การใช้ราไตรโคเดอร์มาจัดการโรครากเน่าโคนเน่าในสวนทุเรียน  53

คำสำคัญ : ทุเรียน  อินทรีย์  organic  

📍สท.-ไบโอเทค ขยายผลผลิต-ใช้ราไตรโคเดอร์มาจัดการโรครากเน่าโคนเน่าในสวนทุเรียนจันท์📍เมี่อวันที่ 18 ตุลาคม 2567 น.ส.เสาวนีย์ ปานประเสริฐกุล นักวิชาการสถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) น.ส.รัศมี หวะสุวรรณ ผู้ช่วยวิจัยอาวุโส และน.ส.วชิราภรณ์ ถูปาอ่าง ผู้ช่วยวิจัย ทีมวิจัยเทคโนโลยีการควบคุมทางชีวภาพ (IBCT) ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) ลงพื้นที่ให้ความรู้และพัฒนาทักษะ 🎯การผลิตขยายเชื้อราไตรโคเดอร์มาสายพันธุ์ TBRC4734🎯 แก่สมาชิกวิสาหกิจชุมชนกลุ่มพัฒนาคุณภาพทุเรียนและการเกษตรบ้านมาบโอน อ.ท่าใหม่ จ.จันทบุรี เพื่อใช้ควบคุมโรครากเน่าโคนเน่าในทุเรียน โดยสมาชิกฯ ได้ฝึกปฏิบัติผลิตก้อนเชื้อสดราไตรโคเดอร์มาตามหลักวิธีของไบโอเทค และยังได้เรียนรู้วิธีตรวจสอบเชื้อราไฟทอปธอร่าและพิเทียมในดินสวนทุเรียนด้วยตนเอง ซึ่งจะช่วยให้สามารถจัดการโรคได้อย่างทันท่วงที 👉https://www.nstda.or.th/agritec/training-trichoderma-durian/

สท. และไบโอเทค ได้ร่วมกันขยายผลการบริหารจัดการโรครากเน่าโคนเน่าในทุเรียนด้วยเชื้อราไตรโครเดอร์มา สายพันธุ์ TBRC4734 ให้เกษตรกรผู้ปลูกทุเรียนในพื้นที่จังหวัดระยองและจันทบุรี ซึ่งสายพันธุ์ดังกล่าวเป็นผลงานวิจัยและพัฒนาโดยไบโอเทค พบว่าการใช้เชื้อราไตโคเดอร์มาสามารถควบคุมโรคเน่าโคนเน่าได้อย่างมีประสิทธิภาพ และได้จัดทำคู่มือการจัดการศัตรูทุเรียนด้วยชีวภัณฑ์แบบครบวงจร (Standard Operating Procedure (SOP) for Integrated Pest Management by Biocontrol Agents in Durian) 👉https://anyflip.com/bookcase/buxwn

สื่อวิดีโอ การผลิตก้อนเชื้อไตรโคเดอร์มา 👉https://www.youtube.com/watch?v=e_IXNpa89_U
การตรวจสอบเชื้อราไฟทอปธอร่าและพิเทียมในดินสวนทุเรียน 👉https://www.youtube.com/watch?v=QReB2o8r150


เขียนโดย : นายเอกพงศ์  มุสิกะเจริญ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : ekapong@mhesi.go.th