การเสนอแนวคิดในการพัฒนาโครงการ: PDCA The Heart of Continuous Improvement (RD Facility Boost UP) P6 Regional Science Park  54

คำสำคัญ : โครงสร้างพื้นฐาน  ววน.  วิจัย  

แนวทางการปรับปรุงขั้นตอนการดำเนินการด้วยการบริหารงานคุณภาพ โครงการการยกระดับการวิจัยและพัฒนาของผู้ประกอบการด้วยเครือข่ายโครงสร้างพื้นฐาน ววน. อุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค

PDCA The Heart of Continuous Improvement (RD Facility Boost UP) P6 Regional Science Park

 

การดำเนินงานของแผนงานการยกระดับการวิจัยและพัฒนาของผู้ประกอบการด้วยเครือข่ายโครงสร้างพื้นฐาน ววน. (RD Facility Boost UP)มีปัญหาในการดำเนินงานต่อเนื่องทุกปี ว่าจะมีการเสนอขอขยายเวลาในการดำเนินงาน ในทุกปี ซึ่งปัญหาส่วนใหญ่เกิดขึ้นเพราะขาดการวางแผนในการดำเนินงานที่ดี

ผู้เขียนจึงขอเสนอแนวความคิดในการปรับปรุงการดำเนินงานด้วย PDCA คือวงจรที่ช่วยให้การบริหารงานมีคุณภาพยิ่งขึ้น ช่วยแก้ปัญหาได้อย่างตรงจุด มีขั้นตอนต่างๆ ด้วยแนวคิด แนวทางการดำเนินงาน การจัดการด้วยคุณภาพ PDCA ดังนี้

1.ขั้นตอนการวางแผน (P:Plan)

เป็นขั้นตอนเพื่อจัดทำแผนงานโครงการให้สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ในระดับต่างๆ และแผนเชิงกลยุทธ์ (Strategic tent) อันได้แก่วิสัยทัศน์ พันธกิจและประเด็นยุทธศาสตร์ของหน่วยงาน รวมถึงแผนงานและขั้นตอนการดำเนินงานของโครงการโดยเริ่มจากการวางแผน กำหนดของแผนงานที่เป็นภาระกิจหรือกิจกรรมต่าง ๆ ที่จะกระทำให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่ต้องการ การดำเนินงานเป็นไปตามแผนที่วางไว้ และมีแนวทางการวางแผนสำรองในการดำเนินการ ซึ่งจะสามารถปรับแผนหรือแก้ปัญหาได้ทันท่วงที

1. ร่วมกิจกรรมสำรวจความต้องการของผู้ประกอบการ และสำรวจความพร้อมห้องปฏิบัติการและโรงงานต้นแบบ

1)        สำรวจความต้องการ ความพร้อมของผู้ประกอบการ/เอกชน

       2)        สำรวจความพร้อมห้องปฏิบัติการและโรงงานต้นแบบ

2. จัดทำข้อเสนอโครงการและประเภทของโครงการ

การจัดทำรายละเอียดของข้อเสนอโครงการให้ผู้ประกอบการและภาคเอกชนที่สนใจเข้าร่วมโครงการกรอกข้อเสนอมูลเพื่อใช้ในการพิจารณาโครงการ ซึ่งประกอบด้วยรายละเอียดของข้อมูลผู้ประกอบการและภาคเอกชน ผลิตภัณฑ์ที่นำเข้าร่วมโครงการ ข้อมูลผู้เชี่ยวชาญที่ให้ในกระบวนการผลิต  กระบวนการผลิต รายละเอียดการวิเคราะห์ทดสอบในห้องปฏิบัติการและการทดลองผลิตในโรงงานต้นแบบ ผลลัพธ์ ผลกระทบของการดำเนินโครงการ แผนการตลาดของผลิตภัณฑ์ เป็นต้น

          โดยการพิจารณาในรายละเอียดโครงการทั้งหมดซึ่งมีรายละเอียดประกอบด้วย

1)     Tract 1 สนับสนุนโครงการที่วิเคราะห์ ทดสอบ ในห้องปฏิบัติการ โดยสนับสนุนไม่เกิน 80%ของค่าบริการ โดยสนับสนุนไม่เกิน 100,000 บาท ต่อหนึ่งโครงการ รายละเอียดอย่างน้อยดังนี้

1.1) รายชื่อของผู้ประกอบการและ/หรือนิติบุคคล บริษัท พร้อมช่องทางการติดต่อเช่น ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ emailฯลฯ

