แนะนำโครงการดีๆ ของ NIA สำหรับผู้ประกอบการธุรกิจนวัตกรรม   51

คำสำคัญ : ธุรกิจนวัตกรรม  ผู้ประกอบการ  ส่งเสริมธุรกิจ  นวัตกรรม  NIA  

แพลตฟอร์มส่งเสริมธุรกิจนวัตกรรมที่จำเป็นต่อการพัฒนาประเทศ (Mandatory Innovation Business Platform) คือ ทุนให้เปล่า (Grant) แบบอุดหนุนบางส่วน (Matching Fund) สำหรับสนับสนุนและส่งเสริมธุรกิจนวัตกรรมเพื่อพัฒนาและนำผลิตภัณฑ์ต้นแบบเชิงพาณิชย์มาทดสอบประสิทธิภาพการใช้งาน (Efficiency) ในสภาพแวดล้อมจริง (หรือใกล้เคียง) ก่อนและหลังออกสู่ตลาด ทดสอบตามมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง และที่ปรึกษาสำหรับขับเคลื่อนการขยายธุรกิจ โดยต้นแบบดังกล่าวต้องมีความเป็นนวัตกรรมระดับประเทศขึ้นไป ในด้านผลิตภัณฑ์ (Product)  บริการ (Service) หรือกระบวนการ (Process) และสามารถสร้างผลกระทบเชิงเศรษฐกิจในอุตสาหกรรมเป้าหมายที่กำหนด (Theme) ประกอบไปด้วย 7 กลไกการสนับสนุน ดังนี้

1) กลไกทุนโครงการนวัตกรรมแบบมุ่งเป้า (Thematic Innovation) 

  • ทุนอุดหนุนสมทบบางส่วน (Matching Grant) ในสัดส่วนไม่เกินร้อยละ 75 ของมูลค่าโครงการ คิดเป็นมูลค่าการสนับสนุนไม่เกิน 5,000,000 บาทต่อโครงการในระยะเวลาไม่เกิน 3 ปี 
  • สำหรับการทดสอบความเป็นไปได้ทางการตลาดของผลิตภัณฑ์หรือบริการนวัตกรรมการปรับปรุงผลิตภัณฑ์หรือบริการนวัตกรรมให้ตอบโจทย์ตลาดเป้าหมายมากขึ้น การประเมินความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์และการลงทุน เป็นต้น
  • เหมาะสำหรับวิสาหกิจฐานนวัตกรรมที่มีผลิตภัณฑ์หรือบริการในที่พร้อมทดสอบความเป็นไปได้ทางการตลาด
  • โดยปีงบประมาณ 2567 กำหนด 6 อุตสาหกรรมเป้าหมายที่สามารถขอทุนโครงการนวัตกรรมแบบมุ่งเป้า (Thematic Innovation) ได้ ประกอบไปด้วย

          - ธุรกิจนวัตกรรมด้านอาหารและผลไม้ไทยมูลค่าสูงเพื่อการส่งออก (High-Value Food and Fruit for Export)

          - ธุรกิจนวัตกรรมด้านผลิตภัณฑ์กระบวนการผลิตและการบริหารจัดการพืชและสัตว์เศรษฐกิจหลักของประเทศตลอดห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain of Economic Plants and Animals)

          - ธุรกิจนวัตกรรมด้านเศรษฐกิจหมุนเวียนและเศรษฐกิจคาร์บอนตํ่า (Circular and Low-Carbon Economy)

          - ธุรกิจนวัตกรรมด้านพลังงานสะอาด (Clean Energy)

          - ธุรกิจนวัตกรรมดิจิทัลที่ใช้เทคโนโลยีด้าน AI, Robotic, Immersive & IoT (ARI Tech)

          - ธุรกิจนวัตกรรมยานยนต์ไฟฟ้าและเทคโนโลยีเกี่ยวเนื่อง (Electric Vehicle : EV)

2) กลไกการสนับสนุนที่ปรึกษาเพื่อพัฒนานวัตกรรม (MIND)

  • ทุนอุดหนุนสมทบบางส่วน (Matching Grant) ในสัดส่วนไม่เกินร้อยละ 50 ของมูลค่าโครงการ คิดเป็นมูลค่าการสนับสนุนไม่เกิน 1,000,000 บาทต่อโครงการในระยะเวลาไม่เกิน 1 ปี
  • สำหรับการจ้างที่ปรึกษา การปรับปรุงกระบวนการดำเนินงานภายในองค์กรด้านกลยุทธ์ธุรกิจ การตลาด ทรัพย์สินทางปัญญา การบัญชี การเงินและการลงทุน การค้าระหว่างประเทศ
  • เหมาะสำหรับวิสาหกิจฐานนวัตกรรมที่มีผลิตภัณฑ์หรือบริการที่จำหน่ายเชิงพาณิชย์อยู่แล้ว และต้องการเข้าถึงบริการที่ปรึกษาด้านการเติบโตทางธุรกิจ
  • โดยปีงบประมาณ 2567 กำหนด 3 อุตสาหกรรมเป้าหมายที่สามารถขอทุนสนับสนุนที่ปรึกษาเพื่อพัฒนานวัตกรรม (MIND) ได้ ประกอบไปด้วย

