ทำความเข้าใจบริบทของพื้นที่ภาคเหนือตอนบนและภาคเหนือตอนล่างประกอบการนำงานด้าน อววน. พัีฒนาและขับเคลื่อนการดำเนินงานในพื้นที่ให้ถูกทาง  90

คำสำคัญ : พื้นที่  ความต้องการ  area  

ใน Blog นี้ ผู้เขียนขอนำเสนอในเรื่อง "บริบทของพื้นที่ภาคเหนือตอนบนและภาคเหนือตอนล่างประกอบการนำงานด้าน อววน. พัฒนาและขับเคลื่อนการดำเนินงานในพื้นที่ให้ถูกทาง"

ภาคเหนือ
ภาคเหนือแบ่งการศึกษาออกเป็น 2 กลุ่มจังหวัด ในแต่ละกลุ่มยังแบ่งพื้นที่ออกเป็น 4 กลุ่มย่อย  รวมทั้งสิ้น 17 จังหวัด ดังนี้

กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน
ภาคเหนือตอนบน (1) ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดแม่ฮ่องสอน จังหวัดลำปาง และจังหวัดลำพูน
ภาคเหนือตอนบน (2) จังหวัดเชียงราย จังหวัดน่าน จังหวัดพะเยา และจังหวัดแพร่

กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง
ภาคเหนือตอนล่าง (1) จังหวัดตาก จังหวัดพิษณุโลก จังหวัดเพชรบูรณ์ จังหวัดสุโขทัย และจังหวัดอุตรดิตถ์
ภาคเหนือตอนล่าง (2) จังหวัดกำแพงเพชร จังหวัดนครสวรรค์ จังหวัดพิจิตร และจังหวัดอุทัยธานี

ซึ่งเมื่อมองในแต่ละมิติซึ่งได้สรุปภาพองค์รวมของพื้นที่ภาคเหนือ ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม หรือ (สกสว.) ได้จัดทำภาพ infographic ที่เป็นประโยชน์ต่อทุกภาคส่วน ให้เกิดความเข้าใจถึงความต้องการของพื้นที่ได้โดยง่าย ดังนี้

 

ซึ่งทางผู้เขียน เมื่อวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพื้นที่ ประกอบกับข้อมูลที่ได้ศึกษาฯ และจากการรวบรวมประเด็นปัญหาที่พบจากการดำเนินงานเพื่อส่งเสริมการนำ อววน. สู่การพัฒนาพื้นที่ พบว่า ในการขับเคลื่อนกิจกรรมด้านการนำ อววน. ส่งเสริมการใช้ประโยชน์ในการพัฒนาพื้นที่ภาคเหนือ ให้สำเร็จได้ไม่มากก็น้อยนั้น  สามารถสรุปแนวทาง จากการดำเนินงานในส่วนที่รับผิดชอบ ดังนี้

1. ภาคเหนือมีความอุดมสมบูรณ์ด้านทรัพยากรธรรมชาติต่างๆ ที่ทำให้มีอาหาร และผลิตผลทางการเกษตรที่อุดมสมบูรณ์ ซึ่งหากเรามุ่งเน้นในการพัฒนาด้านเกษตรซึ่งเป็นต้นน้ำของการผลิตอาหาร จะเป็นการขับเคลือนด้านอุตสาหกรรมเกษตรของประเทศ ทำให้อุตสาหกรรมด้านอาหาร ต่างๆ เกิดการสร้างมุลค่า และเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจให้กลับมาฟื้นตัวได้หลังช่วงวิกฤตโรคระบาด Covid 19

2. จากความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติและภูมิประเทศที่เป็นภูเขา สถานที่ท่องเที่ยวที่เป็นแหล่งธรรมชาติ ต้นน้ำ หรือป่าไม้ มีชนชาติพันธ์และมีอารยธรรม ภูมิปัญญาพื้นบ้าน อัตลักษณ์วัฒนธรรมต่างๆ ที่โดดเด่น ทำให้มีจุดแข็งและจุดเด่นในการดึงดูดนักท่องเที่ยว ทั้งชาวไทย และต่างชาติ ได้เป็นอย่างดี ทำให้เกิดการกระตุ้นเศรษฐกิจ จากการท่องเที่ยวภายในประเทศได้เป็นอย่างดี

3. ภาคเหนือ มีความโดดเด่นด้านเทศกาล วัฒนธรรม ประเพณี ที่ดีงามต่างๆ ตลอดจน งานกิจกรรมต่างๆ ซึ่งควรดึงจุดแข็งในส่วนนี้ มาขับเคลื่อนการนำองค์ความรู้ ด้าน อวว. มาสู่การส่งเสริมและใช้ประโยชน์ในการพัฒนาพื้นที่ ผ่านกิจกรรมต่างๆ ให้เกิดความน่าสนใจ ร่วมกับหน่วยงานในพื้นที่ อาทิ กิจกรรมการจำหน่ายสินค้า กิจกรรมเชิงพาณิชย์ ที่ส่งเสริมการตลาดให้แก่ผู้ประกอบการ ในบทบาทของ หน่วยงานที่ทำหน้าที่ส่งเสริมการนำ อววน. ไปพัฒนาผู้ประกอบการหรือชุมชน ให้เกิดประโยชน์ มากกว่า การพัฒนาและสร้างมูลค่าเพิ่ม อาทิ การส่งเสริมการตลาด ผ่านกิจกรรมเทศกาลในพื้นที่ ที่มีความพร้อมในการดึงดูดนักท่องเที่ยว

4. ฤดูกาล เช่น ความหนาวเย็นของสภาพอากาศในช่วงปลายปี จนถึงช่วงต้นปีของพื้นที่ ทำให้นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างชาติ เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในพื้นที่ภาคเหนือ จำนวนมาก ทำให้เกิดการขับเคลื่อนเศรษฐกิจผ่านกิจกรรมท่องเที่ยว และผ่านความอุดมสมบูรณ์ หลากหลายของผลิตผลทางการเกษตร ที่สร้างสรรค์ออกมาเป็นรายการอาหารพื้นถิ่นหรืออาหารเหนือที่สร้างชื่อเสียง

5. การขับเคลื่อนการพัฒนาภายใต้นโยบายของรัฐบาล เช่น การขับเคลื่อน Soft power ล้วนเป็นผลมาจากการดึงจุดแข็งของพื้นที่ออกมาโชว์ศักยภาพให้เกิดมูลค่าแก่ภาคอุตสาหกรรม เช่น ด้านแฟชั่น สิ่งทอ เสือผ้า เครื่องแต่งกาย เคหะ สิ่งทอ ต่างๆ อาหาร หรือแม้กระทั่ง กีฬา อาทิเช่น การชกมวย ซึ่งดึงดูดความสนใจของผู้คน ได้เป็นอย่างดี


เขียนโดย : น.ส.เกศรัตน์  วิศวไพศาล สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : ketsarat.w@mhesi.go.th