เครือข่ายส่งเสริมธุรกิจเทคโนโลยีและนวัตกรรม กปว.#
  • บริการของ กปว.
    • โครงการ
    • เทคโนโลยี
    • ผู้เชี่ยวชาญ
    • คำปรึกษา/ลูกค้า
    • ผลิตภัณฑ์
    • แลกเปลี่ยนเรียนรู้
  • หน้าหลัก
  • Sunday, July 6, 2025 เวลา :

ข้อมูลบริการให้คำปรึกษา รายละเอียดผู้รับบริการ

QR Code
ชื่อผู้รับเรื่อง
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ลำปาง
ชื่อผู้ถาม
นายสุนทร คำตุยเครือ
ที่อยู่
เลขที่52 ม.8 ต.บ้านเสด็จ อ.เมือง จ.ลำปาง
จังหวัด
ลำปาง
เรื่องที่ถาม
วันที่ 16 – 23กุมภาพันธ์ 2567 คลินิก มทร.ล้านนาลำปาง ร่วมกับ สกร.ตำบลบ้านเสด็จ ลงพื้นที่แก้ไขปัญหาเรื่องผักตบชวาปกคุมในหนองน้ำประจำหมู่บ้าน (หนองน้ำหลง) โดยได้ถ่ายทอดเทคโนโลยีดังนี้ 1.การทำปุ๋ยหมักจากผักตบชวา 2.การทำบับเบิ้ลจากผักตบชวา 3.กระดาษจากผักตบชวา ณ.บ้านลูเหนือ ต.เสด็จ อ.เมือง จ.ลำปาง ผู้เข้าร่วมอบรม จำนวน 15 คน วิทยากรโดยอาจารย์ณัฐอมร จวงเจิม สาขาพืชศาสตร์
วันที่ถาม
26/06/2567
เทคโนโลยี
ไม่พบข้อมูลเทคโนโลยี
หน่วยงานดำเนินการ
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ลำปาง
ผลการให้คำปรึกษา
"วันที่ 16 – 23กุมภาพันธ์ 2567 คลินิก มทร.ล้านนาลำปาง ร่วมกับ สกร.ตำบลบ้านเสด็จ ลงพื้นที่แก้ไขปัญหาเรื่องผักตบชวาปกคุมในหนองน้ำประจำหมู่บ้าน (หนองน้ำหลง) โดยได้ถ่ายทอดเทคโนโลยีดังนี้ 1.การทำปุ๋ยหมักจากผักตบชวา 2.การทำบับเบิ้ลจากผักตบชวา 3.กระดาษจากผักตบชวา ณ.บ้านลูเหนือ ต.เสด็จ อ.เมือง จ.ลำปาง ผู้เข้าร่วมอบรม จำนวน 15 คน วิทยากรโดยอาจารย์ณัฐอมร จวงเจิม สาขาพืชศาสตร์ 1. เพราะเหตุใดถึงต้องไปให้ความรู้ (ปัญหาเทคโนโลยีที่เข้ามาของรับ) - กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการการลงพื้นที่แก้ไขปัญหาเรื่องผักตบชวาปกคลุมในหนองน้ำบ้านลูเหนือ ตำบลเสด็จจังหวัดลำปาง เป็นการใช้เทคโนโลยีเข้ามาจำกัดวัชพืชด้วยการใช้เทคโนโลยี 3 อย่างด้วยกันคือ 1. การทำปุ๋ยหมัก 2. การทำบับเบิลกันกระแทก 3. การทำกระดาษจากผักตบชวา 2. กระบวนการ และผลการให้คำปรึกษา กระดาษสาผักตบชวา ผลิตจากผักตบชวา 100 % โดยมีขั้นตอนดังนี้ 1. นำผักตบชวาสดไปตัดรากและล้างดินโคลนออกให้สะอาด 2. นำไปตากแดดเพิ่มความเหนียวให้กับเส้นใยและคุณภาพของกระดาษให้ดีขึ้น เป็นเวลา 2-3 วันจนแห้งเป็นสีน้ำตาลอ่อน 3. จากนั้นนำผักตบชวาที่ได้ไปต้มจนเปื่อยโดยเติมโซดาไฟ 3 ช้อนโต๊ะต่อน้ำ 1 ถัง และปั่นให้เยื่อกระจายตัว 4. นำเยื่อผักตบชวามากระจายในน้ำสะอาด