1) ธุรกิจนวัตกรรมด้านอาหารและผลไม้ไทยมูลค่าสูงเพื่อการส่งออก (High-Value Food and Fruit for Export)

2) ธุรกิจนวัตกรรมด้านผลิตภัณฑ์กระบวนการผลิตและการบริหารจัดการพืชและสัตว์เศรษฐกิจหลักของประเทศตลอดห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain of Economic Plants and Animals)

3) ธุรกิจนวัตกรรมยานยนต์ไฟฟ้า (Electric Vehicle : EV)

3) กลไกการสนับสนุนการพัฒนามาตรฐานสำหรับธุรกิจนวัตกรรม (Standard Testing)

  • ทุนอุดหนุนสมทบบางส่วน (Matching Grant) ในสัดส่วนไม่เกินร้อยละ 50 ของมูลค่าโครงการ คิดเป็นมูลค่าการสนับสนุนไม่เกิน 1,500,000 บาทต่อโครงการในระยะเวลาไม่เกิน 1 ปี
  • สำหรับการจ้างที่ปรึกษา การปรับปรุงกระบวนการดำเนินงานภายในองค์กร การวิเคราะห์ทดสอบ การทวนสอบและประเมินผล เพื่อขอขึ้นทะเบียนผลิตภัณฑ์หรือขอรับรองมาตรฐานที่สำคัญต่อการเติบโตทางธุรกิจ
  • เหมาะสำหรับวิสาหกิจฐานนวัตกรรมที่มีผลิตภัณฑ์หรือบริการที่จำหน่ายเชิงพาณิชย์อยู่แล้ว และต้องการขอขึ้นทะเบียนผลิตภัณฑ์ในตลาดเป้าหมาย และ/หรือ ขอรับรองมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง เพื่อเปิดตลาดใหม่ และ/หรือ เพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันในตลาดเดิม
  • โดยปีงบประมาณ 2567 กำหนด 2 อุตสาหกรรมเป้าหมายที่สามารถขอทุนสนับสนุนการพัฒนามาตรฐานสำหรับธุรกิจนวัตกรรม (Standard Testing) ได้ ประกอบไปด้วย 

1) ธุรกิจนวัตกรรมด้านอาหารและผลไม้ไทยมูลค่าสูงเพื่อการส่งออก (High-Value Food and Fruit for Export)
2) ธุรกิจนวัตกรรมยานยนต์ไฟฟ้า (Electric Vehicle : EV)

4) กลไกการขยายธุรกิจนวัตกรรม (Market Expansion)

  • ทุนสนับสนุนการทดสอบนวัตกรรมในกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย โดยสนับสนุนในสัดส่วนร้อยละ 100 กับกลุ่มลูกค้าภาครัฐ และสนับสนุนในสัดส่วนร้อยละ 50 กับกลุ่มลูกค้าภาคเอกชนคิดเป็นมูลค่าการสนับสนุนไม่เกิน 2,000,000 บาทต่อโครงการในระยะเวลาไม่เกิน 1 ปี
  • สำหรับการขยายธุรกิจสู่เชิงพาณิชย์ของธุรกิจฐานนวัตกรรมในกลุ่มลูกค้าเป้าหมายพร้อมกับการประเมินความคุ้มค่าทางทางเศรษฐศาสตร์และความเป็นไปได้ในการดำเนินธุรกิจ
  • เหมาะสำหรับวิสาหกิจฐานนวัตกรรมที่มีผลิตภัณฑ์หรือบริการที่พร้อมจะเข้าสู่ตลาดหรืออยู่ในตลาดเรียบร้อยแล้ว และต้องการขยายการสู่เชิงพาณิชย์หรือขยายการตลาด
  • โดยปีงบประมาณ 2567 กำหนด 1 อุตสาหกรรมเป้าหมายที่สามารถขอทุนขยายธุรกิจนวัตกรรม (Market Expansion) ได้ ประกอบไปด้วย ธุรกิจนวัตกรรมดิจิทัลที่ใช้เทคโนโลยีด้าน AI, Robotic, Immersive & IoT (ARI Tech)

5) กลไกสนับสนุนดอกเบี้ยบางส่วนเพื่อเสริมสภาพคล่อง (Matching Interest for Working Capital)

