การเสนอแนวคิดในการพัฒนาโครงการ: The new era of innovation ecosystem connectivity development of RD Facility Boost UP P6  98

คำสำคัญ : โครงสร้างพื้นฐาน  ววน.  วิจัย  

แนวความคิดยุคใหม่ของการพัฒนาการเชื่อมโยงระบบนิเวศนวัตกรรมให้เกิดขึ้นอย่างครอบคลุมในการดำเนินงานโครงการการยกระดับการวิจัยและพัฒนาของผู้ประกอบการด้วยเครือข่ายโครงสร้างพื้นฐาน ววน. อุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค

 

The new era of innovation ecosystem connectivity development (RD Facility Boost UP) P6 Regional Science Park

 

การดำเนินงานโครงการที่ผ่านมา สามารถช่วยยกระดับการวิจัยในทุกระดับและสามารถช่วยภาคเอกชน/ผู้ประกอบการได้เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มและศักยภาพด้านการแข่งขัน

เนื่องด้วยการดำเนินงานโครงการดังกล่าวมีปัญหาการดำเนินงานที่ยังพบว่า ขาดการเชื่อมโยงการดำเนินงานระหว่างหน่วยงานหลัก เนื่องด้วยแต่ละหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก็จะขาดการเชื่อมโยงระบบการทำงานต่างๆ ที่เห็นได้ชัดเจนคือการไม่มีการส่งต่อ ประสานงานหรือองค์ความรู้ในการวิเคราะห์ทดสอบ การวางแผนการดำเนินงาน ขั้นการทดสอบ ขั้นการติดตามผล ต้องมีการประสานข้อมูลกันใหม่ในทุกครั้ง และขาดการเชื่อมโยง ส่งต่องานระหว่างกัน ทำให้เป็นแนวทางในการเสนอแนวทางการพัฒนาขั้นตอนในการดำเนินงานระหว่างหน่วยงานต้องมีการประสานงานระหว่างกันในการสร้างระบบนิเวศนวัตกรรมให้เกิดขึ้นอย่างครอบคลุมเพื่อสร้างศักยภาพและความเข้มแข็งทั้งองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ไปจนถึงด้านสังคมที่พร้อมจะสร้างให้เกิดระบบนิเวศนวัตกรรมภายใต้ความพร้อมของสถาบันการศึกษา ทั้ง อาจารย์ นักวิจัย บุคลากร รวมถึงอุปกรณ์เครื่องมือ โรงงานต้นแบบ และห้องปฏิบัติการในสาขาวิชาที่หลากหลาย มีความพร้อมในการส่งเสริมภาคอุตสาหกรรมที่มีความต้องการพัฒนาด้านเทคโนโลยีให้ทันกับการ เปลี่ยนแปลงของบริบทโลกให้สามารถเพิ่มความสามารถในการเข้าถึงเทคโนโลยีและนวัตกรรม และการพัฒนา คุณภาพชีวิตของคนในชุมชน อันจะนำไปสู่การผลักดันรายได้ต่อหัวของประชาชนในภาคการผลิตและบริการ ให้เพิ่มขึ้นผ่านการขับเคลื่อนของสถาบันการศึกษาในพื้นที่ภูมิภาค

ดังนั้น การเปิดโอกาสให้เข้าถึงองค์ความรู้ และเทคโนโลยี นำนวัตกรรมมาเป็นเครื่องมือเพื่อลดความเหลื่อมล้ำ ลดการกระจุกตัวในการพัฒนา โดยกลไกของอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค จะสามารถเชื่อมโยงระหว่างมหาวิทยาลัยและภาคอุตสาหกรรม ด้วยการพัฒนาต่อยอดด้วยแนวความคิดต่างๆ ดังนี้