1.2) ผลิตภัณฑ์ (รูปแบบของผลิตภัณฑ์ กลุ่มอุตสาหกรรม ความโดดเด่น ความเป็นนวัตกรรมผลิตภัณฑ์/กระบวนการผลิต งานวิจัยสนับสนุน คุณค่าของสินค้า/บริการที่นำเสนอแก่ลูกค้า ช่องทางการจัดจำหน่าย Revenue Streamsแผนการตลาด)

1.3) วัตถุประสงค์การตรวจ วิเคราะห์ ทดสอบ (การตรวจวิเคราะห์ความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ และข้อมูลค่าโภชนาการต่างๆ ข้อมูลด้านจุลินทรีย์ปนเปื้อน วิเคราะห์ปริมาณสารก่อภูมิแพ้ในอาหาร เป็นต้น)

1.4) ห้องปฏิบัติการในสถาบันการศึกษาที่ใช้ รวมถึงนักวิจัยที่ให้คำปรึกษาประจำห้องปฏิบัติการ

1.5) ที่อยู่ห้องปฏิบัติการและข้อมูลในระบบฐานข้อมูลSTDB

1.6) มหาวิทยาลัยที่รับผิดชอบโครงการ

1.7) รายละเอียดของรายการตรวจวิเคราะห์ทดสอบของห้องปฏิบัติการ

1.8) แผนและขั้นตอนในการดำเนินโครงการ

1.9) งบประมาณที่สนับสนุน

1.10)  งบประมาณที่ภาคเอกชนร่วมในโครงการ

1.11)  ผลลัพธ์

1.12)  ผลกระทบ (ผลกระทบเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ)

 

 

 

2) Tract 1สนับสนุนโครงการที่วิเคราะห์ ทดสอบ ในห้องปฏิบัติการ และการผลิตผลิตภัณฑ์ต้นแบบ ในโรงงานต้นแบบ โดยสนับสนุนไม่เกิน 80%ของค่าบริการ โดยสนับสนุนไม่เกิน 300,000 บาท ต่อหนึ่งโครงการ รายละเอียด อย่างน้อยดังนี้

2.1) รายชื่อของผู้ประกอบการและ/หรือนิติบุคคล บริษัท พร้อมช่องทางการติดต่อเช่น ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ emailฯลฯ

2.2) ผลิตภัณฑ์ (รูปแบบของผลิตภัณฑ์ กลุ่มอุตสาหกรรม ความโดดเด่น ความเป็นนวัตกรรมผลิตภัณฑ์/กระบวนการผลิต งานวิจัยสนับสนุน คุณค่าของสินค้า/บริการที่นำเสนอแก่ลูกค้า ช่องทางการจัดจำหน่าย Revenue Streams แผนการตลาด)

2.3) วัตถุประสงค์การตรวจ วิเคราะห์ ทดสอบ (การตรวจวิเคราะห์ความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ และข้อมูลค่าโภชนาการต่างๆ ข้อมูลด้านจุลินทรีย์ปนเปื้อน วิเคราะห์ปริมาณสารก่อภูมิแพ้ในอาหาร เป็นต้น)

2.4) ห้องปฏิบัติการและโรงงานต้นแบบในสถาบันการศึกษาที่ใช้ รวมถึงนักวิจัยที่ให้คำปรึกษาประจำห้องปฏิบัติการ โรงงานต้นแบบ

2.5) ที่อยู่ห้องปฏิบัติการและโรงงานต้นแบบที่ใช้ และข้อมูลในระบบฐานข้อมูลSTDB

2.6) มหาวิทยาลัยที่รับผิดชอบโครงการ

2.7) รายละเอียดของรายการตรวจวิเคราะห์ทดสอบของห้องปฏิบัติการและโรงงานต้นแบบ

2.8) แผนและขั้นตอนในการดำเนินโครงการ

2.9) รูปแบบในการทดสอบตลาด/ความพึงพอใจของกลุ่มเป้าหมาย

2.10) งบประมาณที่สนับสนุน

2.11) งบประมาณที่ภาคเอกชนร่วมในโครงการ

2.12) ผลลัพธ์

2.13) ผลกระทบ (ผลกระทบเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ)