แล้วใช้ตะแกรงหรือเฟรมช้อนเนื้อเยื่อกระดาษ และนำไปตากแดดให้แห้งสนิท หากต้องการกระดาษที่เป็นสี ให้นำเยื่อผักตบชวาไปฟอกสีด้วยสารเคมีฟอกขาว เช่น คลอรีนผง แล้วจึงผสมสีที่ต้องการลงไป ในการย้อมสีต้องเคลือบด้วยผงบุก จึงทำให้สีติดกระดาษได้ดี 5. นำกระดาษไปตากแดด แล้วกรีดออกจากเฟรมกระดาษผักตบชวามีสีติดทนนาน ไม่ฉีกขาดง่าย เป็นวัสดุเหลือใช้ที่สามารถย่อยสลายได้ทางชีวภาพ ไม่เป็นพิษ ปลูกทดแทนหรือนำกลับมาใช้ใหม่ได้ และรีไซเคิลได้ สามารถนำไปผลิตของใช้ และของตกแต่งภายในบ้านได้ สามารถผลิตตามความต้องการของลูกค้าและมีหลายขนาดให้เลือก ขั้นตอนการผลิตบับเบิ้ลผักตบชวา 1. เก็บผักตบชวา นำมาล้างให้สะอาด 2. หั่นให้เป็นชิ้น ๆ ท่อนเล็ก ๆ 3. นำไปตากให้แห้ง 4. เมื่อแห้งดีแล้ว ใช้รองกันกระแทกได้เลย ปุ๋ยหมักไม่กลับกองผักตบชวา ประโยชน์ของปุ๋ยอินทรีย์ฯ - ได้ปุ๋ยอินทรีย์เพื่อเอาไปทำการเกษตรและลดต้นทุนการผลิต แต่ถ้าทำปุ๋ยแบบครัวเรือน ก็สามารถเอาปุ๋ยไปใส่ผักที่ปลูกในบ้าน จะได้ผักที่ปลอดภัย - การลดการใช้สารเคมีเกษตรของเกษตรกร ทำให้ใช้ปุ๋ยเคมีน้อยลง ใช้ยาฆ่าแมลงน้อยลง - ช่วยเพิ่มผลผลิต สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลผลิตทางการเกษตร - ลดความเสี่ยงเรื่องสุขภาพ ทั้งของเกษตรกร และผู้บริโภค - ลดปัญหาขยะชุมชน เพราะสามารถใช้เศษอาหาร ฟางข้าว เศษใบไม้ เศษผัก มาทำปุ๋ยได้ เพราะทุกวันนี้ ขยะอินทรีย์ในครัวเรือนหรือในชุมชน มีมากกว่า 60 % ของขยะที่มีการทิ้งทั้งหมด ลดปัญหาหมอกควันพิษจาก PM 2.5 ที่เกิดจากการเผาขยะ ใบไม้ ฟางข้าว หรือเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร รวมถึงการลดก๊าซเรือนกระจก การทำปุ๋ยอินทรีย์ สามารถทำได้หลายวิธี ได้แก่ 1. การทำปุ๋ยกองใหญ่เพื่อใช้ในการทำการเกษตร หรือเพื่อการค้า ปริมาณประมาณ 5-10 ตันต่อการทำ 1 ครั้ง 2. การทำปุ๋ยในวงตาข่ายเพื่อใช้ในครัวเรือน 3. การทำปุ๋ยในตะกร้า เหมาะสำหรับคนที่ไม่มีพื้นที่ในการทำปุ๋ย เช่น หอพัก บ้านที่ไม่มีพื้นที่ หรือทำไว้ใช้เองขนาดเล็ก เพื่อไว้ใช้ไนปริมาณไม่มาก 4. การทำปุ๋ยในวงตาข่ายและใช้เศษอาหาร ในครัวเรือน หรือร้านค้า ต่าง ๆ "





สงวนลิขสิทธิ์ © 2568 กองส่งเสริมและประสานเพื่อประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม(กปว.)
Science Research and Innovation Promotion and Utilization Division
Designed & Developed by Ekapong Musikacharoen
มีปัญหาแจ้งได้ที่ ekapong at mhesi.go.th