University Industry Linkageเพื่อการส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือแบบไตรภาคี ระหว่างสถาบันการศึกษาภาครัฐและภาคอุตสาหกรรม รวมถึงสนับสนุนให้เกิดการถ่ายทอดเทคโนโลยีและการนำเทคโนโลยีไปใช้เชิงพาณิชย์ พร้อมทั้งกระตุ้นการพัฒนาอุตสาหกรรมผ่านการทำวิจัยและพัฒนาโดยภาคเอกชนเกิดการดำเนินการที่เชื่อมโยงกันอย่างเป็นระบบรูปดังภาพที่1 เพื่อนำความรู้และเทคโนโลยี ที่เป็นปัจจัยสำคัญในการผลิตสินค้าและบริการให้มีประสิทธิภาพ (Efficiency) เพื่อนำไปสู่การพัฒนาสินค้า กระบวนการสู่การสร้างนวัตกรรม ให้สินค้าบริการให้มีศักยภาพในการแข่งขัน (Competitiveness) ส่งเสริมการทำงานร่วมกับภาคอุตสาหกรรม เชื่อมโยงต่อยอดงานวิจัยและองค์ความรู้ในมหาวิทยาลัยไปประยุกต์ใช้ ซึ่งกลไกที่สร้างความเชื่อมโยงเพื่อการพัฒนาความรู้ (Knowledge) ความสามารถทางเทคโนโลยี (Technological Capabilities) และนวัตกรรม (Innovation) ของประเทศ เกิดการส่งเสริมการทำงานร่วมกับภาคอุตสาหกรรม เชื่อมโยงต่อยอดงานวิจัยและองค์ความรู้ ร่วมกับการนำโครงสร้างพื้นฐานอุปกรณ์เครื่องมือ โรงงานต้นแบบ และห้องปฏิบัติการที่มีอยู่ในมหาวิทยาลัยสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในระดับอุตสาหกรรมที่เป็นปลายน้ำเพื่อให้เกิดการพัฒนาเศรษฐกิจฐานนวัตกรรม โดยปัจจุบันอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาคได้ขยายกำลังการให้บริการ จาก 16 มหาวิทยาลัยซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยในกับกับของรัฐขนาดใหญ่ในภูมิภาคต่างๆ ครบทุกภูมิภาค

รูปภาพที่ 1University Industry Linkage

ที่มา : ปรับปรุงจากMisganu Legesse Bareke. (2018)

 

การขับเคลื่อนองค์กรนวัตกรรมด้วยการส่งต่อความรู้ด้านต่างๆ (Knowledge Flow) เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมผ่านการทำวิจัยและพัฒนาโดยภาคเอกชนเกิดการดำเนินการที่เชื่อมโยงกันอย่างเป็นระบบ แสดงดังรูปภาพที่ 2 ความสัมพันธ์ระหว่างหน่วยงานภาครัฐ มหาวิทยาลัยและอุตสาหกรรม/ภาคเอกชน  มีเป้าหมายที่จะเข้าถึงความรู้จากภาคอุตสาหกรรมด้วยความรู้อันล้ำสมัยที่มหาวิทยาลัยสร้างขึ้น นำไปสู่ขั้นสูงใหม่ โดยการนำองค์ความรู้ สู่การพัฒนาทางเทคโนโลยี เพื่อให้เกิดผลในเชิงนวัตกรรม ด้วยเหตุนี้จึงจำเป็นต้องสร้างกระบวนการส่งต่อความรู้ระหว่างภาครัฐ มหาวิทยาลัยและภาคอุตสาหกรรม/ภาคเอกชน โดยกระบวนการต่อความรู้ความรู้ จะเป็นการกำหนดโดยระดับความรู้ที่แตกต่างกันซึ่งแต่ละหน่วยงานของภาครัฐ มหาวิทยาลัยและภาคอุตสาหกรรม/ภาคเอกชน ซึ่งความรู้ต่างๆ ดูดซับมาอาจทำให้มีคุณสมบัติในการสร้างความรู้ที่เหมาะกับหน่วยงาน ความสามารถทางเทคโนโลยี และสร้างนวัตกรรมในรูปแบบต่างๆ เช่น ผลิตผลิตภัณฑ์นวัตกรรมหรือกระบวนการทางนวัตกรรม เป็นต้น

