โครงการ UBI Next  76

คำสำคัญ : UBINext  

โครงการพัฒนายุทธศาสตร์และรูปแบบการบริหารหน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจใน

สถาบันอุดมศึกษา (UBI) ของประเทศไทยในทศวรรษหน้า

_________________________________________________________________________

โครงการหน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจในสถาบันอุดมศึกษา (University Business Incubator: UBI)      เริ่มดำเนินการตั้งแต่ช่วงปลายปี พ.ศ. 2547 เพื่อทำหน้าที่สนับสนุนสถาบันอุดมศึกษาให้นำองค์ความรู้ ผลงานวิจัย เทคโนโลยี นวัตกรรม และสิ่งประดิษฐ์ ในสถาบันอุดมศึกษา ถ่ายทอดสู่กระบวนการบ่มเพาะธุรกิจและภาคอุตสาหกรรมอย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งสร้างและพัฒนา นิสิต นักศึกษา อาจารย์ และนักวิจัย       ในสถาบันอุดมศึกษาที่สนใจให้เป็นผู้ ประกอบการที่มีศักยภาพ สามารถสร้างรายได้ และผลตอบแทน กลับสู่ สถาบันอุดมศึกษา รวมถึงการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา หน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจในสถาบันอุดมศึกษา ได้ดำเนินงานและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ที่มีการขยายจำนวนหน่วยบ่มเพาะจนปัจจุบันมีผลการดำเนินงานก้าวหน้าตามลำดับ มีการเชื่อมโยงองค์ความรู้ งานวิจัยพัฒนา เทคโนโลยี และนวัตกรรม จากสถาบันอุดมศึกษาไปสู่การใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์   

 สป.อว. ทำหน้าที่เป็นหน่วยงานกำหนดทิศทางเพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงาน (Commissioning Body) โครงการหน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจในสถาบันอุดมศึกษา (University Business Incubator: UBI)       ตามนโยบายพัฒนายุทธศาสตร์และรูปแบบการบริหารหน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจในสถาบันอุดมศึกษา (UBI) ของประเทศไทย เพื่อกำหนดแผนในภาพรวมของการดำเนินงานเชิงกลยุทธ์ (Strategic Position) ให้เป็นกลไกพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม  อีกทั้งเป็นกลไกในการเชื่อมโยงความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีและธุรกิจในสถาบันอุดมศึกษาต่างๆ สู่การพัฒนาธุรกิจ ด้วยการศึกษาวิเคราะห์ พันธกิจ วิสัยทัศน์ โครงสร้างองค์กร การบริการจัดการและกำกับดูแลหน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจในสถาบันอุดมศึกษา ผลงาน บทเรียนความสำเร็จและความล้มเหลว ภายในระยะเวลาย้อนหลัง 20 ปี (พ.ศ. 2547 ถึงปัจจุบัน) สังเคราะห์ออกมาเป็นแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาหน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจในสถาบันอุดมศึกษา (University Business Incubator/UBI)ของประเทศ ระยะ 10 ปี (พ.ศ. 2566 - 2576) โดยแนวทางการพัฒนาเป็น 3 รูปแบบ คือ

(1) การจัดทำหลักสูตรการพัฒนาศักยภาพของนักศึกษาและบุคลากรในสถาบันอุดมศึกษาสู่ความเป็นผู้ประกอบการด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม

(2) การพัฒนาขีดความสามารถของบุคลากรในหน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจที่มีความพร้อมในการให้บริการและมีศักยภาพในการถ่ายทอดองค์ความรู้และการบ่มเพาะธุรกิจ

(3) การยกระดับการให้บริการของหน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจในสถาบันอุดมศึกษาที่มีโครงสร้างในการบริหารงานโดยมีหน่วยงานกำกับดูแล (Corporate strategy level) ที่ชัดเจน มีการให้บริการโครงสร้างพื้นฐาน สิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับการดำเนินกิจกรรมต่างๆ การบริหารจัดการให้เกิดการเชื่อมโยงของหน่วยงานทั้งภายในและภายนอกสถาบันอุดมศึกษา เพื่อให้เกิดธุรกิจฐานนวัตกรรมเพิ่มขึ้นในประเทศอย่างต่อเนื่อง

ด้วยแนวทางการปฏิรูปการดำเนินงาน โครงการหน่วยบมเพาะวิสาหกิจในสถาบันอุดมศึกษา(University Business Incubator/UBI) จะเป็นแนวทางยุทธศาสตร์ที่สำคัญสู่ความท้าทายให้กับความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ตามรัฐบาลที่มุ่งเน้นส่งเสริมการพัฒนาของประเทศที่เน้นการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัล อุตสาหกรรมซอฟเพาเวอร์ อุตสาหกรรมสีเขียว เพื่อสร้างความเข้มแข็งและความเชี่ยวชาญด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม (วทน.) ขั้นสูง (Advanced STI) ให้้แก่่ประเทศ ตอบโจทย์์ความต้องการ ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม การเชื่อมโยงกับแหล่งทุนในการส่งเสริมธุรกิจนวัตกรรมและ          การเชื่อมโยงโครงการกับระเบียงเศรษฐกิจพิเศษต่างๆ ในภูมิภาค เพื่อให้เกิดผลกระทบในเชิงบวกต่อประเทศและสร้างความสามารถทางการแข่งขันของประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพที่ยั่งยืนต่อไป

