Knowledge Sharing ชุมชนแห่งการเรียนรู้...
PDPA และข้อดีข้อเสียที่ควรเรียนรู้เพื่อนำมาใช้ประโยชน์อย่างเหมาะสม 96
ข้อมูลที่ได้จากการศึกษาเรียนรู้ โดยวิทยากร ดร.อรรถศิษฐ์ พัฒนะศิริ รองผู้อำนวยการสำนักคอมพิวเตอร์และอาจารย์ประจำวิทยาลัยนวัตกรรมสื่อสารสังคม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ทำให้ได้เรียนรู้องค์ความรู้เกี่ยวกับ PDPA โดยขอสรุปข้อมูลในส่วนที่สนใจเป็นพิเศษ คือ
การทำความรู้จักกับ PDPA หรือ Personal Data Protection Act หรือ พรบ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562คือ กฎหมายที่ใช้ในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล โดยห้ามมิให้ผู้อื่นนําข้อมูลส่วนบุคคลไปใช้ประโยชน์ในด้านใดด้านหนึ่งโดยที่เจ้าของข้อมูลไม่ยินยอม
"ข้อมูลส่วนบุคคล" นิยาม คือ พรบ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 (PDPA): ข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลซึ่งทําให้สามารถระบุตัวบุคคลนั้นได้ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม แต่ไม่รวมถึงข้อมูลของผู้ถึงแก่กรรม
ข้อมูลส่วนบุคคล แบ่งออกเป็น
1) ข้อมูลส่วนบุคคลทั่วไป (Genral Personal Data)
2) ข้อมูลส่วนบุคคลอ่อนไหว (Sensitive Data)
โดยที่
1) ข้อมูลส่วนบุคคลทั่วไป (Genral Personal Data) เช่น
-ชื่อ นามสกุล
-เพศ
-อายุ วันเดือนปvเกิด
-สถานภาพการสมรส
-IP address
-อีเมลส่วนตัว
2) ข้อมูลส่วนบุคคลอ่อนไหว (Sensitive Data) เช่น
- เชื้อชาติ
- ความคิดเห็นทางการเมือง
- ความเชื่อในลัทธิ ศาสนา หรือปรัชญา
- พฤติกรรมทางเพศ
- ข้อมูลสุขภาพ
- ข้อมูลพันธุกรรม
- ข้อมูลชีวภาพ
- ข้อมูลความพิการ
- ข้อมูลสหภาพแรงงาน
- ข้อมูลประวัติอาชญากรรม
โดย PDPA มีหลักการ ดังนี้ คือ
- Lawful Processing and Transparency มีความชอบธรรมในการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลและมีความโปร่งใส
- Necessity and Purpose Limitation ใช้ข้อมูลส่วนบุคคลตามวัตถุประสงค์และเท่าที่จำเป็น
- Data Accuracy ต้องทําข้อมูลส่วนบุคคลให้ถูกต้องและเป็นปัจจุบัน
- Limitation of Storage มีระยะเวลาในการเก็บข้อมูลส่วนบุคคลที่แน่นอน
- Security มีมาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัยที่เหมาะสม
- เคารพสิทธิของ Data Subject ดำเนินการตามคําร้องขอของ Data Subject ตามขอบเขตที่กฎหมายกําหนด
โดยเมื่อได้ศึกษาเพิ่มเติมเพื่อวิเคราะห์ข้อดีและข้อเสีย ที่ได้รับเพื่อเป็นข้อมูลประกอบการนำมาใช้ประโยชน์ได้อย่างถูกต้อง จึงสรุปได้ดังนี้
สรุปได้กระชับและเข้าใจง่ายมากครับ พร้อมทั้งมีการเพิ่มเติมข้อมูลทำให้เห็นภาพมากขึ้นครับ