กระบวนการของแผนงานการยกระดับการวิจัยและพัฒนาของผู้ประกอบการด้วยเครือข่ายโครงสร้างพื้นฐาน ววน. (RD Facility Boost UP)มีใช้แผนการดำเนินการพัฒนาตามการบูรณาการแผนระดับต่างๆ และทรัพยากรต่างๆ ความรู้ที่มหาวิทยาลัยสร้างขึ้นจากศักยภาพและความสามารถด้านองค์ความรู้และการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ และการสร้างให้เกิดเทคโนโลยีที่มีความพร้อมใช้ โดยใช้ฐานจากความต้องการและศักยภาพการผลิตจากภาคอุตสาหกรรม/ภาคเอกชน  จากการร่วมมือและการพัฒนาร่วมกันเพื่อนำมาสร้างนวัตกรรมผลลัพธ์ที่ใกล้เคียงกับความต้องการของตลาดมากขึ้น เป็นผลให้สหภาพของความรู้ทั้งสองประเภท ที่ส่งเสริมการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคม แม้ว่าความต้องการความรู้จะมีทิศทางการไหลของความรู้ในความเป็นแบบไดนามิก เคลื่อนที่ไปมาระหว่างหน่วยงานโดยไม่คำนึงถึงทิศทางของคำขอ การไหลของความรู้ขึ้นอยู่กับปัจจัยสี่ประการคือ  การปฏิบัติ ช่องทาง ทิศทาง และเนื้อหา ปัจจัยสองประการแรกมักใช้เมื่อพิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างภาครัฐ มหาวิทยาลัยและอุตสาหกรรม/ภาคเอกชน มีบทความจำนวนมากที่วิเคราะห์องค์ประกอบของความสัมพันธ์ระหว่างหน่วยงาน ซึ่งความสัมพันธ์นั้นผ่านการดำเนินงานผ่านผู้อำนวยการและผู้ปฏิบัติงานของสำนักงานถ่ายทอดเทคโนโลยีหรืออุทยานวิทยาศาสตร์ อาจารย์ของมหาวิทยาลัย นักวิชาการ นักวิจัย ของสถาบันวิจัย ผู้ประกอบการ ผู้บริหารและนักวิจัยของบริษัท เป็นต้น

รูปภาพที่ 2ความเชื่อมโยงการดำเนินงานระหว่างภาครัฐ (กระทรวง อว.)

ภาคเอกชนและมหาวิทยาลัยของแผนงานการยกระดับการวิจัยและพัฒนาของผู้ประกอบการด้วยเครือข่ายโครงสร้างพื้นฐาน ววน. (RD Facility Boost UP)ซึ่งพัฒนานวัตกรรมภายใต้แนวคิด (University Industry Linkage)ที่มา: ปรับปรุงจาก  Brychan Thomas.(2018).

ระบบการสร้างนวัตกรรมระดับภูมิภาคผ่านการดำเนินงานของอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาคถูกมองว่าเป็นโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญของสถาบันมากขึ้นเรื่อย ๆ สนับสนุนนวัตกรรมภายในโครงสร้างการผลิตของภูมิภาคเอเชีย ภายในโครงสร้างพื้นฐานเหล่านี้ ความร่วมมือระหว่างภาครัฐ มหาวิทยาลัยและอุตสาหกรรม/ภาคเอกชน เป็นการเชื่อมโยงที่สำคัญซึ่งช่วยให้เกิดการเติบโตของเศรษฐกิจฐานความรู้มีหลายปัจจัยที่ทำให้การเชื่อมโยงอ่อนแอหรือแข็งแกร่งโดยมีผลตามมาประสิทธิภาพของระบบนวัตกรรมระดับภูมิภาคเพื่อส่งมอบการเติบโตอย่างสดใสที่คาดหวังจากการเติบโตอย่างรวดเร็วเศรษฐกิจในเอเชีย แนวคิดนี้พยายามที่จะกล่าวถึงธรรมชาติของอุตสาหกรรมมหาวิทยาลัยเหล่านี้

ความสัมพันธ์ในระบบนวัตกรรมระดับภูมิภาค จะเป็นการสำรวจพื้นฐานของลักษณะนี้ในขั้นต้นตามต่อลักษณะองค์กรของความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐ มหาวิทยาลัยกับอุตสาหกรรม/ภาคเอกชน แรงจูงใจสำหรับมหาวิทยาลัยและอุตสาหกรรมทั้งนี้รูปแบบ ความสัมพันธ์ กระบวนการก่อตั้ง และความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรระหว่างภาครัฐ มหาวิทยาลัยและอุตสาหกรรม สาขาความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยกับอุตสาหกรรมและระบบนวัตกรรมระดับภูมิภาค ผลการวิจัยยืนยันการเชื่อมโยงรวมถึงความร่วมมือ แบบจำลองแนวคิดคือผ่านกระบวนการพัฒนาโดยสรุปลักษณะของความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยกับอุตสาหกรรมและระบบนวัตกรรมระดับภูมิภาค