 

วัตถุประสงค์

1 เพื่อศึกษาแนวคิดและหลักการดำเนินงานของหน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจในสถาบันอุดมศึกษาที่เป็น

กรณีศึกษาที่ดีทั้งในและต่างประเทศ

2 เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและความต้องการจำเป็นของการพัฒนาหน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจใน

สถาบันอุดมศึกษาของประเทศไทย

3 เพื่อพัฒนายุทธศาสตร์และรูปแบบการบริหารหน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจในสถาบันอุดมศึกษาของประเทศไทย โดยแบ่งเป็นระยะสั้น (2 ปี) ระยะกลาง (5 ปี) และระยะยาว (10 ปี)

4 เพื่อจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายโครงการพัฒนายุทธศาสตร์และรูปแบบการบริหารหน่วยบ่มเพาะ

วิสาหกิจในสถาบันอุดมศึกษา (UBI)

5 เพื่อออกแบบชุดเครื่องมือสำหรับพัฒนาหน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจในสถาบันอุดมศึกษา (UBI) โดยแบ่งเป็น 3 มิติ คือ ด้านโครงสร้างองค์กรและกลยุทธ์ ด้านการเรียนรู้และพัฒนาองค์กร ด้านพัฒนานักศึกษา/บัณฑิตผู้ประกอบการ

6 เพื่อพัฒนากลไกการบริหารโครงการ (Project Management) และการติดตามประเมินผลโครงการ

(Monitoring & Evaluation) ของหน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจในสถาบันอุดมศึกษาที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล และเป็นมาตรฐาน

7 เพื่อพัฒนาระบบการบริหารจัดการบัญชีของหน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจในสถาบันอุดมศึกษาที่มีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และเป็นมาตรฐาน

ขอบเขตการดำเนินงาน

1 สร้างเครื่องมือเฉพาะในการวิเคราะห์ SWOT โดยกำหนดห่วงโซ่แห่งคุณค่าที่ใช้ในการดำเนินธุรกิจเป็นห่วงโซแห่งการสร้างผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศจากการใช้ วทน. ผ่านหน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจในสถาบันอุดมศึกษา

2 พัฒนากลไกการบริหารโครงการ (Project Management) และการติดตามประเมินผลโครงการ (Monitoring & Evaluation) ของหน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจในสถาบันอุดมศึกษาที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล

3 เก็บข้อมูลและวิเคราะห์ปัจจัยภายนอกที่เกี่ยวข้อง เพื่อประเมินโอกาสและอุปสรรค ในประเด็นหลักสำคัญ ทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม เทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม กฎหมาย และกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง

4 ศึกษาวิเคราะห์ สภาพ ประวัติ พัฒนาการ ปรัชญา พันธกิจ วิสัยทัศน์ โครงสร้างองค์กรขององค์กรบริการจัดการและกำกับดูแลหน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจในสถาบันอุดมศึกษา ผลงาน/บทเรียนความสำเร็จและความล้มเหลว ภายในระยะเวลาย้อนหลัง 20 ปี (พ.ศ. 254๗ ถึงปัจจุบัน) สังเคราะห์ออกมาเป็นจุดแข็งและจุดอ่อนของหน่วยงาน (SW) รวมถึงวิเคราะห์โอกาสและอุปสรรค (OT) ความเสี่ยงและการควบคุมความเสี่ยงขององค์กรบริการจัดการและกำกับดูแล

5 เก็บข้อมูลและวิเคราะห์ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องสำคัญ (Stakeholder analysis) ที่ส่งผลต่อการส่งเสริม

การใช้วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมและการพัฒนาหน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจในสถาบันอุดมศึกษาโดยแบ่งเป็น

5.1 ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องสำคัญภายในองค์กร ได้แก่ คณะกรรมการส่งเสริมหน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจในสถาบันอุดมศึกษาประธานคณะทำงานเครือข่ายเชิงประเด็น C-UBIคณะกรรมการติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงานUBI ผู้บริหารกองส่งเสริมและประสานเพื่อประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม และหัวหน้ากลุ่มงาน

5.2 ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องสำคัญภายนอกองค์กร ได้แก่ หน่วยงานภายในกระทรวงที่เกี่ยวข้องกับ

ภารกิจของหน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจในสถาบันอุดมศึกษาเช่น มหาวิทยาลัย หน่วยงานเจ้าของงานวิจัยและเทคโนโลยี และหน่วยงานอื่นๆ ที่มีความเกี่ยวข้อง

6 นำเสนอผลการศึกษาแก่กองส่งเสริมและประสานเพื่อประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม

7 จัดทำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนายุทธศาสตร์และรูปแบบการบริหารหน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจในสถาบันอุดมศึกษา (UBI) ของประเทศไทยในระยะ 10 ปี


เขียนโดย : นายทินกร  รสรื่น สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : tinnakorn.r@mhesi.go.th