แผนขับเคลื่อนระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ ด้านการวิจัยและพัฒนา และการถ่ายทอดเทคโนโลยี  58

คำสำคัญ : ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ  แผนววน.  แผนพัฒนาพื้นที่  กองทุนววน.  

               แผนขับเคลื่อนระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ ด้านการวิจัยและพัฒนา และการถ่ายทอดเทคโนโลยี

               ตามที่มติ ครม. และการประชุมคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ (กพศ.) มีมติเห็นชอบการขับเคลื่อนการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ ในส่วนองค์ประกอบการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ 5 ด้าน ดังนี้

1. ด้านการให้สิทธิประโยชน์และการอำนวยความสะดวกการลงทุน

2. ด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน

3. ด้านการพัฒนาห่วงโซ่การผลิตและบริการ

4. ด้านการพัฒนาแรงงานและสนับสนุนผู้ประกอบการ

5. ด้านการวิจัยและพัฒนา และการถ่ายทอดเทคโนโลยี (หน่วยงานรับผิดชอบหลัก : อว.)

 

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ร่วมกับ กระทรวง อว. โดย สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ได้จัดทำ แผนการขับเคลื่อนระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ ด้านการวิจัยและพัฒนา และการถ่ายทอดเทคโนโลยี ดังนี้

ยุทธศาสตร์การพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ ด้วย อววน. ประกอบด้วย 3 ยุทธศาสตร์ 

          ยุทธศาสตร์ที่ 1 : Connectivity การเชื่อมโยงระบบเศรษฐกิจภายในประเทศและระดับภูมิภาค

          ยุทธศาสตร์ที่ 2 : Economyการพัฒนา ววน. เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนากลุ่มอุตสาหกรรมเชิงยุทธศาสตร์ในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ

          ยุทธศาสตร์ที่ 3: Well-being การพัฒนาเมืองน่าอยู่ เชื่อมโยงภาคการผลิต เศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และคุณภาพชีวิต

 

ผลประโยชน์ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ จากการพัฒนาด้วย อววน.

          1. มูลค่าสินค้าและบริการ ในอุตสาหกรรมเป้าหมายของการพัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ เพิ่มขึ้น 10% ภายในปี 2570

          2. มูลค่าการลงทุนจากเอกชน ในอุตสาหกรรมเป้าหมายของการพัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ ไม่ต่ำกว่า 440 ล้านบาท ภายในปี 2570

          3. เกิดการจ้างงาน ในอุตสาหกรรมเป้าหมายของการพัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ อย่างน้อย 1,000 อัตรา ภายในปี 2570

          4. เมืองน่าอยู่ 5 มิติ ตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ที่เชื่อมโยงกับการพัฒนาชุมชน ท้องถิ่น ที่ประสบความสำเร็จตามเกณฑ์ที่กำหนด จากจังหวัดในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ

 

เป้าหมายการพัฒนากำลังคนในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ

          1. จำนวนผู้ประกอบการเป้าหมายฐานนวัตกรรมและผู้ประกอบการท้องถิ่น 2,000 ราย*ภายในปี 2570

          2. นักวิทยาศาสตร์และนักวิจัยในพื้นที่ 3,000 คน*ภายในปี 2570

*คือ จำนวนผู้ประกอบการที่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุน ววน.

 

ทั้งนี้ จากเป้าหมายและแนวทางการพัฒนาภาค พ.ศ. 2566 - 2570 ของ สศช. และข้อมูลจากแผนพัฒนาเศรษฐกิจภูมิภาคภาคเอกชน พ.ศ. 2566 - 2570 สามารถประมวลข้อมูล 

แนวทางการพัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ 4 ภาค ด้วย อววน. ได้ดังนี้

1. ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคเหนือ (NEC) : เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง

 

2. ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (NeEC) : นครราชสีมา ขอนแก่น อุดรธานี หนองคาย

 

3. ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคกลาง-ตะวันตก (CWEC) : อยุธยา นครปฐม สุพรรณบุรี กาญจนบุรี

 

4. ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้ (SEC) : ระนอง ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช

 

โดยมีแผนปฏิบัติการในปี 2568 – 2570 ดังนี้

1. พัฒนาอุตสาหกรรมเป้าหมายในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ

2. พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ

3. พัฒนากำลังคนสำหรับการพัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ

4. พัฒนาเศรษฐกิจฐานราก SMEs และ Start up ใน Value chain

5. พัฒนาเมือง การศึกษา สังคม และสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ

6. การใช้ประโยชน์จาก ววน. (RU) สำหรับการพัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ

7. จัดตั้งคณะอนุกรรมการด้านการวิจัยและพัฒนาและการถ่ายทอดเทคโนโลยี

8. แผนระเบียงเศรษฐกิจของ ววน. ที่เชื่อมโยงกับ

          (1) แผนพัฒนาจังหวัดและกลุ่มจังหวัด

          (2) แผนพัฒนาเศรษฐกิจของ กรอ.

* จัดสรรงบประมาณการขับเคลื่อนพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ ในแผนด้าน ววน. ปี 2567 – 2570 ผ่าน SF, FF, ST, RU

 

-----

ที่มา : รศ.ดร.ปัทมาวดี โพชนุกูล ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.)

การบรรยายในการประชุม Kick-off โครงการพัฒนาระบบกลไกของอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค เพื่อการพัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ 4 ภาค เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2567 ณ โรงแรมเดอะ เบอร์เคลีย์ ประตูน้ำ กรุงเทพมหานคร


เขียนโดย : มัชฌิมา  นันทรัตน์ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : -