Knowledge Sharing ชุมชนแห่งการเรียนรู้...
กปว. กับการเตรียมความพร้อมองค์กรเข้าสู่ยุค Digital Transformation 105
ในช่วงวันที่ 8 – 9 สิงหาคม 2567 ที่ผ่านมา กปว. ได้จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การพัฒนาศักยภาพบุคลากรของ กปว. เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงในยุค Disruption และ Agility ณ โรงแรม รีเจนท์ ชะอำ บีช รีสอร์ท จังหวัดเพชรบุรี ซึ่งในวันที่ 8 สิงหาคม 2567 ได้มีการอภิปรายเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การเตรียมความพร้อมองค์กรเข้าสู่ยุค Digital Transformation/ PDPA (Personal Data Protection Act)/ Cyber Securityโดย ดร.อรรถศิษฐ์ พัฒนะศิริ รักษาการรองผู้อำนวยการสำนักคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ โดยภายหลังการอภิปรายเชิงปฏิบัติการดังกล่าว ผอ.กปว. ได้มอบหมายให้ทุกคนนำความรู้ที่ได้เขียนลงในบล๊อกของแพลตฟอร์ม STI Utilization (CMO) เพื่อให้ข้อคิดเห็นเสนอแนะ รวมถึงแนวทางในการประยุกต์ใช้เพื่อการพัฒนางาน
เมื่อเราพูดถึง Digital Transformation อาจกล่าวได้ว่าเป็นตัวแปรสำคัญในการขับเคลื่อนองค์กร ตั้งแต่กระบวนการวางแผนและทิศทางขององค์กร กระบวนการทำงาน ไปจนถึงผลิตภัณฑ์และบริการ ดังนั้น Digital transformation จึงเป็นปัจจัยสำคัญที่สามารถช่วยให้องค์กรปรับปรุงกระบวนการขององค์กรให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากขึ้น อาทิ การใช้ปัญญาประดิษฐ์ (AI: Artificial Intelligence) ในการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อปรับปรุงการคาดการณ์และการตัดสินใจ เป็นต้น
ดังนั้น Digital Transformation จึงเป็นการนำเอาเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้เพื่อปรับปรุง หรือเปลี่ยนแปลงกระบวนการและการทำงานทั้งหมด เพื่อให้สามารถใช้ประโยชน์จากนวัตกรรมและความเปลี่ยนแปลงทางองค์กรไปในทางที่ทันยุคสมัยที่เปลี่ยนไป ส่งผลให้การทำงานของทุก ๆ ฝ่ายมีประสิทธิภาพ ลดช่องโหว่ได้มากขึ้น การบูรณาการเทคโนโลยีดิจิทัลเข้าไปในทุกพื้นที่ขององค์กร จึงสามารถเปลี่ยนแปลงวิธีการดำเนินงานและมอบคุณค่าให้กับลูกค้าขององค์กรโดยพื้นฐาน ไม่ได้เป็นเพียงการยอมรับเทคโนโลยีใหม่ ๆ เท่านั้น แต่ยังรวมถึงการใช้เทคโนโลยีเหล่านั้นเพื่อสร้างวิธีการทำงานใหม่ ๆ ผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ ๆ และโมเดลธุรกิจใหม่ ๆ อีกด้วย
Digital Transformation สำคัญอย่างไรต่อองค์กรในปัจจุบัน
อาจกล่าวได้ว่า Digital Transformation มีความสำคัญต่อองค์กรในหลาย ๆ ด้าน ดังนี้
- ปรับปรุงประสบการณ์ของลูกค้า จะเน้นไปที่การใช้เทคโนโลยีเพื่อทำให้กระบวนการติดต่อและการซื้อขายกับลูกค้าเป็นไปอย่างรวดเร็ว สะดวก และทันสมัยมากขึ้น องค์กรสามารถนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้เพื่อปรับปรุงประสบการณ์ของลูกค้า เช่น ใช้เทคโนโลยีเพื่อทำให้กระบวนการสั่งซื้อและจัดส่งเป็นไปอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ หรือใช้ระบบแชทบอทหรือระบบตอบรับอัตโนมัติเพื่อให้ลูกค้าได้รับความช่วยเหลือทันที
- เพิ่มประสิทธิภาพและผลผลิตได้ Digital Transformation มีศักยภาพที่จะเพิ่มประสิทธิภาพและผลผลิตในองค์กรได้หลากหลาย เช่น การใช้เทคโนโลยีในกระบวนการผลิต เพื่อลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต การใช้เทคโนโลยีในการรวบรวม และวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน
- ลดต้นทุนควบคุมค่าใช้จ่าย ด้วย Digital Transformation ซึ่งสามารถช่วยลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น เพิ่มรายได้ของธุรกิจ เช่น การใช้บริการคลาวด์ทำให้ลดความจำเป็นในการลงทุนในฮาร์ดแวร์และโครงสร้าง IT ที่แพง หรือระบบ automation ควบคุมหรือดำเนินการตามขั้นตอนหรือกิจกรรมต่าง ๆ แทนพนักงาน
จากการอภิปรายเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การเตรียมความพร้อมองค์กรเข้าสู่ยุค Digital Transformation/ PDPA (Personal Data Protection Act)/ Cyber Security สามารถสรุปได้ว่า AI ใช้เป็นเครื่องมือในการค้นหาข้อมูลได้สะดวก รวดเร็ว รวมถึงสามารถจัดการข้อมูลและตอบสนองต่อความคิดเห็นและประสบการณ์ของผู้ใช้บริการ (Customer Journey) ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสิ่งสำคัญในการนำ Digital Transformation มาประยุกต์ใช้ในการทำงาน สามารถแบ่งออกเป็น 4 ประเด็นหลัก ได้แก่