 

Triple Helix Modelเป็นระบบที่เกิดจากการรวมตัวของความรู้ด้านเศรษฐกิจ วิทยาศาสตร์ และการบริหารจัดการ ซึ่งทำให้เกิดการไหลเวียนขององค์ความรู้ ความรู้ หรือการเปลี่ยนแปลงขององค์กรหนึ่ง ส่งผลกระทบต่ออีกองค์กรหนึ่ง พลวัตที่เกิดขึ้นในระบบภายใต้การบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพนำไปสู่การสร้างนวัตกรรมแบบเปิด (Open Innovation)

การสร้างนวัตกรรมแบบเปิด (Open Innovation) เป็นการเร่งให้มีการสร้างปฏิสัมพันธ์กับองค์กรอื่น ซึ่งเป็นแหล่งองค์ความรู้ เพื่อให้สามารถเข้าถึงเทคโนโลยี เทคนิค หรือขีดความสามารถด้านวิทยาศาสตร์ เพื่อปรับปรุงสมรรถนะในการสร้างนวัตกรรมขององค์กรอย่างต่อเนื่องแนวทางการพัฒนาแผนงาน สู่การสร้างนวัตกรรมและการพัฒนาความสามารถในการเป็นผู้ประกอบการ ที่เป็นปัจจัยสำคัญสู่ความสามารถในการแข่งขันและการพัฒนาในระดับภูมิภาคผ่านขีดความสามารถเพื่อกระตุ้นการลงทุนใหม่และการสร้างงานซึ่งจะช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจไปสู่มาตรฐานใหม่ของการแข่งขัน ที่รูปแบบการพัฒนา สามารถประยุกต์นำความรู้จากหน่วยงานต่างๆ เพื่อพัฒนานวัตกรรมอย่างต่อเนื่องได้ (รูปภาพที่ 3)

การสร้างนวัตกรรมแบบเปิด (Open Innovation) เป็นกระบวนการในการสร้างนวัตกรรม ผสมผสานองค์ความรู้ ศักยภาพ และความร่วมมือทั้งจากภายในและภายนอกองค์กร เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่ได้กำหนดไว้ โดยเป็นกระบวนการสร้างนวัตกรรมด้วยสภาวะเร่งให้เกิดการสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ และขยายตลาดเพื่อใช้นวัตกรรมกับภายนอก  ซึ่งจะต่างจากการสร้างนวัตกรรมแบบเดิมที่คำนึงถึงการผลักดันด้วยเทคโนโลยี (Technology Push) และการใช้ตลาดเป็นตัวดึง (Market Pull) นั้น (รูปภาพที่ 4) เป็นแนวคิดเดิมการดำเนินงานที่เป็นรูปแบบการสร้างนวัตกรรมจากพัฒนาจากองค์ความรู้ ศักยภาพและเทคโนโลยีที่มีอยู่เป็นตัวตั้งต้น เพื่อให้เกิดนวัตกรรมเช่นเกิดเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่  จากนั้น นำไปเสนอขายกับผู้ที่มีศักยภาพที่จะซื้อหรือผู้ที่มีโอกาสจะใช้งานจากนวัตกรรมที่สร้างขึ้นนั้น  และรูปแบบการสร้างนวัตกรรม มีความต้องการมาจากผู้บริโภคหรือตลาดมาก่อน แล้วทางทีมผู้ทำวิจัยและผู้พัฒนานั้นพยายามที่จะตอบสนองความต้องการต่อผู้บริโภคเหล่านั้นให้ได้ด้วยกระบวนการใหม่ เทคโนโลยีใหม่ ผลิตภัณฑ์ใหม่ หรือการบริการใหม่

 

 

รูปภาพที่ 3 การสร้างนวัตกรรมแบบเปิด (open innovation) เป็นกระบวนการในการสร้างนวัตกรรม ผสมผสานองค์ความรู้ ศักยภาพ และความร่วมมือทั้งจากภายในและภายนอกองค์กร

ที่มา : ปรับปรุงจาก (Sutopoet al., 2019)

 

 

รูปภาพที่ 4 การสร้างนวัตกรรมแบบเดิมที่คำนึงถึงการผลักดันด้วยเทคโนโลยี (technology push) และ การใช้ตลาดเป็นตัวดึง (market pull)

ที่มา : ปรับปรุงจาก Isoherranen V. and Kess P. (2011).

