PMQA 4.0 เครื่องมือวัดสุขภาพขององค์กร เน้นการมีส่วนร่วมมุ่งสู่ความสำเร็จ  73

คำสำคัญ : PMQA  

ข้อเสนอแนะเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมสู่ความสำเร็จในการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ และการประเมินสถานะของหน่วยงานในการเป็นระบบราชการ 4.0 (PMQA 4.0)

  • ทุกกอง/กลุ่ม/ศูนย์ ควรมีผู้รับผิดชอบงาน 2 ส่วนที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนา และการควบคุมคุณภาพองค์กร ทำงานร่วมกับเครือข่ายของกลุ่มพัฒนาระบบบริหาร ได้แก่ งานด้านการพัฒนาระบบราชการ และงานด้านการพัฒนาคุณภาพ เพื่อให้การสื่อสารในองค์กรและการติดตามปรับปรุงผลการดำเนินงานเป็นไปในทิศทางเดียวกันตั้งแต่ระดับผู้กำหนดนโยบายสู่ผู้ปฏิบัติ
     
  • พัฒนางานเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเป็นหลัก โดยการรับฟังความคิดเห็นและสร้างกระบวนการให้ประชาชน/ชุมชน มีส่วนร่วม ตระหนักรู้ถึงปัญหา เพื่อร่วมกันสร้างองค์ความรู้และวางแผนแก้ไขปัญหาในพื้นที่
     
  • มีการประเมินภายในหน่วยงานหรือวัดสุขภาพขององค์กรเป็นประจำ รวมถึงการถอดบทเรียนและจัดทำแผนเพื่อควบคุมความเสี่ยงในการดำเนินงาน โดยพิจารณาสิ่งที่ควรปรับปรุงจากผลการดำเนินงาน เพื่อให้มองเห็นโอกาสในการพัฒนาหน่วยงานตามแนวทางการบริหารจัดการ ADLI
         A= Approach มีแนวทางระบบ แบบแผน
         D = Deploy นำไปใช้อย่างทั่วถึงและต่อเนื่อง
         L = Learning เกิดการเรียนรู้และพัฒนาสิ่งใหม่จากการประเมินผล
         I = Integration นำสิ่งที่วิเคราะห์ได้จากการประเมินผลไปบูรณาการเชื่อมโยงให้สอดคล้องกันทุกด้าน
     
  • มีการจัดทำ Knowledge mapping ของผู้ใกล้เกษียณอายุในหน่วยงาน เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ถ่ายทอดองค์ความรู้และประสบการณ์จากพี่สู่น้อง ทำให้มีการพัฒนางานจากรุ่นสู่รุ่น
     
  • พัฒนาฐานข้อมูลของแต่ละหน่วยงาน ที่ประกอบด้วย องค์ความรู้ ข้อมูลการติดตามตัวชี้วัดและการใช้จ่ายงบประมาณ ข้อมูลผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เครื่องมือประกอบการทำงาน คู่มือการปฏิบัติงาน ให้ง่ายต่อการนำข้อมูลมาใช้ในการตัดสินใจของผู้บริหารหน่วยงานและการส่งต่อข้อมูล
     
  • จัดทำเส้นทางความก้าวหน้าและการพัฒนาตนเองตามสายงานของบุคลากรในหน่วยงาน เช่น จัดทำหลักสูตรการพัฒนานวัตกรรมและทักษะดิจิทัล เพื่อพัฒนาบุคลากรให้มุ่งสู่ “การเป็นผู้ประกอบการภาครัฐ” (Public Entrepreneurship) และเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล ทำให้ลดทรัพยากรหรือระยะเวลาในการดำเนินงานได้

เขียนโดย : นางสาวประภาวีร์  วรกรรณ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : phapawee.w@gmail.com