(1) Customer Experience การนำความคิดเห็นและประสบการณ์ของผู้ใช้บริการมาปรับปรุงกระบวนการทำงาน
(2) Data Given Organization การนำข้อมูลมาวิเคราะห์ เชื่อมโยง และขับเคลื่อนองค์กร
(3) Digital Process การพัฒนาขีดความสามารถทางดิจิทัลของบุคลากรในองค์กร
(4) Data Governance การกำกับดูแลข้อมูล การจัดเก็บ การจำแนกหมวดหมู่ การใช้และการเปิดเผยข้อมูล ซึ่งเชื่อมโยงกับพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. ๒๕๖๒ (PDPA) และการรักษาความลับขององค์กร (Cyber Security)
ดังนั้น จากการอภิปรายเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การเตรียมความพร้อมองค์กรเข้าสู่ยุค Digital Transformation/ PDPA (Personal Data Protection Act)/ Cyber Securityสามารถให้ข้อคิดเห็นเสนอแนะในการเตรียมความพร้อมของ กปว. ต่อการประยุกต์ใช้ Digital Transformationได้ดังนี้
ประเด็น |
ข้อคิดเห็นเสนอแนะ |
Customer Experience การนำความคิดเห็นและประสบการณ์ของผู้ใช้บริการมาปรับปรุงกระบวนการทำงาน |
- กปว. ควรใช้เทคโนโลยีดิจิทัล 100% ในการเก็บข้อมูลผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ตลอดจนการสำรวจข้อมูลความพึงพอใจของผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เพื่อตอบสนองต่อนโยบาย Paperless ของ อว. รวมถึงใช้ในการรายงานคำรับรองการปฏิบัติราชการของ สป.อว. (ตัวชี้วัดการมุ่งเน้นผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย) และรายงาน PMQA (หมวด 3 การให้ความสำคัญกับผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย) - ควรพัฒนาระบบข้อมูลและสารสนเทศที่ทันสมัยในการให้บริการและการเข้าถึงข้อมูล - ควรมีการใช้เทคโนโลยีหรือสร้างนวัตกรรมในการสนับสนุนระบบการจัดการข้อร้องเรียนที่สร้างความพึงพอใจแก่ผู้รับบริการ - ควรมีการสร้างนวัตกรรมการบริการ เพื่อตอบสนองความต้องการเฉพาะกลุ่ม |
Data Given Organizationการนำข้อมูลมาวิเคราะห์ เชื่อมโยง และขับเคลื่อนองค์กร |
- ผู้บริหารควรผลักดันและส่งเสริมให้ กปว. เป็นองค์กรที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูล หรือ Data-Driven Organization ที่ช่วยตอบโจทย์การบริหารในยุคใหม่ ด้วยวิธีการปรับให้วัฒนธรรมองค์กรเปิดกว้างกับข้อมูล สร้างข้อปฏิบัติเพื่อดูแลข้อมูล ใช้เทคโนโลยี และมีการตัดสินใจที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูล ซึ่งจะช่วยให้ กปว. ดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น |
Digital Processการพัฒนาขีดความสามารถทางดิจิทัลของบุคลากรในองค์กร |
- ทำการวิเคราะห์ Training Needs Analysis ทางด้านดิจิทัลของบุคลากร กปว. ทุกระดับ - ควรมีการประเมินความรู้ความสามารถทางดิจิทัลของบุคลากร กปว. ทั้งก่อนและหลังได้รับการพัฒนา |
Data Governance การกำกับดูแลข้อมูล การจัดเก็บ การจำแนกหมวดหมู่ การใช้และการเปิดเผยข้อมูล ที่เชื่อมโยงกับPDPAและ Cyber Security |
- ควรแต่งตั้งคณะทำงานด้านดิจิทัลของ กปว. เพื่อขับเคลื่อนและผลักดันไปสู่ Digital Transformation ซึ่งมีน้อง ๆ ข้าราชการใหม่บางคน ให้ความสนใจเข้าร่วมเป็นคณะทำงานด้านดิจิทัลของ กปว. โดยที่ผ่านมา การดำเนินงานด้านดิจิทัลในภาพรวมของ กปว. ยังไม่สามารถเกิดขึ้นได้อย่างเป็นรูปธรรม เนื่องจากยังไม่มีการกำหนดผู้รับผิดชอบและแนวทางที่ชัดเจน |
อย่างไรก็ดี กปว. จะมีความพร้อมเข้าสู่ยุค Digital Transformationหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับการผลักดัน ส่งเสริม และสนับสนุนจากผู้บริหาร และความร่วมมือร่วมใจของบุคลากร กปว. ทุกระดับที่มีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนไปสู่ยุคดิจิทัล
กปว. จะมีความพร้อมเข้าสู่ยุค Digital Transformationหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับการผลักดัน ส่งเสริม และสนับสนุนจากผู้บริหาร และความร่วมมือร่วมใจของบุคลากร กปว. ทุกระดับที่มีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนไปสู่ยุคดิจิทัล