เครือข่าย RUN 8 มหาวิทยาลัย จับมือไว้แล้วไปด้วยกัน  35

คำสำคัญ : 

     เครือข่ายพันธมิตรมหาวิทยาลัยเพื่อการวิจัย (Research University Network : RUN) เป็นเครือข่ายที่มีความร่วมมือภายใต้บันทึกความเข้าใจฯ ระหว่างสถาบันอุดมศึกษา ที่เป็น Global and Frontier Research University จำนวน 7 สถาบัน ประกอบด้วยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ลงนามความร่วมมือครั้งแรกในวันที่ 5 มีนาคม 2558 และเมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2561 ได้มีการลงนามบันทึกความเข้าใจฯ ต่อเนื่องเป็นครั้งที่ 2 โดยมีมหาวิทยาลัยนเรศวร เข้าร่วมเป็นเครือข่ายเพิ่มเติม ซึ่งศาสตราจารย์ ดร.ศุภชัย ปทุมนากุล รองปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ได้เคยดำรงตำแหน่งอดีตประธานเครือข่ายพันธมิตรมหาวิทยาลัยเพื่อการวิจัย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2560-2561 ซึ่งมีรูปแบบและวัตถุประสงค์การดำเนินงานคล้ายกับ CoE (Center of Excellence) ซึ่งตั้งมายาวนานกว่า 25 ปี 

     เครือข่าย RUN มีเจตนารมณ์ร่วมกันที่จะประสานความร่วมมือทางวิชาการในการวิจัยและพัฒนาองค์ความรู้ นวัตกรรม เศรษฐกิจ สังคม และขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศสู่การเป็นศูนย์กลางทางการศึกษาและวิจัยในระดับภูมิภาค สร้างและพัฒนาศักยภาพของนักวิจัยไทย พัฒนา Inter - University Clusters และโจทย์วิจัยที่ตอบสนองความต้องการของประเทศ ประกอบด้วย

  • คลัสเตอร์เกษตรและอาหาร กลุ่ม Agriculture 
  • คลัสเตอร์เกษตรและอาหาร กลุ่ม Functional Food
  • คลัสเตอร์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและภัยพิบัติ
  • คลัสเตอร์อาเซียน
  • คลัสเตอร์ Robotics 
  • คลัสเตอร์ Advanced Materials 
  • คลัสเตอร์พลงงาน
  • คลัสเตอร์ดิจิทัล 
  • คลัสเตอร์ Health
  • คลัสเตอร์โลจิสติกส์

ปัจจุบัน เครือข่าย RUN ได้ลงนามบันทึกความเข้าใจเครือข่ายพันธมิตรมหาวิทยาลัยเพื่อการวิจัย (Research University Network : RUN) ระยะที่ 3 เพื่อดำเนินการต่อเนื่องจากความสำเร็จของเครือข่าย RUN ตั้งแต่ 2558 - 2566 ภายใต้แนวคิด “SExY Way” ความจริงใจ ความเท่าเทียม และมุ่งสู่ความเป็นเลิศ (Sincerely, Equally, Excellently) คือ มหาวิทยาลัยควรมีการทำงานร่วมกัน ให้เป็นกิจกรรมที่เกิดขึ้นได้จริง

     ในวันที่ 27 มิถุนายน 2567 ได้มีโอกาสเข้าฟังบรรยายพิเศษ เรื่อง "งานที่เกี่ยวข้องกับการผลิตและการปล่อยคาร์บอนต่ำ" ในการผลิตภาคการเกษตรและการผลิตอาหาร จัดโดยเครือข่ายพันธมิตรมหาวิทยาลัยเพื่อการวิจัย (เครือข่าย RUN) คลัสเตอร์เกษตร คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ร่วมกับสถาบันวิจัยและพัฒนาแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บรรยายโดยวิทยากรจากออสเตรเลีย ที่ได้รับการสนับสนุนจากสถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงแคนเบอร์รา 4 ท่าน คือ

  • Ms.Eleanor Mak, Co-Founder & Co-CEO, Venturenauts and Guru Advantage บรรยายหัวข้อ SUSTAINABLE AGRICULTURAL FARMING: Applying Australian Best Practices in Thailand
  • Mr.Andrew Mason, CEO, AgCoTech บรรยายหัวข้อ Food Security Improving Productivity Reducing Methane
  • Mr.David Davies, Founder and CEO, AgUnity บรรยายหัวข้อ  TECHNOLOGY TO EMPOWER SMALLHOLDER FARMERS
  • Mr.Roger(Reg) Smyth, Founder and CEO, CirPro บรรยายหัวข้อ FOOD AND LOW CARBON MANAGEMENT- IT IS TIME FOR COMMITMENT TO CHANGE

     โดย รศ.ดร.สุตเขตต์ นาคะเสถียร อดีตรองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและสร้างสรรค์ มก. และประธานเครือข่ายพันธมิตรมหาวิทยาลัยเพื่อการวิจัย กล่าวว่า วัตถุประสงค์ของ RUN คือต้องการพัฒนาแพลตฟอร์ม แอปพลิเคชั่น และวิธีการทำวิจัยให้สร้างผลกระทบ (Impact) แก่ประเทศ รวมถึงต้องการขยายโอกาสในการพัฒนางานวิจัยร่วมกันไม่ใช่เฉพาะเครือข่าย RUN และสำนักงานเครือข่ายพันธมิตรเพื่อมหาวิทยาลัยวิจัย (RUN Office) แต่รวมถึงมหาวิทยาลัยวิจัย หน่วยงานรัฐ และสถานทูต เพื่อพัฒนาบุคลากร สร้างสังคมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน ให้เป็น One Arenaโดยเฉพาะในคลัสเตอร์เกษตรที่มีโจทย์สำคัญ คือ การถ่ายทอดเทคโนโลยีและนวัตกรรมสู่เกษตรกร เพื่อพัฒนาการเกษตรดิจิทัลให้มีประสิทธิภาพ 


เขียนโดย : นางสาวประภาวีร์  วรกรรณ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : phapawee.w@gmail.com