพื้นที่” ของเครือข่าย อว.
เดือนกันยายน การติดตามผลการนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ของเกษตรกรกลุ่มเป้าหมายผ่านช่องทางการลงพื้นที่ ช่องทางโทรศัพท์ และช่องทางไลน์ รวมจำนวน 71 คน รายงานโดย น.ส.กนตวรรณ อึ้งสกุล วันที่รายงาน 17/09/2566 [15570] |
30000 | 71 |
3 [15145] |
เดือนกรกฎาคม รายงานโดย น.ส.กนตวรรณ อึ้งสกุล วันที่รายงาน 13/08/2566 [15145] |
15750 | 68 |
3 [14858] |
เดือนเมษายน 2566
เดือนพฤษภาคม 2566
เดือนมิถุนายน 2566 รายงานโดย น.ส.กนตวรรณ อึ้งสกุล วันที่รายงาน 07/07/2566 [14858] |
85000 | 45 |
2 [14268] |
เดือนมกราคม 2566 วันที่ 5 และ 19มกราคม 2566 คณะทำงานคลินิกเทคโลยีมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เข้าร่วมประชุมการประชุมเชิงปฏิบัติการ แผนปฏิบัติการและแนวทางการขับเคลื่อนงานด้านวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม สู่การพัฒนาภูมิภาค ประจำปี 2567-2570 ผ่านระบบออนไลน์ Zoom
เดือนกุมภาพันธ์ 2566 -วันที่ 18 – 22 กุมภาพันธ์ 2566 ร่วมกับหน่วยปฏิบัติการ อว.ส่วนหน้า จังหวัดกระบี่ เครือข่ายสถาบันการศึกษาและสมาชิกชุมชน จังหวัดกระบี่ จัดแสดงนิทรรศการ U2T for BCG to Marketเครือข่ายชุมชนจังหวัดกระบี่ โดยมีเลขานุการรัฐมนตรีกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เป็นประธาน
เดือนมีนาคม 2566 -วันที่ 2 มีนาคม 2566 จัดกิจกรรมบริการข้อมูลการขยายสารชีวพันธุ์และการจัดทำแก่ผู้แทนเกษตรกรตำบลคลองน้อย อำเภอปากพนัง และ ตำบลวังอ่าง อำเภอชะอวด การบริการข้อมูลแนวทางการปรับปรุงบรรจุภัณฑ์ตามความต้องการของชุมชนแก่ผุ้แทนชุมชนตำบลท่าพยา อำเภอปากพนัง ตำบลเกาะเพชร และตำบลหน้าสตน อำเภอหัวไทร -วันที่ 11-12 มีนาคม 2566 ร่วมกับโครงการ U2T for BCG และผู้แทนชุมชนเครือข่ายคลินิกเทคโนโลยีจัดนิทรรศการ U2T for BCG to Marketณ ห้างสรรพสินค้าเซนทรัลพลาซ่านครศรีธรรมราช รายงานโดย น.ส.กนตวรรณ อึ้งสกุล วันที่รายงาน 05/04/2566 [14268] |
50000 | 7 |
2 [14267] |
เดือนตุลาคม 2565 -วันที่ 20 และ 27 ตุลาคม 2565 ประชุมร่วมกับกระทรวง อว. เพื่อจัดทำแผนปฏิบัติการ ปี 2567-2570 ผ่าน Zoom
เดือนพฤศจิกายน 2565 -วันที่ 21 พฤศจิกายน 2565 คณะทำงานคลินิกเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เข้าร่วมการประชุมเชิงปฏิบัติการแผนปฏิบัติการและแนวทางการขับเคลื่อนงานด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม สู่การพัฒนาภูมิภาค ประจำปี 2567 – 2570 ผ่านระบบออนไลน์ -วันที่ 10 พฤศจิกายน 2565 คณะทำงานคลินิกเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ลงพื้นที่ตำบลห้วยปริก เพื่อร่วมจัดกิจกรรมถ่ายทอดเทคโนโลยี โครงการ “หมู่บ้านตำรับยาสมุนไพรไทยและนวดแผนไทย เพื่อส่งเสริมเพิ่มมูลค่าการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์”
เดือนธันวาคม 2565 -วันที่ 5 – 6 ธันวาคม 2565 คณะทำงานคลินิกเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ร่วมกับ หน่วยปฏิบัติการ อว.ส่วนหน้า จังหวัดกระบี่ เพื่อร่วมจัดกิจกรรมภูมิใจภักดิ์ รักในหลวง ร.9 ณ จังหวัดกระบี่ -วันที่ 9 ธันวาคม 2565 คณะทำงานคลินิกเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์เข้าร่วมประชุมชี้แจงแนวทางการดำเนินการโครงการ U2T for BCG ผ่าน Zoom Meeting ร่วมกับ สป.อว. -วันที่ 14 ธันวาคม 2565 คณะทำงานคลินิกเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ลงพื้นที่ตำบลขนาบนากเพื่อสนับสนุนการต้อนรับการเยี่ยมเยียนโครงการ U2T จากคณะกรรมการสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และผู้แทนกระทรวง อว. -วันที่ 20 ธันวาคม 2565 คณะทำงานคลินิกเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ลงพื้นที่ตำบลห้วยปริก เพื่อร่วมกิจกรรมกับหน่วยงานในพื้นที่และติดตามประเมินผล โครงการ “หมู่บ้านตำรับยาสมุนไพรไทยและนวดแผนไทย เพื่อส่งเสริมเพิ่มมูลค่าการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์”
ประมวลภาพ 1 รายงานโดย น.ส.กนตวรรณ อึ้งสกุล วันที่รายงาน 05/04/2566 [14267] |
48000 | 0 |