  • ทุนอุดหนุนสมทบบางส่วน (Matching Grant) ในสัดส่วนไม่เกินร้อยละ 75 ของมูลค่าดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียม คิดเป็นมูลค่าการสนับสนุนไม่เกิน 1,500,000 บาทต่อโครงการในระยะเวลาไม่เกิน 1 ปี
  • สภาพคล่องเพื่อการเติบโตของธุรกิจฐานนวัตกรรม
  • เหมาะสำหรับวิสาหกิจฐานนวัตกรรมที่มีผลิตภัณฑ์หรือบริการที่พร้อมจะเข้าสู่ตลาดหรืออยู่ในตลาดเรียบร้อยแล้ว และต้องการเพิ่มสภาพคล่องทางด้านการเงิน
  • โดยปีงบประมาณ 2567 กำหนด 4 อุตสาหกรรมเป้าหมายที่สามารถขอทุนสนับสนุนดอกเบี้ยบางส่วนเพื่อเสริมสภาพคล่อง (Matching Interest for Working Capital) ได้ ประกอบไปด้วย 
    1) ธุรกิจนวัตกรรมด้านอาหารและผลไม้ไทยมูลค่าสูงเพื่อการส่งออก (High-Value Food and Fruit forExport)
    2) ธุรกิจนวัตกรรมด้านเศรษฐกิจหมุนเวียนและเศรษฐกิจคาร์บอนตํ่า (Circular and Low-Carbon Economy)
    3) ธุรกิจนวัตกรรมด้านพลังงานสะอาด (Clean Energy)

4) ธุรกิจนวัตกรรมยานยนต์ไฟฟ้า (Electric Vehicle : EV)

 6) กลไกการสนับสนุนผู้ประกอบธุรกิจเทคโนโลยีและนวัตกรรมได้มีโอกาสเติบโตและขยายตลาดโดยการร่วมมือจากแหล่งทุนภาครัฐและเอกชน (Corporate Co-funding)

  • ทุนอุดหนุนสมทบกำหนดเงื่อนไขการส่งคืนเมื่อโครงการประสบความสำเร็จเชิงพาณิชย์ (recoverable grant) แก่ผู้ประกอบการเทคโนโลยีและนวัตกรรมในระยะเริ่มต้นจนถึงระยะเติบโต (seed to growth stage) คิดเป็นมูลค่าการสนับสนุนไม่เกิน 5,000,000 บาท ต่อโครงการในระยะเวลาไม่เกิน 5 ปี
  • สำหรับธุรกิจนวัตกรรมต่อยอดทุนจากผลงานวิจัย หรือธุรกิจนวัตกรรมที่ต้องการสร้างโอกาสเติบโตจากแหล่งเงินทุนที่เหมาะสม พร้อมกับการประเมินมูลค่าธุรกิจและผลการดำเนินธุรกิจผ่านรายงานทางบัญชี
  • เหมาะสำหรับวิสาหกิจฐานนวัตกรรมที่มีผลิตภัณฑ์หรือบริการที่พร้อมจะเข้าสู่ตลาดหรืออยู่ในตลาดเรียบร้อยแล้ว และต้องการขยายการสู่เชิงพาณิชย์หรือขยายการตลาด
  • โดยปีงบประมาณ 2567 กำหนด 2 อุตสาหกรรมเป้าหมายที่สามารถขอทุนกลไกการสนับสนุนผู้ประกอบธุรกิจเทคโนโลยีและนวัตกรรมได้มีโอกาสเติบโตและขยายตลาดโดยการร่วมมือจากแหล่งทุนภาครัฐและเอกชน (Corporate Co-funding) ได้ ประกอบไปด้วย 

1) ธุรกิจนวัตกรรมด้านอาหารและผลไม้ไทยมูลค่าสูงเพื่อการส่งออก (High-Value Food and Fruit for Export)
2) ธุรกิจนวัตกรรมดิจิทัลที่ใช้เทคโนโลยีด้าน AI, Robotic, Immersive & IoT (ARI Tech) 

7) กลไกนวัตกรรมดี...ไม่มีดอกเบี้ย (Zero Loan Interest)

  • ทุนอุดหนุน (Grant) ในสัดส่วนสูงสุดร้อยละ 100 ของมูลค่าดอกเบี้ยคิดเป็นมูลค่าการสนับสนุนไม่เกิน 5,000,000 บาทต่อโครงการ ในระยะเวลาไม่เกิน 3 ปี
  • สำหรับการขยายธุรกิจสู่เชิงพาณิชย์ของธุรกิจฐานนวัตกรรม
  • เหมาะสำหรับวิสาหกิจฐานนวัตกรรมที่มีผลิตภัณฑ์หรือบริการที่พร้อมจะเข้าสู่ตลาดหรืออยู่ในตลาดเรียบร้อยแล้ว และต้องการขยายการสู่เชิงพาณิชย์หรือขยายการตลาด
  • โดยปีงบประมาณ 2567 กำหนด 3 อุตสาหกรรมเป้าหมายที่สามารถขอทุนนวัตกรรมดี...ไม่มีดอกเบี้ย (Zero Loan Interest) ได้ ประกอบไปด้วย 

1) ธุรกิจนวัตกรรมด้านอาหารและผลไม้ไทยมูลค่าสูงเพื่อการส่งออก (High-Value Food and Fruit for Export)

2) ธุรกิจนวัตกรรมด้านเศรษฐกิจหมุนเวียนและเศรษฐกิจคาร์บอนตํ่า (Circular and Low-Carbon Economy)

3) ธุรกิจนวัตกรรมด้านพลังงานสะอาด (Clean Energy)


สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://mandatory.nia.or.th/


เขียนโดย : ดร.สุมนรัตน์  ริยาพันธ์ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : sumonrat.r@mhesi.go.th