Knowledge Sharing ชุมชนแห่งการเรียนรู้...
การเสริมเปลือกทุเรียนหมักต่อประสิทธิภาพการผลิตในโคนม 107
คำสำคัญ : เปลือกทุเรียน อาหารหยาบโค ปสุสัตว์
การเสริมเปลือกทุเรียนหมักต่อประสิทธิภาพการผลิตในโคนม
ประโยชน์จากทุเรียน
ทุเรียนเป็นผลไม้ที่มีความสําคัญต่อเศรษฐกิจของไทยอย่างมาก ซึ่งส่วนต่างๆ ของทุเรียน สามารถนํามาใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ มีรายละเอียด ดังนี้
1. ใช้รับประทานสดเนื้อทุเรียนมีสีเหลือง รสหวาน ทําให้เกิดความร้อน แก้โรคผิวหนัง ทําให้ฝี-หนองแห้ง เนื้อทุเรียนมีฤทธิ์สามารถขับพยาธิได้
2. ใบทุเรียนมีรสเย็น และเฝื่อน ใช้ต้มนํ้าอาบแก้ไข้ แก้ดีซ่านและเป็น ส่วนผสมในยาขับพยาธิได้อีกด้วย
3. รากจากต้นทุเรียนนํามาตัดเป็นข้อๆ ต้มให้เดือดสามารถดื่มบรรเทาอาการไข้ และรักษาอาการท้องร่วงได้
4. เปลือกทุเรียน มีรสเฝื่อน สับแช่ในนํ้าปูนใสใช้ชะล้างแผลที่เกิดจาก นํ้าเหลือง แผลพุพอง หรือบดจนเป็นผง คลุกในนํ้ามันมะพร้าวนํ้ามันงา ลดความบวมพองจากคางทูม เผาเอาควันไล่ยุง ไล่แมลง และเผาทําถ่าน รวมถึงสามารถนํามาผลิตเป็นกระดาษ ผลิตเป็นยิปซัม และผลิตเป็นเครื่องสําอางได้อีกด้วย
ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา
การศึกษาฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา พบว่า เนื้อทุเรียนมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ และฤทธิ์ลดไขมันในเลือด แต่ยังเป็นเพียงการศึกษาในหลอดทดลอง และสัตว์ทดลอง นอกจากนี้ ยังมีการศึกษา พบว่า เปลือกทุเรียน มีสารยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย S. aureus และ Streptococci spp. ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคเต้า
นมอักเสบ เนื่องจากเปลือกทุเรียนจะมีสารฟลาโวนอยด์ ชนิด polysaccharide gel ซึ่งสารชนิดนี้มีแรงดันออสโมซิส สามารถดูดนํ้าจากเซลล์แบคทีเรีย ซึ่งทําให้เชื้อแบคทีเรียเกิดการฝ่อ และตายได้ เมื่อนําเปลือกทุเรียนบด ผสมในอาหารของกุ้ง พบว่า สาร polysaccharide gel สามารถช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโตของกุ้ง และ
เมื่อใช้เปลือกทุเรียนบดทดลองกับโคเนื้อ โดยทดลองในห้องปฏิบัติการ พบว่า สามารถสร้างภูมิคุ้มกันในโคเนื้อและมีการนําสาร polysaccharide gel ไปพัฒนาเป็นแผ่นฟิล์มปิดแผล ซึ่งพบว่าจะช่วยสมานแผล และลดการอักเสบได้เป็นอย่างดี
สูตรอาหารเปลือกทุเรียนหมักผสมครบส่วน (T.M.R.) สําหรับโคเนื้อ-โคขุน โปรตีน 14 เปอร์เซ็นต์
ประกอบด้วย ในอาหารผสมครบส่วน 100 กิโลกรัม ประกอบด้วย ฟางข้าวสับ 15 กิโลกรัม, เปลือกทุเรียนหมัก35 กิโลกรัม, กากเนื้อในปาล์มอัดน้ํามัน 15 กิโลกรัม, ข้าวโพดป่น 7 กิโลกรัม, กากถั่วเหลือง 17 กิโลกรัม,รําสกัด 6 กิโลกรัม, รําข้าวสาลี 4 กิโลกรัม, พรีมิกซ์ 0.5 กิโลกรัม และไดแคลเซียมฟอสเฟต 0.5 กิโลกรัม โดยวัตถุดิบอาหารสัตว์ทุกชนิด จะถูกผสมในรถพ่วงผสมอาหาร โดยผสมให้คลุกเคล้ากัน ใช้เวลาประมาณ 10 นาที
จากนั้นบรรจุลงถุง 30 กิโลกรัม ไล่อากาศออกให้หมด แล้วเย็บปากถุง เพื่อการจําหน่าย
กรรมวิธีการทําเปลือกทุเรียนหมัก ใช้เปลือกทุเรียนเหลือทิ้งจากโรงงานอุตสาหกรรมแปรรูปทุเรียน โดย
1.การสับเปลือกทุเรียนขนาด 3-5 ซม. ด้วยเครื่องสับ
2.หมักเปลือกทุเรียนในถังพลาสติกขนาด 100 ลิตร กดให้แน่น ให้ออกซิเจนเหลือน้อยที่สุด แล้วปิดฝาล็อก ทิ้งไว้ไม่ต่ํากว่า 21 วัน
3.จะเกิดกระบวนการหมัก โดยจุลินทรีย์ กลุ่ม Lactobacillus sp. ซึ่งมีโดยธรรมชาติ ซึ่งจะขยายตัว อย่างรวดเร็ว ซึ่ง Lactobacillus sp.
จะปล่อยกรด Lactic เข้าตัดพันธะคาร์โบไฮเดรตที่เป็นโครงสร้าง (Structural Carbohydrate) เช่น เปลือก
ทุเรียน เมื่อเปิดถังหมักเปลือกทุเรียนตามกําหนด
พบว่า เปลือกทุเรียนจะมีความอ่อนนุ่ม มีกลิ่นเปรี้ยว ซึ่งโคเนื้อจะชอบกิน ซึ่งในกระบวนการหมักเปลือกทุเรียนนี้ จะไม่ผ่านความร้อน ทําให้สารออกฤทธิ์ กลุ่ม
สารประกอบ ฟีนอลิก, สารฟลาโวนอยด์ และแคโรทีนอยด์ ไม่เกิดการสูญเสีย โดยเมื่อให้โคเนื้อกิน จะทําให้ยัง
ทําให้โคเนื้อมีสุขภาพดี และช่วยลดต้นทุนทดแทนอาหารหยาบ
เขียนโดย : น.ส.ปุณชยา บัณฑิตกุล
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : puny13@hotmail.com
พึ่งทราบเลยครับว่าเปลือกทุเรียนก็สามารถนำไปเป็นอาหารสัตว์ได้ และคุณประโยชน์บำรุงโคเนื้อได้ครับ