 

 

 

 

การเสนอแนวคิดจาก Model การพัฒนาสู่การประยุกต์ใช้ให้เกิดขึ้นจริง

            Triple Helix Modelเป็นรูปแบบหนึ่งของการสร้างนวัตกรรมแบบเปิด โดยอาศัยหลักการที่ว่า การสร้างนวัตกรรมต้องอยู่บนพื้นฐานของการประยุกต์ใช้ การใช้ความรู้หลากหลายสาขาวิชา แต่สิ่งที่จะทำให้ระบบนิเวศนวัตกรรมเกิดขึ้นได้จริง คือต้องให้เกิดการผสมผสานความแตกต่าง มีความหลากหลายขององค์กรยึดโยงกัน และรับผิดชอบต่อสังคม

รวมทั้งต้องควบคุมคุณภาพระหว่างภาครัฐ มหาวิทยาลัยและภาคอุตสาหกรรม/ภาคเอกชน องค์กรเริ่มจากการสร้างและพัฒนาแนวความคิดและเทคโนโลยี โดยเกิดขึ้นทั้งภายในองค์กรและได้จากภายนอกองค์กร จนนำไปสู่ผลิตภัณฑ์ หรือบริการใหม่ในตลาด และอาจทำให้เกิดตลาดใหม่ ๆ การสร้างนวัตกรรมแบบเปิดจึงเป็นการสร้างคุณค่าร่วมกันขององค์กรต่าง ๆ ที่ตกลงจะอยู่ในเครือข่ายเดียวกัน เพื่อสร้างนวัตกรรม โดยผ่านการสร้าง การรวบรวม และการใช้องค์ความรู้ด้วยกัน ซึ่ง ระหว่างภาครัฐ มหาวิทยาลัยและภาคอุตสาหกรรม/ภาคเอกชนที่สร้างจากผลการดำเนินงานของ เครือข่ายระหว่างองค์กรที่เน้นความจำเป็นในการมีส่วนร่วมแบบโต้ตอบของผลประโยชน์สาธารณะและส่วนตัวตามในการเผยแพร่ความรู้และเทคโนโลยีในบริบทของนวัตกรรมใหม่ระดับภูมิภาคทรงกลมเกลียวสามอัน ในขณะที่กำหนดบริบทภายในสภาพแวดล้อมภายนอก (การเมือง บริบททางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และเทคโนโลยี) ตามที่ระบุไว้ใน Global Entrepreneurshipในผลของความร่วมมือของหน่วยงานเครือข่าย ความร่วมมือที่มุ่งมั่นที่จะส่งเสริมความสามารถในการแข่งขันจากฐานงานวิจัยแลละพัฒนา สู่การสร้างกระบวนการสร้างระบบนิเวศนวัตกรรมที่เกิดความสัมพันธ์ของ Key Partner ทั้ง 3 องค์ประกอบ แสดงดังภาพที่ 5

 

ภาพที่ 5 ความเชื่อมโยงการดำเนินงานระหว่างภาครัฐ (กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม) มหาวิทยาลัย(อุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค) และภาคเอกชนของแผนงานการยกระดับการวิจัยและพัฒนาของผู้ประกอบการด้วยเครือข่ายโครงสร้างพื้นฐาน ววน. (RD Facility Boost UP)ซึ่งพัฒนานวัตกรรมด้วยการมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคมภายใต้แนวคิดพัฒนาสู่แนวคิด TripleHelix Innovation Systemsเพื่อการสร้างนวัตกรรมและการเป็นผู้ประกอบการสู่การแข่งขันขับเคลื่อนเศรษฐกิจในภูมิภาคเพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจในภูมิภาค

ที่มา : ปรับปรุงจาก Worasinchai L. and Ribie V.M. (2008)และ Farinha L. and Ferreira J. (2012)


เขียนโดย : นายทินกร  รสรื่น สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : tinnakorn.r@mhesi.go.th