ทั้งนี้ โครงการที่มีการใช้บริการห้องปฏิบัติการและการผลิตผลิตภัณฑ์ต้นแบบ ในโรงงานต้นแบบ ในที่ไม่ได้สังกัดในมหาวิทยาลัยซึ่งถือเป็นโครงสร้างพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมของภาครัฐ มีเงื่อนไขการสนับสนุนโครงการที่แตกต่างกันคือแผนงานฯ จะสนับสนุนไม่เกิน 20% ของค่าบริการ และการสนับสนุนไม่เกิน 100,000 บาทของโครงการใน Track 1  และการสนับสนุนไม่เกิน 500,000 บาทของโครงการใน Track 2

 

 

รูปภาพที่ 1 สรุปหัวข้อของเกณฑ์ข้อกำหนดเบื้องต้นให้เป็นไปตามเงื่อนไขของโครงการเพื่อประเมินความพร้อมของผู้ประกอบการ/ภาคเอกชนและห้องปฏิบัติการ/โรงงานต้นแบบของมหาวิทยาลัยของแผนงานการยกระดับการวิจัยและพัฒนาของผู้ประกอบการด้วยเครือข่ายโครงสร้างพื้นฐาน ววน.

(RD Facility Boost UP)

 

 

2 ขั้นปฏิบัติตามแผน (D:Do)

2.1 การร่วมคัดเลือกโครงการ

ผู้แทนสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมเข้าร่วมเป็นคณะกรรมการฯ พิจารณาข้อเสนอโครงการ ตามเกณฑ์การประเมิน เพื่อพิจารณาความพร้อมของผู้ประกอบการและผลิตภัณฑ์ประกอบไปด้วย ประเภท รูปแบบผลิตภัณฑ์ ว่ามีความเป็นนวัตกรรมในรูปแบบใด เช่น กระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์ หรือมีรูปแบบของนวัตกรรมของผลิตภัณฑ์ที่จะสามารถตอบสนองความต้องการของกลุ่มเป้าหมายได้อย่างชัดเจน พิจารณาให้มีความสอดคล้อง ความเหมาะสมของห้องปฏิบัติการและโรงงานต้นแบบ เทียบรายการตรวจ ทดสอบ การผลิตที่เหมาะสม เพื่อให้สอดคล้องกับการใช้เพื่อนำไปขอมาตรฐานผลิตภัณฑ์ให้มีความเหมาะสมและเป็นไปตามหลักเกณฑ์การพิจารณา ซึ่งจะมีเกณฑ์สรุป  3 รูปแบบคือ

1). ผ่านการพิจารณา

2). ผ่านการพิจารณาแบบมีเงื่อนไข โดยนำข้อมูลมาเสนอใหม่

3). ไม่ผ่านการพิจารณา

โดยโครงการที่จะผ่านการพิจารณส่วนใหญ่จะมีความคิดเห็นในการเพิ่มเติมหรือปรังปรุงข้อเสนอโครงการ ซึ่งอาจมีการพิจารณาในรอบถัดไปตามความคิดเห็นและข้อแนะนำครบทุกข้อจึงจะเป็นโครงการที่ผ่านการประเมินคุณสมบัติในเสนอพิจารณาอนุมัติโครงการ

2.2 การพิจารณาอนุมัติการดำเนินโครงการ

          เมื่อมีการพิจารณาโครงการโดยเป็นไปตามเกณฑ์ที่เป็นไปตามความคิดเห็นและข้อแนะนำครบทุกข้อกำหนดและมีการปรับแก้ไขแล้ว คณะกรรมการจะพิจารณาเพื่อมีมติในการสนับสนุนโครงการ โดยจะพิจารณาตัวชี้วัดต่างๆ ว่ามีความสมบูรณ์ครบถ้วนหรือไม่ประกอบการตัดสินใจ ซึ่งจะมีการให้ความเห็น ข้อควรระวังและแนะนำจุดที่อาจเป็นปัญหาของแต่ละโครงการ เพื่อเป็นแนวทางให้ผู้รับผิดชอบโครงการดำเนินการและปฏิบัติตามต่อไป

 

3. ขั้นตรวจสอบการปฏิบัติตามแผน (C:Check)  ดังนี้

3.1 ตรวจสอบห้องปฏิบัติการและโรงงานต้นแบบ  

เพื่อติดตามโครงการว่าได้มีการดำเนินตรวจวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการและการผลิตในโรงงานต้นแบบในแต่ละโครงการตามแผนการดำเนินงานเมื่อมีการดำเนินโครงการมาแล้วมากกว่าร้อยละ50 ของโครงการจะมีการดำเนินการรายงานผลการดำเนินงานรายโครงการ

