การพัฒนางานของบุคลากร กปว. ให้มีประสิทธิภาพ (การทำงานเป็นทีม)  58

คำสำคัญ : พัฒนา  บุคลากร  ทำงานเป็นทีม  พี่เลี้ยง  

การพัฒนางานของบุคลากร กปว. ให้มีประสิทธิภาพ (ข้อคิดเห็นในการพัฒนางานของบุคลากร กปว. )

ว่าด้วยเรื่อง การพัฒนาบุคลากรในองค์กร เป็นกระบวนการที่ต้องการ การวางแผน การดำเนินการ และการประเมินผลอย่างมีระบบ เพื่อให้บรรลุผลลัพธ์ที่ต้องการ ผ่านการศึกษาทฤษฎีและพื้นฐานของการเรียนรู้

การพัฒนาบุคลกร มีดังนี้

1)     การฝึกอบรมและการพัฒนาตนเอง เช่น การอบรมในห้องเรียน การเรียนรู้ออนไลน์ และการอบรมผ่านการทำงานจริง

2)     การใช้เทคโนโลยีในการฝึกอบรม การใช้แพลตฟอร์มเรียนรู้ออนไลน์ช่วยในการฝึกอบรมจะช่วยให้ผลลัพธ์มีประสิทธิภาพมากขึ้น

3)     การพัฒนาความเป็นผู้นำและการจัดการทีม เพื่อพัฒนาทักษะการเป็นผู้นำและการจัดการทีมเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการเติบโตของทั้งพนักงานและองค์กร โดยมีจุดประสงค์เพื่อที่จะสร้างความเข้าใจในการสื่อสาร การแก้ปัญหา และการทำงานเป็นทีม

จะเห็นได้ว่า ข้อ 1-2 เราสามารถดำเนินการได้ด้วยตนเอง

ส่วนข้อ 3 การทำงานเป็นทีมร่วมกับผู้อื่นอย่างมีประสิทธิภาพได้ จะต้องมีดังข้อต่อไปนี้

1)     เข้าใจการทำงานของตนเองและผู้อื่น

2)     การตั้งเป้าหมายร่วมกันอย่างชัดเจน 

3)     สร้างทีมตามความสามารถและจุดเด่นของแต่ละคนให้เหมาะสมกับงาน

4)     การเปิดใจรับฟัง จริงใจต่อกัน ให้เกียรติ เคารพซึ่งกันและกัน

5)     สานความสัมพันธ์ ให้เกิดความกลมเกลียวภายในหน่วยงาน

6)     เป็นผู้นำที่ดี และผู้ตามที่มีวินัย รู้จักหน้าที่ของตน เปิดรับข้อคิดเห็นทุกคนในทีม

นอกจากทั้ง 3 ข้อ ข้างต้นแล้ว ส่วนตัวคิดว่า การมีพี่เลี้ยง ที่มีความรู้และเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน (ไม่จำเป็นต้องอยู่ในกองเดียวกัน) ที่จะช่วยถ่ายทอดความรู้ แบ่งปันประสบการณ์ที่ดี ให้คำปรึกษาแนะนำถึงแนวทางการปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพ แต่พี่เลี้ยงก็ต้องเปิดใจรับฟังน้องใหม่ ด้วยเช่นกัน

แล้วพี่เลี้ยงต้องมีทักษะอะไรบ้าง

1. การสอนงาน (Training) พี่เลี้ยงจะเป็นผู้มีความรู้และเชี่ยวชาญด้านใดด้านหนึ่งมาให้ความรู้ ถ่ายทอดเทคนิค ฝึกอบรมด้วยการสัมมนาอบรม อาจจะเป็นกลุ่มเล็กๆ หรือกลุ่มใหญ่ๆก็ได้ ผู้ถ่ายทอดความรู้ ซึ่งอาจจะเป็นคนภายในที่เก่งและมีประสบการณ์มาก หรือเป็นวิทยากรจะภายนอกก็ได้ 

2. การให้คำปรึกษา (Consulting) พี่เลี้ยงในองค์กรเป็นผู้มีประสบการณ์ มีความชำนาญ เชี่ยวชาญเป็นพิเศษ จะสามารถถ่ายทอดความรู้และให้คำปรึกษาแนะนำเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ซึ่งเป็นความรู้หรือทักษะเฉพาะ ให้กับน้องเลี้ยงได้รับรู้ แล้วนำไปใช้หรือปรับเปลี่ยนต่างๆได้

3. การโค้ช (Coaching) บางครั้งน้องเลี้ยงที่เข้ามาเป็นคนเก่ง มีศักยภาพสูง ดังนั้น ทักษะการโค้ช จึงเป็นทักษะอีกอย่างหนึ่งที่พี่เลี้ยงต้องใช้ในการเป็นพี่เลี้ยงในองค์กร  ทักษะการโค้ช สามารถใช้เป็นการสื่อสารและการทำงานร่วมกันระหว่างพี่เลี้ยงและน้องเลี้ยง เพื่อพัฒนาให้คนสามารถพัฒนาตนเองเติบโตขึ้นได้ด้วยความสามารถของเขาเองได้ โดยพี่เลี้ยงต้องเปิดใจและเชื่อมั่นในศักยภาพของน้องเลี้ยง และใช้ทักษะการโค้ช เช่น คำถามปลายเปิดเพื่อ brain storming ให้ได้ความคิดใหม่ๆ สร้างการเติบโตทางความคิด , การ Rapport (ความเป็นมิตร/ความสามัคคี) เพื่อสร้างความไว้วางใจและ engagement กับลูกน้อง , การฟังอย่างลึกซึ้ง เพื่อ ให้ได้ยินเสียงที่ไม่ได้พูด, การ feedback ที่มีคุณภาพให้เกิดการพัฒนาตัวเอง  และการสร้างแรงบันดาลใจด้วย Story telling เป็นต้น 

4. การให้คำปรึกษาด้านชีวิต (Counseling) พี่เลี้ยงที่มีประสบการณ์สามารถให้คำปรึกษาเพื่อแก้ปัญหาชีวิต เพื่อให้สามารถดำรงชีวิตและทำงานได้อย่างมีความสุข

การทำหน้าที่พี่เลี้ยง อาจเริ่มตั้งแต่ การทำหน้าที่พี่เลี้ยงของน้องใหม่ เพื่อให้น้องใหม่สามารถปรับตัวเข้ากับหน่วยงาน เพื่อนร่วมงานและสภาพแวดล้อมการทำงาน ไม่เกิดความรู้สึกโดดเดี่ยว หรือเข้ากันไม่ได้กับเพื่อนร่วมงาน เป็นการป้องกันการลาออกจากหน่วยงานได้  และยังทำให้น้องใหม่มีความรู้ ความเข้าใจในวัฒนธรรมหน่วยงาน ลักษณะการทำงาน และนำไปสู่การมีทัศนคติที่ดีต่อหน่วยงาน


เขียนโดย : น.ส.พรทิพย์  เพิ่มวรัญญู สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : pronthip.p@mhesi.go.th