ข้อคิดเห็น เรื่อง การประเมินความพึงพอใจ และการปรับปรุงพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น  55

คำสำคัญ : การประเมินความพึงพอใจ  การจัดงาน  การจัดกิจกรรม  

การพัฒนากระบวนงาน จากการจัดงานของ กปว. ไม่ว่าจะเป็นการจัดนิทรรศการ การจัดประชุมฯ หรือสัมมนาต่าง ๆ 

สิ่งที่เราต้องขอความช่วยเหลือให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมนั้น ๆ ช่วยทำให้คือ "แบบประเมินความพึงพอใจ" ในการเข้าร่วมกิจกรรม

หรือเข้าร่วมงาน ซึ่งมีความสำคัญไม่แพ้กับการจัดงานเลยก็ว่าได้ (เพราะมันเป็นหนึ่งในตัวชี้วัดของเรายังไงหล้าา🫠🫠 อะล้อเล่นนน จริง ๆ แล้วเหตุผลที่เราต้องทำมีมากกว่านั้นเย้ออ ก็เพื่อนำมาปรับปรุงการจัดกิจกรรมในครั้งต่อ ๆ ไปให้ดียิ่ง ยิ่งขึ้นไปต่างหาก👻👍) 

จากการประสบพบมา หลายครั้งที่ผู้เข้าร่วมกิจกรรมไม่ค่อยทำแบบประเมินให้กับทางผู้จัดงานเท่าที่ควร บล็อกนี้เลยขออนุญาตรวบรวมสาเหตุ และปัญหาที่พบเจอในการขอความร่วมมือ (🙇‍♂️กราบกราน อ้อนวอน🙇‍♀️) ให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมทำแบบประเมินความพึงพอใจให้กับทางผู้จัดงาน 

 

เพราะเหตุอันใดทำไมถึงไม่ชอบทำแบบประเมินความพึงพอใจ ? 🧐

1. แบบประเมินยาวเกินไป ใช้เวลาทำนาน  : แบบประเมินที่มีจำนวนข้อมากมาย ถามรายละเอียดครบถ้วน คงเป็นประโยชน์ต่อเจ้าของงานที่ได้ข้อมูลครบถ้วน แต่ในขณะเดียวกันก็อาจทำให้ผู้ประเมินเบื่อหน่ายได้ จนเลี่ยงที่จะทำการประเมินหรืออาจตอบไปแบบส่ง ๆ ทำให้ได้รับข้อมูลที่ไม่ตรงกับความเป็นจริงได้ 

2. ไม่มีแรงจูงใจในการทำแบบประเมิน : จากการจัดกิจกรรมหลาย ๆ กิจกรรมที่ผ่านมาจะเห็นได้เลยว่าหากมีของกำนัล ของที่ระลึก ผู้ประเมินจะให้ความร่วมมือกันอย่างล้นหลาม แต่หากขาดสิ่งตอบแทน ผู้ประเมินน้อยคนที่จะยอมสละเวลาทำแบบประเมินให้กับทางผู้จัดงาน

3. ลืมมมมม (ได้อย่างไร!?!) : ลืม!! เป็นอีกหนึ่งเหตุผลง่าย ๆ ที่ทำให้ผู้จัดงานไม่ได้รับการประเมิน ไม่ว่าจะเป็นการลืมแจ้งจากผู้จัดงานเองหรือลืมทำแบบประเมินฯ ของผู้เข้าร่วมงานก็ตาม

4. ทำไปแล้ว ไม่เห็นจะมีอะไรเปลี่ยนแปลงเลย : อันนี้ไม่ได้พูดเองนะครับ แต่ได้ยินเขาพูดมา (ซึ่ง "ได้ยินมา" แปลว่า ...😏)  ทำไปแล้วได้อะไร ? ผู้ประเมินอาจจะยังไม่เห็นการเปลี่ยนแปลงของงานที่ตนเองได้ประเมินไปเมื่อครั้งก่อนหรือเปล่านะ

5. ผู้จัดงานเองไม่ให้ความสำคัญกับการทำแบบประเมินฯ : ผู้จัดงานเองหรือเปล่า ไม่ให้ความสำคัญกับการทำแบบประเมินตนเอง อาจจะด้วยลืม หรือ ไม่ให้ความสำคัญเท่าที่ควร