3.2 ติดตามผลการดำเนินงานโครงการ

เพื่อให้มีการตรวจสอบรายละเอียดโครงการว่าสามารถปฏิบัติตามแผนงาน กรอบระยะเวลาการดำเนินงาน และการทำนายถึงผลลัพธ์และผลกระทบของโครงการที่ได้ดำเนินงานว่าสามารถดำเนินงานได้ตามแผนที่วางไว้ในขั้นตอนที่ 1 และสอดคล้องกับตัวชี้วัดต่างๆ ที่กำหนดไว้ในขั้นตอนที่ ๒ หรือไม่ มีสิ่งใดที่ต้องดำเนินการ ปรับปรุง แก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงที่จะทำให้การดำเนินงานรายโครงการจะสามารถบรรลุวัตถุประสงค์ที่ได้ตั้งเป้าหมายไว้

 

4. ขั้นปรับปรุงแก้ไข (A:Act)

4.1 การปรับปรุงแผนการดำเนินงาน

จากการตรวจสอบในขั้นตอนที่ ๓ เมื่อมีการดำเนินโครงการมาแล้วมากกว่าร้อยละ 50 ของโครงการหากพบว่ามีสิ่งใดที่ควร ดำเนินการ ปรับปรุง แก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงที่จะทำให้การดำเนินงานรายโครงการจะสามารถบรรลุวัตถุประสงค์ที่ได้ตั้งเป้าหมายไว้ ก็จะมีการปรับรูปแบบ เช่น หากมีการเปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มเติมเงื่อนไขของรายการที่จะต้องตรวจวิเคราะห์ทดสอบเพิ่มขึ้นเพื่อใช้ในการขอมาตรฐานจึงควรมีการขอเสนอรายการตรวจวิเคราะห์เพิ่มเติมขึ้น หรือการทดสอบการผลิตนวัตกรรมการผลิตผลิตภัณฑ์ใหม่หากมีการพบว่ากระบวนการผลิตที่วางแผนไว้ มีปัญหาในด้านกระบวนการหรือทางเทคนิค ก็จะมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงกระบวนการหรือสภาวะ (Condition) ให้มีความเหมาะสม โดยจะมีกระบวนการขออนุมัติการเปลี่ยนแปลงจากคณะกรรมการเพื่อให้เป็นประโยชน์ในการดำเนินโครงการ

 

4.2 ประเมินโครงการภาพรวมในการดำเนินงานแต่ละภูมิภาค

เพื่อให้การดำเนินโครงการบรรลุเป้าหมายแล้ว จะมีการรวบรวมความสำเร็จ ตัวชี้วัด ผลลัพธ์และผลกระทบต่างๆ รวมถึงความผิดพลาด จุดที่สามารถนำมาใช้เป็นบทเรียน รูปแบบหรือส่งที่ควรปรับปรุงการดำเนินงานเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ และผลลัพธ์ของโครงการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์การตรวจติดตามความสมบูรณ์ในการดำเนินการ การตรวจ วิเคราะห์ ทดสอบ และผลิตผลิตภัณฑ์ต้นแบบที่มีการทดสอบตลาด และจัดทำรายงานฉบับสมบูรณ์ของโครงการ

4.3 รวบรวมและนำเสนอแนวทางพัฒนาแผนงานในการพัฒนาโครงการ

เพื่อสนับสนุนและต่อยอดงานวิจัยเพื่อพัฒนาเพื่อสนับสนุนภาคเอกชนและผู้ประกอบการเพื่อสร้างมาตรฐานผลิตภัณฑ์และเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน โดยจะดำเนินการรวมรวมผลต่างๆ เสนอต่อหน่วยงาน เช่น สำนักงานปลัดกระทรวง อว. สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.)

ทั้งนี้การดำเนินงานของแผนงานการยกระดับการวิจัยและพัฒนาของผู้ประกอบการด้วยเครือข่ายโครงสร้างพื้นฐาน ววน. (RD Facility Boost UP)มีขั้นตอนต่างๆ ด้วยแนวคิด แนวทางการดำเนินงาน การจัดการด้วยคุณภาพ PDCAแสดงดังรูปภาพที่ 2

รูปภาพที่ 2 วงจรการทำงานแบบ PDCA

 

เอกสารฉบับเต็มพร้อม ภาคผนวก 


เขียนโดย : นายทินกร  รสรื่น สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : tinnakorn.r@mhesi.go.th