 

☘️☘️☘️☘️☘️☘️☘️☘️☘️☘️☘️☘️☘️☘️☘️☘️☘️☘️☘️☘️☘️☘️☘️☘️☘️☘️☘️☘️☘️☘️☘️☘️☘️

 

ข้อเสนอแนวทางการแก้ไข และพัฒนางานให้ดียิ่ง ๆ ขึ้นไป 👍👍

1. จัดทำแบบประเมินที่กระชับขึ้น จากการสำรวจบวกสังเกตพบว่าผู้ประเมินส่วนใหญ่จะมีเวลาในการทำประเมินไม่เกิน 3 - 5 นาที ฉะนั้นนี่คงเป็นโจทย์ให้กับหน่วยงานผู้จัดงานจะทำอย่างไรให้แบบประเมินฯ กระชับ ได้ใจความ และผู้จัดงานได้ข้อมูลที่ต้องการครบถ้วน

2. สร้างแรงจูงใจในการทำแบบประเมิน อาจจะต้องเพิ่มแรงจูงใจให้กับผู้ที่สละเวลาอันมีค่ามาประเมินให้กับเรา โดยการให้สิ่งที่เขาต้องการ หรือเลือกของกำนัล ของที่ระลึกที่ตรงกับความต้องการของกลุ่มเป้าหมายมากขึ้น

3. ทำอย่างไรไม่ให้ลืม (ทำแบบประเมินฯ) ไม่ว่าจะลืมจริงหรือแกล้งลืม ทางผู้จัดงานควรให้ความสำคัญกับการประเมินมากขึ้น และย้ำกับผู้ประเมินให้ทำแบบประเมินฯ เพื่อกันลืม**

4. พัฒนาการจัดงาน/กิจกรรรมให้ดียิ่งขึ้น นอกจากให้ความสำคัญกับผู้ประเมินแล้ว ผู้จัดงานคงต้องให้ความสำคัญกับผลการประเมิน ข้อคิดเห็น สิ่งที่ควรปรับปรุง ที่ผู้ประเมินได้สละเวลาอันมีค่าชี้แนะไว้ให้กับทางผู้จัดงาน โดยการพัฒนาการจัดงาน/กิจกรรมในครั้งต่อ ๆ ไปให้เปลี่ยนแปลงอย่างเห็นได้ชัด เพื่อให้ความสำคัญกับผลการประเมินที่ได้รับ

5. ให้ความสำคัญกับแบบประเมินฯ ผู้จัดงานเองต้องให้ความสำคัญกับแบบประเมินฯ รับข้อติชม และนำไปปรับปรุงพัฒนางานให้ดียิ่ง ๆ ขึ้นไป

 

👉การประเมินความพึงพอใจ นอกจากเป็นตัวชี้วัดแล้ว ยังมีความสำคัญมากสำหรับผู้จัดงานเอง ชื่อก็บอกอยู่แล้วว่าประเมินความพึงใจ เราจะรู้ได้อย่างไรว่าผู้เข้าร่วมงานชอบหรือไม่ชอบอะไรจากการจัดกิจกรรมของเรา หรือเราควรปรับปรุงอะไรให้ดียิ่งขึ้น นอกจากการติชมกันตรง ๆ แล้ว แบบประเมินความพึงพอใจ ก็ทำหน้าที่ในการชี้แนะได้เป็นอย่างดี ....
พี่ ๆ กปว. ก็อย่าลืมทำแบบประเมินความพึงพอใจกันนะครับ 😘


เขียนโดย : นายปรเมษฐ์  สีเขียวแก่ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : paramed.s@mhesi.go.th

เป็นข้อมูลที่จริง และเป็นประโยชน์ ที่เราจะเอามาปรับใช้และพัฒนา เพื่อให้ได้มาซึ่งผลของความพึงพอใจที่ผู้รับบริการมีต่องานของเราได้จริงๆ เลยค่ะน้องอาร์ท

เขียนโดย น.ส.เกศรัตน์  วิศวไพศาล